ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๓. โยธาชีวรรค ๖. ทุติยโยธาชีวสูตร

กามทั้งหลาย๑- มีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก มีโทษยิ่งใหญ่ กามทั้งหลายเปรียบเหมือนร่างโครงกระดูก มีทุกข์มาก มีความ คับแค้นมาก มีโทษยิ่งใหญ่ กามทั้งหลายเปรียบเหมือนชิ้นเนื้อ มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก มีโทษยิ่งใหญ่ กามทั้งหลายเปรียบเหมือนคบเพลิงหญ้า มีทุกข์มาก มีความ คับแค้นมาก มีโทษยิ่งใหญ่ กามทั้งหลายเปรียบเหมือนหลุมถ่านเพลิง มีทุกข์มาก มีความ คับแค้นมาก มีโทษยิ่งใหญ่ กามทั้งหลายเปรียบเหมือนความฝัน มีทุกข์มาก มีความคับ แค้นมาก มีโทษยิ่งใหญ่ กามทั้งหลายเปรียบเหมือนของที่ขอยืมมา มีทุกข์มาก มีความ คับแค้นมาก มีโทษยิ่งใหญ่ กามทั้งหลายเปรียบเหมือนผลไม้คาต้น มีทุกข์มาก มีความคับ แค้นมาก มีโทษยิ่งใหญ่ กามทั้งหลายเปรียบเหมือนเขียงหั่นเนื้อ มีทุกข์มาก มีความ คับแค้นมาก มีโทษยิ่งใหญ่ กามทั้งหลายเปรียบเหมือนหอกหลาว มีทุกข์มาก มีความคับ แค้นมาก มีโทษยิ่งใหญ่ กามทั้งหลายเปรียบเหมือนหัวงู มีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก มีโทษยิ่งใหญ่ ขอผู้มีอายุจงยินดีในพรหมจรรย์ อย่าเปิดเผยความท้อแท้ในสิกขา บอกคืนสิกขากลับมาป็นคฤหัสถ์เลย" เธออันเพื่อนพรหมจารีทั้งหลายกล่าวสอนพร่ำสอนอยู่อย่างนี้ จึงกล่าวอย่างนี้ว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคตรัสว่า @เชิงอรรถ : @ ดู วิ.มหา. (แปล) ๒/๔๑๗/๕๒๕-๕๒๘, ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๓/๗-๘, ขุ.จู.(แปล) ๓๐/๑๔๗/๔๖๙-๔๗๐ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๑๓๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๓. โยธาชีวรรค ๖. ทุติยโยธาชีวสูตร

กามทั้งหลาย มีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก มีโทษยิ่งใหญ่ก็จริง ถึงกระนั้น ผมไม่สามารถสืบต่อพรหมจรรย์ได้ จักเปิดเผยความท้อแท้ในสิกขา บอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์” เธอจึงเปิดเผยความท้อแท้ในสิกขา บอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์ เรากล่าวว่าภิกษุนี้เปรียบเหมือนนักรบอาชีพนั้นถือดาบและโล่ ผูกสอดธนูและ แล่งแล้วเข้าสู่สมรภูมิ เขาขะมักเขม้นพยายามรบในสมรภูมินั้น พวกข้าศึกทำร้ายเขา ให้บาดเจ็บ พวกของเขานำเขามาส่งให้ถึงหมู่ญาติ หมู่ญาติย่อมพยาบาลรักษาเขา เขาอันหมู่ญาติพยาบาลรักษาอยู่ ก็เสียชีวิตด้วยอาการบาดเจ็บนั้นนั่นเอง บุคคล บางคนแม้เช่นนี้ก็มีอยู่ในธรรมวินัยนี้ นี้คือบุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพจำพวกที่ ๓ ซึ่งมีปรากฏอยู่ในภิกษุทั้งหลาย ๔. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เข้าไปอาศัยหมู่บ้านหรือนิคมบางแห่งอยู่ เวลา เช้า เธอครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังหมู่บ้านหรือ นิคมนั้นเพื่อบิณฑบาต ไม่รักษากาย ไม่รักษาวาจา ไม่รักษาจิต มีสติไม่ตั้งมั่น ไม่สำรวมอินทรีย์ เธอได้เห็นมาตุคามนุ่งห่มไม่ เรียบร้อย ในหมู่บ้านหรือในนิคมนั้น เพราะเห็นมาตุคามนุ่งห่มไม่ เรียบร้อยนั้น ราคะจึงรบกวนจิตของเธอ เธอถูกราคะรบกวนจิตแล้ว จึงมีกายเร่าร้อน มีใจเร่าร้อน มีความคิดอย่างนี้ว่า “ทางที่ดี เราควรจะไปยังอารามบอกพวกภิกษุว่า ‘ผู้มีอายุ ผมถูกราคะ กลุ้มรุมแล้ว ถูกราคะครอบงำแล้ว ไม่สามารถสืบต่อพรหมจรรย์ได้ จักเปิดเผยความท้อแท้ในสิกขา บอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์” เธอจึงไปยังอารามแล้ว บอกพวกภิกษุว่า “ผู้มีอายุ ผมถูกราคะ กลุ้มรุม ถูกราคะครอบงำแล้ว ไม่สามารถสืบต่อพรหมจรรย์ได้ จักเปิดเผยความท้อแท้ในสิกขา บอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์” เพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย จึงกล่าวสอน พร่ำสอนเธอว่า “ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า กามทั้งหลายมีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก มีโทษยิ่งใหญ่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๑๓๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๓. โยธาชีวรรค ๖. ทุติยโยธาชีวสูตร

กามทั้งหลายเปรียบเหมือนร่างโครงกระดูก มีทุกข์มาก มีความ คับแค้นมาก มีโทษยิ่งใหญ่ กามทั้งหลายเปรียบเหมือนชิ้นเนื้อ ฯลฯ กามทั้งหลายเปรียบเหมือนคบเพลิงหญ้า ฯลฯ กามทั้งหลายเปรียบเหมือนหลุมถ่านเพลิง ฯลฯ กามทั้งหลายเปรียบเหมือนความฝัน ฯลฯ กามทั้งหลายเปรียบเหมือนของที่ขอยืมมา ฯลฯ กามทั้งหลายเปรียบเหมือนผลไม้คาต้น ฯลฯ กามทั้งหลายเปรียบเหมือนเขียงหั่นเนื้อ ฯลฯ กามทั้งหลายเปรียบเหมือนหอกหลาว ฯลฯ กามทั้งหลายเปรียบเหมือนหัวงู มีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก มีโทษยิ่งใหญ่ ขอผู้มีอายุจงยินดีในพรหมจรรย์เถิด อย่าเปิดเผยความท้อแท้ ในสิกขา บอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์เลย” เธออันเพื่อน พรหมจารีทั้งหลายกล่าวสอนพร่ำสอนอยู่อย่างนี้ จึงกล่าวอย่างนี้ ว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย ผมจักขะมักเขม้นเพียรพยายามอย่างดียิ่ง จักไม่เปิดเผยความท้อแท้ในสิกขา ไม่บอกคืนสิกขากลับมาเป็น คฤหัสถ์อีก” เรากล่าวว่าภิกษุนี้เปรียบเหมือนนักรบอาชีพนั้นถือดาบและโล่ ผูกสอดธนูและ แล่งแล้วเข้าสู่สมรภูมิ เขาขะมักเขม้นพยายามรบในสมรภูมินั้น พวกข้าศึกทำร้าย เขาให้บาดเจ็บ พวกของเขานำเขามาส่งให้ถึงหมู่ญาติ หมู่ญาติพยาบาลรักษาเขา เขาอันหมู่ญาติพยาบาลรักษาอยู่ก็หายจากอาการบาดเจ็บนั้น บุคคลบางคนแม้ เช่นนี้ก็มีอยู่ในธรรมวินัยนี้ นี้คือบุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพจำพวกที่ ๔ ซึ่งมี ปรากฏอยู่ในภิกษุทั้งหลาย ๕. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เข้าไปอาศัยหมู่บ้านหรือนิคมบางแห่งอยู่ เวลา เช้า เธอครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังหมู่บ้านหรือ นิคมนั้นเพื่อบิณฑบาต รักษากาย รักษาวาจา รักษาจิต มีสติตั้งมั่น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๑๓๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๓. โยธาชีวรรค ๖. ทุติยโยธาชีวสูตร

สำรวมอินทรีย์ เธอเห็นรูปทางตาแล้วไม่รวบถือไม่แยกถือปฏิบัติ เพื่อสำรวมในจักขุนทรีย์ ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุให้บาป อกุศลธรรมคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จึงรักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ฟังเสียงทางหู ฯลฯ ดมกลิ่นทาง จมูก ฯลฯ ลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ฯลฯ รู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ปฏิบัติเพื่อ สำรวมในมนินทรีย์ ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุให้บาปอกุศล ธรรม คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จึงรักษามนินทรีย์ ถึงความสำรวมในมนินทรีย์ เธอกลับจากบิณฑบาต หลังจากฉัน อาหารเสร็จแล้ว พักอยู่ ณ เสนาสนะอันเงียบสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าทึบ ที่แจ้ง ลอมฟาง เธอไปสู่ป่า ไปสู่ โคนไม้ หรือไปสู่เรือนว่าง นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้ เฉพาะหน้า เธอละอภิชฌาในโลกได้แล้ว ฯลฯ ละนิวรณ์ ๕ ประการนี้ ซึ่งเป็นเครื่องเศร้าหมองใจ ทอนกำลังปัญญาแล้ว สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีสติ บริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความเศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ เธอน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ รู้ชัด ตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ๑- ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ อีกต่อไป” เรากล่าวว่าภิกษุนี้เปรียบเหมือนนักรบอาชีพนั้นถือดาบและโล่ ผูกสอดธนูและแล่งแล้วเข้าสู่สมรภูมิ เขาชนะสงครามนั้นแล้ว เป็น @เชิงอรรถ : @ ดูความเต็มในข้อ ๗๕ (ปฐมโยธาชีวสูตร) หน้า ๑๓๐ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๑๓๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๓. โยธาชีวรรค ๗. ปฐมอนาคตภยสูตร

ผู้พิชิตสงคราม ยึดค่ายสงครามนั้นไว้ได้ บุคคลบางคนแม้เช่นนี้ก็มี อยู่ในธรรมวินัยนี้ นี้คือบุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพจำพวกที่ ๕ ซึ่งมีปรากฏอยู่ในภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพ ๕ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ใน ภิกษุทั้งหลาย
ทุติยโยธาชีวสูตรที่ ๖ จบ

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๑๓๔-๑๓๘. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=22&A=3830&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=22&siri=76              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=22&A=2178&Z=2305&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=76              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=22&item=76&items=1              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=22&item=76&items=1              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]