ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๕. ติกัณฑกีวรรค ๓. สารันททสูตร

๓. สารันททสูตร
ว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่สารันททเจดีย์
[๑๔๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เขตกรุงเวสาลี ครั้งนั้น เวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรและ จีวร เสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงเวสาลี สมัยนั้นเจ้าลิจฉวีประมาณ ๕๐๐ พระองค์ นั่งประชุมกันอยู่ที่สารันททเจดีย์ ได้สนทนากันว่า ความปรากฏแห่งแก้ว ๕ ประการ หาได้ยากในโลก ความปรากฏแห่งแก้ว ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ความปรากฏแห่งช้างแก้ว หาได้ยากในโลก ๒. ความปรากฏแห่งม้าแก้ว หาได้ยากในโลก ๓. ความปรากฏแห่งมณีแก้ว หาได้ยากในโลก ๔. ความปรากฏแห่งนางแก้ว หาได้ยากในโลก ๕. ความปรากฏแห่งคหบดีแก้ว หาได้ยากในโลก ความปรากฏแห่งแก้ว ๕ ประการนี้ หาได้ยากในโลก ครั้งนั้น เจ้าลิจฉวีเหล่านั้นได้ส่งคนไปคอยดักทางโดยรับสั่งว่า “พ่อผู้เจริญ เมื่อท่านเห็นพระผู้มีพระภาคเสด็จมา พึงมาบอกแก่พวกเรา” บุรุษนั้นได้เห็นพระผู้มีพระภาคเสด็จมาแต่ไกล จึงเข้าไปหาเจ้าลิจฉวีเหล่านั้น ถึงที่อยู่ แล้วทูลว่า “ขอเดชะ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น กำลังเสด็จมา พระเจ้าข้า ขอพระองค์จงทราบกำหนดเวลาที่สมควร ณ บัดนี้เถิด” ลำดับนั้น เจ้าลิจฉวีเหล่านั้นได้พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว ประทับยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคทรงพระกรุณา เสด็จเข้าไปยังสารันททเจดีย์เถิด” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๒๓๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๕. ติกัณฑกีวรรค ๓. สารันททสูตร

พระผู้มีพระภาคทรงรับอาราธนาโดยดุษณีภาพแล้วได้เสด็จเข้าไปยังสารันททเจดีย์ ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้ ได้ตรัสถามเจ้าลิจฉวีเหล่านั้นว่า “เจ้าลิจฉวีทั้งหลาย เวลานี้ พวกท่านนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร พูดเรื่องอะไรค้างไว้” เจ้าลิจฉวีเหล่านั้นกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อข้าพระองค์ทั้งหลาย นั่งประชุมกันอยู่ ณ ที่นี้ ได้สนทนากันว่า ‘ความปรากฏแห่งแก้ว ๕ ประการ หาได้ ยากในโลก ความปรากฏแห่งแก้ว ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ความปรากฏแห่งช้างแก้ว หาได้ยากในโลก ๒. ความปรากฏแห่งม้าแก้ว หาได้ยากในโลก ๓. ความปรากฏแห่งมณีแก้ว หาได้ยากในโลก ๔. ความปรากฏแห่งนางแก้ว หาได้ยากในโลก ๕. ความปรากฏแห่งคหบดีแก้ว หาได้ยากในโลก ความปรากฏแห่งแก้ว ๕ ประการนี้ หาได้ยากในโลก” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เจ้าลิจฉวีทั้งหลายเป็นผู้มุ่งกาม๑- จริงหนอ สนทนากัน แต่เรื่องกาม เจ้าลิจฉวีทั้งหลาย ความปรากฏแห่งแก้ว ๕ ประการ หาได้ยากในโลก ความปรากฏแห่งแก้ว ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ความปรากฏแห่งตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า หาได้ยากในโลก ๒. บุคคลผู้แสดงธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศไว้ หาได้ยากในโลก ๓. บุคคลผู้รู้แจ้งธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศไว้ซึ่งผู้อื่นแสดงแล้ว หาได้ ยากในโลก @เชิงอรรถ : @ กาม ในทีนี้หมายถึงวัตถุกามและกิเลสกาม (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๔๓/๕๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๒๓๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๕. ติกัณฑกีวรรค ๔. ติกัณฑกีสูตร

๔. บุคคลผู้รู้แจ้งธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศไว้ซึ่งผู้อื่นแสดงแล้ว เป็นผู้ ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม๑- หาได้ยากในโลก ๕. กตัญญูกตเวทีบุคคล๒- หาได้ยากในโลก เจ้าลิจฉวีทั้งหลาย ความปรากฏแห่งแก้ว ๕ ประการนี้แล หาได้ยากในโลก
สารันททสูตรที่ ๓ จบ
๔. ติกัณฑกีสูตร
ว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่ป่าติกัณฑกีวัน
[๑๔๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ป่าติกัณฑกีวัน เขตเมือง สาเกต ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย ๑. ภิกษุพึงมีสัญญาว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูล๓- ตามกาลอันควร ๒. ภิกษุพึงมีสัญญาว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูล๔- ตามกาลอันควร ๓. ภิกษุพึงมีสัญญาว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูล ตามกาลอันควร ๔. ภิกษุพึงมีสัญญาว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลและสิ่งไม่ปฏิกูล ตามกาลอันควร @เชิงอรรถ : @ ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม หมายถึงปฏิบัติข้อปฏิบัติเบื้องต้นพร้อมทั้งศีล เพื่อบรรลุโลกุตตรธรรม ๙ @ประการ คือ มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๔๓/๕๖) @ กตัญญูกตเวทีบุคคล หมายถึงบุคคลที่รู้อุปการคุณที่ผู้อื่นกระทำแก่ตนแล้วกระทำปฏิการคุณตอบแทน @พร้อมทั้งประกาศเกียรติคุณให้ปรากฏ (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๑๕/๒๖๑) @ มีสัญญาว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูล หมายถึงมีความกำหนดหมายในอารมณ์ที่น่าปรารถนาว่าเป็นสิ่งไม่งาม @หรือพิจารณาเห็นว่าเป็นสิ่งไม่เที่ยง (ตามนัย องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๔๔/๕๖) @ มีสัญญาว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูล หมายถึงมีความกำหนดหมายในอารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนาว่าเป็นสิ่งที่ @ควรแผ่เมตตา และพิจารณาเห็นว่าเป็นเพียงธาตุ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๔๔/๕๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๒๓๙}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๒๓๗-๒๓๙. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=22&A=6712&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=22&siri=143              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=22&A=3914&Z=3948&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=143              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=22&item=143&items=1              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=22&item=143&items=1              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]