ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๒. สติปัฏฐานวรรค ๑. สิกขาทุพพัลยสูตร

๒. สติปัฏฐานวรรค
หมวดว่าด้วยสติปัฏฐาน
๑. สิกขาทุพพัลยสูตร
ว่าด้วยเหตุท้อแท้ในสิกขา๑-
[๖๓] ภิกษุทั้งหลาย เหตุท้อแท้ในสิกขา ๕ ประการนี้ เหตุท้อแท้ในสิกขา ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. การฆ่าสัตว์ ๒. การลักทรัพย์ ๓. การประพฤติผิดในกาม ๔. การพูดเท็จ ๕. การเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท ภิกษุทั้งหลาย เหตุท้อแท้ในสิกขา ๕ ประการนี้แล ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการ เพื่อละเหตุท้อแท้ในสิกขา ๕ ประการนี้ สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. พิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด อภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ @เชิงอรรถ : @ คำว่า เหตุท้อแท้ในสิกขา แยกอธิบายได้ดังนี้ คือ (๑) เหตุท้อแท้ หมายถึงเหตุให้เบื่อหน่ายในการ @ประพฤติพรหมจรรย์ ได้แก่ การล่วงละเมิดศีล ๕ (๒) สิกขา หมายถึงสิกขา ๓ ประการ คือ อธิสีลสิกขา @อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา และในสิกขา ๓ นั้น ในที่นี้ท่านประสงค์เอาอธิสีลสิกขา @(เทียบ วิ.มหา. (แปล) ๑/๔๕-๕๔/๓๓-๔๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๕๔๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๒. สติปัฏฐานวรรค ๒.นีวรณสูตร

๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา ฯลฯ ๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ ๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด อภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ เพื่อละเหตุท้อแท้ใน สิกขา ๕ ประการนี้แล
สิกขาทุพพัลยสูตรที่ ๑ จบ

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๕๔๘-๕๔๙. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=23&A=15309&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=23&siri=226              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=23&A=9773&Z=9787&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=267              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=23&item=267&items=1              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=23&item=267&items=1              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu23

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]