ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๔. เทวตาวรรค ๑๑. ปฐมนิททสสูตร

ปริพาชกนั่งประชุมกัน สนทนากันในระหว่างการประชุมว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ท่าน ผู้ใดผู้หนึ่งประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบ ๑๒ ปี ควรเรียกท่านผู้นั้นว่า ‘นิททสภิกษุ’ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่ยินดี ไม่คัดค้านภาษิตของ อัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น ลุกจากอาสนะจากไปด้วยคิดว่า ‘เราจักรู้ชัดเนื้อความ แห่งภาษิตนี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาค’ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อาจหรือหนอที่จะ บัญญัตินิททสภิกษุไว้ในพระธรรมวินัยนี้ด้วยเหตุเพียงนับพรรษาอย่างเดียว” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า สารีบุตร ไม่อาจเลยที่จะบัญญัตินิททสภิกษุไว้ ในธรรมวินัยนี้ด้วยเหตุเพียงนับพรรษาอย่างเดียว นิททสวัตถุ ๗ ประการนี้แล เราทำ ให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วจึงประกาศไว้ นิททสวัตถุ ๗ ประการ๑- อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในการสมาทานสิกขา และได้ความรักใน การสมาทานสิกขาต่อไป ๒. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในการใคร่ครวญธรรม และได้ความรัก ในการใคร่ครวญธรรมต่อไป ๓. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในการกำจัดความอยาก และได้ความรัก ในการกำจัดความอยากต่อไป ๔. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในการหลีกเร้น และได้ความรักในการ หลีกเร้นต่อไป ๕. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในการปรารภความเพียร และได้ความ รักในการปรารภความเพียรต่อไป ๖. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในสติปัญญาเป็นเครื่องรักษาตน และได้ ความรักในสติปัญญาเป็นเครื่องรักษาตนต่อไป @เชิงอรรถ : @ ดูนิททสวัตถุสูตร สัตตกนิบาต ข้อ ๒๐ หน้า ๒๙-๓๐ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๖๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๔. เทวตาวรรค ๑๒. ทุติยนิททสสูตร

๗. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในการแทงตลอดด้วยทิฏฐิ และได้ความ รักในการแทงตลอดด้วยทิฏฐิต่อไป สารีบุตร นิททสวัตถุ ๗ ประการนี้แล เราทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว จึงประกาศไว้ ภิกษุประกอบด้วยนิททสวัตถุ ๗ ประการนี้แล หากประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบ ๑๒ ปี ควรเรียกภิกษุนั้นว่า ‘นิททสภิกษุ’ หากประพฤติพรหมจรรย์ บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบ ๒๔ ปี ควรเรียกภิกษุนั้นว่า ‘นิททสภิกษุ’ หากประพฤติพรหม จรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบ ๓๖ ปี ก็ควรเรียกภิกษุนั้นว่า ‘นิททสภิกษุ’ หากประพฤติ พรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบ ๔๘ ปี ก็ควรเรียกภิกษุนั้นว่า ‘นิททสภิกษุ'
ปฐมนิททสสูตรที่ ๑๑ จบ

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๖๓-๖๔. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=23&A=1680&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=23&siri=39              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=23&A=853&Z=900&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=39              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=23&item=39&items=1              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=23&item=39&items=1              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu23

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]