ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
๑๐. นันทมาตาสูตร
ว่าด้วยอริยธรรมของนันทมาตาอุบาสิกา
[๕๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาโมคคัลานะ จาริกไปในทักขิณาคีรี ชนบท พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ สมัยนั้นแล ในเวลาใกล้รุ่ง นันทมาตาอุบาสิกา ชาวเมืองเวฬุกัณฏกะ๒- ลุกขึ้นสวดปารายนสูตร๓- เป็นทำนองสรภัญญะ @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๕ สัตตกนิบาต ข้อ ๔๔ หน้า ๖๗ ในเล่มนี้ @ ที่มีชื่อว่า เวฬุกัณฏกะ เพราะเป็นเมืองที่ถูกสร้างกำแพงล้อมรอบโดยใช้ไม้ไผ่ (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๕๓/๑๘๗) @ ที่ชื่อว่า ปารายนะ เพราะนำไปสู่ฝั่งคือนิพพาน (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๕๓/๑๘๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๙๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๕. มหายัญญวรรค ๑๐. นันทมาตาสูตร

ท้าวเวสวัณมหาราชมีกรณียกิจบางอย่าง เสด็จจากทิศเหนือไปยังทิศใต้ ได้สดับ เสียงของนันทมาตาที่กำลังสวดปารายนสูตรเป็นทำนองสรภัญญะ ได้ประทับยืนสดับ จนสวดจบ ครั้นนันทมาตาอุบาสิกาสวดปารายนสูตรเป็นทำนองสรภัญญะจบแล้วก็นิ่งอยู่ ท้าวเวสวัณมหาราชทรงทราบว่านันทมาตาอุบาสิกาสวดจบ จึงอนุโมทนาว่า “ดีละ พี่หญิง ดีละ พี่หญิง” “ท่านผู้มีพักตร์ผ่องใสนี้คือใคร” “เราคือเวสวัณมหาราช พี่ชายของเธอ” “ท่านผู้มีพักตร์ผ่องใส ดีละ ถ้าเช่นนั้น ขอธรรมบรรยายที่ดิฉันสวดนี้จงเป็น เครื่องต้อนรับท่าน” “ดีละ พี่หญิง นั่นแหละจงเป็นเครื่องต้อนรับเรา พรุ่งนี้ ภิกษุสงฆ์มีท่านพระ สารีบุตรและท่านพระโมคคัลลานะเป็นประธาน ยังไม่ทันฉันอาหารเช้า จักมาถึง เมืองเวฬุกัณฏกะ เธอพึงอังคาสภิกษุสงฆ์นั้นอุทิศทักษิณาทานแก่เรา การทำอย่างนี้ จักเป็นเครื่องต้อนรับเรา” ครั้นคืนนั้นผ่านไป นันทมาตาอุบาสิกาได้จัดของขบฉันอย่างดีไว้ในนิเวศน์ของตน ลำดับนั้นแล ภิกษุสงฆ์มีท่านพระสารีบุตรและท่านพระโมคคัลลานะเป็นประธาน ยังไม่ทันฉันอาหารเช้า ก็ได้เดินทางมาถึงเมืองเวฬุกัณฏกะ นันทมาตาอุบาสิกาจึง เรียกบุรุษคนหนึ่งมาสั่งว่า “มานี่ พ่อหนุ่ม เธอจงไปยังอารามบอกภัตตกาล(เวลา ฉันอาหาร)แก่ภิกษุสงฆ์ว่า ‘ท่านผู้เจริญ ได้เวลาแล้ว ภัตตาหารในนิเวศน์ของคุณแม่ นันทมาตาอุบาสิกาเสร็จแล้ว” บุรุษนั้นรับคำแล้วก็ไปยังอารามบอกภัตตกาลแก่ภิกษุสงฆ์ว่า “ท่านผู้เจริญ ได้เวลาแล้ว ภัตตาหารในนิเวศน์ของคุณแม่นันทมาตาอุบาสิกาเสร็จแล้ว” ครั้นเวลาเช้า ภิกษุสงฆ์มีท่านพระสารีบุตรและท่านพระโมคคัลลานะเป็นประธาน ครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร เข้าไปยังนิเวศน์ของนันทมาตาอุบาสิกาแล้วนั่ง บนอาสนะที่ปูลาดไว้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๙๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๕. มหายัญญวรรค ๑๐. นันทมาตาสูตร

ลำดับนั้นแล นันทมาตาอุบาสิกาได้อังคาส๑- ภิกษุสงฆ์มีท่านพระสารีบุตรและ ท่านพระโมคคัลลานะเป็นประธานให้อิ่มหนำสำราญด้วยของเคี้ยวของฉันอันประณีต ด้วยมือตนเอง เมื่อท่านพระสารีบุตรฉันเสร็จวางมือจากบาตร นันทมาตาอุบาสิกาจึงนั่ง ณ ที่สมควรที่ใดที่หนึ่งซึ่งต่ำกว่า ท่านพระสารีบุตรได้ถามนันทมาตาอุบาสิกาว่า “นันทมาตา ใครบอกการมาของภิกษุสงฆ์แก่เธอ” นันทมาตาอุบาสิกาตอบว่า ๑. “ท่านผู้เจริญ ขอโอกาสเจ้าค่ะ ในเวลาใกล้รุ่ง ดิฉันลุกขึ้นสวดปารายนสูตร เป็นทำนองสรภัญญะจบแล้วได้นิ่งอยู่ ขณะนั้น ท้าวเวสวัณมหาราชทรงทราบว่า ดิฉันสวดจบแล้ว จึงอนุโมทนาว่า ‘ดีละ พี่หญิง ดีละ พี่หญิง’' ดิฉันจึงถามว่า ‘ท่านผู้มีพักตร์ผ่องใสนี้คือใคร’ ท้าวเวสวัณตอบว่า ‘เราคือเวสวัณมหาราช พี่ชาย ของเธอ’ ดิฉันกล่าวว่า ‘ท่านผู้มีพักตร์ผ่องใส ดีละ ถ้าเช่นนั้น ขอธรรมบรรยายที่ดิฉัน สวดนี้จงเป็นเครื่องต้อนรับท่าน’ ท้าวเวสวัณตอบว่า ‘ดีละ พี่หญิง นั่นแหละจงเป็น เครื่องต้อนรับเรา พรุ่งนี้ ภิกษุสงฆ์มีท่านพระสารีบุตรและท่านพระโมคคัลลานะเป็น ประธาน ยังไม่ทันฉันอาหารเช้า จักมาถึงเมืองเวฬุกัณฏกะ เธอพึงอังคาสภิกษุสงฆ์ นั้นอุทิศทักษิณาทานแก่เรา การทำอย่างนี้จักเป็นเครื่องต้อนรับเรา’ ท่านผู้เจริญ ขอบุญอันมีผลมากในทานนี้จงอำนวยผลเพื่อความสุขแด่ท้าวเวสวัณมหาราชเถิด” “นันทมาตา น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ที่เธอเจรจากันต่อหน้าท้าว เวสวัณมหาราชผู้เป็นเทพบุตรมีฤทธิ์มากอย่างนี้ มีศักดิ์มากอย่างนี้” ๒. “ท่านผู้เจริญ ธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏของดิฉัน มิใช่มีเท่านี้ ธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏของดิฉัน แม้อย่างอื่นยังมีอยู่ ขอโอกาสเจ้าค่ะ ดิฉันมีบุตรคนเดียวชื่อนันทะ เป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจ พระราชาได้กดขี่ ข่มเหงฆ่าเธอ เพราะสาเหตุเพียงนิดเดียว เมื่อเด็กนั้นถูกจับแล้วก็ตาม กำลังถูกจับก็ตาม ถูกฆ่า แล้วก็ตาม กำลังถูกฆ่าก็ตาม ถูกประหารแล้วก็ตาม กำลังถูกประหารก็ตาม ดิฉัน ไม่รู้สึกว่าจิตจะหวั่นไหวเลย” @เชิงอรรถ : @ อังคาส เป็นคำภาษาเขมรที่นำมาใช้เป็นคำกริยาในภาษาไทยหมายถึงถวายอาหารพระ เลี้ยงพระ แปลจาก @คำว่า สนฺตปฺเปสิ ปรากฏในพระไตรปิฎกหลายเล่ม (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๙๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๕. มหายัญญวรรค ๑๐. นันทมาตาสูตร

“นันทมาตา น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ แม้เพียงจิตตุปบาทเธอก็ทำให้ บริสุทธิ์ได้” ๓. “ท่านผู้เจริญ ธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏของดิฉัน มิใช่มีเท่านี้ ธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏของดิฉัน แม้อย่างอื่นยังมีอยู่ ขอโอกาสเจ้าค่ะ สามีของดิฉันตายแล้วไปเกิดเป็นยักษ์ตนหนึ่ง มาปรากฏตัวอย่างเดิมให้ดิฉันเห็น ดิฉันไม่รู้สึกว่าจิตจะหวั่นไหวเพราะเหตุนั้นเลย” “นันทมาตา น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ แม้เพียงจิตตุปบาทเธอก็ทำให้ บริสุทธิ์ได้” ๔. “ท่านผู้เจริญ ธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏของดิฉัน มิใช่มีเท่านี้ ธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏของดิฉัน แม้อย่างอื่นยังมีอยู่ ขอโอกาสเจ้าค่ะ นับแต่เวลาที่สามีหนุ่มนำดิฉันผู้ยังเป็นสาวมา ดิฉันไม่เคยคิดที่จะประพฤตินอกใจ สามีเลย ไหนเลย จะประพฤตินอกใจด้วยกายเล่า” “นันทมาตา น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ แม้เพียงจิตตุปบาทเธอก็ทำให้ บริสุทธิ์ได้” ๕. “ท่านผู้เจริญ ธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏของดิฉัน มิใช่มีเท่านี้ ธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏของดิฉัน แม้อย่างอื่นยังมีอยู่ ขอโอกาสเจ้าค่ะ เมื่อดิฉันแสดงตนเป็นอุบาสิกาแล้ว ไม่รู้สึกว่าได้จงใจล่วงละเมิดสิกขาบทเลย” “นันทมาตา น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ แม้เพียงจิตตุปบาทเธอก็ทำให้ บริสุทธิ์ได้” ๖. “ท่านผู้เจริญ ธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏของดิฉัน มิใช่มีเท่านี้ ธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏของดิฉัน แม้อย่างอื่นยังมีอยู่ ขอโอกาสเจ้าค่ะ ดิฉันยังหวังว่า เราจะต้องสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌานที่มี วิตก วิจาร ปีติ และสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุ ทุติยฌานมีความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ เพราะปีติจางคลายไป มีอุเบกขา มีสติ สัมปชัญญะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๙๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๕. มหายัญญวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะสรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข’ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว บรรลุ จตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่” “นันทมาตา น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ” ๗. “ท่านผู้เจริญ ธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏของดิฉัน มิใช่มีเท่านี้ ธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏของดิฉัน แม้อย่างอื่นก็ยังมีอยู่ บรรดาสังโยชน์ เบื้องต่ำ ๕ ประการที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว ดิฉันไม่เห็นสังโยชน์อะไรในตน เองที่ยังละไม่ได้” “นันทมาตา น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ” ลำดับนั้นแล ท่านพระสารีบุตรได้ชี้แจงให้นันทมาตาอุบาสิกาเห็นชัด ชวนใจให้ อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง ด้วยธรรมีกถา ลุกจากอาสนะแล้วจากไป
นันทมาตาสูตรที่ ๑๐ จบ
มหายัญญวรรคที่ ๕ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. สัตตวิญญาณัฏฐิติสูตร ๒. สมาธิปริกขารสูตร ๓. ปฐมอัคคิสูตร ๔. ทุติยอัคคิสูตร ๕. ปฐมสัญญาสูตร ๖. ทุติยสัญญาสูตร ๗. เมถุนสูตร ๘. สังโยคสูตร ๙. ทานมหัปผลสูตร ๑๐. นันทมาตาสูตร
ปัณณาสก์ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๙๖}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๙๒-๙๖. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=23&A=2498&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=23&siri=50              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=23&A=1437&Z=1537&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=50              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=23&item=50&items=1              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=23&item=50&items=1              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu23

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]