ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๑. โคตมีวรรค ๖. ภยสูตร

๖. ภยสูตร
ว่าด้วยภัยเป็นชื่อของกาม๑-
[๕๖] ภิกษุทั้งหลาย ๑. คำว่า ‘ภัย’ เป็นชื่อของกาม ๒. คำว่า ‘ทุกข์’ เป็นชื่อของกาม ๓. คำว่า ‘โรค’ เป็นชื่อของกาม ๔. คำว่า ‘ฝี’ เป็นชื่อของกาม ๕. คำว่า ‘ลูกศร’ เป็นชื่อของกาม ๖. คำว่า ‘เครื่องข้อง’ เป็นชื่อของกาม ๗. คำว่า ‘เปือกตม’ เป็นชื่อของกาม ๘. คำว่า ‘การอยู่ในครรภ์’ เป็นชื่อของกาม คำว่า ‘ภัย’ นี้เป็นชื่อของกาม เพราะเหตุไร เพราะสัตว์โลกผู้ยินดีด้วยกามราคะ ถูกฉันทราคะ๒- เกี่ยวพันไว้ ย่อมไม่พ้นจาก ภัยทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพหน้า ฉะนั้น คำว่า ‘ภัย’ นี้ จึงเป็นชื่อของกาม @เชิงอรรถ : @ ดู องฺ.ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๒๓/๔๕๓, ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๑๓๗/๔๔๕-๔๔๖ @ ฉันทราคะ หมายถึงความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจกล่าวคือตัณหา (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๑๓/๒๖๐) ทั้งกาม- @ราคะ และฉันทราคะ เป็นชื่อเรียกกิเลสกามในจำนวน ๑๘ ชื่อ คือ (๑) ฉันทะ (ความพอใจ) (๒) ราคะ @(ความกำหนัด) (๓) ฉันทราคะ (ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ) (๔) สังกัปปะ (ความดำริ) @(๕) ราคะ (ความกำหนัด) (๖) สังกัปปราคะ (ความกำหนัดด้วยอำนาจความดำริ) (๗) กามฉันทะ (ความ @พอใจด้วยอำนาจความใคร่) (๘) กามราคะ (ความกำหนัดด้วยอำนาจความใคร่) (๙) กามนันทะ (ความ @เพลิดเพลินด้วยอำนาจความใคร่) (๑๐) กามตัณหา (ความทะยานอยากด้วยอำนาจความใคร่) (๑๑) กาม- @เสนหะ (ความเยื่อใยด้วยอำนาจความใคร่) (๑๒) กามปริฬาหะ (ความเร่าร้อนด้วยอำนาจความใคร่) @(๑๓) กามมุจฉา (ความสยบด้วยอำนาจความใคร่) (๑๔) กามัชโฌสานะ (ความติดใจด้วยอำนาจความใคร่) @(๑๕) กาโมฆะ (ห้วงน้ำคือความใคร่) (๑๖) กามโยคะ (กิเลสเครื่องประกอบด้วยอำนาจความใคร่) @(๑๗) กามุปาทานะ (กิเลสเครื่องยึดมั่นคือความใคร่) (๑๘) กามัจฉันทนีวรณะ (กิเลสเครื่องกั้นจิตคือ @ความพอใจด้วยอำนาจความใคร่) ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๑/๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๓๔๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๑. โคตมีวรรค ๗. ปฐมอาหุเนยยสูตร

คำว่า ‘ทุกข์’ ฯลฯ คำว่า ‘โรค’ ฯลฯ คำว่า ‘ฝี’ ฯลฯ คำว่า ‘ลูกศร’ ฯลฯ คำว่า ‘เครื่องข้อง’ ฯลฯ คำว่า ‘เปือกตม’ ฯลฯ คำว่า ‘การอยู่ในครรภ์’ เป็นชื่อของกาม เพราะเหตุไร เพราะสัตว์โลกผู้ยินดีด้วยกามราคะ ถูกฉันทราคะเกี่ยวพันไว้ ย่อมไม่พ้นจาก การอยู่ในครรภ์ทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพหน้า ฉะนั้น คำว่า ‘การอยู่ในครรภ์’ นี้ จึงเป็นชื่อของกาม ปุถุชนตกต่ำด้วยราคะอันน่ายินดี๑- ย่อมเข้าถึงความเป็นสัตว์เกิดในครรภ์อีกเพราะกามเหล่าใด กามเหล่านี้ เรียกว่า ภัย ทุกข์ โรค ฝี ลูกศร เครื่องข้อง เปือกตม และการอยู่ในครรภ์ แต่เมื่อใด ภิกษุมีความเพียรเผากิเลส ไม่ละสัมปชัญญะ ภิกษุผู้เช่นนั้นก็ข้ามกามเป็นดุจทางลื่น๒- ที่ข้ามได้ยาก มองเห็นหมู่สัตว์ผู้เข้าถึงชาติและชรา ดิ้นรนอยู่
ภยสูตรที่ ๖ จบ
๗. ปฐมอาหุเนยยสูตร
ว่าด้วยอาหุไนยบุคคล สูตรที่ ๑
[๕๗] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๘ ประการ เป็นผู้ควรแก่ของ ที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็น นาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก @เชิงอรรถ : @ ราคะอันน่ายินดี หมายถึงกามสุข (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๕๖/๒๖๗) @ ทางลื่น หมายถึงทางแห่งวัฏฏะ คือ การเวียนว่ายตายเกิด (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๕๖/๒๖๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๓๕๐}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๓๔๙-๓๕๐. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=23&A=9738&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=23&siri=129              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=23&A=6077&Z=6097&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=146              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=23&item=146&items=1              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=23&item=146&items=1              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu23

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]