ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
๒. อลังสูตร
ว่าด้วยผู้สามารถทำประโยชน์ตนและผู้อื่น
[๖๒] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ เป็นผู้มีความ สามารถสำหรับตนเองและมีความสามารถสำหรับผู้อื่น๑- @เชิงอรรถ : @ หมายถึงสามารถปฏิบัติให้เกื้อกูลสำหรับตนเองและผู้อื่น (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๖๒/๒๖๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๓๕๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๒. ภูมิจาลวรรค ๒. อลังสูตร

ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. ใคร่ครวญได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย๑- ๒. ทรงจำธรรมที่ฟังแล้วไว้ได้ ๓. พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ได้ ๔. รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๕. มีวาจางาม เจรจาถ้อยคำไพเราะ ประกอบด้วยวาจาชาวเมืองที่ สละสลวยไม่หยาบคายให้รู้ความหมายได้ ๖ ชี้แจงให้เพื่อนพรหมจารีเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล เป็นผู้มีความสามารถ สำหรับตนเอง และมีความสามารถสำหรับผู้อื่น ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เป็นผู้มีความสามารถ สำหรับตนเอง และมีความสามารถสำหรับผู้อื่น ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. ใคร่ครวญไม่ได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย แต่ทรงจำธรรมที่ฟังแล้วไว้ได้ ๒. พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ได้ ๓. รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๔. มีวาจางาม ฯลฯ ให้รู้ความหมายได้ ๕. ชี้แจงให้เพื่อนพรหมจารีเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง @เชิงอรรถ : @ ใคร่ครวญได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย หมายถึงเมื่อกล่าวถึงขันธ์ ธาตุ อายตนะ เป็นต้น ก็สามารถเข้าใจ @ได้ฉับพลัน ในสูตรนี้ มุ่งกล่าวถึงสมถะและวิปัสสนา (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๖๒/๒๖๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๓๕๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๒. ภูมิจาลวรรค ๒. อลังสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นผู้มีความสามารถ สำหรับตนเอง และมีความสามารถสำหรับผู้อื่น ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เป็นผู้มีความสามารถ สำหรับตนเอง แต่ไม่มีความสามารถสำหรับผู้อื่น ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. ใคร่ครวญได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย ๒. ทรงจำธรรมที่ฟังแล้วไว้ได้ ๓. พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ได้ รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติ ธรรมสมควรแก่ธรรม ๔. ไม่มีวาจางาม ไม่เจรจาถ้อยคำไพเราะ ไม่ประกอบด้วยวาจา ชาวเมืองที่สละสลวยไม่หยาบคายให้รู้ความหมายได้ ทั้งไม่ชี้แจงให้ เพื่อนพรหมจารีเห็นชัด ไม่ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ ไม่เร้าใจ ให้อาจหาญแกล้วกล้า ไม่ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล เป็นผู้มีความสามารถ สำหรับตนเอง แต่ไม่มีความสามารถสำหรับผู้อื่น ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เป็นผู้มีความสามารถ สำหรับผู้อื่น แต่ไม่มีความสามารถสำหรับตนเอง ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. ใคร่ครวญได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย ๒. ทรงจำธรรมที่ฟังแล้วไว้ได้ แต่ไม่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรง จำไว้ ทั้งไม่รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๓. มีวาจางาม เจรจาถ้อยคำไพเราะ ฯลฯ ให้รู้ความหมายได้ ๔. ชี้แจงให้เพื่อนพรหมจารีเห็นชัด ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๓๕๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๒. ภูมิจาลวรรค ๒. อลังสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล เป็นผู้มีความสามารถ สำหรับผู้อื่น แต่ไม่มีความสามารถสำหรับตนเอง ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ เป็นผู้มีความสามารถ สำหรับตนเอง แต่ไม่มีความสามารถสำหรับผู้อื่น ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. ใคร่ครวญไม่ได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย แต่ทรงจำธรรมที่ฟังแล้วไว้ได้ ๒. พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ได้ ๓. รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม แต่ไม่มีวาจางาม ไม่เจรจาถ้อยคำไพเราะ ไม่ประกอบด้วยวาจาชาวเมืองที่สละสลวย ไม่หยาบคายให้รู้ความหมายได้ ทั้งไม่ชี้แจงให้เพื่อนพรหมจารี เห็นชัด ไม่ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ ไม่เร้าใจให้อาจหาญ แกล้วกล้า ไม่ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล เป็นผู้มีความสามารถ สำหรับตนเอง แต่ไม่มีความสามารถสำหรับผู้อื่น ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ เป็นผู้มีความสามารถ สำหรับผู้อื่น แต่ไม่มีความสามารถสำหรับตนเอง ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. ใคร่ครวญไม่ได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย แต่ทรงจำธรรมที่ฟังแล้วไว้ได้ ๒. ไม่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ได้ ทั้งไม่รู้อรรถรู้ธรรม แล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม แต่มีวาจางาม ฯลฯ ให้รู้ความ หมายได้ ๓. ชี้แจงให้เพื่อนพรหมจารีเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจ ให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๓๖๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๒. ภูมิจาลวรรค ๒. อลังสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล เป็นผู้มีความสามารถ สำหรับผู้อื่น แต่ไม่มีความสามารถสำหรับตนเอง ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๒ ประการ เป็นผู้มีความสามารถ สำหรับตนเอง แต่ไม่มีความสามารถสำหรับผู้อื่น ธรรม ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. ใคร่ครวญไม่ได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย ทั้งไม่ทรงจำธรรมที่ฟัง แล้วไว้ได้ แต่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ได้ ๒. รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมแล้ว แต่ไม่มีวาจางาม ฯลฯ ให้รู้ความหมายได้ ทั้งไม่ชี้แจงให้เพื่อนพรหมจารีเห็นชัด ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๒ ประการนี้แล เป็นผู้มีความสามารถ สำหรับตนเอง แต่ไม่มีความสามารถสำหรับผู้อื่น ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๒ ประการ เป็นผู้มีความสามารถ สำหรับผู้อื่น แต่ไม่มีความสามารถสำหรับตนเอง ธรรม ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. ใคร่ครวญไม่ได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย ทั้งไม่ทรงจำธรรมที่ฟังแล้ว ไว้ได้ ไม่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ได้ ไม่รู้อรรถรู้ธรรม แล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม แต่มีวาจางาม เจรจาถ้อยคำไพเราะ ประกอบด้วยวาจาชาวเมืองที่สละสลวยไม่หยาบคายให้รู้ความหมายได้ ๒. ชี้แจงให้เพื่อนพรหมจารีเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญ แกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๒ ประการนี้แล เป็นผู้มีความสามารถ สำหรับผู้อื่น แต่ไม่มีความสามารถสำหรับตนเอง
อลังสูตรที่ ๒ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๓๖๑}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๓๕๗-๓๖๑. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=23&A=9982&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=23&siri=135              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=23&A=6215&Z=6313&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=152              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=23&item=152&items=8              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=23&item=152&items=8              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu23

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]