ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
พระสุตตันตปิฎก
อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต
_______________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
๑. ปฐมปัณณาสก์
๑. อานิสังสวรรค
หมวดว่าด้วยอานิสงส์
๑. กิมัตถิยสูตร
ว่าด้วยคำถามเกี่ยวกับผลแห่งศีล
[๑] ข้าพเจ้า๑- ได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ- บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร๒- ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ศีลที่เป็นกุศล๓- มีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์” @เชิงอรรถ : @ ข้าพเจ้า ในตอนเริ่มต้นของพระสูตรนี้และพระสูตรอื่นๆ ในเล่มนี้หมายถึง พระอานนท์ @ ที่สมควร (เอกมนฺตํ) ในที่นี้หมายถึงที่เหมาะสมเว้นโทษ ๖ ประการคือ (๑) ไกลเกินไป (๒) ใกล้เกินไป @(๓) อยู่เหนือลม (๔) สูงเกินไป (๕) อยู่ตรงหน้าเกินไป (๖) อยู่ข้างหลังเกินไป (องฺ.ทุก.อ. ๒/๑๖/๑๕) @ ศีลที่เป็นกุศล หมายถึงศีลที่ไม่มีโทษ เป็นไปเพื่อความไม่เก้อเขิน ไม่ร้อนใจ (องฺ.ทสก.อ. ๓/๑/๓๑๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๑. อานิสังสวรรค ๑. กิมัตถิยสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ ศีลที่เป็นกุศล มีอวิปปฏิสาร(ความไม่ ร้อนใจ)เป็นผล มีอวิปปฏิสารเป็นอานิสงส์” “อวิปปฏิสารมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ พระพุทธเจ้าข้า” “อานนท์ อวิปปฏิสารมีปราโมทย์(ความบันเทิงใจ)เป็นผล มีปราโมทย์เป็น อานิสงส์” “ปราโมทย์มีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ พระพุทธเจ้าข้า” “อานนท์ ปราโมทย์มีปีติ(ความอิ่มใจ)เป็นผล มีปีติเป็นอานิสงส์” “ปีติมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ พระพุทธเจ้าข้า” “อานนท์ ปีติมีปัสสัทธิ (ความสงบกายสงบใจ) เป็นผล มีปัสสัทธิเป็นอานิสงส์” “ปัสสัทธิมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ พระพุทธเจ้าข้า” “อานนท์ ปัสสัทธิมีสุขเป็นผล มีสุขเป็นอานิสงส์” “สุขมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ พระพุทธเจ้าข้า” “อานนท์ สุขมีสมาธิเป็นผล มีสมาธิเป็นอานิสงส์” “สมาธิมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ พระพุทธเจ้าข้า” “อานนท์ สมาธิมียถาภูตญาณทัสสนะ๑- (ความรู้ ความเห็นตามความเป็นจริง) เป็นผล มียถาภูตญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์” “ยถาภูตญาณทัสสนะมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ พระพุทธเจ้าข้า” “อานนท์ ยถาภูตญาณทัสสนะมีนิพพิทา๒- (ความเบื่อหน่าย) และวิราคะ๓- (ความคลายกำหนัด) เป็นผล มีนิพพิทาและวิราคะเป็นอานิสงส์” “นิพพิทาและวิราคะมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ พระพุทธเจ้าข้า” @เชิงอรรถ : @ ยถาภูตญาณทัสสนะ หมายถึงตรุณวิปัสสนาคือวิปัสสนาที่ยังอ่อนกำลัง เป็นความรู้ขั้วต่อที่ตัดแยก @ระหว่างความเป็นปุถุชนกับความเป็นอริยบุคคล ยังไม่ใช่ความรู้ขั้นสุดท้าย (องฺ.ทสก.อ. ๓/๑/๓๑๘) @ นิพพิทา ในที่นี้หมายถึงพลววิปัสสนา คือ วิปัสสนาที่มีพลัง (องฺ.ทสก.อ. ๓/๑/๓๑๘) @ วิราคะ หมายถึงมรรคที่สืบเนื่องจากนิพพิทา ก่อนวิมุตติจะเกิดขึ้น (องฺ.ทสก.อ. ๓/๑/๓๑๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๑. อานิสังสวรรค ๒. เจตนากรณียสูตร

“อานนท์ นิพพิทาและวิราคะมีวิมุตติญาณทัสสนะ๑- (ความรู้ความเห็นในวิมุตติ) เป็นผล มีวิมุตติญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์ อานนท์ ศีลที่เป็นกุศลมีอวิปปฏิสารเป็นผล มีอวิปปฏิสารเป็นอานิสงส์ อวิปปฏิสารมีปราโมทย์เป็นผล มีปราโมทย์เป็นอานิสงส์ ปราโมทย์มีปีติเป็นผล มีปีติเป็นอานิสงส์ ปีติมีปัสสัทธิเป็นผล มีปัสสัทธิเป็นอานิสงส์ ปัสสัทธิมีสุขเป็นผล มีสุขเป็นอานิสงส์ สุขมีสมาธิเป็นผล มีสมาธิเป็นอานิสงส์ สมาธิมียถาภูตญาณ- ทัสสนะเป็นผล มียถาภูตญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์ ยถาภูตญาณทัสสนะมี นิพพิทาและวิราคะเป็นผล มีนิพพิทาและวิราคะเป็นอานิสงส์ นิพพิทาและวิราคะมี วิมุตติญาณทัสสนะเป็นผล มีวิมุตติญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์ อย่างนี้ อานนท์ ศีลที่เป็นกุศล ย่อมทำอรหัตตผลให้บริบูรณ์โดยลำดับ อย่างนี้แล”
กิมัตถิยสูตรที่ ๑ จบ
๒. เจตนากรณียสูตร
ว่าด้วยกรรมที่ไม่ต้องทำด้วยความตั้งใจ
[๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล ไม่ต้องตั้งใจว่า ‘ขออวิปปฏิสารจงเกิดขึ้นแก่เรา’ การที่อวิปปฏิสารเกิดขึ้นแก่บุคคล ผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีลนี้ เป็นธรรมดา๒- บุคคลผู้มีอวิปปฏิสารไม่ต้องตั้งใจว่า ‘ขอปราโมทย์จงเกิดขึ้นแก่เรา’ การที่ ปราโมทย์เกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มีอวิปปฏิสารนี้ เป็นธรรมดา บุคคลผู้มีปราโมทย์ไม่ต้องตั้งใจว่า ‘ขอปีติจงเกิดขึ้นแก่เรา’ การที่ปีติเกิดขึ้นแก่ บุคคลผู้มีปราโมทย์นี้ เป็นธรรมดา บุคคลผู้มีใจประกอบด้วยปีติไม่ต้องตั้งใจว่า ‘ขอกายของเราจงสงบ’ การที่ บุคคลผู้มีใจประกอบด้วยปีติมีกายสงบนี้ เป็นธรรมดา @เชิงอรรถ : @ วิมุตติญาณทัสสนะ เป็นความรู้ขั้นสุดท้าย แยกอธิบายได้ว่า วิมุตติ หมายถึงอรหัตตผลญาณทัสสนะ @หมายถึงปัจจเวกขณญาณ คือญาณที่เกิดขึ้นถัดจากการบรรลุมรรคผลด้วยมัคคญาณและผลญาณเพื่อ @พิจารณามรรคผล พิจารณากิเลสที่ละได้และเหลืออยู่รวมทั้งพิจารณานิพพาน (องฺ.ทสก.อ. ๓/๑/๓๑๘) @ ธรรมดา ในที่นี้หมายถึงสภาวธรรมที่เกิดเอง คำนี้มุ่งแสดงกฎแห่งเหตุผล (องฺ.ทสก.อ. ๓/๒/๓๑๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๓}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๔ หน้าที่ ๑-๓. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=24&A=1&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=24&siri=1              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=24&A=1&Z=45&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=1              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=24&item=1&items=1              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=24&item=1&items=1              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu24

อ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]