ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๑. สจิตตวรรค ๔. สมถสูตร

๔. สมถสูตร
ว่าด้วยความสงบแห่งจิต
[๕๔] ภิกษุทั้งหลาย หากภิกษุไม่ฉลาดในวาระจิตของผู้อื่น เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุพึงสำเหนียกว่า ‘เราจักเป็นผู้ฉลาดในวาระจิตของตน’ ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้ง หลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล ภิกษุฉลาดในวาระจิตของตน เป็นอย่างไร คือ ภิกษุมีการพิจารณาที่เป็นอุปการะมากในกุศลธรรมทั้งหลายว่า ‘เราได้ ความสงบแห่งจิตภายในหรือไม่ได้หนอ เราได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง หรือไม่ได้หนอ’ เปรียบเหมือนสตรีหรือบุรุษที่ยังหนุ่มสาว มีปกติชอบแต่งตัว ส่องดู เงาหน้าของตนในกระจกเงาอันบริสุทธิ์ผุดผ่อง หรือในภาชนะน้ำที่ใส ถ้าเห็นธุลีหรือ จุดดำที่หน้านั้น ก็พยายามขจัดธุลีหรือจุดดำนั้นเสีย หากไม่เห็นธุลีหรือจุดดำนั้น ก็ดีใจ ภูมิใจ ด้วยเหตุนั้นเองว่า ‘เป็นลาภของเรา หน้าของเราบริสุทธิ์แล้วหนอ’ ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า ‘เราได้ความสงบแห่งจิตภายใน แต่ไม่ได้ ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง’ ภิกษุนั้นควรตั้งมั่นในความสงบแห่งจิตภายใน แล้วทำความเพียรเพื่อความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่งเถิด สมัยต่อมา ภิกษุนั้น ได้ทั้งความสงบแห่งจิตภายใน และความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า ‘เราได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง แต่ไม่ได้ความสงบแห่งจิตภายใน’ ภิกษุนั้นควรตั้งมั่นอยู่ในความเห็นแจ้งธรรมด้วย ปัญญาอันยิ่งแล้วทำความเพียรเพื่อความสงบแห่งจิตภายในเถิด สมัยต่อมา ภิกษุ นั้นได้ทั้งความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง และความสงบจิตภายใน ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า ‘เราไม่ได้ความสงบแห่งจิตภายใน และความ เห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง’ ภิกษุนั้นควรทำความพอใจ ความพยายาม ความ อุตสาหะ ความขะมักเขม้น ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะให้มีประมาณยิ่ง เพื่อได้กุศลธรรมเหล่านั้นเถิด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๑๑๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๑. สจิตตวรรค ๔. สมถสูตร

ภิกษุนั้นพึงทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะให้มีประมาณยิ่งเพื่อได้กุศลธรรมเหล่านั้น เปรียบ เหมือนบุคคลผู้มีผ้าที่ถูกไฟไหม้ หรือมีศีรษะที่ถูกไฟไหม้ ทำความพอใจ ความ พยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะ ให้มีประมาณยิ่งเพื่อดับไฟที่ไหม้ผ้าหรือไฟที่ไหม้ศีรษะนั้น สมัยต่อมา ภิกษุนั้น ได้ทั้ง ความสงบแห่งจิตภายใน และความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า ‘เราได้ความสงบแห่งจิตภายใน ได้ความเห็น แจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง’ ภิกษุนั้นควรตั้งมั่นอยู่ในกุศลธรรมเหล่านั้นแล้ว ทำ ความเพียร เพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายให้ยิ่งขึ้นไป แม้จีวรเราก็กล่าวว่ามี ๒ อย่าง คือจีวรที่ควรใช้สอยและจีวรที่ไม่ควรใช้สอย แม้บิณฑบาตเราก็กล่าวว่ามี ๒ อย่าง คือบิณฑบาตที่ควรฉัน และบิณฑบาตที่ไม่ ควรฉัน แม้เสนาสนะเราก็กล่าวว่ามี ๒ อย่าง คือเสนาสนะที่ควรอยู่อาศัย และ เสนาสนะที่ไม่ควรอยู่อาศัย แม้บ้านและนิคมเราก็กล่าวว่ามี ๒ อย่าง คือบ้านและ นิคมที่ควรอยู่อาศัย และบ้านและนิคมที่ไม่ควรอยู่อาศัย แม้ชนบทและประเทศเรา ก็กล่าวว่ามี ๒ อย่าง คือชนบทและประเทศที่ควรอยู่อาศัย และชนบทและประเทศที่ ไม่ควรอยู่อาศัย แม้บุคคลเราก็กล่าวว่ามี ๒ ประเภท คือบุคคลที่ควรคบ และบุคคล ที่ไม่ควรคบ
จีวรที่ควรใช้สอย และที่ไม่ควรใช้สอย
เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ‘แม้จีวรเราก็กล่าวว่ามี ๒ อย่าง คือจีวรที่ควรใช้สอย และจีวรที่ไม่ควรใช้สอย’ เพราะอาศัยอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น บรรดาจีวร ๒ อย่างนั้น จีวรใดภิกษุรู้ว่า ‘เมื่อเราใช้สอยจีวรนี้แล อกุศลธรรม ทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น กุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมไป’ จีวรนี้ไม่ควรใช้สอย จีวรใดภิกษุ รู้ว่า ‘เมื่อเราใช้สอยจีวรนี้แล อกุศลธรรมเสื่อมไป กุศลธรรมเจริญยิ่งขึ้น’ จีวรนี้ควร ใช้สอย เพราะอาศัยคำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘แม้จีวรเราก็กล่าวว่า มี ๒ อย่าง คือจีวรที่ ควรใช้สอย และจีวรที่ไม่ควรใช้สอย’ เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๑๑๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๑. สจิตตวรรค ๔. สมถสูตร

บิณฑบาตที่ควรฉัน และที่ไม่ควรฉัน
เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ‘แม้บิณฑบาตเราก็กล่าวว่ามี ๒ อย่าง คือ บิณฑบาตที่ควรฉัน และบิณฑบาตที่ไม่ควรฉัน’ เพราะอาศัยอะไร เราจึงกล่าวไว้ เช่นนั้น บรรดาบิณฑบาต ๒ อย่างนั้น บิณฑบาตใดภิกษุรู้ว่า ‘เมื่อเราฉันบิณฑบาต นี้แล อกุศลธรรมเจริญยิ่งขึ้น กุศลธรรมเสื่อมไป’ บิณฑบาตนี้ไม่ควรฉัน บิณฑบาต ใดภิกษุรู้ว่า ‘เมื่อเราฉันบิณฑบาตนี้แล อกุศลธรรมเสื่อมไป กุศลธรรมเจริญยิ่งขึ้น’ บิณฑบาตนี้ควรฉัน เพราะอาศัยคำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘แม้บิณฑบาตเราก็กล่าวว่า มี ๒ อย่าง คือบิณฑบาตที่ควรฉัน และบิณฑบาตที่ไม่ควรฉัน’ เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
เสนาสนะที่ควรอยู่อาศัย และที่ไม่ควรอยู่อาศัย
เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ‘แม้เสนาสนะเราก็กล่าวว่ามี ๒ อย่าง คือเสนาสนะที่ ควรอยู่อาศัย และเสนาสนะที่ไม่ควรอยู่อาศัย’ เพราะอาศัยอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น บรรดาเสนาสนะ ๒ อย่างนั้น เสนาสนะใดภิกษุรู้ว่า ‘เมื่อเราอยู่อาศัย เสนาสนะนี้แล อกุศลธรรมเจริญยิ่งขึ้น กุศลธรรมเสื่อมไป’ เสนาสนะนี้ไม่ควรอยู่ อาศัย เสนาสนะใดภิกษุรู้ว่า ‘เมื่อเราอยู่อาศัยเสนาสนะนี้แล อกุศลธรรมเสื่อมไป กุศลธรรมเจริญยิ่งขึ้น’ เสนาสนะนี้ควรอยู่อาศัย เพราะอาศัยคำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘แม้ เสนาสนะเราก็กล่าวว่ามี ๒ อย่าง คือเสนาสนะที่ควรอยู่อาศัย และเสนาสนะที่ไม่ ควรอยู่อาศัย’ เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
บ้านและนิคมที่ควรอยู่อาศัย และที่ไม่ควรอยู่อาศัย
เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ‘แม้บ้านและนิคมเราก็กล่าวว่ามี ๒ อย่าง คือบ้าน และนิคมที่ควรอยู่อาศัย และบ้านและนิคมที่ไม่ควรอยู่อาศัย’ เพราะอาศัยอะไร เรา จึงกล่าวไว้เช่นนั้น บรรดาบ้านและนิคม ๒ อย่างนั้น บ้านและนิคมใดภิกษุรู้ว่า ‘เมื่อเราอยู่อาศัย บ้านและนิคมนี้แล อกุศลธรรมเจริญยิ่งขึ้น กุศลธรรมเสื่อมไป’ บ้านและนิคมนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๑๑๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๑. สจิตตวรรค ๔. สมถสูตร

ไม่ควรอยู่อาศัย บ้านและนิคมใดภิกษุรู้ว่า ‘เมื่อเราอยู่อาศัยบ้านและนิคมนี้แล อกุศลธรรมเสื่อมไป กุศลธรรมเจริญยิ่งขึ้น’ บ้านและนิคมนี้ควรอยู่อาศัย เพราะ อาศัยคำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘แม้บ้านและนิคมเราก็กล่าวว่ามี ๒ อย่าง คือบ้านและนิคม ที่ควรอยู่อาศัย และบ้านและนิคมที่ไม่ควรอยู่อาศัย’ เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
ชนบทและประเทศที่ควรอยู่อาศัย และที่ไม่ควรอยู่อาศัย
เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ‘แม้ชนบทและประเทศเราก็กล่าวว่ามี ๒ อย่าง คือ ชนบทและประเทศที่ควรอยู่อาศัย และชนบทและประเทศที่ไม่ควรอยู่อาศัย’ เพราะ อาศัยอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น บรรดาชนบทและประเทศ ๒ อย่างนั้น ชนบทและประเทศใดภิกษุรู้ว่า ‘เมื่อเรา อยู่อาศัยชนบทและประเทศนี้แล อกุศลธรรมเจริญยิ่งขึ้น กุศลธรรมเสื่อมไป’ ชนบท และประเทศนี้ไม่ควรอยู่อาศัย ชนบทและประเทศใดภิกษุรู้ว่า ‘เมื่อเราอยู่อาศัย ชนบทและประเทศนี้แล อกุศลธรรมเสื่อมไป กุศลธรรมเจริญยิ่งขึ้น’ ชนบทและ ประเทศนี้ควรอยู่อาศัย เพราะอาศัยคำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘แม้ชนบทและประเทศเราก็ กล่าวว่ามี ๒ อย่าง คือชนบทและประเทศที่ควรอยู่อาศัย และชนบทและประเทศที่ ไม่ควรอยู่อาศัย’ เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
บุคคลที่ควรคบ และที่ไม่ควรคบ
เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ‘แม้บุคคลเราก็กล่าวว่ามี ๒ ประเภท คือบุคคลที่ ควรคบ และบุคคลที่ไม่ควรคบ’ เพราะอาศัยอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น บรรดาบุคคล ๒ ประเภทนั้น บุคคลใดภิกษุรู้ว่า ‘เมื่อเราคบบุคคลนี้แล อกุศล ธรรมเจริญยิ่งขึ้น กุศลธรรมเสื่อมไป’ บุคคลนี้ไม่ควรคบ บุคคลใด ภิกษุรู้ว่า ‘เมื่อเรา คบบุคคลนี้แล อกุศลธรรมเสื่อมไป กุศลธรรมเจริญยิ่งขึ้น’ บุคคลนี้ควรคบ เพราะ อาศัยคำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘แม้บุคคลเราก็กล่าวว่ามี ๒ ประเภท คือ บุคคลที่ควรคบ และบุคคลที่ไม่ควรคบ’ เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
สมถสูตรที่ ๔ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๑๑๙}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๔ หน้าที่ ๑๑๖-๑๑๙. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=24&A=3316&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=24&siri=52              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=24&A=2365&Z=2460&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=54              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=24&item=54&items=1              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=24&item=54&items=1              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu24

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]