ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
๒. กัณฏกสูตร
ว่าด้วยปฏิปักขธรรม
[๗๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เขตกรุงเวสาลี พร้อมด้วยพระสาวกผู้เป็นเถระที่มีชื่อเสียงหลายรูป คือ ท่าน พระปาละ ท่านพระอุปปาละ ท่านพระกักกฏะ ท่านพระกฬิมภะ ท่านพระนิกฏะ ท่านพระกฏิสสหะ และพระสาวกผู้เป็นเถระมีชื่อเสียงเหล่าอื่น สมัยนั้นแล เจ้าลิจฉวีผู้มีกิตติศัพท์เลื่องลือจำนวนมากได้พากันจัดขบวน พยุหยาตราทางสถลมารค เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังป่ามหาวัน ครั้งนั้นแล ท่านพระเถระเหล่านั้นได้มีความคิดอย่างนี้ว่า “เจ้าลิจฉวีผู้มีกิตติศัพท์เลื่องลือ จำนวนมากได้พากันจัดขบวนพยุหยาตราทางสถลมารค เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มี พระภาคยังป่ามหาวัน ก็พระผู้มีพระภาคตรัสว่าฌานมีเสียงเป็นปฏิปักษ์ ทางที่ดี เราทั้งหลายควรจะเข้าไปยังโคสิงคสาลวนทายวัน เป็นผู้เงียบเสียง ไม่พลุกพล่าน อยู่ผาสุก” ทีนั้น พระเถระเหล่านั้นจึงเข้าไปยังโคสิงคสาลวนทายวัน เป็นผู้เงียบเสียง ไม่พลุกพล่าน อยู่ผาสุก {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๑๕๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๓. อากังขวรรค ๒. กัณฏกสูตร

ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ปาลภิกษุไปไหน อุปปาลภิกษุไปไหน กักกฏภิกษุ กฬิมภภิกษุ นิกฏภิกษุ ปฏิสสหภิกษุไปไหน สาวกผู้เป็นเถระเหล่านั้นไปไหนหนอ” ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ท่าน พระเถระเหล่านั้นคิดว่า ‘เจ้าลิจฉวีผู้มีกิตติศัพท์เลื่องลือจำนวนมากได้พากันจัด ขบวนพยุหยาตราทางสถลมารค เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังป่ามหาวัน ก็ พระผู้มีพระภาคตรัสว่าฌานมีเสียงเป็นปฏิปักษ์ ทางที่ดีเราทั้งหลายควรจะเข้าไปยัง โคสิงคสาลวนทายวัน เป็นผู้เงียบเสียง ไม่พลุกพล่าน อยู่ผาสุก’ ทีนั้น พระเถระ เหล่านั้น จึงเข้าไปยังโคสิงคสาลวนทายวัน เป็นผู้เงียบเสียง ไม่พลุกพล่าน อยู่ผาสุก” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ดีละ ดีละ มหาสาวกเหล่านั้น เมื่อ ตอบให้ชัดเจนพึงตอบดังนั้น เพราะเรากล่าวว่าฌานมีเสียงเป็นปฏิปักษ์ ปฏิปักขธรรม ๑๐ ประการนี้ ปฏิปักขธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ความเป็นผู้ยินดีในการคลุกคลีด้วยหมู่ เป็นปฏิปักษ์ต่อผู้ยินดีในความสงัด ๒. การเจริญสุภนิมิต เป็นปฏิปักษ์ต่อผู้เจริญอสุภนิมิต ๓. การดูมหรสพที่เป็นข้าศึก เป็นปฏิปักษ์ต่อผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ๔. ความใกล้ชิดมาตุคาม เป็นปฏิปักษ์ต่อพรหมจรรย์ ๕. เสียง เป็นปฏิปักษ์ต่อปฐมฌาน ๖. วิตกวิจาร เป็นปฏิปักษ์ต่อทุติยฌาน ๗. ปีติ เป็นปฏิปักษ์ต่อตติยฌาน ๘. ลมอัสสาสะปัสสาสะ เป็นปฏิปักษ์ต่อจตุตถฌาน ๙. สัญญาและเวทนา เป็นปฏิปักษ์ต่อสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ๑๐. ราคะ โทสะ และโมหะ เป็นปฏิปักขธรรม {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๑๕๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๓. อากังขวรรค ๓. อิฏฐธัมมสูตร

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้ไม่มีปฏิปักษ์อยู่เถิด (เธอทั้งหลายจงเป็นผู้ หมดปฏิปักขธรรมอยู่เถิด) เธอทั้งหลาย จงเป็นผู้ไม่มีปฏิปักขธรรม หมดปฏิปักข- ธรรมอยู่เถิด พระอรหันต์ทั้งหลายไม่มีปฏิปักขธรรม (พระอรหันต์ทั้งหลายหมด ปฏิปักขธรรม) ภิกษุทั้งหลาย พระอรหันต์ทั้งหลาย เป็นผู้ไม่มีปฏิปักขธรรมและ หมดปฏิปักขธรรม
กัณฏกสูตรที่ ๒ จบ

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๔ หน้าที่ ๑๕๘-๑๖๐. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=24&A=4509&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=24&siri=70              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=24&A=3166&Z=3202&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=72              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=24&item=72&items=1              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=24&item=72&items=1              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu24

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]