ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๓. มหาวรรค]

๖. สภิยสูตร

[๕๒๑] บุคคลผู้วางเฉยในอารมณ์ทั้งปวง มีสติ ไม่เบียดเบียนสัตว์ไรๆ ในโลกทั้งหมด เป็นผู้ข้ามโอฆะได้ เป็นผู้สงบ มีจิตไม่ขุ่นมัว ไม่มีกิเลสฟุ้งซ่าน บุคคลนั้น บัณฑิตเรียกว่า ผู้สงบเสงี่ยม [๕๒๒] บุคคลใดอบรมอินทรีย์ทั้งหลายได้แล้วในโลกทั้งปวง ทั้งภายในและภายนอก รู้ชัดทั้งโลกนี้และโลกหน้า รอคอยอยู่แต่เวลาเท่านั้น บุคคลนั้นผู้อบรมตนแล้วเช่นนี้ บัณฑิตเรียกว่า ผู้ฝึกตนแล้ว๑- [๕๒๓] บุคคลผู้พิจารณากิเลสเครื่องกำหนดจิตทั้งสิ้น รู้ชัดสังสารวัฏทั้ง ๒ ส่วน คือจุติและอุบัติ ปราศจากธุลี ไม่มีกิเลสพอกพูน เป็นผู้หมดจด บรรลุภาวะที่สิ้นสุดการเกิด บัณฑิตเรียกว่า พุทธะ ลำดับนั้น สภิยปริพาชกชื่นชมยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้ว ดีใจ เบิกบาน แช่มชื่น เกิดปีติโสมนัส ได้ทูลถามปัญหากับพระผู้มีพระภาคต่อไปว่า [๕๒๔] บุคคลบรรลุอะไร บัณฑิตจึงเรียกว่า พราหมณ์ บุคคลประพฤติอย่างไร บัณฑิตจึงเรียกว่า สมณะ บุคคลปฏิบัติอย่างไร บัณฑิตจึงเรียกว่า ผู้ล้างบาปได้ บุคคลประพฤติอย่างไร บัณฑิตจึงเรียกว่า นาคะ๒- ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ทูลถามปัญหาแล้ว ขอพระองค์โปรดตรัสพยากรณ์ปัญหาที่ทูลถามด้วยเถิด @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๙๐/๒๘๒, ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๑๘/๑๑๘ @ ดูเชิงอรรถที่ ๑ หน้า ๑๘๕ ในเล่มนี้ และดูเทียบ ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๘๐/๒๓๘, ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๒๗/๑๔๕ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๖๒๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๓. มหาวรรค]

๖. สภิยสูตร

(พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้) [๕๒๕] สภิยะ บุคคลผู้ลอยบาปทั้งปวงได้แล้ว เป็นผู้ปราศจากมลทิน เป็นผู้ประเสริฐ มีจิตตั้งมั่นด้วยสมาธิ ดำรงตนมั่นคง ข้ามพ้นสังสารวัฏ เป็นผู้บริสุทธิ์ครบถ้วน ไม่มีตัณหาและทิฏฐิอาศัย เป็นผู้คงที่ บุคคลนั้นบัณฑิตเรียกว่า พราหมณ์๑- [๕๒๖] บุคคลผู้สงบ ละบุญและบาปได้ เป็นผู้ปราศจากธุลี รู้โลกนี้และโลกหน้า ล่วงพ้นชาติและมรณะได้แล้ว เป็นผู้คงที่ ดำรงตนอยู่เช่นนั้น บัณฑิตเรียกว่า สมณะ [๕๒๗] บุคคลผู้ชำระล้างบาปได้ทั้งหมด ทั้งภายในและภายนอก ในโลกทั้งปวง๒- ไม่กลับมาสู่กัป ในเทวดาและมนุษย์ผู้ยังท่องเที่ยวอยู่ในกัป๓- บัณฑิตเรียกผู้นั้นว่า ผู้ล้างบาปได้ [๕๒๘] บุคคลผู้ไม่ทำบาปแม้เล็กน้อยในโลก สลัดสังโยชน์และเครื่องผูกพันได้ทั้งหมด ไม่ติดข้องอยู่ในกิเลสเครื่องข้องทั้งปวง เป็นผู้หลุดพ้น เป็นผู้คงที่ ผู้ดำรงตนอยู่เช่นนั้น บัณฑิตเรียกว่า นาคะ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๒๕/๑๐๕, ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๒๘/๑๔๗ @ โลกทั้งปวง ในที่นี้หมายถึงอายตนะทั้งหมด (ขุ.สุ.อ. ๒/๕๒๗/๒๕๓) @ กัป ในที่นี้หมายถึงตัณหาและทิฏฐิ (ขุ.สุ.อ. ๒/๕๒๗/๒๕๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๖๒๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๓. มหาวรรค]

๖. สภิยสูตร

ลำดับนั้น สภิยปริพาชก ฯลฯ ได้ทูลถามปัญหากับพระผู้มีพระภาคเป็นข้อ ต่อไปว่า [๕๒๙] พระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสเรียกบุคคลเช่นไรว่า ผู้ชนะเขต ตรัสเรียกบุคคลว่า ผู้ฉลาด ด้วยอาการอย่างไร อย่างไร จึงตรัสเรียกว่า บัณฑิต และอย่างไร ตรัสเรียกว่า มุนี ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ทูลถามปัญหาแล้ว ขอพระองค์โปรดตรัสพยากรณ์ปัญหาที่ทูลถามด้วยเถิด (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบดังนี้) [๕๓๐] สภิยะ บุคคลพิจารณาเขต๑- ทั้งสิ้น คือ เขตเทวดา เขตมนุษย์ และเขตพรหมแล้ว ผู้หลุดพ้นจากเครื่องผูกที่เป็นมูลเหตุแห่งเขต๒- ทั้งมวล เป็นผู้คงที่ ดำรงตนอยู่เช่นนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสเรียกว่า ผู้ชนะเขต [๕๓๑] บุคคลพิจารณากระเปาะฟอง๓- ทั้งสิ้น คือ กระเปาะฟองเทวดา กระเปาะฟองมนุษย์ และกระเปาะฟองพรหมแล้ว ผู้หลุดพ้นจากเครื่องผูกที่เป็นมูลเหตุแห่งกระเปาะฟองทั้งมวล เป็นผู้คงที่ ดำรงตนอยู่เช่นนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสเรียกว่า ผู้ฉลาด [๕๓๒] บุคคลพิจารณาอายตนะทั้ง ๒ ประการ คือ อายตนะทั้งภายในและภายนอกแล้ว @เชิงอรรถ : @ เขต ในที่นี้หมายถึงอายตนะ (ขุ.สุ.อ. ๒/๕๓๐/๒๕๓) @ เครื่องผูกที่เป็นมูลเหตุแห่งเขต หมายถึงอวิชชา ตัณหา และภพ (ขุ.สุ.อ. ๒/๕๓๐/๒๕๔) @ กระเปาะฟอง หมายถึงกรรม (ขุ.สุ.อ. ๒/๕๓๑/๒๕๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๖๒๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๓. มหาวรรค]

๖. สภิยสูตร

มีปัญญาบริสุทธิ์ ก้าวพ้นธรรมดำและธรรมขาว๑- ได้แล้ว เป็นผู้คงที่ ผู้ดำรงตนอยู่เช่นนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสเรียกว่า บัณฑิต [๕๓๓] บุคคลรู้ธรรมทั้งของอสัตบุรุษและสัตบุรุษ ทั้งภายในและภายนอกในโลกทั้งปวง ล่วงพ้นกิเลสเครื่องข้องและตัณหาดุจข่ายได้แล้ว ควรได้รับความเคารพบูชาจากเทวดาและมนุษย์ บุคคลนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสเรียกว่า มุนี๒- ลำดับนั้น สภิยปริพาชก ฯลฯ ได้ทูลถามปัญหากับพระผู้มีพระภาคเป็นข้อ ต่อไปว่า [๕๓๔] บุคคลบรรลุอะไร บัณฑิตจึงเรียกว่า ผู้จบเวท บุคคลปฏิบัติอย่างไร บัณฑิตจึงเรียกว่า ผู้รู้ตาม บุคคลประพฤติตนอย่างไร บัณฑิตจึงเรียกว่า ผู้มีความเพียร และบุคคลตัดอะไรได้ บัณฑิตจึงเรียกว่า บุรุษอาชาไนย ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ทูลถามปัญหาแล้ว ขอพระองค์โปรดตรัสพยากรณ์ปัญหาที่ทูลถามด้วยเถิด (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบดังนี้) [๕๓๕] สภิยะ บุคคลเลือกเฟ้นเวท๓- ทั้งสิ้น ของสมณพราหมณ์ทั้งหลายที่มีอยู่ ปราศจากราคะในเวทนาทั้งปวง ก้าวล่วงเวททั้งปวงได้แล้ว บุคคลนั้น บัณฑิตเรียกว่า ผู้จบเวท๔- @เชิงอรรถ : @ ธรรมดำและธรรมขาว หมายถึงบาปและบุญ (ขุ.สุ.อ. ๒/๕๓๒/๒๕๕) @ ดูเทียบ ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๒๑/๑๒๙ @ เวท ในที่นี้หมายถึงศาสตร์ความรู้ของสมณพราหมณ์ทั้งหมด (ขุ.สุ.อ. ๒/๕๓๕/๒๕๕) @ เวท ในที่นี้หมายถึงมัคคญาณ ๔ (ขุ.สุ.อ. ๒/๕๓๕/๒๕๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๖๒๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๓. มหาวรรค]

๖. สภิยสูตร

[๕๓๖] บุคคลพิจารณารู้เท่าทันกิเลสเครื่องเนิ่นช้า และนามรูปภายในตน และกิเลสอันเป็นมูลเหตุแห่งโรคในภายนอก เป็นผู้หลุดพ้นจากเครื่องผูกอันเป็นมูลเหตุแห่งโรคทั้งปวง เป็นผู้คงที่ ดำรงตนอยู่เช่นนั้น บัณฑิตเรียกว่า ผู้รู้ตาม [๕๓๗] ในโลกนี้ บุคคลผู้งดเว้นบาปทั้งหมด ล่วงพ้นทุกข์ในนรก มีความเพียร เป็นผู้คงที่ ดำรงตนอยู่เช่นนั้น บัณฑิตเรียกว่า ผู้มีความเพียร มีความมุ่งมั่น เป็นนักปราชญ์ [๕๓๘] บุคคลตัดเครื่องผูก๑- อันเป็นมูลเหตุแห่งกิเลสเครื่องข้อง ทั้งภายในและภายนอกได้แล้ว เป็นผู้หลุดพ้นจากเครื่องผูก อันเป็นมูลเหตุแห่งกิเลสเครื่องข้องทั้งปวง เป็นผู้คงที่ ดำรงตนอยู่เช่นนั้น บัณฑิตเรียกว่า บุรุษอาชาไนย ลำดับนั้น สภิยปริพาชก ฯลฯ ได้ทูลถามปัญหากับพระผู้มีพระภาคเป็นข้อ ต่อไปว่า [๕๓๙] บุคคลบรรลุอะไร บัณฑิตจึงเรียกว่า ผู้มีสุตะ บัณฑิตเรียกบุคคลว่า อริยะ ด้วยอาการอย่างไร บุคคลประพฤติอย่างไร บัณฑิตจึงเรียกว่า ผู้มีจรณะ และบุคคลปฏิบัติอย่างไร บัณฑิตจึงเรียกว่า ปริพาชก ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ทูลถามแล้ว ขอพระองค์โปรดตรัสพยากรณ์ปัญหาที่ทูลถามด้วยเถิด @เชิงอรรถ : @ เครื่องผูก ในที่นี้หมายถึงกิเลสทั้งหลาย มีราคะเป็นต้น (ขุ.สุ.อ. ๒/๕๓๘/๒๕๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๖๒๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๓. มหาวรรค]

๖. สภิยสูตร

(พระผู้มีพระภาคตรัสตอบดังนี้) [๕๔๐] สภิยะ บุคคลผู้สดับแล้ว รู้ยิ่งธรรมทั้งปวง ครอบงำธรรมทั้งที่มีโทษและไม่มีโทษต่างๆ มีอยู่ในโลกได้ หมดความสงสัย มีจิตหลุดพ้น ไม่มีความทุกข์ในธรรมทั้งปวง๑- บัณฑิตเรียกว่า ผู้มีสุตะ [๕๔๑] บุคคลผู้มีปัญญา ตัดอาลัยและอาสวะได้แล้ว ไม่ถือกำเนิดเกิดในครรภ์อีก ละสัญญา ๓ อย่าง และละเปือกตมคือกามได้ ไม่กลับมาสู่กัป๒- อีก บัณฑิตเรียกว่า อริยะ [๕๔๒] ในศาสนานี้ บุคคลผู้บรรลุธรรมที่ควรบรรลุเพราะจรณะ๓- เป็นผู้ฉลาด รู้ธรรมได้ในกาลทุกเมื่อ ไม่ข้องอยู่ในธรรมทั้งปวง มีจิตหลุดพ้นแล้ว ไม่มีปฏิฆะ บัณฑิตเรียกว่า ผู้มีจรณะ [๕๔๓] บุคคลผู้กำจัดธรรมที่มีทุกข์เป็นวิบากซึ่งมีอยู่ ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบันได้แล้ว ประพฤติตนอยู่ด้วยปัญญาพิจารณา @เชิงอรรถ : @ ธรรมทั้งปวง ในที่นี้หมายถึงขันธ์ และอายตนะ เป็นต้น (ขุ.สุ.อ. ๒/๕๔๐/๒๕๘) @ กัป ในที่นี้หมายถึงตัณหาและทิฏฐิ (ขุ.สุ.อ. ๒/๕๔๑/๒๕๘) @ จรณะ หมายถึงความประพฤติ,ปฏิปทา ในที่นี้หมายถึงจรณะ ๑๕ คือ (๑) สีลสัมปทา (ความถึงพร้อม @ด้วยศีล) (๒) อินทรียสังวร (การสำรวมอินทรีย์) (๓) โภชเนมัตตัญญุตา (ความเป็นผู้รู้จักประมาณในการ @บริโภค (๔) ชาคริยานุโยค (การหมั่นประกอบความเพียรเป็นเครื่องตื่น) (๕) ศรัทธา (๖) หิริ @(๗) โอตตัปปะ (๘) ความเป็นพหูสูต (๙) วิริยารัมภะ (ปรารภความเพียร) (๑๐) ความมีสติมั่นคง @(๑๑) ปัญญา (๑๒) ปฐมฌาน (๑๓) ทุติยฌาน (๑๔) ตติยฌาน (๑๕) จตุตถฌาน @(ม.ม. (แปล) ๑๓/๒๓-๒๖/๒๖-๓๐, ขุ.สุ.อ. ๒/๕๔๒/๒๕๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๖๒๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๓. มหาวรรค]

๖. สภิยสูตร

และละมายา มานะ โลภะ และโกธะได้หมดสิ้น ทำนามรูปให้สิ้นสุดลงได้ บัณฑิตเรียกว่า ปริพาชก ผู้บรรลุธรรมที่ควรบรรลุ ลำดับนั้น สภิยปริพาชกชื่นชมยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้ว ดีใจ เบิกบาน แช่มชื่น เกิดปีติโสมนัส ลุกจากที่นั่ง ทำผ้าเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประคอง อัญชลีไปทางที่พระผู้มีพระภาคประทับ แล้วได้สดุดีพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาที่เหมาะสม เฉพาะพระพักตร์ว่า [๕๔๔] ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ผู้มีปัญญาดุจแผ่นดิน พระองค์ทรงกำจัดมิจฉาทิฏฐิ ๓ และมิจฉาทิฏฐิ ๖๐ ที่อาศัยคัมภีร์เป็นหลักการของพวกสมณะลัทธิอื่น ซึ่งอาศัยอักษรสื่อความหมาย และสัญญาที่วิปริต ทรงก้าวพ้นความมืดคือโอฆะได้แล้ว [๕๔๕] พระองค์ทรงเป็นผู้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ เป็นผู้ถึงฝั่ง ทรงเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ข้าพระองค์ตระหนักในพระองค์ว่า มีอาสวะสิ้นแล้ว พระองค์ทรงมีความรุ่งเรือง มีความรู้ มีปัญญามาก ได้ทรงแนะนำข้าพระองค์ผู้ทำที่สุดทุกข์ให้ข้ามได้แล้ว [๕๔๖] เพราะพระองค์ได้ทรงทราบปัญหาที่ข้าพระองค์สงสัย ทรงช่วยให้ข้าพระองค์ข้ามพ้นความลังเลใจ ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นพระมุนี ผู้ทรงบรรลุธรรมที่ควรบรรลุในแนวทางของมุนี ไม่มีกิเลสฝังแน่นพระทัย ทรงเป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์ ข้าพระองค์ขอนอบน้อมพระองค์ผู้ทรงสงบเสงี่ยมอย่างยิ่ง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๖๒๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๓. มหาวรรค]

๖. สภิยสูตร

[๕๔๗] พระองค์ผู้มีพระจักษุ ได้ทรงพยากรณ์ปัญหาข้อสงสัย ที่เคยมีมาก่อนของข้าพระองค์จนหมดสิ้นแล้ว พระองค์ไม่มีนิวรณ์ จึงนับว่าเป็นพระมุนี ผู้ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เองแน่แท้ [๕๔๘] อนึ่ง ความคับแค้นใจทั้งหมด พระองค์ทรงกำจัดตัดถอนได้แล้ว พระองค์จึงมีพระทัยเยือกเย็น มีการอบรมตนถึงที่สุดแล้ว มีพระปัญญาทรงจำมั่นคง มีความบากบั่นในสัจจะเป็นนิตย์ [๕๔๙] เทวดาทั้ง ๒ พวกที่อาศัยอยู่ ณ นารทบรรพตทั้งหมด พากันชื่นชมอนุโมทนาพระองค์ผู้ประเสริฐ ยิ่งใหญ่ในหมู่คนผู้ประเสริฐ ผู้ทรงมีความเพียรยิ่งใหญ่ ทรงแสดงพระธรรมเทศนาอยู่ [๕๕๐] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นบุรุษอาชาไนย ข้าพระองค์ขอนอบน้อมพระองค์ ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นบุรุษสูงสุด ข้าพระองค์ขอนอบน้อมพระองค์ ไม่มีผู้ใดเลยที่จะทรงคุณเสมอด้วยพระองค์ ในโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก [๕๕๑] พระองค์ทรงเป็นสัพพัญญูพุทธเจ้า เป็นพระศาสดา เป็นพระมุนีครอบงำมารได้ ทรงตัดอนุสัยกิเลสได้ ทรงข้ามห้วงน้ำใหญ่คือสงสารได้แล้ว ยังทรงช่วยหมู่สัตว์นี้ให้ข้ามตามไปได้ด้วย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๖๒๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๓. มหาวรรค]

๖. สภิยสูตร

[๕๕๒] พระองค์ทรงล่วงพ้นอุปธิกิเลสได้ ทำลายอาสวะได้แล้ว ไม่มีอุปาทาน (ความถือมั่น) ละความหวาดกลัวภัยได้ เหมือนพญาราชสีห์ไม่กลัวต่อหมู่เนื้อ๑- [๕๕๓] พระองค์ไม่ทรงติดอยู่ในบุญและบาปทั้งสอง เหมือนดอกบัวขาวที่สวยงามไม่ติดอยู่ในน้ำ ข้าแต่พระองค์ผู้มีความเพียร ขอพระองค์โปรดเหยียดพระบาทออกมาเถิด สภิยะจะขอถวายอภิวาทพระยุคลบาทของพระศาสดา ลำดับนั้น สภิยปริพาชกหมอบลงแทบพระบาทของพระผู้มีพระภาคด้วย เศียรเกล้าแล้ว ได้กราบทูลดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก พระผู้มีพระภาคทรงประกาศธรรมอย่างแจ่มแจ้งโดยประการต่างๆ เปรียบเหมือน บุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีป ในที่มืด โดยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดีจักเห็นรูปได้’ ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาค พร้อมทั้งพระธรรมและภิกษุสงฆ์เป็นสรณะ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์พึงได้ บรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาคเถิด” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สภิยะ ผู้เคยเป็นอัญเดียรถีย์มาก่อน หวังจะบรรพชา อุปสมบทในธรรมวินัยนี้ จะต้องอยู่ปริวาสเป็นเวลา ๔ เดือน เมื่อครบ ๔ เดือนแล้ว ภิกษุทั้งหลายพอใจจึงจะบรรพชาอุปสมบทให้เป็นภิกษุ แต่ในเรื่องการอยู่ปริวาสนี้ เราก็ทราบความแตกต่างของแต่ละบุคคล” สภิยปริพาชกกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าผู้เคยเป็นอัญเดียรถีย์มา ก่อน หวังจะบรรพชาอุปสมบทในธรรมวินัยนี้ จะต้องอยู่ปริวาสเป็นเวลา ๔ เดือน เมื่อครบ ๔ เดือนแล้ว ภิกษุทั้งหลายพอใจจึงจะบรรพชาอุปสมบทให้เป็นภิกษุ ข้าพระองค์ก็จะขออยู่ปริวาสเป็นเวลา ๔ ปี เมื่อครบ ๔ ปี หากภิกษุทั้งหลายพอใจก็ ขอโปรดบรรพชาอุปสมบทให้ข้าพระองค์เป็นภิกษุด้วยเถิด” @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ขุ.เถร. (แปล) ๒๖/๘๓๙-๘๔๐/๔๗๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๖๒๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๓. มหาวรรค]

๗. เสลสูตร

ลำดับนั้น สภิยปริพาชกก็ได้รับการบรรพชาอุปสมบทในสำนักพระผู้มีพระภาค เมื่อท่านพระสภิยะอุปสมบทได้ไม่นาน ก็จากไปอยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความ เพียร อุทิศกายและใจ ไม่นานนักก็ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่ง พรหมจรรย์ที่กุลบุตรทั้งหลายผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการด้วยปัญญา อันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป จึงเป็นอันว่า ท่านพระสภิยะได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย
สภิยสูตรที่ ๖ จบ

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๖๒๑-๖๓๐. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=25&A=16625&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=25&siri=259              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4].              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=25&A=8782&Z=9006&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=364              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=25&item=364&items=9              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=25&item=364&items=9              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu25

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]