ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๓. มหาวรรค]

๑๐. โกกาลิกสูตร

คน ๒ จำพวกนั้น ต่างก็มีกรรมชั่ว ตายไปแล้วมีคติเท่าเทียมกันในโลกหน้า [๖๖๘] บุคคลใดประทุษร้ายต่อคนผู้ไม่ประทุษร้าย เป็นผู้บริสุทธิ์ ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน บาปย่อมกลับมาถึงบุคคลนั้นซึ่งเป็นคนพาลอย่างแน่แท้ ดุจผงธุลีอันละเอียดที่บุคคลซัดไปทวนลม ฉะนั้น๑- [๖๖๙] ผู้หมกมุ่นในความโลภต่างๆ ไม่มีศรัทธา มีนิสัยหยาบกระด้าง ไม่รู้พุทธพจน์ มีความตระหนี่ ชอบพูดส่อเสียด ย่อมใช้วาจากล่าวร้ายผู้อื่น [๖๗๐] โกกาลิกะผู้มีปากเป็นหล่ม ชอบพูดเท็จ ไม่ใช่คนดี ชอบกำจัดความเจริญของตน เป็นคนชั่ว ชอบทำแต่กรรมชั่ว เป็นคนต่ำช้า เป็นคนอาภัพ เป็นอวชาตบุตร เธออย่าพูดมากในที่นี้ อย่าต้องเป็นสัตว์นรกเลย [๖๗๑] เธอย่อมเกลี่ยธุลีคือกิเลสลงใส่ตน ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่ตนเองเลย เธอชอบทำกรรมหยาบช้าแล้ว ยังติเตียนสัตบุรุษ เธอประพฤติทุจริตมากมาย ต้องไปเกิดในมหานรกเป็นเวลายาวนานแน่นอน [๖๗๒] กรรม๒- ของใครๆ ย่อมไม่สูญหายไปไหน เขาต้องได้รับผลกรรมนั้น และเป็นเจ้าของกรรมนั้น @เชิงอรรถ : @ ดูธรรมบท ข้อ ๑๒๕ หน้า ๗๐ ในเล่มนี้ @ กรรม ในที่นี้หมายถึงกุศลกรรม และอกุศลกรรม (ขุ.สุ.อ. ๒/๖๗๒/๓๐๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๖๖๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๓. มหาวรรค]

๑๐. โกกาลิกสูตร

คนโง่เขลาผู้ชอบทำกรรมชั่วหยาบ จะประสบทุกข์ที่ตนได้รับในปรโลก [๖๗๓] ผู้ทำกรรมชั่วย่อมเข้าถึงสถานที่ที่นายนิรยบาล เอาขอเหล็กอันคมกริบมาเกี่ยวไว้ ถูกหลาวเหล็กอันคมกริบเสียบไว้ และมีก้อนเหล็กแดงโชติช่วงเป็นอาหาร ตามสมควรแก่ความชั่ว ตามสมควรแก่กรรมชั่วที่ตนทำไว้ [๖๗๔] นายนิรยบาลทั้งหลายเมื่อพูดกับสัตว์นรก ก็พูดไม่ไพเราะ สัตว์นรกเหล่านั้นจะวิ่งหนีไปก็ไม่ได้ จะเข้าไปขอความช่วยเหลือก็ไม่ได้ จึงนอนอยู่บนถ่านเพลิงอันลาดไว้ เข้าไปสู่กองไฟอันลุกโพลง [๖๗๕] นายนิรยบาลเอาข่ายเหล็กพันสัตว์นรก แล้วทุบด้วยค้อนเหล็กในที่นั้นๆ สัตว์นรกทั้งหลายเข้าไปสู่นรกหมอกควันที่มืดทึบ ซึ่งปกคลุมอบอวลไปทั่วดุจกลุ่มหมอก [๖๗๖] ต่อจากนั้น สัตว์นรกเหล่านั้น ก็เข้าไปสู่โลหกุมภีนรกที่มีเปลวไฟลุกโพลง ลอยวนขึ้นลงพร้อมกับถูกไฟไหม้อยู่ ในหม้อเหล็กที่ติดไฟลุกนั้นเป็นเวลานานแสนนาน [๖๗๗] สัตว์นรกผู้ทำกรรมชั่วหยาบไว้ประจำ จะพลิกหนีไปทางทิศใดๆ ก็ถูกไฟตามเผาไหม้อยู่ ในหม้อเหล็กร้อนแดงที่ปนด้วยหนองและเลือด ได้รับทุกข์ระกำลำบาก ซ้ำยังแปดเปื้อนหนองและเลือดอยู่ในโลหกุมภีนรกนั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๖๖๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๓. มหาวรรค]

๑๐. โกกาลิกสูตร

[๖๗๘] สัตว์นรกผู้ทำกรรมชั่วหยาบไว้ประจำ ย่อมหมกไหม้อยู่ในน้ำที่มีหมู่หนอนยั้วเยี้ยในโลหกุมภี นรกแต่ละขุมนั้นๆ ไม่มีฝั่งที่จะให้ขึ้นอาศัยเลย เพราะมีกระทะครอบอยู่อย่างมิดชิดรอบทุกทิศ [๖๗๙] ยังมีป่าไม้ที่มีใบคม เหมือนดาบขึ้นอยู่ทั่วไป ซึ่งพวกสัตว์นรกเข้าไปก็จะถูกตัดลำตัวขาดทันที นายนิรยบาลก็จะเอาเบ็ดเกี่ยวลิ้น ทรมานด้วยการดึงออกมาเรื่อยๆ [๖๘๐] ต่อจากนั้น สัตว์นรกนั้นต้องตกนรกน้ำกรดซึ่งเป็นแอ่ง ถูกคมมีดโกนคมกริบกรีดตามตัว สัตว์ที่โง่เขลาชอบทำบาปไว้มาก จึงต้องตกลงไปบนคมมีดโกนนั้น [๖๘๑] เพราะได้เคยก่อกรรมทำเข็ญไว้ สัตว์นรกจึงถูกสุนัขดำด่าง และสุนัขจิ้งจอกรุมทึ้งกัดกิน ร้องคร่ำครวญอยู่ในที่นั้นๆ ซ้ำยังถูกฝูงแร้ง กา และนกตะกรุมรุมทึ้งจิกกินอีก [๖๘๒] คนผู้ชอบทำกรรมชั่วหยาบเป็นประจำ ต้องรู้แก่ใจว่า การดำรงอยู่ในนรกนี้ทุกข์ยากลำบากจริงๆ เพราะฉะนั้น นรชนจึงควรรีบทำกิจที่ควรทำแต่ตอนที่ยังมีชีวิตอยู่นี้ และไม่ควรประมาท [๖๘๓] เกวียนบรรทุกงาที่ผู้รู้ทั้งหลายนับคำนวณ แล้วนำเข้าไปเปรียบกับอายุสัตว์ที่เกิดในปทุมนรก ก็ได้เท่ากับ ๕๑,๒๐๐ โกฏิ [๖๘๔] สัตว์นรกทั้งหลาย ต้องอยู่ในนรกซึ่งมีทุกข์มากมาย ตามที่เรากล่าวไว้ในที่นี้ ตลอดระยะเวลายาวนาน เพราะฉะนั้น บุคคลควรกำหนดรักษาวาจาใจให้เป็นปกติ ในท่านผู้บริสุทธิ์ มีศีลเป็นที่รัก และมีคุณงามความดี
โกกาลิกสูตรที่ ๑๐ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๖๖๒}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๖๖๐-๖๖๒. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=25&A=17758&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=25&siri=263              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=25&A=9435&Z=9555&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=384              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=25&item=384&items=4              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=25&item=384&items=4              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu25

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]