ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
๙. อุปเสนสูตร
ว่าด้วยพระอุปเสนวังคันตบุตร
[๓๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระอุปเสนวังคันตบุตร หลีกเร้นอยู่ในที่สงัด เกิดความคิดคำนึงอย่างนี้ว่า “เป็นลาภของเราหนอ เราได้ดีแล้วหนอ ที่เรามีพระผู้มี พระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นศาสดา เราออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ในพระธรรมวินัยที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว เรามีเพื่อนพรหมจารีล้วนแต่มีศีล มีกัลยาณธรรม เราบำเพ็ญศีลให้บริบูรณ์แล้ว เรามีจิตตั้งมั่นดีแล้ว มีอารมณ์ เป็นหนึ่ง เป็นพระอรหันตขีณาสพ เป็นผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก ชีวิตของเรา ชื่อว่ามีความเจริญ ความตายของเราก็ชื่อว่าเป็นความตายดี” ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ทรงทราบความคิดคำนึงของท่านพระอุปเสน- วังคันตบุตรด้วยพระทัยแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๒๕๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๔. เมฆิยวรรค]

๑๐. สารีปุตตอุปสมสูตร

พุทธอุทาน
บุคคลผู้ที่ดำรงชีวิตอยู่โดยไม่เดือดร้อน ในเวลาจวนจะตายก็ไม่เศร้าโศก ชื่อว่าพบนิพพานแล้ว เป็นปราชญ์ แม้จะอยู่ท่ามกลางคนที่เศร้าโศก ก็ไม่เศร้าโศก ภิกษุผู้ตัดภวตัณหา๑- ได้เด็ดขาด มีจิตสงบ มีชาติสงสาร๒- สิ้นแล้ว เธอย่อมไม่มีภพใหม่
อุปเสนสูตรที่ ๙ จบ
๑๐. สารีปุตตอุปสมสูตร
ว่าด้วยการระงับกิเลสของพระสารีบุตรเถระ
[๔๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก- เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ท่านพระสารีบุตรนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง พิจารณาถึงการระงับกิเลสลงได้หมดสิ้นของตน อยู่ในที่ไม่ไกลจากพระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคได้ทอดพระเนตรเห็นท่านพระสารีบุตรผู้กำลังนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง พิจารณาถึงการระงับกิเลสได้หมดสิ้นของตนอยู่ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้ ในเวลานั้นว่า @เชิงอรรถ : @ ภวตัณหา หมายถึงความกำหนัดแห่งจิตที่สหรคตด้วยภวทิฏฐิ (อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๙๑๖/๕๗๓) @ ชาติสงสาร ในที่นี้หมายถึงความเกิด (ขุ.อุ.อ. ๓๙/๒๘๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๒๕๑}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๒๕๐-๒๕๑. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=25&A=6588&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=25&siri=74              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=25&A=2819&Z=2836&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=108              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=25&item=108&items=1              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=25&item=108&items=1              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu25

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]