ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๕. โสฬสกนิบาต]

๑. อัญญาสิโกณฑัญญเถรคาถา

๑๕. โสฬสกนิบาต
๑. อัญญาสิโกณฑัญญเถรคาถา
ภาษิตของพระอัญญาโกณฑัญญเถระ
(ท้าวสักกเทวราชตรัสภาษิตที่ ๑ ว่า) [๖๗๓] ข้าพเจ้านี้สดับธรรมซึ่งมีอรรถรสมาก จึงเลื่อมใสอย่างยิ่ง ธรรมที่คลายกำหนัดพอใจ เพราะไม่ยึดมั่นโดยสิ้นเชิง พระคุณท่านแสดงไว้แล้ว (พระอัญญาโกณฑัญญเถระได้กล่าวภาษิตเหล่านี้ว่า) [๖๗๔] อารมณ์ที่วิจิตรในโลกมากมาย เห็นจะย่ำยีคนที่ยังมีความดำริถึงอารมณ์ ว่างาม ซึ่งประกอบด้วยราคะในพื้นปฐพีนี้ [๖๗๕] เมื่อฝนห่าใหญ่ตกลงมาช่วยระงับฝุ่นธุลีที่ลมพัดให้ฟุ้งขึ้นได้ ฉันใด เมื่อใดพระอริยสาวกพิจารณาเห็นด้วยปัญญา เมื่อนั้น ความดำริผิดย่อมระงับไปได้ ฉันนั้น [๖๗๖] เมื่อใด พระอริยสาวกพิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง เมื่อนั้น ย่อมหน่ายในทุกข์ นั่นเป็นทางแห่งความบริสุทธิ์ [๖๗๗] เมื่อใด พระอริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า สังขารทั้งหลายทั้งปวงเป็นทุกข์ เมื่อนั้น ย่อมหน่ายในทุกข์ นั่นเป็นทางแห่งความบริสุทธิ์ [๖๗๘] เมื่อใด พระอริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า ธรรมทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนัตตา เมื่อนั้น ย่อมหน่ายในทุกข์ นั่นเป็นทางแห่งความบริสุทธิ์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า : ๔๕๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๕. โสฬสกนิบาต]

๑. อัญญาสิโกณฑัญญเถรคาถา

[๖๗๙] อัญญาโกณฑัญญเถระผู้ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้า ได้มีความบากบั่นอย่างแรงกล้า ละความเกิดและความตายได้ บำเพ็ญมัคคพรหมจรรย์อย่างบริบูรณ์สิ้นเชิง [๖๘๐] ตัดบ่วงคือโอฆะ๑- ตะปูตรึงใจ๒- อย่างมั่นคง และทำลายภูเขาที่ทำลายได้ยากแล้ว ข้ามไปถึงฝั่งคือนิพพาน มีปกติเข้าฌาน พ้นจากเครื่องผูกคือกิเลสมารได้แล้ว [๖๘๑] ภิกษุที่ยังมีจิตฟุ้งซ่าน กลับกลอก คบหาแต่มิตรชั่ว ถูกคลื่น(คือความผูกโกรธ)ซัดไป จมในห้วงน้ำใหญ่คือสงสาร [๖๘๒] ส่วนภิกษุที่มีจิตไม่ฟุ้งซ่าน ไม่กลับกลอก มีปัญญารักษาตน สำรวมอินทรีย์ คบหาแต่มิตรดี เป็นนักปราชญ์ พึงทำความสิ้นทุกข์ได้ [๖๘๓] นรชนผู้รู้ประมาณในข้าวและน้ำย่อมซูบผอม มีตัวสะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็นคล้ายเถาหญ้านาง แต่มีใจไม่ย่อท้อ [๖๘๔] ถูกฝูงเหลือบและยุงกัดในป่าใหญ่ พึงเป็นผู้มีสติอดกลั้นในอันตรายนั้น เหมือนช้างในสงคราม [๖๘๕] อาตมาไม่อยากตาย ไม่อยากเป็นอยู่ แต่รอคอยเวลาอยู่ เหมือนลูกจ้างทำการงานคอยค่าจ้าง [๖๘๖] อาตมาไม่อยากตาย ไม่อยากเป็นอยู่ แต่อาตมามีสติสัมปชัญญะอยู่เฉพาะหน้า คอยเวลาอันควร @เชิงอรรถ : @ ห้วงน้ำ ๔ อย่าง คือ (๑) กาโมฆะ ห้วงน้ำคือกาม (๒) ภโวฆะ ห้วงน้ำคือภพ (๓) ทิฏโฐฆะ ห้วงน้ำคือ @ทิฏฐิ (๔) อวิชโชฆะ ห้วงน้ำคืออวิชชา (ขุ.เถร.อ. ๒/๖๘๐/๒๘๓) @ ตะปูตรึงใจมี ๕ อย่าง คือ (๑) ความสงสัยในพระศาสดา (๒) ในพระธรรม (๓) ในพระสงฆ์ @(๔) ในการศึกษา (๕) โกรธไม่พอใจในเพื่อนพรหมจรรย์ (ขุ.เถร.อ. ๒/๖๘๐/๒๘๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า : ๔๕๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๕. โสฬสกนิบาต]

๒. อุทายีเถรคาถา

[๖๘๗] อาตมาปรนนิบัติพระศาสดา ได้ทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว ปลงภาระที่หนักเสียได้ ถอนตัณหาที่นำไปสู่ภพได้ขาดแล้ว [๖๘๘] อาตมาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์นั้นอาตมาได้บรรลุแล้ว จะมีประโยชน์อะไรด้วยสัทธิวิหาริกผู้ว่ายากสำหรับอาตมา

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๖ หน้าที่ ๔๕๕-๔๕๗. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=26&A=12643&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=26&siri=383              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=26&A=7278&Z=7326&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=26&i=383              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=26&item=383&items=1              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=26&item=383&items=1              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu26

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]