ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๗. ติงสนิบาต]

๒. สารีปุตตเถรคาถา

[๑๐๐๗] ภิกษุผู้สงบระงับ ไม่มีความคับแค้น มีใจผ่องใสไม่ขุ่นมัว มีศีลอันงาม เป็นปราชญ์ พึงทำที่สุดทุกข์ได้ (พระสารีบุตรเถระปรารภพวกภิกษุวัชชีบุตรที่เชื่อพระเทวทัตต์ จึงได้กล่าว ภาษิตทั้งหลายไว้ว่า) [๑๐๐๘] บุคคลไม่พึงไว้ใจในปุถุชนบางพวก ทั้งที่เป็นคฤหัสถ์และบรรพชิต แม้เบื้องต้นเขาจะเป็นคนดี ภายหลังจะเป็นคนไม่ดี หรือเบื้องต้นเป็นคนไม่ดี ภายหลังจะกลับเป็นคนดีก็ตาม [๑๐๐๙] นิวรณธรรม ๕ เหล่านี้ คือ (๑) กามฉันทะ (๒) พยาบาท (๓) ถีนมิทธะ (๔) อุทธัจจกุกกุจจะ (๕) วิจิกิจฉา เป็นธรรมเครื่องเศร้าหมองใจของภิกษุ [๑๐๑๐] สมาธิของภิกษุใดผู้มีปกติอยู่ด้วยความไม่ประมาท ย่อมไม่หวั่นไหวด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ (๑) ด้วยมีผู้สักการะ (๒) ด้วยไม่มีผู้สักการะ [๑๐๑๑] ภิกษุผู้เข้าฌาน มีความเพียรต่อเนื่อง พิจารณาเห็นด้วยปัญญาที่สุขุม ยินดีในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปาทาน๑- นั้น นักปราชญ์ทั้งหลายเรียกว่า สัตบุรุษ [๑๐๑๒] มหาสมุทร ๑ แผ่นดิน ๑ ภูเขา ๑ ลม ๑ ไม่ควรที่จะเปรียบเทียบกับความหลุดพ้นอย่างประเสริฐ ของพระศาสดา @เชิงอรรถ : @ ความยึดมั่นถือมั่น (ขุ.เถร.อ. ๒/๑๐๑๑/๔๓๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า : ๕๐๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๗. ติงสนิบาต]

๓. อานนทเถรคาถา

[๑๐๑๓] พระเถระผู้ประพฤติตามพระธรรมจักร ที่พระศาสดาทรงให้เป็นไป มีปัญญามาก มีจิตตั้งมั่น เป็นผู้เสมอด้วยแผ่นดิน น้ำ และไฟ ไม่ยินดี ย่อมไม่ยินร้าย [๑๐๑๔] ภิกษุถึงที่สุดสาวกปัญญาบารมี มีความรู้มาก เป็นมหามุนี ไม่โง่เขลา ไม่ใช่เหมือนผู้โง่เขลา เป็นผู้เย็นอยู่เป็นนิตย์ [๑๐๑๕] เราปรนนิบัติพระศาสดา ได้ทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว ปลงภาระที่หนักได้ ถอนตัณหาที่นำไปสู่ภพได้ขาดแล้ว [๑๐๑๖] ท่านทั้งหลายจงยังประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่น ให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด นี้เป็นคำพร่ำสอนของเรา เราหลุดพ้นจากกิเลสและภพได้ทั้งหมดแล้ว จะปรินิพพานละ

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๖ หน้าที่ ๕๐๕-๕๐๖. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=26&A=14056&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=26&siri=396              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=26&A=8049&Z=8133&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=26&i=396              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=26&item=396&items=1              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=26&item=396&items=1              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu26

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]