ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย มหานิทเทส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๒. จูฬวิยูหสุตตนิทเทส

เจ้าลัทธินั้นเป็นผู้เพียบพร้อมด้วยอติสารทิฏฐิ เมาด้วยความถือตัว มีความถือตัวจัด อภิเษกตนเองด้วยใจ เพราะทิฏฐินั้นเจ้าลัทธิถือกันมาอย่างนั้น [๑๒๕] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) อนึ่ง หากบุคคลเป็นผู้เลวทรามเพราะวาจาของผู้อื่นไซร้ เขาก็เป็นผู้มีปัญญาทรามพร้อมกับผู้นั้น และถ้าผู้เรียนจบพระเวท๑- เองเป็นนักปราชญ์ได้ไซร้ บรรดาสมณะก็ไม่มีใครเป็นคนพาล คำว่า อนึ่ง หากบุคคลเป็นผู้เลวทรามเพราะวาจาของผู้อื่นไซร้ อธิบายว่า หากบุคคลอื่นเป็นคนพาล เลว เลวทราม คือ ต่ำทราม น่ารังเกียจ หยาบช้า ต่ำต้อย เพราะวาจา คือ เพราะถ้อยคำของผู้อื่น เพราะเหตุที่ถูกนินทา เพราะเหตุที่ถูกติเตียน เพราะเหตุที่ถูกว่าร้ายไซร้ รวมความว่า อนึ่งหากบุคคลเป็นผู้เลวทรามเพราะวาจา ของผู้อื่นไซร้ คำว่า เขาก็เป็นผู้มีปัญญาทรามพร้อมกับผู้นั้น อธิบายว่า แม้เขาก็เป็นผู้มี ปัญญาเลว คือ เป็นผู้มีปัญญาทราม มีปัญญาต่ำทราม มีปัญญาน่ารังเกียจ มีปัญญาหยาบช้า มีปัญญาต่ำต้อย พร้อมกับผู้นั้นนั่นเอง รวมความว่า เขาก็เป็น ผู้มีปัญญาทรามพร้อมกับผู้นั้น คำว่า และถ้าผู้เรียนจบพระเวทเองเป็นนักปราชญ์ได้ไซร้ อธิบายว่า และ ถ้าผู้เรียนจบพระเวทเอง เป็นนักปราชญ์ คือ เป็นบัณฑิต มีปัญญา มีปัญญาเครื่อง ตรัสรู้ มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาเครื่องทำลายกิเลสไซร้ รวมความว่า และถ้าผู้เรียนจบพระเวทเองเป็นนักปราชญ์ได้ไซร้ @เชิงอรรถ : @ จบพระเวท หมายถึงจบไตรเพท อันเป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์สูงสุดของศาสนาพราหมณ์ มี ๓ คือ (๑) ฤคเวท @(อิรุเวท) ประมวลบทสวดสรรเสริญเทพเจ้า (๒) ยชุรเวท บทสวดอ้อนวอนในพิธีบูชายัญต่างๆ (๓) สามเวท @ประมวลบทเพลงขับสำหรับสวดหรือร้องเป็นทำนองในพิธีบูชายัญ ต่อมาเพิ่ม (๔) อถรรพเวทหรืออาถรรพณเวท @ว่าด้วยคาถาอาคมทางไสยศาสตร์ (องฺ.ติก.อ. ๒/๕๙/๑๖๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๕๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๒. จูฬวิยูหสุตตนิทเทส

คำว่า บรรดาสมณะก็ไม่มีใครเป็นคนพาล อธิบายว่า บรรดาสมณะก็ไม่มีใคร เป็นคนพาล คือ เป็นคนเลว เลวทราม ต่ำทราม น่ารังเกียจ หยาบช้า ต่ำต้อยเลย ทุกคนก็มีปัญญาเลิศ มีปัญญาประเสริฐ มีปัญญาวิเศษ มีปัญญานำหน้า มีปัญญา สูงสุด มีปัญญาประเสริฐสุดไปหมด รวมความว่า บรรดาสมณะก็ไม่มีใครเป็นคนพาล ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า อนึ่ง หากบุคคลเป็นผู้เลวทรามเพราะวาจาของผู้อื่นไซร้ เขาก็เป็นผู้มีปัญญาทรามพร้อมกับผู้นั้น และถ้าผู้เรียนจบพระเวทเองเป็นนักปราชญ์ได้ไซร้ บรรดาสมณะก็ไม่มีใครเป็นคนพาล [๑๒๖] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) ชนเหล่าใดกล่าวสรรเสริญธรรมอื่นนอกจากธรรมนี้ ชนเหล่านั้นก็พลาดทางแห่งความหมดจด เป็นผู้ไม่บริบูรณ์ เดียรถีย์พากันกล่าวทิฏฐิมากแม้อย่างนี้ เพราะพวกเขาเป็นผู้ยินดียิ่ง ด้วยความยินดีในทิฏฐิของตน คำว่า ชนเหล่าใดกล่าวสรรเสริญธรรมอื่นนอกจากธรรมนี้ ชนเหล่านั้นก็ พลาดทางแห่งความหมดจด เป็นผู้ไม่บริบูรณ์ อธิบายว่า ชนเหล่าใด กล่าว สรรเสริญธรรม คือ ทิฏฐิ ปฏิปทา มรรค อื่นนอกจากธรรมนี้ ชนเหล่านั้นก็พลาด คือ ผิด พลั้ง คลาดทางแห่งความหมดจด คือ ทางแห่งความสะอาด ทางแห่งความ บริสุทธิ์ ทางแห่งความผุดผ่อง ทางแห่งความผ่องแผ้ว คือ พลาดจากอรหัตตผล เป็นผู้ไม่บริบูรณ์ คือ ชนเหล่านั้นไม่เพียบพร้อม ไม่บริบูรณ์ ได้แก่ เป็นคนเลว ทราม ต่ำทราม น่ารังเกียจ หยาบช้า ต่ำต้อย รวมความว่า ชนเหล่าใดกล่าว สรรเสริญธรรมอื่นนอกจากธรรมนี้ ชนเหล่านั้นก็พลาดทางแห่งความหมดจด เป็นผู้ไม่บริบูรณ์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๕๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๒. จูฬวิยูหสุตตนิทเทส

ทิฏฐิเรียกว่าติตถะ
คำว่า เดียรถีย์พากันกล่าวทิฏฐิมากแม้อย่างนี้ อธิบายว่า ทิฏฐิ ตรัสเรียกว่า ติตถะ(ท่า) เจ้าทิฏฐิ ตรัสเรียกว่า เดียรถีย์ พวกเดียรถีย์พากันกล่าว คือ พูด บอก แสดง ชี้แจง ทิฏฐิมากมาย รวมความว่า เดียรถีย์พากันกล่าวทิฏฐิมากแม้อย่างนี้ คำว่า เพราะพวกเขาเป็นผู้ยินดียิ่ง ด้วยความยินดีในทิฏฐิของตน อธิบายว่า เพราะพวกเขายินดี ยินดียิ่ง ด้วยความยินดีในทิฏฐิของตน รวมความว่า เพราะ พวกเขาเป็นผู้ยินดียิ่ง ด้วยความยินดีในทิฏฐิของตน ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาค จึงตรัสว่า ชนเหล่าใดกล่าวสรรเสริญธรรมอื่นนอกจากธรรมนี้ ชนเหล่านั้นก็พลาดทางแห่งความหมดจด เป็นผู้ไม่บริบูรณ์ เดียรถีย์พากันกล่าวทิฏฐิมากแม้อย่างนี้ เพราะพวกเขาเป็นผู้ยินดียิ่ง ด้วยความยินดีในทิฏฐิของตน [๑๒๗] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) พวกเดียรถีย์พากันกล่าวความหมดจดว่า มีอยู่ในธรรมนี้เท่านั้น ไม่กล่าวความหมดจดในธรรมเหล่าอื่น พวกเดียรถีย์ตั้งอยู่ในทิฏฐิมากแม้อย่างนี้ ต่างกล่าวยืนยันในธรรมอันเป็นแนวทางของตนนั้น
ว่าด้วยทิฏฐิของพวกเดียรถีย์
คำว่า พวกเดียรถีย์พากันกล่าวความหมดจดว่ามีอยู่ในธรรมนี้เท่านั้น อธิบายว่า พวกเดียรถีย์พากันกล่าว คือ พูด บอก แสดง ชี้แจงความหมดจด คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไปในธรรมนี้ว่า “โลกเที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเป็นโมฆะ” พวกเดียรถีย์พากันกล่าว คือ พูด บอก แสดง ชี้แจงความหมดจด คือ ความ สะอาด ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไปในธรรมนี้ว่า “โลก ไม่เที่ยง... หลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๕๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๒. จูฬวิยูหสุตตนิทเทส

นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเป็นโมฆะ” รวมความว่า พวกเดียรถีย์พากันกล่าวความ หมดจดว่ามีอยู่ในธรรมนี้เท่านั้น คำว่า ไม่กล่าวความหมดจดในธรรมเหล่าอื่น อธิบายว่า พวกเดียรถีย์ เหล่านั้น ย่อมทิ้ง ละทิ้ง ทอดทิ้งวาทะอื่นทุกอย่าง นอกจากศาสดา ธรรมที่ศาสดา กล่าวสอน หมู่คณะ ทิฏฐิ ปฏิปทา มรรคของตน กล่าว คือ พูด บอก แสดง ชี้แจง อย่างนี้ว่า ศาสดานั้นมิใช่สัพพัญญู ธรรมมิใช่ศาสดากล่าวสอนไว้ดีแล้ว หมู่คณะ มิใช่ผู้ปฏิบัติดีแล้ว ทิฏฐิมิใช่สิ่งที่เจริญ ปฏิปทามิใช่ศาสดาบัญญัติไว้ดีแล้ว มรรคมิใช่ ทางนำสัตว์ออกจากทุกข์ ในธรรมนั้นไม่มีความหมดจด ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป ความพ้นไป หรือความหลุดพ้นไป คือ ในธรรมนั้น สัตว์ทั้งหลายย่อม หมดจด สะอาด บริสุทธิ์ หลุดไป พ้นไป หรือหลุดพ้นไปไม่ได้ สัตว์ทั้งหลายเป็น ผู้เลว คือ ทราม ต่ำทราม น่ารังเกียจ หยาบช้า ต่ำต้อย รวมความว่า ไม่กล่าว ความหมดจดในธรรมเหล่าอื่น คำว่า พวกเดียรถีย์ตั้งอยู่ในทิฏฐิมากแม้อย่างนี้ อธิบายว่า ทิฏฐิตรัส เรียกว่า ติตถะ เจ้าทิฏฐิตรัสเรียกว่า เดียรถีย์ พวกเดียรถีย์ตั้งอยู่ คือ ตั้งมั่น ติด ติดแน่น ติดใจ น้อมใจเชื่อในทิฏฐิมาก ด้วยทิฏฐิมาก รวมความว่า พวกเดียรถีย์ ตั้งอยู่ในทิฏฐิมากแม้อย่างนี้ คำว่า ต่างกล่าวยืนยันในธรรมอันเป็นแนวทางของตนนั้น อธิบายว่า ธรรม ชื่อว่าแนวทางของตน ทิฏฐิ ชื่อว่าแนวทางของตน ปฏิปทา ชื่อว่าแนวทางของตน มรรคก็ชื่อว่าแนวทางของตน พวกเดียรถีย์กล่าวยืนยัน คือ กล่าวมั่นคง กล่าวแข็งขัน กล่าวหนักแน่นในแนวทางของตน รวมความว่า ต่างกล่าวยืนยันในธรรมอันเป็นแนว ทางของตนนั้น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า พวกเดียรถีย์พากันกล่าวความหมดจดว่า มีอยู่ในธรรมนี้เท่านั้น ไม่กล่าวความหมดจดในธรรมเหล่าอื่น พวกเดียรถีย์ตั้งอยู่ในทิฏฐิมากแม้อย่างนี้ ต่างกล่าวยืนยันในธรรมอันเป็นแนวทางของตนนั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๕๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๒. จูฬวิยูหสุตตนิทเทส

[๑๒๘] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) อนึ่ง เจ้าลัทธิกล่าวยืนยันในแนวทางของตน ใส่ไฟใครอื่นว่า เป็นคนพาล ในเพราะทิฏฐินี้ เจ้าลัทธินั้นกล่าวถึงผู้อื่นว่า เป็นคนพาล มีความไม่หมดจดเป็นธรรมดา พึงนำความมุ่งร้ายมาเองทีเดียว คำว่า อนึ่ง เจ้าลัทธิกล่าวยืนยันในแนวทางของตน อธิบายว่า ธรรม ชื่อว่า แนวทางของตน ทิฏฐิ ชื่อว่าแนวทางของตน ปฏิปทา ชื่อว่าแนวทางของตน มรรค ก็ชื่อว่าแนวทางของตน เจ้าลัทธิ กล่าวยืนยัน คือ กล่าวมั่นคง กล่าวแข็งขัน กล่าวหนักแน่นในแนวทางของตน รวมความว่า อนึ่ง เจ้าลัทธิกล่าวยืนยันในแนวทาง ของตน คำว่า ในเพราะทิฏฐินี้ ในคำว่า ใส่ไฟใครอื่นว่า เป็นคนพาล ในเพราะทิฏฐิ นี้ อธิบายว่า พึงใส่ไฟ คือ เห็น แลเห็น ตรวจดู เพ่งพินิจ พิจารณาดูบุคคลอื่น โดยความเป็นคนพาล คือ เป็นคนเลว ทราม ต่ำทราม น่ารังเกียจ หยาบช้า ต่ำต้อย ในเพราะทิฏฐิของตน คือ ความถูกใจของตน ความพอใจของตน ลัทธิของตน รวมความว่า ใส่ไฟใครอื่นว่า เป็นคนพาล ในเพราะทิฏฐินี้ คำว่า เจ้าลัทธินั้นกล่าวถึงผู้อื่นว่า เป็นคนพาล มีความไม่หมดจดเป็นธรรมดา พึงนำความมุ่งร้ายมาเองทีเดียว อธิบายว่า เจ้าลัทธินั้น กล่าว คือ พูด บอก แสดง ชี้แจง อย่างนี้ว่า ผู้อื่น เป็นคนพาล คือ เป็นคนเลว ทราม ต่ำทราม น่ารังเกียจ หยาบช้า ต่ำต้อย มีความไม่หมดจดเป็นธรรมดา คือ มีความไม่สะอาดเป็นธรรมดา มีความไม่ บริสุทธิ์เป็นธรรมดา มีความไม่ผ่องแผ้วเป็นธรรมดา พึงนำ คือ นำมาพร้อม ถือมา ถือมาพร้อม ชักมา ชักมาพร้อม ถือ ยึดมั่น ถือมั่นการทะเลาะ การบาดหมาง การแก่งแย่ง การวิวาท การมุ่งร้ายมาเองทีเดียว รวมความว่า เจ้าลัทธินั้นกล่าว ถึงผู้อื่นว่า เป็นคนพาล มีความไม่หมดจดเป็นธรรมดา พึงนำความมุ่งร้ายมาเอง ทีเดียว ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๕๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๒. จูฬวิยูหสุตตนิทเทส

อนึ่ง เจ้าลัทธิกล่าวยืนยันในแนวทางของตน ใส่ไฟใครอื่นว่า เป็นคนพาล ในเพราะทิฏฐินี้ เจ้าลัทธินั้นกล่าวถึงผู้อื่นว่า เป็นคนพาล มีความไม่หมดจดเป็นธรรมดา พึงนำความมุ่งร้ายมาเองทีเดียว [๑๒๙] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) เจ้าลัทธินั้นตั้งอยู่ในทิฏฐิที่ตกลงใจและนับถือเองแล้ว ก็ถึงการวิวาทในกาลข้างหน้าในโลก คนที่เกิดมาละทิฏฐิที่ตกลงใจทั้งมวลได้ ย่อมไม่ก่อการมุ่งร้ายในโลก คำว่า เจ้าลัทธินั้นตั้งอยู่ในทิฏฐิที่ตกลงใจและนับถือเองแล้ว อธิบายว่า ทิฏฐิ ๖๒ ตรัสเรียกว่า ทิฏฐิที่ตกลงใจ เจ้าลัทธิตั้งอยู่ คือ ตั้งมั่น ถือ ยึดมั่น ถือมั่นในทิฏฐิที่ตกลงใจ รวมความว่า เจ้าลัทธินั้นตั้งอยู่ในทิฏฐิที่ตกลงใจ คำว่า นับถือเอง อธิบายว่า นับถือ คือ นอบน้อมเองว่า “ศาสดานี้ เป็น สัพพัญญู” ได้แก่ นับถือ คือ นอบน้อมเองว่า “ธรรมนี้ศาสดากล่าวสอนไว้ดีแล้ว... หมู่คณะนี้เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว... ทิฏฐินี้เป็นสิ่งที่เจริญ... ปฏิปทานี้ศาสดาบัญญัติไว้ดีแล้ว... มรรคนี้เป็นทางนำสัตว์ออกจากทุกข์” รวมความว่า เจ้าลัทธินั้นดำรงอยู่ในทิฏฐิที่ ตกลงใจและนับถือเองแล้ว คำว่า ก็ถึงการวิวาทในกาลข้างหน้าในโลก อธิบายว่า อนาคต ตรัสเรียกว่า กาลข้างหน้า เจ้าลัทธินั้นวางวาทะของตนไว้ข้างหน้า ก็ถึง คือ เข้าถึง เข้าไปถึงถือ ยึดมั่น ถือมั่นการทะเลาะ การบาดหมาง การแก่งแย่ง การวิวาท การมุ่งร้าย เองทีเดียว รวมความว่า ก็ถึงการวิวาทในกาลข้างหน้าในโลก อย่างนี้บ้าง อีกนัยหนึ่ง เจ้าลัทธินั้นย่อมก่อการทะเลาะ ก่อการบาดหมาง ก่อการแก่งแย่ง ก่อการวิวาท ก่อการมุ่งร้ายกับวาทะอื่นข้างหน้าว่า “ท่านไม่รู้ธรรมวินัยนี้... หรือ หากท่านสามารถ ก็จงแก้ไขเถิด” รวมความว่า ก็ถึงการวิวาทในกาลข้างหน้าในโลก อย่างนี้บ้าง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๖๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๒. จูฬวิยูหสุตตนิทเทส

คำว่า ละทิฏฐิที่ตกลงใจทั้งมวลได้ อธิบายว่า ทิฏฐิ ๖๒ ตรัสเรียกว่า ทิฏฐิที่ตกลงใจ เจ้าลัทธิ ละ คือ สละ สละขาด เว้น ละเว้น บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งทิฏฐิที่ตกลงใจทุกอย่าง จากความตกลงใจด้วยอำนาจทิฏฐิ รวมความว่า ละทิฏฐิที่ตกลงใจทั้งมวลได้ คำว่า คนที่เกิดมา... ย่อมไม่ก่อการมุ่งร้ายในโลก อธิบายว่า ไม่ก่อการ ทะเลาะ ไม่ก่อการบาดหมาง ไม่ก่อการแก่งแย่ง ไม่ก่อการวิวาท ไม่ก่อการมุ่งร้าย สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า อัคคิเวสสนะ ภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้ว อย่างนี้แล ย่อมไม่โต้เถียงกับใคร ไม่วิวาทกับใคร ย่อมชี้แจง ไม่ถือมั่นสิ่งที่กล่าวกัน ในโลก เรื่องใด ที่พูดกันในโลก เธอก็ไม่ยึดมั่นชี้แจงด้วยเรื่องนั้น๑- คำว่า คนที่เกิดมา ได้แก่สัตว์ นรชน มานพ บุรุษ บุคคล ผู้มีชีวิต ผู้เกิด สัตว์เกิด ผู้เป็นไปตามกรรม มนุษย์ คำว่า ในโลก ได้แก่ ในอบายโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก รวมความว่า คนที่เกิดมา... ย่อมไม่ก่อการมุ่งร้ายในโลก ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า เจ้าลัทธินั้นตั้งอยู่ในทิฏฐิที่ตกลงใจและนับถือเองแล้ว ก็ถึงการวิวาทในกาลข้างหน้าในโลก คนที่เกิดมาละทิฏฐิที่ตกลงใจทั้งมวลได้ ย่อมไม่ก่อการมุ่งร้ายในโลก
จูฬวิยูหสุตตนิทเทสที่ ๑๒ จบ
@เชิงอรรถ : @ ม.ม. ๑๓/๒๐๕/๑๘๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๖๑}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๙ หน้าที่ ๓๕๕-๓๖๑. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=29&A=10557&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=29&siri=12              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=29&A=6385&Z=6832&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=29&i=519              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=29&item=519&items=81              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=29&item=519&items=81              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu29

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]