ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย มหานิทเทส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๕. อัตตทัณฑสุตตนิทเทส

ว่าด้วยอิทัปปัจจยตา
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย กายนี้ มิใช่ของพวกเธอ ทั้งมิใช่ของคนอื่น ภิกษุทั้งหลาย กายนี้กรรมเก่าควบคุมไว้ จิตประมวลไว้ พึงเห็นว่า เป็นที่ตั้งแห่งเวทนา ภิกษุทั้งหลาย พระอริยสาวก ผู้ได้เรียนรู้แล้ว ย่อมมนสิการ ปฏิจจสมุปบาทอย่างดี โดยแยบคายในกายนั้นว่า “เพราะเหตุนี้ เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เพราะสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับไป สิ่งนี้จึงดับไป คือ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี... ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนั้นมีได้ด้วยประการอย่างนี้ เพราะอวิชชาสำรอกดับไปไม่เหลือ สังขารจึงดับ... ความดับแห่งกองทุกข์ ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการอย่างนี้” รวมความว่า กิเลสเครื่องกังวลว่า สิ่งนี้ของเรา หรือสิ่งนี้ของคนอื่นย่อมไม่มีแก่ผู้ใด อย่างนี้บ้าง สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า โมฆราช เธอจงพิจารณาเห็นโลกโดยความว่างเปล่า เป็นผู้มีสติทุกเมื่อ พึงถอนความตามเห็นว่ามีตัวตนเสีย เป็นผู้ข้ามมัจจุราชเสียได้ ด้วยอาการอย่างนี้ บุคคลพิจารณาโลกอยู่อย่างนี้ มัจจุราชจึงไม่เห็น๑- รวมความว่า กิเลสเครื่องกังวลว่า สิ่งนี้ของเรา หรือสิ่งนี้ของคนอื่น ย่อมไม่มีแก่ผู้ใด อย่างนี้บ้าง สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า สิ่งใดมิใช่ของพวกเธอ เธอทั้งหลายจงละ สิ่งนั้นเสียเถิด สิ่งที่พวกเธอละได้แล้วนั้นแลจักมีเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข ตลอดกาลนาน ภิกษุทั้งหลาย อะไรเล่ามิใช่ของพวกเธอ ภิกษุทั้งหลาย รูปมิใช่ของ พวกเธอ เธอทั้งหลายจงละรูปนั้นเสียเถิด รูปที่พวกเธอละได้แล้วนั้นแลจักมีเพื่อ ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข ตลอดกาลนาน เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณมิใช่ของพวกเธอ เธอทั้งหลายจงละวิญญาณนั้นเสียเถิด วิญญาณที่พวกเธอ ละได้แล้วนั้นแล จักมีเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข ตลอดกาลนาน ภิกษุทั้งหลาย @เชิงอรรถ : @ ขุ.สุ. ๒๕/๑๑๒๖/๕๔๙, ขุ.จู. ๓๐/๘๘/๑๘๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๕๒๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๕. อัตตทัณฑสุตตนิทเทส

พวกเธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คนพึงเอาหญ้า ไม้ กิ่งไม้ ใบไม้ที่มีอยู่ในเชตวัน วิหารนี้ไปเผา หรือจัดการไปตามรูปเรื่อง พวกเธอจะพึงมีความคิดอย่างนี้บ้างไหมว่า “คนย่อมเอาพวกเราไปเผาหรือจัดการไปตามรูปเรื่อง” ความดำริเช่นนั้นไม่มีเลย พระเจ้าข้า ข้อนั้น เป็นเพราะเหตุไร เพราะนั่นมิใช่ตน หรือของเนื่องด้วยตนของพวกข้าพระองค์เลย พระเจ้าข้า อย่างเดียวกันนั่นแล ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่ใช่ของพวกเธอ เธอทั้งหลายจงละ สิ่งนั้นเสีย สิ่งที่พวกเธอละได้แล้วนั้นจักมีเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข ตลอด กาลนาน ภิกษุทั้งหลาย อะไรเล่ามิใช่ของพวกเธอ ภิกษุทั้งหลาย รูปมิใช่ของพวกเธอ เธอทั้งหลายจงละรูปนั้นเสียเถิด รูปที่พวกเธอละได้แล้ว จักมีเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข ตลอดกาลนาน เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ มิใช่ของพวกเธอ เธอทั้งหลายจงละวิญญาณนั้นเสียเถิด วิญญาณที่พวกเธอละได้แล้วจักมีเพื่อประโยชน์ เกื้อกูล เพื่อความสุข ตลอดกาลนาน รวมความว่า กิเลสเครื่องกังวลว่า สิ่งนี้ ของเรา หรือสิ่งนี้ของคนอื่น ย่อมไม่มีแก่ผู้ใด อย่างนี้บ้าง สมจริงดังภาษิตนี้ว่า คามณี ภัยย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้มองเห็น ความเกิดขึ้นแห่งธรรมล้วนๆ และความสืบต่อแห่งสังขารล้วนๆ ตามเป็นจริง เมื่อใดบุคคลมองเห็นขันธโลกว่า เสมอด้วยหญ้าและท่อนไม้ ด้วยปัญญา เมื่อนั้น เขาย่อมไม่ปรารถนาอะไรอื่น นอกจากความไม่ปฏิสนธิ รวมความว่า กิเลสเครื่องกังวลว่า สิ่งนี้ของเรา หรือสิ่งนี้ของคนอื่น ย่อมไม่มีแก่ผู้ใด อย่างนี้บ้าง นางวชิราภิกษุณีได้กล่าวคำนี้กับมารผู้ชั่วช้าว่า มารเอ๋ย ทิฏฐิของเจ้าเชื่อใครหนอว่าเป็นสัตว์ ร่างกายที่เป็นกองแห่งสังขารล้วนๆ นี้บัณฑิตจะเรียกว่า สัตว์ไม่ได้เลย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๕๒๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๕. อัตตทัณฑสุตตนิทเทส

เมื่อขันธ์ทั้งหลายมีอยู่ สมมติว่าสัตว์ก็มีได้ เหมือนเสียงพูดว่ารถย่อมมีได้ เพราะการคุมกันแห่งส่วนประกอบ อนึ่งทุกข์เท่านั้นเกิดขึ้น ทุกข์เท่านั้นดำรงอยู่และ แปรผันไป นอกจากทุกข์ไม่มีสิ่งอื่นเกิดขึ้น นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรอื่นดับไปเลย๑- รวมความว่า กิเลสเครื่องกังวลว่า สิ่งนี้ของเรา หรือสิ่งนี้ของคนอื่น ย่อมไม่มีแก่ผู้ใด อย่างนี้บ้าง (สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า) ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้เองแล ภิกษุค้น หารูปตลอดคติแห่งรูปที่มีอยู่ ค้นหาเวทนา... สัญญา... สังขาร... ค้นหาวิญญาณ ตลอดคติแห่งวิญญาณที่มีอยู่ เมื่อภิกษุนั้นค้นหารูปตลอดคติแห่งรูป ค้นหาเวทนา... สัญญา... สังขาร... ค้นหาวิญญาณตลอดคติแห่งวิญญาณที่มีอยู่ ความถือว่า “เรา ของเรา หรือมีเรา” ของภิกษุนั้นไม่มีเลย๒- รวมความว่า กิเลสเครื่องกังวลว่า สิ่งนี้ ของเรา หรือสิ่งนี้ของคนอื่น ย่อมไม่มีแก่ผู้ใด อย่างนี้บ้าง
ว่าด้วยโลกว่าง
ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลคำนี้กับพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่ตรัสว่าโลกว่าง โลกว่าง” ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยเหตุแค่ไหนหนอแล จึงตรัสว่า “โลกว่าง” อานนท์ เพราะโลกว่างจากตนหรือจากสิ่งที่เนื่องด้วยตน ฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า “โลกว่าง” อานนท์ อะไรเล่าที่ว่างจากตน หรือสิ่งที่เนื่องด้วยตน อานนท์ ตาว่างจาก ตน หรือสิ่งที่เนื่องด้วยตน รูปว่าง... จักขุวิญญาณว่าง... จักขุสัมผัสว่าง คือ ความ เสวยอารมณ์ที่เป็นสุข เป็นทุกข์ หรือเป็นสุขก็มิใช่ เป็นทุกข์ก็มิใช่ ที่เกิดขึ้นเพราะ จักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ก็ว่าง... หู... เสียง... จมูก... กลิ่น... ลิ้น... รส... กาย... โผฏฐัพพะ... ใจ... ธรรมารมณ์... มโนวิญญาณ... มโนสัมผัส ก็ว่าง คือ ความเสวย อารมณ์ที่เป็นสุข เป็นทุกข์ หรือเป็นสุขก็มิใช่ เป็นทุกข์ก็มิใช่ ที่เกิดขึ้นเพราะ @เชิงอรรถ : @ สํ.ส. ๑๕/๑๗๑/๑๖๓ @ สํ.สฬา. ๑๘/๒๔๖/๑๘๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๕๒๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๕. อัตตทัณฑสุตตนิทเทส

มโนสัมผัสเป็นปัจจัยก็ว่างจากตน หรือสิ่งที่เนื่องด้วยตน อานนท์ เพราะโลกว่าง จากตน หรือสิ่งที่เนื่องด้วยตน ฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า “โลกว่าง” รวมความว่า กิเลส เครื่องกังวลว่า สิ่งนี้ของเรา หรือสิ่งนี้ของคนอื่น ย่อมไม่มีแก่ผู้ใด อย่างนี้บ้าง คำว่า ความยึดถือว่าเป็นของเรา ในคำว่า ผู้นั้นเมื่อไม่ได้ความยึดถือ ว่าเป็นของเรา ได้แก่ ความยึดถือว่าเป็นของเรา ๒ อย่าง คือ (๑) ความยึดถือว่า เป็นของเราด้วยอำนาจตัณหา (๒) ความยึดถือว่าเป็นของเราด้วยอำนาจทิฏฐิ ... นี้ ชื่อว่า ความยึดถือว่าเป็นของเราด้วยอำนาจตัณหา... นี้ชื่อว่าความยึดถือว่าเป็นของ เราด้วยอำนาจทิฏฐิ ผู้นั้นละความยึดถือว่าเป็นของเราด้วยอำนาจตัณหาได้แล้ว สลัดทิ้งความยึดถือ ว่าเป็นของเราด้วยอำนาจทิฏฐิได้แล้ว จึงไม่พบ ไม่ได้ คือ ไม่สมหวัง ไม่ได้เฉพาะ ความยึดถือว่าเป็นของเรา รวมความว่า ผู้นั้นเมื่อไม่ได้ความยึดถือว่าเป็นของเรา คำว่า ย่อมไม่เศร้าโศกว่าของๆ เราไม่มี อธิบายว่า ไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่ แปรผันไปแล้ว หรือ เมื่อสิ่งนั้นแปรผันไปแล้วย่อมไม่เศร้าโศก คือ ไม่เศร้าโศก ไม่ลำบาก ไม่คร่ำครวญ ไม่ตีอกพร่ำเพ้อ ไม่ถึงความหลงใหลว่า “ตาของเรา แปรผันไป”... หูของเรา... ไม่เศร้าโศก ไม่ลำบาก ไม่คร่ำครวญ ไม่ตีอกพร่ำเพ้อ ไม่ถึงความหลงใหลว่า... “ผู้ร่วมสายโลหิตของเราแปรผันไป” รวมความว่า ย่อมไม่ เศร้าโศกว่าของๆ เราไม่มี ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า กิเลสเครื่องกังวลว่า สิ่งนี้ของเรา หรือสิ่งนี้ของคนอื่น ย่อมไม่มีแก่ผู้ใด ผู้นั้นเมื่อไม่ได้ความถือว่าเป็นของเรา ย่อมไม่เศร้าโศกว่าของๆ เราไม่มี [๑๘๗] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) บุคคลเป็นผู้ไม่ริษยา ไม่ติดใจ ไม่หวั่นไหว สม่ำเสมอในอายตนะทั้งปวง เราถูกถามถึงบุคคลผู้ไม่หวั่นไหว จึงบอกอานิสงส์นั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๕๒๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๕. อัตตทัณฑสุตตนิทเทส

ว่าด้วยผู้ไม่ริษยา
คำว่า บุคคลเป็นผู้ไม่ริษยา ไม่ติดใจ อธิบายว่า ความไม่ริษยา เป็นอย่างไร คือ คนบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ริษยา คือ ย่อมอิจฉา ชิงชัง ผูกริษยาในลาภ สักการะ การทำความเคารพ การนับถือ การกราบไหว้ และการบูชาของผู้อื่น ความ ริษยา การทำความริษยา ความอิจฉา กิริยาที่อิจฉา ภาวะที่อิจฉา ความเกลียดชัง กิริยาที่เกลียดชัง ภาวะที่เกลียดชัง เห็นปานนี้ นี้ตรัสเรียกว่า ความริษยา ความริษยานี้ผู้ใดละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว ผู้นั้น ตรัสเรียกว่า ผู้ไม่ริษยา คำว่า ไม่ติดใจ อธิบายว่า ตัณหาตรัสเรียกว่า ความติดใจ ได้แก่ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ... อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ ความติดใจนี้ผู้ใดละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว ผู้นั้นตรัสเรียกว่า ผู้ไม่ติดใจ เขาไม่ติดในรูป... ไม่ติดใจ คือ ไม่กำหนัด ไม่สยบ ไม่หมกมุ่นในรูปที่เห็น เสียง ที่ได้ยิน กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่รับรู้ และธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้ง ได้แก่ เป็นผู้คลาย ความติดใจแล้ว ปราศจากความติดใจแล้ว สละความติดใจแล้ว คายความติดใจแล้ว ปล่อยวางความติดใจแล้ว ละความติดใจแล้ว สลัดทิ้งความติดใจแล้ว เป็นผู้คลาย ความกำหนัดแล้ว ปราศจากราคะแล้ว สละราคะแล้ว คายราคะแล้ว ปล่อยวางราคะ แล้ว ละราคะแล้ว สลัดทิ้งราคะได้แล้ว เป็นผู้หมดความอยากแล้ว ดับแล้ว เย็นแล้ว มีตนอันประเสริฐเสวยสุขอยู่ รวมความว่า บุคคลเป็นผู้ไม่ริษยา ไม่ติดใจ
ว่าด้วยผู้ไม่หวั่นไหว
คำว่า ไม่หวั่นไหว สม่ำเสมอในอายตนะทั้งปวง อธิบายว่า ตัณหาตรัส เรียกว่า ความหวั่นไหว คือ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ... อภิชฌา อกุศลมูล คือโลภะ ตัณหาที่ตรัสเรียกว่าความหวั่นไหวนี้ บุคคลใดละได้แล้ว คือ ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว บุคคล นั้นตรัสเรียกว่า ไม่หวั่นไหว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๕๓๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๕. อัตตทัณฑสุตตนิทเทส

เพราะเป็นผู้ละความหวั่นไหวได้แล้ว จึงชื่อว่าไม่หวั่นไหว บุคคลนั้นย่อมไม่ หวั่นไหว ไม่สะเทือน ไม่เคลื่อนไหว ไม่สะท้าน ไม่สั่นสะท้าน เพราะได้ลาภ เพราะ เสื่อมลาภบ้าง เพราะได้ยศ เพราะเสื่อมยศบ้าง เพราะสรรเสริญ เพราะนินทาบ้าง เพราะสุข เพราะทุกข์บ้าง จึงชื่อว่าไม่หวั่นไหว คำว่า สม่ำเสมอในอายตนะทั้งปวง อธิบายว่า อายตนะ ๑๒ ตรัสเรียกว่า สิ่งทั้งปวง คือ ตาและรูป... ใจและธรรมารมณ์ เมื่อใด ความกำหนัดด้วยความพอใจในอายตนะทั้งภายในและภายนอก บุคคลใด ละได้เด็ดขาดแล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ บุคคลนั้นตรัสเรียกว่า สม่ำเสมอใน อายตนะทั้งปวง เขาเป็นผู้มั่นคงในอายตนะทั้งปวง มีตนเป็นกลางในอายตนะทั้งปวง วางเฉยในอายตนะทั้งปวง รวมความว่า ไม่หวั่นไหว สม่ำเสมอในอายตนะทั้งปวง คำว่า เราถูกถามถึงบุคคลผู้ไม่หวั่นไหว จึงบอกอานิสงส์นั้น อธิบายว่า เราถูกถามถึง คือ ถูกขอ ถูกเชื้อเชิญ ถูกขอให้แสดงบุคคลผู้ไม่หวั่นไหว จึงบอก อานิสงส์ ๔ เหล่านี้ คือ กล่าว บอก... ประกาศว่า บุคคลผู้ไม่ริษยา ไม่ติดใจ ไม่หวั่นไหว สม่ำเสมอในอายตนะทั้งปวง รวมความว่า เราถูกถามถึงบุคคลผู้ไม่ หวั่นไหว จึงบอกอานิสงส์นั้น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า บุคคลเป็นผู้ไม่ริษยา ไม่ติดใจ ไม่หวั่นไหว สม่ำเสมอในอายตนะทั้งปวง เราถูกถามถึงบุคคลผู้ไม่หวั่นไหว จึงบอกอานิสงส์นั้น [๑๘๘] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) อภิสังขารไรๆ ย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่หวั่นไหว รู้แจ่มแจ้ง เขางดเว้นแล้วจากการปรารภอภิสังขาร ย่อมมองเห็นความปลอดโปร่งในที่ทั้งปวง คำว่า ผู้ไม่หวั่นไหว รู้แจ่มแจ้ง อธิบายว่า ตัณหาตรัสเรียกว่า ความหวั่นไหว คือ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก... อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๕๓๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๕. อัตตทัณฑสุตตนิทเทส

ตัณหาที่ตรัสเรียกว่า ความหวั่นไหว นี้ บุคคลใดละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว บุคคล นั้นตรัสเรียกว่า ผู้ไม่หวั่นไหว เพราะเป็นผู้ละความหวั่นไหวได้แล้ว จึงชื่อว่าผู้ไม่หวั่นไหว บุคคลย่อมไม่หวั่นไหว คือ ไม่สะเทือน ไม่เคลื่อนไหว ไม่สะท้าน ไม่สั่นสะท้าน เพราะได้ลาภ เพราะเสื่อม ลาภบ้าง เพราะได้ยศ เพราะเสื่อมยศบ้าง เพราะสรรเสริญ เพราะนินทาบ้าง เพราะสุข เพราะทุกข์บ้าง รวมความว่า ผู้ไม่หวั่นไหว คำว่า รู้แจ่มแจ้ง ได้แก่ รู้ รู้ทั่ว รู้แจ่มแจ้ง คือ รู้เฉพาะ แทงตลอดว่า “สังขาร ทั้งปวงไม่เที่ยง... สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์”... รู้ รู้ทั่ว รู้แจ่มแจ้ง คือ รู้เฉพาะ แทงตลอดว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็น ธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา” รวมความว่า ผู้ไม่หวั่นไหว รู้แจ่มแจ้ง คำว่า อภิสังขารไรๆ ย่อมไม่มี อธิบายว่า ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อาเนญชาภิสังขาร ตรัสเรียกว่า อภิสังขาร ปุญญาภิสังขาร๑- อปุญญาภิสังขาร และอาเนญชาภิสังขาร เขาละได้เด็ดขาดแล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ด้วยเหตุใด ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อภิสังขารทั้งหลาย ย่อมไม่มี คือ ไม่มีอยู่ ไม่ปรากฏ หาไม่ได้ คือ อภิสังขารเขาละได้แล้ว ตัดขาด ได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว รวมความว่า อภิสังขารไรๆ ย่อมไม่มี คำว่า เขางดเว้นแล้วจากการปรารภอภิสังขาร อธิบายว่า ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อาเนญชาภิสังขาร ตรัสเรียกว่า อภิสังขาร ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร และอาเนญชาภิสังขาร เขาละได้เด็ดขาดแล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไป ไม่ได้ด้วยเหตุใด ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ เขาเป็นผู้งด งดเว้น เว้นขาด ออก สลัดออก @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถข้อ ๒๕/๑๐๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๕๓๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๕. อัตตทัณฑสุตตนิทเทส

หลุดพ้น ไม่เกี่ยวข้องกับการปรารภอภิสังขาร มีใจเป็นอิสระ(จากอภิสังขาร)อยู่ รวม ความว่า เขางดเว้นแล้วจากการปรารภอภิสังขาร คำว่า ย่อมมองเห็นความปลอดโปร่งในที่ทั้งปวง อธิบายว่า ราคะ โทสะ โมหะ... กิเลสทั้งหลาย เป็นเหตุก่อภัย เพราะเป็นผู้ละราคะซึ่งเป็นเหตุก่อภัยเสียได้... เพราะเป็นผู้ละกิเลสทั้งหลายซึ่งเป็นเหตุก่อภัย เขาจึงมองเห็นความปลอดโปร่งในที่ ทั้งปวง คือ มองเห็นความปลอดภัยในที่ทั้งปวง มองเห็นความไม่มีเสนียดจัญไรในที่ ทั้งปวง มองเห็นความไม่มีอุปัทวะในที่ทั้งปวง มองเห็นความไม่มีอุปสรรคในที่ทั้งปวง มองเห็นความไม่ติดขัดในที่ทั้งปวง รวมความว่า ย่อมมองเห็นความปลอดโปร่งในที่ ทั้งปวง ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า อภิสังขารไรๆ ย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่หวั่นไหว รู้แจ่มแจ้ง เขางดเว้นแล้วจากการปรารภอภิสังขาร ย่อมมองเห็นความปลอดโปร่งในที่ทั้งปวง [๑๘๙] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) มุนีย่อมไม่กล่าวถึงตนในหมู่คนที่เสมอกัน ด้อยกว่า (หรือ) เลิศกว่าเลย มุนีนั้น เป็นผู้สงบ คลายความตระหนี่ ไม่ยึดถือ ไม่สลัดทิ้ง
ว่าด้วยคุณสมบัติของมุนี
คำว่า มุนีย่อมไม่กล่าวถึงตนในหมู่คนที่เสมอกัน ด้อยกว่า (หรือ) เลิศกว่า เลย อธิบายว่า ญาณท่านเรียกว่า โมนะ คือ ความรู้ทั่ว กิริยาที่รู้ชัด... ผู้ก้าวล่วง กิเลสเครื่องข้องและตัณหาดุจตาข่ายได้แล้ว ชื่อว่ามุนี มุนีย่อมไม่กล่าวถึง คือ ไม่พูด ไม่บอก ไม่แสดง ไม่ชี้แจงว่า “เราเลิศกว่าเขา เราเสมอเขา หรือเราด้อยกว่าเขา” รวมความว่า มุนีย่อมไม่กล่าวถึงตนในหมู่คนที่ เสมอกัน ด้อยกว่า (หรือ) เลิศกว่าเลย คำว่า เป็นผู้สงบ ในคำว่า มุนีนั้น เป็นผู้สงบ คลายความตระหนี่ อธิบายว่า ชื่อว่าเป็นผู้สงบ เพราะสงบราคะ ชื่อว่าเป็นผู้สงบ เพราะสงบโทสะ ชื่อว่าเป็นผู้สงบ เพราะสงบโมหะ... {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๕๓๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๕. อัตตทัณฑสุตตนิทเทส

ชื่อว่าเป็นผู้สงบ คือ เข้าไปสงบ สงบเย็น ดับ ระงับได้แล้ว เพราะสงบ ระงับ สงบเย็น เผา ดับ ปราศจาก สงบระงับ อกุสลาภิสังขารทุกประเภท รวมความว่า มุนีนั้น เป็นผู้สงบ คำว่า คลายความตระหนี่ อธิบายว่า มัจฉริยะ ๕ อย่าง คือ (๑) อาวาส- มัจฉริยะ... ความมุ่งแต่จะได้ ตรัสเรียกว่า ความตระหนี่ ความตระหนี่นี้ มุนีใดละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว มุนีนั้น ตรัสเรียกว่า คลายความตระหนี่ คือ ปราศจากความตระหนี่ สละความตระหนี่ คายความตระหนี่ ปล่อยความตระหนี่ ละความตระหนี่ สลัดทิ้งความตระหนี่ รวมความว่า มุนีนั้น เป็นผู้สงบ คลายความตระหนี่ คำว่า ไม่ยึดถือ ในคำว่า ไม่ยึดถือ ไม่สลัดทิ้ง อธิบายว่า ไม่ยึดถือ คือ ไม่ถือเอา ไม่เข้าไปยึดถือ ไม่ถือ ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่นรูป... เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ... คติ... การถือกำเนิด... ปฏิสนธิ... ภพ... สงสาร ไม่ยึดถือ คือ ไม่ถือเอา ไม่เข้าไปยึดถือ ไม่ถือ ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่น ไม่ละ ไม่บรรเทา ไม่ทำให้หมดสิ้นไป ไม่ทำให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งวัฏฏะ รวมความว่า ไม่ยึดถือ คำว่า ไม่สลัดทิ้ง อธิบายว่า ไม่ละ ไม่บรรเทา ไม่ทำให้หมดสิ้นไป ไม่ทำให้ถึง ความไม่มีอีกซึ่งรูป คือ ไม่ละ ไม่บรรเทา ไม่ทำให้หมดสิ้นไป ไม่ทำให้ถึงความ ไม่มีอีก ซึ่งเวทนา... สัญญา...สังขาร... วิญญาณ... คติ... การถือกำเนิด... ปฏิสนธิ... ภพ... สงสาร... วัฏฏะ รวมความว่า ไม่สลัดทิ้ง คำว่า พระผู้มีพระภาค เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ... คำว่า พระผู้มี- พระภาค นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาค จึงตรัสว่า มุนีย่อมไม่กล่าวถึงตนในหมู่คนที่เสมอกัน ด้อยกว่า (หรือ) เลิศกว่าเลย มุนีนั้น เป็นผู้สงบ คลายความตระหนี่ ไม่ยึดถือ ไม่สลัดทิ้ง๑-
อัตตทัณฑสุตตนิทเทสที่ ๑๕ จบ
@เชิงอรรถ : @ ขุ. สุ. ๒๕/๙๖๑/๕๒๐ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๕๓๔}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๙ หน้าที่ ๕๒๖-๕๓๔. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=29&A=15656&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=29&siri=15              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4].              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=29&A=9094&Z=10136&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=29&i=788              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=29&item=788&items=93              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=29&item=788&items=93              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu29

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]