ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย มหานิทเทส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๖. สารีปุตตสุตตนิทเทส

๕. สปทานจาริกังคธุดงค์ ๖. ขลุปัจฉาภัตติกังคธุดงค์ ๗. เนสัชชิกังคธุดงค์ ๘. ยถาสันถติกังคธุดงค์๑- นี้เรียกว่า วัตรไม่ใช่ศีล แม้การสมาทานความเพียร ก็เรียกว่า วัตรไม่ใช่ศีล ภิกษุประคองจิตมุ่งมั่นว่า เนื้อและเลือดในร่างกายจงเหือดแห้งไป จะเหลืออยู่แต่หนังเอ็นกระดูกก็ตามทีเถิด ผลใดพึงบรรลุได้ด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยกำลังของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วยความบากบั่นของบุรุษ (ถ้า) ไม่บรรลุผลนั้นแล้วก็จักไม่หยุด ความเพียร แม้การ สมาทานความเพียรอย่างนี้เรียกว่า วัตรไม่ใช่ศีล ภิกษุประคองจิตมุ่งมั่นว่า “เมื่อเรายังถอนลูกศรคือตัณหาขึ้นไม่ได้ เราจะไม่กิน ไม่ดื่ม ไม่ออกไปจากวิหาร ทั้งจะไม่เอนกายนอน๒-” การสมาทานความเพียรอย่างนี้เรียกว่า วัตรไม่ใช่ศีล ภิกษุประคองจิตมุ่งมั่นว่า ตราบใดที่จิตของเรายังไม่หลุดพ้นจากอาสวะ ทั้งหลาย เพราะไม่ยึดมั่น ตราบนั้นเราจักไม่ทำลายบัลลังก์นี้เลย แม้การสมาทาน ความเพียรอย่างนี้เรียกว่า วัตรไม่ใช่ศีล ภิกษุประคองจิตมุ่งมั่นว่า ตราบใดที่จิตของเรายังไม่หลุดพ้นจากอาสวะ ทั้งหลาย เพราะไม่ยึดมั่น ตราบนั้นเราก็จักไม่ลุกจากที่นั่ง... ไม่ลงจากลานจงกรม... ไม่ออกจากวิหาร... ไม่ออกจากเรือนหลังคาด้านเดียว... ไม่ออกจากปราสาท... ไม่ออกจากเรือนโล้น... ไม่ออกจากถ้ำ... ไม่ออกจากที่หลีกเร้น... ไม่ออกจากกุฎี... ไม่ออกจากเรือนยอด... ไม่ออกจากป้อม... ไม่ออกจากโรงกลม... ไม่ออกจากเรือนที่ มีเครื่องกั้น... ไม่ออกจากศาลาที่บำรุง... ไม่ออกจากมณฑป... ไม่ออกจากโคนไม้นี้ แม้การสมาทานความเพียรอย่างนี้เรียกว่า วัตรไม่ใช่ศีล @เชิงอรรถ : @ ดูคำแปลจากข้อ ๑๗/๗๙ @ ขุ.เถร.(แปล) ๒๖/๒๒๓/๓๗๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๕๗๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๖. สารีปุตตสุตตนิทเทส

ภิกษุประคองจิตมุ่งมั่นว่า เราจักนำมา นำมาด้วยดี บรรลุ สัมผัส ทำ ให้แจ้งซึ่งอริยธรรม เช้าวันนี้เอง แม้การสมาทานความเพียรอย่างนี้เรียกว่า วัตร ไม่ใช่ศีล ภิกษุประคองจิตมุ่งมั่นว่า เราจักนำมา นำมาด้วยดี บรรลุ สัมผัส ทำให้แจ้งซึ่ง อริยธรรมในเที่ยงนี้... เย็นนี้... ก่อนภัต... หลังภัต... ปฐมยาม... มัชฌิมยาม... ปัจฉิมยาม... ข้างแรม... ข้างขึ้น... ฤดูฝน... ฤดูหนาว... ฤดูร้อน... ปฐมวัย... มัชฌิมวัย... ปัจฉิมวัย แม้การสมาทานความเพียรอย่างนี้เรียกว่า วัตรไม่ใช่ศีล นี้ชื่อว่าความบริสุทธิ์แห่งศีลและวัตร ภิกษุพึงเป็นผู้ประกอบด้วยความบริสุทธิ์แห่ง ศีลและวัตรเช่นนี้ รวมความว่า พึงมีศีลและวัตรอย่างไร
ว่าด้วยการอบรมตน
คำว่า อบรมตนอยู่ ในคำว่า ภิกษุอบรมตนอยู่ อธิบายว่า ภิกษุปรารภความ เพียร มีเรี่ยวแรง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดทิ้งฉันทะ ไม่ทอดทิ้งธุระในกุศลธรรม ทั้งหลาย อีกนัยหนึ่ง ภิกษุส่งตนไป คือ ส่งตนไปในประโยชน์ตน๑- ในญายะ๒- ในลักษณะ๓- ในเหตุ ในฐานะและอฐานะ คือ ส่งตนไปว่า “สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง... สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์... ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา”... ส่งตนไปว่า “เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี... เพราะชาติเป็นปัจจัย ชราและมรณะจึงมี... เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ... เพราะชาติดับ ชราและ มรณะจึงดับ”... ส่งตนไปว่า “นี้ทุกข์... นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา... เหล่านี้อาสวะ... นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา”... ส่งตนไปว่า “เหล่านี้ธรรมที่ควรรู้ยิ่ง... เหล่านี้ธรรมที่ควรทำให้แจ้ง” @เชิงอรรถ : @ ประโยชน์ ในที่นี้หมายถึงอรหัตตผล (ขุ.ม.อ. ๑๙๖/๔๖๑) @ ญายะ ในที่นี้หมายถึงอริยมรรค (ขุ.ม.อ. ๑๙๖/๔๖๑) @ ลักษณะ ในที่นี้หมายถึงไตรลักษณ์ มีอนิจจลักษณะเป็นต้น (ขุ.ม.อ. ๑๙๖/๔๖๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๕๗๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๖. สารีปุตตสุตตนิทเทส

ส่งตนไปสู่เหตุเกิด เหตุดับ คุณ โทษ และการสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ... อุปาทานขันธ์ ๕ ... ส่งตนไปสู่เหตุเกิด เหตุดับ คุณ โทษ และการสลัดออกแห่ง มหาภูตรูป ๔ ส่งตนไปว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดล้วนมี ความดับไปเป็นธรรมดา” รวมความว่า อบรมตนอยู่ คำว่า ภิกษุ ได้แก่ ภิกษุผู้เป็นกัลยาณปุถุชน หรือภิกษุผู้เป็นพระเสขะ รวม ความว่า ภิกษุอบรมตนอยู่ ด้วยเหตุนั้น พระสารีบุตรเถระจึงกล่าวว่า ภิกษุอบรมตนอยู่ พึงมีแนวทางแห่งถ้อยคำอย่างไร พึงมีโคจรในศาสนานี้อย่างไร พึงมีศีลและวัตรอย่างไร [๑๙๗] (พระสารีบุตรเถระทูลถามว่า) ภิกษุนั้นพึงสมาทานสิกขาอะไร จึงมีสมาธิเป็นธรรมเอกผุดขึ้น มีปัญญารักษาตน มีสติกำจัดมลทินของตนได้ เหมือนช่างทองกำจัดมลทินทอง ฉะนั้น
ว่าด้วยการสมาทานสิกขา ๓
คำว่า ภิกษุนั้นพึงสมาทานสิกขาอะไร อธิบายว่า ภิกษุนั้นถือเอา สมาทาน คือ ยึดถือ รับเอา ถือ ยึดมั่น ถือมั่นสิกขาอะไร รวมความว่า ภิกษุนั้นพึง สมาทานสิกขาอะไร คำว่า มีสมาธิเป็นธรรมเอกผุดขึ้น ในคำว่า จึงมีสมาธิเป็นธรรมเอกผุดขึ้น มีปัญญารักษาตน มีสติ ได้แก่ มีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งเดียว มีจิตไม่ฟุ้งซ่าน มีใจ ไม่ซัดส่าย สมถะ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ คำว่า มีปัญญารักษาตน ได้แก่ มีปัญญารักษาตน คือ เป็นบัณฑิต มีปัญญา มีปัญญาเครื่องตรัสรู้ มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาเครื่องทำลายกิเลส {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๕๗๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๖. สารีปุตตสุตตนิทเทส

คำว่า มีสติ อธิบายว่า มีสติด้วยเหตุ ๔ อย่าง คือ ๑. ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญสติปัฏฐานพิจารณากายในกาย ๒. ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญสติปัฏฐานพิจารณาเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ๓. ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญสติปัฏฐานพิจารณาจิตในจิต ๔. ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญสติปัฏฐานพิจารณาธรรมในธรรมทั้งหลาย ภิกษุนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่า ผู้มีสติ รวมความว่า มีสติ พระสารีบุตรเถระทูลถามถึงอธิสีลสิกขาว่า ภิกษุนั้นพึงสมาทานสิกขาอะไร ทูลถามถึงอธิจิตตสิกขาว่า มีสมาธิเป็นธรรมเอกผุดขึ้น ทูลถามถึงอธิปัญญาสิกขาว่า มีปัญญารักษาตน ทูลถามถึงความบริสุทธิ์แห่งสติว่า ผู้มีสติ รวมความว่า ภิกษุนั้น พึงสมาทานสิกขาอะไร จึงมีสมาธิเป็นธรรมเอกผุดขึ้น มีปัญญารักษาตน มีสติ
ว่าด้วยการกำจัดมลทิน
คำว่า กำจัดมลทินของตนได้ เหมือนช่างทองกำจัดมลทินทอง ฉะนั้น อธิบายว่า คนทำทอง ตรัสเรียกว่า ช่างทอง ทองคำ ตรัสเรียกว่า ทอง ช่างทอง ย่อมเป่า ไล่ กำจัดมลทินทองทั้งหยาบ ปานกลาง และละเอียด ฉันใด ภิกษุย่อมเป่า ไล่ กำจัด ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งกิเลสทั้งหยาบ ปานกลาง และละเอียด ฉันนั้นเหมือนกัน อีกนัยหนึ่ง ภิกษุย่อมเป่า ไล่ กำจัด ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความ ไม่มีอีกซึ่งมลทินคือราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ กิเลส ทุจริต ซึ่งทำให้เป็น คนตาบอด ทำให้ไม่มีจักษุ ทำให้ไม่มีญาณ อันดับปัญญา เป็นไปในฝักฝ่ายแห่ง ความลำบาก ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน อีกนัยหนึ่ง ภิกษุย่อมเป่า ไล่ กำจัด ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความ ไม่มีอีกซึ่งมิจฉาทิฏฐิ ด้วยสัมมาทิฏฐิ ย่อมเป่า ไล่ กำจัด ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่ง มิจฉาสังกัปปะ ด้วยสัมมาสังกัปปะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๕๗๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๖. สารีปุตตสุตตนิทเทส

...มิจฉาวาจา ด้วยสัมมาวาจา ...มิจฉากัมมันตะ ด้วยสัมมากัมมันตะ ...มิจฉาอาชีวะ ด้วยสัมมาอาชีวะ ...มิจฉาวายามะ ด้วยสัมมาวายามะ ...มิจฉาสติ ด้วยสัมมาสติ ...มิจฉาสมาธิ ด้วยสัมมาสมาธิ ...มิจฉาญาณ ด้วยสัมมาญาณ ย่อมเป่า ไล่ กำจัด ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่ง มิจฉาวิมุตติ ด้วยสัมมาวิมุตติ อีกนัยหนึ่ง ภิกษุย่อมเป่า ไล่ กำจัด ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความ ไม่มีอีกซึ่งกิเลสทุกชนิด ทุจริตทุกทาง ความกระวนกระวายทุกอย่าง ความเร่าร้อน ทุกสถาน ความเดือดร้อนทุกประการ อกุสลาภิสังขารทุกประเภท ด้วยอริยมรรค มีองค์ ๘ รวมความว่า กำจัดมลทินของตนได้ เหมือนช่างทองกำจัดมลทินทอง ฉะนั้น ด้วยเหตุนั้น พระสารีบุตรเถระจึงทูลถามว่า ภิกษุนั้นพึงสมาทานสิกขาอะไร จึงมีสมาธิเป็นธรรมเอกผุดขึ้น มีปัญญารักษาตน มีสติกำจัดมลทินของตนได้ เหมือนช่างทองกำจัดมลทินทอง ฉะนั้น [๑๙๘] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า สารีบุตร) เราจักบอกความผาสุก และธรรมอันสมควรนั้น ของผู้เบื่อหน่าย ใช้สอยที่นั่งที่นอนอันสงัด ผู้ปรารถนาสัมโพธิญาณ แก่เธอ ตามที่รู้ คำว่า ของผู้เบื่อหน่าย ในคำว่า ความผาสุก... ของผู้เบื่อหน่าย อธิบายว่า ผู้เบื่อหน่าย คือ อึดอัด ระอาด้วยชาติ ... ชรา ... พยาธิ ... มรณะ ... โสกะ ... ปริเทวะ ... ทุกขะ ... โทมนัส ... อุปายาส ... ด้วยความทุกข์เพราะทิฏฐิวิบัติ รวมความว่า ของผู้เบื่อหน่าย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๕๗๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๖. สารีปุตตสุตตนิทเทส

คำว่า ความผาสุก อธิบายว่า เราจักบอกความผาสุก คือ ความอยู่ผาสุก ความอยู่ผาสุก เป็นอย่างไร คือการปฏิบัติชอบ การปฏิบัติเหมาะสม การ ปฏิบัติที่ไม่เป็นข้าศึก การปฏิบัติไม่คลาดเคลื่อน การปฏิบัติที่เอื้อประโยชน์ การ ปฏิบัติธรรมถูกต้องตามหลักธรรม การรักษาศีลให้บริบูรณ์ ความเป็นผู้สำรวม อินทรีย์ทั้ง ๖ (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) ความเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภคอาหาร ความเป็นผู้มีความเพียรเครื่องตื่นอยู่เสมอ สติสัมปชัญญะ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ นิพพานและปฏิปทาเครื่องดำเนินไปสู่นิพพาน นี้ชื่อว่าความอยู่ผาสุก รวมความว่า ความผาสุก... ของผู้เบื่อหน่าย
อธิบายคำว่า ภควา
คำว่า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สารีบุตร เป็นคำที่พระผู้มีพระภาคตรัสเรียก พระเถระนั้นโดยชื่อ คำว่า พระผู้มีพระภาค เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ อีกนัยหนึ่ง ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงทำลายราคะได้แล้ว ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงทำลายโทสะได้แล้ว ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงทำลายโมหะได้แล้ว ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงทำลายมานะได้แล้ว ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงทำลายทิฏฐิได้แล้ว ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงทำลายเสี้ยนหนามได้แล้ว ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงทำลายกิเลสได้แล้ว ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงจำแนก แยกแยะ แจกแจงธรรมรัตนะ ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงทำที่สุดแห่งภพได้ ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงอบรมพระวรกายแล้ว ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงอบรมศีล อบรมจิต อบรมปัญญาแล้ว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๕๘๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๖. สารีปุตตสุตตนิทเทส

อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงใช้สอยเสนาสนะที่เป็นป่าละเมาะและป่าทึบ อันสงัด มีเสียงน้อย มีเสียงอึกทึกน้อย ปราศจากการสัญจรไปมาของผู้คน ควรเป็น สถานที่ทำการลับของมนุษย์ สมควรเป็นที่หลีกเร้น จึงชื่อว่าพระผู้มีพระภาค อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงมีส่วนแห่งจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร จึงชื่อว่าพระผู้มีพระภาค อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้มีส่วนแห่งอรรถรส ธรรมรส วิมุตติรส อธิสีล อธิจิต อธิปัญญา จึงชื่อว่าพระผู้มีพระภาค อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้มีส่วนแห่งฌาน ๔ อัปปมัญญา ๔ อรูปสมาบัติ ๔ จึงชื่อว่าพระผู้มีพระภาค อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้มีส่วนแห่งวิโมกข์ ๘ อภิภายตนะ ๘ อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ จึงชื่อว่าพระผู้มีพระภาค อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้มีส่วนแห่งสัญญาภาวนา ๑๐ กสิณ- สมาบัติ ๑๐ อานาปานสติสมาธิ อสุภสมาบัติ จึงชื่อว่าพระผู้มีพระภาค อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้มีส่วนแห่งสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ จึงชื่อว่าพระผู้มี พระภาค อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้มีส่วนแห่งตถาคตพลญาณ ๑๐ เวสารัชชญาณ ๔ ปฏิสัมภิทา ๔ อภิญญา ๖ พุทธธรรม ๖ จึงชื่อว่าพระผู้มีพระภาค พระนามว่า พระผู้มีพระภาค นี้ มิใช่พระชนนีทรงตั้ง มิใช่พระชนกทรงตั้ง มิใช่พระภาดาทรงตั้ง มิใช่พระภคินีทรงตั้ง มิใช่มิตรและอำมาตย์ตั้ง มิใช่พระญาติ และผู้ร่วมสายโลหิตทรงตั้ง มิใช่สมณพราหมณ์ตั้ง มิใช่เทวดาตั้ง คำว่า พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นวิโมกขันติกนาม เป็นสัจฉิกาบัญญัติของ พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย พร้อมกับการบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ ที่โคน ต้นโพธิ์ รวมความว่า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สารีบุตร คำว่า ใช้สอยที่นั่งที่นอนอันสงัด อธิบายว่า ที่สำหรับนั่ง ตรัสเรียกว่า ที่นั่ง ได้แก่ เตียง ตั่ง เบาะ เสื่อ แผ่นหนัง เครื่องปูลาดทำด้วยหญ้า เครื่องปูลาด ทำด้วยใบไม้ เครื่องปูลาดทำด้วยฟาง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๕๘๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๖. สารีปุตตสุตตนิทเทส

เสนาสนะ ตรัสเรียกว่า ที่นอน ได้แก่ วิหาร เรือนหลังคาด้านเดียว ปราสาท เรือนโล้น ถ้ำ ที่นอนและที่นั่งนั้น สงัด คือ ว่าง เงียบ จากการได้เห็นรูปไม่เป็นที่สบาย ... จากการได้ยินเสียงไม่เป็นที่สบาย สงัด คือ ว่าง เงียบ จากกามคุณ ๕ ไม่เป็นที่ สบาย ผู้ใช้สอย คือ เสพเป็นนิจ ซ่องเสพ เสพเฉพาะที่นอนที่นั่งนั้น รวมความว่า ใช้สอยที่นั่งที่นอนอันสงัด คำว่า ธรรมอันสมควร... ผู้ปรารถนาสัมโพธิญาณ อธิบายว่า ญาณในมรรค ทั้ง ๔ ตรัสเรียกว่า สัมโพธิญาณ คือ ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ... ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ปัญญาเครื่องพิจารณา ปัญญาเครื่องเห็นแจ้ง สัมมาทิฏฐิ ผู้ปรารถนาจะรู้ ปรารถนาจะรู้ตาม ปรารถนาจะรู้เฉพาะ ปรารถนาจะรู้พร้อม ปรารถนาจะบรรลุ ปรารถนาจะสัมผัส ปรารถนาจะทำให้แจ้งสัมโพธิญาณนั้น รวมความว่า ผู้ปรารถนาสัมโพธิญาณ คำว่า ธรรมอันสมควร อธิบายว่า ธรรมอันสมควรแก่โพธิญาณ เป็นอย่างไร คือ การปฏิบัติชอบ การปฏิบัติเหมาะสม การปฏิบัติที่ไม่เป็นข้าศึก การปฏิบัติ ไม่คลาดเคลื่อน การปฏิบัติที่เอื้อประโยชน์ การปฏิบัติธรรมถูกต้องตามหลักธรรม การรักษาศีลให้บริบูรณ์ ความเป็นผู้สำรวมอินทรีย์ทั้ง ๖ ความเป็นผู้รู้จักประมาณ ในการบริโภคอาหาร ความเป็นผู้มีความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่เสมอ สติสัมปชัญญะ เหล่านี้ ตรัสเรียกว่า ธรรมอันสมควรแก่โพธิญาณ อีกนัยหนึ่ง วิปัสสนาในส่วนเบื้องต้นแห่งมรรคทั้ง ๔ เหล่านี้ ตรัสเรียกว่า ธรรมอันสมควรแก่โพธิญาณ รวมความว่า ธรรมอันสมควร... ผู้ปรารถนา สัมโพธิญาณ คำว่า นั้น ในคำว่า เราจักบอก... นั้น แก่เธอ ตามที่รู้ ได้แก่ ธรรมอัน สมควรแก่โพธิญาณ คำว่า เราจักบอก ได้แก่ จักพูด บอก คือ กล่าว แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๕๘๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๖. สารีปุตตสุตตนิทเทส

คำว่า ตามที่รู้ ได้แก่ ตามที่รู้ คือ ตามที่ทราบ รู้ทั่ว รู้แจ่มแจ้ง รู้เฉพาะ แทงตลอด ได้แก่ เราจักบอกธรรมที่รู้ด้วยตนเอง ธรรมที่ประจักษ์แก่ตนเอง มิใช่โดยอาการเชื่อผู้อื่นว่า ธรรมนี้เป็นดังนี้ ธรรมนี้เป็นดังนี้ มิใช่โดยการเล่าลือ มิใช่โดยการถือสืบๆ กันมา มิใช่โดยการอ้างตำรา มิใช่โดยตรรกะ มิใช่โดยการ อนุมาน มิใช่โดยการคิดตรองตามแนวเหตุผล มิใช่เพราะเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจ ไว้แล้ว จักบอกธรรมที่รู้เฉพาะตนเอง ธรรมที่ประจักษ์แก่ตนเอง รวมความว่า เราจัก บอก... นั้น แก่เธอ ตามที่รู้ ด้วยเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า สารีบุตร) เราจักบอกความผาสุก และธรรมอันสมควรนั้น ของผู้เบื่อหน่าย ใช้สอยที่นั่งที่นอนอันสงัด ผู้ปรารถนาสัมโพธิญาณ แก่เธอ ตามที่รู้ [๑๙๙] (พระผู้มีพระภาคตรัสต่อไปว่า) ภิกษุผู้เป็นนักปราชญ์ มีสติ ประพฤติธรรมอันเป็นส่วนสุดรอบ ไม่พึงกลัวภัย ๕ อย่าง คือ เหลือบ สัตว์ไต่ตอม สัตว์เลื้อยคลาน สัมผัสจากมนุษย์และสัตว์ ๔ เท้า
ว่าด้วยภิกษุผู้เป็นนักปราชญ์
คำว่า ผู้เป็นนักปราชญ์ ในคำว่า ผู้เป็นนักปราชญ์... ไม่พึงกลัวภัย ๕ อย่าง ได้แก่ เป็นนักปราชญ์ คือ เป็นบัณฑิต มีปัญญา มีปัญญาเครื่องตรัสรู้ มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาเครื่องทำลายกิเลส เฉลียวฉลาด ไม่พึงกลัว คือ ไม่พึง หวาดเสียว ไม่พึงครั่นคร้าม ไม่พึงเกรงกลัว ไม่พึงหวาดกลัว ไม่พึงถึงความสะดุ้ง ต่อภัย ๕ อย่าง ได้แก่ ไม่ขลาด ไม่หวาดเสียว ไม่สะดุ้ง ไม่หนี พึงเป็นผู้ละภัยและ ความหวาดกลัวได้แล้ว หมดความขนพองสยองเกล้า อยู่ รวมความว่า ผู้เป็นนักปราชญ์ ... ไม่พึงกลัวภัย ๕ อย่าง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๕๘๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๖. สารีปุตตสุตตนิทเทส

คำว่า ภิกษุ ในคำว่า ภิกษุ... มีสติ ประพฤติธรรมอันเป็นส่วนสุดรอบ ได้แก่ ภิกษุผู้เป็นกัลยาณปุถุชน หรือภิกษุผู้เป็นพระเสขะ คำว่า มีสติ ได้แก่ มีสติด้วยเหตุ ๔ อย่าง คือ ๑. ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญสติปัฏฐานพิจารณากายในกาย ๒. ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญสติปัฏฐานพิจารณาเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ๓. ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญสติปัฏฐานพิจารณาจิตในจิต ๔. ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญสติปัฏฐานพิจารณาธรรมในธรรมทั้งหลาย ภิกษุนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่า ผู้มีสติ รวมความว่า มีสติ คำว่า ประพฤติธรรมอันเป็นส่วนสุดรอบ ได้แก่ ธรรมอันเป็นส่วนสุดรอบ ๔ ประการ คือ ๑. ธรรมอันเป็นส่วนสุดรอบคือสีลสังวร ๒. ธรรมอันเป็นส่วนสุดรอบคืออินทรียสังวร ๓. ธรรมอันเป็นส่วนสุดรอบคือโภชเนมัตตัญญุตา ๔. ธรรมอันเป็นส่วนสุดรอบคือชาคริยานุโยค ธรรมอันเป็นส่วนสุดรอบคือสีลสังวร เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์ สมบูรณ์ด้วยอาจาระและโคจร เห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ใน สิกขาบททั้งหลาย พิจารณาเห็นความเน่าเสียภายใน ประพฤติธรรมอันเป็นส่วน สุดรอบ คือสีลสังวรภายใน ไม่ทำลายกฎเกณฑ์ นี้ชื่อว่าธรรมอันเป็นส่วนสุดรอบคือ สีลสังวร ธรรมอันเป็นส่วนสุดรอบคืออินทรียสังวร เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปทางตาแล้ว ไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ย่อมปฏิบัติ เพื่อความสำรวมจักขุนทรีย์ ซึ่งเมื่อสำรวมอยู่ด้วยดีแล้ว จะเป็นเหตุให้บาปอกุศล- ธรรมคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำไม่ได้ ย่อมรักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมใน จักขุนทรีย์ ฟังเสียงทางหู... ดมกลิ่นทางจมูก... ลิ้มรสทางลิ้น... ถูกต้องโผฏฐัพพะ ทางกาย... รู้ธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ก็ไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ย่อมปฏิบัติเพื่อความ สำรวมในมนินทรีย์ ซึ่งเมื่อสำรวมอยู่ด้วยดีแล้ว จะเป็นเหตุให้บาปอกุศลธรรม คือ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๕๘๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๖. สารีปุตตสุตตนิทเทส

อภิชฌาและโทมนัสครอบงำไม่ได้ ย่อมรักษามนินทรีย์ ถึงความสำรวมในมนินทรีย์ พิจารณาอาทิตตปริยายเทศนาอยู่ ประพฤติธรรมอันเป็นส่วนสุดรอบคืออินทรีย- สังวรภายใน ไม่ทำลายเขตแดน นี้ ชื่อว่าธรรมอันเป็นส่วนสุดรอบคืออินทรียสังวร ธรรมอันเป็นส่วนสุดรอบคือโภชเนมัตตัญญุตา เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว จึงฉันอาหาร มิใช่เพื่อเล่น มิใช่เพื่อมัวเมา มิใช่เพื่อตบแต่ง มิใช่เพื่อประดับ แต่ฉันเพียงเพื่อให้ร่างกายนี้ดำรงอยู่ เพื่อให้ร่างกายนี้ดำเนินไปได้ เพื่อระงับความลำบาก เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์ อย่างเดียวเท่านั้น ด้วยมนสิการว่า เราจักบำบัดเวทนาเก่า ไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น การดำเนินชีวิตของเรา ความไม่มีโทษและความอยู่สบายจักมีได้ด้วยวิธีการอย่างนี้ พิจารณาอาหารเปรียบกับน้ำมันสำหรับหยอดเพลา ผ้าปิดแผล และเนื้อของบุตร ประพฤติธรรมอันเป็นส่วนสุดรอบคือโภชเนมัตตัญญุตาภายใน ไม่ทำลายเขตแดน นี้ ชื่อว่าธรรมอันเป็นส่วนสุดรอบคือโภชเนมัตตัญญุตา ธรรมอันเป็นส่วนสุดรอบคือชาคริยานุโยค เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมเครื่องกางกั้นด้วยการเดิน จงกรม และการนั่งตลอดวัน คือชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมเครื่องกางกั้นด้วยการ เดินจงกรม และการนั่งตลอดปฐมยามแห่งราตรี สำเร็จการนอนอย่างราชสีห์ โดย ตะแคงด้านขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะ กำหนดเวลาตื่นไว้ในใจ ตลอด มัชฌิมยามแห่งราตรี ลุกขึ้น ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมเครื่องกางกั้นด้วยการเดิน จงกรม และการนั่งตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรี พิจารณาถึงความเป็นอยู่ของผู้มีราตรี เดียวเจริญ ประพฤติธรรมเป็นส่วนสุดรอบคือชาคริยานุโยคภายใน ไม่ทำลายเขตแดน นี้ชื่อว่าธรรมอันเป็นส่วนสุดรอบคือชาคริยานุโยค รวมความว่า ภิกษุ ... มีสติ ประพฤติ ธรรมอันเป็นส่วนสุดรอบ คำว่า เหลือบ สัตว์ไต่ตอม สัตว์เลื้อยคลาน อธิบายว่า แมลงตาเหลือง ตรัสเรียกว่าเหลือบ แมลงวันทุกชนิด ตรัสเรียกว่า สัตว์ไต่ตอม เพราะเหตุไร แมลงวัน ทุกชนิด จึงตรัสเรียกว่า สัตว์ไต่ตอม แมลงวันเหล่านั้น บินชอนไชเรื่อยไป เพราะ เหตุนั้น แมลงวันทุกชนิด จึงตรัสเรียกว่า สัตว์ไต่ตอม งูตรัสเรียกว่า สัตว์เลื้อยคลาน รวมความว่า เหลือบ สัตว์ไต่ตอม สัตว์เลื้อยคลาน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๕๘๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๖. สารีปุตตสุตตนิทเทส

คำว่า สัมผัสจากมนุษย์และสัตว์ ๔ เท้า อธิบายว่า โจร คนที่ก่อกรรมไว้ หรือยังมิได้ก่อกรรมไว้ ตรัสเรียกว่า สัมผัสจากมนุษย์ ชนเหล่านั้นพึงถามปัญหากับภิกษุบ้าง ยกเรื่องขึ้นด่า บริภาษ แช่ง เสียดสี เบียดเบียน รังแก กดขี่ ข่มเหง ฆ่า เข่นฆ่า หรือทำการเข่นฆ่าบ้าง ความเข้าไป เบียดเบียนจากมนุษย์ชนิดใดก็ตาม ชื่อว่า สัมผัสจากมนุษย์ คำว่า สัตว์ ๔ เท้า ได้แก่ สิงโต เสือโคร่ง เสือเหลือง หมี เสือดาว สุนัขป่า โค กระบือ ช้าง สัตว์เหล่านั้น พึงย่ำยีบ้าง กัดกิน เบียดเบียน รังแก กดขี่ ข่มเหง ฆ่า เข้าไปฆ่า หรือ ทำการเข้าไปฆ่าภิกษุบ้าง ภัยจากสัตว์ ๔ เท้าชนิดใดก็ตาม ชื่อว่า การเข้าไปฆ่าจากสัตว์ ๔ เท้า รวมความว่า สัมผัสจากมนุษย์และสัตว์ ๔ เท้า ด้วยเหตุนั้น พระผู้นี้พระภาคจึงตรัสว่า ภิกษุผู้เป็นนักปราชญ์ มีสติ ประพฤติธรรมอันเป็นส่วนสุดรอบ ไม่พึงกลัวภัย ๕ อย่าง คือ เหลือบ สัตว์ไต่ตอม สัตว์เลื้อยคลาน สัมผัสจากมนุษย์และสัตว์ ๔ เท้า [๒๐๐] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) ภิกษุไม่พึงหวาดกลัวผู้ถือธรรมอื่น แม้เห็นอารมณ์น่าหวาดเสียวเป็นอันมาก ของผู้ถือธรรมอื่นเหล่านั้น ก็ไม่พึงหวาดกลัว อนึ่ง ภิกษุผู้หมั่นแสวงหากุศล พึงปราบปรามอันตรายอื่นๆ
ว่าด้วยสหธรรมิก
คำว่า ภิกษุไม่พึงหวาดกลัวผู้ถือธรรมอื่น แม้เห็นอารมณ์น่าหวาดเสียวเป็น อันมากของผู้ถือธรรมอื่นเหล่านั้น อธิบายว่า เว้นสหธรรมมิก๑- ๗ จำพวก ชนเหล่า @เชิงอรรถ : @ สหธรรมิก ๗ ได้แก่ ภิกษุ ภิกษุณี สิกขมานา สามเณร สามเณรี อุบาสก อุบาสิกา (ขุ.ม.อ. ๒๐๐/๔๖๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๕๘๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๖. สารีปุตตสุตตนิทเทส

ใดก็ตามที่มิได้เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ตรัสเรียกว่า ผู้ถือธรรมอื่น ชนเหล่านั้นพึงถามปัญหากับภิกษุบ้าง พึงยกเรื่องขึ้นด่า บริภาษ แช่ง เสียดสี เบียดเบียน รังแก กดขี่ ข่มเหง ฆ่า เข่นฆ่า หรือทำการเข่นฆ่า ภิกษุได้เห็น หรือได้ ยินอารมณ์อันน่าหวาดเสียวเป็นอันมากของชนผู้ถือธรรมอื่นเหล่านั้นแล้ว ไม่พึง หวั่นไหว ไม่พึงสั่นเทา ไม่พึงกระสับกระส่าย ไม่พึงหวาดเสียว ไม่พึงสะดุ้ง ไม่พึง ครั่นคร้าม ไม่พึงเกรงกลัว ไม่พึงหวาดกลัว ไม่พึงถึงความสะดุ้ง ได้แก่ พึงเป็นผู้ไม่ ขลาด ไม่หวาดเสียว ไม่สะดุ้ง ไม่หนี พึงเป็นผู้ละภัยและความหวาดกลัวได้แล้ว หมดความขนพองสยองเกล้าอยู่ รวมความว่า ภิกษุไม่พึงหวาดกลัวผู้ถือธรรมอื่น แม้เห็นอารมณ์น่าหวาดเสียวเป็นอันมากของผู้ถือธรรมอื่นเหล่านั้น คำว่า อนึ่ง ภิกษุผู้หมั่นแสวงหากุศล พึงปราบปรามอันตรายอื่นๆ อธิบายว่า อนึ่ง ยังมีอันตรายอื่นๆ ที่ภิกษุพึงปราบปราม ครอบงำ กำจัด ขับไล่ ย่ำยีอยู่อีก คำว่า อันตราย๑- ได้แก่ อันตราย ๒ อย่าง คือ (๑) อันตรายที่ปรากฏ (๒) อันตรายที่ไม่ปรากฏ ... ชื่อว่าอันตราย เพราะเป็นอกุศลธรรมที่อาศัยอยู่ในอัตภาพ อย่างนี้บ้าง คำว่า ภิกษุผู้หมั่นแสวงหากุศล อธิบายว่า ภิกษุผู้แสวงหา คือ เสาะหา ค้นหา การปฏิบัติชอบ การปฏิบัติเหมาะสม การปฏิบัติที่ไม่เป็นข้าศึก การปฏิบัติไม่ผิด การปฏิบัติที่เอื้อประโยชน์ ... อริยมรรคมีองค์ ๘ นิพพาน และปฏิปทาเครื่อง ดำเนินไปสู่นิพพาน พึงปราบปราม ครอบงำ กำจัด ขับไล่ ย่ำยีอันตราย รวมความว่า อนึ่ง ภิกษุผู้หมั่นแสวงหากุศล พึงปราบปรามอันตรายอื่นๆ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มี- พระภาคจึงตรัสว่า ภิกษุไม่พึงหวาดกลัวผู้ถือธรรมอื่น แม้เห็นอารมณ์น่าหวาดเสียวเป็นอันมาก ของผู้ถือธรรมอื่นเหล่านั้น ก็ไม่พึงหวาดกลัว อนึ่ง ภิกษุผู้หมั่นแสวงหากุศล พึงปราบปรามอันตรายอื่นๆ @เชิงอรรถ : @ อันตราย ดูรายละเอียดข้อ ๕/๑๖-๒๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๕๘๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๖. สารีปุตตสุตตนิทเทส

[๒๐๑] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) ภิกษุถูกผัสสะแห่งความเจ็บป่วยและความหิวกระทบแล้ว พึงอดกลั้นความหนาว หรือความร้อน ภิกษุนั้นถูกผัสสะเหล่านั้นกระทบแล้ว โดยอาการมากอย่าง ก็ไม่ให้โอกาส พึงทำความเพียรและความบากบั่นให้มั่นคง คำว่า ภิกษุถูกผัสสะแห่งความเจ็บป่วยและความหิวกระทบแล้ว อธิบายว่า ผัสสะแห่งโรค ตรัสเรียกว่า ผัสสะแห่งความเจ็บป่วย ภิกษุถูกผัสสะแห่งโรคกระทบแล้ว คือ ครอบงำ กลุ้มรุม ประกอบแล้ว ได้แก่ ถูกโรคทางตา ... โรคทางหู ... โรคทางจมูก ... โรคทางลิ้น ... โรคทางกาย ... ถูกสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อย คลานกระทบแล้ว คือ ครอบงำ กลุ้มรุม ประกอบแล้ว ความอยากกิน ตรัสเรียกว่า ความหิว ภิกษุนั้นเป็นผู้ถูกความหิวกระทบแล้ว คือ ครอบงำ กลุ้มรุม ประกอบแล้ว รวมความว่า ภิกษุถูกผัสสะแห่งความเจ็บป่วยและความหิวกระทบแล้ว
ว่าด้วยความหนาวมีด้วยเหตุ ๒ อย่าง
คำว่า ความหนาว ในคำว่า พึงอดกลั้นความหนาว หรือความร้อน อธิบายว่า ความหนาวย่อมมีด้วยเหตุ ๒ อย่าง คือ (๑) ความหนาวด้วยอำนาจธาตุกำเริบภายใน (๒) ความหนาวด้วยอำนาจฤดูภายนอก คำว่า ความร้อน อธิบายว่า ความร้อนย่อมมีด้วยเหตุ ๒ อย่าง คือ (๑) ความ ร้อนด้วยอำนาจธาตุกำเริบภายใน (๒) ความร้อนด้วยอำนาจฤดูภายนอก รวมความ ว่า ความหนาว ความร้อน คำว่า พึงอดกลั้น อธิบายว่า ภิกษุพึงเป็นผู้อดทนต่อความหนาว ความร้อน ความหิว ความกระหาย สัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน พึง เป็นผู้อดกลั้นต่อถ้อยคำชั่วร้าย มุ่งร้าย ทุกขเวทนาทางกาย ที่เกิดขึ้น กล้า แข็ง เผ็ด ร้อน ไม่น่ายินดี ไม่น่าพอใจ พรากชีวิตไปได้ รวมความว่า พึงอดกลั้นความหนาว หรือความร้อน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๕๘๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๖. สารีปุตตสุตตนิทเทส

คำว่า ภิกษุนั้นถูกผัสสะเหล่านั้น ในคำว่า ภิกษุนั้นถูกผัสสะเหล่านั้น กระทบแล้ว โดยอาการมากอย่าง ก็ไม่ให้โอกาส อธิบายว่า ถูกผัสสะแห่งความ เจ็บป่วย ความหิว ความหนาว และความร้อนกระทบแล้ว คือ ครอบงำ กลุ้มรุม ประกอบแล้ว รวมความว่า ภิกษุนั้นถูกผัสสะเหล่านั้นกระทบแล้ว คำว่า โดยอาการมากอย่าง ได้แก่ ถูกกระทบแล้ว คือ ครอบงำ กลุ้มรุม ประกอบแล้ว โดยอเนกประการ รวมความว่า ภิกษุนั้นถูกผัสสะเหล่านั้นกระทบแล้ว โดยอาการมากอย่าง คำว่า ก็ไม่ให้โอกาส ได้แก่ ไม่เปิดโอกาสให้วิญญาณที่เกิดพร้อมกับอภิสังขาร จึงชื่อว่า ไม่ให้โอกาส อย่างนี้บ้าง อีกนัยหนึ่ง ไม่เปิดโอกาสให้กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต จึงชื่อว่าไม่ให้โอกาส อย่างนี้บ้าง รวมความว่า ภิกษุนั้นถูกผัสสะเหล่านั้นกระทบแล้ว โดยอาการมากอย่าง ก็ไม่ให้โอกาส คำว่า พึงทำความเพียรและความบากบั่นให้มั่นคง อธิบายว่า การปรารภ ความเพียร การก้าวออก การก้าวไปข้างหน้า การย่างขึ้นไป ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขยัน ความไม่ถอยกลับ ความมั่นคง ความทรงไว้ ความบาก บั่นไม่ย่อหย่อน ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความประคองธุระไว้ วิริยะ วิริยินทรีย์ วิริยพละ สัมมาวายามะ ตรัสเรียกว่า ความเพียรและความบากบั่น คำว่า พึงทำความเพียรและความบากบั่นให้มั่นคง อธิบายว่า พึงทำ ความเพียร และความบากบั่นให้มั่นคง คือ พึงทำให้หนักแน่น ได้แก่ พึงเป็นผู้มี การถือปฏิบัติมั่นคง มีการถือปฏิบัติแน่วแน่ รวมความว่า พึงทำความเพียรและ ความบากบั่นให้มั่นคง ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ภิกษุถูกผัสสะแห่งความเจ็บป่วยและความหิวกระทบแล้ว พึงอดกลั้นความหนาว หรือความร้อน ภิกษุนั้นถูกผัสสะเหล่านั้นกระทบแล้ว โดยอาการมากอย่าง ก็ไม่ให้โอกาส พึงทำความเพียรและความบากบั่นให้มั่นคง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๕๘๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๖. สารีปุตตสุตตนิทเทส

[๒๐๒] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) ภิกษุไม่พึงขโมย ไม่พึงพูดเท็จ พึงแผ่เมตตาไปยังสัตว์ทั้งผู้สะดุ้งและผู้มั่นคง เมื่อใด ภิกษุรู้แจ้งความขุ่นมัวแห่งใจ เมื่อนั้น เธอพึงบรรเทาเสียด้วยมนสิการว่า นี้เป็นฝักฝ่ายแห่งมารผู้มีกรรมดำ คำว่า ไม่พึงขโมย ในคำว่า ไม่พึงขโมย ไม่พึงพูดเท็จ อธิบายว่า ภิกษุ ในธรรมวินัยนี้ พึงเป็นผู้ละอทินนาทาน เว้นขาดจากอทินนาทาน รับเอาแต่ของที่ เขาให้ มุ่งหวังแต่ของที่เขาให้ ดำรงตนอยู่อย่างสะอาด ไม่ขโมย รวมความว่า ไม่พึง ขโมย คำว่า ไม่พึงพูดเท็จ อธิบายว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงเป็นผู้ละการกล่าวเท็จ เว้นขาดจากการกล่าวเท็จได้แล้ว คือ เป็นคนพูดจริง ตั้งมั่นในความสัตย์ มีถ้อยคำ มั่นคง เชื่อถือได้ ไม่กล่าวคำหลอกลวงชาวโลก รวมความว่า ไม่พึงขโมย ไม่พึงพูดเท็จ
ว่าด้วยการแผ่เมตตา
คำว่า พึงแผ่เมตตาไปยังสัตว์ทั้งผู้สะดุ้งและผู้มั่นคง อธิบายว่า คำว่า เมตตา ได้แก่ ความรัก กิริยาที่รัก ภาวะที่รัก ความเอ็นดู กิริยาที่เอ็นดู ภาวะที่เอ็นดู ความปรารถนาเกื้อกูลกัน ความอนุเคราะห์ ความไม่พยาบาท ความ ไม่ปองร้าย กุศลมูลคืออโทสะในหมู่สัตว์ คำว่า ผู้สะดุ้ง อธิบายว่า เหล่าสัตว์ยังละตัณหาอันทำให้สะดุ้งไม่ได้ ยังละภัย และความหวาดกลัวไม่ได้ เพราะเหตุไร สัตว์เหล่านั้น จึงตรัสเรียกว่า ผู้สะดุ้ง สัตว์เหล่านั้น ยังสะดุ้ง คือ ครั่นคร้าม เกรงกลัว หวาดกลัว ถึงความสะดุ้ง เพราะเหตุนั้น สัตว์เหล่านั้น จึงตรัสเรียกว่า ผู้สะดุ้ง คำว่า ผู้มั่นคง อธิบายว่า เหล่าสัตว์ที่ละตัณหาอันทำให้สะดุ้งได้แล้ว ละภัย และความหวาดกลัวได้แล้ว เพราะเหตุไร สัตว์เหล่านั้นจึงตรัสเรียกว่า ผู้มั่นคง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๕๙๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๖. สารีปุตตสุตตนิทเทส

สัตว์เหล่านั้น ไม่สะดุ้ง คือ ไม่ครั่นคร้าม ไม่เกรงกลัว ไม่หวาดกลัว ไม่ถึงความ สะดุ้ง เพราะเหตุนั้น สัตว์เหล่านั้น จึงตรัสเรียกว่า ผู้มั่นคง คำว่า พึงแผ่เมตตาไปยังสัตว์ทั้งผู้สะดุ้งและผู้มั่นคง อธิบายว่า พึงแผ่ คือ ขยายเมตตา ได้แก่ พึงเป็นผู้มีจิตประกอบด้วยเมตตา อันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มี ขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไปยังสัตว์ทั้งผู้สะดุ้งและผู้มั่นคงอยู่ รวมความว่า พึงแผ่เมตตาไปยังสัตว์ทั้งผู้สะดุ้งและผู้มั่นคง คำว่า เมื่อใด ในคำว่า เมื่อใด ภิกษุรู้แจ้งความขุ่นมัวแห่งใจ ได้แก่ ในกาลใด คำว่า แห่งใจ อธิบายว่า จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มนะ มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุ อันเกิดจากผัสสะเป็นต้นนั้น จิตขุ่นมัว เศร้าหมอง ยุ่งยาก วุ่นวาย หวั่นไหว หมุนวน ไม่สงบด้วยกายทุจริต จิตขุ่นมัว เศร้าหมอง ยุ่งยาก วุ่นวาย หวั่นไหว หมุนวน ไม่สงบด้วยวจีทุจริต ... มโนทุจริต ... ราคะ... โทสะ... โมหะ... โกธะ... อุปนาหะ... มักขะ... ปฬาสะ... อิสสา... มัจฉริยะ... มายา... สาเถยยะ... ถัมภะ... สารัมภะ... มานะ... อติมานะ... มทะ... ปมาทะ... กิเลสทุกชนิด ... ทุจริตทุกทาง ... ความกระวนกระวายทุกอย่าง ... ความเร่าร้อน ทุกสถาน ... ความเดือดร้อนทุกประการ... อกุสลาภิสังขารทุกประเภท คำว่า เมื่อใด ภิกษุรู้แจ้งความขุ่นมัวแห่งใจ อธิบายว่า รู้ คือ รู้ทั่ว รู้แจ่มแจ้ง รู้เฉพาะ แทงตลอดความที่จิตขุ่นมัว รวมความว่า เมื่อใด ภิกษุรู้แจ้งความขุ่นมัว แห่งใจ คำว่า เมื่อนั้น เธอพึงบรรเทาเสียด้วยมนสิการว่า นี้ เป็นฝักฝ่ายแห่งมารผู้ มีกรรมดำ อธิบายว่า คำว่า ผู้มีกรรมดำ ได้แก่ มารผู้มีกรรมดำ คือ ผู้ยิ่งใหญ่ พาไปสู่ความตาย ไม่ ให้สัตว์หลุดพ้น เป็นเผ่าพันธุ์ของผู้ประมาท ภิกษุพึงละ บรรเทา คือ ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีก ด้วยมนสิการว่า นี้เป็นฝักฝ่ายแห่งมารผู้มีกรรมดำ คือ เป็นฝัก ฝ่ายแห่งมาร เป็นบ่วงแห่งมาร เป็นเบ็ดแห่งมาร เป็นเหยื่อแห่งมาร เป็นวิสัยแห่งมาร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๕๙๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๖. สารีปุตตสุตตนิทเทส

เป็นที่อยู่ของมาร เป็นโคจรของมาร เป็นเครื่องผูกของมาร รวมความว่า เมื่อนั้น เธอพึงบรรเทาเสียด้วยมนสิการว่า นี้เป็นฝักฝ่ายแห่งมารผู้มีกรรมดำ อย่างนี้บ้าง อีกนัยหนึ่ง พึงละ บรรเทา คือ ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกด้วย มนสิการว่า นี้เป็นฝักฝ่ายแห่งมารผู้มีกรรมดำ เป็นฝักฝ่ายแห่งมาร เป็นฝักฝ่าย แห่งอกุศล เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นเหตุให้เป็นไปในนรก เป็นเหตุ ให้เป็นไปในกำเนิดเดรัจฉาน เป็นเหตุให้เป็นไปในเปตวิสัย รวมความว่า เมื่อนั้น เธอพึงบรรเทาเสียด้วยมนสิการว่า นี้เป็นฝักฝ่ายแห่งมารผู้มีกรรมดำ อย่างนี้บ้าง ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ภิกษุไม่พึงขโมย ไม่พึงพูดเท็จ พึงแผ่เมตตาไปยังสัตว์ทั้งผู้สะดุ้งและผู้มั่นคง เมื่อใด ภิกษุรู้แจ้งความขุ่นมัวแห่งใจ เมื่อนั้น เธอพึงบรรเทาเสียด้วยมนสิการว่า นี้เป็นฝักฝ่ายแห่งมารผู้มีกรรมดำ [๒๐๓] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) ภิกษุไม่พึงลุอำนาจความโกรธและความดูหมิ่น ทั้งพึงขุดรากความโกรธและความดูหมิ่นเหล่านั้น ดำรงอยู่ แต่เมื่อจะกำราบ ก็พึงครอบงำสัตว์หรือสังขาร ที่เป็นที่รักหรือไม่เป็นที่รัก โดยแท้
ว่าด้วยความโกรธและความดูหมิ่น
คำว่า ความโกรธ ในคำว่า ภิกษุไม่พึงลุอำนาจความโกรธและความดูหมิ่น ได้แก่ ใจปองร้าย มุ่งร้าย ... ความดุร้าย ความเกรี้ยวกราด ความไม่แช่มชื่นแห่งจิต คำว่า ความดูหมิ่น อธิบายว่า คนบางคนในโลกนี้ดูหมิ่นผู้อื่น เพราะชาติบ้าง เพราะโคตรบ้าง ... หรือเพราะเรื่องอื่นนอกจากที่กล่าวแล้วบ้าง คำว่า ภิกษุไม่พึงลุอำนาจความโกรธและความดูหมิ่น อธิบายว่า ไม่พึง ลุอำนาจแห่งความโกรธและความดูหมิ่น คือ พึงละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๕๙๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๖. สารีปุตตสุตตนิทเทส

ความไม่มีอีกซึ่งความโกรธและความดูหมิ่น รวมความว่า ภิกษุไม่พึงลุอำนาจความ โกรธและความดูหมิ่น คำว่า ทั้งพึงขุดรากความโกรธและความดูหมิ่นเหล่านั้น ดำรงอยู่ อธิบายว่า รากแห่งความโกรธ เป็นอย่างไร คือ อวิชชา(ความไม่รู้) อโยนิโสมนสิการ(ความไม่ทำไว้ในใจโดยแยบคาย) อัสมิมานะ(ความถือตัว) อหิริกะ(ความไม่ละอาย) อโนตตัปปะ(ความไม่เกรงกลัว) อุทธัจจะ(ความฟุ้งซ่าน) แต่ละอย่างล้วนเป็นราก นี้ชื่อว่ารากแห่งความโกรธ รากแห่งความดูหมิ่น เป็นอย่างไร คือ อวิชชา อโยนิโสมนสิการ อัสมิมานะ อหิริกะ อโนตตัปปะ อุทธัจจะ แต่ละ อย่างล้วนเป็นราก นี้ชื่อว่ารากแห่งความดูหมิ่น คำว่า ทั้งพึงขุดรากความโกรธและความดูหมิ่นเหล่านั้น ดำรงอยู่ อธิบาย ว่า พึงขุด คือ ถอน ดึง ฉุด กระชาก ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความ ไม่มีอีกซึ่งรากแห่งความโกรธและความดูหมิ่น ดำรงอยู่ คือ ดำรงมั่น รวมความว่า ทั้งพึงขุดรากความโกรธและความดูหมิ่นเหล่านั้น ดำรงอยู่ คำว่า แต่ ในคำว่า แต่เมื่อจะกำราบ ก็พึงครอบงำสัตว์หรือสังขารที่เป็น ที่รักหรือไม่เป็นที่รัก โดยแท้ เป็นบทสนธิ เป็นคำเชื่อมบท เป็นคำที่ทำบทให้บริบูรณ์ เป็นความสัมพันธ์แห่งอักษร เป็นความสละสลวยแห่งพยัญชนะ คำว่า แต่ นี้ เป็นคำ เชื่อมบทหน้ากับบทหลังเข้าด้วยกัน คำว่า เป็นที่รัก ได้แก่ สิ่งเป็นที่รัก ๒ จำพวก คือ (๑) สัตว์ (๒) สังขาร สัตว์เหล่าไหนเป็นที่รัก สัตว์ทั้งหลายในโลกนี้ เป็นผู้ปรารถนาแต่สิ่งที่เป็น ประโยชน์ ปรารถนาแต่สิ่งที่เกื้อกูล ปรารถนาแต่ความผาสุก ปรารถนาแต่ความ หลุดพ้นจากโยคะ คือ มารดา บิดา พี่ชายน้องชาย พี่สาวน้องสาว บุตร ธิดา มิตร อำมาตย์ ญาติ หรือผู้ร่วมสายโลหิตของผู้นั้น สัตว์เหล่านี้ ชื่อว่าสิ่งเป็นที่รัก สังขารเหล่าไหนเป็นที่รัก รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่น่าพอใจ สังขาร เหล่านี้ ชื่อว่าสิ่งเป็นที่รัก คำว่า ไม่เป็นที่รัก ได้แก่ สิ่งไม่เป็นที่รัก ๒ จำพวก คือ (๑) สัตว์ (๒) สังขาร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๕๙๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๖. สารีปุตตสุตตนิทเทส

สัตว์เหล่าไหนไม่เป็นที่รัก สัตว์ทั้งหลายในโลกนี้เป็นผู้ปรารถนาแต่สิ่งที่มิใช่ ประโยชน์ ปรารถนาแต่สิ่งที่ไม่เกื้อกูล ปรารถนาแต่ความไม่ผาสุก ไม่ปรารถนา ความหลุดพ้นจากโยคะ ปรารถนาจะปลงชีวิตของผู้นั้น สัตว์เหล่านี้ ชื่อว่าไม่เป็น ที่รัก สังขารเหล่าไหนไม่เป็นที่รัก รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่ไม่น่าพอใจ สังขารเหล่านี้ ชื่อว่าไม่เป็นที่รัก คำว่า โดยแท้ เป็นคำกล่าวโดยนัยเดียว เป็นคำกล่าวโดยไม่สงสัย เป็นคำ กล่าวโดยไม่เคลือบแคลง เป็นคำกล่าวโดยไม่เป็น ๒ นัย เป็นคำกล่าวโดยไม่เป็น ๒ อย่าง เป็นคำกล่าวโดยรัดกุม เป็นคำกล่าวโดยไม่ผิด คำว่า โดยแท้ นี้ เป็นคำ กล่าวที่กำหนดไว้แน่แล้ว คำว่า แต่เมื่อจะกำราบ ก็พึงครอบงำสัตว์หรือสังขารที่เป็นที่รักหรือ ไม่เป็นที่รัก โดยแท้ อธิบายว่า เมื่อจะครอบงำก็พึงกำราบ หรือ เมื่อจะกำราบ ก็พึงครอบงำสัตว์และสังขารทั้งที่เป็นที่รักและไม่เป็นที่รัก ทั้งที่เป็นสุขและเป็นทุกข์ ทั้งที่น่ายินดีและไม่น่ายินดี ทั้งที่เป็นโสมนัสและโทมนัส ทั้งที่เป็นอิฏฐารมณ์และ อนิฏฐารมณ์ รวมความว่า แต่เมื่อจะกำราบ ก็พึงครอบงำสัตว์หรือสังขารที่เป็น ที่รักหรือไม่เป็นที่รัก โดยแท้ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ภิกษุไม่พึงลุอำนาจความโกรธและความดูหมิ่น ทั้งพึงขุดรากความโกรธและความดูหมิ่นเหล่านั้น ดำรงอยู่ แต่เมื่อจะกำราบ ก็พึงครอบงำสัตว์หรือสังขาร ที่เป็นที่รักหรือไม่เป็นที่รักโดยแท้ [๒๐๔] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) ภิกษุผู้มีปีติในเรื่องดีงาม พึงเชิดชูปัญญา พึงข่มอันตรายเหล่านั้น พึงปราบความไม่ยินดีในที่นอนอันสงัด ทั้งปราบธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความคร่ำครวญ ๔ ประการ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๕๙๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๖. สารีปุตตสุตตนิทเทส

ว่าด้วยการมีปีติและการเชิดชูปัญญา
คำว่า ปัญญา ในคำว่า ภิกษุผู้มีปีติในเรื่องดีงาม พึงเชิดชูปัญญา ได้แก่ ความรู้ทั่ว คือ กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกเฟ้น ... ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ คำว่า พึงเชิดชูปัญญา อธิบายว่า ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เที่ยวเชิดชู ปัญญา มีปัญญาเป็นธงชัย มีปัญญาเป็นยอดธง มีปัญญาเป็นใหญ่ มากด้วยการ เลือกเฟ้น มากด้วยการตรวจสอบ มากด้วยปัญญาเพ่งพินิจ มากด้วยปัญญาเพ่ง พิจารณา อยู่ด้วยปัญญาแจ่มแจ้ง เที่ยวไปด้วยปัญญานั้น มากด้วยปัญญานั้น หนัก ในปัญญานั้น เอนไปในปัญญานั้น โอนไปในปัญญานั้น โน้มไปในปัญญานั้น น้อมใจ เชื่อปัญญานั้น มีปัญญานั้นเป็นใหญ่ รวมความว่า พึงเชิดชูปัญญา อย่างนี้บ้าง อีกนัยหนึ่ง ภิกษุเดินอยู่ก็รู้ว่า “กำลังเดิน” ยืนอยู่ก็รู้ว่า “กำลังยืน” นั่งอยู่ก็รู้ว่า “กำลังนั่ง” นอนอยู่ก็รู้ว่า “กำลังนอน” หรือเธอดำรงกายไว้ด้วยอิริยาบถอย่างใดๆ ก็รู้ อิริยาบถอย่างนั้นๆ รวมความว่า พึงเชิดชูปัญญา อย่างนี้บ้าง อีกนัยหนึ่ง ภิกษุทำความรู้สึกตัวในการก้าวไป การถอยกลับ ... ในการแลดู การเหลียวดู ... ในการคู้เข้า การเหยียดออก ... ในการครองสังฆาฏิ บาตรและจีวร ... ในการฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้มรส การถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ ทำความ รู้สึกตัวในการเดิน การยืน การนั่ง การหลับ การตื่น การพูด การนิ่ง รวมความว่า พึงเชิดชูปัญญา อย่างนี้บ้าง คำว่า ผู้มีปีติในเรื่องดีงาม ได้แก่ ปีติ คือ ปราโมทย์ เกิดด้วยอำนาจพุทธานุสติ คำว่า ผู้มีปีติในเรื่องดีงาม อธิบายว่า ปีติ คือ ปราโมทย์ เกิดด้วยอำนาจ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ สีลานุสสติ จาคานุสสติ เทวตานุสสติ อานาปานัสสติ มรณสติ กายคตาสติ อุปสมานุสสติ ชื่อว่ามีปีติในเรื่องดีงาม รวมความว่า ภิกษุผู้มี ปีติในเรื่องดีงามพึงเชิดชูปัญญา คำว่า อันตราย ในคำว่า พึงข่มอันตรายเหล่านั้น ได้แก่ อันตราย ๒ อย่าง คือ (๑) อันตรายที่ปรากฏ (๒) อันตรายที่ไม่ปรากฏ ... เหล่านี้เรียกว่า อันตรายที่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๕๙๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๖. สารีปุตตสุตตนิทเทส

ปรากฏ ... เหล่านี้เรียกว่า อันตรายที่ไม่ปรากฏ ... ชื่อว่าอันตราย เพราะเป็นอกุศล ธรรมที่อาศัยอยู่ในอัตภาพ อย่างนี้บ้าง คำว่า พึงข่มอันตรายเหล่านั้น อธิบายว่า พึงข่ม คือ ครอบงำ ท่วมทับ รัดรึง ย่ำยีอันตรายเหล่านั้นให้ได้ รวมความว่า พึงข่มอันตรายเหล่านั้น คำว่า ความไม่ยินดี ในคำว่า พึงปราบความไม่ยินดีในที่นอนอันสงัด ได้แก่ ความไม่ยินดี คือความไม่ใยดี ความไม่ยินดียิ่ง ความไม่ชอบใจ ความเบื่อหน่าย ความระอา คำว่า ในที่นอนอันสงัด อธิบายว่า พึงปราบ คือ พึงครอบงำ ท่วมทับ รัดรึง ย่ำยีความไม่ยินดีในเสนาสนะอันสงัด หรือในธรรมอันเป็นกุศลยิ่งอย่างใดอย่างหนึ่ง รวมความว่า พึงปราบความไม่ยินดีในที่นอนอันสงัด คำว่า ทั้งปราบธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความคร่ำครวญ ๔ ประการ อธิบาย ว่า พึงปราบ คือข่ม ครอบงำ ท่วมทับ รัดรึง ย่ำยีธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความ คร่ำครวญ ๔ ประการ รวมความว่า ทั้งปราบธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความคร่ำครวญ ๔ ประการ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ภิกษุผู้มีปีติในเรื่องดีงาม พึงเชิดชูปัญญา พึงข่มอันตรายเหล่านั้น พึงปราบความไม่ยินดีในที่นอนอันสงัด ทั้งปราบธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความคร่ำครวญ ๔ ประการ [๒๐๕] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) เราจักฉันอะไรเล่า หรือจักฉันที่ไหน คืนนี้ เรานอนลำบากแล้วหนอ เราจักนอนที่ไหนเล่า ภิกษุผู้เป็นเสขะ พึงกำจัดวิตกอันเป็นที่ตั้ง แห่งความคร่ำครวญเหล่านี้ เป็นผู้ไม่มีกังวลท่องเที่ยวไป {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๕๙๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๖. สารีปุตตสุตตนิทเทส

ว่าด้วยความวิตกเป็นเหตุรำพัน
คำว่า เราจักฉันอะไรเล่า ในคำว่า เราจักฉันอะไรเล่า หรือจักฉันที่ไหน อธิบายว่า เราจักฉันอะไร คือ ข้าว ขนมกุมมาส ข้าวผง ปลา หรือเนื้อ รวมความว่า เราจักฉันอะไรเล่า คำว่า หรือจักฉันที่ไหน อธิบายว่า เราจักฉันที่ไหน คือ ที่ตระกูลกษัตริย์ ตระกูลพราหมณ์ ตระกูลแพศย์ หรือตระกูลศูทร รวมความว่า เราจักฉันอะไรเล่า หรือจักฉันที่ไหน คำว่า คืนนี้ เรานอนลำบากแล้วหนอ เราจักนอนที่ไหนเล่า อธิบายว่า คืนนี้ เรานอนลำบากบนแผ่นกระดาน เสื่อ แผ่นหนัง เครื่องปูลาดทำด้วยหญ้า เครื่องปู ลาดทำด้วยใบไม้ หรือเครื่องปูลาดทำด้วยฟาง คืนต่อมา เราจักนอนให้สบาย ที่ไหน คือ บนเตียง ตั่ง ฟูก หมอน ในวิหาร เรือนหลังคาด้านเดียว ปราสาท เรือนโล้น หรือถ้ำ รวมความว่า คืนนี้ เรานอนลำบากแล้วหนอ เราจักนอนที่ไหนเล่า คำว่า วิตกเหล่านี้ ในคำว่า วิตกอันเป็นที่ตั้งแห่งความคร่ำครวญเหล่านี้ ได้แก่ วิตกเกี่ยวกับบิณฑบาต๑- ๒ อย่าง วิตกเกี่ยวกับเสนาสนะ๒- ๒ อย่าง คำว่า อันเป็นที่ตั้งแห่งความคร่ำครวญ ได้แก่ เป็นที่ตั้งแห่งการปรับทุกข์ เป็น ที่ตั้งแห่งความคร่ำครวญ รวมความว่า วิตกอันเป็นที่ตั้งแห่งความคร่ำครวญเหล่านี้ @เชิงอรรถ : @ บิณฑบาต ๒ อย่าง เกี่ยวกับฉันบิณฑบาตแล้ว กุศลเกิดขึ้นหรืออกุศลเกิดขึ้น ภิกษุควรพิจารณาว่า @จะเลือกอย่างใดใน ๒ อย่าง @(๑) เมื่อภิกษุฉันบิณฑบาตเช่นใด อกุศลธรรมทั้งหลายเจริญ กุศลธรรมทั้งหลายเสื่อม บิณฑบาตเช่นนั้น @ภิกษุไม่ควรฉัน @(๒) เมื่อภิกษุฉันบิณฑบาตเช่นใด อกุศลธรรมทั้งหลายเสื่อม กุศลธรรมทั้งหลายเจริญ บิณฑบาตเช่นนั้น @ภิกษุควรฉัน (ม.อุ. ๑๔/๑๒๒/๑๐๙) @ เสนาสนะ ๒ อย่าง เกี่ยวกับการใช้สอยเสนาสนะแล้ว กุศลเกิดขึ้นหรืออกุศลเกิดขึ้น ภิกษุควรพิจารณา @ว่าจะเลือกอย่างใดใน ๒ อย่าง @(๑) เมื่อภิกษุใช้สอยเสนาสนะเช่นใด อกุศลธรรมทั้งหลายเจริญ กุศลธรรมทั้งหลายเสื่อม เสนาสนะ @เช่นนั้นภิกษุไม่ควรใช้สอย @(๒) เมื่อภิกษุใช้สอยเสนาสนะเช่นใด อกุศลธรรมทั้งหลายเสื่อม กุศลธรรมทั้งหลายเจริญ เสนาสนะ @เช่นนั้นภิกษุควรใช้สอย (ม.อุ. ๑๔/๑๒๒/๑๐๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๕๙๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๖. สารีปุตตสุตตนิทเทส

คำว่า ภิกษุผู้เป็นเสขะ ในคำว่า ภิกษุผู้เป็นเสขะ พึงกำจัด ... เป็นผู้ไม่มี กังวลท่องเที่ยวไป อธิบายว่า เพราะเหตุไร จึงตรัสเรียกว่าเสขะ เพราะกำลังศึกษา จึงชื่อว่าเสขะ กำลังศึกษาอะไร กำลังศึกษาอธิสีลสิกขาบ้าง อธิจิตตสิกขาบ้าง อธิปัญญาสิกขาบ้าง อธิสีลสิกขา เป็นอย่างไร ... นี้ชื่อว่าอธิปัญญาสิกขา สิกขา ๓ เหล่านี้ เมื่อพระเสขะนึกถึง ชื่อว่ากำลังศึกษา เมื่อทราบ ชื่อว่ากำลัง ศึกษา เมื่อเห็น ชื่อว่ากำลังศึกษา เมื่อพิจารณา ชื่อว่ากำลังศึกษา เมื่ออธิษฐานจิต ชื่อว่ากำลังศึกษา เมื่อน้อมใจเชื่อด้วยศรัทธา ชื่อว่ากำลังศึกษา เมื่อประคองความเพียร ชื่อว่ากำลังศึกษา เมื่อตั้งสติ ชื่อว่ากำลังศึกษา เมื่อตั้งใจมั่น ชื่อว่ากำลังศึกษา เมื่อรู้ชัดด้วยปัญญา ชื่อว่ากำลังศึกษา เมื่อรู้ชัดธรรมที่ควรรู้ชัด ชื่อว่ากำลังศึกษา เมื่อกำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ชื่อว่ากำลังศึกษา เมื่อละธรรมที่ควรละ ชื่อว่า กำลังศึกษา เมื่อเจริญธรรมที่ควรเจริญ ชื่อว่ากำลังศึกษา เมื่อทำให้แจ้งธรรมที่ควร ทำให้แจ้ง ชื่อว่ากำลังศึกษา คือ ประพฤติเอื้อเฟื้อ ประพฤติเอื้อเฟื้อโดยชอบ สมาทานศึกษา เพราะเหตุนั้น จึงตรัสเรียกว่า เสขะ พระเสขะพึงศึกษาอธิสีลสิกขาบ้าง อธิจิตตสิกขาบ้าง อธิปัญญาสิกขาบ้าง เพื่อ กำจัด บรรเทา ละ สงบ สลัดทิ้ง ระงับ สิกขา ๓ เหล่านี้ เมื่อพระเสขะนึกถึง ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อทราบ ... เมื่อทำให้ แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ชื่อว่าพึงศึกษา คือ พึงประพฤติเอื้อเฟื้อ ประพฤติเอื้อเฟื้อ โดยชอบ สมาทานประพฤติ รวมความว่า ภิกษุผู้เป็นเสขะ พึงกำจัด คำว่า เป็นผู้ไม่มีกังวลท่องเที่ยวไป อธิบายว่า ภิกษุเป็นผู้มีความกังวลท่องเที่ยวไป เป็นอย่างไร ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยความกังวลเรื่องตระกูล ... ความ กังวลเรื่องหมู่คณะ ... ความกังวลเรื่องอาวาส ... ความกังวลเรื่องจีวร ... ความกังวล เรื่องบิณฑบาต ... ความกังวลเรื่องเสนาสนะ เป็นผู้ประกอบด้วยความกังวลเรื่อง คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีความกังวลท่องเที่ยวไป เป็นอย่างนี้ ภิกษุเป็นผู้ไม่มีกังวลท่องเที่ยวไป เป็นอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่ประกอบด้วยความกังวลเรื่องตระกูล ไม่ประกอบ ด้วยความกังวลเรื่องหมู่คณะ อาวาส จีวร บิณฑบาตและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ไม่มีกังวลท่องเที่ยวไป เป็นอย่างนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๕๙๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๖. สารีปุตตสุตตนิทเทส

(สมจริงดังภาษิตว่า) เหล่าภิกษุไปแคว้นมคธ ไปแคว้นโกศล แต่บางพวกเที่ยวไปไม่พร้อมกับหมู่ จากแคว้นวัชชี เหมือนเหล่ามฤค เป็นผู้ไม่มีกังวล อยู่๑- การประพฤติตนเป็นคนมักน้อย เป็นความดี การประพฤติสุจริต เป็นความดี การปฏิบัติเพื่อละกามคุณ ๕ ทุกเมื่อ เป็นความดี การถามสิ่งที่เป็นประโยชน์ เป็นความดี การปฏิบัติตามโอวาทโดยเคารพ เป็นความดี กิจมีการฟังเป็นต้น เป็นเครื่องหมายความเป็นสมณะ ของผู้หมดความกังวล๒- รวมความว่า ภิกษุผู้เป็นเสขะพึงกำจัด ... เป็นผู้ไม่มีกังวลท่องเที่ยวไป ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า เราจักฉันอะไรเล่า หรือจักฉันที่ไหน คืนนี้ เรานอนลำบากแล้วหนอ เราจักนอนที่ไหนเล่า ภิกษุผู้เป็นเสขะ พึงกำจัดวิตกอันเป็นที่ตั้ง แห่งความคร่ำครวญเหล่านี้ เป็นผู้ไม่มีกังวลท่องเที่ยวไป [๒๐๖] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) ภิกษุนั้นในธรรมวินัยนี้ ได้อาหารและเครื่องนุ่งห่มในกาลแล้ว พึงรู้จักประมาณเพื่อสันโดษ ภิกษุนั้นคุ้มครองในปัจจัยเหล่านั้น เป็นผู้สำรวมเที่ยวไปในหมู่บ้าน แม้ถูกด่าก็ไม่พึงกล่าววาจาหยาบ @เชิงอรรถ : @ สํ.ส. ๑๕/๒๒๔/๒๔๐ @ ขุ.เถร.(แปล) ๒๖/๓๖/๓๑๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๕๙๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๖. สารีปุตตสุตตนิทเทส

ว่าด้วยการได้อาหารและเครื่องนุ่งห่มโดยชอบธรรม
คำว่า อาหาร ในคำว่า ได้อาหารและเครื่องนุ่งห่มในกาลแล้ว ได้แก่ ข้าวสุก ขนมกุมมาส ข้าวผง ปลา เนื้อ คำว่า เครื่องนุ่งห่ม ได้แก่ จีวร ๖ ชนิด คือ ๑. โขมะ ๒. กัปปาสิกะ ๓. โกเสยยะ ๔. กัมพล ๕. สาณะ ๖. ภังคะ คำว่า ได้อาหารและเครื่องนุ่งห่มในกาลแล้ว อธิบายว่า ได้แล้ว คือ ได้รับแล้ว สมหวังแล้ว ประสบแล้ว ได้เฉพาะแล้วซึ่งจีวร บิณฑบาต มิใช่ด้วยการโกหก มิใช่ ด้วยการพูดเลียบเคียง มิใช่ด้วยการทำนิมิต มิใช่ด้วยการกำจัดคุณเขา มิใช่ด้วยการ ต่อลาภด้วยลาภ มิใช่ด้วยการให้ไม้ มิใช่ด้วยการให้ไม้ไผ่ มิใช่ด้วยการให้ใบไม้ มิใช่ ด้วยการให้ดอกไม้ มิใช่ด้วยการให้ผลไม้ มิใช่ด้วยการให้น้ำอาบ มิใช่ด้วยการให้แป้งจุรณ์ มิใช่ด้วยการให้ดินสอพอง มิใช่ด้วยการให้ไม้สีฟัน มิใช่ด้วยการให้น้ำบ้วนปาก มิใช่ ด้วยคำพูดมุ่งให้เขารักตน มิใช่ด้วยคำพูดเหลาะแหละเหมือนแกงถั่ว มิใช่ด้วยกิริยา ประจบ มิใช่ด้วยการขัดตั่งตีสนิทเขา มิใช่ด้วยวิชาดูพื้นที่ มิใช่ด้วยเดรัจฉานวิชา มิใช่ ด้วยวิชาทำนายลักษณะอวัยวะ มิใช่ด้วยวิชาดูฤกษ์ยาม มิใช่ด้วยการเดินทำหน้าที่ทูต มิใช่ด้วยการเดินเป็นคนรับใช้ มิใช่ด้วยการเดินสื่อสาร มิใช่ด้วยเวชกรรม มิใช่ด้วย นวกรรม มิใช่ด้วยการใช้ก้อนข้าวตอบแทนก้อนข้าว มิใช่ด้วยการให้และการเพิ่มให้ แต่ได้แล้ว คือ ได้รับแล้ว สมหวังแล้ว ประสบแล้ว ได้เฉพาะแล้ว โดยชอบธรรม โดยยุติธรรม รวมความว่า ได้อาหารและเครื่องนุ่งห่มในกาลแล้ว
ว่าด้วยความรู้จักประมาณ ๒ อย่าง
คำว่า ภิกษุนั้น ... พึงรู้จักประมาณ ในคำว่า ภิกษุนั้นในธรรมวินัยนี้ ... พึงรู้จักประมาณเพื่อสันโดษ อธิบายว่า พึงรู้จักประมาณโดยเหตุ ๒ อย่าง คือ (๑) โดยการรับ (๒) โดยการบริโภค {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๖๐๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๖. สารีปุตตสุตตนิทเทส

ภิกษุรู้จักประมาณโดยการรับ เป็นอย่างไร คือ แม้เมื่อทายกถวายน้อย ภิกษุก็รับเพื่อความเอ็นดูตระกูล เพื่อการรักษา ตระกูล เพื่อการอนุเคราะห์ตระกูล แม้เมื่อทายกถวายมาก ภิกษุก็รับจีวรพอคุ้มครอง กาย รับบิณฑบาตพอบริหารท้อง ภิกษุชื่อว่ารู้จักประมาณโดยการรับ เป็นอย่างนี้ ภิกษุรู้จักประมาณโดยการบริโภค เป็นอย่างไร คือ ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้ว จึงใช้สอยจีวร เพียงเพื่อป้องกันความหนาว ป้องกันความร้อน ป้องกันสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน เพียงเพื่อปกปิดอวัยวะที่ก่อให้เกิดความละอาย ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้ว จึงฉันบิณฑบาต มิใช่เพื่อเล่น มิใช่เพื่อ มัวเมา มิใช่เพื่อประดับ มิใช่เพื่อตบแต่ง แต่ฉันเพียงเพื่อให้ร่างกายนี้ดำรงอยู่ เพื่อ ให้ร่างกายนี้ดำเนินไปได้ เพื่อระงับความลำบาก เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์ ด้วย มนสิการว่า เราจักบำบัดเวทนาเก่า ไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น การดำเนินชีวิตของเรา ความไม่มีโทษ และอยู่สบาย จักมีได้ด้วยวิธีการอย่างนี้ ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้ว จึงใช้สอยเสนาสนะ เพียงเพื่อป้องกันความ หนาว ป้องกันความร้อน ป้องกันสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน เพียงเพื่อบรรเทาอันตรายจากฤดู และความยินดีในการหลีกเร้น ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้ว จึงใช้สอยคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เพียงเพื่อ บำบัดเวทนาอันเนื่องมาจากอาพาธที่เกิดขึ้นแล้ว เพื่อความไม่ลำบากเป็นอย่างยิ่ง ภิกษุชื่อว่ารู้จักประมาณโดยการบริโภค เป็นอย่างนี้ คำว่า ภิกษุนั้น ... พึงรู้จักประมาณ ได้แก่ พึงรู้ คือ รู้ทั่ว รู้แจ่มแจ้ง รู้เฉพาะ แทงตลอดโดยเหตุ ๒ อย่างเหล่านี้ รวมความว่า ภิกษุนั้น ... พึงรู้จักประมาณ คำว่า ในธรรมวินัยนี้ ... เพื่อสันโดษ อธิบายว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ สันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้ และกล่าวสรรเสริญความสันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้ ทั้งไม่ประกอบการแสวงหาผิดที่ไม่สมควร เพราะเหตุแห่งจีวร ไม่ได้จีวรก็ไม่ กระวนกระวาย และได้จีวรแล้วก็ไม่ติดใจ ไม่หลง ไม่พัวพัน มองเห็นโทษ มีปัญญา เครื่องสลัดออก ใช้สอยอยู่ อนึ่ง เพราะความสันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้นั้น ท่าน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๖๐๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๖. สารีปุตตสุตตนิทเทส

จึงไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะภิกษุใดขยัน ไม่เกียจคร้าน มีความรู้ตัว มีสติกำกับใน ความสันโดษด้วยจีวรนั้น ภิกษุนี้ตรัสเรียกว่า ดำรงอยู่ในอริยวงศ์ ที่รู้กันว่าดีเลิศ เป็นของเก่า อีกนัยหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้สันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้ และกล่าวสรรเสริญ ความสันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้ ทั้งไม่ประกอบการแสวงหาผิดที่ไม่สมควร เพราะเหตุแห่งบิณฑบาต ไม่ได้บิณฑบาตก็ไม่กระวนกระวาย และได้บิณฑบาตแล้วก็ ไม่ติดใจ ไม่หลง ไม่พัวพัน มองเห็นโทษ มีปัญญาเครื่องสลัดออก บริโภคอยู่ อนึ่ง เพราะความสันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้นั้น ท่านจึงไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะภิกษุใดขยัน ไม่เกียจคร้าน มีความรู้ตัว มีสติกำกับในความสันโดษด้วย บิณฑบาตนั้น ภิกษุนี้ตรัสเรียกว่า ดำรงอยู่ในอริยวงศ์ที่รู้กันว่า ดีเลิศ เป็นของเก่า อีกนัยหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้สันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้ และกล่าวสรรเสริญ ความสันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้ ทั้งไม่ประกอบการแสวงหาผิดที่ไม่สมควร เพราะเหตุแห่งเสนาสนะ ไม่ได้เสนาสนะก็ไม่กระวนกระวาย และได้เสนาสนะแล้วก็ ไม่ติดใจ ไม่หลง ไม่พัวพัน มองเห็นโทษ มีปัญญาเครื่องสลัดออก ใช้สอย อนึ่ง เพราะความสันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้นั้น ท่านจึงไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะภิกษุใดขยัน ไม่เกียจคร้าน มีความรู้ตัว มีสติกำกับในความสันโดษ ด้วย เสนาสนะนั้น ภิกษุนี้ตรัสเรียกว่า ดำรงอยู่ในอริยวงศ์ที่รู้กันว่าดีเลิศ เป็นของเก่า อีกนัยหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้สันโดษด้วยคิลานปัจจัยเภสัชบริขารตามมีตามได้ และ กล่าวสรรเสริญความสันโดษด้วยคิลานปัจจัยเภสัชบริขารตามมีตามได้ ทั้งไม่ ประกอบการแสวงหาผิดที่ไม่สมควร เพราะเหตุแห่งคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ไม่ได้ คิลานปัจจัยเภสัชบริขารก็ไม่กระวนกระวาย และได้คิลานปัจจัยเภสัชบริขารแล้วก็ไม่ ติดใจ ไม่หลง ไม่พัวพัน มองเห็นโทษ มีปัญญาเครื่องสลัดออก บริโภคอยู่ อนึ่ง เพราะความสันโดษด้วยคิลานปัจจัยเภสัชบริขารตามมีตามได้นั้น ท่านจึงไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะภิกษุใดขยัน ไม่เกียจคร้าน มีความรู้ตัว มีสติกำกับในความสันโดษ ด้วยคิลานปัจจัยเภสัชบริขารตามมีตามได้นั้น ภิกษุนี้ตรัสเรียกว่า ดำรงอยู่ในอริยวงศ์ ที่รู้กันว่าดีเลิศ เป็นของเก่า รวมความว่า ภิกษุนั้นในธรรมวินัยนี้ ... พึงรู้จักประมาณ เพื่อสันโดษ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๖๐๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๖. สารีปุตตสุตตนิทเทส

คำว่า ภิกษุนั้นคุ้มครองในปัจจัยเหล่านั้น ในคำว่า ภิกษุนั้นคุ้มครองใน ปัจจัยเหล่านั้น เป็นผู้สำรวมเที่ยวไปในหมู่บ้าน อธิบายว่า ภิกษุนั้น คุ้มครอง คือ ปกปัก รักษา สังวรในจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร รวมความว่า ภิกษุนั้นคุ้มครองในปัจจัยเหล่านั้น อย่างนี้บ้าง อีกนัยหนึ่ง ภิกษุนั้นคุ้มครอง คือ ปกปัก รักษา สังวรในอายตนะทั้งหลาย รวมความว่า ภิกษุนั้นคุ้มครองในปัจจัยเหล่านั้น อย่างนี้บ้าง คำว่า เป็นผู้สำรวมเที่ยวไปในหมู่บ้าน อธิบายว่า เป็นผู้สำรวม คือ ระวัง ระมัดระวัง คุ้มครอง ปกปัก รักษา สังวร เที่ยวไปในหมู่บ้าน รวมความว่า ภิกษุนั้น คุ้มครองในปัจจัยเหล่านั้น เป็นผู้สำรวมเที่ยวไปในหมู่บ้าน คำว่า แม้ถูกด่าก็ไม่พึงกล่าววาจาหยาบ อธิบายว่า ถูกประทุษร้าย ถูกด่า คือ ถูกเสียดสี ถูกเหยียดหยาม ถูกติเตียน ถูกว่าร้าย ก็ไม่พึงว่ากล่าวตอบผู้ที่ ว่ากล่าว ไม่พึงด่าตอบผู้ที่ด่า ไม่พึงโกรธตอบผู้ที่โกรธ ไม่พึงบาดหมางตอบผู้ที่ บาดหมาง ด้วยถ้อยคำหยาบ ถ้อยคำกระด้าง ได้แก่ ไม่พึงก่อการทะเลาะ ไม่พึงก่อ การบาดหมาง ไม่พึงก่อการแก่งแย่ง ไม่พึงก่อการวิวาท ไม่พึงก่อการมุ่งร้าย คือ พึงละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งการทะเลาะ การบาดหมาง การแก่งแย่ง การวิวาท การมุ่งร้าย ได้แก่ พึงเป็นผู้งด งดเว้น เว้นขาด ออก สลัดออก ไม่เกี่ยวข้อง หลุดพ้นจากการทะเลาะ การบาดหมาง การแก่งแย่ง การวิวาท การมุ่งร้าย มีใจเป็นอิสระ(จากกิเลส)อยู่ รวมความว่า แม้ถูกด่าก็ไม่พึง กล่าววาจาหยาบ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ภิกษุนั้นในธรรมวินัยนี้ ได้อาหารและเครื่องนุ่งห่มในกาลแล้ว พึงรู้จักประมาณเพื่อสันโดษ ภิกษุนั้นคุ้มครองในปัจจัยเหล่านั้น เป็นผู้สำรวมเที่ยวไปในหมู่บ้าน แม้ถูกด่าก็ไม่พึงกล่าววาจาหยาบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๖๐๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๖. สารีปุตตสุตตนิทเทส

[๒๐๗] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) ภิกษุพึงเป็นผู้ไม่สอดส่ายจักษุ และไม่พึงเป็นผู้มีเท้าอยู่ไม่สุข พึงเป็นผู้ขวนขวายในฌาน ตื่นอยู่โดยมาก ปรารภอุเบกขา มีจิตตั้งมั่น พึงเข้าไปตัดความตรึกธรรม ที่อาศัยความตรึกและความคะนอง คำว่า ภิกษุพึงเป็นผู้ไม่สอดส่ายจักษุ และไม่พึงเป็นผู้มีเท้าอยู่ไม่สุข อธิบายว่า ภิกษุเป็นผู้สอดส่ายจักษุ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีตาลอกแลก คือ เป็นผู้ประกอบด้วย ความเป็นคนมีตาลอกแลกด้วยคิดว่า “รูปที่ยังไม่เคยดู เราควรดู รูปที่เราเคยดูแล้ว ควรผ่านไปเลย” จึงเป็นผู้ขวนขวายการเที่ยวนาน และการเที่ยวไปไม่แน่นอน จาก อารามหนึ่งไปสู่อีกอารามหนึ่ง จากอุทยานหนึ่งไปสู่อีกอุทยานหนึ่ง จากบ้านหนึ่งไป สู่อีกบ้านหนึ่ง จากนิคมหนึ่งไปสู่อีกนิคมหนึ่ง จากนครหนึ่งไปสู่อีกนครหนึ่ง จากรัฐ หนึ่งไปสู่อีกรัฐหนึ่ง จากชนบท(ประเทศ)หนึ่งไปสู่อีกชนบทหนึ่ง เพื่อดูรูป ภิกษุชื่อ ว่าเป็นผู้สอดส่ายจักษุ เป็นอย่างนี้บ้าง อีกนัยหนึ่ง ภิกษุเข้าสู่ละแวกบ้าน เดินไปตามถนนไม่สำรวม เดินมองช้าง มองม้า มองรถ มองพลเดินเท้า มองสตรี มองบุรุษ มองเด็กชาย มองเด็กหญิง มองร้านตลาด มองหน้ามุขเรือน มองข้างบน มองข้างล่าง มองทิศน้อยทิศใหญ่ ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้สอดส่ายจักษุ เป็นอย่างนี้บ้าง อีกนัยหนึ่ง ภิกษุเห็นรูปทางตาแล้ว เป็นผู้รวบถือ เป็นผู้แยกถือ(อวัยวะส่วน ต่างๆ) ย่อมไม่ปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วจะเป็นเหตุให้บาป อกุศลธรรมคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ ย่อมไม่รักษาจักขุนทรีย์ ย่อมไม่ถึง ความสำรวมในจักขุนทรีย์ ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้สอดส่ายจักษุ เป็นอย่างนี้บ้าง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๖๐๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๖. สารีปุตตสุตตนิทเทส

อีกนัยหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ขวนขวายดูการละเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศลเห็นปานนี้ เหมือนสมณพราหมณ์ผู้เจริญบางพวกบริโภคอาหารที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยัง ขวนขวายดูการละเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศลเห็นปานนี้ คือ การฟ้อน การขับร้อง การ ประโคมดนตรี การดูมหรสพ การเล่านิทาน การเล่นปรบมือ การเล่นปลุกผี การ เล่นตีกลอง การสร้างฉากบ้านเมืองให้สวยงาม การละเล่นของคนจัณฑาล การเล่น กระดานหก การละเล่นหน้าศพ การแข่งชนช้าง การแข่งม้า การแข่งชนกระบือ การ แข่งชนโค การแข่งชนแพะ การแข่งชนแกะ การแข่งชนไก่ การแข่งชนนกกระทา การ รำกระบี่กระบอง การชกมวยมวยปล้ำ การรบ การตรวจพลสวนสนาม การจัด กระบวนทัพ ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้สอดส่ายจักษุ เป็นอย่างนี้บ้าง ภิกษุไม่เป็นผู้สอดส่ายจักษุ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ไม่เป็นผู้มีตาลอกแลก คือ ไม่เป็นผู้ประกอบ ด้วยความเป็นคนมีตาลอกแลกด้วยคิดว่า “รูปที่ยังไม่เคยดู เราควรดู รูปที่เราเคยดู แล้ว ควรผ่านไปเลย” จึงไม่เป็นผู้ขวนขวายการเที่ยวนาน และการเที่ยวไปไม่แน่นอน จากอารามหนึ่งไปสู่อีกอารามหนึ่ง จากอุทยานหนึ่งไปสู่อีกอุทยานหนึ่ง จากบ้าน หนึ่งไปสู่อีกบ้านหนึ่ง จากนิคมหนึ่งไปสู่อีกนิคมหนึ่ง จากนครหนึ่งไปสู่อีกนครหนึ่ง จากรัฐหนึ่งไปสู่อีกรัฐหนึ่ง จากชนบท(ประเทศ)หนึ่งไปสู่อีกชนบทหนึ่ง เพื่อดูรูป ภิกษุชื่อว่าไม่เป็นผู้สอดส่ายจักษุ เป็นอย่างนี้บ้าง อีกนัยหนึ่ง ภิกษุเข้าสู่ละแวกบ้าน เดินไปตามถนนก็สำรวม ไม่เดินมองช้าง ... ไม่มองทิศน้อยทิศใหญ่ ภิกษุชื่อว่าไม่เป็นผู้สอดส่ายจักษุ เป็นอย่างนี้บ้าง อีกนัยหนึ่ง ภิกษุเห็นรูปทางตาแล้ว ไม่รวบถือ ... ย่อมถึงความสำรวมใน จักขุนทรีย์ ภิกษุชื่อว่าไม่เป็นผู้สอดส่ายจักษุ เป็นอย่างนี้บ้าง อีกนัยหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้งดเว้นจากการขวนขวายในการดูการละเล่นอันเป็น ข้าศึกแก่กุศลเห็นปานนี้ เหมือนสมณพราหมณ์ผู้เจริญบางพวกบริโภคอาหารที่เขา ให้ด้วยศรัทธาแล้ว ก็ไม่ขวนขวายดูการละเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศลเห็นปานนี้ คือ ... การจัดกระบวนทัพ ภิกษุชื่อว่าไม่เป็นผู้สอดส่ายจักษุ เป็นอย่างนี้บ้าง รวมความว่า ภิกษุพึงเป็นผู้ไม่สอดส่ายจักษุ คำว่า และไม่พึงเป็นผู้มีเท้าอยู่ไม่สุข อธิบายว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๖๐๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๖. สารีปุตตสุตตนิทเทส

ภิกษุเป็นผู้มีเท้าอยู่ไม่สุข เป็นอย่างไร คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีเท้าอยู่ไม่สุข คือ ประกอบด้วยความ เป็นผู้มีเท้าอยู่ไม่สุข จึงเป็นผู้ขวนขวายในการเที่ยวไปนาน การเที่ยวไปไม่มีจุดหมาย แน่นอน จากอารามหนึ่งไปสู่อีกอารามหนึ่ง ... เพื่อดูรูป ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีเท้าอยู่ ไม่สุข เป็นอย่าง นี้บ้าง อีกนัยหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีเท้าอยู่ไม่สุข คือ ประกอบด้วยความเป็นผู้มีเท้าอยู่ไม่ สุขภายในสังฆาราม มิใช่เพราะเหตุแห่งประโยชน์ มิใช่เพราะเหตุแห่งการกระทำ แต่ เป็นผู้ฟุ้งซ่าน มีจิตใจไม่สงบ เดินจากบริเวณหนึ่งไปสู่อีกบริเวณหนึ่ง จากวิหารหนึ่ง ไปสู่อีกวิหารหนึ่ง ... พูดเรื่องความเจริญและความเสื่อม ดังนี้ ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีเท้า อยู่ไม่สุข เป็นอย่างนี้บ้าง คำว่า และไม่พึงเป็นผู้มีเท้าอยู่ไม่สุข อธิบายว่า พึงละ บรรเทา ทำให้หมด สิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งความเป็นผู้มีเท้าอยู่ไม่สุข คือ พึงเป็นผู้งด งดเว้น เว้นขาด ออก สลัดออก หลุดพ้น ไม่เกี่ยวข้องกับความเป็นผู้มีเท้าอยู่ไม่สุข มีใจเป็น อิสระ(จากกิเลส)อยู่ ได้แก่ พึงเป็นผู้พอใจในความหลีกเร้น ยินดีในความหลีกเร้น หมั่นประกอบความสงบแห่งจิตภายใน ไม่เหินห่างจากฌาน ประกอบด้วยวิปัสสนา เพิ่มพูนการอยู่ในเรือนว่าง มีฌาน เป็นผู้ยินดีในฌาน ขวนขวายในความเป็นผู้มีจิต มีอารมณ์หนึ่งเดียว หนักในประโยชน์ของตน รวมความว่า ภิกษุพึงเป็นผู้ไม่สอดส่าย จักษุ และไม่พึงเป็นผู้มีเท้าอยู่ไม่สุข คำว่า พึงเป็นผู้ขวนขวายในฌาน ในคำว่า พึงเป็นผู้ขวนขวายในฌาน ตื่นอยู่โดยมาก อธิบายว่า พึงเป็นผู้ขวนขวายในฌาน ด้วยเหตุ ๒ อย่าง คือ ๑. ภิกษุเป็นผู้ประกอบ คือ ขวนขวาย มุ่งมั่น มุ่งมั่นเสมอเพื่อทำปฐมฌาน ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น เป็นผู้ประกอบ ขวนขวาย มุ่งมั่น มุ่งมั่นเสมอ เพื่อทำทุติยฌานที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ... เพื่อทำตติยฌานที่ยังไม่เกิดให้ เกิดขึ้น... เพื่อทำจตุตถฌานที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น รวมความว่า พึงเป็น ผู้ขวนขวายในฌาน เป็นอย่างนี้บ้าง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๖๐๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๖. สารีปุตตสุตตนิทเทส

๒. ภิกษุซ่องเสพ เจริญ ทำให้มาก ซึ่งปฐมฌานที่เกิดขึ้นแล้ว ซ่องเสพ เจริญ ทำให้มาก ซึ่งทุติยฌานที่เกิดขึ้นแล้ว ... ตติยฌานที่เกิดขึ้นแล้ว ... จตุตถฌานที่เกิดขึ้นแล้ว รวมความว่า พึงเป็นผู้ขวนขวายในฌาน เป็น อย่างนี้บ้าง คำว่า ตื่นอยู่โดยมาก อธิบายว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จาก ธรรมเครื่องกางกั้นด้วยการเดินจงกรม และการนั่งตลอดวัน คือ ชำระจิตให้บริสุทธิ์ จากธรรมเครื่องกางกั้นด้วยการเดินจงกรม และการนั่งตลอดปฐมยามแห่งราตรี สำเร็จการนอนอย่างราชสีห์ โดยตะแคงด้านขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะ กำหนดเวลาตื่นไว้ในใจ ตลอดมัชฌิมยามแห่งราตรี ลุกขึ้น แล้วชำระจิตให้บริสุทธิ์ จากธรรมเครื่องกางกั้นด้วยการเดินจงกรม และการนั่งตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรี รวมความว่า พึงเป็นผู้ขวนขวายในฌาน ตื่นอยู่โดยมาก คำว่า ปรารภอุเบกขา มีจิตตั้งมั่น อธิบายว่า คำว่า อุเบกขา ได้แก่ อุเบกขา คือ ความเพิกเฉย ความเพิกเฉยอย่างยิ่ง ความที่จิตสงบ ความที่จิตสงัด ความที่จิตเป็นกลางในจตุตถฌาน คำว่า มีจิตตั้งมั่น ได้แก่ ความตั้งมั่น ความดำรงมั่น ความไม่คลอนแคลน ความไม่กวัดแกว่ง ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ความที่จิตไม่ซัดส่าย สมถะ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ คำว่า ปรารภอุเบกขา มีจิตตั้งมั่น อธิบายว่า ปรารภอุเบกขาในจตุตถฌาน มีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งเดียว มีจิตไม่ฟุ้งซ่าน มีใจไม่ซัดส่าย รวมความว่า ปรารภ อุเบกขา มีจิตตั้งมั่น
ว่าด้วยความตรึก ๙ อย่าง
คำว่า ความตรึก ในคำว่า พึงเข้าไปตัดความตรึกธรรมที่อาศัยความตรึก และความคะนอง ได้แก่ ความตรึก ๙ อย่าง คือ ๑. ความตรึกในกาม ๒. ความตรึกในความพยาบาท ๓. ความตรึกในความเบียดเบียน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๖๐๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๖. สารีปุตตสุตตนิทเทส

๔. ความตรึกถึงญาติ ๕. ความตรึกถึงชนบท ๖. ความตรึกถึงเทพเจ้า ๗. ความตรึกเกี่ยวเนื่องด้วยความเป็นผู้เอ็นดูผู้อื่น ๘. ความตรึกเกี่ยวเนื่องด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญ ๙. ความตรึกเกี่ยวเนื่องด้วยความไม่ถูกดูหมิ่น เหล่านี้เรียกว่า ความตรึก ๙ อย่าง กามสัญญาเป็นที่อาศัยแห่งกามวิตก พยาบาทสัญญาเป็นที่อาศัยแห่งพยาบาท- วิตก วิหิงสาสัญญาเป็นที่อาศัยแห่งวิหิงสาวิตก อีกนัยหนึ่ง อวิชชา อโยนิโสมนสิการ อัสมิมานะ อโนตตัปปะ และอุทธัจจะ เป็นที่อาศัยแห่งวิตก คือ ความตรึก ความดำริทั้งหลาย คำว่า ความคะนอง อธิบายว่า ความคะนองมือ ชื่อว่าความคะนอง ความ คะนองเท้า ชื่อว่าความคะนอง ความคะนองมือและเท้า ก็ชื่อว่าความคะนอง ความ สำคัญในสิ่งที่ไม่ควรว่าควร ความสำคัญในสิ่งที่ควรว่าไม่ควร ความสำคัญในสิ่งที่ไม่ มีโทษว่ามีโทษ ความสำคัญในสิ่งที่มีโทษว่าไม่มีโทษ ความคะนอง กิริยาที่คะนอง ภาวะที่คะนอง ความเดือดร้อนจิต ใจฟุ้งซ่านเห็นปานนี้ นี้ตรัสเรียกว่า ความคะนอง อีกนัยหนึ่ง ความคะนอง ความเดือดร้อนจิต ใจฟุ้งซ่าน เกิดขึ้นเพราะเหตุ ๒ อย่าง คือ (๑) เพราะทำ (๒) เพราะไม่ทำ ความคะนอง ความเดือดร้อนจิต ใจฟุ้งซ่าน เกิดขึ้นเพราะทำและเพราะไม่ทำ เป็นอย่างไร คือ ความคะนอง ความเดือดร้อนจิต ใจฟุ้งซ่าน เกิดขึ้นว่า “เราทำแต่ กายทุจริต ไม่ทำกายสุจริต ... เราทำแต่วจีทุจริต ไม่ทำวจีสุจริต ... เราทำแต่มโนทุจริต ไม่ทำมโนสุจริต ... เราทำแต่ปาณาติบาต ไม่ทำความงดเว้นจากปาณาติบาต ... เรา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๖๐๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๖. สารีปุตตสุตตนิทเทส

ทำแต่อทินนาทาน ไม่ทำความงดเว้นจากอทินนาทาน ... เราทำแต่กาเมสุมิจฉาจาร ไม่ทำความงดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร ... เราทำแต่มุสาวาท ไม่ทำความงดเว้นจาก มุสาวาท ... เราทำแต่ปิสุณาวาจา ไม่ทำความงดเว้นจากปิสุณาวาจา ... เราทำแต่ ผรุสวาจา ไม่ทำความงดเว้นจากผรุสวาจา ... เราทำแต่สัมผัปปลาปะ ไม่ทำความ งดเว้นจากสัมผัปปลาปะ ... เราทำแต่อภิชฌา ไม่ทำอนภิชฌา ... เราทำแต่พยายาท ไม่ทำอัพยาบาท ... เราทำแต่มิจฉาทิฏฐิ ไม่ทำสัมมาทิฏฐิ” ความคะนอง ความ เดือดร้อนจิต ใจฟุ้งซ่าน เกิดขึ้น เพราะทำและเพราะไม่ทำ เป็นอย่างนี้๑- อีกนัยหนึ่ง ความคะนอง ความเดือดร้อนจิต ใจฟุ้งซ่าน เกิดขึ้นว่า “เรามิได้ รักษาศีลให้บริบูรณ์ ... เราไม่สำรวมในอินทรีย์ทั้ง ๖ ... ไม่รู้จักประมาณในการ บริโภคอาหาร ... ไม่ประกอบความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่เสมอ ... ไม่หมั่นประกอบ ด้วยสติสัมปชัญญะ ... ไม่เจริญสติปัฏฐาน ๔ ... ไม่เจริญสัมมัปปธาน ๔ ... ไม่ เจริญอิทธิบาท ๔ ... ไม่เจริญอินทรีย์ ๕ ... ไม่เจริญพละ ๕ ... ไม่เจริญโพชฌงค์ ๗ ... ไม่เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ... ไม่กำหนดรู้ทุกข์ ... ไม่ละทุกขสมุทัย ... ไม่เจริญมรรค ... เราไม่ทำนิโรธ ให้ประจักษ์แจ้ง” คำว่า พึงเข้าไปตัดความตรึกธรรมที่อาศัยความตรึกและความคะนอง อธิบายว่า พึงเข้าไปตัด คือ ตัด ถอน เพิกถอน ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึง ความไม่มีอีกซึ่งความตรึกธรรมที่อาศัยความตรึกและความคะนอง รวมความว่า พึง เข้าไปตัดความตรึกธรรมที่อาศัยความตรึกและความคะนอง ด้วยเหตุนั้น พระผู้มี- พระภาคจึงตรัสว่า ภิกษุพึงเป็นผู้ไม่สอดส่ายจักษุ และไม่พึงเป็นผู้มีเท้าอยู่ไม่สุข พึงเป็นผู้ขวนขวายในฌาน ตื่นอยู่โดยมาก ปรารภอุเบกขา มีจิตตั้งมั่น พึงเข้าไปตัดความตรึกธรรม ที่อาศัยความตรึกและความคะนอง @เชิงอรรถ : @ ดูคำแปลจากข้อ ๘๕/๒๕๕ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๖๐๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๖. สารีปุตตสุตตนิทเทส

[๒๐๘] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) ภิกษุผู้ถูกตักเตือนด้วยวาจา พึงมีสติชื่นชม ทำลายความกระด้างในเพื่อนพรหมจารี พึงเปล่งวาจาเป็นกุศล ไม่พึงเปล่งวาจาเกินขอบเขต ไม่พึงคิดหาเรื่องที่จะว่ากล่าวคน คำว่า ผู้ถูกตักเตือน ในคำว่า ภิกษุผู้ถูกตักเตือนด้วยวาจา พึงมีสติชื่นชม อธิบายว่า อุปัชฌาย์ อาจารย์ ผู้ร่วมอุปัชฌาย์ ผู้ร่วมอาจารย์ มิตร เพื่อนเห็น เพื่อนคบ หรือสหายตักเตือนว่า “ผู้มีอายุ การกระทำของท่านนี้ไม่ควร การกระทำนี้ ยังไม่ถึงแก่ท่าน การกระทำของท่านนี้ ไม่สมควร การกระทำของท่านนี้ ไม่ เหมาะสม” ก็พึงมีสติ พอใจ ชอบใจ เบิกบานใจ อนุโมทนา ต้องการ ยินดี ปรารถนา มุ่งหมาย มุ่งหวังคำตักเตือนนั้น เปรียบเหมือน สตรีหรือบุรุษที่ยังหนุ่ม ยังสาว ชอบแต่งตัว อาบน้ำดำหัวแล้ว ได้มาลัยดอกบัว มาลัยดอกมะลิ หรือมาลัยดอก ลำดวน ก็ใช้ ๒ มือรับไว้ เอาขึ้นวางไว้บนศีรษะซึ่งเป็นอวัยวะสูงสุด พึงพอใจ ชอบใจ เบิกบานใจ อนุโมทนา ต้องการ ยินดี ปรารถนา มุ่งหมาย มุ่งหวัง ฉันใด ภิกษุผู้ถูกตักเตือนนั้นก็พึงมีสติ พอใจ ชอบใจ เบิกบานใจ อนุโมทนา ต้องการ ยินดี ปรารถนา มุ่งหมาย มุ่งหวังคำตักเตือนนั้น ฉันนั้นเหมือนกัน (สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า) บุคคลพึงเห็นผู้มีปัญญามักชี้โทษ มักพูดปรามไว้ เหมือนผู้ชี้บอกขุมทรัพย์ (และ)พึงคบผู้ที่เป็นบัณฑิตเช่นนั้น เพราะเมื่อคบคนเช่นนั้น ย่อมมีแต่ความเจริญไม่มีความเสื่อมเลย ผู้ใดพึงกล่าวสอน พร่ำสอน และห้ามจากความชั่ว ผู้นั้นย่อมเป็นที่รักของสัตบุรุษทั้งหลาย แต่ไม่เป็นที่รักของอสัตบุรุษทั้งหลาย๑- @เชิงอรรถ : @ ขุ.เถร.(แปล) ๒๖/๙๙๓-๙๙๔/๕๐๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๖๑๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๖. สารีปุตตสุตตนิทเทส

คำว่า ภิกษุผู้ถูกตักเตือนด้วยวาจา พึงมีสติชื่นชม ทำลายความกระด้างใน เพื่อนพรหมจารี อธิบายว่า คำว่า เพื่อนพรหมจารี ได้แก่ คนที่มีกรรม(ทางวินัย) อย่างเดียวกัน มีอุทเทส อย่างเดียวกัน มีสิกขาเสมอกัน คำว่า ทำลายความกระด้างในเพื่อนพรหมจารี อธิบายว่า พึงทำลายความ เป็นผู้มีจิตถูกโทสะกระทบ ความเป็นผู้มีจิตกระด้างในเพื่อนพรหมจารี คือ พึงทำลาย ความกระด้างแห่งจิต ๕ ประการบ้าง ทำลายความกระด้างแห่งจิต ๓ ประการบ้าง ได้แก่ พึงทุบ ทำลาย กำจัดความกระด้างด้วยอำนาจราคะ ความกระด้างด้วยอำนาจ โทสะ ความกระด้างด้วยอำนาจโมหะ รวมความว่า ทำลายความกระด้างในเพื่อน พรหมจารี คำว่า พึงเปล่งวาจาเป็นกุศล ไม่พึงเปล่งวาจาเกินขอบเขต อธิบายว่า พึง เปล่งวาจาที่เกิดจากญาณอันประกอบด้วยเหตุ ประกอบด้วยผล คือ พึงเปล่ง เปล่ง ออก เปล่งออกด้วยดีซึ่งวาจา มีที่อ้างอิง มีจุดจบสิ้น ตามกาลอันควร รวมความว่า พึงเปล่งวาจาเป็นกุศล คำว่า ไม่พึงเปล่งวาจาเกินขอบเขต อธิบายว่า ขอบเขต ได้แก่ ขอบเขต ๒ อย่าง คือ (๑) ขอบเขตแห่งกาล (๒) ขอบเขตแห่งศีล ขอบเขตแห่งกาล เป็นอย่างไร คือ ภิกษุไม่พึงกล่าววาจาเกินกาล ไม่พึงกล่าววาจาเกินขอบเขต ไม่พึงกล่าว วาจาเกินขอบเขตแห่งกาล ไม่พึงกล่าววาจาที่ยังไม่ถึงกาล ไม่พึงกล่าววาจาที่ยังไม่ ถึงขอบเขต ไม่พึงกล่าววาจาที่ยังไม่ถึงขอบเขตแห่งกาล (สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาค ตรัสไว้ว่า) ผู้ใด เมื่อยังไม่ถึงกาลอันควร พูดเกินเวลา ผู้นั้นย่อมจะถูกฆ่า นอนตายอยู่ เหมือนลูกนกดุเหว่าที่ถูกกาเลี้ยงไว้ ฉะนั้น นี้ชื่อว่าขอบเขตแห่งกาล {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๖๑๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๖. สารีปุตตสุตตนิทเทส

ขอบเขตแห่งศีล เป็นอย่างไร คือ บุคคลผู้กำหนัด ไม่ควรกล่าววาจา ผู้ขัดเคือง ไม่ควรกล่าววาจา ผู้หลง ไม่ ควรกล่าววาจา ไม่ควรกล่าว คือ ไม่ควรพูด ไม่ควรบอก ไม่ควรแสดง ไม่ควรชี้แจง การพูดเท็จ การพูดส่อเสียด การพูดคำหยาบ การพูดเพ้อเจ้อ นี้ชื่อว่าขอบเขตแห่งศีล รวมความว่า พึงเปล่งวาจาเป็นกุศล ไม่พึงเปล่งวาจาเกินขอบเขต คำว่า คน ในคำว่า ไม่พึงคิดหาเรื่องที่จะว่ากล่าวคน ได้แก่ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต เทวดา และมนุษย์ ภิกษุไม่พึงคิด คือ ไม่พึงให้เกิดเจตนา ไม่พึงให้เกิดความคิด ไม่พึงให้เกิดความดำริ ไม่พึงให้เกิดมนสิการ เพื่อว่ากล่าว คือ เพื่อว่าร้าย เพื่อนินทา เพื่อติเตียน เพื่อความไม่สรรเสริญ เพื่อความไม่ยกย่องคน ด้วยสีลวิบัติ อาจารวิบัติ ทิฏฐิวิบัติ หรืออาชีววิบัติ รวมความว่า ไม่พึงคิดหาเรื่องที่จะว่ากล่าวคน ด้วยเหตุนั้น พระผู้มี พระภาคจึงตรัสว่า ภิกษุผู้ถูกตักเตือนด้วยวาจา พึงมีสติชื่นชม ทำลายความกระด้างในเพื่อนพรหมจารี พึงเปล่งวาจาเป็นกุศล ไม่พึงเปล่งวาจาเกินขอบเขต ไม่พึงคิดหาเรื่องที่จะว่ากล่าวคน [๒๐๙] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) ลำดับต่อไป ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติ ศึกษาเพื่อกำจัดราคะเหล่าใด ราคะเหล่านั้น คือธุลี ๕ อย่างในโลก พึงปราบปรามราคะในรูป เสียง กลิ่น รสและผัสสะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๖๑๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๖. สารีปุตตสุตตนิทเทส

ว่าด้วยธุลี ๕ อย่าง
คำว่า ลำดับ ในคำว่า ลำดับต่อไป ... คือธุลี ๕ อย่างในโลก เป็นบทสนธิ เป็นคำเชื่อมบท เป็นคำที่ทำบทให้บริบูรณ์ เป็นความสัมพันธ์แห่งอักษร เป็นความ สละสลวยแห่งพยัญชนะ คำว่า ลำดับ นี้ เป็นคำเชื่อมบทหน้ากับบทหลังเข้าด้วยกัน คำว่า คือธุลี ๕ อย่าง ได้แก่ ๑. ธุลีที่เกิดจากรูป ๒. ธุลีที่เกิดจากเสียง ๓. ธุลีที่เกิดจากกลิ่น ๔. ธุลีที่เกิดจากรส ๕. ธุลีที่เกิดจากโผฏฐัพพะ อีกนัยหนึ่ง (ได้แก่ธุลีที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า) ราคะ เราเรียกว่า ธุลี เราหาเรียกละอองว่า เป็นธุลีไม่ คำว่า ธุลีนี้ เป็นชื่อของราคะ บัณฑิตเหล่านั้นละธุลีนี้แล้ว ย่อมอยู่ในศาสนาของพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลีได้ โทสะ เราเรียกว่า ธุลี เราหาเรียกละอองว่า เป็นธุลีไม่ คำว่า ธุลีนี้ เป็นชื่อของโทสะ บัณฑิตเหล่านั้นละธุลีนี้แล้ว ย่อมอยู่ในศาสนาของพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลีได้ โมหะ เราเรียกว่า ธุลี เราหาเรียกละอองว่า เป็นธุลีไม่ คำว่า ธุลีนี้ เป็นชื่อของโมหะ บัณฑิตเหล่านั้นละธุลีนี้แล้ว ย่อมอยู่ในศาสนาของพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลีได้๑- @เชิงอรรถ : @ ขุ.จู. ๓๐/๗๔/๑๖๒-๑๖๓ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๖๑๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๖. สารีปุตตสุตตนิทเทส

คำว่า ในโลก ได้แก่ ในอบายโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก รวมความว่า ลำดับต่อไป ... คือธุลี ๕ อย่างในโลก คำว่า ราคะเหล่าใด ในคำว่า ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติศึกษาเพื่อกำจัดราคะเหล่าใด ได้แก่ ราคะในรูป ราคะในเสียง ราคะในกลิ่น ราคะในรส ราคะในโผฏฐัพพะ คำว่า มีสติ ได้แก่ สติ คือ ความตามระลึกถึง ความระลึกได้เฉพาะหน้า สติ คือ ความระลึกได้ ความจำได้ ความไม่เลื่อนลอย ความไม่หลงลืม สติ คือ สตินทรีย์ สติพละ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ เอกายนมรรค๑- นี้ตรัสเรียกว่า สติ ภิกษุประกอบ ประกอบพร้อม ดำเนินไป ดำเนินไปพร้อม เป็นไป เป็นไปพร้อม เพียบพร้อมแล้วด้วยสตินี้ ภิกษุนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่า ผู้มีสติ คำว่า พึงศึกษา ได้แก่ สิกขา ๓ คือ ๑. อธิสีลสิกขา ๒. อธิจิตตสิกขา ๓. อธิปัญญาสิกขา อธิสีลสิกขา เป็นอย่างไร ... นี้ชื่อว่าอธิปัญญาสิกขา คำว่า ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติศึกษาเพื่อกำจัดราคะเหล่าใด อธิบายว่า บุคคลผู้มี สติพึงศึกษาทั้งอธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา เพื่อกำจัด คือ บรรเทา ละ สงบ สลัดทิ้ง ระงับราคะ คือ ราคะในรูป ราคะในเสียง ราคะในกลิ่น ราคะในรส ราคะในโผฏฐัพพะ สิกขา ๓ นี้ เมื่อภิกษุนึกถึง ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อทราบ ชื่อว่าพึงศึกษา ... เมื่อ ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ก็ชื่อว่าพึงศึกษา คือ พึงประพฤติเอื้อเฟื้อ ประพฤติ เอื้อเฟื้อโดยชอบ สมาทานประพฤติ รวมความว่า ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติศึกษาเพื่อ กำจัดราคะเหล่าใด @เชิงอรรถ : @ เอกายนมรรค หมายถึงทางเอกที่ต้องละความคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ต้องอยู่คนเดียว จากสังสารวัฏ @ไปสู่นิพพาน เหล่าสัตว์ต้องไปด้วยความสงัดที่เรียกว่าวิเวกเท่านั้น อีกอย่างหนึ่ง อริยมรรคมีองค์ ๘ @อันประเสริฐ ซึ่งพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐกว่าสัตว์ทั้งปวง ทรงดำเนินไปและชี้บอกทางให้สัตว์ทั้งหลายดำเนิน @ไปตามทางนี้ (ขุ.ม.อ. ๓/๕๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๖๑๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๖. สารีปุตตสุตตนิทเทส

คำว่า พึงปราบปรามราคะในรูป เสียง กลิ่น รสและผัสสะ อธิบายว่า พึงปราบปราม คือ ยึดครอง ครอบงำ ท่วมทับ รัดรึง ย่ำยีราคะในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ รวมความว่า พึงปราบปรามราคะในรูป เสียง กลิ่น รส และผัสสะ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ลำดับต่อไป ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติ ศึกษาเพื่อกำจัดราคะเหล่าใด ราคะเหล่านั้น คือธุลี ๕ อย่างในโลก พึงปราบปรามราคะในรูป เสียง กลิ่น รสและผัสสะ [๒๑๐] (พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้) ภิกษุเป็นผู้มีสติ มีจิตหลุดพ้นด้วยดีแล้ว พึงกำจัดความพอใจในธรรมเหล่านี้ ภิกษุนั้นเมื่อกำหนดพิจารณาธรรมโดยชอบตามกาล เป็นผู้มีธรรมเอกผุดขึ้น พึงกำจัดความมืด คำว่า เหล่านี้ ในคำว่า พึงกำจัดความพอใจในธรรมเหล่านี้ ได้แก่ ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ คำว่า ความพอใจ ได้แก่ ความพอใจด้วยอำนาจความใคร่ ความกำหนัดด้วย อำนาจความใคร่ ความเพลิดเพลินด้วยอำนาจความใคร่ ความทะยานอยากด้วย อำนาจความใคร่ ความเยื่อใยด้วยอำนาจความใคร่ ความเร่าร้อนด้วยอำนาจ ความใคร่ ความสยบด้วยอำนาจความใคร่ ความติดใจด้วยอำนาจความใคร่ ห้วงน้ำ คือความใคร่ กิเลสเครื่องประกอบคือความใคร่ กิเลสเครื่องยึดมั่นคือความใคร่ กิเลสเครื่องกั้นจิตคือความพอใจด้วยอำนาจความใคร่ในกามทั้งหลาย คำว่า พึงกำจัดความพอใจในธรรมเหล่านี้ ได้แก่ พึงกำจัด คือ ขจัด ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งความพอใจในธรรมเหล่านี้ รวม ความว่า พึงกำจัดความพอใจในธรรมเหล่านี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๖๑๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๖. สารีปุตตสุตตนิทเทส

คำว่า ภิกษุ ในคำว่า ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติ มีจิตหลุดพ้นด้วยดีแล้ว ได้แก่ ภิกษุผู้เป็นกัลยาณปุถุชน หรือ ภิกษุผู้เป็นพระเสขะ คำว่า เป็นผู้มีสติ ได้แก่ สติ ความตามระลึกถึง ... สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ เอกายนมรรค นี้ ตรัสเรียกว่า สติ ภิกษุประกอบพร้อมด้วยสตินี้ ... ภิกษุนั้นพระผู้มี พระภาคตรัสเรียกว่า เป็นผู้มีสติ
ว่าด้วยจิตหลุดพ้น ๑๒ ขั้น
คำว่า ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติ มีจิตหลุดพ้นด้วยดีแล้ว อธิบายว่า ๑. จิตของภิกษุผู้บรรลุปฐมฌาน ก็พ้น หลุดพ้น หลุดพ้นด้วยดีจากนิวรณ์ ทั้งหลาย ๒. จิตของภิกษุผู้บรรลุทุติยฌาน ก็พ้น หลุดพ้น หลุดพ้นด้วยดีจากวิตก และวิจาร ๓. จิตของภิกษุผู้บรรลุตติยฌาน ก็พ้น หลุดพ้น หลุดพ้นด้วยดีจากปีติ ๔. จิตของภิกษุผู้บรรลุจตุตถฌาน ก็พ้น หลุดพ้น หลุดพ้นด้วยดีจากสุข และทุกข์ ๕. จิตของภิกษุผู้บรรลุอากาสานัญจายตนสมาบัติ ก็พ้น หลุดพ้น หลุดพ้น ด้วยดีจากรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญา ๖. จิตของภิกษุผู้บรรลุวิญญาณัญจายตนสมาบัติ... จากอากาสานัญจายตน- สัญญา ๗. จิตของภิกษุผู้บรรลุอากิญจัญญายตนสมาบัติ ... จากวิญญาณัญจายตน- สัญญา ๘. จิตของภิกษุผู้บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ก็พ้น หลุดพ้น หลุดพ้นด้วยดีจากอากิญจัญญายตนสัญญา ๙. จิตของภิกษุผู้เป็นพระโสดาบัน ก็พ้น หลุดพ้น หลุดพ้นด้วยดีจาก สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ทิฏฐานุสัย วิจิกิจฉานุสัย และ กิเลสที่ตั้งอยู่ฝ่ายเดียวกับวิจิกิจฉาเป็นต้นนั้น ๑๐. จิตของภิกษุผู้เป็นพระสกทาคามี ก็พ้น หลุดพ้น หลุดพ้นด้วยดีจาก กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย อย่างหยาบ และกิเลสที่ตั้งอยู่ในฝ่ายเดียว กับกามราคานุสัยเป็นต้นนั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๖๑๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๖. สารีปุตตสุตตนิทเทส

๑๑. จิตของภิกษุผู้เป็นพระอนาคามี ก็พ้น หลุดพ้น หลุดพ้นด้วยดีจาก กามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ อย่างละเอียด กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย อย่างละเอียด และกิเลสที่ตั้งอยู่ในฝ่ายเดียวกับกามราคสังโยชน์เป็นต้นนั้น ๑๒. จิตของภิกษุผู้เป็นพระอรหันต์ ก็พ้น หลุดพ้น หลุดพ้นด้วยดีจากรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา มานานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย เหล่ากิเลสที่ตั้งอยู่ในฝ่ายเดียวกับรูปราคะเป็นต้นนั้น และนิมิตทั้งปวง ในภายนอก รวมความว่า ภิกษุเป็นผู้มีสติ มีจิตหลุดพ้นด้วยดีแล้ว
ว่าด้วยกาลแห่งสมถะและวิปัสสนา
คำว่า ตามกาล ในคำว่า ภิกษุนั้นเมื่อกำหนดพิจารณาธรรมโดยชอบ ตามกาล อธิบายว่า เมื่อจิตฟุ้งซ่าน ก็เป็นกาลแห่งสมถะ เมื่อจิตตั้งมั่น ก็เป็นกาล แห่งวิปัสสนา (สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า) โยคี๑- ใด ยกจิตไว้ในกาล(หนึ่ง) ข่มจิตในอีกกาลหนึ่ง ทำจิตให้รื่นเริงตามกาล ตั้งจิตให้มั่นในกาลเพ่งดูจิตตามกาล โยคีนั้น ชื่อว่าเป็นผู้ฉลาดในกาล การยกจิต ควรมีในกาลไหน การข่มจิตควรมีในกาลไหน @เชิงอรรถ : @ โยคี หมายถึงผู้ประกอบความเพียรในกัมมัฏฐาน เป็นผู้ฉลาดเฉียบแหลมในการประคองจิต ข่มจิต ทำจิต @ให้ร่าเริง จิตตั้งมั่น และวางเฉย @ประคองจิตให้ตั้งอยู่ด้วย ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์ @ข่มจิต เมื่อจิตฟุ้งซ่านก็ข่มด้วยปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ และอุเบกขาสัมโพชฌงค์ @ทำจิตให้ร่าเริง ด้วยการพิจารณาสังเวควัตถุ ๘ ประการ (ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ ทุกข์ในอบาย ทุกข์มี @วัฏฏเป็นมูลในอดีต ทุกข์มีวัฏเป็นมูลในอนาคต ทุกข์มีการแสวงหาอาหารเป็นมูลในปัจจุบัน) หรือด้วย @การระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัย @จิตตั้งมั่น ทำจิตให้เว้นจากความหดหู่และฟุ้งซ่าน ด้วยผูกใจไว้กับวิริยะและสมาธิหรืออุปจารสมาธิและ @อัปปนาสมาธิ @วางเฉย พระโยคีรู้ความหดหู่ ฟุ้งซ่านแห่งจิต จิตอภิรมย์ในอารมณ์กสิณเป็นต้น หรือจิตสัมปยุตด้วยฌาน @แล้ว ไม่พึงขวนขวายในการประคองจิต ข่มจิต ทำจิตให้ร่าเริง ควรกระทำการวางเฉยอย่างเดียว @(ขุ.ม.อ. ๒๑๐/๔๗๙-๔๘๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๖๑๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๖. สารีปุตตสุตตนิทเทส

กาลสำหรับทำจิตให้รื่นเริงควรมีในกาลไหน และกาลแห่งสมถะเป็นเช่นไร บัณฑิตย่อมแสดงกาลสำหรับเพ่งดูจิตของโยคีไว้อย่างไร การยกจิตควรมีในเมื่อจิตย่อหย่อน การข่มจิตควรมีในเมื่อจิตฟุ้งซ่าน โยคีควรทำจิตที่ถึงความไม่แช่มชื่นให้รื่นเริงทุกเมื่อ จิตรื่นเริง ไม่ย่อหย่อน ไม่ฟุ้งซ่านย่อมมีในกาลใด ในกาลนั้นก็เป็นกาลแห่งสมถะ ใจพึงยินดีอยู่ภายในโดยอุบายนี้เอง เมื่อใดจิตตั้งมั่น เมื่อนั้นโยคีพึงรู้จิตที่ตั้งมั่น แล้วพึงเพ่งดูจิต นักปราชญ์รู้จักกาล ทราบกาล ฉลาดในกาล พึงกำหนดอารมณ์อันเป็นนิมิตของจิต โดยควรแก่กาล อย่างนี้ คำว่า ภิกษุนั้นเมื่อกำหนดพิจารณาธรรมโดยชอบตามกาล อธิบายว่า ภิกษุนั้นเมื่อกำหนดพิจารณาธรรมโดยชอบว่า “สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง” เมื่อกำหนดพิจารณาธรรมโดยชอบว่า “สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ... ธรรม ทั้งปวงเป็นอนัตตา สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดล้วนมี ความดับไปเป็นธรรมดา” คำว่า ธรรมเอกผุดขึ้น ในคำว่า ภิกษุนั้น ... เป็นผู้มีธรรมเอกผุดขึ้น พึงกำจัดความมืด อธิบายว่า ผู้มีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งเดียว มีจิตไม่ฟุ้งซ่าน มีใจ ไม่ซัดส่าย คือ สมถะ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ รวมความว่า เป็นผู้มี ธรรมเอกผุดขึ้น คำว่า ภิกษุนั้น ... พึงกำจัดความมืด อธิบายว่า ภิกษุพึงขจัด พึงกำจัด คือ ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งความมืดเพราะราคะ ความมืดเพราะ โทสะ ความมืดเพราะโมหะ ความมืดเพราะมานะ ความมืดเพราะทิฏฐิ ความมืด เพราะกิเลส ความมืดเพราะทุจริต อันทำให้เป็นคนตาบอด ทำให้ไม่มีจักษุ ทำให้ไม่ มีญาณ อันดับปัญญา เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความลำบาก ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๖๑๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๖. สารีปุตตสุตตนิทเทส

อธิบายคำว่า ภควา
คำว่า พระผู้มีพระภาค เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ อีกนัยหนึ่ง ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงทำลายราคะได้แล้ว ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงทำลายโทสะได้แล้ว ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงทำลายโมหะได้แล้ว ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงทำลายมานะได้แล้ว ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงทำลายทิฏฐิได้แล้ว ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงทำลายเสี้ยนหนามได้แล้ว ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงทำลายกิเลสได้แล้ว ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงจำแนก แยกแยะ แจกแจงธรรมรัตนะ ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงทำที่สุดแห่งภพได้ ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงอบรมพระวรกายแล้ว ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงอบรมศีล อบรมจิต อบรมปัญญาแล้ว อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงใช้สอยเสนาสนะที่เป็นป่าละเมาะและป่าทึบ อันสงัด มีเสียงน้อย มีเสียงอึกทึกน้อย ปราศจากการสัญจรไปมาของผู้คน ควรเป็น สถานที่ทำการลับของมนุษย์ สมควรเป็นที่หลีกเร้น จึงชื่อว่าพระผู้มีพระภาค อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงมีส่วนแห่งจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร จึงชื่อว่าพระผู้มีพระภาค อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้มีส่วนแห่งอรรถรส ธรรมรส วิมุตติรส อธิสีล อธิจิต อธิปัญญา จึงชื่อว่าพระผู้มีพระภาค อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้มีส่วนแห่งฌาน ๔ อัปปมัญญา ๔ อรูปสมาบัติ ๔ จึงชื่อว่าพระผู้มีพระภาค อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้มีส่วนแห่งวิโมกข์ ๘ อภิภายตนะ ๘ อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ จึงชื่อว่าพระผู้มีพระภาค {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๖๑๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๖. สารีปุตตสุตตนิทเทส

อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้มีส่วนแห่งสัญญาภาวนา ๑๐ กสิณ- สมาบัติ ๑๐ อานาปานสติสมาธิ อสุภสมาบัติ จึงชื่อว่าพระผู้มีพระภาค อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้มีส่วนแห่งสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ จึงชื่อว่า พระผู้มีพระภาค อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้มีส่วนแห่งตถาคตพลญาณ ๑๐ เวสารัชชญาณ ๔ ปฏิสัมภิทา ๔ อภิญญา ๖ พุทธธรรม ๖ จึงชื่อว่าพระผู้มีพระภาค พระนามว่า พระผู้มีพระภาค นี้ มิใช่พระชนนีทรงตั้ง มิใช่พระชนกทรงตั้ง มิใช่ พระภาดาทรงตั้ง มิใช่พระภคินีทรงตั้ง มิใช่มิตรและอำมาตย์ตั้ง มิใช่พระญาติและผู้ ร่วมสายโลหิตทรงตั้ง มิใช่สมณพราหมณ์ตั้ง มิใช่เทวดาตั้ง คำว่า พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นวิโมกขันติกนาม เป็นสัจฉิกาบัญญัติของ พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย พร้อมกับการบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ ที่โคน ต้นโพธิ์ รวมความว่า ภิกษุนั้น ... เป็นผู้มีธรรมอันเอกผุดขึ้น พึงกำจัดความมืด ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ภิกษุเป็นผู้มีสติ มีจิตหลุดพ้นด้วยดีแล้ว พึงกำจัดความพอใจในธรรมเหล่านี้ ภิกษุนั้นเมื่อกำหนดพิจารณาธรรมโดยชอบตามกาล เป็นผู้มีธรรมเอกผุดขึ้น พึงกำจัดความมืด
สารีปุตตสุตตนิทเทสที่ ๑๖ จบ
นิทเทสแห่งพระสูตร ๑๖ นิทเทส ในอัฏฐกวรรค จบบริบูรณ์
มหานิทเทส จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๖๒๐}
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ สุตตันตปิฎกที่ ๒๑ ขุททกนิกาย มหานิทเทส จบ

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๙ หน้าที่ ๕๗๕-๖๒๐. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=29&A=17131&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=29&siri=16              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5], [6], [7], [8], [9], [10], [11], [12], [13], [14], [15], [16], [17].              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=29&A=10137&Z=11778&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=29&i=881              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=29&item=881&items=108              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=29&item=881&items=108              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu29

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]