ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย มหานิทเทส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๓. ทุฏฐัฏฐกสุตตนิทเทส

ผู้มีปัญญาเครื่องกำจัดนั้นละความถือมั่นด้วยอำนาจตัณหาได้แล้ว สลัดทิ้ง ความถือมั่นด้วยอำนาจทิฏฐิได้แล้ว ผู้มีปัญญาเครื่องกำจัดนั้น ชื่อว่าผู้ไม่มีความ ถือมั่น เพราะเป็นผู้ละความถือมั่นด้วยอำนาจตัณหา สลัดทิ้งความถือมั่นด้วย อำนาจทิฏฐิได้แล้ว จะพึงไปด้วยอำนาจราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ อุทธัจจะ วิจิกิจฉา อนุสัย อะไรเล่าว่า “เป็นผู้กำหนัด ขัดเคือง หลง ยึดติด ยึดถือ ฟุ้งซ่าน ลังเล หรือตกอยู่ในพลังกิเลส” ผู้มีปัญญาเครื่องกำจัดนั้นละอภิสังขารได้แล้ว เพราะเป็นผู้ละอภิสังขารได้แล้ว จะพึงไปสู่คติด้วยเหตุอะไรเล่าว่า “เป็นผู้เกิดในนรก เกิดในกำเนิดเดรัจฉาน เกิดใน เปตวิสัย เป็นมนุษย์ เป็นเทพ เป็นผู้มีรูป เป็นผู้ไม่มีรูป เป็นผู้มีสัญญา เป็นผู้ไม่มี สัญญา หรือเป็นผู้มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่” ผู้มีปัญญาเครื่องกำจัดนั้นจะพึง ไปด้วยเหตุ ปัจจัยและการณ์ใด เหตุ ปัจจัยและการณ์นั้นไม่มี รวมความว่า ผู้มี ปัญญาเครื่องกำจัดนั้น ... ไม่มีความถือมั่น จะพึงไปด้วยเหตุอะไรเล่า ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ทิฏฐิที่กำหนด(เพื่อเกิด)ในภพน้อยภพใหญ่ ของผู้มีปัญญาเครื่องกำจัด ไม่มีในที่ไหนๆ ในโลก เพราะผู้มีปัญญาเครื่องกำจัดนั้น ละความหลอกลวง และความถือตัวได้แล้ว ไม่มีความถือมั่น จะพึงไปด้วยเหตุอะไรเล่า [๒๒] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) เพราะว่าผู้มีความถือมั่นย่อมเข้าถึงวาทะในธรรมทั้งหลาย จะพึงกล่าวคำติเตียนผู้ไม่มีความถือมั่นด้วยเหตุอะไรเล่า เพราะความเห็นว่ามีตน ความเห็นว่าไม่มีตน ไม่มีแก่ผู้ไม่มีความถือมั่นนั้น ผู้ไม่มีความถือมั่นนั้น สลัดแล้วซึ่งทิฏฐิทั้งปวงในอัตภาพนี้แหละ คำว่า ผู้มีความถือมั่น ในคำว่า เพราะว่าผู้มีความถือมั่นย่อมเข้าถึงวาทะ ในธรรมทั้งหลาย ได้แก่ ความถือมั่น ๒ อย่าง คือ (๑) ความถือมั่นด้วย อำนาจตัณหา (๒) ความถือมั่นด้วยอำนาจทิฏฐิ ... นี้ชื่อว่าความถือมั่นด้วยอำนาจ ตัณหา ... นี้ชื่อว่าความถือมั่นด้วยอำนาจทิฏฐิ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๙๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๓. ทุฏฐัฏฐกสุตตนิทเทส

ผู้มีความถือมั่นนั้น ยังละความถือมั่นด้วยอำนาจตัณหาไม่ได้ ยังสลัดทิ้งความ ถือมั่นด้วยอำนาจทิฏฐิไม่ได้ เพราะเป็นผู้ละความถือมั่นด้วยอำนาจตัณหา สลัดทิ้ง ความถือมั่นด้วยอำนาจทิฏฐิไม่ได้ ผู้มีความถือมั่นจึงเข้าถึงวาทะในธรรมทั้งหลายว่า “เป็นผู้กำหนัด ขัดเคือง หลง ยึดติด ยึดถือ ฟุ้งซ่าน ลังเล หรือตกอยู่ในพลังกิเลส” ผู้มีความถือมั่นยังละอภิสังขารเหล่านั้นไม่ได้ เพราะยังเป็นผู้ละอภิสังขาร ทั้งหลายไม่ได้ ย่อมเข้าถึง คือ เข้าไปถึง ถือ ยึดมั่น ถือมั่นวาทะด้วยคติว่า “เป็น ผู้เกิดในนรก เกิดในกำเนิดเดรัจฉาน เกิดในเปตวิสัย เป็นมนุษย์ เป็นเทพ เป็น ผู้มีรูป เป็นผู้ไม่มีรูป เป็นผู้มีสัญญา เป็นผู้ไม่มีสัญญา หรือเป็นผู้มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่” รวมความว่า เพราะว่าผู้มีความถือมั่นย่อมเข้าถึงวาทะในธรรม ทั้งหลาย คำว่า จะพึงกล่าวคำติเตียนผู้ไม่มีความถือมั่นด้วยเหตุอะไรเล่า อธิบายว่า คำว่า ความถือมั่น ได้แก่ ความถือมั่น ๒ อย่าง คือ (๑) ความถือมั่น ด้วยอำนาจตัณหา (๒) ความถือมั่นด้วยอำนาจทิฏฐิ ... นี้ชื่อว่าความถือมั่นด้วย อำนาจตัณหา ... นี้ชื่อว่าความถือมั่นด้วยอำนาจทิฏฐิ ผู้ไม่มีความถือมั่นนั้น ละความถือมั่นด้วยอำนาจตัณหาได้แล้ว สลัดทิ้งความ ถือมั่นด้วยอำนาจทิฏฐิได้แล้ว เพราะเป็นผู้ละความถือมั่นด้วยอำนาจตัณหา สลัดทิ้ง ความถือมั่นด้วยอำนาจทิฏฐิได้แล้ว จะพึงกล่าวคำติเตียนผู้ไม่มีความถือมั่น ด้วย อำนาจราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ อุทธัจจะ วิจิกิจฉา อนุสัย อะไรเล่าว่า “เป็น ผู้กำหนัด ขัดเคือง หลง ยึดติด ยึดมั่น ฟุ้งซ่าน ลังเล หรือตกอยู่ในพลังกิเลส” ผู้ไม่มีความถือมั่นละอภิสังขารเหล่านั้นได้แล้ว เพราะเป็นผู้ละอภิสังขาร ทั้งหลายได้แล้ว จะพึงกล่าวถึงคติด้วยเหตุอะไรเล่าว่า “เป็นผู้เกิดในนรก ... เป็นผู้มี สัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่” ผู้มีความถือมั่นนั้นจะพึงกล่าว คือ พูด บอก แสดง ชี้แจงด้วยเหตุ ปัจจัยและการณ์ใด เหตุ ปัจจัย และการณ์นั้นไม่มี รวมความว่า จะพึงกล่าวคำติเตียนผู้ไม่มีความถือมั่นด้วยเหตุอะไรเล่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๙๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๓. ทุฏฐัฏฐกสุตตนิทเทส

ว่าด้วยความเห็นว่ามีตนและไม่มีตน
คำว่า ความเห็นว่ามีตน ในคำว่า เพราะความเห็นว่ามีตน ความเห็นว่า ไม่มีตน ไม่มีแก่ผู้ไม่มีความถือมั่นนั้น ได้แก่ ความตามเห็นว่ามีตัวตน ไม่มี คำว่า ความเห็นว่าไม่มีตน ได้แก่ ความเห็นว่าขาดสูญ ไม่มี คำว่า ความเห็นว่ามีตน ได้แก่ สิ่งที่ถือไม่มี คำว่า ความเห็นว่าไม่มีตน อธิบายว่า สิ่งที่ควรปล่อย ไม่มี ผู้ใดมีสิ่งที่ถือไว้ ผู้นั้นก็มีสิ่งที่ควรปล่อย ผู้ใดมีสิ่งที่ควรปล่อย ผู้นั้นก็มีสิ่งที่ถือไว้ พระอรหันต์ก้าวพ้น การถือ และการปล่อย ล่วงพ้นความเจริญและความเสื่อมได้แล้ว พระอรหันต์นั้นอยู่ ใน(อริยวาสธรรม)แล้ว ประพฤติจรณธรรมแล้ว ผ่านทางไกลได้แล้ว ถึงทิศ(นิพพาน)แล้ว ไม่มีการเวียนเกิด เวียนตาย และภพใหม่ก็ไม่มีอีก รวมความว่า เพราะความเห็นว่ามีตน ความเห็นว่าไม่มีตน ไม่มีแก่ผู้ไม่มีความถือมั่นนั้น คำว่า ผู้ไม่มีความถือมั่นนั้น สลัดแล้วซึ่งทิฏฐิทั้งปวงในอัตภาพนี้แหละ อธิบายว่า ทิฏฐิ ๖๒ ผู้ไม่มีความถือมั่นนั้นละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบ ได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว ผู้ไม่มีความถือ มั่นนั้นชื่อว่า สลัด คือ กำจัด ขจัด ขจัดออก ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึง ความไม่มีอีกซึ่งทิฏฐิทั้งปวงในอัตภาพนี้ รวมความว่า ผู้ไม่มีความถือมั่นนั้น สลัด แล้วซึ่งทิฏฐิทั้งปวงในอัตภาพนี้แหละ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า เพราะว่าผู้มีความถือมั่นย่อมเข้าถึงวาทะในธรรมทั้งหลาย จะพึงกล่าวคำติเตียนผู้ไม่มีความถือมั่น ด้วยเหตุอะไรเล่า เพราะความเห็นว่ามีตน ความเห็นว่าไม่มีตน ไม่มีแก่ผู้ไม่มีความถือมั่นนั้น ผู้ไม่มีความถือมั่นนั้น สลัดแล้วซึ่งทิฏฐิทั้งปวงในอัตภาพนี้แหละ
ทุฏฐัฏฐกสุตตนิทเทสที่ ๓ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๑๐๐}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๙ หน้าที่ ๙๘-๑๐๐. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=29&A=2943&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=29&siri=3              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=29&A=1311&Z=1821&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=29&i=70              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=29&item=70&items=39              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=29&item=70&items=39              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu29

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]