ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย มหานิทเทส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๗. ติสสเมตเตยยสุตตนิทเทส

ภิกษุนั้น ถูกความดำริครอบงำ ย่อมซบเซาเหมือนคนกำพร้า ครั้นได้ยินคำตำหนิของคนอื่นแล้ว ย่อมเป็นผู้เก้อเขิน เป็นผู้เช่นนั้น [๕๔] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) ลำดับนั้น ภิกษุนั้นถูกถ้อยคำของคนอื่นตักเตือนแล้ว ย่อมสร้างศัสตรา เธอย่อมก้าวลงสู่ความเป็นคนพูดเท็จ นี้แหละเป็นเครื่องทำให้ติดใหญ่ของเธอ คำว่า ลำดับนั้น ในคำว่า ลำดับนั้น ภิกษุนั้นถูกถ้อยคำของคนอื่นตักเตือน แล้ว ย่อมสร้างศัสตรา เป็นบทสนธิ เป็นคำเชื่อมบท เป็นคำที่ทำบทให้บริบูรณ์ เป็นความสัมพันธ์แห่งอักษร เป็นความสละสลวยแห่งพยัญชนะ คำว่า ลำดับนั้น นี้ เป็นคำเชื่อมบทหน้ากับบทหลังเข้าด้วยกัน
ว่าด้วยศัสตรา ๓ อย่าง
คำว่า ศัสตรา ได้แก่ ศัสตรา ๓ อย่าง คือ (๑) ศัสตราทางกาย (๒) ศัสตรา ทางวาจา (๓) ศัสตราทางใจ กายทุจริต ๓ อย่าง ชื่อว่าศัสตราทางกาย วจีทุจริต ๔ อย่าง ชื่อว่าศัสตราทางวาจา มโนทุจริต ๓ อย่าง ชื่อว่าศัสตราทางใจ คำว่า ถูกถ้อยคำของคนอื่นตักเตือนแล้ว อธิบายว่า ถูกอุปัชฌาย์ อาจารย์ ผู้ร่วมอุปัชฌาย์ ผู้ร่วมอาจารย์ มิตร เพื่อนเห็น เพื่อนคบ หรือสหายตักเตือน ก็พูด เท็จทั้งรู้อยู่ คือ พูดว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมยินดีในการบวชอยู่แล้ว แต่กระผมต้อง เลี้ยงดูมารดา เพราะเหตุนั้น กระผมจึงสึก” พูดว่า “กระผมต้องเลี้ยงดูบิดา ... ต้อง เลี้ยงดูพี่ชายน้องชาย ... ต้องเลี้ยงดูพี่สาวน้องสาว ... ต้องเลี้ยงดูบุตร ... ต้องเลี้ยงดู ธิดา ... ต้องเลี้ยงดูมิตร ... ต้องเลี้ยงดูอำมาตย์ ... ต้องเลี้ยงดูญาติ” พูดว่า “กระผม ต้องเลี้ยงดูผู้ร่วมสายโลหิต ด้วยเหตุนั้น กระผมจึงสึก” ย่อมสร้าง คือ สร้างขึ้น ให้เกิด ให้เกิดขึ้น ให้บังเกิด ให้บังเกิดขึ้นซึ่งศัสตราทางวาจาดังว่ามานี้ รวมความว่า ลำดับนั้น ภิกษุนั้นถูกถ้อยคำของคนอื่นตักเตือนแล้ว ย่อมสร้างศัสตรา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๑๘๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๗. ติสสเมตเตยยสุตตนิทเทส

คำว่า นี้แหละเป็นเครื่องทำให้ติดใหญ่ของเธอ อธิบายว่า การกล่าวเท็จ ทั้งที่รู้อยู่เป็นเครื่องทำให้ติดใหญ่ คือ เป็นป่าใหญ่ เป็นดงใหญ่ เป็นทางกันดารใหญ่ เป็นดุจทางขรุขระมาก เป็นทางคดมาก เป็นดุจหล่มใหญ่ เป็นดุจบ่อใหญ่ เป็นความ กังวลมากมาย เป็นเครื่องผูกพันใหญ่ของเธอ รวมความว่า นี้แหละเป็นเครื่องทำให้ ติดใหญ่ของเธอ
ว่าด้วยมุสาวาท
คำว่า ย่อมก้าวลงสู่ความเป็นคนพูดเท็จ อธิบายว่า มุสาวาท ตรัสเรียกว่า ความเป็นคนพูดเท็จ คนบางคนในโลกนี้ อยู่ในสภา อยู่ในบริษัท อยู่ท่ามกลาง หมู่ญาติ อยู่ท่ามกลางหมู่ทหาร หรืออยู่ท่ามกลางราชสำนัก ถูกเขาอ้างเป็นพยาน ซักถามว่า “ท่านรู้สิ่งใด จงกล่าวสิ่งนั้น” บุคคลนั้นไม่รู้ก็พูดว่า “รู้” หรือรู้ก็พูดว่า “ไม่รู้” ไม่เห็นก็พูดว่า “เห็น” หรือเห็นก็พูดว่า “ไม่เห็น” เขาพูดเท็จทั้งที่รู้เพราะตน เป็นเหตุบ้าง เพราะบุคคลอื่นเป็นเหตุบ้าง เพราะเหตุคือเห็นแก่อามิสเล็กน้อยบ้าง ด้วยประการฉะนี้ นี้ตรัสเรียกว่า ความเป็นคนพูดเท็จ อีกนัยหนึ่ง มุสาวาทมีได้ด้วยอาการ ๓ อย่าง คือ ๑. ก่อนพูดเธอก็รู้ว่า เราจักพูดเท็จ ๒. กำลังพูดก็รู้ว่า เรากำลังพูดเท็จ ๓. พูดแล้วก็รู้ว่า เราพูดเท็จแล้ว มุสาวาทมีได้ด้วยอาการ ๓ อย่างเหล่านี้ อีกนัยหนึ่ง มุสาวาทมีได้ด้วยอาการ ๔ อย่าง ... ด้วยอาการ ๕ อย่าง ... ด้วยอาการ ๖ อย่าง ... ด้วยอาการ ๗ อย่าง ... มุสาวาทมีได้ด้วยอาการ ๘ อย่าง คือ ๑. ก่อนพูดเธอก็รู้อยู่ว่า เราจักพูดเท็จ ๒. กำลังพูดก็รู้ว่า เรากำลังพูดเท็จ ๓. พูดแล้วก็รู้ว่า เราพูดเท็จแล้ว ๔. ปิดบังทิฏฐิ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๑๘๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๗. ติสสเมตเตยยสุตตนิทเทส

๕. ปิดบังความพอใจ ๖. ปิดบังความชอบใจ ๗. ปิดบังความสำคัญ ๘. ปิดบังความจริง มุสาวาทมีได้ด้วยอาการ ๘ อย่างเหล่านี้ คำว่า ย่อมก้าวลงสู่ความเป็นคนพูดเท็จ ได้แก่ ย่อมก้าวลง คือ ย่อมหยั่งลง หยั่งลงเฉพาะ เข้าถึงความเป็นคนพูดเท็จ รวมความว่า ย่อมก้าวลงสู่ความเป็นคน พูดเท็จ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ลำดับนั้น ภิกษุนั้นถูกถ้อยคำของคนอื่นตักเตือนแล้ว ย่อมสร้างศัสตรา เธอย่อมก้าวลงสู่ความเป็นคนพูดเท็จ นี้แหละเป็นเครื่องทำให้ติดใหญ่ของเธอ [๕๕] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) ภิกษุ (ในเบื้องต้น) ได้สมญานามว่า เป็นบัณฑิต อธิษฐานการเที่ยวไปผู้เดียว ต่อมา เธอประกอบในเมถุนธรรม ก็จักมัวหมอง เหมือนกับคนโง่ ฉะนั้น
ว่าด้วยต้นตรงปลายคด
คำว่า ภิกษุ(ในเบื้องต้น)ได้สมญานามว่า เป็นบัณฑิต อธิบายว่า ภิกษุ บางรูปในธรรมวินัยนี้ ได้รับการสรรเสริญเกียรติคุณว่า เป็นบัณฑิต คือ เป็นผู้ฉลาด มีปัญญา เป็นพหูสูต มีถ้อยคำไพเราะ มีปฏิภาณดี เป็นผู้ทรงจำพระสูตรบ้าง เป็นผู้ ทรงจำพระวินัยบ้าง เป็นพระธรรมกถึกบ้าง ... เป็นผู้ได้เนวสัญญานาสัญญายตน- สมาบัติบ้าง ในเบื้องต้น คือ ในคราวที่เป็นสมณะ ซึ่งผู้คนรู้จักกัน รู้จักกันทั่ว ชื่อว่า ได้สมญานามอย่างนี้ รวมความว่า ภิกษุ(ในเบื้องต้น)ได้สมญานามว่า เป็นบัณฑิต คำว่า อธิษฐานการเที่ยวไปผู้เดียว อธิบายว่า ได้อธิษฐานการเที่ยวไปผู้เดียว ด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๑๘๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๗. ติสสเมตเตยยสุตตนิทเทส

๑. ด้วยการบวช ๒. ด้วยการละความคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ภิกษุอธิษฐานการเที่ยวไปผู้เดียวด้วยการบวช เป็นอย่างไร คือ ภิกษุตัดความกังวลเรื่องการครองเรือนทั้งหมด ... ภิกษุอธิษฐานการเที่ยว ไปผู้เดียวด้วยการบวช เป็นอย่างนี้๑- ภิกษุอธิษฐานการเที่ยวไปผู้เดียวด้วยการละความคลุกคลีด้วยหมู่คณะ เป็น อย่างไร คือ ภิกษุนั้น เมื่อเป็นนักบวชแล้วอย่างนี้ผู้เดียว ก็ใช้สอยเสนาสนะที่เป็นป่า ละเมาะและป่าทึบ อันสงัด ... ภิกษุอธิษฐานการเที่ยวไปผู้เดียวด้วยการละความคลุกคลี ด้วยหมู่คณะ เป็นอย่างนี้ รวมความว่า อธิษฐานการเที่ยวไปผู้เดียว๒- คำว่า ต่อมา เธอประกอบในเมถุนธรรม อธิบายว่า ธรรมเนียมของอสัตบุรุษ คือ ธรรมเนียมของชาวบ้าน ... ชื่อว่าเมถุนธรรม เพราะเหตุนั้น จึงตรัสเรียกว่า เมถุนธรรม๓- คำว่า ต่อมา เธอประกอบในเมถุนธรรม อธิบายว่า ต่อมา เธอก็บอกลา พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ สิกขา กลับมาเป็นคฤหัสถ์ ประกอบ คือ ประกอบทั่ว ประกอบทั่วถึง ประกอบพร้อมในเมถุนธรรม รวมความว่า ต่อมา เธอประกอบใน เมถุนธรรม
ว่าด้วยการลงโทษ
คำว่า ก็จักมัวหมอง เหมือนกับคนโง่ ฉะนั้น อธิบายว่า จักลำบาก จัก มัวหมอง คือ เศร้าหมอง เหมือนคนกำพร้า คนโง่ คนลุ่มหลง คือ ฆ่าสัตว์บ้าง ลักทรัพย์บ้าง ตัดช่องย่องเบาบ้าง ขโมยยกเค้าบ้าง ปล้นบ้านบ้าง ดักจี้ในทางเปลี่ยว บ้าง ละเมิดภรรยาของผู้อื่นบ้าง พูดเท็จบ้าง จักลำบาก จักมัวหมอง คือ เศร้าหมอง แม้อย่างนี้ พระราชาก็รับสั่งให้จับเขาลงอาญาด้วยประการต่างๆ คือ ให้เฆี่ยนด้วยแส้ @เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดข้อ ๕๑/๑๗๗ @ ดูรายละเอียดข้อ ๕๑/๑๗๗ @ ดูรายละเอียดข้อ ๔๙/๑๖๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๑๘๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๗. ติสสเมตเตยยสุตตนิทเทส

บ้าง ให้เฆี่ยนด้วยหวายบ้าง ให้ตีด้วยไม้พลองบ้าง ตัดมือบ้าง ตัดเท้าบ้าง ตัดทั้งมือ และเท้าบ้าง ตัดใบหูบ้าง ตัดจมูกบ้าง ตัดทั้งใบหูและจมูกบ้าง วางก้อนเหล็กแดงบน ศีรษะบ้าง ถลกหนังศีรษะแล้วขัดให้ขาวเหมือนสังข์บ้าง เอาไฟยัดปากจนเลือดไหล เหมือนปากราหูบ้าง เอาผ้าพันตัวราดน้ำมันแล้วจุดไฟเผาบ้าง พันมือแล้วจุดไฟต่าง คบบ้าง ถลกหนังตั้งแต่คอถึงข้อเท้าให้ลุกเดินเหยียบหนังจนล้มลงบ้าง ถลกหนังตั้ง แต่คอถึงบั้นเอว ทำให้มองดูเหมือนนุ่งผ้าคากรองบ้าง สวมปลอกเหล็กที่ข้อศอก และเข่าแล้วเสียบหลาวทั้งห้าทิศเอาไฟเผาบ้าง ใช้เบ็ดเกี่ยวหนัง เนื้อ เอ็นออกมาบ้าง เฉือนเนื้อออกเป็นแว่นๆ เหมือนเหรียญกษาปณ์บ้าง เฉือนหนัง เนื้อ เอ็น ออก เหลือไว้แต่กระดูกบ้าง ใช้หลาวแทงช่องหูให้ทะลุถึงกันบ้าง เสียบให้ติดดินแล้วจับเขา หมุนได้รอบบ้าง ทุบกระดูกให้แหลกแล้วถลกหนังออกเหลือไว้แต่กองเนื้อเหมือน ตั่งใบไม้บ้าง รดตัวด้วยน้ำมันที่กำลังเดือดพล่านบ้าง ให้สุนัขกัดกินจนเหลือแต่ กระดูกบ้าง ให้นอนบนหลาวทั้งเป็นบ้าง ตัดศีรษะออกด้วยดาบบ้าง เธอจักลำบาก จักมัวหมอง คือ เศร้าหมอง อย่างนี้บ้าง อีกนัยหนึ่ง เธอถูกกามตัณหาครอบงำ ถูกกามตัณหาตรึงใจไว้แล้ว เมื่อจะ แสวงหาโภคทรัพย์ ก็ต้องแล่นเรือออกไปสู่มหาสมุทร ฝ่าหนาว ฝ่าร้อน ถูกสัมผัส แห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลานเบียดเบียนเอาบ้าง ถูกความหิว กระหายกดดันอยู่ ก็ต้องเดินทางไปคุมพรัฐ ตักโกลรัฐ(ตะกั่วป่า) ตักกสิลรัฐ กาลมุขรัฐ ปุรรัฐ เวสุงครัฐ เวราปถรัฐ ชวารัฐ ตามลิงรัฐ(นครศรีธรรมราช) วังครัฐ เอฬพันธนรัฐ สุวรรณกูฏรัฐ สุวรรณภูมิรัฐ ตัมพปาณิรัฐ สุปปาทกรัฐ เภรุกัจฉรัฐ สุรัฏฐรัฐ ภังคโลกรัฐ ภังคณรัฐ ปรมภังคณรัฐ โยนรัฐ ปินรัฐ วินกรัฐ มูลปทรัฐ เดิน ทางไปยังทะเลทรายที่ต้องหมายด้วยดาว คลานไปด้วยเข่า เดินทางด้วยแพะ เดิน ทางด้วยแกะ ไปด้วยการตอกหลักผูกเชือกโหนไป ไปด้วยร่ม เดินทางด้วยการตัดไม้ ไผ่ทำพะองสำหรับปีน เดินทางอย่างนก เดินทางอย่างหนู ไปตามซอกเขา ไต่ไปตาม ลำหวาย เธอก็จักลำบาก จักมัวหมอง คือ เศร้าหมอง อย่างนี้บ้าง เมื่อแสวงหาไม่ได้ก็ต้องเสวยทุกข์และโทมนัสที่มีการไม่ได้เป็นต้นเหตุ เธอก็จัก ลำบาก จักมัวหมอง คือ เศร้าหมอง อย่างนี้บ้าง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๑๘๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๗. ติสสเมตเตยยสุตตนิทเทส

เธอ เมื่อแสวงหาได้มา และครั้นได้แล้ว ก็ยังต้องเสวยทุกข์และโทมนัส ที่มีการ ต้องรักษาเป็นมูลเหตุบ้าง ด้วยความหวาดหวั่นว่า “อย่างไรหนอ พระราชาจะไม่พึง ริบโภคทรัพย์ของเรา โจรจะไม่พึงปล้น ไฟจะไม่พึงไหม้ น้ำจะไม่พึงพัดพาไป ทายาท ที่ไม่เป็นที่รักจะไม่พึงลักเอาไป” เมื่อรักษาคุ้มครองอยู่อย่างนี้ โภคทรัพย์ ย่อมเสื่อม ค่าลง เธอต้องเสวยทุกข์และโทมนัส ที่มีความพลัดพรากเป็นมูล ก็จักลำบาก จัก มัวหมอง คือ เศร้าหมอง อย่างนี้บ้าง รวมความว่า ต่อมา เธอประกอบในเมถุนธรรม ก็จักมัวหมอง เหมือนกับคนโง่ ฉะนั้น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ภิกษุ(ในเบื้องต้น) ได้สมญานามว่า เป็นบัณฑิต อธิษฐานการเที่ยวไปผู้เดียว ต่อมา เธอประกอบในเมถุนธรรม ก็จักมัวหมอง เหมือนกับคนโง่ ฉะนั้น [๕๖] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) มุนีรู้โทษนี้แล้ว ในคราวเป็นคฤหัสถ์ก่อนบวชในธรรมวินัยนี้ พึงทำการเที่ยวไปผู้เดียวให้มั่นคง ไม่พึงเข้าไปเสพเมถุนธรรม
ว่าด้วยปฏิปทาของมุนี
คำว่า นี้ ในคำว่า มุนีรู้โทษนี้แล้ว ในคราวเป็นคฤหัสถ์ก่อนบวชในธรรมวินัย นี้ อธิบายว่า ยศ และเกียรติ ในเบื้องต้น คือ ในคราวที่เป็นสมณะ ความเสื่อมยศ ความเสื่อมเกียรติ ของเธอผู้บอกลาพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ สิกขา กลับมา เป็นคฤหัสถ์ในเวลาต่อมา คือ(รู้)วิบัติแห่งสมบัตินี้ คำว่า รู้แล้ว ได้แก่ รู้แล้ว เทียบเคียงแล้ว พิจารณาแล้ว ทำให้กระจ่างแล้ว ทำให้แจ่มแจ้งแล้ว คำว่า มุนี อธิบายว่า ญาณ ท่านเรียกว่า โมนะ คือ ความรู้ทั่ว กิริยาที่รู้ชัด ... ผู้ก้าวล่วงกิเลสเครื่องข้องและตัณหาดุจตาข่ายได้แล้ว ชื่อว่ามุนี๑- @เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดข้อ ๑๔/๖๘-๗๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๑๘๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๗. ติสสเมตเตยยสุตตนิทเทส

คำว่า ในธรรมวินัยนี้ ได้แก่ ในทิฏฐินี้ ในความถูกใจนี้ ความพอใจนี้ ความ ยึดถือนี้ ธรรมนี้ วินัยนี้ ธรรมวินัยนี้ ปาพจน์นี้ พรหมจรรย์นี้ สัตถุศาสน์นี้ อัตภาพนี้ มนุษยโลกนี้ รวมความว่า มุนีรู้โทษนี้แล้ว ในคราวเป็นคฤหัสถ์ก่อนบวช ในธรรมวินัยนี้ คำว่า พึงทำการเที่ยวไปผู้เดียวให้มั่นคง อธิบายว่า พึงทำการเที่ยวไปผู้เดียว ให้มั่นคงด้วยเหตุ ๒ อย่าง คือ ๑. ด้วยการบวช ๒. ด้วยการละความคลุกคลีด้วยหมู่คณะ มุนีพึงทำการเที่ยวไปผู้เดียวให้มั่นคงด้วยการบวช เป็นอย่างไร คือ มุนีตัดความกังวลเรื่องการครองเรือน ตัดความกังวลเรื่องบุตรภรรยา ตัดความกังวลเรื่องญาติ ตัดความกังวลเรื่องมิตรและอำมาตย์ ตัดความกังวลเรื่อง การสะสมทั้งหมด โกนผมและหนวดแล้ว นุ่งห่มผ้ากาสาวะ ออกจากเรือนบวชเป็น บรรพชิต เข้าถึงความไม่กังวลแล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียว คือ อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไปผู้เดียว มุนี ชื่อว่าพึงทำการเที่ยวไปผู้เดียว ให้มั่นคงด้วยการบวช เป็นอย่างนี้ มุนีพึงทำการเที่ยวไปผู้เดียวให้มั่นคงด้วยการละความคลุกคลีด้วยหมู่คณะ เป็นอย่างไร คือ มุนีนั้น เมื่อเป็นนักบวชแล้วอย่างนี้ผู้เดียว พึงใช้สอยเสนาสนะที่เป็น ป่าละเมาะและป่าทึบอันสงัด มีเสียงน้อย มีเสียงอึกทึกน้อย ปราศจากการสัญจร ไปมาของผู้คน ควรเป็นสถานที่ทำการลับของมนุษย์ สมควรเป็นที่หลีกเร้น เธอเดิน รูปเดียว ยืนรูปเดียว นั่งรูปเดียว นอนรูปเดียว เข้าหมู่บ้านเพื่อบิณฑบาตรูปเดียว กลับมารูปเดียว นั่งในที่ลับรูปเดียว อธิษฐานจงกรมรูปเดียว พึงเที่ยวไปผู้เดียว คือ อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไปผู้เดียว มุนี ชื่อว่าพึง ทำการเที่ยวไปผู้เดียวให้มั่นคงด้วยการละความคลุกคลีด้วยหมู่คณะ เป็นอย่างนี้ คำว่า พึงทำการเที่ยวไปผู้เดียวให้มั่นคง ได้แก่ พึงทำการเที่ยวไปผู้เดียวให้ มั่นคง คือ พึงทำให้ยั่งยืน มีการสมาทานมั่นคง มีการสมาทานไม่คลอนแคลนใน กุศลธรรมทั้งหลาย รวมความว่า พึงทำการเที่ยวไปผู้เดียวให้มั่นคง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๑๙๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๗. ติสสเมตเตยยสุตตนิทเทส

คำว่า ไม่พึงเข้าไปเสพเมถุนธรรม อธิบายว่า ธรรมเนียมของอสัตบุรุษ คือ ธรรมเนียมของชาวบ้าน ... ชื่อว่าเมถุนธรรม เพราะเหตุนั้น จึงตรัสเรียกว่า เมถุนธรรม๑- มุนี ไม่พึงเสพ คือ ไม่พึงเสพเป็นนิจ ไม่พึงซ่องเสพ ไม่พึงเสพเฉพาะ ไม่พึงประพฤติ ไม่พึงประพฤติโดยเอื้อเฟื้อ ไม่พึงสมาทานประพฤติซึ่งเมถุนธรรม รวมความว่า ไม่พึงเข้าไปเสพเมถุนธรรม ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า มุนีรู้โทษนี้แล้ว ในคราวเป็นคฤหัสถ์ก่อนบวชในธรรมวินัยนี้ พึงทำการเที่ยวไปผู้เดียวให้มั่นคง ไม่พึงเข้าไปเสพเมถุนธรรม [๕๗] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) บุคคลพึงศึกษาวิเวกนั่นแหละ เพราะการประพฤติวิเวกนี้ เป็นกิจสูงสุดของพระอริยะทั้งหลาย ไม่พึงสำคัญตนว่า เราเป็นผู้ประเสริฐสุดด้วยการประพฤติวิเวกนั้น ผู้นั้นแล ชื่อว่าอยู่ใกล้นิพพาน คำว่า วิเวก ในคำว่า พึงศึกษาวิเวกนั่นแหละ ได้แก่ วิเวก ๓ อย่าง คือ ๑. กายวิเวก ๒. จิตตวิเวก ๓. อุปธิวิเวก กายวิเวก เป็นอย่างไร ... นี้ชื่อว่าอุปธิวิเวก๒- กายวิเวก ย่อมมีแก่บุคคลผู้มีกายหลีกออกแล้ว ยินดียิ่งในเนกขัมมะ จิตตวิเวก ย่อมมีแก่บุคคลผู้มีจิตบริสุทธิ์ ถึงความเป็นผู้ผ่องแผ้วยิ่ง และอุปธิวิเวกย่อมมีแก่ บุคคลผู้ปราศจากอุปธิ บรรลุนิพพานอันปราศจากปัจจัยปรุงแต่ง คำว่า ศึกษา ได้แก่ สิกขา ๓ คือ ๑. อธิสีลสิกขา ๒. อธิจิตตสิกขา ๓. อธิปัญญาสิกขา ... นี้ชื่อว่าอธิปัญญาสิกขา @เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดข้อ ๕๐/๑๗๒ @ ดูรายละเอียดข้อ ๗/๓๒-๓๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๑๙๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๗. ติสสเมตเตยยสุตตนิทเทส

คำว่า พึงศึกษาวิเวกนั่นแหละ ได้แก่ พึงศึกษา คือ พึงประพฤติเอื้อเฟื้อ ประพฤติเอื้อเฟื้อโดยชอบ สมาทานประพฤติวิเวกนั่นแหละ รวมความว่า พึงศึกษา วิเวกนั่นแหละ คำว่า เพราะการประพฤติวิเวกนี้ เป็นกิจสูงสุดของพระอริยะทั้งหลาย อธิบายว่า พระพุทธเจ้า พระพุทธสาวก และพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ตรัสเรียก ว่า พระอริยะ การประพฤติวิเวก เป็นกิจยอดเยี่ยม ประเสริฐ วิเศษ นำหน้า สูงสุด ประเสริฐสุด ของพระอริยะทั้งหลาย รวมความว่า เพราะการประพฤติวิเวกนี้ เป็นกิจสูงสุดของพระอริยะทั้งหลาย คำว่า ไม่พึงสำคัญตนว่า เราเป็นผู้ประเสริฐสุดด้วยการประพฤติวิเวกนั้น อธิบายว่า ไม่พึงทำการยกตน ไม่พึงทำการอวดตน ไม่พึงทำการถือตัว ไม่พึงทำ ความแข็งกร้าว ไม่พึงทำความกระด้าง ด้วยการประพฤติวิเวกนั้น คือ ไม่พึงให้เกิด ความถือตัว ไม่พึงทำความผูกพัน ด้วยการประพฤติวิเวกนั้น ได้แก่ ไม่ควรเป็นคน แข็งกระด้าง เป็นคนเย่อหยิ่ง เป็นคนหัวสูง ด้วยการประพฤติวิเวกนั้น รวมความว่า ไม่พึงสำคัญตนว่า เราเป็นผู้ประเสริฐสุดด้วยการประพฤติวิเวกนั้น คำว่า ผู้นั้นแล ชื่อว่าอยู่ใกล้นิพพาน อธิบายว่า ผู้นั้น อยู่ใกล้ คือ อยู่ใกล้ชิด อยู่ใกล้เคียง อยู่ไม่ไกล เข้าไปใกล้นิพพาน รวมความว่า ผู้นั้นแล ชื่อว่าอยู่ใกล้ นิพพาน ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า บุคคลพึงศึกษาวิเวกนั่นแหละ เพราะการประพฤติวิเวกนี้ เป็นกิจสูงสุดของพระอริยะทั้งหลาย ไม่พึงสำคัญตนว่า เราเป็นผู้ประเสริฐสุดด้วยการประพฤติวิเวกนั้น ผู้นั้นแล ชื่อว่าอยู่ใกล้นิพพาน [๕๘] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) หมู่สัตว์ผู้ติดใจในกามทั้งหลาย ย่อมยินดีมุนีผู้ว่าง ประพฤติอยู่ ไม่มุ่งหวังกามทั้งหลาย ผู้ข้ามโอฆะได้แล้ว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๑๙๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๗. ติสสเมตเตยยสุตตนิทเทส

คำว่า ผู้ว่าง ในคำว่า มุนีผู้ว่าง ประพฤติอยู่ อธิบายว่า ผู้ว่าง คือ สงัด เงียบ ได้แก่ ผู้ว่าง คือ สงัด เงียบจากกายทุจริต ... วจีทุจริต ... มโนทุจริต ... ราคะ .. โทสะ ... โมหะ ... โกธะ ... อุปนาหะ ... มักขะ ... ปฬาสะ ... อิสสา ... มัจฉริยะ ... มายา ... สาเถยยะ ... ถัมภะ ... สารัมภะ ... มานะ ... อติมานะ ...มทะ ... ปมาทะ ... กิเลสทุกชนิด ... ทุจริตทุกทาง... ความกระวนกระวายทุกอย่าง ... ความเร่าร้อน ทุกสถาน ... ความเดือดร้อนทุกประการ ผู้ว่าง คือ สงัด เงียบจากอกุสลาภิสังขาร ทุกประเภท๑- คำว่า มุนี อธิบายว่า ญาณ ท่านเรียกว่า โมนะ คือ ความรู้ทั่ว กิริยาที่รู้ชัด ... ผู้ก้าวล่วงกิเลสเครื่องข้องและตัณหาดุจตาข่ายได้แล้ว ชื่อว่ามุนี๒- คำว่า ประพฤติอยู่ ได้แก่ ประพฤติอยู่ คือ อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไป รวมความว่า มุนีผู้ว่าง ประพฤติอยู่ คำว่า ไม่มุ่งหวังกามทั้งหลาย อธิบายว่า คำว่า กาม ได้แก่ กาม ๒ อย่าง แบ่งตามหมวด คือ (๑) วัตถุกาม (๒) กิเลสกาม ... เหล่านี้เรียกว่า วัตถุกาม ... เหล่านี้เรียกว่า กิเลสกาม๓- มุนีกำหนดรู้วัตถุกาม ละ คือ ละเว้น บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่ มีอีกซึ่งกิเลสกาม ไม่มุ่งหวังในกามทั้งหลาย คือ เป็นผู้สละกามแล้ว คายกามแล้ว ปล่อยกามแล้ว ละกามแล้ว สลัดทิ้งกามแล้ว ได้แก่ เป็นผู้คลายความกำหนัดแล้ว สละราคะแล้ว คายราคะแล้ว ปล่อยราคะแล้ว ละราคะแล้ว สลัดทิ้งราคะแล้ว เป็นผู้ หมดความอยากแล้ว ดับแล้ว เย็นแล้ว มีตนอันประเสริฐเสวยสุขอยู่ รวมความว่า ไม่มุ่งหวังกามทั้งหลาย @เชิงอรรถ : @ ดูคำแปลจากข้อ ๕/๑๗ @ ดูรายละเอียดข้อ ๑๔/๖๘-๗๑ @ ดูรายละเอียดข้อ ๑/๑-๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๑๙๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๗. ติสสเมตเตยยสุตตนิทเทส

คำว่า หมู่สัตว์ ในคำว่า หมู่สัตว์ผู้ติดใจในกามทั้งหลาย ย่อมยินดี ... ผู้ข้ามโอฆะได้แล้ว เป็นชื่อเรียกสัตว์ หมู่สัตว์ผู้กำหนัด ยินดี ติดใจ คือ สยบ หมกมุ่น เกาะติด เกี่ยวพัน พัวพันในกามทั้งหลาย สัตว์เหล่านั้น ย่อมต้องการ ยินดี ปรารถนา มุ่งหมาย มุ่งหวัง มุนีผู้ข้าม คือ ผู้ข้ามขึ้น ข้ามพ้น ก้าวล่วง ก้าวพ้น ล่วงพ้นซึ่งกาโมฆะ ภโวฆะ ทิฏโฐฆะ อวิชโชฆะ ทางแห่งสงสารทั้งปวง ได้แล้ว ถึงฝั่ง บรรลุฝั่ง ถึงที่สุด บรรลุที่สุด ถึงส่วนสุด บรรลุส่วนสุด ถึงท้ายสุด บรรลุท้ายสุด ถึงที่ปกป้อง บรรลุที่ปกป้อง ถึงที่ป้องกัน บรรลุที่ป้องกัน ถึงที่ หลีกเร้น บรรลุที่หลีกเร้น ถึงที่พึ่ง บรรลุที่พึ่ง ถึงที่ไม่มีภัย บรรลุที่ไม่มีภัย ถึงที่ไม่จุติ บรรลุที่ไม่จุติ ถึงอมตธรรม บรรลุอมตธรรม ถึงนิพพาน บรรลุนิพพาน เปรียบเหมือนพวกลูกหนี้ ย่อมปรารถนา ยินดี ความเป็นผู้หมดหนี้ ฉันใด พวกที่ ป่วยไข้ ย่อมปรารถนา ยินดี ความเป็นผู้หายโรค ฉันใด พวกที่ติดอยู่ในเรือนจำ ย่อมปรารถนา ยินดี ความพ้นจากเรือนจำ ฉันใด พวกทาส ย่อมปรารถนา ยินดี ความเป็นไท ฉันใด พวกคนเดินทางกันดาร ย่อมปรารถนา ยินดี ภาคพื้นที่เกษม ฉันใด หมู่สัตว์ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้กำหนัด ยินดี ติดใจ คือ สยบ หมกมุ่น เกาะติด เกี่ยวพัน พัวพันในกามทั้งหลาย หมู่สัตว์เหล่านั้น ย่อมต้องการ ยินดี ปรารถนา มุ่งหมาย มุ่งหวัง มุนีผู้ข้าม คือ ผู้ข้ามขึ้น ข้ามพ้นกาโมฆะ ... ภโวฆะ ... ถึงนิพพาน บรรลุนิพพาน รวมความว่า หมู่สัตว์ผู้ติดใจในกามทั้งหลาย ย่อมยินดี ... ผู้ข้ามโอฆะได้แล้ว ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า หมู่สัตว์ผู้ติดใจในกามทั้งหลาย ย่อมยินดีมุนีผู้ว่าง ประพฤติอยู่ ไม่มุ่งหวังกามทั้งหลาย ผู้ข้ามโอฆะได้แล้ว
ติสสเมตเตยยสุตตนิทเทสที่ ๗ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๑๙๔}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๙ หน้าที่ ๑๘๔-๑๙๔. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=29&A=5486&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=29&siri=7              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4].              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=29&A=3084&Z=3567&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=29&i=224              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=29&item=224&items=44              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=29&item=224&items=44              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu29

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]