ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย มหานิทเทส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส

คำว่า วิสัตติกา อธิบายว่า ตัณหาชื่อว่าวิสัตติกา เพราะมีความหมายอย่างไร ตัณหาชื่อว่าวิสัตติกา เพราะซ่านไป ชื่อว่าวิสัตติกา เพราะแผ่ไป ชื่อว่าวิสัตติกา เพราะกระจายไป ชื่อว่าวิสัตติกา เพราะไม่สม่ำเสมอ ชื่อว่าวิสัตติกา เพราะครอบงำ ชื่อว่าวิสัตติกา เพราะสะท้อนไป ชื่อว่าวิสัตติกา เพราะเป็นตัวการให้พูดผิด ชื่อว่า วิสัตติกา เพราะมีรากเป็นพิษ ชื่อว่าวิสัตติกา เพราะมีผลเป็นพิษ ชื่อว่าวิสัตติกา เพราะเป็นตัวการให้บริโภคสิ่งมีพิษ อีกนัยหนึ่ง ตัณหานั้นซ่านไป แผ่ไป ขยายไปในรูป ... เสียง ... กลิ่น ... รส ... โผฏฐัพพะ ... ตระกูล ... หมู่คณะ ... อาวาส ... ซ่านไป แผ่ไป ขยายไปในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่รับรู้ และธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้ง รวมความว่า ตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกา คำว่า บุคคลนั้นข้ามตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกาได้แล้ว อธิบายว่า บุคคลนั้น ข้ามได้แล้ว คือ ข้ามไปได้แล้ว ข้ามพ้นแล้ว ก้าวล่วงแล้ว ล่วงเลยแล้วซึ่งตัณหา ที่ชื่อว่าวิสัตติกานี้ รวมความว่า บุคคลนั้นข้ามตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกาได้แล้ว ด้วย เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า เราเรียกบุคคลนั้น ผู้ไม่มุ่งหวังในกามทั้งหลายว่า เป็นผู้เข้าไปสงบ บุคคลนั้นไม่มีกิเลสเครื่องร้อยรัด ข้ามตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกาได้แล้ว [๙๓] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) บุคคลนั้นไม่มีบุตร สัตว์เลี้ยง นาไร่และที่ดิน ทิฏฐิว่ามีอัตตา หรือทิฏฐิว่าไม่มีอัตตา หาไม่ได้ในบุคคลนั้น
ว่าด้วยบุตรเป็นต้น
คำว่า ไม่ ในคำว่า บุคคลนั้น ไม่มีบุตร สัตว์เลี้ยง นาไร่และที่ดิน เป็นคำ ปฏิเสธ คำว่า บุคคลนั้น ได้แก่ พระอรหันตขีณาสพ คำว่า บุตร ได้แก่ บุตร ๔ จำพวก คือ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๘๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส

๑. บุตรเกิดจากตน ๒. บุตรเกิดในเขต ๓. บุตรที่เขาให้ ๔. บุตรที่อยู่ในสำนัก คำว่า สัตว์เลี้ยง ได้แก่ แพะ แกะ ไก่ สุกร ช้าง โค ม้า และลา คำว่า นาไร่ ได้แก่ นาข้าวสาลี นาข้าวเจ้า ไร่ถั่วเขียว ไร่ถั่วราชมาศ นาข้าวเหนียว นาข้าวละมาน ไร่งา คำว่า ที่ดิน ได้แก่ ที่ปลูกเรือน ที่สร้างยุ้งฉาง ที่หน้าเรือน ที่หลังเรือน ที่สวน ที่อยู่ คำว่า บุคคลนั้น ไม่มีบุตร สัตว์เลี้ยง นาไร่และที่ดิน อธิบายว่า บุคคลนั้น ไม่มี คือ ไม่มีอยู่ ไม่ปรากฏ หาไม่ได้ซึ่งความยึดถือว่ามีบุตร ความยึดถือว่า มีสัตว์เลี้ยง ความยึดถือว่ามีนาไร่ ความยึดถือว่ามีที่ดิน คือ ความยึดถือว่า มีบุตรเป็นต้น เขาละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว รวมความว่า บุคคลนั้น ไม่มีบุตร สัตว์เลี้ยง นาไร่และที่ดิน
ว่าด้วยทิฏฐิ
คำว่า ทิฏฐิว่ามีอัตตา ในคำว่า ทิฏฐิว่ามีอัตตา หรือทิฏฐิว่าไม่มีอัตตา หาไม่ได้ในบุคคลนั้น ได้แก่ ไม่มีสัสสตทิฏฐิ คำว่า ทิฏฐิว่าไม่มีอัตตา ได้แก่ ไม่มีอุจเฉททิฏฐิ คำว่า ทิฏฐิว่ามีอัตตา ได้แก่ ไม่มีสิ่งที่ยึดถือ คำว่า ทิฏฐิว่าไม่มีอัตตา ได้แก่ ไม่มีสิ่งที่พึงปล่อยวาง อธิบายว่า สิ่งที่ยึดถือ ไม่มีแก่บุคคลใด สิ่งที่พึงปล่อยวางก็ไม่มีแก่บุคคลนั้น สิ่งที่พึงปล่อยวางไม่มีแก่ บุคคลใด สิ่งที่ยึดถือก็ไม่มีแก่บุคคลนั้น บุคคลนั้นผู้เป็นพระอรหันต์ ก้าวพ้นการ ยึดถือ และการปล่อยวางแล้ว ล่วงพ้นความเจริญและความเสื่อมแล้ว บุคคลนั้น อยู่ใน(อริยวาสธรรม)แล้ว ประพฤติจรณธรรมแล้ว ... บุคคลนั้น ไม่มีการเวียนเกิด เวียนตาย และภพใหม่ก็ไม่มีอีก รวมความว่า ทิฏฐิว่ามีอัตตา หรือทิฏฐิว่าไม่มีอัตตา หาไม่ได้ในบุคคลนั้น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า บุคคลนั้น ไม่มีบุตร สัตว์เลี้ยง นาไร่และที่ดิน ทิฏฐิว่ามีอัตตา หรือทิฏฐิว่าไม่มีอัตตา หาไม่ได้ในบุคคลนั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๘๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส

[๙๔] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) เหล่าปุถุชนหรือสมณพราหมณ์ พึงกล่าวหาบุคคลนั้นด้วยโทษใด โทษนั้นไม่เชิดชูบุคคลนั้นเลย เพราะฉะนั้น บุคคลนั้นจึงไม่หวั่นไหวในเพราะวาทะทั้งหลาย คำว่า เหล่าปุถุชน ในคำว่า เหล่าปุถุชนหรือสมณพราหมณ์พึงกล่าวหา บุคคลนั้นด้วยโทษใด อธิบายว่า ชื่อว่าปุถุชน เพราะมีความหมายว่าอย่างไร ชื่อว่าปุถุชน เพราะให้กิเลสหยาบเกิดขึ้น ชื่อว่าปุถุชน เพราะมีสักกายทิฏฐิ อันหนาแน่นยังละไม่ได้ ชื่อว่าปุถุชน เพราะปฏิญญาต่อหน้าศาสดาหลายองค์ ชื่อว่าปุถุชน เพราะถูกคติทุกอย่างร้อยรัดไว้มาก ชื่อว่าปุถุชน เพราะปรุงแต่ง อภิสังขารต่างๆ เป็นอันมาก ชื่อว่าปุถุชน เพราะถูกโอฆะกิเลสต่างๆ เป็นอันมาก พัดพาไป ชื่อว่าปุถุชน เพราะเดือดร้อนด้วยความเดือดร้อนต่างๆ เป็นอันมาก ชื่อว่าปุถุชน เพราะถูกความเร่าร้อนต่างๆ เป็นอันมากแผดเผา ชื่อว่าปุถุชน เพราะ กำหนัด ยินดี ติดใจ สยบ หมกมุ่น เกาะติด เกี่ยวพัน พัวพันในกามคุณ ๕ เป็น อันมาก ชื่อว่าปุถุชน เพราะถูกนิวรณ์ ๕ เป็นอันมาก หุ้มห่อ โอบล้อม ห้อมล้อม ครอบคลุม ปกคลุม บดบัง คำว่า สมณะ ได้แก่ คนพวกหนึ่ง เป็นผู้เข้าถึง สมบูรณ์ด้วยการบวชภายนอก ศาสนานี้ คำว่า พราหมณ์ ได้แก่ คนพวกหนึ่ง ผู้อ้างตัวว่าเป็นผู้เจริญ คำว่า เหล่าปุถุชน หรือสมณพราหมณ์พึงกล่าวหาบุคคลนั้นด้วยโทษใด อธิบายว่า เหล่าปุถุชน พึงกล่าวหาบุคคลนั้นด้วยราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ อุทธัจจะ วิจิกิจฉา อนุสัย ใดๆ ว่า “เป็นผู้กำหนัด เป็นผู้ขัดเคือง เป็นผู้หลง เป็นผู้ ยึดติด เป็นผู้ยึดมั่น เป็นผู้ฟุ้งซ่าน เป็นผู้ลังเล หรือเป็นผู้ตกอยู่ในพลังกิเลส” บุคคลนั้นละอภิสังขารเหล่านั้นได้แล้ว เพราะละอภิสังขารได้แล้ว เหล่าปุถุชน พึงกล่าวหาบุคคลนั้นโดยคติใดว่า “เป็นผู้เกิดในนรก เป็นผู้เกิดในกำเนิดเดรัจฉาน เป็นผู้เกิดในเปตวิสัย เป็นมนุษย์ เป็นเทพ เป็นผู้มีรูป เป็นผู้ไม่มีรูป เป็นผู้มีสัญญา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๙๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส

เป็นผู้ไม่มีสัญญา หรือเป็นผู้มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่” บุคคลนั้นไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย ไม่มีการณ์ ที่จะให้ปุถุชนเป็นต้นกล่าวหา พูดถึง เอ่ยถึง แสดงถึง ชี้แจง ถึงได้เลย รวมความว่า เหล่าปุถุชนหรือสมณพราหมณ์พึงกล่าวหาบุคคลนั้นด้วย โทษใด
ว่าด้วยการเชิดชู ๒ อย่าง
คำว่า บุคคลนั้น ในคำว่า โทษนั้นไม่เชิดชูบุคคลนั้นเลย ได้แก่ พระอรหันตขีณาสพ คำว่า เชิดชู อธิบายว่า การเชิดชู ๒ อย่าง คือ ๑. การเชิดชูด้วยอำนาจตัณหา ๒. การเชิดชูด้วยอำนาจทิฏฐิ ... นี้ชื่อว่าการเชิดชูด้วยอำนาจตัณหา ... นี้ชื่อว่าการเชิดชูด้วยอำนาจทิฏฐิ๑- บุคคลนั้นละการเชิดชูด้วยอำนาจตัณหาได้แล้ว สลัดทิ้งการเชิดชูด้วยอำนาจ ทิฏฐิได้แล้ว เพราะเป็นผู้ละการเชิดชูด้วยอำนาจตัณหา สลัดทิ้งการเชิดชูด้วยอำนาจ ทิฏฐิได้แล้ว บุคคลนั้นจึงไม่เที่ยวเชิดชูตัณหาหรือทิฏฐิไว้ คือ ไม่มีตัณหาเป็นธงชัย ไม่มีตัณหาเป็นยอดธง ไม่มีตัณหาเป็นใหญ่ ไม่มีทิฏฐิเป็นธงชัย ไม่มีทิฏฐิเป็นยอดธง ไม่มีทิฏฐิเป็นใหญ่ ไม่ได้ถูกตัณหาหรือทิฏฐิครอบงำเที่ยวไป รวมความว่า โทษนั้น ไม่เชิดชูบุคคลนั้นเลย คำว่า เพราะฉะนั้น ในคำว่า เพราะฉะนั้น บุคคลจึงไม่หวั่นไหวในเพราะ วาทะทั้งหลาย อธิบายว่า เพราะฉะนั้น คือ เพราะการณ์นั้น เพราะเหตุนั้น เพราะปัจจัยนั้น เพราะต้นเหตุนั้น บุคคลนั้นย่อมไม่หวั่นไหว คือ ไม่โยก ไม่โคลง ไม่กระเพื่อม ไม่สั่น ไม่สะท้าน ไม่สะเทือน ในเพราะวาทะ คือ ในเพราะการว่าร้าย นินทา ติเตียน ไม่สรรเสริญ ไม่ยกย่องความดี รวมความว่า เพราะฉะนั้น บุคคลนั้น จึงไม่หวั่นไหวในเพราะวาทะทั้งหลาย ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า เหล่าปุถุชนหรือสมณพราหมณ์ พึงกล่าวหาบุคคลนั้นด้วยโทษใด โทษนั้นไม่เชิดชูบุคคลนั้นเลย เพราะฉะนั้น บุคคลนั้นจึงไม่หวั่นไหวในเพราะวาทะทั้งหลาย @เชิงอรรถ : @ เทียบกับความในข้อ ๑๒/๕๘-๕๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๙๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส

[๙๕] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) บุคคลผู้เป็นมุนี เป็นผู้คลายความยินดี ไม่ตระหนี่ ย่อมไม่กล่าวในเรื่องเลิศกว่าเขา ไม่กล่าวในเรื่องเสมอเขา ไม่กล่าวในเรื่องด้อยกว่าเขา เป็นผู้ไม่มีความกำหนด ย่อมไม่ถึงความกำหนด คำว่า เป็นผู้คลายความยินดี ไม่ตระหนี่ อธิบายว่า ตัณหา ตรัสเรียกว่า ความยินดี คือ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ... อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ ความยินดีนั้น บุคคลใดละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว บุคคลนั้นตรัสเรียกว่า ผู้คลายความ ยินดี คือ ผู้นั้นไม่ยินดี ไม่ติดใจ ไม่สยบ ไม่หมกมุ่นในรูป ... ในรูปที่เห็น เสียงที่ ได้ยิน กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่รับรู้ และธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้ง ได้แก่ เป็นผู้คลาย ความยินดีแล้ว คือ ปราศจากความยินดีแล้ว สละความยินดีแล้ว คายความ ยินดีแล้ว ปล่อยความยินดี ละความยินดีแล้ว สลัดทิ้งความยินดีแล้ว เป็นผู้หมด ความอยากแล้ว เป็นผู้ดับแล้ว เป็นผู้เย็นแล้ว มีตนอันประเสริฐเสวยสุขอยู่ รวม ความว่า เป็นผู้คลายความยินดี คำว่า ไม่ตระหนี่ อธิบายว่า คำว่า ความตระหนี่ ได้แก่ มัจฉริยะ ๕ อย่าง คือ ๑. อาวาสมัจฉริยะ ๒. กุลมัจฉริยะ ๓. ลาภมัจฉริยะ ๔. วัณณมัจฉริยะ ๕. ธัมมมัจฉริยะ ความตระหนี่ ... ความมุ่งแต่จะได้เห็นปานนี้ นี้ตรัสเรียกว่า ความตระหนี่ ความตระหนี่นั้นบุคคลใดละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว บุคคลนั้นตรัสเรียกว่า ผู้ไม่ตระหนี่ รวมความว่า เป็นผู้คลายความยินดี ไม่ตระหนี่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๙๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส

คำว่า มุนี ในคำว่า บุคคลผู้เป็นมุนี ... ย่อมไม่กล่าวในเรื่องเลิศกว่าเขา ไม่กล่าวในเรื่องเสมอเขา ไม่กล่าวในเรื่องด้อยกว่าเขา อธิบายว่า ญาณ ท่าน เรียกว่า โมนะ ... ผู้ก้าวล่วงกิเลสเป็นเครื่องข้องและตัณหาดุจตาข่ายได้แล้ว ชื่อว่ามุนี๑- บุคคลผู้เป็นมุนีย่อมไม่กล่าว คือ ไม่พูด ไม่บอก ไม่แสดง ไม่ชี้แจงว่า “เราเลิศ กว่าเขา เราเสมอเขา หรือเราด้อยกว่าเขา” รวมความว่า บุคคลผู้เป็นมุนี ... ย่อมไม่ กล่าวในเรื่องเลิศกว่าเขา ไม่กล่าวในเรื่องเสมอเขา ไม่กล่าวในเรื่องด้อยกว่าเขา
ว่าด้วยการกำหนด ๒ อย่าง
คำว่า เป็นผู้ไม่มีความกำหนด ย่อมไม่ถึงความกำหนด อธิบายว่า คำว่า ความกำหนด ได้แก่ ความกำหนด ๒ อย่าง คือ ๑. ความกำหนดด้วยอำนาจตัณหา ๒. ความกำหนดด้วยอำนาจทิฏฐิ ... นี้ชื่อว่าความกำหนดด้วยอำนาจตัณหา ... นี้ชื่อว่าความกำหนดด้วยอำนาจทิฏฐิ๒- บุคคลนั้นละความกำหนดด้วยอำนาจตัณหาได้แล้ว สลัดทิ้งความกำหนัดด้วย อำนาจทิฏฐิได้แล้ว เพราะเป็นผู้ละความกำหนดด้วยอำนาจตัณหา สลัดทิ้งความ กำหนัดด้วยอำนาจทิฏฐิได้แล้ว จึงไม่ถึง คือ ไม่เข้าถึง ไม่เข้าไปถึง ไม่ถือ ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่นความกำหนดด้วยอำนาจตัณหา หรือความกำหนดด้วยอำนาจทิฏฐิ รวม ความว่า ย่อมไม่ถึงความกำหนด คำว่า เป็นผู้ไม่มีความกำหนด อธิบายว่า คำว่า ความกำหนด ได้แก่ ความกำหนด ๒ อย่าง คือ ๑. ความกำหนดด้วยอำนาจตัณหา ๒. ความกำหนดด้วยอำนาจทิฏฐิ ... นี้ชื่อว่าความกำหนดด้วยอำนาจตัณหา ... นี้ชื่อว่าความกำหนดด้วยอำนาจทิฏฐิ๓- @เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดข้อ ๑๔/๖๘-๗๑ @ เทียบกับความในข้อ ๑๒/๕๘-๕๙ @ เทียบกับความในข้อ ๑๒/๕๘-๕๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๙๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส

บุคคลนั้นละความกำหนดด้วยอำนาจตัณหาได้แล้ว สลัดทิ้งความกำหนดด้วย อำนาจทิฏฐิได้แล้ว เพราะเป็นผู้ละความกำหนดด้วยอำนาจตัณหา สลัดทิ้งความ กำหนดด้วยอำนาจทิฏฐิได้แล้ว จึงไม่กำหนด คือ ไม่ให้เกิด ไม่ให้เกิดขึ้น ไม่ให้ บังเกิด ไม่ให้บังเกิดขึ้นซึ่งความกำหนดด้วยอำนาจตัณหาหรือความกำหนดด้วย อำนาจทิฏฐิ รวมความว่า เป็นผู้ไม่มีความกำหนด ย่อมไม่ถึงความกำหนด ด้วย เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า บุคคลผู้เป็นมุนี เป็นผู้คลายความยินดี ไม่ตระหนี่ ย่อมไม่กล่าวในเรื่องเลิศกว่าเขา ไม่กล่าวในเรื่องเสมอเขา ไม่กล่าวในเรื่องด้อยกว่าเขา เป็นผู้ไม่มีความกำหนด ย่อมไม่ถึงความกำหนด [๙๖] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) บุคคลใดไม่มีความถือว่าเป็นของตนในโลก เมื่อไม่มีความถือว่าเป็นของตน ย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ถึงความลำเอียงในธรรมทั้งหลาย บุคคลนั้นแล เรียกว่า ผู้สงบ
ว่าด้วยผู้ไม่มีความถือว่าเป็นของตน
คำว่า บุคคลใด ในคำว่า บุคคลใด ไม่มีความถือว่าเป็นของตน ได้แก่ พระอรหันตขีณาสพ คำว่า ไม่มีความถือว่าเป็นของตนในโลก อธิบายว่า บุคคลใดไม่มีความถือ ความยึดมั่น ความถือมั่น ความติดใจ ความน้อมใจถึงรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณไรๆ ว่า นี้ของเรา หรือ สิ่งนี้ของผู้อื่น ความถือว่าเป็นของตน บุคคลนั้นละ ได้แล้ว ... เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว รวมความว่า บุคคลใด ไม่มีความถือว่าเป็นของ ตนในโลก {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๙๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส

ว่าด้วยผู้ไม่เศร้าโศก
คำว่า เมื่อไม่มีความถือว่าเป็นของตน ย่อมไม่เศร้าโศก อธิบายว่า ไม่เศร้า โศกถึงวัตถุที่แปรผันไป หรือเมื่อวัตถุแปรผันไปแล้วก็ไม่เศร้าโศก ย่อมไม่เศร้าโศก คือ ไม่ลำบาก ไม่คร่ำครวญ ไม่ตีอกพร่ำเพ้อ ไม่ถึงความหลงใหลว่า “ตาของเราแปรผันไป ... หูของเรา ... จมูกของเรา .... ลิ้นของเรา ... กายของเรา ... ใจของเรา ... รูปของเรา ... เสียงของเรา ... กลิ่นของเรา ... รสของเรา ... โผฏฐัพพะ ของเรา ... ตระกูลของเรา ... หมู่คณะของเรา ... อาวาสของเรา ... ลาภของเรา ... ยศของเรา ... สรรเสริญของเรา ... สุขของเรา ... จีวรของเรา ... บิณฑบาตของเรา ... เสนาสนะของเรา ...คิลานปัจจัยเภสัชบริขารของเรา ... มารดาของเรา ... บิดาของเรา ... พี่ชายน้องชายของเรา ... พี่สาวน้องสาวของเรา ... บุตรของเรา ... ธิดาของเรา ... มิตรและอำมาตย์ของเรา ... ญาติของเรา ... ย่อมไม่เศร้าโศก คือ ไม่ลำบากใจ ไม่คร่ำครวญ ไม่ตีอกพร่ำเพ้อ ไม่ถึงความหลงใหลว่า “ผู้ร่วมสายโลหิตของเรา แปรผันไป” รวมความว่า เมื่อไม่มีความถือว่าเป็นของตน ย่อมไม่เศร้าโศก อย่างนี้บ้าง อีกนัยหนึ่ง บุคคลใดถูกความไม่ยินดี คือ ทุกขเวทนากระทบ ครอบงำ กลุ้มรุม ประกอบ ย่อมไม่เศร้าโศก คือ ไม่ลำบาก ไม่คร่ำครวญ ไม่ตีอกพร่ำเพ้อ ไม่ถึงความหลงใหล ได้แก่ ถูกโรคทางตากระทบ ครอบงำ กลุ้มรุม ประกอบ ย่อม ไม่เศร้าโศก คือ ไม่ลำบาก ไม่คร่ำครวญ ไม่ตีอกพร่ำเพ้อ ไม่ถึงความหลงใหล ถูกโรคทางหู .... โรคทางจมูก ... โรคทางลิ้น ... โรคทางกาย ... โรคศีรษะ ... โรคหู ... โรคปาก ... โรคฟัน ... โรคไอ ... โรคหืด ... ไข้หวัด ... ไข้พิษ ... ไข้เชื่อมซึม ... โรคท้อง ... เป็นลมสลบ ... ลงแดง ... จุกเสียด ... อหิวาตกโรค ... โรคเรื้อน ... ฝี ... กลาก ... มองคร่อ ... ลมบ้าหมู ... หิดเปื่อย ... หิดด้าน ... หิด ... หูด ... โรคละลอก ... โรค ดีซ่าน ... โรคเบาหวาน ... โรคเริม ... โรคพุพอง ... โรคริดสีดวงทวาร ... ความเจ็บป่วย ที่เกิดจากดี ... ความเจ็บป่วยที่เกิดจากเสมหะ ... ความเจ็บป่วยที่เกิดจากลม ... ไข้ สันนิบาต ... ความเจ็บป่วยที่เกิดจากการเปลี่ยนฤดูกาล ... ความเจ็บป่วยที่เกิดจาก การผลัดเปลี่ยนอริยาบถไม่ได้ส่วนกัน ... ความเจ็บป่วยที่เกิดจากความพากเพียร เกินกำลัง ... ความเจ็บป่วยที่เกิดจากผลกรรม ... ความหนาว ... ความร้อน ... ความหิว ... ความกระหาย ... ปวดอุจจาระ ... ปวดปัสสาวะ ... ทุกข์ที่เกิดจาก สัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลานกระทบ ครอบงำ กลุ้มรุม ประกอบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๙๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส

ย่อมไม่เศร้าโศก คือ ไม่ลำบากใจ ไม่คร่ำครวญ ไม่ตีอกพร่ำเพ้อ ไม่ถึงความหลงใหล รวมความว่า เมื่อไม่มีความถือว่าเป็นของตน ย่อมไม่เศร้าโศก อย่างนี้บ้าง อีกนัยหนึ่ง เมื่อความถือว่าเป็นของตนไม่มีอยู่ ไม่ปรากฏ หาไม่ได้ ย่อมไม่ เศร้าโศก คือ ไม่ลำบากใจ ไม่ตีอกพร่ำเพ้อ ไม่ถึงความหลงใหลว่า “โอ เราไม่มีสิ่ง นั้นหนอ เราพึงมีสิ่งนั้นหนอ และเราไม่ได้สิ่งนั้นหนอ” รวมความว่า เมื่อไม่มีความ ถือว่าเป็นของตน ก็ย่อมไม่เศร้าโศก อย่างนี้บ้าง
ว่าด้วยผู้ไม่ลำเอียง
คำว่า ไม่ถึงความลำเอียงในธรรมทั้งหลาย อธิบายว่า ไม่ถึงฉันทาคติ ไม่ถึงโทสาคติ ไม่ถึงโมหาคติ ไม่ถึงภยาคติ คือ ไม่ดำเนินไปตามอำนาจราคะ ไม่ดำเนินไปตามอำนาจโทสะ ไม่ดำเนินไปตามอำนาจโมหะ ไม่ดำเนินไปตามอำนาจ มานะ ไม่ดำเนินไปตามอำนาจทิฏฐิ ไม่ดำเนินไปตามอำนาจอุทธัจจะ ไม่ดำเนินไป ตามอำนาจวิจิกิจฉา ไม่ดำเนินไปตามอำนาจอนุสัย ได้แก่ ไม่ไป ไม่ออกไป ไม่ถูก พาไป ไม่ถูกนำไป ด้วยธรรมที่ก่อความเป็นฝักเป็นฝ่าย รวมความว่า ไม่ถึงความ ลำเอียงในธรรมทั้งหลาย
ว่าด้วยผู้สงบ
คำว่า บุคคลนั้นแล เรียกว่า ผู้สงบ อธิบายว่า บุคคลนั้น เรียก คือ กล่าว พูด บอก แสดง ชี้แจงว่าผู้สงบ คือ เข้าไปสงบ สงบเย็น ดับ สงัด รวมความว่า ผู้นั้นแล เรียกว่า ผู้สงบ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า บุคคลใดไม่มีความถือว่าเป็นของตนในโลก เมื่อไม่มีความถือว่าเป็นของตน ย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ถึงความลำเอียงในธรรมทั้งหลาย บุคคลนั้นแล เรียกว่า ผู้สงบ
ปุราเภทสุตตนิทเทสที่ ๑๐ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๙๖}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๙ หน้าที่ ๒๘๘-๒๙๖. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=29&A=8594&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=29&siri=10              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4].              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=29&A=4612&Z=5616&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=29&i=374              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=29&item=374&items=68              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=29&item=374&items=68              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu29

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]