ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย มหานิทเทส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส

คำว่า มุนี ในคำว่า บุคคลผู้เป็นมุนี ... ย่อมไม่กล่าวในเรื่องเลิศกว่าเขา ไม่กล่าวในเรื่องเสมอเขา ไม่กล่าวในเรื่องด้อยกว่าเขา อธิบายว่า ญาณ ท่าน เรียกว่า โมนะ ... ผู้ก้าวล่วงกิเลสเป็นเครื่องข้องและตัณหาดุจตาข่ายได้แล้ว ชื่อว่ามุนี๑- บุคคลผู้เป็นมุนีย่อมไม่กล่าว คือ ไม่พูด ไม่บอก ไม่แสดง ไม่ชี้แจงว่า “เราเลิศ กว่าเขา เราเสมอเขา หรือเราด้อยกว่าเขา” รวมความว่า บุคคลผู้เป็นมุนี ... ย่อมไม่ กล่าวในเรื่องเลิศกว่าเขา ไม่กล่าวในเรื่องเสมอเขา ไม่กล่าวในเรื่องด้อยกว่าเขา
ว่าด้วยการกำหนด ๒ อย่าง
คำว่า เป็นผู้ไม่มีความกำหนด ย่อมไม่ถึงความกำหนด อธิบายว่า คำว่า ความกำหนด ได้แก่ ความกำหนด ๒ อย่าง คือ ๑. ความกำหนดด้วยอำนาจตัณหา ๒. ความกำหนดด้วยอำนาจทิฏฐิ ... นี้ชื่อว่าความกำหนดด้วยอำนาจตัณหา ... นี้ชื่อว่าความกำหนดด้วยอำนาจทิฏฐิ๒- บุคคลนั้นละความกำหนดด้วยอำนาจตัณหาได้แล้ว สลัดทิ้งความกำหนัดด้วย อำนาจทิฏฐิได้แล้ว เพราะเป็นผู้ละความกำหนดด้วยอำนาจตัณหา สลัดทิ้งความ กำหนัดด้วยอำนาจทิฏฐิได้แล้ว จึงไม่ถึง คือ ไม่เข้าถึง ไม่เข้าไปถึง ไม่ถือ ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่นความกำหนดด้วยอำนาจตัณหา หรือความกำหนดด้วยอำนาจทิฏฐิ รวม ความว่า ย่อมไม่ถึงความกำหนด คำว่า เป็นผู้ไม่มีความกำหนด อธิบายว่า คำว่า ความกำหนด ได้แก่ ความกำหนด ๒ อย่าง คือ ๑. ความกำหนดด้วยอำนาจตัณหา ๒. ความกำหนดด้วยอำนาจทิฏฐิ ... นี้ชื่อว่าความกำหนดด้วยอำนาจตัณหา ... นี้ชื่อว่าความกำหนดด้วยอำนาจทิฏฐิ๓- @เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดข้อ ๑๔/๖๘-๗๑ @ เทียบกับความในข้อ ๑๒/๕๘-๕๙ @ เทียบกับความในข้อ ๑๒/๕๘-๕๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๙๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส

บุคคลนั้นละความกำหนดด้วยอำนาจตัณหาได้แล้ว สลัดทิ้งความกำหนดด้วย อำนาจทิฏฐิได้แล้ว เพราะเป็นผู้ละความกำหนดด้วยอำนาจตัณหา สลัดทิ้งความ กำหนดด้วยอำนาจทิฏฐิได้แล้ว จึงไม่กำหนด คือ ไม่ให้เกิด ไม่ให้เกิดขึ้น ไม่ให้ บังเกิด ไม่ให้บังเกิดขึ้นซึ่งความกำหนดด้วยอำนาจตัณหาหรือความกำหนดด้วย อำนาจทิฏฐิ รวมความว่า เป็นผู้ไม่มีความกำหนด ย่อมไม่ถึงความกำหนด ด้วย เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า บุคคลผู้เป็นมุนี เป็นผู้คลายความยินดี ไม่ตระหนี่ ย่อมไม่กล่าวในเรื่องเลิศกว่าเขา ไม่กล่าวในเรื่องเสมอเขา ไม่กล่าวในเรื่องด้อยกว่าเขา เป็นผู้ไม่มีความกำหนด ย่อมไม่ถึงความกำหนด [๙๖] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) บุคคลใดไม่มีความถือว่าเป็นของตนในโลก เมื่อไม่มีความถือว่าเป็นของตน ย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ถึงความลำเอียงในธรรมทั้งหลาย บุคคลนั้นแล เรียกว่า ผู้สงบ
ว่าด้วยผู้ไม่มีความถือว่าเป็นของตน
คำว่า บุคคลใด ในคำว่า บุคคลใด ไม่มีความถือว่าเป็นของตน ได้แก่ พระอรหันตขีณาสพ คำว่า ไม่มีความถือว่าเป็นของตนในโลก อธิบายว่า บุคคลใดไม่มีความถือ ความยึดมั่น ความถือมั่น ความติดใจ ความน้อมใจถึงรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณไรๆ ว่า นี้ของเรา หรือ สิ่งนี้ของผู้อื่น ความถือว่าเป็นของตน บุคคลนั้นละ ได้แล้ว ... เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว รวมความว่า บุคคลใด ไม่มีความถือว่าเป็นของ ตนในโลก {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๙๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส

ว่าด้วยผู้ไม่เศร้าโศก
คำว่า เมื่อไม่มีความถือว่าเป็นของตน ย่อมไม่เศร้าโศก อธิบายว่า ไม่เศร้า โศกถึงวัตถุที่แปรผันไป หรือเมื่อวัตถุแปรผันไปแล้วก็ไม่เศร้าโศก ย่อมไม่เศร้าโศก คือ ไม่ลำบาก ไม่คร่ำครวญ ไม่ตีอกพร่ำเพ้อ ไม่ถึงความหลงใหลว่า “ตาของเราแปรผันไป ... หูของเรา ... จมูกของเรา .... ลิ้นของเรา ... กายของเรา ... ใจของเรา ... รูปของเรา ... เสียงของเรา ... กลิ่นของเรา ... รสของเรา ... โผฏฐัพพะ ของเรา ... ตระกูลของเรา ... หมู่คณะของเรา ... อาวาสของเรา ... ลาภของเรา ... ยศของเรา ... สรรเสริญของเรา ... สุขของเรา ... จีวรของเรา ... บิณฑบาตของเรา ... เสนาสนะของเรา ...คิลานปัจจัยเภสัชบริขารของเรา ... มารดาของเรา ... บิดาของเรา ... พี่ชายน้องชายของเรา ... พี่สาวน้องสาวของเรา ... บุตรของเรา ... ธิดาของเรา ... มิตรและอำมาตย์ของเรา ... ญาติของเรา ... ย่อมไม่เศร้าโศก คือ ไม่ลำบากใจ ไม่คร่ำครวญ ไม่ตีอกพร่ำเพ้อ ไม่ถึงความหลงใหลว่า “ผู้ร่วมสายโลหิตของเรา แปรผันไป” รวมความว่า เมื่อไม่มีความถือว่าเป็นของตน ย่อมไม่เศร้าโศก อย่างนี้บ้าง อีกนัยหนึ่ง บุคคลใดถูกความไม่ยินดี คือ ทุกขเวทนากระทบ ครอบงำ กลุ้มรุม ประกอบ ย่อมไม่เศร้าโศก คือ ไม่ลำบาก ไม่คร่ำครวญ ไม่ตีอกพร่ำเพ้อ ไม่ถึงความหลงใหล ได้แก่ ถูกโรคทางตากระทบ ครอบงำ กลุ้มรุม ประกอบ ย่อม ไม่เศร้าโศก คือ ไม่ลำบาก ไม่คร่ำครวญ ไม่ตีอกพร่ำเพ้อ ไม่ถึงความหลงใหล ถูกโรคทางหู .... โรคทางจมูก ... โรคทางลิ้น ... โรคทางกาย ... โรคศีรษะ ... โรคหู ... โรคปาก ... โรคฟัน ... โรคไอ ... โรคหืด ... ไข้หวัด ... ไข้พิษ ... ไข้เชื่อมซึม ... โรคท้อง ... เป็นลมสลบ ... ลงแดง ... จุกเสียด ... อหิวาตกโรค ... โรคเรื้อน ... ฝี ... กลาก ... มองคร่อ ... ลมบ้าหมู ... หิดเปื่อย ... หิดด้าน ... หิด ... หูด ... โรคละลอก ... โรค ดีซ่าน ... โรคเบาหวาน ... โรคเริม ... โรคพุพอง ... โรคริดสีดวงทวาร ... ความเจ็บป่วย ที่เกิดจากดี ... ความเจ็บป่วยที่เกิดจากเสมหะ ... ความเจ็บป่วยที่เกิดจากลม ... ไข้ สันนิบาต ... ความเจ็บป่วยที่เกิดจากการเปลี่ยนฤดูกาล ... ความเจ็บป่วยที่เกิดจาก การผลัดเปลี่ยนอริยาบถไม่ได้ส่วนกัน ... ความเจ็บป่วยที่เกิดจากความพากเพียร เกินกำลัง ... ความเจ็บป่วยที่เกิดจากผลกรรม ... ความหนาว ... ความร้อน ... ความหิว ... ความกระหาย ... ปวดอุจจาระ ... ปวดปัสสาวะ ... ทุกข์ที่เกิดจาก สัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลานกระทบ ครอบงำ กลุ้มรุม ประกอบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๙๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส

ย่อมไม่เศร้าโศก คือ ไม่ลำบากใจ ไม่คร่ำครวญ ไม่ตีอกพร่ำเพ้อ ไม่ถึงความหลงใหล รวมความว่า เมื่อไม่มีความถือว่าเป็นของตน ย่อมไม่เศร้าโศก อย่างนี้บ้าง อีกนัยหนึ่ง เมื่อความถือว่าเป็นของตนไม่มีอยู่ ไม่ปรากฏ หาไม่ได้ ย่อมไม่ เศร้าโศก คือ ไม่ลำบากใจ ไม่ตีอกพร่ำเพ้อ ไม่ถึงความหลงใหลว่า “โอ เราไม่มีสิ่ง นั้นหนอ เราพึงมีสิ่งนั้นหนอ และเราไม่ได้สิ่งนั้นหนอ” รวมความว่า เมื่อไม่มีความ ถือว่าเป็นของตน ก็ย่อมไม่เศร้าโศก อย่างนี้บ้าง
ว่าด้วยผู้ไม่ลำเอียง
คำว่า ไม่ถึงความลำเอียงในธรรมทั้งหลาย อธิบายว่า ไม่ถึงฉันทาคติ ไม่ถึงโทสาคติ ไม่ถึงโมหาคติ ไม่ถึงภยาคติ คือ ไม่ดำเนินไปตามอำนาจราคะ ไม่ดำเนินไปตามอำนาจโทสะ ไม่ดำเนินไปตามอำนาจโมหะ ไม่ดำเนินไปตามอำนาจ มานะ ไม่ดำเนินไปตามอำนาจทิฏฐิ ไม่ดำเนินไปตามอำนาจอุทธัจจะ ไม่ดำเนินไป ตามอำนาจวิจิกิจฉา ไม่ดำเนินไปตามอำนาจอนุสัย ได้แก่ ไม่ไป ไม่ออกไป ไม่ถูก พาไป ไม่ถูกนำไป ด้วยธรรมที่ก่อความเป็นฝักเป็นฝ่าย รวมความว่า ไม่ถึงความ ลำเอียงในธรรมทั้งหลาย
ว่าด้วยผู้สงบ
คำว่า บุคคลนั้นแล เรียกว่า ผู้สงบ อธิบายว่า บุคคลนั้น เรียก คือ กล่าว พูด บอก แสดง ชี้แจงว่าผู้สงบ คือ เข้าไปสงบ สงบเย็น ดับ สงัด รวมความว่า ผู้นั้นแล เรียกว่า ผู้สงบ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า บุคคลใดไม่มีความถือว่าเป็นของตนในโลก เมื่อไม่มีความถือว่าเป็นของตน ย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ถึงความลำเอียงในธรรมทั้งหลาย บุคคลนั้นแล เรียกว่า ผู้สงบ
ปุราเภทสุตตนิทเทสที่ ๑๐ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๙๖}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๙ หน้าที่ ๒๙๓-๒๙๖. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=29&A=8744&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=29&siri=10              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=29&A=4612&Z=5616&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=29&i=374              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=29&item=374&items=68              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=29&item=374&items=68              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu29

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]