ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย มหานิทเทส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๑. กลหวิวาทสุตตนิทเทส

ว่าด้วยความหมดจดแห่งอรูปสมาบัติ
คำว่า สมณพราหมณ์บางพวกอ้างตนว่า เป็นบัณฑิตในโลกนี้ พากันกล่าว ความหมดจดของยักษ์ด้วยอรูปสมาบัติเท่านั้นหรือหนอว่า เป็นธรรมอันเลิศ อธิบายว่า สมณพราหมณ์บางพวก ย่อมกล่าว คือ พูด บอก แสดง ชี้แจง อรูปสมาบัติเหล่านี้ว่า เป็นธรรมอันเลิศ คือ ประเสริฐ วิเศษ นำหน้า สูงสุด ประเสริฐสุด คำว่า ของยักษ์ ได้แก่ ของสัตว์ นรชน มานพ บุรุษ บุคคล ผู้มีชีวิต ผู้เกิด สัตว์เกิด ผู้เป็นไปตามกรรม มนุษย์ คำว่า ความหมดจด ได้แก่ ความหมดจด คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไป คำว่า อ้างตนว่า เป็นบัณฑิตในโลกนี้ ได้แก่ กล่าวอ้างตนว่า เป็นบัณฑิตใน โลกนี้ คือ อ้างว่าเป็นนักปราชญ์ อ้างว่ามีญาณ อ้างว่ามีเหตุผล อ้างว่ามีคุณลักษณะ อ้างว่าเหมาะแก่เหตุ อ้างว่าสมฐานะ ตามลัทธิของตน รวมความว่า สมณพราหมณ์ บางพวกอ้างตนว่า เป็นบัณฑิตในโลกนี้ พากันกล่าวความหมดจดของยักษ์ด้วย อรูปสมาบัติเท่านั้นว่า เป็นธรรมอันเลิศ คำว่า หรือว่า สมณพราหมณ์บางพวกกล่าวถึงความหมดจดอย่างอื่นว่า เยี่ยมกว่าอรูปสมาบัตินี้ อธิบายว่า หรือว่า สมณพราหมณ์บางพวก ก้าวล่วง ก้าวพ้น ล่วงพ้นอรูปสมาบัติเหล่านี้ ย่อมกล่าว คือ พูด บอก แสดง ชี้แจง ความ หมดจด ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไป ของยักษ์อย่างอื่น คือ ยอดเยี่ยมกว่าอรูปสมาบัตินี้ รวมความว่า หรือว่า สมณพราหมณ์บางพวกกล่าวถึงความหมดจดอย่างอื่นว่าเยี่ยมกว่าอรูปสมาบัตินี้ ด้วยเหตุนั้น พระพุทธเนรมิตจึงทูลถามว่า ข้าพระองค์ได้ทูลถามธรรมใดแล้ว พระองค์ก็ได้ตรัสตอบธรรมนั้นแก่พวกข้าพระองค์แล้ว ข้าพระองค์ขอทูลถามธรรมอื่นอีก ขอเชิญพระองค์โปรดตรัสบอกธรรมนั้นด้วยเถิด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๓๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๑. กลหวิวาทสุตตนิทเทส

สมณพราหมณ์บางพวกอ้างตนว่า เป็นบัณฑิตในโลกนี้ พากันกล่าวความหมดจดของยักษ์ด้วยอรูปสมาบัติ เท่านั้นหรือหนอว่า เป็นธรรมอันเลิศ หรือว่า สมณพราหมณ์บางพวกกล่าวถึงความหมดจด อย่างอื่นว่า เยี่ยมกว่าอรูปสมาบัตินี้ [๑๑๑] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า) สมณพราหมณ์บางพวกอ้างตนว่า เป็นบัณฑิตในโลกนี้ พากันกล่าวความหมดจดของยักษ์ด้วยอรูปสมาบัติ เท่านั้นว่า เป็นธรรมอันเลิศ บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์อีกพวกหนึ่งก็อ้างตนว่าเป็นผู้ฉลาด พากันกล่าวความสงบในความไม่มีอะไรเหลือ คำว่า สมณพราหมณ์บางพวกอ้างตนว่า เป็นบัณฑิตในโลกนี้ พากันกล่าว ความหมดจดของยักษ์ด้วยอรูปสมาบัติเท่านั้นว่า เป็นธรรมอันเลิศ อธิบายว่า มีสมณพราหมณ์บางพวก ผู้มีวาทะว่าเที่ยง พากันกล่าว คือ พูด บอก แสดง ชี้แจงอรูปสมาบัติเหล่านี้ว่า เป็นธรรมอันเลิศ คือ ประเสริฐ วิเศษ นำหน้า สูงสุด ประเสริฐสุด คำว่า ยักษ์ ได้แก่ สัตว์ นรชน มานพ บุรุษ บุคคล ผู้มีชีวิต ผู้เกิด สัตว์เกิด ผู้เป็นไปตามกรรม มนุษย์ คำว่า ความหมดจด ได้แก่ ความหมดจด คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไป คำว่า อ้างตนว่าเป็นบัณฑิตในโลกนี้ ได้แก่ กล่าวอ้างตนว่าเป็นบัณฑิต ในโลกนี้ คือ อ้างว่าเป็นนักปราชญ์ อ้างว่ามีญาณ อ้างว่ามีเหตุผล อ้างว่ามี คุณลักษณะ อ้างว่าเหมาะแก่เหตุ อ้างว่าสมฐานะ ตามลัทธิของตน รวมความว่า สมณพราหมณ์บางพวกอ้างตนว่าเป็นบัณฑิตในโลกนี้ พากันกล่าวความหมดจดของ ยักษ์ด้วยอรูปสมาบัติเท่านั้นว่า เป็นธรรมอันเลิศ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๓๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๑. กลหวิวาทสุตตนิทเทส

คำว่า บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์อีกพวกหนึ่งก็อ้าง ตนว่าเป็นผู้ฉลาด พากันกล่าวความสงบในความไม่มีอะไรเหลือ อธิบายว่า บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์อีกพวกหนึ่งผู้มีวาทะว่าขาดสูญ ขยาดต่อภพ ชื่นชอบความปราศจากภพ สมณพราหมณ์พวกนั้นกล่าวความสงบ คือ ความเข้าไปสงบ ความสงบเย็น ความดับ ความสงัดแห่งสัตว์ว่า ท่านผู้เจริญ หลังจากตายแล้ว อัตตานี้ ย่อมขาดสูญ พินาศ ไม่มีอยู่ โดยเหตุใด ความไม่มี อะไรเหลือ ก็มีโดยเหตุเท่านั้น คำว่า อ้างตนว่าเป็นผู้ฉลาด ได้แก่ กล่าวอ้างตนว่าเป็นผู้ฉลาด คือ อ้างว่า เป็นบัณฑิต อ้างว่าเป็นนักปราชญ์ อ้างว่ามีญาณ อ้างว่ามีเหตุผล อ้างว่ามี คุณลักษณะ อ้างว่าเหมาะแก่เหตุ อ้างว่าสมฐานะ ตามลัทธิของตน รวมความว่า บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์อีกพวกหนึ่งก็อ้างตนว่าเป็นผู้ฉลาด พากันกล่าวความสงบในความไม่มีอะไรเหลือ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัส ตอบว่า สมณพราหมณ์บางพวกอ้างตนว่า เป็นบัณฑิตในโลกนี้ พากันกล่าวความหมดจดของยักษ์ด้วยอรูปสมาบัติ เท่านั้นว่า เป็นธรรมอันเลิศ บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์อีกพวกหนึ่งก็อ้างตนว่าเป็นผู้ฉลาด พากันกล่าวความสงบในความไม่มีอะไรเหลือ [๑๑๒] (พระผู้มีพระภาคตรัสต่อไปว่า) มุนีผู้มีปัญญาเครื่องพิจารณานั้น รู้จักสมณพราหมณ์ ผู้เป็นเจ้าลัทธิเหล่านี้ว่า เป็นผู้เข้าไปอาศัยทิฏฐิ และรู้จักทิฏฐิเป็นที่อาศัย นักปราชญ์ครั้นรู้จักแล้วก็หลุดพ้น ไม่ถึงการวิวาท ไม่กลับมาในภพน้อยภพใหญ่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๓๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๑. กลหวิวาทสุตตนิทเทส

ว่าด้วยปัญญาเครื่องพิจารณา
คำว่า เหล่านี้ ในคำว่า รู้จักสมณพราหมณ์ผู้เป็นเจ้าลัทธิเหล่านี้ว่า เป็นผู้ เข้าไปอาศัยทิฏฐิ ได้แก่ ผู้เป็นเจ้าลัทธิ คำว่า เข้าไปอาศัยทิฏฐิ ได้แก่ รู้จัก คือ ทราบแล้ว เทียบเคียงแล้ว พิจารณา แล้ว ทำให้กระจ่างแล้ว ทำให้แจ่มแจ้งแล้วว่า “เป็นผู้อาศัยสัสสตทิฏฐิ(ความเห็นว่า เที่ยง) เป็นผู้อาศัยอุจเฉททิฏฐิ(ความเห็นว่าขาดสูญ) เป็นผู้อาศัยทั้งสัสสตทิฏฐิและ อุจเฉททิฏฐิ” รวมความว่า รู้จักสมณพราหมณ์ผู้เป็นเจ้าลัทธิเหล่านี้ว่า เป็นผู้เข้าไป อาศัยทิฏฐิ คำว่า มุนี ในคำว่า มุนีผู้มีปัญญาเครื่องพิจารณานั้น... และรู้จักทิฏฐิเป็น ที่อาศัย อธิบายว่า ญาณ ท่านเรียกว่า โมนะ...ผู้ก้าวล่วงกิเลสเครื่องข้องและตัณหา ดุจตาข่ายได้แล้ว ชื่อว่ามุนี๑- มุนี รู้จัก คือ ทราบแล้ว เทียบเคียงแล้ว พิจารณาแล้ว ทำให้กระจ่างแล้ว ทำให้แจ่มแจ้งแล้วว่า “เป็นผู้อาศัยสัสสตทิฏฐิ เป็นผู้อาศัยอุจเฉททิฏฐิ เป็นผู้อาศัย ทั้งสัสสตทิฏฐิและอุจเฉททิฏฐิ” คำว่า ... ผู้มีปัญญาเครื่องพิจารณานั้น ได้แก่ ผู้เป็นบัณฑิต มีปัญญา มีปัญญาเครื่องตรัสรู้ มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาเครื่องทำลายกิเลส รวมความว่า มุนีผู้มีปัญญาเครื่องพิจารณานั้น ... และรู้จักทิฏฐิเป็นที่อาศัย คำว่า ครั้นรู้จักแล้วก็หลุดพ้นไม่ถึงการวิวาท ได้แก่ ครั้นรู้จักแล้ว คือ ทราบแล้ว เทียบเคียงแล้ว พิจารณาแล้ว ทำให้กระจ่างแล้ว ทำให้แจ่มแจ้งแล้ว คำว่า หลุดพ้น ได้แก่ หลุดไปแล้ว พ้นไปแล้ว หลุดพ้นไปแล้ว หลุดพ้นไปด้วย ดีแล้ว โดยความหลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่นโดยส่วนเดียว คือ ครั้นรู้จักแล้ว ทราบแล้ว เทียบเคียงแล้ว พิจารณาแล้ว ทำให้กระจ่างแล้ว ทำให้แจ่มแจ้งแล้วว่า “สังขาร ทั้งปวงไม่เที่ยง ... สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ... ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา” ... คือ @เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดข้อ ๑๔/๖๘-๗๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๓๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๑. กลหวิวาทสุตตนิทเทส

ครั้นรู้จักแล้ว ทราบแล้ว เทียบเคียงแล้ว พิจารณาแล้ว ทำให้กระจ่างแล้ว ทำให้แจ่มแจ้งแล้วว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดล้วนมี ความดับไปเป็นธรรมดา” ก็หลุดไปแล้ว พ้นไปแล้ว หลุดพ้นไปแล้ว หลุดพ้นไปด้วย ดีแล้ว โดยความหลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่นโดยส่วนเดียว รวมความว่า ครั้นรู้จักแล้วก็ หลุดพ้น คำว่า ไม่ถึงการวิวาท ได้แก่ ไม่ก่อการทะเลาะ ไม่ก่อการบาดหมาง ไม่ก่อการ แก่งแย่ง ไม่ก่อการวิวาท ไม่ก่อการมุ่งร้าย สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า อัคคิเวสสนะ ภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้ว อย่างนี้แล ย่อมไม่โต้เถียงกับใคร ไม่วิวาทกับใคร เรื่องใดที่พูดกันในโลก เธอก็ไม่ ยึดมั่น ชี้แจงด้วยเรื่องนั้น๑- รวมความว่า ครั้นรู้จักแล้วก็หลุดพ้น ไม่ถึงการวิวาท คำว่า ในภพน้อยภพใหญ่ ในคำว่า นักปราชญ์... ไม่กลับมาในภพน้อยภพ ใหญ่ อธิบายว่า ไม่กลับมา คือ ไม่มาถึง ไม่ถือ ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่น ในภพน้อยภพใหญ่ คือ ในกรรมวัฏและวิปากวัฏ ในกรรมวัฏเป็นเครื่องเกิดในกามภพ ในวิปากวัฏเป็น เครื่องเกิดในกามภพ ในกรรมวัฏเป็นเครื่องเกิดในรูปภพ ในวิปากวัฏเป็นเครื่อง เกิดในรูปภพ ในกรรมวัฏเป็นเครื่องเกิดในอรูปภพ ในวิปากวัฏเป็นเครื่องเกิดใน อรูปภพ ในภพต่อไป ในคติต่อไป ในการถือกำเนิดต่อไป ในปฏิสนธิต่อไป ในอัตภาพ ต่อไป ในการบังเกิดของอัตภาพต่อไป คำว่า นักปราชญ์ ได้แก่ นักปราชญ์ คือ บัณฑิต มีปัญญา มีปัญญาเครื่องตรัสรู้ มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาเครื่องทำลายกิเลส รวมความว่า นักปราชญ์ ... ไม่กลับมาในภพน้อยภพใหญ่ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า มุนีผู้มีปัญญาเครื่องพิจารณานั้น รู้จักสมณพราหมณ์ ผู้เป็นเจัาลัทธิเหล่านี้ว่า เป็นผู้เข้าไปอาศัยทิฏฐิ และรู้จักทิฏฐิเป็นที่อาศัย นักปราชญ์ครั้นรู้จักแล้วก็หลุดพ้น ไม่ถึงการวิวาท ไม่กลับมาในภพน้อยภพใหญ่
กลหวิวาทสุตตนิทเทสที่ ๑๑ จบ
@เชิงอรรถ : @ ม.ม. ๑๓/๒๐๕/๑๘๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๓๗}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๙ หน้าที่ ๓๓๓-๓๓๗. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=29&A=9925&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=29&siri=11              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=29&A=5617&Z=6384&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=29&i=442              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=29&item=442&items=77              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=29&item=442&items=77              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu29

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]