ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [จตุตถวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นละข่ายตัณหา สลัดทิ้งข่ายทิฏฐิได้แล้ว เพราะเป็นผู้ ละข่ายตัณหา สลัดทิ้งข่ายทิฏฐิได้แล้ว พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น จึงไม่ข้องขัดอยู่ ในรูป เสียง ฯลฯ ในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่ได้รับรู้ และธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้ง ได้แก่ ไม่ยึด ไม่ผูก ไม่พัวพัน เป็นผู้ออกแล้ว สลัดออก หลุดพ้น ไม่เกี่ยวข้อง มีใจเป็นอิสระ(จากกิเลส) อยู่ ฉันนั้น รวมความว่า ไม่ติด ข่ายเหมือนลม คำว่า ไม่เปียกน้ำ เหมือนบัว อธิบายว่า ดอกบัว เรียกว่า บัว น้ำท่า เรียกว่า น้ำ ดอกบัวไม่เปียก คือ ไม่เปื้อน ไม่เข้าไปติดด้วยน้ำ น้ำไม่เปียก ไม่เปื้อน ไม่เข้าไปติดดอกบัว ฉันใด ความยึดติดมี ๒ อย่าง คือ (๑) ความยึดติดด้วย อำนาจตัณหา (๒) ความยึดติดด้วยอำนาจทิฏฐิ ฯลฯ นี้ชื่อว่าความยึดติดด้วย อำนาจตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าความยึดติดด้วยอำนาจทิฏฐิ๑- พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นละความยึดติดด้วยอำนาจตัณหา สลัดทิ้งความยึด ติดด้วยอำนาจทิฏฐิได้แล้ว เพราะเป็นผู้ละความยึดติดด้วยอำนาจตัณหา สลัดทิ้ง ความยึดติดด้วยอำนาจทิฏฐิแล้ว พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงไม่ติด ไม่ติดพัน ไม่เข้าไปติดในรูป ฯลฯ เสียง ฯลฯ รูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่ได้รับรู้ และธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้ง คือ ไม่ติดแล้ว ไม่ติดพันแล้ว ไม่เข้าไปติดแล้ว ออกแล้ว สลัดออกแล้ว หลุดพ้นแล้ว ไม่เกี่ยวข้องแล้ว มีใจเป็นอิสระ(จากกิเลส) อยู่ ฉันนั้น รวมความว่า ไม่เปียกน้ำเหมือนบัว จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า) ไม่สะดุ้งในเพราะเสียง เหมือนราชสีห์ ไม่ติดข่ายเหมือนลม ไม่เปียกน้ำเหมือนบัว จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด @เชิงอรรถ : @ เทียบกับความในข้อ ๑๑/๘๐-๘๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๙๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [จตุตถวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

[๑๕๘] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า) พญาสีหราชมีเขี้ยวเป็นกำลัง ข่มขี่ ครอบงำเนื้อทั้งหลาย เที่ยวไป ฉันใด พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าก็มีปัญญาเป็นกำลัง ครอบงำบุคคลทั้งหลายด้วยปัญญา ใช้สอยเสนาสนะอันสงัด จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉันนั้น (๗) คำว่า พญาสีหราชมีเขี้ยวเป็นกำลัง ข่มขี่ครอบงำเนื้อทั้งหลาย เที่ยวไป ฉันใด อธิบายว่า สีหะ พญามฤคราช มีเขี้ยวเป็นกำลัง คือ มีเขี้ยวเป็นอาวุธครอบงำ คือ ข่มขี่ ท่วมทับ กำจัด ย่ำยีสัตว์เดรัจฉานทุกจำพวก เป็นอยู่ คือ อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไป ฉันใด แม้พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าก็มีปัญญาเป็นกำลัง คือ มีปัญญาเป็นอาวุธ ย่อม ครอบงำ คือ ข่มขี่ ท่วมทับ กำจัด ย่ำยีบุคคลผู้มีชีวิตทุกจำพวกด้วยปัญญา ประพฤติอยู่ คือ อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไป ฉันนั้นเหมือนกัน รวมความว่า พญาสีหราชมีเขี้ยวเป็นกำลังข่มขี่ครอบงำเนื้อ ทั้งหลาย เที่ยวไป ฉันใด คำว่า ใช้สอยเสนาสนะอันสงัด อธิบายว่า สีหะ พญามฤคราช เข้าสู่ป่าลึก เป็นอยู่ คือ อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไป ฉันใด แม้พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าก็ย่อมใช้สอยเสนาสนะอันเป็นป่าทึบและป่าละเมาะ อันสงัด มีเสียงน้อย มีเสียงอึกทึกน้อย ปราศจากการสัญจรไปมาของผู้คน ควรเป็นสถาน ที่ทำการลับของมนุษย์ สมควรเป็นที่หลีกเร้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น เดินไป ผู้เดียว ยืนผู้เดียว นั่งผู้เดียว นอนผู้เดียว เข้าหมู่บ้านเพื่อบิณฑบาตผู้เดียว กลับ ผู้เดียว นั่งในที่ลับผู้เดียว อธิษฐานจงกรมผู้เดียว ประพฤติอยู่ คือ อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไปผู้เดียว ฉันนั้น รวมความว่า ใช้สอย เสนาสนะอันสงัด จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจก- สัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๙๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [จตุตถวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

พญาสีหราชมีเขี้ยวเป็นกำลัง ข่มขี่ครอบงำเนื้อทั้งหลาย เที่ยวไป ฉันใด พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าก็มีปัญญาเป็นกำลัง ครอบงำบุคคลทั้งหลายด้วยปัญญา ใช้สอยเสนาสนะอันสงัด จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉันนั้น [๑๕๙] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า) (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า) เสพอาศัยเมตตา กรุณา มุทิตาและอุเบกขา อันเป็นวิมุตติตามกาล สัตว์โลกทั้งปวงมิได้เกลียดชัง จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด (๘) คำว่า เสพอาศัยเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา อันเป็นวิมุตติตามกาล อธิบายว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นมีเมตตาจิต แผ่ไปตลอดทิศหนึ่ง ทิศ ๒... ทิศ ๓... ทิศ ๔...ก็เช่นเดียวกัน ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วทุกหมู่เหล่าในที่ทุกสถาน ด้วยเมตตาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ามีกรุณาจิต ฯลฯ มีมุทิตาจิต ฯลฯ มีอุเบกขาจิตอัน ไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ รวมความว่า เสพอาศัยเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา อันเป็นวิมุตติตามกาล คำว่า สัตว์โลกทั้งปวง มิได้เกลียดชัง อธิบายว่า เพราะเป็นผู้เจริญพรหม- วิหารมีเมตตาเป็นต้น สัตว์ที่อยู่ทางทิศตะวันออกก็ไม่เกลียดชัง สัตว์ที่อยู่ทางทิศ ตะวันตกก็ไม่เกลียดชัง ฯลฯ สัตว์ที่อยู่ทางทิศเหนือ ฯลฯ สัตว์ที่อยู่ทางทิศใต้ ฯลฯ สัตว์ที่อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้(อาคเณย์) ฯลฯ สัตว์ที่อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียง เหนือ(พายัพ) ฯลฯ สัตว์ที่อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ(อีสาน) ฯลฯ สัตว์ที่อยู่ ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้(หรดี) ฯลฯ สัตว์ที่อยู่ทางทิศเบื้องล่าง ฯลฯ สัตว์ที่อยู่ทาง ทิศเบื้องบน ฯลฯ สัตว์ที่อยู่ทั้งสิบทิศก็ไม่เกลียดชัง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๙๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [จตุตถวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

คำว่า สัตว์โลกทั้งปวง มิได้เกลียดชัง อธิบายว่า สัตว์โลกทั้งปวงไม่เกลียดชัง คือ ไม่โกรธ ไม่อาฆาต ไม่กระทบกระทั่ง รวมความว่า สัตว์โลกทั้งปวง มิได้ เกลียดชัง จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า นั้นจึงกล่าวว่า (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า) เสพอาศัยเมตตา กรุณา มุทิตาและอุเบกขา อันเป็นวิมุตติตามกาล สัตว์โลกทั้งปวงมิได้เกลียดชัง จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด [๑๖๐] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า) (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า) ละราคะ โทสะ และโมหะ ทำลายสังโยชน์ได้แล้ว ไม่สะดุ้งในเวลาสิ้นชีวิต จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด (๙) คำว่า ละราคะ โทสะ และโมหะ อธิบายว่า คำว่า ราคะ ได้แก่ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ๑- คำว่า โทสะ ได้แก่ ความอาฆาตแห่งจิต ฯลฯ ความดุร้าย ความเกรี้ยวกราด ความไม่แช่มชื่นจิต คำว่า โมหะ คือ ความไม่รู้ในทุกข์ ฯลฯ ข่ายคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ คำว่า ละราคะ โทสะ และโมหะ อธิบายว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ละ ละทิ้ง บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งราคะ โทสะ และโมหะ รวมความว่า ละราคะ โทสะ และโมหะ @เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดข้อ ๒/๕๐-๕๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๙๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [จตุตถวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

ว่าด้วยสังโยชน์ ๑๐
คำว่า ทำลายสังโยชน์ได้แล้ว ได้แก่ สังโยชน์ ๑๐ อย่าง คือ ๑. กามราคสังโยชน์ ๒. ปฏิฆสังโยชน์ ฯลฯ ๑๐. อวิชชาสังโยชน์๑- คำว่า ทำลายสังโยชน์ได้แล้ว อธิบายว่า ทำลาย คือ ทะลาย ทำให้พัง ทำให้พังทลาย ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งสังโยชน์ ๑๐ อย่าง รวมความว่า ทำลายสังโยชน์ได้แล้ว คำว่า ไม่สะดุ้งในเวลาสิ้นชีวิต อธิบายว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ในเวลา จบชีวิต ก็ไม่สะดุ้ง ไม่หวาดหวั่น ไม่หวาดเสียว ไม่สะทกสะท้าน ไม่ตกใจ ไม่ หวาดกลัว ไม่ขลาด ไม่หวาดเสียว ไม่สะดุ้ง ไม่หนี ละภัยและความหวาดกลัว ได้แล้ว หมดความขนพองสยองเกล้า อยู่ รวมความว่า ไม่สะดุ้งในเวลาสิ้นชีวิต จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึง กล่าวว่า (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า) ละราคะ โทสะ และโมหะ ทำลายสังโยชน์ได้แล้ว ไม่สะดุ้งในเวลาสิ้นชีวิต จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด [๑๖๑] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า) ทุกวันนี้มิตรทั้งหลายมีประโยชน์เป็นเหตุ จึงคบและเสพด้วย มิตรที่ไม่มุ่งประโยชน์หาได้ยาก มนุษย์ทั้งหลายมีปัญญามุ่งประโยชน์ตนไม่สะอาด พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด (๑๐) @เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดข้อ ๑๔๘/๔๗๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๙๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [จตุตถวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

คำว่า มีประโยชน์เป็นเหตุจึงคบและเสพด้วย อธิบายว่า มิตรทั้งหลายมี ประโยชน์ตนเป็นเหตุ มีประโยชน์ผู้อื่นเป็นเหตุ มีประโยชน์ทั้งสองฝ่ายเป็นเหตุ มีประโยชน์ในภพปัจจุบันเป็นเหตุ มีประโยชน์ในภพหน้าเป็นเหตุ มีประโยชน์อย่าง ยิ่งเป็นเหตุ จึงคบ คือ คบหา เสพ เสพเป็นนิจ ซ่องเสพ เสพเฉพาะ รวมความว่า มีประโยชน์เป็นเหตุจึงคบและเสพด้วย คำว่า ทุกวันนี้มิตรทั้งหลาย...มิตรที่ไม่มุ่งประโยชน์หาได้ยาก อธิบายว่า มิตรมี ๒ จำพวก คือ ๑. อาคาริกมิตร (มิตรครองเรือน) ๒. อนาคาริกมิตร (มิตรไม่ครองเรือน) ฯลฯ นี้ชื่อว่าอาคาริกมิตร ฯลฯ นี้ชื่อว่าอนาคาริกมิตร๑- คำว่า ทุกวันนี้มิตรทั้งหลาย... มิตรที่ไม่มุ่งประโยชน์หาได้ยาก อธิบายว่า มิตร ๒ จำพวก เหล่านี้ ไม่มีเหตุ ไม่มุ่งประโยชน์ คือ หาเหตุมิได้ ไม่มีปัจจัย หาได้ยาก ได้ยาก แสนยาก รวมความว่า ทุกวันนี้มิตรทั้งหลาย... มิตรที่ไม่มุ่ง ประโยชน์หาได้ยาก คำว่า มีปัญญามุ่งประโยชน์ตน ในคำว่า มนุษย์ทั้งหลายมีปัญญามุ่ง ประโยชน์ตนไม่สะอาด อธิบายว่า เหล่ามนุษย์คบ คบหา เสพ เสพเป็นนิจ ซ่องเสพ เสพเฉพาะ ประพฤติเอื้อเฟื้อ ประพฤติเอื้อเฟื้อโดยชอบ เข้าไปนั่งใกล้ ไต่ถาม ถามปัญหา เพื่อประโยชน์ของตน เพราะเหตุแห่งตน เพราะปัจจัยแห่งตน เพราะ การณ์แห่งตน รวมความว่า มีปัญญามุ่งประโยชน์ตน
ว่าด้วยกรรมไม่สะอาด
คำว่า มนุษย์ทั้งหลาย... ไม่สะอาด อธิบายว่า เพราะประกอบด้วยกายกรรมอันไม่สะอาด มนุษย์ทั้งหลาย จึงชื่อว่าไม่สะอาด เพราะประกอบด้วยวจีกรรมอันไม่สะอาด มนุษย์ทั้งหลาย จึงชื่อว่าไม่สะอาด เพราะประกอบด้วยมโนกรรมอันไม่สะอาด มนุษย์ทั้งหลาย จึงชื่อว่าไม่สะอาด @เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดข้อ ๑๒๓/๔๐๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๕๐๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [จตุตถวรรค]

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

เพราะประกอบด้วยปาณาติบาตอันไม่สะอาด... ... อทินนาทานอันไม่สะอาด... ... กาเมสุมิจฉาจารอันไม่สะอาด... ... มุสาวาทอันไม่สะอาด... ... ปิสุณาวาจาอันไม่สะอาด... ... ผรุสวาจาอันไม่สะอาด... ... สัมผัปปลาปะอันไม่สะอาด... ... อภิชฌาอันไม่สะอาด... ... พยาบาทอันไม่สะอาด... เพราะประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิอันไม่สะอาด มนุษย์ทั้งหลาย จึงชื่อว่าไม่สะอาด เพราะประกอบด้วยเจตนาอันไม่สะอาด มนุษย์ทั้งหลาย จึงชื่อว่าไม่สะอาด เพราะประกอบด้วยความปรารถนาอันไม่สะอาด มนุษย์ทั้งหลาย จึงชื่อว่าไม่สะอาด เพราะประกอบด้วยปณิธาน(ความตั้งใจ) อันไม่สะอาด มนุษย์ทั้งหลาย จึงชื่อว่า ไม่สะอาด คือ เลว ทราม ต่ำทราม ต่ำ น่ารังเกียจ หยาบ เล็กน้อย รวมความว่า มนุษย์ทั้งหลายมีปัญญามุ่งประโยชน์ตน ไม่สะอาด คำว่า ผู้เดียว ในคำว่า จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด อธิบายว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่าผู้เดียว เพราะส่วนแห่งการบรรพชา ฯลฯ คำว่า ประพฤติ ได้แก่ ความประพฤติ ๘ อย่าง๑- ฯลฯ คำว่า เหมือนนอแรด อธิบายว่า ธรรมดาแรด มีนอเดียว ไม่มีนอที่สอง ฉันใด ฯลฯ รวมความว่า จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า @เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดข้อ ๑๒๑/๓๙๙-๔๐๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๕๐๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส

ทุกวันนี้มิตรทั้งหลายมีประโยชน์เป็นเหตุ จึงคบและเสพด้วย มิตรที่ไม่มุ่งประโยชน์หาได้ยาก มนุษย์ทั้งหลายมีปัญญามุ่งประโยชน์ตนไม่สะอาด พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด
จตุตถวรรคจบ
ขัคควิสาณสุตตนิทเทสที่ ๑๙ จบ
การอธิบายคำสอนแก่พราหมณ์ ผู้ถึงฝั่ง ๑๖ คนเหล่านี้ คือ (๑) อชิตะ (๒) ติสสเมตเตยยะ (๓) ปุณณกะ (๔) เมตตคู (๕) โธตกะ (๖) อุปสีวะ (๗) นันทะ (๘) เหมกะ (๙) โตเทยยะ (๑๐) กัปปะ (๑๑) ชตุกัณณิผู้เป็นบัณฑิต (๑๒) ภัทราวุธ (๑๓) อุทัย (๑๔) โปสาละผู้เป็นพราหมณ์ (๑๕) โมฆราชผู้มีปัญญา (๑๖) ปิงคิยะผู้เป็นมหาฤๅษี มีประมาณเท่านี้แล แม้การอธิบายขัคควิสาณสุตรก็มีประมาณเท่านี้ นิทเทสที่ควรรู้ทั้ง ๒ ภาค ท่านกำหนดทำไว้บริบูรณ์ดีแล้ว
จูฬนิทเทส จบบริบูรณ์
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๕๐๒}
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๐ สุตตันตปิฎกที่ ๒๒ ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส จบ

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๐ หน้าที่ ๔๙๕-๕๐๒. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=30&A=14347&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=30&siri=37              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=30&A=6139&Z=8166&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=30&i=663              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=30&item=663&items=159              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=30&item=663&items=159              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๐ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu30

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]