ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๕. มาณวปัญหานิทเทส ๓. ปุณณกมาณวปัญหานิทเทส

คำว่า ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหานั้น ในคำว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหานั้น ขอพระองค์โปรดตรัสบอกปัญหานั้นแก่ข้าพระ- องค์ด้วยเถิด อธิบายว่า ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหานั้น คือ ทูลขอปัญหานั้น ทูลอัญเชิญปัญหานั้น ทูลให้ทรงประกาศปัญหานั้น ขอพระองค์โปรดตรัสบอก ปัญหานั้นด้วยเถิด รวมความว่า ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหานั้น คำว่า พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ ฯลฯ คำว่า พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ๑- คำว่า ขอพระองค์โปรดตรัสบอกปัญหานั้นด้วยเถิด อธิบายว่า ขอพระองค์ โปรดตรัส คือ โปรดบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศด้วยเถิด รวมความว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหานั้น ขอพระองค์โปรดตรัสบอกปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด ด้วยเหตุนั้น พราหมณ์ นั้นจึงทูลถามว่า (ท่านปุณณกะทูลถาม ดังนี้) ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ถ้าชนเหล่านั้น ผู้ประกอบการบูชายัญ ข้ามชาติและชราไปไม่ได้ด้วยยัญทั้งหลาย ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ เมื่อเป็นเช่นนี้ ใครเล่าในเทวโลกและมนุษยโลก ข้ามชาติและชราได้ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหานั้น ขอพระองค์โปรดตรัสบอกปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด [๑๗] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ปุณณกะ) เรากล่าวว่า บุคคลใดไม่มีความหวั่นไหวในโลกไหนๆ เพราะทราบชัดฝั่งนี้และฝั่งโน้นในโลก บุคคลนั้นเป็นผู้สงบ ปราศจากควัน ไม่มีทุกข์ ไม่มีความหวัง ชื่อว่าข้ามชาติและชราได้แล้ว (๖) @เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดข้อ ๒/๔๖-๔๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๑๐๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๕. มาณวปัญหานิทเทส ๓. ปุณณกมาณวปัญหานิทเทส

คำว่า เพราะทราบชัดฝั่งนี้และฝั่งโน้นในโลก อธิบายว่า ญาณ ตรัสเรียกว่า สังขา ได้แก่ ความรู้ทั่ว กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ๑-
ว่าด้วยฝั่งนี้และฝั่งโน้น
คำว่า ฝั่งนี้และฝั่งโน้น อธิบายว่า อัตภาพของตน ตรัสเรียกว่า ฝั่งนี้ อัตภาพของผู้อื่น ตรัสเรียกว่า ฝั่งโน้น รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณของตน ตรัสเรียกว่า ฝั่งนี้ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณของผู้อื่น ตรัสเรียกว่า ฝั่งโน้น อายตนะภายใน ๖ ตรัสเรียกว่า ฝั่งนี้ อายตนะภายนอก ๖ ตรัสเรียกว่า ฝั่งโน้น มนุษยโลก ตรัสเรียกว่า ฝั่งนี้ เทวโลก ตรัสเรียกว่า ฝั่งโน้น กามธาตุ ตรัสเรียกว่า ฝั่งนี้ รูปธาตุ อรูปธาตุ ตรัสเรียกว่า ฝั่งโน้น กามธาตุ รูปธาตุ ตรัสเรียกว่า ฝั่งนี้ อรูปธาตุ ตรัสเรียกว่า ฝั่งโน้น คำว่า เพราะทราบชัดฝั่งนี้และฝั่งโน้นในโลก อธิบายว่า เพราะทราบชัด คือ เพราะรู้ ทราบ เทียบเคียง พิจารณา ทำให้กระจ่าง ทำให้แจ่มแจ้งฝั่งนี้และฝั่งโน้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ฯลฯ เป็นโรค ฯลฯ เป็นดุจหัวฝี ฯลฯ เป็นดุจลูกศร ฯลฯ เป็นของที่ต้องสลัดออกไป รวมความว่า เพราะทราบชัดฝั่งนี้ และฝั่งโน้นในโลก คำว่า ปุณณกะ ในคำว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ปุณณกะ เป็นคำ ที่พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อ @เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดข้อ ๕/๕๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๑๐๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๕. มาณวปัญหานิทเทส ๓. ปุณณกมาณวปัญหานิทเทส

คำว่า พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ ฯลฯ คำว่า พระ ผู้มีพระภาค นี้ ฯลฯ รวมความว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ปุณณกะ คำว่า บุคคลใด ในคำว่า บุคคลใดไม่มีความหวั่นไหวในโลกไหนๆ ได้แก่ พระอรหันตขีณาสพ คำว่า ความหวั่นไหว ได้แก่ ความหวั่นไหวเพราะตัณหา ความหวั่นไหว เพราะทิฏฐิ ความหวั่นไหวเพราะมานะ ความหวั่นไหวเพราะกิเลส ความหวั่นไหว เพราะกาม ความหวั่นไหวเหล่านี้ ไม่มี คือ ไม่มีอยู่ ไม่ปรากฏ หามิได้แก่บุคคลใด ได้แก่ ท่านละได้แล้ว ตัดขาดแล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว คำว่า ไหนๆ ได้แก่ ไหนๆ คือ ที่ไหนๆ ไรๆ ภายใน ภายนอก หรือทั้งภายในและภายนอก คำว่า ในโลก ได้แก่ ในอบายโลก ฯลฯ อายตนโลก๑- รวมความว่า บุคคลใด ไม่มีความหวั่นไหวในโลกไหนๆ
ว่าด้วยผู้สงบ ปราศจากควัน
คำว่า เป็นผู้สงบ ในคำว่า เรากล่าวว่า... บุคคลนั้นเป็นผู้สงบ ปราศจาก ควัน ไม่มีทุกข์ ไม่มีความหวัง ชื่อว่าข้ามชาติและชราได้แล้ว อธิบายว่า ชื่อว่าเป็นผู้สงบ เพราะสงบราคะ ชื่อว่าเป็นผู้สงบ เพราะสงบโทสะ ชื่อว่าเป็นผู้สงบ เพราะสงบโมหะ คือ เป็นผู้สงบแล้ว เข้าไปสงบแล้ว สงบเย็นแล้ว ดับแล้ว ระงับแล้ว เพราะสงบ ระงับ สงบเย็น เผา ดับ ปราศจาก สงบระงับโกธะ ... อุปนาหะ ... มักขะ ... ปฬาสะ ... อิสสา ... มัจฉริยะ ... มายา ... สาเถยยะ... ถัมภะ ... สารัมภะ ... มานะ ... อติมานะ ... มทะ ... ปมาทะ ... กิเลสทุกชนิด ... @เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดข้อ ๑/๔๓ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๑๐๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๕. มาณวปัญหานิทเทส ๓. ปุณณกมาณวปัญหานิทเทส

ทุจริตทุกทาง ... ความกระวนกระวายทุกอย่าง ... ความเร่าร้อนทุกสถาน ... ความเดือดร้อนทุกประการ ... อกุศลาภิสังขารทุกประเภท รวมความว่า เป็นผู้สงบ คำว่า ปราศจากควัน อธิบายว่า กายทุจริต พระอรหันตขีณาสพขจัดได้แล้ว คือ กำจัด ทำให้แห้ง ทำให้เหือดแห้ง ทำให้หมดสิ้นไปได้แล้ว วจีทุจริต มโนทุจริต พระอรหันตขีณาสพขจัดได้แล้ว คือ กำจัด ทำให้แห้ง ทำให้เหือดแห้ง ทำให้ หมดสิ้นไปได้แล้ว ราคะ ... โทสะ ... โมหะ พระอรหันตขีณาสพขจัดได้แล้ว กำจัด ทำให้แห้ง ทำให้เหือดแห้ง ทำให้หมดสิ้นไปได้แล้ว โกธะ ... อุปนาหะ ... มักขะ ... ปฬาสะ ... อิสสา ... มัจฉริยะ ... มายา ... สาเถยยะ ... ถัมภะ ... สารัมภะ ... มานะ ... อติมานะ ... มทะ ... ปมาทะ ... กิเลสทุกชนิด ... ทุจริตทุกทาง ... ความกระวนกระวายทุกอย่าง ... ความ เร่าร้อนทุกสถาน ... ความเดือดร้อนทุกประการ ... อกุสลาภิสังขารทุกประเภท พระอรหันตขีณาสพขจัดได้แล้ว คือ กำจัด ทำให้แห้ง ทำให้เหือดแห้ง ทำให้ หมดสิ้นไปได้แล้ว อีกนัยหนึ่ง ควัน ตรัสเรียกว่าความโกรธ (สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า) พราหมณ์ ท่านมีมานะเป็นเครื่องหาบ มีความโกรธเป็นควัน มีความเป็นคนพูดเท็จเป็นเถ้า มีลิ้นเป็นทัพพี มีหัวใจเป็นที่บูชาไฟ ตนที่ฝึกดีแล้วเป็นความรุ่งเรืองของบุรุษ๑-
ว่าด้วยเหตุเกิดแห่งความโกรธ ๑๐
อีกนัยหนึ่ง ความโกรธย่อมเกิดเพราะเหตุ ๑๐ อย่าง คือ ๑. เพราะสำคัญว่า ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา @เชิงอรรถ : @ สํ.ส. ๑๕/๑๙๕/๒๐๓ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๑๐๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๕. มาณวปัญหานิทเทส ๓. ปุณณกมาณวปัญหานิทเทส

๒. เพราะสำคัญว่า ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา ๓. เพราะสำคัญว่า ผู้นี้จักทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา ๔. ฯลฯ ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา ๕. ฯลฯ ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา ๖. ฯลฯ ผู้นี้จักทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา ๗. ฯลฯ ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบพอของเรา ๘. ฯลฯ ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบพอของเรา ๙. ฯลฯ ผู้นี้จักทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบพอของเรา ๑๐. ความโกรธเกิดขึ้นในฐานะอันไม่สมควร ใจปองร้าย มุ่งร้าย ขัดเคือง ขุ่นเคือง เคือง เคืองมาก เคืองตลอด ชัง ชิงชัง เกลียดชัง ใจพยาบาท ใจแค้นเคือง ความโกรธ กิริยาที่โกรธ ภาวะที่โกรธ ความคิดประทุษร้าย กิริยาที่คิดประทุษร้าย ภาวะที่คิดประทุษร้าย ความคิดปองร้าย กิริยาที่คิดปองร้าย ภาวะที่คิดปองร้าย ความโกรธ ความแค้น ความดุร้าย ความเกรี้ยวกราด ความไม่แช่มชื่นแห่งจิตเห็นปานนี้ นี้ตรัสเรียกว่า ความโกรธ อีกนัยหนึ่ง พึงทราบความโกรธมาก ความโกรธน้อย บางครั้งความโกรธ เพียงทำให้ใจขุ่นมัว ยังไม่ถึงกับหน้าเง้าหน้างอก็มี บางครั้งความโกรธเพียงทำให้ หน้าเง้าหน้างอ แต่ยังไม่ถึงกับคางสั่นก็มี บางครั้งความโกรธเพียงทำให้คางสั่น แต่ยังไม่ถึงกับพูดคำหยาบก็มี บางครั้งความโกรธเพียงทำให้พูดคำหยาบ แต่ยังไม่ ถึงกับตาขวางมองทิศมองทางก็มี บางครั้งความโกรธเพียงทำให้ตาขวางมองทิศ มองทาง แต่ยังไม่ถึงกับคว้าไม้คว้ามีดก็มี บางครั้งความโกรธเพียงทำให้คว้าไม้ คว้ามีด แต่ยังไม่ถึงกับเงือดเงื้อไม้และมีด(ที่ถือไว้)ก็มี บางครั้งความโกรธเพียงแต่ ทำให้เงือดเงื้อไม้และมีด แต่ยังไม่ถึงกับลงมือฟาดฟันก็มี บางครั้งความโกรธเพียง แต่ฟาดฟัน แต่ยังไม่ถึงกับทำให้เกิดบาดแผลก็มี บางครั้งความโกรธเพียงแต่ทำให้ เกิดบาดแผล แต่ยังไม่ถึงกับทำให้กระดูกหักก็มี บางครั้งความโกรธเพียงแต่ทำให้ กระดูกหัก แต่ยังไม่ถึงกับทำให้อวัยวะขาดหลุดไปก็มี บางครั้งความโกรธเพียงแต่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๑๐๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๕. มาณวปัญหานิทเทส ๓. ปุณณกมาณวปัญหานิทเทส

ทำให้อวัยวะขาดหลุดไป แต่ยังไม่ถึงกับทำให้เสียชีวิตก็มี บางครั้งความโกรธเพียง แต่ทำให้ผู้อื่นเสียชีวิต แต่ยังไม่ถึงกับทำให้ดำรงอยู่เพื่อฆ่าตนเองก็มี เมื่อใด ความโกรธทำให้ฆ่าบุคคลอื่นแล้วฆ่าตนเองเสียด้วย เมื่อนั้น ความโกรธเป็นไปรุนแรงมาก ถึงความเป็นสิ่งร้ายแรงอย่างยิ่ง ความโกรธนั้น ผู้ใดละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว ผู้ นั้นตรัสเรียกว่า ปราศจากควัน ชื่อว่าปราศจากควัน เพราะเป็นผู้ละความโกรธได้แล้ว ชื่อว่าปราศจากควัน เพราะเป็นผู้กำหนดรู้ที่ตั้งแห่งความโกรธได้แล้ว ชื่อว่าปราศจากควัน เพราะเป็นผู้ เข้าไปตัดเหตุแห่งความโกรธได้แล้ว คำว่า ไม่มีทุกข์ อธิบายว่า ราคะเป็นทุกข์ โทสะ โมหะ โกธะ อุปนาหะ ฯลฯ อกุสลาภิสังขารทุกประเภทเป็นทุกข์ ความทุกข์เหล่านี้ผู้ใดละได้แล้ว คือ ตัดขาด ได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว ผู้นั้นตรัสเรียกว่า ไม่มีทุกข์ คำว่า ไม่มีความหวัง อธิบายว่า ตัณหาตรัสเรียกว่า ความหวัง ได้แก่ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ๑- ความหวัง คือ ตัณหาเหล่านี้ผู้ใดละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้ เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว ผู้นั้นตรัสเรียกว่า ไม่มีความหวัง คำว่า ชาติ ได้แก่ การเกิด คือ การเกิดขึ้น การก้าวลง (สู่ครรภ์) การบังเกิด การบังเกิดขึ้น ความปรากฏแห่งขันธ์ทั้งหลาย การได้อายตนะในหมู่สัตวนั้นๆ ของสัตว์เหล่านั้นๆ คำว่า ชรา ได้แก่ ความแก่ คือ ความทรุดโทรม ความเป็นผู้มีฟันหัก ความเป็นผู้มีผมหงอก ความเป็นผู้มีหนังเหี่ยว ความเสื่อมอายุ ความแก่หง่อม แห่งอินทรีย์๒- ทั้งหลายในหมู่สัตวนั้นๆ ของสัตว์เหล่านั้นๆ คำว่า เรากล่าวว่า ... บุคคลนั้นเป็นผู้สงบ ปราศจากควัน ไม่มีทุกข์ ไม่มีความหวัง ชื่อว่าข้ามชาติและชราได้แล้ว อธิบายว่า เรากล่าว คือ บอก แสดง @เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดข้อ ๒/๕๐-๕๑ @ อินทรีย์ ในที่นี้หมายถึงอินทรีย์ ๖ ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ (ขุ.จู.อ. ๑๗/๑๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๑๐๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๕. มาณวปัญหานิทเทส ๓. ปุณณกมาณวปัญหานิทเทส

บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศว่า เป็นผู้สงบ ปราศจากควัน ไม่มีทุกข์ ไม่มีความหวัง ข้ามได้ คือ ข้ามไปได้ ข้ามพ้นไปได้ ก้าวล่วงไปได้ ล่วงเลยชาติชรามรณะไปได้ รวมความว่า เรากล่าวว่า ... บุคคลนั้นเป็นผู้สงบ ปราศจากควัน ไม่มีทุกข์ ไม่มีความหวัง ชื่อว่าข้ามชาติและชราได้แล้ว ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ปุณณกะ) เรากล่าวว่า บุคคลใดไม่มีความหวั่นไหวในโลกไหนๆ เพราะทราบชัดฝั่งนี้และฝั่งโน้นในโลก บุคคลนั้นเป็นผู้สงบ ปราศจากควัน ไม่มีทุกข์ ไม่มีความหวัง ชื่อว่าข้ามชาติและชราได้แล้ว พร้อมกับการจบคาถา ฯลฯ ปุณณกมาณพประคองอัญชลี นั่งลงนมัสการ พระผู้มีพระภาคโดยประกาศว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเป็นศาสดา ของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก”
ปุณณกมาณวปัญหานิทเทสที่ ๓ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๑๐๙}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๐ หน้าที่ ๑๐๓-๑๐๙. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=30&A=2991&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=30&siri=22              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=30&A=802&Z=1275&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=30&i=116              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=30&item=116&items=30              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=30&item=116&items=30              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๐ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu30

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]