ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๕. มาณวปัญหานิทเทส ๔. เมตตคูมาณวปัญหานิทเทส

ความถือมั่นด้วยอำนาจตัณหา เป็นอย่างไร คือ ฯลฯ ด้วยส่วนแห่งตัณหาเท่าใด ฯลฯ นี้ชื่อว่าความถือมั่นด้วยอำนาจ ตัณหา ความถือมั่นด้วยอำนาจทิฏฐิ เป็นอย่างไร คือ สักกายทิฏฐิมีวัตถุ ๒๐ ฯลฯ นี้ชื่อว่าความถือมั่นด้วยอำนาจทิฏฐิ๑- คำว่า เธอจงบรรเทา... และวิญญาณ อธิบายว่า วิญญาณที่สหรคตด้วย ปุญญาภิสังขาร วิญญาณที่สหรคตด้วยอปุญญาภิสังขาร วิญญาณที่สหรคตด้วย อาเนญชาภิสังขาร เธอจงสลัด บรรเทา ถอน ถอนเสีย ละ ละทิ้ง ละให้หมด ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีก ซึ่งความเพลิดเพลิน ความถือมั่นและ วิญญาณที่สหรคตด้วยอภิสังขารในธรรมเหล่านี้ รวมความว่า เธอจงบรรเทาความ เพลิดเพลิน ความถือมั่นและวิญญาณ ในธรรมเหล่านี้เสีย คำว่า ไม่พึงตั้งอยู่ในภพ อธิบายว่า คำว่า ภพ ได้แก่ ภพ ๒ คือ (๑) กรรมภพ (๒) ภพใหม่อันมีในปฏิสนธิ กรรมภพ เป็นอย่างไร คือ ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อาเนญชาภิสังขาร นี้ชื่อว่ากรรมภพ ภพใหม่อันมีในปฏิสนธิ เป็นอย่างไร คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีในปฏิสนธิ นี้ชื่อว่า ภพใหม่อันมีในปฏิสนธิ คำว่า ไม่พึงตั้งอยู่ในภพ อธิบายว่า ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึง ความไม่มีอีกซึ่งความเพลิดเพลิน ความถือมั่นวิญญาณที่สหรคตด้วยอภิสังขาร กรรมภพ และภพใหม่อันมีในปฏิสนธิ ไม่พึงตั้งอยู่ในกรรมภพ ไม่พึงตั้งอยู่ คือ ไม่พึงดำรงอยู่ในภพใหม่ อันมีในปฏิสนธิ รวมความว่า เธอจงบรรเทา...และ วิญญาณในธรรมเหล่านี้เสีย ไม่พึงตั้งอยู่ในภพ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึง ตรัสว่า @เชิงอรรถ : @ เทียบกับความในข้อ ๑๑/๘๐-๘๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๑๓๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๕. มาณวปัญหานิทเทส ๔. เมตตคูมาณวปัญหานิทเทส

(พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า เมตตคู) เธอรู้ธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นธรรมชั้นสูง ชั้นต่ำและชั้นกลาง เธอจงบรรเทาความเพลิดเพลิน ความถือมั่น และวิญญาณในธรรมเหล่านี้เสีย ไม่พึงตั้งอยู่ในภพ [๒๕] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า) ภิกษุผู้มีปกติอยู่อย่างนี้ มีสติ ไม่ประมาท รู้แจ้ง ละความยึดถือว่าเป็นของเราแล้ว เที่ยวไปอยู่ พึงละชาติ ชรา โสกะและปริเทวะ อันเป็นทุกข์ในอัตภาพนี้ได้แน่นอน (๘) คำว่า ผู้มีปกติอยู่อย่างนี้ ในคำว่า ภิกษุผู้มีปกติอยู่อย่างนี้ มีสติ ไม่ประมาท อธิบายว่า ภิกษุผู้ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีก ซึ่งความเพลิดเพลิน ความยึดมั่นถือมั่น วิญญาณที่สหรคตด้วยอภิสังขาร กรรมภพ และภพใหม่อันมีในปฏิสนธิ รวมความว่า ผู้มีปกติอยู่อย่างนี้ คำว่า มีสติ อธิบายว่า มีสติด้วยเหตุ ๔ อย่าง คือ ๑. ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญสติปัฏฐานพิจารณากายในกาย ฯลฯ ภิกษุนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่า มีสติ๑-
ว่าด้วยความไม่ประมาท
คำว่า ไม่ประมาท อธิบายว่า ผู้ทำด้วยความเอื้อเฟื้อ ทำติดต่อ ทำไม่หยุด ประพฤติไม่ย่อหย่อน ไม่ละความพอใจ ไม่ทอดธุระ ชื่อว่าไม่ประมาทในกุศลธรรม ทั้งหลาย @เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดข้อ ๘/๗๐-๗๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๑๓๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๕. มาณวปัญหานิทเทส ๔. เมตตคูมาณวปัญหานิทเทส

คือ ความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขยัน ความไม่ถอยกลับ สติสัมปชัญญะ ความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส ความเพียรแรงกล้า ความตั้งใจ ความประกอบเนืองๆ ด้วยคิดว่า “เราพึงทำสีลขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์โดย อุบายอย่างไร หรือพึงใช้ปัญญาตามรักษาสีลขันธ์ให้บริบูรณ์ในข้อนั้นๆ โดยอุบาย อย่างไร” ดังนี้ ชื่อว่าไม่ประมาทในกุศลธรรมทั้งหลาย ... ความพอใจ ความ พยายาม ความอุตสาหะ ความขยัน ความไม่ถอยกลับ สติสัมปชัญญะ ความ เพียรเป็นเครื่องเผากิเลส ความเพียรแรงกล้า ความตั้งใจ ความประกอบเนืองๆ ด้วยคิดว่า “เราพึงทำสมาธิขันธ์ ฯลฯ ปัญญาขันธ์ ฯลฯ วิมุตติขันธ์ ฯลฯ วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ โดยอุบายอย่างไร หรือพึงใช้ ปัญญาตามรักษาวิมุตติญาณทัสสนขันธ์ที่บริบูรณ์ในข้อนั้นๆ โดยอุบายอย่างไร” ดังนี้ ชื่อว่าไม่ประมาทในกุศลธรรมทั้งหลาย ความพอใจ ความพยายาม ความ อุตสาหะ ความขยัน ความไม่ถอยกลับ สติสัมปชัญญะ ความเพียรเป็นเครื่อง เผากิเลส ความเพียรแรงกล้า ความตั้งใจ ความประกอบเนืองๆ ด้วยคิดว่า “เราพึงกำหนดรู้ทุกข์ที่ยังมิได้กำหนดรู้ พึงละกิเลสที่ยังมิได้ละ พึงเจริญมรรคที่ยัง มิได้เจริญ หรือทำให้แจ้งนิโรธที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง โดยอุบายอย่างไร” ดังนี้ ชื่อว่า ไม่ประมาทในกุศลธรรมทั้งหลาย รวมความว่า (ภิกษุ) ผู้มีปกติอยู่อย่างนี้ มีสติ ไม่ประมาท คำว่า ภิกษุ ในคำว่า ภิกษุ ... ละความยึดถือว่าเป็นของเราแล้ว เที่ยวไปอยู่ ได้แก่ ภิกษุผู้เป็นกัลยาณปุถุชน หรือภิกษุผู้เป็นพระเสขะ คำว่า เที่ยวไปอยู่ ได้แก่ เที่ยวไป คือ อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไป คำว่า ความยึดถือว่าเป็นของเรา ได้แก่ ความยึดถือว่าเป็นของเรา ๒ อย่าง คือ (๑) ความยึดถือว่าเป็นของเราด้วยอำนาจตัณหา (๒) ความยึดถือว่าเป็นของ เราด้วยอำนาจทิฏฐิ ฯลฯ นี้ชื่อว่าความยึดถือว่าเป็นของเราด้วยอำนาจตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าความยึดถือว่าเป็นของเราด้วยอำนาจทิฏฐิ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๑๔๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๕. มาณวปัญหานิทเทส ๔. เมตตคูมาณวปัญหานิทเทส

ภิกษุละความยึดถือว่าเป็นของเราด้วยอำนาจตัณหา สลัดทิ้งความยึดถือว่า เป็นของเราด้วยอำนาจทิฏฐิ คือ ละ สละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึง ความไม่มีอีก ซึ่งความยึดถือว่าของเรา รวมความว่า ภิกษุ ... ละความยึดถือว่า เป็นของเราแล้ว เที่ยวไปอยู่ คำว่า ชาติ ในคำว่า รู้แจ้ง ... พึงละชาติ ชรา โสกะ และปริเทวะอัน เป็นทุกข์ในอัตภาพนี้ได้แน่นอน ได้แก่ การเกิด คือเกิดขึ้น การก้าวลง(สู่ครรภ์) การบังเกิด การบังเกิดขึ้น ความปรากฏแห่งขันธ์ทั้งหลาย การได้อายตนะในหมู่ สัตว์นั้นๆ ของสัตว์เหล่านั้นๆ คำว่า ชรา ได้แก่ ความแก่ คือ ความทรุดโทรม ความเป็นผู้มีฟันหัก ความเป็นผู้มีผมหงอก ความเป็นผู้มีหนังเหี่ยว ความเสื่อมอายุ ความแก่หง่อม แห่งอินทรีย์ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของสัตว์เหล่านั้นๆ คำว่า โสกะ ได้แก่ ความเศร้าโศก กิริยาที่เศร้าโศก ภาวะที่เศร้าโศก ความเศร้าโศกภายใน ความเศร้าโศกมากภายใน ความหม่นไหม้ภายใน ความ เร่าร้อนภายใน ความหม่นไหม้แห่งจิต ความทุกข์ใจ ลูกศรคือความเศร้าโศก ของผู้ที่ถูกความเสียหายของญาติกระทบบ้าง ถูกความเสียหายแห่งโภคทรัพย์ กระทบบ้าง ถูกความเสียหายเพราะโรคกระทบบ้าง ถูกสีลวิบัติกระทบบ้าง ถูก ทิฏฐิวิบัติกระทบบ้าง ประจวบกับความเสียหายอื่นนอกจากที่กล่าวแล้วบ้าง ถูก เหตุแห่งทุกข์อื่นนอกจากที่กล่าวแล้วกระทบบ้าง คำว่า ปริเทวะ ได้แก่ ความบ่นเพ้อ ความคร่ำครวญ กิริยาที่บ่นเพ้อ กิริยาที่คร่ำครวญ ภาวะที่บ่นเพ้อ ภาวะที่คร่ำครวญ การพูดพล่าม การพูดเพ้อ การพูดเพ้อเจ้อ ความพร่ำเพ้อ กิริยาที่พร่ำเพ้อ ภาวะที่พร่ำเพ้อ ของผู้ถูกความ เสียหายของญาติกระทบบ้าง ... ถูกทิฏฐิวิบัติกระทบบ้าง ประจวบกับความเสีย หายอื่นนอกจากที่กล่าวแล้วบ้าง ถูกเหตุแห่งทุกข์อื่นนอกจากที่กล่าวแล้วกระทบบ้าง คำว่า นี้ ได้แก่ ในความเห็นนี้ ฯลฯ ในมนุษยโลกนี้ คำว่า รู้แจ้ง ได้แก่ มีความรู้แจ้ง คือ มีวิชชา มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาเครื่องทำลายกิเลส {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๑๔๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๕. มาณวปัญหานิทเทส ๔. เมตตคูมาณวปัญหานิทเทส

คำว่า อันเป็นทุกข์ ได้แก่ ชาติทุกข์ ฯลฯ โสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาสทุกข์ คำว่า รู้แจ้ง ... พึงละชาติ ชรา โสกะ และปริเทวะอันเป็นทุกข์ใน อัตภาพนี้ได้แน่นอน อธิบายว่า มีความรู้แจ้ง คือ มีวิชชา มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาเครื่องทำลายกิเลส พึงละ คือ พึงบรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึง ความไม่มีอีกซึ่งชาติ ชรา โสกะ ปริเทวะ และทุกข์ในโลกนี้เอง รวมความว่า รู้แจ้ง ... พึงละชาติ ชรา โสกะ และปริเทวะอันเป็นทุกข์ในอัตภาพนี้ได้แน่นอน ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสตอบว่า ภิกษุผู้มีปกติอยู่อย่างนี้ มีสติ ไม่ประมาท รู้แจ้ง ละความยึดถือว่าเป็นของเราแล้ว เที่ยวไปอยู่ พึงละชาติ ชรา โสกะและปริเทวะ อันเป็นทุกข์ในอัตภาพนี้ได้แน่นอน [๒๖] (ท่านเมตตคูทูลถามว่า) ข้าพระองค์ชอบใจพระวาจานี้ของพระองค์ ผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ข้าแต่พระโคดม ธรรมที่ปราศจากอุปธิ พระองค์ตรัสไว้ดีแล้ว พระผู้มีพระภาคทรงละทุกข์ได้แล้วเป็นแน่ เพราะธรรมนี้ พระองค์ทรงทราบชัดแล้ว (๙) คำว่า นี้ ในคำว่า ข้าพระองค์ชอบใจพระวาจานี้ของพระองค์ผู้ทรงแสวง หาคุณอันยิ่งใหญ่ ได้แก่ พระวาจา คือ คำที่เป็นแนวทาง เทศนา คำสั่งสอน คำพร่ำสอน คำว่า ชอบใจ ได้แก่ พอใจ ชอบใจ คือ เบิกบานใจ อนุโมทนา ต้องการ ยินดี ทูลขอ ปรารถนา มุ่งหมาย มุ่งหวัง คำว่า ผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ อธิบายว่า พระผู้มีพระภาค ชื่อว่าทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ อย่างไร คือ พระผู้มีพระภาคทรงแสวงหา ค้นหา เสาะหาสีลขันธ์ใหญ่ จึงชื่อว่าทรง แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ฯลฯ “พระผู้ทรงองอาจกว่านรชนประทับอยู่ที่ไหน” จึง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๑๔๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๕. มาณวปัญหานิทเทส ๔. เมตตคูมาณวปัญหานิทเทส

ชื่อว่าผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ รวมความว่า ข้าพระองค์ชอบใจพระวาจานี้ของพระ องค์ผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ คำว่า ตรัสไว้ดีแล้ว ในคำว่า ข้าแต่พระโคดม ธรรมที่ปราศจากอุปธิ พระองค์ตรัสไว้ดีแล้ว อธิบายว่า ตรัสไว้ดีแล้ว คือ ตรัสบอกไว้ดีแล้ว แสดงไว้ ดีแล้ว บัญญัติไว้ดีแล้ว กำหนดไว้ดีแล้ว เปิดเผยไว้ดีแล้ว จำแนกไว้ดีแล้ว ทำให้ ง่ายไว้ดีแล้ว ประกาศไว้ดีแล้ว รวมความว่า ตรัสไว้ดีแล้ว คำว่า ข้าแต่พระโคดม ธรรมที่ปราศจากอุปธิ อธิบายว่า กิเลส ขันธ์ และอภิสังขาร ตรัสเรียกว่า อุปธิ การละอุปธิ ความเข้าไปสงบอุปธิ ความสลัด ทิ้งอุปธิ ความระงับอุปธิ ชื่อว่าอมตนิพพาน รวมความว่า ข้าแต่พระโคดม ธรรมที่ปราศจากอุปธิ พระองค์ตรัสไว้ดีแล้ว คำว่า เป็นแน่ ในคำว่า พระผู้มีพระภาคทรงละทุกข์ได้แล้วเป็นแน่ เป็น คำกล่าวโดยนัยเดียว เป็นคำกล่าวโดยไม่สงสัย เป็นคำกล่าวโดยไม่เคลือบแคลง เป็นคำกล่าวโดยไม่เป็น ๒ นัย เป็นคำกล่าวโดยไม่เป็น ๒ อย่าง เป็นคำกล่าว โดยรัดกุม เป็นคำกล่าวโดยไม่ผิด คำว่า เป็นแน่ นี้ เป็นคำกล่าวที่กำหนดไว้แน่แล้ว คำว่า พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ ฯลฯ คำว่า พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ คำว่า ทรงละทุกข์ได้แล้ว อธิบายว่า ทรงละ คือ ทรงละทิ้ง บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งชาติทุกข์ ชราทุกข์ มรณทุกข์ โสกปริเทว- ทุกขโทมนัสอุปายาสทุกข์ รวมความว่า พระผู้มีพระภาคทรงละทุกข์ได้แล้วเป็นแน่ คำว่า เพราะธรรมนี้ พระองค์ทรงทราบชัดแล้ว อธิบายว่า เพราะธรรมนี้ พระองค์ทรงทราบ คือ ทรงรู้ เทียบเคียง พิจารณา ทำให้กระจ่าง ทำให้แจ่มแจ้งแล้ว รวมความว่า เพราะธรรมนี้ พระองค์ทรงรู้ชัดแล้ว ด้วยเหตุนั้น พราหมณ์นั้น จึง กราบทูลว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๑๔๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๕. มาณวปัญหานิทเทส ๔. เมตตคูมาณวปัญหานิทเทส

ข้าพระองค์ชอบใจพระวาจานี้ของพระองค์ ผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ข้าแต่พระโคดม ธรรมที่ปราศจากอุปธิ พระองค์ตรัสไว้ดีแล้ว พระผู้มีพระภาคทรงละทุกข์ได้แล้วเป็นแน่ เพราะธรรมนี้ พระองค์ทรงทราบชัดแล้ว [๒๗] (ท่านเมตตคูทูลถามว่า) พระองค์ผู้เป็นพระมุนีตรัสสอนชนเหล่าใดไม่หยุดหย่อน ชนแม้เหล่านั้นพึงละทุกข์ได้เป็นแน่ เพราะฉะนั้น ข้าพระองค์จึงมาพบพระผู้มีพระภาคผู้นาคะ ขอนมัสการพระองค์ (โดยหวังว่า)พระผู้มีพระภาค พึงตรัสสอนข้าพระองค์ไม่หยุดหย่อนบ้าง (๑๐) คำว่า ชนแม้เหล่านั้น ในคำว่า ชนแม้เหล่านั้นพึงละทุกข์ได้เป็นแน่ ได้แก่ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต เทวดาและมนุษย์ คำว่า พึงละทุกข์ได้ อธิบายว่า พึงละ คือ พึงบรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งชาติทุกข์ ชราทุกข์ พยาธิทุกข์ มรณทุกข์ โสกปริเทวทุกข- โทมนัสอุปายาสทุกข์ รวมความว่า ชนแม้เหล่านั้นพึงละทุกข์ได้เป็นแน่ คำว่า ชนเหล่าใด ในคำว่า พระองค์ผู้เป็นพระมุนีตรัสสอนชนเหล่าใดไม่ หยุดหย่อน ได้แก่ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต เทวดา และมนุษย์ คำว่า พระองค์ เป็นคำที่พราหมณ์เรียกพระผู้มีพระภาค คำว่า พระมุนี อธิบายว่า ญาณ ท่านเรียกว่า โมนะ ฯลฯ พระองค์ทรง ก้าวล่วงกิเลสเครื่องข้องและตัณหาดุจตาข่ายได้แล้ว ชื่อว่าพระมุนี๑- คำว่า ตรัสสอนไม่หยุดหย่อน ได้แก่ ตรัสสอนไม่หยุดหย่อน คือ ตรัสสอน โดยเอื้อเฟื้อ ตรัสสอนเนืองๆ ตรัสสอนบ่อยๆ คือ พร่ำสอน รวมความว่า พระองค์ผู้เป็นพระมุนีตรัสสอนชนเหล่าใดไม่หยุดหย่อน @เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดข้อ ๒๑/๑๒๗-๑๒๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๑๔๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๕. มาณวปัญหานิทเทส ๔. เมตตคูมาณวปัญหานิทเทส

คำว่า พระองค์ ในคำว่า เพราะฉะนั้นข้าพระองค์จึงมาพบพระผู้มีพระภาค ผู้นาคะ ขอนมัสการพระองค์ เป็นคำที่พราหมณ์เรียกพระผู้มีพระภาค คำว่า ขอนมัสการ อธิบายว่า ขอนมัสการ คือ ขอสักการะ เคารพ นับถือ บูชาด้วยกาย วาจา ใจ ด้วยการปฏิบัติเอื้อประโยชน์ หรือด้วยการปฏิบัติธรรม ถูกต้องตามหลักธรรม คำว่า จึงมาพบ ได้แก่ จึงมาพบ คือ จึงมาประสบ มาหา มาเฝ้าแล้ว ขอ นมัสการพระองค์เฉพาะพระพักตร์
ว่าด้วยพระผู้มีพระภาคชื่อว่านาคะ
คำว่า ผู้นาคะ อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคชื่อว่าผู้นาคะ เพราะไม่ทรงทำ ความชั่ว พระผู้มีพระภาคชื่อว่าผู้นาคะ เพราะไม่ทรงถึง พระผู้มีพระภาคชื่อว่าผู้ นาคะ เพราะไม่ทรงกลับมาหา พระผู้มีพระภาคชื่อว่าผู้นาคะ เพราะไม่ทรงทำความชั่ว เป็นอย่างไร คือ บาปอกุศลธรรมทั้งหลาย เป็นเหตุแห่งความเศร้าหมอง ก่อภพใหม่ มี ความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นที่ตั้งแห่งชาติ ชรา และมรณะต่อไป ตรัสเรียกว่า ความชั่ว (สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สภิยะ) บุคคลผู้ไม่ทำบาปแม้เล็กน้อยในโลก สลัดสังโยชน์เครื่องผูกพันได้ทั้งหมด ไม่ติดข้องอยู่ในธรรมเป็นเครื่องข้องทั้งปวง เป็นผู้หลุดพ้น ดำรงตนมั่นคงเช่นนั้น บัณฑิตทั้งหลายเรียกว่านาคะ๑- พระผู้มีพระภาคชื่อว่าผู้นาคะ เพราะไม่ทรงทำความชั่ว เป็นอย่างนี้ @เชิงอรรถ : @ ขุ.สุ. ๒๕/๕๒๘/๔๓๗, ขุ.ม.(แปล) ๒๙/๘๐/๒๓๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๑๔๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๕. มาณวปัญหานิทเทส ๔. เมตตคูมาณวปัญหานิทเทส

พระผู้มีพระภาคชื่อว่าผู้นาคะ เพราะไม่ทรงถึง เป็นอย่างไร คือ พระผู้มีพระภาคไม่ทรงถึงฉันทาคติ(ลำเอียงเพราะชอบ) ไม่ทรงถึงโทสาคติ (ลำเอียงเพราะชัง) ไม่ทรงถึงโมหาคติ(ลำเอียงเพราะหลง) ไม่ทรงถึงภยาคติ (ลำเอียงเพราะกลัว) พระองค์ไม่ทรงดำเนินไปด้วยอำนาจราคะ ไม่ดำเนินไปด้วย อำนาจโทสะ ไม่ดำเนินไปด้วยอำนาจโมหะ ไม่ดำเนินไปด้วยอำนาจทิฏฐิ ไม่ ดำเนินไปด้วยอำนาจมานะ ไม่ดำเนินไปด้วยอำนาจอุทธัจจะ ไม่ดำเนินไปด้วย อำนาจวิจิกิจฉา ไม่ดำเนินไปด้วยอำนาจอนุสัย ได้แก่ ไม่ทรงดำเนินไป ไม่เสด็จ ออกไป ไม่ทรงถูกพาไป ไม่ทรงถูกนำไปด้วยธรรมที่ก่อความเป็นฝักเป็นฝ่าย พระผู้มีพระภาคชื่อว่าผู้นาคะเพราะไม่ทรงถึง เป็นอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคชื่อว่าผู้นาคะ เพราะไม่ทรงกลับมาหา เป็นอย่างไร คือ กิเลสเหล่าใดพระผู้มีพระภาคทรงละได้แล้ว ด้วยโสดาปัตติมรรค พระผู้มีพระภาคไม่เสด็จมา ไม่เสด็จกลับมา ไม่ทรงหวนกลับมาสู่กิเลสเหล่านั้นอีก กิเลสเหล่าใด พระผู้มีพระภาคทรงละได้แล้วด้วยสกทาคามิมรรค ฯลฯ ด้วย อนาคามิมรรค ฯลฯ ด้วยอรหัตตมรรค พระองค์ไม่เสด็จมา ไม่เสด็จกลับมา ไม่ ทรงหวนกลับมาสู่กิเลสเหล่านั้นอีก พระผู้มีพระภาคชื่อว่าผู้นาคะ เพราะไม่กลับมา หา เป็นอย่างนี้ รวมความว่า ข้าพระองค์จึงมาพบพระผู้มีพระภาคผู้นาคะ ขอ นมัสการพระองค์ คำว่า พระผู้มีพระภาคพึงตรัสสอนข้าพระองค์ไม่หยุดหย่อนบ้าง ได้แก่ ขอพระผู้มีพระภาคพึงตรัสสอนข้าพระองค์ไม่หยุดหย่อน คือ พึงตรัสสอนโดยเอื้อเฟื้อ ตรัสสอนเนืองๆ ตรัสสอนบ่อยๆ คือ พร่ำสอนบ้าง รวมความว่า พระผู้มี- พระภาคพึงตรัสสอนข้าพระองค์ไม่หยุดหย่อนบ้าง ด้วยเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึง กราบทูลว่า พระองค์ผู้เป็นพระมุนีตรัสสอนชนเหล่าใดไม่หยุดหย่อน ชนแม้เหล่านั้นพึงละทุกข์ได้เป็นแน่ เพราะฉะนั้น ข้าพระองค์จึงมาพบพระผู้มีพระภาคผู้นาคะ ขอนมัสการพระองค์ (โดยหวังว่า)พระผู้มีพระภาค พึงตรัสสอนข้าพระองค์ไม่หยุดหย่อนบ้าง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๑๔๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๕. มาณวปัญหานิทเทส ๔. เมตตคูมาณวปัญหานิทเทส

[๒๘] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า) บุคคลที่เธอรู้จักว่าเป็นพราหมณ์ผู้จบเวท ไม่มีเครื่องกังวล ไม่ข้องในกามภพ ข้ามโอฆะได้แล้วโดยแท้ และเป็นผู้ข้ามถึงฝั่ง ไม่มีกิเลสดุจตะปูตรึงจิต หมดความสงสัยแล้ว (๑๑)
ว่าด้วยบุคคลได้ชื่อว่าเป็นพราหมณ์
คำว่า บุคคลที่เธอรู้จักว่าเป็นพราหมณ์ผู้จบเวท อธิบายว่า คำว่า พราหมณ์ อธิบายว่า ชื่อว่าพราหมณ์ เพราะลอยธรรม ๗ ประการ ได้แล้ว คือ ๑. ลอยสักกายทิฏฐิได้แล้ว ๒. ลอยวิจิกิจฉาได้แล้ว ๓. ลอยสีลัพพตปรามาสได้แล้ว ๔. ลอยราคะได้แล้ว ๕. ลอยโทสะได้แล้ว ๖. ลอยโมหะได้แล้ว ๗. ลอยมานะได้แล้ว คือ พราหมณ์ลอยบาปอกุศลธรรมซึ่งเป็นเหตุแห่งความเศร้าหมอง ก่อภพใหม่ มีความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นที่ตั้งแห่งชาติ ชรา มรณะ ต่อไปได้แล้ว (สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า สภิยะ) บุคคลผู้ลอยบาปทั้งปวงได้แล้ว เป็นผู้ปราศจากมลทิน เป็นผู้ประเสริฐ มีจิตตั้งมั่นด้วยสมาธิ ดำรงตนมั่นคง ข้ามพ้นสังสารวัฏ เป็นผู้บริสุทธิ์บริบูรณ์ ไม่มีตัณหาและทิฏฐิอาศัย เป็นผู้มั่นคง บัณฑิตเรียกผู้นั้นว่าเป็นพราหมณ์๑- @เชิงอรรถ : @ ขุ.สุ. ๒๕/๕๒๕-๔๓๖, ขุ.ม.(แปล) ๒๙/๒๕/๑๐๕ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๑๔๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๕. มาณวปัญหานิทเทส ๔. เมตตคูมาณวปัญหานิทเทส

คำว่า ผู้จบเวท อธิบายว่า ญาณในมรรค ๔ ตรัสเรียกว่า เวท ฯลฯ พราหมณ์นั้นก้าวล่วงเวททั้งปวงแล้ว ชื่อว่าผู้จบเวท คำว่า ที่เธอรู้จัก ได้แก่ที่เธอพึงรู้จัก คือ รู้ทั่ว รู้แจ่มแจ้ง รู้เฉพาะ แทงตลอด รวมความว่า บุคคลที่เธอรู้จักว่าเป็นพราหมณ์ผู้จบเวท คำว่า ไม่มีเครื่องกังวล ในคำว่า ไม่มีเครื่องกังวล ไม่ข้องในกามภพ ได้แก่ เครื่องกังวลคือราคะ เครื่องกังวลคือโทสะ เครื่องกังวลคือโมหะ เครื่องกังวลคือมานะ เครื่องกังวลคือทิฏฐิ เครื่องกังวลคือกิเลส เครื่องกังวลคือทุจริต เครื่องกังวลเหล่านี้ ผู้ใดละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว ผู้นั้นตรัสเรียกว่า ไม่มีเครื่องกังวล คำว่า กาม ได้แก่ กาม ๒ อย่าง แบ่งตามหมวด คือ (๑) วัตถุกาม (๒) กิเลสกาม ฯลฯ เหล่านี้เรียกว่า วัตถุกาม ฯลฯ เหล่านี้เรียกว่า กิเลสกาม๑- คำว่า ภพ ได้แก่ ภพ ๒ คือ (๑) กรรมภพ (๒) ภพใหม่อันมีในปฏิสนธิ ฯลฯ นี้ชื่อว่ากรรมภพ ฯลฯ นี้ชื่อว่าภพใหม่อันมีในปฏิสนธิ๒- คำว่า ไม่มีเครื่องกังวล ไม่ข้องในกามภพ อธิบายว่า บุคคลผู้ไม่มีเครื่อง กังวล ไม่ข้อง คือ ไม่เกาะติด ไม่เกี่ยวพัน ไม่พัวพัน ออก สลัดออก หลุดพ้น ไม่เกี่ยวข้องในกามภพ มีใจเป็นอิสระ(จากเครื่องกังวล)อยู่ รวมความว่า ไม่มี เครื่องกังวล ไม่ข้องในกามภพ คำว่า โดยแท้ ในคำว่า ข้ามโอฆะได้แล้วโดยแท้ เป็นคำกล่าวโดยนัยเดียว ฯลฯ คำว่า โดยแท้ นี้ เป็นคำกล่าวที่กำหนดไว้แน่แล้ว คำว่า โอฆะ ได้แก่ กาโมฆะ ภโวฆะ ทิฏโฐฆะ อวิชโชฆะ คำว่า ข้าม ได้แก่ ข้ามไป ข้ามพ้น ก้าวล่วง ล่วงเลย รวมความว่า ข้าม โอฆะได้แล้วโดยแท้ @เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดข้อ ๘/๖๖-๖๗ @ ดูรายละเอียดข้อ ๒๔/๑๓๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๑๔๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๕. มาณวปัญหานิทเทส ๔. เมตตคูมาณวปัญหานิทเทส

คำว่า ข้าม ในคำว่า เป็นผู้ข้ามถึงฝั่ง ไม่มีกิเลสดุจตะปูตรึงจิต หมด ความสงสัยแล้ว อธิบายว่า บุคคลข้าม ข้ามขึ้น ข้ามพ้น ก้าวล่วง ก้าวพ้น ล่วง พ้นกาโมฆะ ภโวฆะ ทิฏโฐฆะ อวิชโชฆะ และทางแห่งสงสารได้แล้ว คือ บุคคล นั้นอยู่ใน(อริยวาสธรรม)แล้ว ประพฤติจรณธรรมแล้ว ผ่านทางไกลได้แล้ว ถึง ทิศ(นิพพาน)แล้ว ถึงจุดจบ(นิพพาน)แล้ว รักษาพรหมจรรย์ได้แล้ว ถึงทิฏฐิอัน สูงสุด๑- แล้ว เจริญมรรคได้แล้ว ละกิเลสได้แล้ว รู้แจ้งธรรมที่ไม่กำเริบแล้ว ทำ นิโรธให้แจ้งได้แล้ว ท่านกำหนดรู้ทุกข์ได้แล้ว ละสมุทัยได้แล้ว เจริญมรรคได้แล้ว ทำนิโรธให้แจ้งแล้ว รู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่งแล้ว กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ได้แล้ว ละธรรมที่ควรละได้แล้ว เจริญธรรมที่ควรเจริญได้แล้ว ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้ แจ้งได้แล้ว บุคคลนั้นถอนลิ่มสลักคืออวิชชาได้แล้ว ถมคูคือกรรมได้แล้ว ถอนเสา ระเนียดคือตัณหาได้แล้ว ไม่มีบานประตูคือสังโยชน์ เป็นผู้ไกลจากข้าศึกคือกิเลส ปลดธงคือมานะลงเสียแล้ว ปลงภาระได้แล้ว ไม่เกี่ยวข้องกับโยคกิเลสแล้ว ละ องค์ ๕ (แห่งนิวรณ์)ได้แล้ว ประกอบด้วยองค์ ๖ มีธรรมเครื่องรักษาอย่าง เอก(คือสติ) มีอปัสเสนธรรม๒- ๔ อย่าง มีปัจเจกสัจจะ๓- อันบรรเทาได้แล้ว มี การแสวงหาอันสละได้โดยชอบ ไม่บกพร่อง มีความดำริไม่ขุ่นมัว มีกายสังขารอัน ระงับได้แล้ว มีจิตหลุดพ้นดีแล้ว มีปัญญาหลุดพ้นได้ดี เป็นผู้บริสุทธิ์บริบูรณ์ อยู่ จบพรหมจรรย์ เป็นอุดมบุรุษ เป็นบรมบุรุษ ถึงการบรรลุปรมัตถธรรมแล้ว บุคคลนั้น มิต้องก่อผลกรรม มิต้องกำจัด กำจัดได้แล้วดำรงตนอยู่ มิต้องละกิเลส มิต้องถือมั่น ละได้แล้วดำรงตนอยู่ มิต้องเย็บ(ด้วยตัณหา) มิต้องยก(ตนด้วยมานะ) @เชิงอรรถ : @ ทิฏฐิอันสูงสุด หมายถึงสัมมาทิฏฐิ (ขุ.ม.อ. ๖/๘๒) @ อปัสเสนธรรม คือ ธรรมดุจพนักพิง หรือธรรมพึ่งอาศัย มี ๔ อย่างคือ @๑. สงฺขาเยกํ ปฏิเสวติ ของอย่างหนึ่ง พิจารณาแล้วเสพ เช่น ปัจจัย ๔ @๒. สงฺขาเยกํ ปริวชฺเชติ ของอย่างหนึ่ง พิจารณาแล้วเว้น เช่น คนพาลหรือสัตว์ร้าย @๓. สงฺขาเยกํ วิโนเทติ ของอย่างหนึ่ง พิจารณาแล้วบรรเทา เช่นกามวิตก @๔. สงฺขาเยกํ ปชหติ ของอย่างหนึ่ง พิจารณาแล้วละเสีย (ที.ปา. ๑๑/๓๐๘/๒๐๐, ขุ.ม.อ. ๖/๘๖) @ ปัจเจกสัจจะ หมายถึงทิฏฐิอย่างใดอย่างหนึ่งที่ยึดถือ เช่น ถือว่า ทรรศนะนี้ @เท่านั้นจริง ทรรศนะนี้เท่านั้นจริง (ขุ.ม.อ. ๖/๘๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๑๔๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๕. มาณวปัญหานิทเทส ๔. เมตตคูมาณวปัญหานิทเทส

เย็บเรียบร้อยแล้วดำรงตนอยู่ มิต้องดับ (ไฟคือกิเลส) มิต้องก่อ ดับได้แล้ว ดำรงตนอยู่ ชื่อว่าดำรงตนอยู่ได้เพราะประกอบด้วยสีลขันธ์อันเป็นอเสขะ... ด้วย สมาธิขันธ์ ... ด้วยปัญญาขันธ์ ... ด้วยวิมุตติขันธ์ ... ดำรงตนอยู่ด้วยวิมุตติ ญาณทัสสนขันธ์อันเป็นอเสขะ แทงตลอดสัจจะแล้ว ดำรงตนอยู่โดยการก้าวล่วง ตัณหาอันเป็นเหตุให้หวั่นไหว ดำรงตนอยู่โดยการดับไฟคือกิเลส ดำรงตนอยู่โดย ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิด ดำรงตนอยู่โดยการสมาทานธรรมขั้นสุดยอด ดำรงตนอยู่ โดยการเสพวิมุตติ ดำรงตนอยู่ด้วยเมตตาอันบริสุทธิ์ ... ด้วยกรุณา... ด้วย มุทิตาอันบริสุทธิ์ ... ดำรงตนอยู่ด้วยอุเบกขาอันบริสุทธิ์ ดำรงตนอยู่ด้วยความ บริสุทธิ์อย่างยิ่ง ดำรงตนอยู่ด้วยความบริสุทธิ์เพราะไม่มีตัณหาทิฏฐิและมานะ ดำรงตนอยู่โดยความเป็นผู้หลุดพ้น ดำรงตนอยู่โดยความเป็นผู้สันโดษ ดำรงตน อยู่ในขันธ์สุดท้าย ดำรงตนอยู่ในธาตุสุดท้าย ดำรงตนอยู่ในอายตนะสุดท้าย ดำรงตนอยู่ในคติสุดท้าย ดำรงตนอยู่ในการถือกำเนิดสุดท้าย ดำรงตนอยู่ใน ปฏิสนธิสุดท้าย ดำรงตนอยู่ในภพสุดท้าย ดำรงตนอยู่ในสงสารสุดท้าย ดำรง ตนอยู่ในวัฏฏะสุดท้าย ดำรงตนอยู่ในภพสุดท้าย ดำรงตนอยู่ในประชุมแห่งขันธ์ ขั้นสุดท้าย ทรงไว้ซึ่งร่างกายขั้นสุดท้าย เป็นผู้ไกลจากข้าศึก (สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า) พระขีณาสพนั้น มีภพนี้เป็นภพสุดท้าย มีประชุมแห่งขันธ์นี้เป็นครั้งสุดท้าย ไม่มีการเวียนเกิด เวียนแก่ เวียนตาย และภพใหม่ก็ไม่มีอีก๑- คำว่า และเป็นผู้ข้ามถึงฝั่ง อธิบายว่า อมตนิพพานตรัสเรียกว่า ฝั่ง คือ ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดทิ้งอุปธิทั้งหมด เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่ คลายกำหนัด เป็นที่ดับกิเลส เป็นที่เย็นสนิท บุคคลนั้นถึงฝั่ง บรรลุฝั่ง ถึงส่วนสุด บรรลุส่วนสุด ถึงปลายสุด บรรลุ ปลายสุด ถึงท้ายสุด บรรลุท้ายสุด ถึงความสำเร็จ บรรลุความสำเร็จ ถึงที่ปกป้อง บรรลุที่ปกป้อง ถึงที่หลีกเร้น บรรลุที่หลีกเร้น ถึงที่พึ่ง บรรลุที่พึ่ง ถึงที่ไม่มีภัย @เชิงอรรถ : @ ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๖/๒๗ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๑๕๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๕. มาณวปัญหานิทเทส ๔. เมตตคูมาณวปัญหานิทเทส

บรรลุที่ไม่มีภัย ถึงที่ไม่จุติ บรรลุที่ไม่จุติ ถึงที่ไม่ตาย บรรลุที่ไม่ตาย ถึงที่ดับ บรรลุที่ดับ บุคคลนั้นอยู่ใน(อริยวาสธรรม)แล้ว ประพฤติจรณธรรมแล้ว ฯลฯ ไม่มีการเวียนเกิด เวียนแก่ เวียนตาย และภพใหม่ก็ไม่มีอีก รวมความว่า และ เป็นผู้ข้ามถึงฝั่ง คำว่า ไม่มีกิเลสดุจตะปูตรึงจิต อธิบายว่า ราคะ โทสะ โมหะ โกธะ อุปนาหะ ฯลฯ อกุสลาภิสังขารทุกประเภท ชื่อว่ากิเลสดุจตะปูตรึงจิต กิเลสดุจ ตะปูตรึงจิตเหล่านี้ ผู้ใดละได้แล้ว คือ ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว ผู้นั้นตรัสเรียกว่า ผู้ไม่มีกิเลสดุจ ตะปูตรึงจิต คำว่า หมดความสงสัย อธิบายว่า ความสงสัยในทุกข์ ความสงสัยในทุกข- สมุทัย ความสงสัยในทุกขนิโรธ ความสงสัยในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ความ สงสัยในส่วนเบื้องต้น ความสงสัยในส่วนเบื้องปลาย ความสงสัยทั้งในส่วนเบื้อง ต้นและส่วนเบื้องปลาย ความสงสัยในปฏิจจสมุปบาทว่าเพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงมี ความสงสัย กิริยาที่สงสัย ภาวะที่สงสัย ความเคลือบแคลง ความลังเล ความเห็นเป็น ๒ ฝ่าย ๒ ทาง ความไม่แน่ใจ ความยึดถือหลายอย่าง ความ ไม่ตกลงใจ ความตัดสินใจไม่ได้ ความกำหนดถือไม่ได้ ความหวาดหวั่นแห่งจิต ความติดขัดในใจเห็นปานนี้ ความสงสัยเหล่านี้ ผู้ใดละได้แล้ว คือ ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว ผู้นั้นตรัสเรียกว่า ผู้ หมดความสงสัย รวมความว่า และเป็นผู้ข้ามถึงฝั่ง ไม่มีกิเลสดุจตะปูตรึงจิต หมด ความสงสัยแล้ว ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า บุคคลที่เธอรู้จักว่าเป็นพราหมณ์ผู้จบเวท ไม่มีเครื่องกังวล ไม่ข้องในกามภพ ข้ามโอฆะได้แล้วโดยแท้ และเป็นผู้ข้ามถึงฝั่ง ไม่มีกิเลสดุจตะปูตรึงจิต หมดความสงสัยแล้ว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๑๕๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๕. มาณวปัญหานิทเทส ๔. เมตตคูมาณวปัญหานิทเทส

[๒๙] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า) นรชนใดในที่นี้ เป็นผู้มีปัญญา จบเวท สลัดเครื่องข้องในภพน้อยภพใหญ่นี้ได้แล้ว นรชนนั้นเป็นผู้คลายตัณหาแล้ว ไม่มีทุกข์ ไม่มีความหวัง เรากล่าวว่า นรชนนั้นข้ามชาติและชราได้แล้ว (๑๒) คำว่า ผู้มีปัญญา ในคำว่า นรชนใดในที่นี้ เป็นผู้มีปัญญา จบเวท ได้แก่ ผู้มีวิชชา มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาเครื่องทำลายกิเลส คำว่า ใด ได้แก่ ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ฯลฯ หรือมนุษย์ก็ตาม คำว่า จบเวท อธิบายว่า ญาณในมรรค ๔ ตรัสเรียกว่า เวท ฯลฯ เขา ก้าวล่วงเวททั้งปวงแล้ว ชื่อว่าจบเวท คำว่า นรชน ได้แก่ ผู้ข้องอยู่ นรชน มานพ บุรุษ บุคคล ผู้มีชีวิต ผู้เกิด สัตว์เกิด ผู้เป็นไปตามกรรม มนุษย์ คำว่า ในที่นี้ ได้แก่ ในความเห็นนี้ ฯลฯ ในมนุษยโลกนี้ รวมความว่า นรชนใดในที่นี้ เป็นผู้มีปัญญาจบเวท คำว่า ในภพน้อยภพใหญ่ ในคำว่า สลัดเครื่องข้องในภพน้อยภพใหญ่นี้ ได้แล้ว อธิบายว่า ภพน้อยภพใหญ่ คือ ในกรรมวัฏและวิปากวัฏ ในกรรมวัฏ เป็นเครื่องเกิดในกามภพ ในวิปากวัฏเป็นเครื่องเกิดในกามภพ ในกรรมวัฏเป็น เครื่องเกิดในรูปภพ ในวิปากวัฏเป็นเครื่องเกิดในรูปภพ ในกรรมวัฏเป็นเครื่องเกิด ในอรูปภพ ในวิปากวัฏเป็นเครื่องเกิดในอรูปภพ ในภพต่อไป ในคติต่อไป ใน การถือกำเนิดต่อไป ในปฏิสนธิต่อไป ในการบังเกิดของอัตภาพต่อไป
ว่าด้วยเครื่องข้อง ๗
คำว่า เครื่องข้อง ได้แก่ เครื่องข้อง ๗ อย่าง คือ ๑. เครื่องข้องคือราคะ ๒. เครื่องข้องคือโทสะ ๓. เครื่องข้องคือโมหะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๑๕๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๕. มาณวปัญหานิทเทส ๔. เมตตคูมาณวปัญหานิทเทส

๔. เครื่องข้องคือมานะ ๕. เครื่องข้องคือทิฏฐิ ๖. เครื่องข้องคือกิเลส ๗. เครื่องข้องคือทุจริต คำว่า สลัด ได้แก่ ปลด หรือสลัดเครื่องข้องทั้งหลายได้แล้ว อีกนัยหนึ่ง ปลดเปลื้องหรือสลัดเครื่องข้อง คือ เครื่องผูก เครื่องมัด เครื่องผูกพัน เครื่องเกาะติด เครื่องเกี่ยวพัน เครื่องพัวพัน เครื่องผูกมัดทั้งหลาย ได้แล้ว เหมือนคนทำการปลดปล่อยยาน คานหาม รถ เกวียน หรือ ล้อเลื่อน ให้หันเหไป ฉะนั้น อีกนัยหนึ่ง ปลดเปลื้องหรือสลัดเครื่องข้อง คือ เครื่องผูก เครื่องผูกพัน เครื่องเกาะติด เครื่องเกี่ยวพัน เครื่องพัวพัน เครื่องผูกมัดทั้งหลายได้แล้ว รวม ความว่า สลัดเครื่องข้องในภพน้อยภพใหญ่นี้ได้แล้ว คำว่า นรชนนั้นเป็นผู้คลายตัณหาแล้ว ไม่มีทุกข์ ไม่มีความหวัง เรา กล่าวว่า นรชนนั้นข้ามชาติและชราได้แล้ว อธิบายว่า คำว่า ตัณหา ได้แก่ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา และธัมมตัณหา ตัณหานี้ผู้ใดละได้แล้ว คือ ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว ผู้นั้นตรัสเรียกว่า ผู้คลายตัณหาแล้ว คือ ปราศจากตัณหาแล้ว เป็นผู้สละตัณหาแล้ว คายตัณหาแล้ว ปล่อยตัณหาแล้ว ละตัณหาแล้ว สลัดทิ้งตัณหาแล้ว ได้แก่ ผู้คลายราคะแล้ว สละราคะแล้ว คาย ราคะแล้ว ปล่อยราคะแล้ว ละราคะแล้ว สลัดทิ้งราคะแล้ว เป็นผู้หมดความอยาก แล้ว ดับแล้ว เย็นแล้ว มีตนอันประเสริฐเสวยสุข อยู่ รวมความว่า นรชนนั้น เป็นผู้คลายตัณหาแล้ว คำว่า ไม่มีทุกข์ ได้แก่ ทุกข์คือราคะ ทุกข์คือโทสะ ทุกข์คือโมหะ ทุกข์คือ โกธะ ทุกข์คืออุปนาหะ ฯลฯ ทุกข์คืออกุสลาภิสังขารทุกประเภท ผู้ใดละทุกข์ เหล่านี้ได้แล้ว คือ ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้น ไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว ผู้นั้นตรัสเรียกว่า ไม่มีทุกข์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๑๕๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๕. มาณวปัญหานิทเทส ๔. เมตตคูมาณวปัญหานิทเทส

คำว่า ไม่มีความหวัง อธิบายว่า ตัณหาตรัสเรียกว่า ความหวัง ได้แก่ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ ความหวัง คือ ตัณหาเหล่านี้ ผู้ใดละได้แล้ว คือ ตัดขาดได้แล้ว ทำให้ สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว ผู้นั้น ตรัสเรียกว่า ไม่มีความหวัง คำว่า ชาติ ได้แก่ การเกิด คือ เกิดขึ้น การก้าวลง(สู่ครรภ์) การบังเกิด การบังเกิดขึ้น ความปรากฏแห่งขันธ์ทั้งหลาย การได้อายตนะในหมู่สัตวนั้นๆ ของสัตว์เหล่านั้นๆ คำว่า ชรา ได้แก่ ความแก่ คือ ความทรุดโทรม ความเป็นผู้มีฟันหัก ความเป็นผู้มีผมหงอก ความเป็นผู้มีหนังเหี่ยว ความเสื่อมอายุ ความแก่หง่อม แห่งอินทรีย์ทั้งหลายในหมู่สัตว์นั้นๆ ของสัตว์เหล่านั้นๆ คำว่า นรชนนั้นเป็นผู้คลายตัณหาแล้ว ไม่มีทุกข์ ไม่มีความหวัง เรา กล่าวว่า นรชนนั้นข้ามชาติและชราได้แล้ว อธิบายว่า เรากล่าว คือ บอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศว่า ผู้ที่ปราศจากตัณหา ไม่มีทุกข์ ไม่มีความหวัง ข้าม คือ ข้ามไป ข้ามพ้น ก้าวล่วง ล่วงเลยชาติ ชรา และมรณะได้แล้ว รวมความว่า นรชนนั้นเป็นผู้คลายตัณหาแล้ว ไม่มีทุกข์ ไม่มี ความหวัง เรากล่าวว่า นรชนนั้นข้ามชาติและชราได้แล้ว ด้วยเหตุนั้น พระผู้มี- พระภาคจึงตรัสตอบว่า นรชนใดในที่นี้ เป็นผู้มีปัญญา จบเวท สลัดเครื่องข้องในภพน้อยภพใหญ่นี้ได้แล้ว นรชนนั้นเป็นผู้คลายตัณหาแล้ว ไม่มีทุกข์ ไม่มีความหวัง เรากล่าวว่า นรชนนั้นข้ามชาติและชราได้แล้ว พร้อมกับการจบคาถา ฯลฯ เมตตคูมาณพ... โดยประกาศว่า “ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเป็นศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก”
เมตตคูมาณวปัญหานิทเทสที่ ๔ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๑๕๔}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๐ หน้าที่ ๑๓๘-๑๕๔. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=30&A=4008&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=30&siri=23              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5], [6].              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=30&A=1276&Z=2019&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=30&i=146              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=30&item=146&items=57              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=30&item=146&items=57              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๐ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu30

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]