ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค]

๑. มหาปัญญากถา ๑. โสฬสปัญญานิทเทส

ปัญญาก็ย่อมเป็นไปในส่วนแห่งพระพุทธญาณ ฉันนั้นเหมือนกัน พระพุทธญาณ ย่อมแผ่ครอบคลุมปัญญาของเทวดาและมนุษย์อยู่ เหล่าบัณฑิตผู้เป็นกษัตริย์ เป็นพราหมณ์ เป็นคหบดี เป็นสมณะ ผู้มี ปัญญาละเอียด รู้วาทะของผู้อื่น เหมือนนายขมังธนูสามารถยิงเนื้อทราย ดุจจะ เที่ยวทำลายทิฏฐิของผู้อื่นด้วยปัญญาของตน บัณฑิตเหล่านั้นพากันปรุงแต่ง ปัญหาเข้าไปหาพระตถาคตทูลถามปัญหาทั้งลี้ลับและปิดบัง ปัญหาเหล่านั้นที่พระ ผู้มีพระภาคทรงซักไซ้และตรัสแก้แล้วเป็นปัญหามีเหตุให้ทรงแสดง ขณะนั้น พระผู้ มีพระภาคทรงรุ่งเรืองยิ่งด้วยพระปัญญาเพราะทรงแก้ปัญหาเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงทรงเป็นผู้เลิศ มีพระปัญญาไม่ใกล้ นี้ชื่อว่าปัญญาไม่ใกล้ ใน คำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาไม่ใกล้ (๘) [๖] คำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาดุจแผ่นดิน อธิบายว่า ปัญญา ดุจแผ่นดิน เป็นอย่างไร คือ ชื่อว่าปัญญาดุจแผ่นดิน เพราะครอบงำราคะ ชื่อว่าปัญญาดุจแผ่นดิน เพราะครอบงำราคะแล้ว ชื่อว่าปัญญาดุจแผ่นดิน เพราะครอบงำโทสะ ชื่อว่า ปัญญาดุจแผ่นดิน เพราะครอบงำโทสะแล้ว ชื่อว่าปัญญาดุจแผ่นดิน เพราะ ครอบงำโมหะ ชื่อว่าปัญญาดุจแผ่นดิน เพราะครอบงำโมหะแล้ว ชื่อว่าปัญญาดุจแผ่นดิน เพราะครอบงำโกธะ ชื่อว่าปัญญาดุจแผ่นดิน เพราะครอบงำโกธะแล้ว ฯลฯ ชื่อว่าปัญญาดุจแผ่นดิน เพราะครอบงำอุปนาหะ ฯลฯ มักขะ ฯลฯ ปฬาสะ ฯลฯ อิสสา ฯลฯ มัจฉริยะ ฯลฯ มายา ฯลฯ สาเถยยะ ฯลฯ ถัมภะ ฯลฯ สารัมภะ ฯลฯ มานะ ฯลฯ อติมานะ ฯลฯ มทะ ฯลฯ ปมาทะ ฯลฯ กิเลสทั้งปวง ฯลฯ ทุจริตทั้งปวง ฯลฯ อภิสังขารทั้งปวง ฯลฯ ชื่อว่า ปัญญาดุจแผ่นดิน เพราะครอบงำกรรมอันเป็นเหตุให้เป็นไปสู่ภพทั้งปวง ชื่อว่า ปัญญาดุจแผ่นดิน เพราะครอบงำกรรมอันเป็นเหตุให้เป็นไปสู่ภพทั้งปวงแล้ว ชื่อว่าปัญญาดุจแผ่นดิน เพราะเป็นปัญญาย่ำยีราคะที่เป็นข้าศึก ชื่อว่าปัญญา ดุจแผ่นดิน เพราะเป็นปัญญาย่ำยีโทสะที่เป็นข้าศึก ชื่อว่าปัญญาดุจแผ่นดิน เพราะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๕๕๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค]

๑. มหาปัญญากถา ๑. โสฬสปัญญานิทเทส

เป็นปัญญาย่ำยีโมหะที่เป็นข้าศึก ชื่อว่าปัญญาดุจแผ่นดิน เพราะเป็นปัญญาย่ำยี โกธะ ฯลฯ อุปนาหะ ฯลฯ มักขะ ฯลฯ ปฬาสะ ฯลฯ อิสสา ฯลฯ มัจฉริยะ ฯลฯ มายา ฯลฯ สาเถยยะ ฯลฯ ถัมภะ ฯลฯ สารัมภะ ฯลฯ มานะ ฯลฯ อติมานะ ฯลฯ มทะ ฯลฯ ปมาทะ ฯลฯ กิเลสทั้งปวง ฯลฯ ทุจริตทั้งปวง ฯลฯ อภิสังขารทั้งปวง ฯลฯ ชื่อว่าปัญญาดุจแผ่นดิน เพราะเป็นปัญญาย่ำยีกรรมที่เป็น เหตุไปสู่ภพทั้งปวงที่เป็นข้าศึก แผ่นดินท่านกล่าวว่า ภูริ บุคคลประกอบด้วยปัญญาที่กว้างขวางไพบูลย์ เสมอด้วยแผ่นดินนั้น เพราะเหตุนั้น ปัญญานั้นจึงชื่อว่าปัญญาดุจแผ่นดิน อีก ประการหนึ่ง คำว่า ภูริ นี้เป็นชื่อของปัญญา ปัญญากว้างขวางดุจแผ่นดิน เป็น ปัญญาทำลายกิเลส เป็นปัญญาเครื่องแนะนำ เพราะเหตุนั้น ปัญญานั้นจึงชื่อว่า ปัญญาดุจแผ่นดิน นี้ชื่อว่าปัญญาดุจแผ่นดิน ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้ มีปัญญาดุจแผ่นดิน (๙) คำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มากด้วยปัญญา อธิบายว่า ความเป็นผู้ มากด้วยปัญญา เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้หนักด้วยปัญญา เป็นผู้ประพฤติด้วยปัญญา มีปัญญาเป็นที่อาศัย น้อมไปด้วยปัญญา มีปัญญาเป็นธงชัย มีปัญญาเป็นยอด มีปัญญาเป็นใหญ่ มากด้วยการเลือกเฟ้น มากด้วยการค้นคว้า มากด้วยการ พิจารณา มากด้วยการเพ่งพินิจ มีการเพ่งพิจารณาเป็นธรรมดา ประพฤติอยู่ด้วย ปัญญาที่แจ่มแจ้ง มีความประพฤติงดเว้นด้วยปัญญาที่แจ่มแจ้ง หนักในปัญญา มากด้วยปัญญา โน้มไปในปัญญา น้อมไปในปัญญา เงื้อมไปในปัญญา น้อมจิต ไปในปัญญา หลุดพ้นไปด้วยปัญญา มีปัญญาเป็นใหญ่ เปรียบเหมือนภิกษุผู้หนัก ในคณะ ท่านเรียกว่า “ผู้มากด้วยคณะ” ผู้หนักในจีวร ท่านเรียกว่า “ผู้มากด้วยจีวร” ผู้หนักในบาตร ท่านเรียกว่า “ผู้มากด้วยบาตร” ผู้หนักในเสนาสนะ ท่านเรียกว่า “ผู้มากด้วยเสนาสนะ” นี้ชื่อว่าความเป็นผู้มากด้วยปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไป เพื่อความเป็นผู้มากด้วยปัญญา (๑๐) คำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาเร็ว อธิบายว่า ปัญญาเร็ว เป็นอย่างไร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๕๕๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค]

๑. มหาปัญญากถา ๑. โสฬสปัญญานิทเทส

คือ ชื่อว่าปัญญาเร็ว เพราะบำเพ็ญศีลได้เร็วไว ชื่อว่าปัญญาเร็ว เพราะ บำเพ็ญอินทรียสังวรได้เร็วไว ชื่อว่าปัญญาเร็ว เพราะบำเพ็ญโภชเนมัตตัญญุตาได้ เร็วไว ชื่อว่าปัญญาเร็ว เพราะบำเพ็ญชาคริยานุโยคได้เร็วไว ชื่อว่าปัญญา เร็ว เพราะบำเพ็ญสีลขันธ์ได้เร็วไว ชื่อว่าปัญญาเร็ว เพราะบำเพ็ญสมาธิขันธ์ ได้เร็วไว ชื่อว่าปัญญาเร็ว เพราะบำเพ็ญปัญญาขันธ์ได้เร็วไว ชื่อว่าปัญญาเร็ว เพราะบำเพ็ญวิมุตติขันธ์ได้เร็วไว ชื่อว่าปัญญาเร็ว เพราะบำเพ็ญวิมุตติญาณ- ทัสสนขันธ์ได้เร็วไว ชื่อว่าปัญญาเร็ว เพราะรู้แจ้งฐานะและอฐานะได้เร็วไว ชื่อว่า ปัญญาเร็ว เพราะบำเพ็ญวิหารสมาบัติได้เร็วไว ชื่อว่าปัญญาเร็ว เพราะรู้แจ้ง อริยสัจได้เร็วไว ชื่อว่าปัญญาเร็ว เพราะเจริญสติปัฏฐานได้เร็วไว ชื่อว่าปัญญาเร็ว เพราะเจริญสัมมัปปธานได้เร็วไว ชื่อว่าปัญญาเร็ว เพราะเจริญอิทธิบาทได้เร็วไว ชื่อว่าปัญญาเร็ว เพราะเจริญอินทรีย์ได้เร็วไว ชื่อว่าปัญญาเร็ว เพราะเจริญพละได้ เร็วไว ชื่อว่าปัญญาเร็ว เพราะเจริญโพชฌงค์ได้เร็วไว ชื่อว่าปัญญาเร็ว เพราะ เจริญอริยมรรคได้เร็วไว ชื่อว่าปัญญาเร็ว เพราะทำให้แจ้งสามัญญผลได้เร็วไว ชื่อว่าปัญญาเร็ว เพราะรู้แจ้งอภิญญาได้เร็วไว ชื่อว่าปัญญาเร็ว เพราะทำให้แจ้ง นิพพานที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งได้เร็วไว นี้ชื่อว่าปัญญาเร็ว ในคำว่า ย่อมเป็นไป เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาเร็ว (๑๑) คำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาพลัน อธิบายว่า ปัญญาพลัน เป็นอย่างไร คือ ชื่อว่าปัญญาพลัน เพราะบำเพ็ญศีลได้เร็วพลัน ชื่อว่าปัญญาพลัน เพราะบำเพ็ญอินทรียสังวรได้เร็วพลัน ชื่อว่าปัญญาพลัน เพราะบำเพ็ญโภชเน- มัตตัญญุตาได้เร็วพลัน ชื่อว่าปัญญาพลัน เพราะบำเพ็ญชาคริยานุโยคได้เร็วพลัน ชื่อว่าปัญญาพลัน เพราะบำเพ็ญสีลขันธ์ ฯลฯ สมาธิขันธ์ ฯลฯ ปัญญาขันธ์ ฯลฯ วิมุตติขันธ์ ฯลฯ ชื่อว่าปัญญาพลัน เพราะบำเพ็ญวิมุตติญาณทัสสนขันธ์ ได้เร็วพลัน ชื่อว่าปัญญาพลัน เพราะรู้แจ้งฐานะและอฐานะได้เร็วพลัน ชื่อว่าปัญญาพลัน เพราะบำเพ็ญวิหารสมาบัติได้เร็วพลัน ชื่อว่าปัญญาพลัน เพราะรู้แจ้งอริยสัจได้เร็ว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๕๕๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค]

๑. มหาปัญญากถา ๑. โสฬสปัญญานิทเทส

พลัน ชื่อว่าปัญญาพลัน เพราะเจริญสติปัฏฐานได้เร็วพลัน ชื่อว่าปัญญาพลัน เพราะเจริญสัมมัปปธานได้เร็วพลัน ชื่อว่าปัญญาพลัน เพราะเจริญอิทธิบาทได้ เร็วพลัน ชื่อว่าปัญญาพลัน เพราะเจริญอินทรีย์ได้เร็วพลัน ชื่อว่าปัญญาพลัน เพราะเจริญพละได้เร็วพลัน ชื่อว่าปัญญาพลัน เพราะเจริญโพชฌงค์ได้เร็วพลัน ชื่อว่าปัญญาพลัน เพราะเจริญอริยมรรคได้เร็วพลัน ชื่อว่าปัญญาพลัน เพราะทำ ให้แจ้งสามัญญผลได้เร็วพลัน ชื่อว่าปัญญาพลัน เพราะรู้แจ้งอภิญญาได้เร็วพลัน ชื่อว่าปัญญาพลัน เพราะทำให้แจ้งนิพพานที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งได้เร็วพลัน นี้ ชื่อว่าปัญญาพลัน ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาพลัน (๑๒) คำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาร่าเริง อธิบายว่า ปัญญาร่าเริง เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้มีความร่าเริงมาก มีความพอใจมาก มีความยินดี มาก มีความปราโมทย์มาก บำเพ็ญศีล เพราะเหตุนั้น ปัญญานั้นจึงชื่อว่าปัญญา ร่าเริง บุคคลบางคนในโลกนี้มีความร่าเริงมาก มีความพอใจมาก มีความยินดีมาก มีความปราโมทย์มาก บำเพ็ญอินทรียสังวร เพราะเหตุนั้น ปัญญานั้นจึงชื่อว่า ปัญญาร่าเริง บุคคลบางคนในโลกนี้มีความร่าเริงมาก มีความพอใจมาก มีความ ยินดีมาก มีความปราโมทย์มาก บำเพ็ญโภชเนมัตตัญญุตา เพราะเหตุนั้น ปัญญา นั้นจึงชื่อว่าปัญญาร่าเริง บุคคลบางคนในโลกนี้มีความร่าเริงมาก มีความพอใจมาก มีความยินดีมาก มีความปราโมทย์มาก บำเพ็ญชาคริยานุโยค เพราะเหตุนั้น ปัญญานั้นจึงชื่อว่าปัญญาร่าเริง บุคคลบางคนในโลกนี้มีความร่าเริงมาก มีความพอใจมาก มีความยินดีมาก มีความปราโมทย์มาก บำเพ็ญสีลขันธ์ ฯลฯ สมาธิขันธ์ ฯลฯ ปัญญาขันธ์ ฯลฯ วิมุตติขันธ์ ฯลฯ บุคคลบางคนในโลกนี้มีความร่าเริงมาก มีความพอใจมาก มีความยินดีมาก มีความปราโมทย์มาก บำเพ็ญวิมุตติญาณทัสสนขันธ์ เพราะ เหตุนั้น ปัญญานั้นจึงชื่อว่าปัญญาร่าเริง บุคคลบางคนในโลกนี้ ... รู้แจ้งฐานะและอฐานะ ... บำเพ็ญวิหารสมาบัติให้ เต็มรอบ ... รู้แจ้งอริยสัจ ... เจริญสติปัฏฐาน ... เจริญสัมมัปปธาน ... เจริญอิทธิบาท {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๕๕๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค]

๑. มหาปัญญากถา ๑. โสฬสปัญญานิทเทส

... เจริญอินทรีย์ ... เจริญพละ ... เจริญโพชฌงค์ ... เจริญอริยมรรค ... บุคคล บางคนในโลกนี้ ... ทำให้แจ้งสามัญญผล บุคคลบางคนในโลกนี้มีความร่าเริงมาก มีความพอใจมาก มีความยินดีมาก มีความปราโมทย์มาก ทำให้แจ้งอภิญญา เพราะเหตุนั้น ปัญญานั้นจึงชื่อว่าปัญญาร่าเริง บุคคลบางคนในโลกนี้มีความร่าเริงมาก มีความพอใจมาก มีความยินดีมาก มี ความปราโมทย์มาก ทำให้แจ้งนิพพานที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ด้วยปัญญานั้น เพราะเหตุนั้น ปัญญานั้นจึงชื่อว่าปัญญาร่าเริง นี้ชื่อว่าปัญญาร่าเริง ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาร่าเริง (๑๓) [๗] คำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาแล่นไป อธิบายว่า ปัญญาแล่นไป เป็นอย่างไร คือ ชื่อว่าปัญญาแล่นไป เพราะปัญญาพลันแล่นไปสู่รูปทั้งปวงที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต มีอยู่ ในที่ไกลหรือมีอยู่ในที่ใกล้ โดยความไม่เที่ยง ชื่อว่าปัญญาแล่นไป เพราะปัญญา พลันแล่นไปโดยความเป็นทุกข์ ชื่อว่าปัญญาแล่นไป เพราะปัญญาพลันแล่นไปโดย ความเป็นอนัตตา ชื่อว่าปัญญาแล่นไป เพราะปัญญาพลันแล่นไปสู่เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ ชื่อว่าปัญญาแล่นไป เพราะปัญญาพลันแล่นไปสู่วิญญาณทั้งปวงที่ เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลว หรือประณีต มีอยู่ในที่ไกลหรือมีอยู่ในที่ใกล้โดยความไม่เที่ยง ชื่อว่าปัญญาแล่นไป เพราะปัญญาพลันแล่นไปโดยความเป็นทุกข์ ชื่อว่าปัญญาแล่นไป เพราะปัญญา พลันแล่นไปโดยความเป็นอนัตตา ชื่อว่าปัญญาแล่นไป เพราะปัญญาพลันแล่นไปสู่จักขุ ฯลฯ ชื่อว่าปัญญา แล่นไป เพราะปัญญาพลันแล่นไปสู่ชราและมรณะที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน โดยความไม่เที่ยง ชื่อว่าปัญญาแล่นไป เพราะปัญญาพลันแล่นไปโดยความเป็นทุกข์ ชื่อว่าปัญญาแล่นไป เพราะปัญญาพลันแล่นไป โดยความเป็นอนัตตา ชื่อว่าปัญญาแล่นไป เพราะเทียบเคียง พินิจ พิจารณา ทำให้แจ้งว่ารูปที่เป็น อดีต อนาคต และปัจจุบัน ชื่อว่าไม่เที่ยง เพราะมีสภาวะสิ้นไป ชื่อว่าเป็นทุกข์ เพราะมีสภาวะเป็นภัย ชื่อว่าเป็นอนัตตา เพราะมีสภาวะไม่มีแก่นสาร พลันแล่น ไปในนิพพานซึ่งเป็นความดับแห่งรูป {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๕๕๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค]

๑. มหาปัญญากถา ๑. โสฬสปัญญานิทเทส

ชื่อว่าปัญญาแล่นไป เพราะเทียบเคียง พินิจ พิจารณา ทำให้แจ้งว่าเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ ฯลฯ จักขุ ฯลฯ ชื่อว่าปัญญาแล่นไป เพราะเทียบเคียง พินิจ พิจารณา ทำให้แจ้งว่าชราและมรณะทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ชื่อว่าไม่เที่ยง เพราะมีสภาวะสิ้นไป ชื่อว่าเป็นทุกข์ เพราะมีสภาวะ เป็นภัย ชื่อว่าเป็นอนัตตา เพราะมีสภาวะไม่มีแก่นสารแล้วพลันแล่นไปในนิพพาน ซึ่งเป็นความดับแห่งชราและมรณะ ชื่อว่าปัญญาแล่นไป เพราะเทียบเคียง พินิจ พิจารณา ทำให้แจ้งว่ารูปทั้งที่เป็น อดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นสภาวะไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันและกัน เกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดาแล้วพลันแล่นไปใน นิพพานซึ่งเป็นความดับแห่งรูป ชื่อว่าปัญญาแล่นไป เพราะเทียบเคียง พินิจ พิจารณา ทำให้แจ้งว่าเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ ฯลฯ จักขุ ฯลฯ ชื่อว่าปัญญาแล่นไป เพราะเทียบเคียง พินิจ พิจารณา ทำให้แจ้งว่าชราและมรณะทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นสภาวะไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันและกันเกิดขึ้น มี ความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดาแล้วพลันแล่นไปในนิพพานซึ่ง เป็นความดับแห่งชราและมรณะ นี้ชื่อว่าปัญญาแล่นไป ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อ ความเป็นผู้มีปัญญาแล่นไป (๑๔) คำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาเฉียบแหลม อธิบายว่า ปัญญา เฉียบแหลม เป็นอย่างไร คือ ชื่อว่าปัญญาเฉียบแหลม เพราะทำลายกิเลสได้ฉับพลัน ชื่อว่าปัญญา เฉียบแหลม เพราะไม่รับกามวิตกที่เกิดขึ้นไว้ ละ บรรเทา ทำกามวิตกที่เกิดขึ้น ให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มีอีกต่อไป ชื่อว่าปัญญาเฉียบแหลม เพราะไม่รับพยาบาทวิตกที่เกิดขึ้นไว้ ฯลฯ ชื่อว่าปัญญาเฉียบแหลม เพราะไม่รับวิหิงสาวิตกที่เกิดขึ้นไว้ ฯลฯ ชื่อว่าปัญญาเฉียบแหลม เพราะไม่รับบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นไว้ ฯลฯ ชื่อว่าปัญญาเฉียบแหลม เพราะไม่รับราคะที่เกิดขึ้นไว้ ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๕๕๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค]

๑. มหาปัญญากถา ๑. โสฬสปัญญานิทเทส

ชื่อว่าปัญญาเฉียบแหลม เพราะไม่รับโทสะไว้ ละ บรรเทา ทำโทสะให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มีอีกต่อไป ฯลฯ โมหะ ฯลฯ โกธะ ฯลฯ อุปนาหะ ฯลฯ มักขะ ฯลฯ ปฬาสะ ฯลฯ อิสสา ฯลฯ มัจฉริยะ ฯลฯ มายา ฯลฯ สาเถยยะ ฯลฯ ถัมภะ ฯลฯ สารัมภะ ฯลฯ มานะ ฯลฯ อติมานะ ฯลฯ มทะ ฯลฯ ปมาทะ ฯลฯ กิเลสทั้งปวง ฯลฯ ทุจริตทั้งปวง ฯลฯ อภิสังขารทั้งปวง ฯลฯ ชื่อว่าปัญญาเฉียบแหลม เพราะไม่รับกรรมอันเป็นเหตุให้ไปสู่ภพทั้งปวงที่เกิดขึ้นไว้ ละ บรรเทา ทำกรรมอันเป็นเหตุให้ไปสู่ภพทั้งปวงที่เกิดขึ้นให้สิ้นสุด ให้ถึงความ ไม่มีอีกต่อไปแล้ว ชื่อว่าปัญญาเฉียบแหลม เพราะทำให้บรรลุ ทำให้แจ้ง ทำให้ ถูกต้องอริยมรรค ๔ สามัญญผล ๔ ปฏิสัมภิทา ๔ อภิญญา ๖ ณ อาสนะเดียว นี้ชื่อว่าปัญญาเฉียบแหลม ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญา เฉียบแหลม (๑๕) คำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาชำแรกกิเลส อธิบายว่า ปัญญาชำแรกกิเลส เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มากด้วยความสะดุ้ง เป็นผู้มากด้วยความ หวาดเสียว เป็นผู้มากด้วยความเบื่อหน่าย เป็นผู้มากด้วยความระอา เป็นผู้มาก ด้วยความไม่พอใจ เบือนหน้าออก ไม่ยินดีในสังขารทั้งปวง ย่อมชำแรก ทำลาย กองโลภะที่ไม่เคยชำแรก ไม่เคยทำลาย(ด้วยปัญญา) เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ปัญญาชำแรกกิเลส บุคคลบางคนในโลกนี้ ... ทำลายกองโทสะที่ไม่เคยชำแรก ไม่เคยทำลาย (ด้วยปัญญา) เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าปัญญาชำแรกกิเลส บุคคลบางคนในโลกนี้ ... ทำลายกองโมหะที่ไม่เคยชำแรก ไม่เคยทำลาย (ด้วยปัญญา) เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าปัญญาชำแรกกิเลส บุคคลบางคนในโลกนี้ ... ย่อมชำแรก ทำลายโกธะ ฯลฯ อุปนาหะ ฯลฯ มักขะ ฯลฯ ปฬาสะ ฯลฯ อิสสา ฯลฯ มัจฉริยะ ฯลฯ มายา ฯลฯ สาเถยยะ ฯลฯ ถัมภะ ฯลฯ สารัมภะ ฯลฯ มานะ ฯลฯ อติมานะ ฯลฯ มทะ ฯลฯ ปมาทะ ฯลฯ กิเลสทั้งปวง ฯลฯ ทุจริตทั้งปวง ฯลฯ อภิสังขารทั้งปวง ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๕๕๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค]

๑. มหาปัญญากถา ๒. ปุคคลวิเสสนิทเทส

บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มากด้วยความสะดุ้ง เป็นผู้มากด้วยความหวาด เสียว เป็นผู้มากด้วยความเบื่อหน่าย เป็นผู้มากด้วยความระอา เป็นผู้มากด้วย ความไม่พอใจ เบือนหน้าออก ไม่ยินดีในสังขารทั้งปวง ย่อมชำแรก ทำลายกรรม ซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่ภพทั้งปวงที่ไม่เคยชำแรก ไม่เคยทำลาย(ด้วยปัญญา) เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าปัญญาชำแรกกิเลส นี้ชื่อว่าปัญญาชำแรกกิเลส ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาชำแรกกิเลส (๑๖) ปัญญาเหล่านี้เรียกว่า ปัญญา ๑๖ ประการ บุคคลประกอบด้วยปัญญา ๑๖ ประการนี้ ชื่อว่าผู้บรรลุปฏิสัมภิทา
๒. ปุคคลวิเสสนิทเทส
แสดงบุคคลวิเศษ
[๘] บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ จำพวก คือ พวกหนึ่งถึงพร้อมด้วยความ เพียรมาก่อน พวกหนึ่งไม่ถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อน พวกที่ถึงพร้อมด้วย ความเพียรมาก่อนเป็นผู้ประเสริฐวิเศษยิ่งกว่าพวกที่ไม่ถึงพร้อมด้วยความเพียรมา ก่อนนั้น และญาณของบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อนย่อมแตกฉาน บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ จำพวก คือ พวกที่ถึงพร้อมด้วยความเพียร มาก่อนก็มี ๒ จำพวก คือ พวกหนึ่งเป็นพหูสูต พวกหนึ่งไม่ได้เป็นพหูสูต พวกที่ เป็นพหูสูตเป็นพวกที่ประเสริฐวิเศษยิ่งกว่าพวกที่ไม่ได้เป็นพหูสูตนั้น และญาณของ บุคคลผู้เป็นพหูสูตนั้นย่อมแตกฉาน บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ จำพวก คือ พวกที่บรรลุปฏิสัมภิทา ถึงพร้อม ด้วยความเพียรมาก่อนก็มี ๒ จำพวก แม้พวกที่เป็นพหูสูตก็มี ๒ จำพวก คือ พวกหนึ่งมากด้วยเทศนา พวกหนึ่งไม่มากด้วยเทศนา พวกที่มากด้วยเทศนาเป็นผู้ ประเสริฐวิเศษยิ่งกว่าพวกที่ไม่มากด้วยเทศนานั้น และญาณของบุคคลผู้มากด้วย เทศนานั้นย่อมแตกฉาน บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ จำพวก คือ พวกที่บรรลุปฏิสัมภิทา ถึงพร้อม ด้วยความเพียรมาก่อนก็มี ๒ จำพวก แม้พวกที่เป็นพหูสูตก็มี ๒ จำพวก และ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๕๕๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค]

๑. มหาปัญญากถา ๒. ปุคคลวิเสสนิทเทส

พวกที่มากด้วยเทศนาก็มี ๒ จำพวก คือ พวกหนึ่งอาศัยครู พวกหนึ่งไม่อาศัยครู พวกที่อาศัยครูเป็นผู้ประเสริฐวิเศษยิ่งกว่าพวกที่ไม่อาศัยครูนั้น และญาณของ บุคคลผู้อาศัยครูนั้นย่อมแตกฉาน บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ จำพวก คือ พวกที่บรรลุปฏิสัมภิทา ถึงพร้อม ด้วยความเพียรมาก่อนก็มี ๒ จำพวก แม้พวกที่เป็นพหูสูตก็มี ๒ จำพวก พวก ที่มากด้วยเทศนาก็มี ๒ จำพวก และพวกที่อาศัยครูก็มี ๒ จำพวก คือ พวกหนึ่ง มีวิหารธรรมมาก พวกหนึ่งมีวิหารธรรมไม่มาก พวกที่มีวิหารธรรมมากเป็นผู้ประเสริฐ วิเศษยิ่งกว่าพวกที่มีวิหารธรรมไม่มากนั้น และญาณของบุคคลผู้มีวิหารธรรมมาก นั้นย่อมแตกฉาน บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ จำพวก คือ พวกที่บรรลุปฏิสัมภิทา ถึงพร้อม ด้วยความเพียรมาก่อนก็มี ๒ จำพวก แม้พวกที่เป็นพหูสูตก็มี ๒ จำพวก พวก ที่มากด้วยเทศนาก็มี ๒ จำพวก พวกที่อาศัยครูก็มี ๒ จำพวก และพวกที่มี วิหารธรรมมากก็มี ๒ จำพวก คือ พวกหนึ่งมีการพิจารณามาก พวกหนึ่งมีการ พิจารณาไม่มาก พวกที่มีการพิจารณามาก เป็นผู้ประเสริฐวิเศษยิ่งกว่าพวกที่มีการ พิจารณาไม่มากนั้น และญาณของบุคคลผู้มีการพิจารณามากนั้นย่อมแตกฉาน บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ จำพวก คือ พวกที่บรรลุปฏิสัมภิทา ถึงพร้อม ด้วยความเพียรมาก่อนก็มี ๒ จำพวก แม้พวกที่เป็นพหูสูตก็มี ๒ จำพวก พวกที่ มากด้วยเทศนาก็มี ๒ จำพวก พวกที่อาศัยครูก็มี ๒ จำพวก พวกที่มีวิหาร- ธรรมมากก็มี ๒ จำพวก และพวกที่มีการพิจารณามากก็มี ๒ จำพวก คือ พวกหนึ่ง เป็นพระเสขะบรรลุปฏิสัมภิทา พวกหนึ่งเป็นพระอเสขะบรรลุปฏิสัมภิทา พวกที่เป็น พระอเสขะบรรลุปฏิสัมภิทาเป็นผู้ประเสริฐวิเศษยิ่งกว่าพวกที่เป็นพระเสขะบรรลุ ปฏิสัมภิทานั้น และญาณของพระอเสขะผู้บรรลุปฏิสัมภิทานั้นย่อมแตกฉาน บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ จำพวก คือ พวกที่บรรลุปฏิสัมภิทา ถึงพร้อม ด้วยความเพียรมาก่อนก็มี ๒ จำพวก แม้พวกที่เป็นพหูสูตก็มี ๒ จำพวก พวก ที่มากด้วยเทศนาก็มี ๒ จำพวก พวกที่มีวิหารธรรมมากก็มี ๒ จำพวก พวกที่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๕๖๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค]

๑. มหาปัญญากถา ๒. ปุคคลวิเสสนิทเทส

มีการพิจารณามากก็มี ๒ จำพวก และพวกที่เป็นพระอเสขะบรรลุปฏิสัมภิทาก็มี ๒ จำพวก คือ พวกหนึ่งบรรลุสาวกบารมี พวกหนึ่งไม่บรรลุสาวกบารมี พวกที่ บรรลุสาวกบารมีเป็นผู้ประเสริฐวิเศษยิ่งกว่าพวกที่ไม่บรรลุสาวกบารมี และญาณ ของผู้บรรลุสาวกบารมีนั้นย่อมแตกฉาน บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ จำพวก คือ พวกที่บรรลุปฏิสัมภิทา ถึงพร้อม ด้วยความเพียรมาก่อนก็มี ๒ จำพวก แม้พวกที่เป็นพหูสูตก็มี ๒ จำพวก พวกที่ มากด้วยเทศนาก็มี ๒ จำพวก พวกที่อาศัยครูก็มี ๒ จำพวก พวกที่มีวิหารธรรม มากก็มี ๒ จำพวก พวกที่มีการพิจารณามากก็มี ๒ จำพวก และพวกที่เป็น พระอเสขะบรรลุปฏิสัมภิทาก็มี ๒ จำพวก คือ พวกหนึ่งบรรลุสาวกบารมี พวกหนึ่ง เป็นพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า พวกที่เป็นพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าเป็นผู้ประเสริฐวิเศษยิ่ง กว่าพวกที่บรรลุสาวกบารมีนั้น และญาณของผู้เป็นพระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ย่อมแตกฉาน เมื่อเทียบกับพระปัจเจกพุทธเจ้าและโลกพร้อมทั้งเทวโลก พระตถาคต- อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นผู้เลิศ ทรงบรรลุปฏิสัมภิทา ทรงฉลาดในประเภท แห่งปัญญา มีพระญาณแตกฉาน ทรงบรรลุถึงปฏิสัมภิทา ทรงบรรลุเวสารัชชญาณ ๔ ทรงเป็นผู้ทรงทสพลญาณ ทรงเป็นบุรุษองอาจ ทรงเป็นบุรุษดุจราชสีห์ ฯลฯ เหล่าบัณฑิต ผู้เป็นกษัตริย์ เป็นพราหมณ์ เป็นคหบดี เป็นสมณะ ผู้มีปัญญา ละเอียด รู้วาทะของผู้อื่น เหมือนนายขมังธนูสามารถยิงเนื้อทราย ดุจจะเที่ยว ทำลายทิฏฐิของผู้อื่นด้วยปัญญาของตน บัณฑิตเหล่านั้นพากันปรุงแต่งปัญหาเข้า ไปหาพระตถาคตทูลถามปัญหาทั้งลี้ลับและปิดบัง ปัญหาเหล่านั้นที่พระผู้มีพระภาค ทรงซักไซ้และตรัสแก้แล้ว เป็นปัญหามีเหตุให้ทรงแสดง ขณะนั้นพระผู้มีพระภาค ทรงรุ่งเรืองยิ่งด้วยพระปัญญา เพราะทรงแก้ปัญหาเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น พระผู้มี พระภาคจึงทรงเป็นผู้เลิศ ทรงบรรลุปฏิสัมภิทา ดังนี้
มหาปัญญากถา จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๕๖๑}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๑ หน้าที่ ๕๕๒-๕๖๑. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=31&A=16166&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=31&siri=80              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4].              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=31&A=9683&Z=10089&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=659              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=31&item=659&items=20              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=31&item=659&items=20              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu31

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]