ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๒. ทิฏฐิกถา

๒. ทิฏฐิกถา
ว่าด้วยทิฏฐิ
[๑๒๒] อะไรชื่อว่าทิฏฐิ ฐาน๑- แห่งทิฏฐิ มีเท่าไร ปริยุฏฐานแห่งทิฏฐิมีเท่าไร ทิฏฐิมีเท่าไร ความยึดมั่นทิฏฐิมีเท่าไร ความถอนฐานแห่งทิฏฐิเป็นอย่างไร ถาม: ทิฏฐิคืออะไร ตอบ: ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่น ถาม: ฐานแห่งทิฏฐิมีเท่าไร ตอบ: ฐานแห่งทิฏฐิมี ๘ ประการ ถาม: ปริยุฏฐานแห่งทิฏฐิมีเท่าไร ตอบ: ปริยุฏฐานแห่งทิฏฐิมี ๑๘ ประการ ถาม: ทิฏฐิมีเท่าไร ตอบ: ทิฏฐิมี ๑๖ ประการ ถาม: ความยึดมั่นทิฏฐิมีเท่าไร ตอบ: ความยึดมั่นทิฏฐิมี ๓๐๐ ประการ(โดยประมาณ) ถาม: เครื่องถอนฐานแห่งทิฏฐิเป็นอย่างไร ตอบ: โสดาปัตติมรรคเป็นเครื่องถอนฐานแห่งทิฏฐิ [๑๒๓] ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่น เป็นอย่างไร คือ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นรูปว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตา ของเรา” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ ทิฏฐิคือ ความยึดมั่นถือมั่นวิญญาณว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นจักขุว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตา ของเรา” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นโสตะ ฯลฯ ฆานะ ฯลฯ ชิวหา ฯลฯ กาย ฯลฯ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นมโนว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา” @เชิงอรรถ : @ ฐาน ในที่นี้หมายถึงเหตุ (ขุ.ป.อ. ๒/๑๑๒/๔๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๑๘๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๒. ทิฏฐิกถา

ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นรูปว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตา ของเรา” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นสัททะ ฯลฯ คันธะ ฯลฯ รส ฯลฯ โผฏฐัพพะ ฯลฯ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นธรรมารมณ์ว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นจักขุวิญญาณว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็น อัตตาของเรา” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นโสตวิญญาณ ฯลฯ ฆานวิญญาณ ฯลฯ ชิวหาวิญญาณ ฯลฯ กายวิญญาณ ฯลฯ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นมโนวิญญาณว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นจักขุสัมผัสว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็น อัตตาของเรา” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นโสตสัมผัส ฯลฯ ฆานสัมผัส ฯลฯ ชิวหาสัมผัส ฯลฯ กายสัมผัส ฯลฯ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นมโนสัมผัสว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นจักขุสัมผัสสชาเวทนาว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นโสตสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ ฆานสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ กายสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นมโนสัมผัสสชาเวทนาว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็น อัตตาของเรา” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นรูปสัญญาว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตา ของเรา” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นสัททสัญญา ฯลฯ คันธสัญญา ฯลฯ รสสัญญา ฯลฯ โผฏฐัพพสัญญา ฯลฯ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นธัมมสัญญาว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นรูปสัญเจตนาว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็น อัตตาของเรา” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นสัททสัญเจตนา ฯลฯ คันธสัญเจตนา ฯลฯ รสสัญเจตนา ฯลฯ โผฏฐัพพสัญเจตนา ฯลฯ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นธัมม- สัญเจตนาว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๑๘๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๒. ทิฏฐิกถา

ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นรูปตัณหาว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตา ของเรา” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นสัททตัณหา ฯลฯ คันธตัณหา ฯลฯ รสตัณหา ฯลฯ โผฏฐัพพตัณหา ฯลฯ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นธัมมตัณหาว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นรูปวิตกว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตา ของเรา” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นสัททวิตก ฯลฯ คันธวิตก ฯลฯ รสวิตก ฯลฯ โผฏฐัพพวิตก ฯลฯ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นธัมมวิตกว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นรูปวิจารว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตา ของเรา” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นสัททวิจาร ฯลฯ คันธวิจาร ฯลฯ รสวิจาร ฯลฯ โผฏฐัพพวิจาร ฯลฯ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นธัมมวิจารว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นปฐวีธาตุว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตา ของเรา” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นอาโปธาตุ ฯลฯ เตโชธาตุ ฯลฯ วาโยธาตุ ฯลฯ อากาสธาตุ ฯลฯ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นวิญญาณธาตุว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นปฐวีกสิณว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตา ของเรา” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นอาโปกสิณ ฯลฯ เตโชกสิณ ฯลฯ วาโยกสิณ ฯลฯ นีลกสิณ ฯลฯ ปีตกสิณ ฯลฯ โลหิตกสิณ ฯลฯ โอทาตกสิณ ฯลฯ ทิฏฐิคือ ความยึดมั่นถือมั่นอากาสกสิณว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นผมว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นขน ฯลฯ เล็บ ฯลฯ ฟัน ฯลฯ หนัง ฯลฯ เนื้อ ฯลฯ เอ็น ฯลฯ กระดูก ฯลฯ เยื่อในกระดูก ฯลฯ ไต๑- ฯลฯ หัวใจ ฯลฯ ตับ ฯลฯ พังผืด ฯลฯ ม้าม๒- ฯลฯ ปอด ฯลฯ ไส้ใหญ่ ฯลฯ ไส้น้อย ฯลฯ อาหารใหม่ ฯลฯ @เชิงอรรถ : @๑-๒ ดูเชิงอรรถในข้อ ๔ หน้า ๑๑ ในสุตมยญาณนิทเทสในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๑๙๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๒. ทิฏฐิกถา

อาหารเก่า ฯลฯ ดี ฯลฯ เสลด ฯลฯ หนอง ฯลฯ เลือด ฯลฯ เหงื่อ ฯลฯ มันข้น ฯลฯ น้ำตา ฯลฯ มันเหลว ฯลฯ น้ำลาย ฯลฯ น้ำมูก ฯลฯ ไขข้อ ฯลฯ มูตร ฯลฯ ทิฏฐิคือ ความยึดมั่นถือมั่นมันสมองว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นจักขายตนะว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็น อัตตาของเรา” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นรูปายตนะ ฯลฯ โสตายตนะ ฯลฯ สัททายตนะ ฯลฯ ฆานายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ ฯลฯ ชิวหายตนะ ฯลฯ รสายตนะ ฯลฯ กายายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ มนายตนะ ฯลฯ ทิฏฐิคือ ความยึดมั่นถือมั่นธัมมายตนะว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นจักขุธาตุว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตา ของเรา” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นรูปธาตุ ฯลฯ จักขุวิญญาณธาตุ ฯลฯ โสตธาตุ ฯลฯ สัททธาตุ ฯลฯ โสตวิญญาณธาตุ ฯลฯ ฆานธาตุ ฯลฯ คันธธาตุ ฯลฯ ฆานวิญญาณธาตุ ฯลฯ ชิวหาธาตุ ฯลฯ รสธาตุ ฯลฯ ชิวหาวิญญาณธาตุ ฯลฯ กายธาตุ ฯลฯ โผฏฐัพพธาตุ ฯลฯ กายวิญญาณธาตุ ฯลฯ มโนธาตุ ฯลฯ ธัมมธาตุ ฯลฯ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นมโนวิญญาณธาตุว่า “นั่นของเรา เรา เป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นจักขุนทรีย์ว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตา ของเรา” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นโสตินทรีย์ ฯลฯ ฆานินทรีย์ ฯลฯ ชิวหินทรีย์ ฯลฯ กายินทรีย์ ฯลฯ มนินทรีย์ ฯลฯ ชีวิตินทรีย์ ฯลฯ อิตถินทรีย์ ฯลฯ ปุริสินทรีย์ ฯลฯ สุขินทรีย์ ฯลฯ ทุกขินทรีย์ ฯลฯ โสมนัสสินทรีย์ ฯลฯ โทมนัสสินทรีย์ ฯลฯ อุเปกขินทรีย์ ฯลฯ สัทธินทรีย์ ฯลฯ วิริยินทรีย์ ฯลฯ สตินทรีย์ ฯลฯ สมาธินทรีย์ ฯลฯ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นปัญญินทรีย์ว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็น อัตตาของเรา” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นกามธาตุว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตา ของเรา” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นรูปธาตุ ฯลฯ อรูปธาตุ ฯลฯ กามภพ ฯลฯ รูปภพ ฯลฯ อรูปภพ ฯลฯ สัญญาภพ ฯลฯ อสัญญาภพ ฯลฯ เนวสัญญา- นาสัญญาภพ ฯลฯ เอกโวการภพ ฯลฯ จตุโวการภพ ฯลฯ ปัญจโวการภพ ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๑๙๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๒. ทิฏฐิกถา

ปฐมฌาน ฯลฯ ทุติยฌาน ฯลฯ ตติยฌาน ฯลฯ จตุตถฌาน ฯลฯ เมตตา- เจโตวิมุตติ ฯลฯ กรุณาเจโตวิมุตติ ฯลฯ มุทิตาเจโตวิมุตติ ฯลฯ อุเบกขา- เจโตวิมุตติ ฯลฯ อากาสานัญจายตนสมาบัติ ฯลฯ วิญญาณัญจายตนสมาบัติ ฯลฯ อากิญจัญญายตนสมาบัติ ฯลฯ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นเนวสัญญานาสัญญายตน- สมาบัติว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นอวิชชาว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตา ของเรา” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นสังขาร ฯลฯ วิญญาณ ฯลฯ นามรูป ฯลฯ สฬายตนะ ฯลฯ ผัสสะ ฯลฯ เวทนา ฯลฯ ตัณหา ฯลฯ อุปาทาน ฯลฯ ภพ ฯลฯ ชาติ ฯลฯ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นชราและมรณะว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็น อัตตาของเรา” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นมีดังว่ามานี้ [๑๒๔] ฐานแห่งทิฏฐิ ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ขันธ์ทั้งหลายเป็นฐานแห่งทิฏฐิ ๒. อวิชชาเป็นฐานแห่งทิฏฐิ ๓. ผัสสะเป็นฐานแห่งทิฏฐิ ๔. สัญญาเป็นฐานแห่งทิฏฐิ ๕. วิตกเป็นฐานแห่งทิฏฐิ ๖. อโยนิโสมนสิการเป็นฐานแห่งทิฏฐิ ๗. ปาปมิตรเป็นฐานแห่งทิฏฐิ ๘. ปรโตโฆสะ๑- เป็นฐานแห่งทิฏฐิ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเหตุเป็นปัจจัย ชื่อว่าเป็นฐานแห่งทิฏฐิ เพราะมีความ หมายว่าเป็นที่อาศัยตั้งขึ้น แม้ขันธ์ทั้งหลายก็เป็นฐานแห่งทิฏฐิอย่างนี้ อวิชชาที่เป็นเหตุเป็นปัจจัย ชื่อว่าเป็นฐานแห่งทิฏฐิ เพราะมีความหมายว่า เป็นที่อาศัยตั้งขึ้น แม้อวิชชาก็เป็นฐานแห่งทิฏฐิอย่างนี้ @เชิงอรรถ : @ ปรโตโฆสะ หมายถึงการฟังอสัทธรรมจากผู้อื่น (องฺ.ทุก.อ. ๒/๑๒๗/๖๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๑๙๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๒. ทิฏฐิกถา

ผัสสะที่เป็นเหตุเป็นปัจจัย ชื่อว่าเป็นฐานแห่งทิฏฐิ เพราะมีความหมายว่าเป็นที่ อาศัยตั้งขึ้น แม้ผัสสะก็เป็นฐานแห่งทิฏฐิอย่างนี้ สัญญาที่เป็นเหตุเป็นปัจจัย ชื่อว่าเป็นฐานแห่งทิฏฐิ เพราะมีความหมายว่า เป็นที่อาศัยตั้งขึ้น แม้สัญญาก็เป็นฐานแห่งทิฏฐิอย่างนี้ วิตกที่เป็นเหตุเป็นปัจจัย ชื่อว่าเป็นฐานแห่งทิฏฐิ เพราะมีความหมายว่าเป็นที่ อาศัยตั้งขึ้น แม้วิตกก็เป็นฐานแห่งทิฏฐิอย่างนี้ อโยนิโสมนสิการที่เป็นเหตุเป็นปัจจัย ชื่อว่าเป็นฐานแห่งทิฏฐิ เพราะมีความ หมายว่าเป็นที่อาศัยตั้งขึ้น แม้อโยนิโสมนสิการก็เป็นฐานแห่งทิฏฐิอย่างนี้ ปาปมิตรที่เป็นเหตุเป็นปัจจัย ชื่อว่าเป็นฐานแห่งทิฏฐิ เพราะมีความหมายว่า เป็นที่อาศัยตั้งขึ้น แม้ปาปมิตรก็เป็นฐานแห่งทิฏฐิอย่างนี้ ปรโตโฆสะที่เป็นเหตุเป็นปัจจัย ชื่อว่าเป็นฐานแห่งทิฏฐิ เพราะมีความหมายว่า เป็นที่อาศัยตั้งขึ้น แม้ปรโตโฆสะก็เป็นฐานแห่งทิฏฐิอย่างนี้ เหล่านี้ คือฐานแห่งทิฏฐิ ๘ ประการ [๑๒๕] ปริยุฏฐานแห่งทิฏฐิ ๑๘ ประการ อะไรบ้าง ทิฏฐิคือ ๑. การตกอยู่ในทิฏฐิ ๒. ความรกชัฏคือทิฏฐิ ๓. ความกันดารคือทิฏฐิ ๔. เสี้ยนหนามคือทิฏฐิ ๕. ความดิ้นรนคือทิฏฐิ ๖. สังโยชน์คือทิฏฐิ ๗. ลูกศรคือทิฏฐิ ๘. สมภพคือทิฏฐิ๑- ๙. เครื่องกังวลคือทิฏฐิ ๑๐. เครื่องผูกคือทิฏฐิ ๑๑. เหวคือทิฏฐิ ๑๒. อนุสัยคือทิฏฐิ ๑๓. เหตุให้เดือดร้อนคือทิฏฐิ ๑๔. เหตุให้เร่าร้อนคือทิฏฐิ ๑๕. เครื่องร้อยรัดคือทิฏฐิ ๑๖. ความยึดถือคือทิฏฐิ ๑๗. ความยึดมั่นคือทิฏฐิ ๑๘. ความถือมั่นคือทิฏฐิ เหล่านี้ คือปริยุฏฐานแห่งทิฏฐิ ๑๘ ประการ @เชิงอรรถ : @ คำว่า สมภพคือทิฏฐิ คำบาลีคือ ทิฏฺฐิสมฺภโว ในอรรถกถา (ขุ.ป. ๒/๑๒๕/๕๒) ใช้ ทิฏฺฐิสมฺพาโธ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๑๙๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๒. ทิฏฐิกถา

[๑๒๖] ทิฏฐิ ๑๖ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. อัสสาททิฏฐิ (ความเห็นที่เนื่องด้วยคุณ) ๒. อัตตานุทิฏฐิ (ความเห็นว่าเป็นอัตตา) ๓. มิจฉาทิฏฐิ (ความเห็นผิด) ๔. สักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่าเป็นอัตตาของตน) ๕. สัสสตทิฏฐิ (ความเห็นว่าอัตตาและโลกเที่ยง) อันมีสักกายะเป็นวัตถุ๑- ๖. อุจเฉททิฏฐิ (ความเห็นว่าขาดสูญ) อันมีสักกายะเป็นวัตถุ ๗. อันตัคคาหิกทิฏฐิ (ความเห็นอันถือเอาที่สุด) ๘. ปุพพันตานุทิฏฐิ (ความเห็นขันธ์ส่วนอดีต) ๙. อปรันตานุทิฏฐิ (ความเห็นขันธ์ส่วนอนาคต) ๑๐. สัญโญชนิกาทิฏฐิ (ความเห็นเป็นเครื่องผูกสัตว์) ๑๑. มานวินิพันธาทิฏฐิ (ความเห็นอันกางกั้นด้วยมานะ) ว่า “เป็นเรา” ๑๒. มานวินิพันธาทิฏฐิ (ความเห็นอันกางกั้นด้วยมานะ) ว่า “ของเรา” ๑๓. อัตตวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิ (ความเห็นอันสัมปยุตด้วยอัตตวาทะ) ๑๔. โลกวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิ (ความเห็นอันสัมปยุตด้วยโลกวาทะ) ๑๕. ภวทิฏฐิ (ความเห็นว่าอัตตาและโลกมีอยู่) ๑๖. วิภวทิฏฐิ (ความเห็นว่าอัตตาและโลกไม่มีอยู่) [๑๒๗] ความยึดมั่นทิฏฐิ ๓๐๐ ประการ(โดยประมาณ) คือ อัสสาททิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการเท่าไร อัตตานุทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการเท่าไร มิจฉาทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการเท่าไร สักกายทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการเท่าไร สัสสตทิฏฐิ อันมีสักกายะเป็นวัตถุ มีความยึดมั่นด้วยอาการเท่าไร อุจเฉททิฏฐิ อันมีสักกายะเป็นวัตถุ มีความยึดมั่นด้วยอาการเท่าไร @เชิงอรรถ : @ มีสักกายะเป็นวัตถุ หมายถึงมีขันธ์ ๕ เป็นที่อาศัย (ขุ.ป.อ. ๒/๑๒๖/๕๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๑๙๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๒. ทิฏฐิกถา

อันตัคคาหิกทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการเท่าไร ปุพพันตานุทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการเท่าไร อปรันตานุทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการเท่าไร สัญโญชนิกาทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการเท่าไร มานวินิพันธาทิฏฐิว่า “เป็นเรา” มีความยึดมั่นด้วยอาการเท่าไร มานวินิพันธาทิฏฐิว่า “ของเรา” มีความยึดมั่นด้วยอาการเท่าไร อัตตวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการเท่าไร โลกวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการเท่าไร ภวทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการเท่าไร วิภวทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการเท่าไร คือ อัสสาททิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๓๕ อย่าง อัตตานุทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๒๐ อย่าง มิจฉาทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๑๐ อย่าง สักกายทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๒๐ อย่าง สัสสตทิฏฐิอันมีสักกายะเป็นวัตถุ มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๑๕ อย่าง อุจเฉททิฏฐิอันมีสักกายะเป็นวัตถุ มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๕ อย่าง อันตัคคาหิกทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๕๐ อย่าง ปุพพันตานุทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๑๘ อย่าง อปรันตานุทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๔๔ อย่าง สัญโญชนิกาทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๑๘ อย่าง มานวินิพันธาทิฏฐิว่า “เป็นเรา” มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๑๘ อย่าง มานวินิพันธาทิฏฐิว่า “ของเรา” มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๑๘ อย่าง อัตตวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๒๐ อย่าง โลกวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๘ อย่าง ภวทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๑๙ อย่าง วิภวทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๑๙ อย่าง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๑๙๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๒. ทิฏฐิกถา ๑. อัสสาททิฏฐินิทเทส

๑. อัสสาททิฏฐินิทเทส
แสดงอัสสาททิฏฐิ
[๑๒๘] อัสสาททิฏฐิ มีความเห็นผิดด้วยอาการ ๓๕ อย่าง เป็นอย่างไร คือ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “สุข โสมนัสที่อาศัยรูปเกิดขึ้น นี้เป็น อัสสาทะ (คุณ) แห่งรูป” ทิฏฐิไม่ใช่อัสสาทะ อัสสาทะก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็น อย่างหนึ่ง อัสสาทะก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและอัสสาทะนี้ ท่านกล่าวว่า อัสสาททิฏฐิ อัสสาททิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็นทิฏฐิวิบัติ บุคคลผู้ประกอบด้วยทิฏฐิวิบัตินั้น เป็นผู้มีทิฏฐิวิบัติ บุคคลผู้มีทิฏฐิวิบัติ ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรนั่งใกล้ ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะบุคคลนั้นมีทิฏฐิชั่ว ทิฏฐิใด ราคะใด ราคะนั้นไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐินั้น ก็ไม่ใช่ราคะ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง ราคะก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและราคะนี้ เรียกว่า ทิฏฐิราคะ บุคคลผู้ประกอบด้วยทิฏฐินั้นและราคะนั้น เป็นผู้ยินดีในทิฏฐิราคะ ทานที่ให้แก่บุคคลผู้ยินดีทิฏฐิราคะ เป็นทานมีผลไม่มาก มีอานิสงส์ไม่มาก ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะบุคคลนั้นมีทิฏฐิชั่ว อัสสาททิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ บุคคลผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิมีคติเป็น ๒ คือ นรกหรือกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน อนึ่ง กายกรรมที่ถือปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควรแก่ทิฏฐิ วจีกรรม ฯลฯ และมโนกรรม ที่ถือปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควรแก่ทิฏฐิ เจตนา ความปรารถนา ความตั้งใจ และสังขารทั้งหลายของบุคคลผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ ธรรมทั้งหมดนั้นย่อมเป็นไปเพื่อผลที่ ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ ไม่เกื้อกูล เป็นทุกข์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุคคลนั้นมีทิฏฐิชั่ว เปรียบเหมือนเมล็ดสะเดา เมล็ดบวบขม หรือเมล็ดน้ำเต้าขมที่บุคคลเพาะไว้ ในดินชุ่มชื้น รสดินและรสน้ำที่มันดูดซับเอาไว้ทั้งหมด ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็น ของขม เผ็ดร้อน ไม่น่ายินดี ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะสะเดาเป็นต้นนั้นมีเมล็ดเลว ฉันใด กายกรรมที่ถือปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควรแก่ทิฏฐิ วจีกรรม ฯลฯ และ มโนกรรมที่ถือปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควรแก่ทิฏฐิ เจตนา ความปรารถนา ความตั้งใจ และสังขารทั้งหลายของบุคคลผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ ธรรมทั้งหมดนั้นย่อม {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๑๙๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๒. ทิฏฐิกถา ๑. อัสสาททิฏฐินิทเทส

เป็นไปเพื่อผลที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ ไม่เกื้อกูล เป็นทุกข์ ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะบุคคลนั้นมีทิฏฐิชั่ว ฉันนั้น อัสสาททิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ การตกอยู่ในทิฏฐิ ความรกชัฏคือทิฏฐิ ฯลฯ ความถือมั่นคือทิฏฐิ ความ เกี่ยวข้องแห่งจิตที่ทิฏฐิกลุ้มรุม (เป็นมิจฉาทิฏฐิซึ่งจัดเป็นอัสสาททิฏฐิ) ด้วยอาการ ๑๘ ประการนี้ [๑๒๙] สังโยชน์และทิฏฐิมีอยู่ สังโยชน์แต่ไม่เป็นทิฏฐิก็มีอยู่ สังโยชน์และทิฏฐิ อะไรบ้าง คือ ๑. สักกายทิฏฐิ ๒. สีลัพพตปรามาส เหล่านี้เป็นสังโยชน์และทิฏฐิ สังโยชน์แต่ไม่เป็นทิฏฐิ อะไรบ้าง คือ ๑. กามราคสังโยชน์ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพคือกามราคะ) ๒. ปฏิฆสังโยชน์ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพคือปฏิฆะ) ๓. มานสังโยชน์ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพคือมานะ) ๔. วิจิกิจฉาสังโยชน์ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพคือวิจิกิจฉา) ๕. ภวราคสังโยชน์ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพคือภวราคะ) ๖. อิสสาสังโยชน์ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพคืออิสสา) ๗. มัจฉริยสังโยชน์ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพคือมัจฉริยะ) ๘. อนุสัยสังโยชน์ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพคืออนุสัย) ๙. อวิชชาสังโยชน์ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพคืออวิชชา) เหล่านี้เป็นสังโยชน์แต่ไม่เป็นทิฏฐิ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “สุข โสมนัสที่อาศัยเวทนาเกิดขึ้น นี้เป็น อัสสาทะแห่งเวทนา” ฯลฯ อาศัยสัญญา ฯลฯ อาศัยสังขาร ฯลฯ อาศัยวิญญาณ ฯลฯ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “สุข โสมนัสที่อาศัยจักขุ ฯลฯ อาศัยโสตะ ฯลฯ อาศัยฆานะ ฯลฯ อาศัยชิวหา ฯลฯ อาศัยกาย ฯลฯ อาศัยมโน ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๑๙๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๒. ทิฏฐิกถา ๑. อัสสาททิฏฐินิทเทส

ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “สุข โสมนัสที่อาศัยรูป ฯลฯ อาศัยสัททะ ฯลฯ อาศัยคันธะ ฯลฯ อาศัยรส ฯลฯ อาศัยโผฏฐัพพะ ฯลฯ อาศัยธรรมารมณ์ ฯลฯ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “สุข โสมนัสที่อาศัยจักขุวิญญาณ ฯลฯ อาศัย โสตวิญญาณ ฯลฯ อาศัยฆานวิญญาณ ฯลฯ อาศัยชิวหาวิญญาณ ฯลฯ อาศัย กายวิญญาณ ฯลฯ อาศัยมโนวิญญาณ ฯลฯ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “สุข โสมนัสที่อาศัยจักขุสัมผัส ฯลฯ อาศัย โสตสัมผัส ฯลฯ อาศัยฆานสัมผัส ฯลฯ อาศัยชิวหาสัมผัส ฯลฯ อาศัย กายสัมผัส ฯลฯ อาศัยมโนสัมผัส ฯลฯ อาศัยจักขุสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ อาศัย โสตสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ อาศัยฆานสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ อาศัยชิวหา- สัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ อาศัยกายสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “สุข โสมนัสที่อาศัยมโนสัมผัสสชาเวทนา เกิดขึ้น นี้เป็นอัสสาทะแห่งมโนสัมผัสสชาเวทนา” ทิฏฐิไม่ใช่อัสสาทะ อัสสาทะก็ ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง อัสสาทะก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและอัสสาทะนี้ ท่าน กล่าวว่า อัสสาททิฏฐิ อัสสาททิฏฐิ เป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็นทิฏฐิวิบัติ บุคคลผู้ประกอบด้วยทิฏฐิวิบัตินั้น เป็นผู้มีทิฏฐิวิบัติ บุคคลผู้มีทิฏฐิวิบัติไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรนั่งใกล้ ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะบุคคลนั้นมีทิฏฐิชั่ว ทิฏฐิใด ราคะใด ราคะนั้นไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐินั้น ก็ไม่ใช่ราคะ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง ราคะก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและราคะนี้เรียกว่า ทิฏฐิราคะ บุคคลผู้ประกอบด้วยทิฏฐินั้นและราคะนั้น เป็นผู้ยินดีในทิฏฐิราคะ ทานที่ให้แก่บุคคลผู้ยินดีทิฏฐิราคะ เป็นทานมีผลไม่มาก มีอานิสงส์ไม่มาก ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะบุคคลนั้นมีทิฏฐิชั่ว อัสสาททิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ บุคคลผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ มีคติเป็น ๒ คือ นรกหรือกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน อนึ่ง กายกรรมที่ถือปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควรแก่ทิฏฐิ วจีกรรม ฯลฯ และ มโนกรรมที่ถือปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควรแก่ทิฏฐิ เจตนา ความปรารถนา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๑๙๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๒. ทิฏฐิกถา ๑. อัสสาททิฏฐินิทเทส

ความตั้งใจ และสังขารทั้งหลายของบุคคลผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ ธรรมทั้งหมดนั้นย่อมเป็น ไปเพื่อผลที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ ไม่เกื้อกูล เป็นทุกข์ ข้อนั้นเพราะ เหตุไร เพราะบุคคลนั้นมีทิฏฐิชั่ว เปรียบเหมือนเมล็ดสะเดา เมล็ดบวบขม หรือเมล็ดน้ำเต้าขมที่บุคคลเพาะไว้ ในดินชุ่มชื้น รสดินและรสน้ำที่มันดูดซับเอาไว้ทั้งหมด ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็น ของขม เผ็ดร้อน ไม่น่ายินดี ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะสะเดาเป็นต้นนั้นมีเมล็ดเลว ฉันใด กายกรรมที่ถือปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควรแก่ทิฏฐิ วจีกรรม ฯลฯ และ มโนกรรมที่ถือปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควรแก่ทิฏฐิ เจตนา ความปรารถนา ความ ตั้งใจ และสังขารทั้งหลายของบุคคลผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ ธรรมทั้งหมดนั้นย่อมเป็นไป เพื่อผลที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ ไม่เกื้อกูล เป็นทุกข์ ข้อนั้นเพราะ เหตุไร เพราะบุคคลนั้นมีทิฏฐิชั่ว ฉันนั้น อัสสาททิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ การตกอยู่ในทิฏฐิ ความรกชัฏคือทิฏฐิ ฯลฯ ความถือมั่นคือทิฏฐิ ความ เกี่ยวข้องแห่งจิตที่ทิฏฐิกลุ้มรุม (เป็นมิจฉาทิฏฐิซึ่งจัดเป็นอัสสาททิฏฐิ) ด้วยอาการ ๑๘ ประการนี้ สังโยชน์และทิฏฐิมีอยู่ สังโยชน์แต่ไม่เป็นทิฏฐิก็มีอยู่ สังโยชน์และทิฏฐิ อะไรบ้าง คือ ๑. สักกายทิฏฐิ ๒. สีลัพพตปรามาส เหล่านี้ เป็นสังโยชน์และทิฏฐิ สังโยชน์แต่ไม่เป็นทิฏฐิ อะไรบ้าง คือ ๑. กามราคสังโยชน์ ๒. ปฏิฆสังโยชน์ ๓. มานสังโยชน์ ๔. วิจิกิจฉาสังโยชน์ ๕. ภวราคสังโยชน์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๑๙๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๒. ทิฏฐิกถา ๒. อัตตานุทิฏฐินิทเทส

๖. อิสสาสังโยชน์ ๗. มัจฉริยสังโยชน์ ๘. อนุสัยสังโยชน์ ๙. อวิชชาสังโยชน์ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ อัสสาททิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๓๕ อย่างนี้
อัสสาททิฏฐินิทเทสที่ ๑ จบ
๒. อัตตานุทิฏฐินิทเทส
แสดงอัตตานุทิฏฐิ
[๑๓๐] อัตตานุทิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๒๐ อย่าง เป็นอย่างไร คือ ปุถุชนในโลกนี้ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของพระ อริยะ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรม ของสัตบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็น อัตตาบ้าง พิจารณาเห็นอัตตามีรูปบ้าง พิจารณาเห็นรูปในอัตตาบ้าง พิจารณาเห็น อัตตาในรูปบ้าง พิจารณาเห็นเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ พิจารณาเห็น วิญญาณโดยความเป็นอัตตาบ้าง พิจารณาเห็นอัตตามีวิญญาณบ้าง พิจารณาเห็น วิญญาณในอัตตาบ้าง พิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณบ้าง [๑๓๑] ปุถุชนพิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาเห็นปฐวีกสิณโดยความเป็นอัตตา คือ พิจารณาเห็นปฐวีกสิณและอัตตาไม่เป็นสองว่า “ปฐวีกสิณอันใด เราก็อันนั้น เรา อันใด ปฐวีกสิณก็อันนั้น” เมื่อประทีปน้ำมันกำลังลุกโพลงอยู่ บุคคลเห็นเปลวไฟและ แสงสว่างไม่เป็นสองว่า “เปลวไฟอันใด แสงสว่างก็อันนั้น แสงสว่างอันใด เปลวไฟก็ อันนั้น” ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณาเห็นปฐวีกสิณโดย ความเป็นอัตตา คือ พิจารณาเห็นปฐวีกสิณและอัตตาไม่เป็นสองว่า “ปฐวีกสิณอันใด เราก็อันนั้น เราอันใด ปฐวีกสิณก็อันนั้น” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่น ทิฏฐิไม่ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๒๐๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๒. ทิฏฐิกถา ๒. อัตตานุทิฏฐินิทเทส

วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้ เป็นอัตตานุทิฏฐิมีรูปเป็นวัตถุ เป็นอาการที่ ๑ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็น ทิฏฐิวิบัติ ฯลฯ บุคคลผู้ประกอบด้วยอัตตานุทิฏฐิย่อมมีคติเป็น ๒ ฯลฯ เหล่านี้ เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาเห็นอาโปกสิณ ... เตโชกสิณ ... วาโยกสิณ ... นีลกสิณ ... ปีตกสิณ ... โลหิตกสิณ ... พิจารณาเห็นโอทาตกสิณโดยความเป็นอัตตา คือ พิจารณาเห็นโอทาตกสิณและอัตตาไม่เป็นสองว่า “โอทาตกสิณอันใด เราก็ อันนั้น เราอันใด โอทาตกสิณก็อันนั้น” เมื่อประทีปน้ำมันกำลังลุกโพลงอยู่ บุคคล เห็นเปลวไฟและแสงสว่างไม่เป็นสองว่า “เปลวไฟอันใด แสงสว่างก็อันนั้น แสงสว่างอันใด เปลวไฟก็อันนั้น” ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ พิจารณาเห็นโอทาตกสิณและอัตตาไม่เป็นสอง ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่น ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิ และวัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฏฐิมีรูปเป็นวัตถุ เป็นอาการที่ ๑ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็นทิฏฐิวิบัติ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ ปุถุชนพิจารณาเห็นรูปโดย ความเป็นอัตตาอย่างนี้ (๑) ปุถุชนพิจารณาเห็นอัตตามีรูป เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาเห็นเวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... พิจารณาเห็น วิญญาณโดยความเป็นอัตตา เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา แต่ว่า อัตตาของเรานี้มีรูปเพราะรูปนี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นอัตตามีรูป ต้นไม้มีเงา บุรุษพึง พูดถึงต้นไม้นั้นอย่างนี้ว่า “นี้ต้นไม้ นี้เงา ต้นไม้เป็นอย่างหนึ่ง เงาก็เป็นอย่างหนึ่ง แต่ต้นไม้นี้มีเงาเพราะเงานี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นต้นไม้มีเงาฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณาเห็นเวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... พิจารณาเห็นวิญญาณ โดยความเป็นอัตตา เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา แต่ว่าอัตตา ของเรานี้มีรูปเพราะรูปนี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นอัตตามีรูป ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่น ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและ วัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฏฐิมีรูปเป็นวัตถุ เป็นอาการที่ ๒ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็นทิฏฐิวิบัติ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ ปุถุชนพิจารณาเห็นอัตตา มีรูปอย่างนี้ (๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๒๐๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๒. ทิฏฐิกถา ๒. อัตตานุทิฏฐินิทเทส

ปุถุชนพิจารณาเห็นรูปในอัตตา เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาเห็นเวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... พิจารณา เห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา ก็ในอัตตานี้มีรูปเช่นนี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นรูปในอัตตา ดอกไม้มีกลิ่นหอม บุรุษ พึงพูดถึงดอกไม้นั้นอย่างนี้ว่า “นี้ดอกไม้ นี้กลิ่นหอม ดอกไม้เป็นอย่างหนึ่ง กลิ่น หอมก็เป็นอย่างหนึ่ง แต่กลิ่นหอมนี้มีอยู่ในดอกไม้นี้ ชื่อว่าพิจารณาเห็นกลิ่นหอม ในดอกไม้นั้น ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณาเห็นเวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา เขามีความเห็น อย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา ก็ในอัตตานี้มีรูปเช่นนี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นรูปใน อัตตา ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่น ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ฯลฯ นี้เป็นอัตตา- นุทิฏฐิมีรูปเป็นวัตถุ เป็นอาการที่ ๓ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็นทิฏฐิวิบัติ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ ปุถุชนพิจารณาเห็นรูปในอัตตาอย่างนี้ (๓) ปุถุชนพิจารณาเห็นอัตตาในรูป เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาเห็นเวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... พิจารณา เห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา แต่ว่าอัตตาของเรานี้มีอยู่ในรูปนี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นอัตตาในรูป แก้วมณีที่ใส่ไว้ ในขวด บุรุษพึงพูดถึงแก้วมณีนั้นอย่างนี้ว่า “นี้แก้วมณี นี้ขวด แก้วมณีเป็นอย่างหนึ่ง ขวดก็เป็นอย่างหนึ่ง แต่แก้วมณีนี้มีอยู่ในขวดนี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นแก้วมณีในขวด ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณาเห็นเวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา แต่ว่าอัตตาของเรานี้มีอยู่ในรูปนี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นอัตตา ในรูป ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่น ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฏฐิมีรูปเป็นวัตถุ เป็นอาการที่ ๔ อัตตานุทิฏฐิ เป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็นทิฏฐิวิบัติ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ ปุถุชนพิจารณาเห็นอัตตาในรูปอย่างนี้ (๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๒๐๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๒. ทิฏฐิกถา ๒. อัตตานุทิฏฐินิทเทส

[๑๓๒] ปุถุชนพิจารณาเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตา เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาเห็นจักขุสัมผัสสชาเวทนา ... โสตสัมผัสสชา- เวทนา ... ฆานสัมผัสสชาเวทนา ... ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา ... กายสัมผัสสชา- เวทนา ... พิจารณาเห็นมโนสัมผัสสชาเวทนาโดยความเป็นอัตตา คือ พิจารณาเห็น มโนสัมผัสสชาเวทนาและอัตตาไม่เป็นสองว่า “มโนสัมผัสสชาเวทนาอันใด เราก็ อันนั้น เราอันใด มโนสัมผัสสชาเวทนาก็อันนั้น” เมื่อประทีปน้ำมันกำลังลุกโพลงอยู่ บุคคลพิจารณาเห็นเปลวไฟและแสงสว่างไม่เป็นสองว่า “เปลวไฟอันใด แสงสว่าง ก็อันนั้น แสงสว่างอันใด เปลวไฟก็อันนั้น” ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้น เหมือนกัน พิจารณาเห็นมโนสัมผัสสชาเวทนาโดยความเป็นอัตตา คือ พิจารณา เห็นมโนสัมผัสสชาเวทนาและอัตตาไม่เป็นสองว่า “มโนสัมผัสสชาเวทนาอันใด เราก็ อันนั้น เราอันใด มโนสัมผัสสชาเวทนาก็อันนั้น” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่น ทิฏฐิ ไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุ นี้เป็นอัตตานุทิฏฐิมีเวทนาเป็นวัตถุ เป็นอาการที่ ๑ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็น ทิฏฐิวิบัติ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ ปุถุชนพิจารณาเห็นเวทนาโดย ความเป็นอัตตาอย่างนี้ (๑-๕) ปุถุชนพิจารณาเห็นอัตตามีเวทนา เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาเห็นสัญญา ... สังขาร ... วิญญาณ ... พิจารณา เห็นรูปโดยความเป็นอัตตา เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา แต่ว่า อัตตาของเรานี้มีเวทนาเพราะเวทนานี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นอัตตามีเวทนา ต้นไม้มีเงา บุคคลพึงพูดถึงต้นไม้นั้นอย่างนี้ว่า “นี้ต้นไม้ นี้เงา ต้นไม้เป็นอย่างหนึ่ง เงาก็เป็น อย่างหนึ่ง แต่ต้นไม้นี้มีเงาเพราะเงานี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นต้นไม้มีเงา ฉันใด บุคคล บางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณาเห็นสัญญา ... สังขาร ... วิญญาณ ... พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา แต่ว่าอัตตาของเรานี้มีเวทนาเพราะเวทนานี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นอัตตามีเวทนา ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่น ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็ เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฏฐิมีเวทนาเป็นวัตถุ เป็นอาการที่ ๒ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็นทิฏฐิวิบัติ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ ปุถุชนพิจารณาเห็นอัตตามีเวทนาอย่างนี้ (๒-๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๒๐๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๒. ทิฏฐิกถา ๒. อัตตานุทิฏฐินิทเทส

ปุถุชนพิจารณาเห็นเวทนาในอัตตา เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาเห็นสัญญา ... สังขาร ... วิญญาณ ... พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา ก็ในอัตตานี้มีเวทนานี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นเวทนาในอัตตา ดอกไม้มีกลิ่นหอม บุคคลพึงพูดถึงดอกไม้นั้นอย่างนี้ว่า “นี้ดอกไม้ นี้กลิ่นหอม ดอกไม้เป็นอย่างหนึ่ง กลิ่นหอมก็เป็นอย่างหนึ่ง แต่กลิ่นหอมนี้มีอยู่ในดอกไม้นี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นกลิ่น หอมในดอกไม้ ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณาเห็นสัญญา ... สังขาร ... วิญญาณ ... พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา เขามีความเห็น อย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา ก็ในอัตตานี้มีเวทนานี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นเวทนาใน อัตตา ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่น ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ฯลฯ นี้เป็น อัตตานุทิฏฐิมีเวทนาเป็นวัตถุ เป็นอาการที่ ๓ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็น ทิฏฐิวิบัติ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ ปุถุชนพิจารณาเห็นเวทนา ในอัตตาอย่างนี้ (๓-๗) ปุถุชนพิจารณาเห็นอัตตาในเวทนา เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาเห็นสัญญา ... สังขาร ... วิญญาณ ... พิจารณา เห็นรูปโดยความเป็นอัตตา เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา แต่ว่า อัตตาของเรานี้มีอยู่ในเวทนานี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นอัตตาในเวทนา ฯลฯ ชื่อว่า พิจารณาเห็นแก้วมณีในขวด ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณา เห็นสัญญา ... สังขาร ... วิญญาณ ... พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา แต่ว่าอัตตาของเรานี้มีอยู่ในเวทนานี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นอัตตาในเวทนา ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่น ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฏฐิ มีเวทนาเป็นวัตถุ เป็นอาการที่ ๔ อัตตานุทิฏฐิ เป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็นทิฏฐิวิบัติ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ ปุถุชนพิจารณาเห็นอัตตาในเวทนาอย่างนี้ (๔-๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๒๐๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๒. ทิฏฐิกถา ๒. อัตตานุทิฏฐินิทเทส

[๑๓๓] ปุถุชนพิจารณาเห็นสัญญาโดยความเป็นอัตตา เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาเห็นจักขุสัมผัสสชาสัญญา ... โสต- สัมผัสสชาสัญญา ... ฆานสัมผัสสชาสัญญา ... ชิวหาสัมผัสสชาสัญญา ... กาย- สัมผัสสชาสัญญา ... พิจารณาเห็นมโนสัมผัสสชาสัญญาโดยความเป็นอัตตา คือ พิจารณาเห็นมโนสัมผัสสชาสัญญาและอัตตาไม่เป็นสองว่า “มโนสัมผัสสชาสัญญา อันใด เราก็อันนั้น เราอันใด มโนสัมผัสสชาสัญญาก็อันนั้น” เมื่อประทีปน้ำมันกำลัง ลุกโพลงอยู่ บุคคลเห็นเปลวไฟและแสงสว่างไม่เป็นสองว่า “เปลวไฟอันใด แสงสว่าง ก็อันนั้น แสงสว่างอันใด เปลวไฟก็อันนั้น” ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้น เหมือนกัน พิจารณาเห็นมโนสัมผัสสชาสัญญาโดยความเป็นอัตตา คือ พิจารณา เห็นมโนสัมผัสสชาสัญญา และอัตตาไม่เป็นสองว่า “มโนสัมผัสสชาสัญญาอันใด เราก็อันนั้น เราอันใด มโนสัมผัสสชาสัญญาก็อันนั้น” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่น ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและ วัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฏฐิมีสัญญาเป็นวัตถุ เป็นอาการที่ ๑ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ ปุถุชนพิจารณาเห็นสัญญาโดยความเป็น อัตตาอย่างนี้ (๑-๙) ปุถุชนพิจารณาเห็นอัตตามีสัญญา เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาเห็นสังขาร ... วิญญาณ ... รูป ... พิจารณาเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตา เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา แต่ว่าอัตตาของเรานี้มีสัญญาเพราะสัญญานี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นอัตตามีสัญญา ต้นไม้มีเงา บุรุษพึงพูดถึงต้นไม้นั้นอย่างนี้ว่า “นี้ต้นไม้ นี้เงา ต้นไม้เป็นอย่างหนึ่ง เงาก็เป็นอย่างหนึ่ง แต่ต้นไม้นี้มีเงาเพราะเงานี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นต้นไม้มีเงา ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณาเห็นสังขาร ... วิญญาณ ... รูป ... พิจารณาเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตา เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตา ของเราแต่ว่าอัตตาของเรานี้มีสัญญาเพราะสัญญานี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นอัตตา มีสัญญา ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่น ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็น อย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฏฐิมีสัญญาเป็นวัตถุ เป็นอาการที่ ๒ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ ปุถุชนพิจารณาเห็นอัตตามีสัญญาอย่างนี้ (๒-๑๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๒๐๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๒. ทิฏฐิกถา ๒. อัตตานุทิฏฐินิทเทส

ปุถุชนพิจารณาเห็นสัญญาในอัตตา เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ พิจารณาเห็นสังขาร ... วิญญาณ ... รูป ... พิจารณาเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตา เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา ก็ในอัตตานี้มีสัญญานี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นสัญญาในอัตตา ดอกไม้มีกลิ่นหอม บุคคลพึงพูดถึงดอกไม้นั้นอย่างนี้ว่า “นี้ดอกไม้ นี้กลิ่นหอม ดอกไม้เป็นอย่างหนึ่ง กลิ่นหอมก็เป็นอย่างหนึ่ง แต่กลิ่นหอมนี้มีอยู่ในดอกไม้นี้” ชื่อว่าพิจารณา เห็นกลิ่นหอมในดอกไม้ ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณา เห็นสังขาร ... วิญญาณ ... รูป ... พิจารณาเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตา เขามี ความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา ก็ในอัตตานี้มีสัญญานี้” ชื่อว่าพิจารณา เห็นสัญญาในอัตตา ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่น ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฏฐิมีสัญญา เป็นวัตถุ เป็นอาการที่ ๓ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ ปุถุชนพิจารณาเห็นสัญญาในอัตตาอย่างนี้ (๓-๑๑) ปุถุชนพิจารณาเห็นอัตตาในสัญญา เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาเห็นสังขาร ... วิญญาณ ... รูป ... พิจารณา เห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตา เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา แต่ว่าอัตตาของเรานี้มีอยู่ในสัญญานี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นอัตตาในสัญญา แก้วมณี ที่ใส่ไว้ในขวด บุคคลพึงพูดถึงแก้วมณีนั้นอย่างนี้ว่า “นี้แก้วมณี นี้ขวด แก้วมณีเป็น อย่างหนึ่ง ขวดก็เป็นอย่างหนึ่ง แต่แก้วมณีนี้มีอยู่ในขวดนี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็น แก้วมณีในขวด ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณาเห็น สังขาร ... วิญญาณ ... รูป ... พิจารณาเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตา เขามีความ เห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา แต่ว่าอัตตาของเรานี้มีอยู่ในสัญญานี้” ชื่อว่า พิจารณาเห็นอัตตาในสัญญา ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่น ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฏฐิ มีสัญญาเป็นวัตถุ เป็นอาการที่ ๔ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็น สังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ ปุถุชนพิจารณาเห็นอัตตาในสัญญาอย่างนี้ (๔-๑๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๒๐๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๒. ทิฏฐิกถา ๒. อัตตานุทิฏฐินิทเทส

[๑๓๔] ปุถุชนพิจารณาเห็นสังขารโดยความเป็นอัตตา เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาเห็นจักขุสัมผัสสชาเจตนา ฯลฯ โสต- สัมผัสสชาเจตนา ฯลฯ ฆานสัมผัสสชาเจตนา ฯลฯ ชิวหาสัมผัสสชาเจตนา ฯลฯ กายสัมผัสสชาเจตนา ฯลฯ พิจารณาเห็นมโนสัมผัสสชาเจตนาโดยความเป็นอัตตา คือ พิจารณาเห็นมโนสัมผัสสชาเจตนาและอัตตาไม่เป็นสองว่า “มโนสัมผัสสชา- เจตนาอันใด เราก็อันนั้น เราอันใด มโนสัมผัสสชาเจตนาก็อันนั้น” เมื่อประทีป น้ำมันกำลังลุกโพลงอยู่ บุคคลพิจารณาเห็นเปลวไฟและแสงสว่างไม่เป็นสองว่า “เปลวไฟอันใด แสงสว่างก็อันนั้น แสงสว่างอันใด เปลวไฟก็อันนั้น” ฉันใด บุคคล บางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณาเห็นมโนสัมผัสสชาเจตนาโดยความ เป็นอัตตา คือ พิจารณาเห็นมโนสัมผัสสชาเจตนาและอัตตาไม่เป็นสองว่า “มโน- สัมผัสสชาเจตนาอันใด เราก็อันนั้น เราอันใด มโนสัมผัสสชาเจตนาก็อันนั้น” ทิฏฐิ คือความยึดมั่นถือมั่น ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็น อย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฏฐิมีสังขารเป็นวัตถุ เป็นอาการที่ ๑ อัตตา- นุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ ปุถุชนพิจารณา เห็นสังขารโดยความเป็นอัตตาอย่างนี้ (๑-๑๓) ปุถุชนพิจารณาเห็นอัตตามีสังขาร เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาเห็นวิญญาณ รูป เวทนา สัญญาโดยความ เป็นอัตตา เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา แต่ว่าอัตตาของเรานี้มี สังขารเพราะสังขารเหล่านี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นอัตตามีสังขาร ต้นไม้มีเงา บุรุษพึง พูดถึงต้นไม้นั้นอย่างนี้ว่า “นี้ต้นไม้ นี้เงา ต้นไม้เป็นอย่างหนึ่ง เงาก็เป็นอย่างหนึ่ง แต่ต้นไม้นี้มีเงาเพราะเงานี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นต้นไม้มีเงา ฉันใด บุคคลบางคน ในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณาเห็นวิญญาณ รูป เวทนา สัญญาโดยความเป็น อัตตา เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา แต่ว่าอัตตาของเรานี้มีสังขาร เพราะสังขารเหล่านี้” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่น ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฏฐิมีสังขาร เป็นวัตถุ เป็นอาการที่ ๒ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ ปุถุชนพิจารณาเห็นอัตตามีสังขารอย่างนี้ (๑-๑๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๒๐๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๒. ทิฏฐิกถา ๒. อัตตานุทิฏฐินิทเทส

ปุถุชนพิจารณาเห็นสังขารในอัตตา เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาเห็นวิญญาณ รูป เวทนา สัญญาโดยความ เป็นอัตตา เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา ก็ในอัตตานี้มีสังขาร เหล่านี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นสังขารในอัตตา ดอกไม้มีกลิ่นหอม บุรุษพึงพูดถึง ดอกไม้นั้นอย่างนี้ว่า “นี้ดอกไม้ นี้กลิ่นหอม ดอกไม้เป็นอย่างหนึ่ง กลิ่นหอมก็เป็น อย่างหนึ่ง แต่กลิ่นหอมนี้มีอยู่ในดอกไม้นี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นกลิ่นหอมในดอกไม้ ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณาเห็นวิญญาณ รูป เวทนา สัญญา โดยความเป็นอัตตา เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา ก็ใน อัตตานี้มีสังขารเหล่านี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นสังขารในอัตตา ทิฏฐิคือความยึดมั่น ถือมั่น ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฏฐิมีสังขารเป็นวัตถุ เป็นอาการที่ ๓ อัตตานุทิฏฐิเป็น มิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ ปุถุชนพิจารณาเห็นสังขารใน อัตตาอย่างนี้ (๓-๑๕) ปุถุชนพิจารณาเห็นอัตตาในสังขาร เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาเห็นวิญญาณ รูป เวทนา สัญญาโดยความ เป็นอัตตา เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา แต่ว่าอัตตาของเรานี้มีอยู่ใน สังขารนี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นอัตตาในสังขาร แก้วมณีที่ใส่ไว้ในขวด บุรุษพึงพูดถึง แก้วมณีนั้นอย่างนี้ว่า “นี้แก้วมณี นี้ขวด แก้วมณีเป็นอย่างหนึ่ง ขวดก็เป็นอย่างหนึ่ง แต่แก้วมณีนี้มีอยู่ในขวดนี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นแก้วมณีในขวด ฉันใด บุคคลบางคน ในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณาเห็นวิญญาณ รูป เวทนา สัญญาโดยความ เป็นอัตตา เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา แต่ว่าอัตตาของเรานี้มีอยู่ ในสังขารเหล่านี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นอัตตาในสังขาร ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่น ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและ วัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฏฐิมีสังขารเป็นวัตถุ เป็นอาการที่ ๔ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉา- ทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ ปุถุชนพิจารณาเห็นอัตตาในสังขาร อย่างนี้ (๔-๑๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๒๐๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๒. ทิฏฐิกถา ๒. อัตตานุทิฏฐินิทเทส

[๑๓๕] ปุถุชนพิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาเห็นจักขุวิญญาณ ... โสตวิญญาณ ... ฆาน- วิญญาณ ... ชิวหาวิญญาณ ... กายวิญญาณ ... พิจารณาเห็นมโนวิญญาณโดย ความเป็นอัตตา คือ พิจารณาเห็นมโนวิญญาณและอัตตาไม่เป็นสองว่า “มโน- วิญญาณอันใด เราก็อันนั้น เราอันใด มโนวิญญาณก็อันนั้น” เมื่อประทีปน้ำมันกำลัง ลุกโพลงอยู่ บุคคลพิจารณาเห็นเปลวไฟและแสงสว่างไม่เป็นสองว่า “เปลวไฟอันใด แสงสว่างก็อันนั้น แสงสว่างอันใด เปลวไฟก็อันนั้น” ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณาเห็นมโนวิญญาณโดยความเป็นอัตตา คือ พิจารณาเห็น มโนวิญญาณและอัตตาไม่เป็นสองว่า “มโนวิญญาณอันใด เราก็อันนั้น เราอันใด มโนวิญญาณก็อันนั้น” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่น ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฏฐิมีวิญญาณ เป็นวัตถุ เป็นอาการที่ ๑ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ ปุถุชนพิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตาอย่างนี้ (๑-๑๗) ปุถุชนพิจารณาเห็นอัตตามีวิญญาณ เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขารโดยความเป็น อัตตา เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา แต่ว่าอัตตาของเรานี้มีวิญญาณ เพราะวิญญาณนี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นอัตตามีวิญญาณ ต้นไม้มีเงา บุรุษพึงพูดถึง ต้นไม้นันอย่างนี้ว่า “นี้ต้นไม้ นี้เงา ต้นไม้นี้เป็นอย่างหนึ่ง เงาก็เป็นอย่างหนึ่ง แต่ต้น ไม้นี้มีเงาเพราะเงานี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นต้นไม้มีเงา ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้น เหมือนกัน พิจารณาเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขารโดยความเป็นอัตตา เขามีความ เห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา แต่ว่าอัตตาของเรานี้มีวิญญาณเพราะวิญญาณนี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นอัตตามีวิญญาณ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่น ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอัตตา- นุทิฏฐิมีวิญญาณเป็นวัตถุ เป็นอาการที่ ๒ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้ เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ ปุถุชนพิจารณาเห็นอัตตามีวิญญาณอย่างนี้ (๒-๑๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๒๐๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๒. ทิฏฐิกถา ๒. อัตตานุทิฏฐินิทเทส

ปุถุชนพิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตา เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขารโดยความเป็น อัตตา เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา ก็ในอัตตานี้มีวิญญาณเช่นนี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตา ดอกไม้มีกลิ่นหอม บุรุษพึงพูดถึงดอกไม้นั้นว่า “นี้ดอกไม้ นี้กลิ่นหอม ดอกไม้เป็นอย่างหนึ่ง กลิ่นหอมก็เป็นอย่างหนึ่ง แต่ว่ากลิ่น หอมนี้ มีอยู่ในดอกไม้นี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นกลิ่นหอมในดอกไม้ ฉันใด บุคคลบาง คนในโลกนี้ก็ฉันนั้นหมือนกัน พิจารณาเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขารโดยความเป็น อัตตา เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา ก็ในอัตตานี้มีวิญญาณนี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตา ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่น ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุ ก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฏฐิ มีวิญญาณเป็นวัตถุ เป็นอาการที่ ๓ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็น สังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ ปุถุชนพิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตาอย่างนี้ (๓-๑๙) ปุถุชนพิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณ เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขารโดยความ เป็นอัตตา เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา แต่ว่าอัตตาของเรานี้มีอยู่ ในวิญญาณนี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณ แก้วมณีที่ใส่ไว้ในขวด บุรุษพึง พูดถึงแก้วมณีนั้นอย่างนี้ว่า “นี้แก้วมณี นี้ขวด แก้วมณีเป็นอย่างหนึ่ง ขวดก็เป็น อย่างหนึ่ง แต่ว่าแก้วมณีนี้มีอยู่ในในขวดนี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นแก้วมณีในขวด ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณาเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร โดยความเป็นอัตตา เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา แต่ว่าอัตตา ของเรานี้ มีอยู่ในวิญญาณนี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณ ทิฏฐิคือความ ยึดมั่นถือมั่น ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฏฐิมีวิญญาณเป็นวัตถุ เป็นอาการที่ ๔ ฯลฯ อัตตา- นุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ ปุถุชนพิจารณาเห็น อัตตาในวิญญาณอย่างนี้ อัตตานุทิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๒๐ อย่างนี้ (๔-๒๐)
อัตตานุทิฏฐินิทเทสที่ ๒ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๒๑๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๒. ทิฏฐิกถา ๓. มิจฉาทิฏฐินิทเทส

๓. มิจฉาทิฏฐินิทเทส
แสดงมิจฉาทิฏฐิ
[๑๓๖] มิจฉาทิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๑๐ อย่าง เป็นอย่างไร คือ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นแห่งมิจฉาทิฏฐิที่กล่าวถึงวัตถุอย่างนี้ว่า “ทาน ที่ให้แล้วไม่มีผล” ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็น อย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นมิจฉาทิฏฐิมีวัตถุผิด เป็นอาการที่ ๑ มิจฉาทิฏฐิเป็น ทิฏฐิวิบัติ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นแห่งมิจฉาทิฏฐิที่กล่าวถึงวัตถุอย่างนี้ว่า “ยัญที่บูชา แล้วไม่มีผล” ฯลฯ “การเซ่นสรวง ไม่มีผล” ฯลฯ “ผลวิบากแห่งกรรมที่บุคคลทำดี ทำชั่วไม่มี” ฯลฯ “โลกนี้ไม่มี” ฯลฯ “โลกหน้าไม่มี” ฯลฯ “มารดาไม่มี” ฯลฯ “บิดาไม่มี” ฯลฯ “โอปปาติกสัตว์๑- ไม่มี” ฯลฯ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นแห่งมิจฉาทิฏฐิที่กล่าวถึงวัตถุอย่างนี้ว่า “สมณะและ พราหมณ์ผู้พร้อมเพรียงกันปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ รู้แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยตนเอง แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ตามไม่มีในโลก” ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็น อย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นมิจฉาทิฏฐิมีความเห็นผิดเป็นวัตถุ เป็นอาการที่ ๑๐ มิจฉาทิฏฐิเป็นทิฏฐิวิบัติ ฯลฯ บุคคลผู้เพียบพร้อมด้วยมิจฉาทิฏฐิ ย่อมมีคติเป็น ๒ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ มิจฉาทิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๑๐ อย่างนี้
มิจฉาทิฏฐินิทเทสที่ ๓ จบ
@เชิงอรรถ : @ โอปปาติกสัตว์ ในที่นี้หมายถึงสัตว์ที่เกิดและเติบโตเต็มที่ทันที และเมื่อจุติ (ตาย) ก็หายวับไปไม่ทิ้งซาก @ศพไว้ เช่นเทวดาและสัตว์นรก เป็นต้น (ที.สี.อ. ๑๗๑/๑๔๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๒๑๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๒. ทิฏฐิกถา ๔. สักกายทิฏฐินิทเทส

๔. สักกายทิฏฐินิทเทส
แสดงสักกายทิฏฐิ
[๑๓๗] สักกายทิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๒๐ อย่าง เป็นอย่างไร คือ ปุถุชนในโลกนี้ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของพระ อริยะ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรม ของสัตบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็น อัตตาบ้าง พิจารณาเห็นอัตตามีรูปบ้าง พิจารณาเห็นรูปในอัตตาบ้าง พิจารณาเห็น อัตตาในรูปบ้าง พิจารณาเห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณโดยความเป็นอัตตา บ้าง พิจารณาเห็นอัตตามีวิญญาณบ้าง พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง พิจารณา เห็นอัตตาในวิญญาณบ้าง ปุถุชนพิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาเห็นปฐวีกสิณ ฯลฯ พิจารณาเห็นโอทาต- กสิณ โดยความเป็นอัตตา คือ พิจารณาเห็นโอทาตกสิณและอัตตาไม่เป็นสองว่า “โอทาตกสิณอันใด เราก็อันนั้น เราอันใด โอทาตกสิณก็อันนั้น” เมื่อประทีป น้ำมันกำลังลุกโพลงอยู่ ฯลฯ ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณาเห็นโอทาตกสิณ โดยความเป็นอัตตา ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่น ฯลฯ นี้เป็นสักกายทิฏฐิมีรูปเป็นวัตถุ เป็นอาการที่ ๑ สักกายทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ ปุถุชนพิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา อย่างนี้ ฯลฯ สักกายทิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๒๐ อย่างนี้
สักกายทิฏฐินิทเทสที่ ๔ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๒๑๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๒. ทิฏฐิกถา ๕. สัสสตทิฏฐินิทเทส

๕. สัสสตทิฏฐินิทเทส
แสดงสัสสตทิฏฐิ
[๑๓๘] สัสสตทิฏฐิที่มีสักกายะเป็นวัตถุ มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๑๕ อย่าง เป็นอย่างไร คือ ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของ พระอริยะ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาด ในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ พิจารณาเห็นอัตตามี รูปบ้าง พิจารณาเห็นรูปในอัตตาบ้าง พิจารณาเห็นอัตตาในรูปบ้าง พิจารณาเห็น อัตตามีเวทนาบ้าง พิจารณาเห็นอัตตามีสัญญาบ้าง พิจารณาเห็นอัตตามีสังขารบ้าง พิจารณาเห็นอัตตามีวิญญาณบ้าง พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง พิจารณาเห็น อัตตาในวิญญาณบ้าง ปุถุชนพิจารณาเห็นอัตตามีรูป เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาเห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณโดย ความเป็นอัตตา เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา แต่ว่าอัตตาของ เรานี้มีรูปเพราะรูปนี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นอัตตามีรูป ต้นไม้มีเงา บุรุษพึงพูดถึงต้นไม้ นั้นอย่างนี้ว่า “นี้ต้นไม้ นี้เงา ต้นไม้เป็นอย่างหนึ่ง เงาก็เป็นอย่างหนึ่ง แต่ต้นไม้นี้ มีเงาเพราะเงานี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นต้นไม้มีเงาฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้น เหมือนกัน พิจารณาเห็นเวทนา ฯลฯ โดยความเป็นอัตตา นี้เป็นสัสสตทิฏฐิที่มี สักกายะเป็นวัตถุ เป็นอาการที่ ๑ สัสสตทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ ปุถุชนพิจารณาเห็นอัตตามีรูปอย่างนี้ ฯลฯ สัสสตทิฏฐิที่มีสักกายะเป็นวัตถุ มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๑๕ อย่างนี้
สัสสตทิฏฐินิทเทสที่ ๕ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๒๑๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๒. ทิฏฐิกถา ๗. อันตัคคาหิกทิฏฐินิทเทส

๖. อุจเฉททิฏฐินิทเทส
แสดงอุจเฉททิฏฐิ
[๑๓๙] อุจเฉททิฏฐิที่มีสักกายะเป็นวัตถุ มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๕ อย่าง เป็นอย่างไร คือ ปุถุชนในโลกนี้ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรม ของสัตบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็น อัตตา พิจารณาเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นสัญญาโดยความเป็น อัตตา พิจารณาเห็นสังขารโดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็น อัตตา ปุถุชนพิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาเห็นปฐวีกสิณ ฯลฯ พิจารณาเห็นโอทาต- กสิณ โดยความเป็นอัตตา คือ พิจารณาเห็นโอทาตกสิณและอัตตาไม่เป็นสองว่า “โอทาตกสิณอันใด เราก็อันนั้น เราอันใด โอทาตกสิณก็อันนั้น” เมื่อประทีปน้ำมัน กำลังลุกโพลงอยู่ ฯลฯ ฉันใด นี้เป็นอุจเฉททิฏฐิที่มีสักกายะเป็นวัตถุ เป็นอาการที่ ๑ อุจเฉททิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ ปุถุชนพิจารณา เห็นรูปโดยความเป็นอัตตาอย่างนี้ ฯลฯ อุจเฉททิฏฐิที่มีสักกายะเป็นวัตถุ มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๕ อย่างนี้
อุจเฉททิฏฐินิทเทสที่ ๖ จบ
๗. อันตัคคาหิกทิฏฐินิทเทส
แสดงอันตัคคาหิกทิฏฐิ
[๑๔๐] อันตัคคาหิกทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๕๐ อย่าง เป็นอย่างไร คือ อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “โลกเที่ยง” มีความยึดมั่นด้วยอาการเท่าไร อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “โลกไม่เที่ยง” ฯลฯ “โลกมีที่สุด” ฯลฯ “โลกไม่มีที่สุด” ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๒๑๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๒. ทิฏฐิกถา ๗. อันตัคคาหิกทิฏฐินิทเทส

“ชีวะ๑- กับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน” ฯลฯ “ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน” ฯลฯ “หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก” ฯลฯ “หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก” ฯลฯ “หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มี ไม่เกิดอีกก็มี” ฯลฯ อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มิใช่ ไม่เกิดอีกก็มิใช่” มีความยึดมั่นด้วยอาการ เท่าไร คือ อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “โลกเที่ยง” มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๕ อย่าง ฯลฯ อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มิใช่ ไม่เกิดอีกก็มิใช่” มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๕ อย่าง อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “โลกเที่ยง” มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๕ อย่าง เป็นอย่างไร คือ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “รูปเป็นโลกและเป็นของเที่ยง” ทิฏฐินั้นถือ เอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอันตัคคาหิกทิฏฐิ ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอันตัคคาหิกทิฏฐิ ว่า “โลกเที่ยง” เป็นอาการที่ ๑ อันตัคคาหิกทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้ เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “เวทนาเป็นโลกและเป็นของเที่ยง” ฯลฯ “สัญญา เป็นโลกและเป็นของเที่ยง” ฯลฯ “สังขารเป็นโลกและเป็นของเที่ยง” ฯลฯ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “วิญญาณ เป็นโลกและเป็นของเที่ยง” ทิฏฐินั้น ถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอันตัคคาหิกทิฏฐิ ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอันตัค- คาหิกทิฏฐิว่า “โลกเที่ยง” เป็นอาการที่ ๕ อันตัคคาหิกทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “โลกเที่ยง” มีความยึดมั่น ด้วยอาการ ๕ อย่างนี้ (๕) อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “โลกไม่เที่ยง” มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๕ อย่าง เป็น อย่างไร @เชิงอรรถ : @ ชีวะ ในที่นี้หมายถึงวิญญาณอมตะ หรือ อาตมัน (soul) (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑/๑/๑๒๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๒๑๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๒. ทิฏฐิกถา ๗. อันตัคคาหิกทิฏฐินิทเทส

คือ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “รูปเป็นโลกและเป็นของไม่เที่ยง” ทิฏฐินั้น ถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอันตัคคาหิกทิฏฐิ ฯลฯ นี้เป็นอันตัคคาหิก- ทิฏฐิว่า “โลกไม่เที่ยง” เป็นอาการที่ ๑ อันตัคคาหิกทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็น ทิฏฐิวิบัติ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “เวทนาเป็นโลกและเป็นของไม่เที่ยง” ฯลฯ “สัญญาเป็นโลกและเป็นของไม่เที่ยง” ฯลฯ “สังขารเป็นโลกและเป็นของไม่เที่ยง” ฯลฯ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “วิญญาณเป็นโลกและเป็นของไม่เที่ยง” ทิฏฐิ นั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอันตัคคาหิกทิฏฐิ อันตัคคาหิกทิฏฐิ เป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “โลกไม่เที่ยง” มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๕ อย่างนี้ (๕-๑๐) อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “โลกมีที่สุด” มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๕ อย่าง เป็น อย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ทำสีเขียวให้เป็นอารมณ์แผ่ไปสู่โอกาสนิดหน่อย เขามี ความเห็นอย่างนี้ว่า “โลกนี้มีที่สุดกลม” จึงมีความหมายรู้ว่าโลกมีที่สุด ทิฏฐิคือ ความยึดมั่นถือมั่นว่า “กสิณที่แผ่ไปเป็นวัตถุและเป็นโลก จิตที่เป็นเหตุให้กสิณแผ่ไป เป็นอัตตาและเป็นโลก” ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อันตัคคาหิกทิฏฐิ ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็น อย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “โลกมีที่สุด” เป็นอาการที่ ๑ อันตัคคาหิกทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ บุคคลบางคนในโลกนี้ทำสีเหลืองให้เป็นอารมณ์แผ่ไป ฯลฯ ทำสีแดงให้เป็น อารมณ์แผ่ไป ฯลฯ ทำสีขาวให้เป็นอารมณ์แผ่ไป ฯลฯ บุคคลบางคนในโลกนี้ทำแสงสว่างให้เป็นอารมณ์แผ่ไปสู่โอกาสนิดหน่อย เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “โลกนี้มีที่สุดกลม” จึงมีความหมายรู้ว่าโลกมีที่สุด ทิฏฐิ คือความยึดมั่นถือมั่นว่า “กสิณที่แผ่ไปเป็นวัตถุและเป็นโลก จิตที่เป็นเหตุให้กสิณ แผ่ไปเป็นอัตตาและเป็นโลก” ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อันตัคคาหิกทิฏฐิ ฯลฯ อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “โลกมีที่สุด” มีความยึดมั่นด้วย อาการ ๕ อย่างนี้ (๕-๑๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๒๑๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๒. ทิฏฐิกถา ๗. อันตัคคาหิกทิฏฐินิทเทส

อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “โลกไม่มีที่สุด” มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๕ อย่าง เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ทำสีเขียวแผ่ไปสู่โอกาสกว้าง เขามีความเห็นอย่าง นี้ว่า “โลกนี้ไม่มีที่สุด หาที่สุดมิได้” จึงมีความหมายรู้ว่าโลกไม่มีที่สุด ทิฏฐิคือความ ยึดมั่นถือมั่นว่า “กสิณที่แผ่ไปเป็นวัตถุและเป็นโลก จิตที่เป็นเหตุให้กสิณแผ่ไปเป็น อัตตาและเป็นโลก” ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอันตัคคาหิก- ทิฏฐิ ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิ และวัตถุนี้เป็นอันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “โลกไม่มีที่สุด” เป็นอาการที่ ๑ อันตัคคาหิก- ทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ บุคคลบางคนในโลกนี้ทำสีเหลือง ฯลฯ สีแดง ฯลฯ สีขาว ฯลฯ บุคคล บางคนในโลกนี้ทำแสงสว่างแผ่ไปสู่โอกาสอันกว้าง เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “โลก นี้ไม่มีที่สุด หาที่สุดมิได้” จึงมีความหมายรู้ว่าโลกไม่มีที่สุด ทิฏฐิคือความยึดมั่น ถือมั่นว่า “กสิณที่แผ่ไปเป็นวัตถุและเป็นโลก จิตที่เป็นเหตุให้กสิณแผ่ไปเป็นอัตตา และเป็นโลก” ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอันตัคคาหิกทิฏฐิ ฯลฯ อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “โลกไม่มีที่สุด” มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๕ อย่างนี้ (๕-๒๐) อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน” มีความยึดมั่นด้วย อาการ ๕ อย่าง เป็นอย่างไร คือ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “รูปเป็นชีวะและเป็นสรีระ ชีวะอันใด สรีระ ก็อันนั้น สรีระอันใด ชีวะก็อันนั้น” ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อันตัคคาหิกทิฏฐิ ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็น อย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน” เป็นอาการที่ ๑ อันตัคคาหิกทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ เป็นทิฏฐิ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “เวทนาเป็นชีวะและเป็นสรีระ ...” ฯลฯ “สัญญา เป็นชีวะและเป็นสรีระ ...” ฯลฯ “สังขารเป็นชีวะและเป็นสรีระ ...” ฯลฯ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “วิญญาณเป็นชีวะและเป็นสรีระ ชีวะอันใด สรีระก็อันนั้น สรีระอันใด ชีวะก็อันนั้น” ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอันตัคคาหิกทิฏฐิ ฯลฯ อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน” มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๕ อย่างนี้ (๕-๒๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๒๑๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๒. ทิฏฐิกถา ๗. อันตัคคาหิกทิฏฐินิทเทส

อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน” มีความยึดมั่นด้วย อาการ ๕ อย่าง เป็นอย่างไร คือ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “รูปเป็นสรีระ ไม่ใช่ชีวะ รูปนั้นเป็นสรีระ ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน” ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อันตัคคาหิกทิฏฐิ ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็น อย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน” เป็นอาการที่ ๑ อันตัคคาหิกทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “เวทนาเป็นสรีระ ไม่ใช่ชีวะ ...” ฯลฯ “สัญญา เป็นสรีระ ไม่ใช่ชีวะ ...” ฯลฯ “สังขารเป็นสรีระ ไม่ใช่ชีวะ ...” ฯลฯ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “วิญญาณเป็นสรีระ ไม่ใช่ชีวะ วิญญาณนั้นเป็น สรีระ ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน” ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอันตัคคาหิกทิฏฐิ ฯลฯ อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่าง กัน” มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๕ อย่างนี้ (๕-๓๐) อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มี” มีความยึดมั่น ด้วยอาการ ๕ อย่าง เป็นอย่างไร คือ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “รูปต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แน่นอน หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกบ้าง ดำรงอยู่บ้าง ถือกำเนิดบ้าง บังเกิดบ้าง” ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอันตัคคาหิกทิฏฐิ ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็น อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มี” เป็นอาการที่ ๑ อันตัคคาหิกทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “เวทนาต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แน่นอน ...” ฯลฯ “สัญญาต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แน่นอน ...” ฯลฯ “สังขารต้องตายเป็น ธรรมดาในโลกนี้แน่นอน ...” ฯลฯ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “วิญญาณต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แน่นอน หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกบ้าง ดำรงอยู่บ้าง ถือกำเนิดบ้าง บังเกิดบ้าง” ทิฏฐิ นั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอันตัคคาหิกทิฏฐิ ฯลฯ อันตัค- คาหิกทิฏฐิว่า “หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มี” มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๕ อย่างนี้ (๕-๓๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๒๑๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๒. ทิฏฐิกถา ๗. อันตัคคาหิกทิฏฐินิทเทส

อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีกก็มี” มีความยึดมั่น ด้วยอาการ ๕ อย่าง เป็นอย่างไร คือ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “รูปต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แน่นอน หลังจากตายแล้วตถาคตย่อมขาดสูญ พินาศไป ไม่เกิดอีก” ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุด เช่นนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอันตัคคาหิกทิฏฐิ ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีกก็มี” เป็นอาการที่ ๑ อันตัคคาหิกทิฏฐิเป็น มิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “เวทนาต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แน่นอน ...” ฯลฯ “สัญญาต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แน่นอน ...” ฯลฯ “สังขารต้องตายเป็น ธรรมดาในโลกนี้แน่นอน ...” ฯลฯ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “วิญญาณต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แน่นอน หลังจากตายแล้วตถาคตย่อมขาดสูญ พินาศไป ไม่เกิดอีก” ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุด เช่นนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอันตัคคาหิกทิฏฐิ ฯลฯ อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “หลังจาก ตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก” มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๕ อย่างนี้ (๕-๔๐) อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มี ไม่เกิดอีกก็มี” มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๕ อย่าง เป็นอย่างไร คือ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “รูปต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แน่นอน หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มี ไม่เกิดอีกก็มี” ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอันตัคคาหิกทิฏฐิ ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็น อย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “หลังจาก ตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มี ไม่เกิดอีกก็มี” เป็นอาการที่ ๑ อันตัคคาหิกทิฏฐิเป็น มิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “เวทนาต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แน่นอน ...” ฯลฯ “สัญญาต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แน่นอน ...” ฯลฯ “สังขารต้องตายเป็น ธรรมดาในโลกนี้แน่นอน ...” ฯลฯ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “วิญญาณต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แน่นอน หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มี ไม่เกิดอีกก็มี” ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอันตัคคาหิกทิฏฐิ ฯลฯ อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “หลังจากตาย แล้วตถาคตเกิดอีกก็มี ไม่เกิดอีกก็มี” มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๕ อย่างนี้ (๕-๔๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๒๑๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๒. ทิฏฐิกถา ๘. ปุพพันตานุทิฏฐินิทเทส

อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มิใช่ ไม่เกิดอีกก็ มิใช่” มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๕ อย่าง เป็นอย่างไร คือ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “รูปต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แน่นอน หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มิใช่ ไม่เกิดอีกก็มิใช่” ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอันตัคคาหิกทิฏฐิ ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็น อย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “หลังจาก ตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มิใช่ ไม่เกิดอีกก็มิใช่” เป็นอาการที่ ๑ อันตัคคาหิกทิฏฐิ เป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “เวทนาต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แน่นอน ...” ฯลฯ “สัญญาต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แน่นอน ...” ฯลฯ “สังขารต้องตายเป็น ธรรมดาในโลกนี้แน่นอน ...” ฯลฯ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “วิญญาณต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แน่นอน หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มิใช่ ไม่เกิดอีกก็มิใช่” ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอันตัคคาหิกทิฏฐิ ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็น อย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “หลังจาก ตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มิใช่ ไม่เกิดอีกก็มิใช่” เป็นอาการที่ ๕ อันตัคคาหิกทิฏฐิ เป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มิใช่ ไม่เกิดอีกก็มิใช่” มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๕ อย่างนี้ อันตัคคาหิกทิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๕๐ อย่างนี้ (๕๐)
อันตัคคาหิกทิฏฐินิทเทสที่ ๗ จบ
๘. ปุพพันตานุทิฏฐินิทเทส
แสดงปุพพันตานุทิฏฐิ
[๑๔๑] ปุพพันตานุทิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๑๘ อย่าง อะไรบ้าง คือ สัสสตวาทะ (ลัทธิที่ถือว่าอัตตาและโลกเที่ยง) มี ๔ ลัทธิ เอกัจจสัสสติกวาทะ (ลัทธิที่ถือว่าบางอย่างเที่ยง) มี ๔ ลัทธิ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๒๒๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๒. ทิฏฐิกถา ๙. อปรันตานุทิฏฐินิทเทส

อันตานันติกวาทะ (ลัทธิที่ถือว่าโลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด) มี ๔ ลัทธิ อมราวิกเขปิกวาทะ (ลัทธิที่พูดหลบเลี่ยงไม่แน่นอนตายตัว) มี ๔ ลัทธิ อธิจจสมุปปันนิกวาทะ (ลัทธิที่ถือว่าอัตตาและโลกเกิดขึ้นเองไม่มีเหตุ- ปัจจัย) มี ๒ ลัทธิ ปุพพันตานุทิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๑๘ อย่างนี้
ปุพพันตานุทิฏฐินิทเทสที่ ๘ จบ
๙. อปรันตานุทิฏฐินิทเทส
แสดงอปรันตานุทิฏฐิ
[๑๔๒] อปรันตานุทิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๔๔ อย่าง อะไรบ้าง คือ สัญญีวาทะ (ลัทธิที่ถือว่าหลังจากตายแล้วอัตตามีสัญญา) มี ๑๖ ลัทธิ อสัญญีวาทะ (ลัทธิที่ถือว่าหลังจากตายแล้วอัตตาไม่มีสัญญา) มี ๘ ลัทธิ เนวสัญญีนาสัญญีวาทะ (ลัทธิที่ถือว่าหลังจากตายแล้วอัตตามีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่) มี ๘ ลัทธิ อุจเฉทวาทะ (ลัทธิที่ถือว่าหลังจากตายแล้วอัตตาขาดสูญ) มี ๗ ลัทธิ ทิฏฐธัมมนิพพานวาทะ (ลัทธิที่ถือว่ามีสภาวะบางอย่างเป็นนิพพานใน ปัจจุบัน) มี ๕ ลัทธิ อปรันตานุทิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๔๔ อย่างนี้
อปรันตานุทิฏฐินิทเทสที่ ๙ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๒๒๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๒. ทิฏฐิกถา ๑๐-๑๒. สัญโญชนิกาทิทิฏฐินิทเทส

๑๐-๑๒. สัญโญชนิกาทิทิฏฐินิทเทส
แสดงสัญโญชนิกาทิทิฏฐิ
[๑๔๓] สัญโญชนิกาทิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๑๘ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. การตกอยู่ในทิฏฐิ ๒. ความรกชัฏคือทิฏฐิ ฯลฯ๑- ๑๗. ความยึดมั่นคือทิฏฐิ ๑๘. ความถือมั่นคือทิฏฐิ สัญโญชนิกาทิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๑๘ อย่างนี้ [๑๔๔] มานวินิพันธาทิฏฐิว่า “เป็นเรา” มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๑๘ อย่าง เป็นอย่างไร คือ ความยึดมั่นถือมั่นว่า “จักขุเป็นเรา” ชื่อว่ามานวินิพันธาทิฏฐิว่า “เป็นเรา” ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและ วัตถุนี้เป็นมานวินิพันธาทิฏฐิว่า “เป็นเรา” เป็นอาการที่ ๑ มานวินิพันธาทิฏฐิเป็น มิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ ความยึดมั่นถือมั่นว่า “โสตะเป็นเรา” ชื่อว่ามานวินิพันธาทิฏฐิว่า “เป็นเรา” ฯลฯ ความยึดมั่นถือมั่นว่า “ฆานะเป็นเรา” ฯลฯ “ชิวหาเป็นเรา” ฯลฯ “กาย เป็นเรา” ฯลฯ “มโนเป็นเรา” ฯลฯ “รูปเป็นเรา” ฯลฯ “ธรรมารมณ์เป็นเรา” ฯลฯ “จักขุวิญญาณเป็นเรา” ฯลฯ ความยึดมั่นถือมั่นว่า “มโนวิญญาณเป็นเรา” ชื่อว่ามานวินิพันธาทิฏฐิว่า “เป็นเรา” ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นมานวินิพันธาทิฏฐิว่า “เป็นเรา” เป็นอาการที่ ๑๘ มานวินิพันธา- ทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ มานวินิพันธาทิฏฐิว่า “เป็นเรา” มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๑๘ อย่างนี้ [๑๔๕] มานวินิพันธาทิฏฐิว่า “ของเรา” มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๑๘ อย่าง เป็นอย่างไร @เชิงอรรถ : @ ดูความเต็มข้อ ๑๒๕ หน้า ๑๙๓ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๒๒๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๒. ทิฏฐิกถา ๑๓. อัตตวาทปฏิสังยุตตทิฏฐินิทเทส

คือ ความยึดมั่นถือมั่นว่า “จักขุของเรา” ชื่อว่ามานวินิพันธาทิฏฐิว่า “ของเรา” ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและ วัตถุนี้เป็นมานวินิพันธาทิฏฐิว่า “ของเรา” เป็นอาการที่ ๑ มานวินิพันธาทิฏฐิเป็น มิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ ความยึดมั่นถือมั่นว่า “โสตะของเรา” ชื่อว่ามานวินิพันธาทิฏฐิว่า “ของเรา” ฯลฯ ความยึดมั่นถือมั่นว่า “ฆานะของเรา” ฯลฯ “ชิวหาของเรา” ฯลฯ “มโน ของเรา” ฯลฯ “ธรรมารมณ์ของเรา” ฯลฯ “จักขุวิญญาณของเรา” ฯลฯ ความยึดมั่นถือมั่นว่า “มโนวิญญาณของเรา” ชื่อว่ามานวินิพันธาทิฏฐิว่า “ของเรา” ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ฯลฯ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็น อย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นมานวินิพันธาทิฏฐิว่า “ของเรา” เป็นอาการที่ ๑๘ มานวินิพันธาทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ มาน- วินิพันธาทิฏฐิว่า “ของเรา” มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๑๘ อย่างนี้
สัญโญชนิกาทิทิฏฐินิทเทสที่ ๑๐-๑๒ จบ
๑๓. อัตตวาทปฏิสังยุตตทิฏฐินิทเทส
แสดงอัตตวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิ
[๑๔๖] อัตตวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๒๐ อย่าง เป็นอย่างไร คือ ปุถุชนในโลกนี้ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของพระ อริยะ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรม ของสัตบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็น อัตตาบ้าง พิจารณาเห็นอัตตามีรูปบ้าง พิจารณาเห็นรูปในอัตตาบ้าง พิจารณาเห็น อัตตาในรูปบ้าง ฯลฯ พิจารณาเห็นเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ พิจารณา เห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตาบ้าง พิจารณาเห็นอัตตามีวิญญาณบ้าง พิจารณา เห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง พิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณบ้าง ปุถุชนพิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาเห็นปฐวีกสิณ ฯลฯ พิจารณาเห็นโอทาต- กสิณโดยความเป็นอัตตา คือ พิจารณาเห็นโอทาตกสิณและอัตตาไม่เป็นสองว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๒๒๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๒. ทิฏฐิกถา ๑๔. โลกวาทปฏิสังยุตตทิฏฐินิทเทส

“โอทาตกสิณอันใด เราก็อันนั้น เราอันใด โอทาตกสิณก็อันนั้น เมื่อประทีปน้ำมัน กำลังลุกโพลงอยู่ บุคคลพิจารณาเห็นเปลวไฟและแสงสว่างไม่เป็นสอง ฯลฯ ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณาเห็นโอทาตกสิณโดยความเป็น อัตตา ฯลฯ นี้เป็นอัตตวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิมีรูปเป็นวัตถุ เป็นอาการที่ ๑ อัตตวาท- ปฏิสังยุตตทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ อัตตวาท- ปฏิสังยุตตทิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๒๐ อย่างนี้
อัตตวาทปฏิสังยุตตทิฏฐินิทเทสที่ ๑๓ จบ
๑๔. โลกวาทปฏิสังยุตตทิฏฐินิทเทส
แสดงโลกวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิ
[๑๔๗] โลกวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๘ อย่าง เป็น อย่างไร คือ ความยึดมั่นถือมั่นว่า “อัตตาและโลกเที่ยง” ชื่อว่าโลกวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิ ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุ นี้เป็นโลกวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิ เป็นอาการที่ ๑ โลกวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ ความยึดมั่นถือมั่นว่า “อัตตาและโลกไม่เที่ยง” ชื่อว่าโลกวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิ ฯลฯ ความยึดมั่นถือมั่นว่า “อัตตาและโลกเที่ยงก็มี ไม่เที่ยงก็มี” ฯลฯ “อัตตาและ โลกเที่ยงก็ไม่ใช่ ไม่เที่ยงก็ไม่ใช่” ฯลฯ “อัตตาและโลกมีที่สุดก็มี” ฯลฯ “อัตตาและ โลกไม่มีที่สุดก็มี” ฯลฯ “อัตตาและโลกมีที่สุดก็มีไม่มีที่สุดก็มี” ฯลฯ ความยึดมั่นถือมั่นว่า “อัตตาและโลกมีที่สุดก็ไม่ใช่ ไม่มีที่สุดก็ไม่ใช่” ชื่อว่า โลกวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิ ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุ ก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นโลกวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิ เป็นอาการที่ ๘ โลกวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ โลกวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๘ อย่างนี้
โลกวาทปฏิสังยุตตทิฏฐินิทเทสที่ ๑๔ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๒๒๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๒. ทิฏฐิกถา ๑๕-๑๖. ภววิภวทิฏฐินิทเทส

๑๕-๑๖. ภววิภวทิฏฐินิทเทส
แสดงภววิภวทิฏฐิ
[๑๔๘] ความยึดมั่นด้วยการติดอยู่ เป็นภวทิฏฐิ๑- ความยึดมั่นด้วยการแล่น เลยไป เป็นวิภวทิฏฐิ๒- อัสสาททิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๓๕ อย่าง เป็นภวทิฏฐิเท่าไร เป็น วิภวทิฏฐิเท่าไร อัตตานุทิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๒๐ อย่าง เป็นภวทิฏฐิเท่าไร เป็น วิภวทิฏฐิเท่าไร ฯลฯ โลกวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๘ อย่าง เป็นภวทิฏฐิเท่าไร เป็นวิภวทิฏฐิเท่าไร คือ อัสสาททิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๓๕ อย่าง เป็นภวทิฏฐิก็มี เป็นวิภวทิฏฐิก็มี อัตตานุทิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๒๐ อย่าง เป็นภวทิฏฐิ ๑๕ เป็น วิภวทิฏฐิ ๕ มิจฉาทิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๑๐ อย่าง เป็นวิภวทิฏฐิทั้งหมด สักกายทิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๒๐ อย่าง เป็นภวทิฏฐิ ๑๕ เป็น วิภวทิฏฐิ ๕ สัสสตทิฏฐิที่มีสักกายะเป็นวัตถุมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๑๕ อย่าง เป็น ภวทิฏฐิทั้งหมด อุจเฉททิฏฐิที่มีสักกายะเป็นวัตถุมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๕ อย่าง เป็น วิภวทิฏฐิทั้งหมด อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “โลกเที่ยง” มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๕ อย่าง เป็น ภวทิฏฐิทั้งหมด @เชิงอรรถ : @ ภวทิฏฐิ หมายถึงสัสสตทิฏฐิ (ขุ.ป.อ. ๒/๑๔๘/๗๐) @ วิภวทิฏฐิ หมายถึงอุจเฉททิฏฐิ (ขุ.ป.อ. ๒/๑๔๘/๗๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๒๒๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๒. ทิฏฐิกถา ๑๕-๑๖. ภววิภวทิฏฐินิทเทส

อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “โลกไม่เที่ยง” มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๕ อย่าง เป็น วิภวทิฏฐิทั้งหมด อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “โลกมีที่สุด” มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๕ อย่าง เป็น ภวทิฏฐิก็มี เป็นวิภวทิฏฐิก็มี อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “โลกไม่มีที่สุด” มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๕ อย่าง เป็น ภวทิฏฐิก็มี เป็นวิภวทิฏฐิก็มี อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน” มีความยึดมั่นด้วย อาการ ๕ อย่าง เป็นวิภวทิฏฐิทั้งหมด อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน” มีความยึดมั่น ด้วยอาการ ๕ อย่าง เป็นภวทิฏฐิทั้งหมด อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก” มีความยึดมั่น ด้วยอาการ ๕ อย่าง เป็นภวทิฏฐิทั้งหมด อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก” มีความยึดมั่น ด้วยอาการ ๕ อย่าง เป็นวิภวทิฏฐิทั้งหมด อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มี ไม่เกิดอีกก็มี” มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๕ อย่าง เป็นภวทิฏฐิก็มี เป็นวิภวทิฏฐิก็มี อปรันตานุทิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๔๔ อย่าง เป็นภวทิฏฐิก็มี เป็น วิภวทิฏฐิก็มี สัญโญชนิกาทิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๑๘ อย่าง เป็นภวทิฏฐิก็มี เป็น วิภวทิฏฐิก็มี มานวินิพันธาทิฏฐิว่า “เป็นเรา” มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๑๘ อย่าง เป็น วิภวทิฏฐิทั้งหมด มานวินิพันธาทิฏฐิว่า “ของเรา” มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๑๘ อย่าง เป็น ภวทิฏฐิทั้งหมด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๒๒๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๒. ทิฏฐิกถา ๑๕-๑๖. ภววิภวทิฏฐินิทเทส

อัตตวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๒๐ อย่าง เป็นภว- ทิฏฐิ ๑๕ เป็นวิภวทิฏฐิ ๕ โลกวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๘ อย่าง เป็นภวทิฏฐิก็มี เป็นวิภวทิฏฐิก็มี ทิฏฐิทั้งหมด เป็นอัตตานุทิฏฐิ เป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็นสักกายทิฏฐิ เป็น อันตัคคาหิกทิฏฐิ เป็นสัญโญชนิกาทิฏฐิ เป็นอัตตวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิ ชนเหล่าใดกล่าวโดยการคาดคะเน ยึดถือทิฏฐิทั้ง ๒ คือ ภวทิฏฐิและวิภวทิฏฐิ ญาณในนิโรธย่อมไม่มีแก่ชนเหล่านั้น สัตว์โลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มีสัญญาวิปริตว่าเป็นทุกข์ในนิโรธที่เป็นสุขใด ในนิโรธนั้นไม่มีญาณ เพราะมีสัญญาวิปริต ว่าเป็นทุกข์ ดังนี้ [๑๔๙] ภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์ผู้ถูกทิฏฐิ ๒ อย่างนี้กลุ้มรุมแล้ว พวกหนึ่งติดอยู่ พวกหนึ่งแล่นเลยไป ส่วนผู้มีจักษุย่อมเห็น เทวดาและมนุษย์พวกหนึ่งติดอยู่ เป็นอย่างไร คือ เทวดาและมนุษย์ผู้ชอบภพ ยินดีในภพ บันเทิงอยู่ในภพ จิตของเทวดาและ มนุษย์เหล่านั้นย่อมแล่นเลยไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในธรรมที่เราแสดง เพื่อความดับภพ ภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์พวกหนึ่งติดอยู่อย่างนี้ เทวดาและมนุษย์พวกหนึ่งแล่นเลยไป เป็นอย่างไร คือ เทวดาและมนุษย์พวกหนึ่ง อึดอัด ระอา รังเกียจภพ ยินดีปรารถนาวิภพว่า “ชาวเราเอ๋ย ได้ยินว่า เมื่อใด อัตตาหลังจากตายแล้วย่อมขาดสูญ พินาศไป เมื่อนั้น อัตตาหลังจากตายแล้วย่อมไม่เกิดอีก” เพราะฉะนั้น ความไม่เกิดอีกนี้ละเอียด ประณีตตามที่มี ภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์พวกหนึ่งแล่นเลยไปอย่างนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๒๒๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๒. ทิฏฐิกถา ๑๕-๑๖. ภววิภวทิฏฐินิทเทส

ส่วนผู้มีจักษุย่อมเห็น เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเห็นภูตะ๑- โดยความเป็นภูตะ ครั้นแล้วย่อมปฏิบัติ เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับภูตะ ภิกษุทั้งหลาย ผู้มีจักษุย่อมเห็น อย่างนี้ ถ้าภิกษุใดเห็นภูตะโดยความเป็นภูตะ และก้าวล่วงภูตะได้แล้ว ย่อมน้อมไปในธรรมตามความเป็นจริง เพราะความหมดสิ้นแห่งภวตัณหา ภิกษุนั้นกำหนดรู้ภูตะได้แล้ว ปราศจากตัณหาในภพน้อยภพใหญ่ ย่อมไม่มาสู่ภพใหม่ เพราะไม่มีภูตะ ดังนี้ [๑๕๐] บุคคล ๓ จำพวกมีทิฏฐิวิบัติ บุคคล ๓ จำพวกมีทิฏฐิสมบัติ บุคคลผู้มีทิฏฐิวิบัติ ๓ จำพวก ไหนบ้าง คือ ๑. เดียรถีย์ ๒. สาวกของเดียรถีย์ ๓. บุคคลผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ บุคคล ๓ จำพวกนี้มีทิฏฐิวิบัติ บุคคลผู้มีทิฏฐิสมบัติ ๓ จำพวก ไหนบ้าง คือ ๑. พระตถาคต ๒. สาวกของพระตถาคต ๓. บุคคลผู้เป็นสัมมาทิฏฐิ บุคคลผู้มีทิฏฐิสมบัติ ๓ จำพวกนี้ @เชิงอรรถ : @ ภูตะ ในที่นี้หมายถึงทุกข์ (ขุ.ป.อ. ๒/๑๔๙/๗๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๒๒๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๒. ทิฏฐิกถา ๑๕-๑๖. ภววิภวทิฏฐินิทเทส

นรชนใดเป็นคนมักโกรธ ผูกโกรธ มีความลบหลู่อันชั่วร้าย มีทิฏฐิวิบัติ เจ้าเล่ห์ พึงรู้จักนรชนนั้นว่า เป็นคนเลว นรชนใดไม่เป็นคนมักโกรธ ไม่ผูกโกรธ ไม่ลบหลู่คุณท่าน ถึงความเป็นผู้บริสุทธิ์ มีทิฏฐิสมบัติ มีปัญญา พึงรู้จักนรชนนั้นว่า เป็นผู้ประเสริฐ ดังนี้ ทิฏฐิวิบัติ ๓ ประการ ทิฏฐิสมบัติ ๓ ประการ ทิฏฐิวิบัติ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ทิฏฐิวิบัติว่า “นั่นของเรา” ๒. ทิฏฐิวิบัติว่า “เราเป็นนั่น” ๓. ทิฏฐิวิบัติว่า “นั่นเป็นอัตตาของเรา” ทิฏฐิวิบัติ ๓ ประการนี้ ทิฏฐิสมบัติ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ทิฏฐิสมบัติว่า “นั่นไม่ใช่ของเรา” ๒. ทิฏฐิสมบัติว่า “เราไม่เป็นนั่น” ๓. ทิฏฐิสมบัติว่า “นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา” ทิฏฐิสมบัติ ๓ ประการนี้ การถือว่า “นั่นของเรา” เป็นทิฏฐิอะไร เป็นทิฏฐิเท่าไร ทิฏฐิเหล่านั้นตามถือ ส่วนสุดอันไหน การถือว่า “เราเป็นนั่น” เป็นทิฏฐิอะไร เป็นทิฏฐิเท่าไร ทิฏฐิเหล่านั้นตามถือ ส่วนสุดอันไหน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๒๒๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๒. ทิฏฐิกถา ๑๕-๑๖. ภววิภวทิฏฐินิทเทส

การถือว่า “นั่นเป็นอัตตาของเรา” เป็นทิฏฐิอะไร เป็นทิฏฐิเท่าไร ทิฏฐิเหล่านั้น ตามถือส่วนสุดอันไหน การถือว่า “นั่นของเรา” เป็นปุพพันตานุทิฏฐิ เป็นทิฏฐิ ๑๘ ทิฏฐิเหล่านั้นตามถือ ขันธ์ส่วนอดีต การถือว่า “เราเป็นนั่น” เป็นอปรันตานุทิฏฐิ เป็นทิฏฐิ ๔๔ ทิฏฐิเหล่านั้น ตามถือขันธ์ส่วนอนาคต การถือว่า “นั่นเป็นอัตตาของเรา” เป็นอัตตานุทิฏฐิมีวัตถุ ๒๐ เป็นสักกาย- ทิฏฐิมีวัตถุ ๒๐ ทิฏฐิ ๖๒ มีสักกายทิฏฐิเป็นประธาน ทิฏฐิเหล่านั้นตามถือขันธ์ ส่วนอดีตและส่วนอนาคต [๑๕๑] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งเป็นผู้มีความเชื่อในเรา บุคคลเหล่านั้นทั้งหมดเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิเหล่านั้น ๕ จำพวกสำเร็จในโลกนี้ ๕ จำพวกละโลกนี้แล้วจึงสำเร็จ บุคคล ๕ จำพวกไหนสำเร็จในโลกนี้ คือ ๑. สัตตักขัตตุปรมโสดาบัน๑- ๒. โกลังโกลโสดาบัน๒- ๓. เอกพีชีโสดาบัน๓- ๔. พระสกทาคามี๔- ๕. พระอรหันต์ในปัจจุบัน บุคคล ๕ จำพวกนี้สำเร็จในโลกนี้ @เชิงอรรถ : @ สัตตักขัตตุปรมโสดาบัน หมายถึงพระโสดาบันผู้ละสังโยชน์เบื้องต่ำ ๓ ประการได้แล้ว เป็นผู้ไม่ตกไปใน @อบาย ๔ มีความแน่นอนที่จะตรัสรู้มรรค ๓ เบื้องสูง (องฺ.ติก.อ. ๒/๘๘/๒๔๒) เมื่อจะเกิดในภพใหม่เป็นเทวดา @หรือมนุษย์ก็เกิดได้ไม่เกิน ๗ ครั้ง (อภิ.ปุ.(แปล) ๓๖/๓๑/๑๕๔, อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๑/๕๓) @ โกลังโกลโสดาบัน หมายถึงพระโสดาบันผู้เมื่อจะเกิดในภพใหม่เป็นเทวดาหรือมนุษย์ก็เกิดได้ ๒ หรือ @๓ ภพ และถ้าเกิดเป็นมนุษย์ก็ไม่เกิดในตระกูลต่ำ คือเกิดในตระกูลที่มีโภคสมบัติมากเท่านั้น @(อภิ.ปุ.(แปล) ๓๖/๓๒/๑๕๔, อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๑/๕๓) @ เอกพีชีโสดาบัน หมายถึงผู้มีพืชคืออัตภาพเดียว คือเกิดครั้งเดียวก็จะบรรลุพระอรหันต์ @(องฺ.ติก.อ. ๒/๘๘/๒๔๒, องฺ.ติก.ฏีกา ๒/๘๘/๒๓๗) @ พระสกทาคามี หมายถึงผู้กลับมาสู่กามภพอีกครั้งเดียวด้วยสามารถปฏิสนธิ (ขุ.ป.อ. ๒/๑๕๑/๗๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๒๓๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๒. ทิฏฐิกถา ๑๕-๑๖. ภววิภวทิฏฐินิทเทส

บุคคล ๕ จำพวกไหนละโลกนี้แล้วจึงสำเร็จ คือ ๑. อันตราปรินิพพายีอนาคามีบุคคล๑- ๒. อุปหัจจปรินิพพายีอนาคามีบุคคล๒- ๓. อสังขารปรินิพพายีอนาคามีบุคคล๓- ๔. สสังขารปรินิพพายีอนาคามีบุคคล๔- ๕. อุทธังโสโตอกนิฏฐคามีอนาคามีบุคคล๕- บุคคล ๕ จำพวกนี้ละโลกนี้แล้วจึงสำเร็จ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งเป็นผู้มีความเชื่อในเรา บุคคลเหล่านั้น ทั้งหมดเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิเหล่านั้น ๕ จำพวกนี้ สำเร็จในโลกนี้ ๕ จำพวกนี้ละโลกนี้แล้วจึงสำเร็จ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง เป็นผู้มีความเลื่อมใสไม่คลอนแคลน ในเรา บุคคลเหล่านั้นทั้งหมดเป็นพระโสดาบัน พระโสดาบันเหล่านั้น ๕ จำพวก สำเร็จในโลกนี้ ๕ จำพวกละโลกนี้แล้วจึงสำเร็จ @เชิงอรรถ : @ อันตราปรินิพพายีอนาคามีบุคคล หมายถึงพระอนาคามีผู้ปรินิพพานในระหว่าง คือเกิดในสุทธาวาส @ภพใดภพหนึ่งแล้ว อายุยังไม่ถึงกึ่งก็ปรินิพพาน มี ๓ จำพวก คือ พวกที่ ๑ เกิดในชั้นสุทธาวาสอวิหาซึ่ง @มีอายุ ๑,๐๐๐ กัป แต่ก็บรรลุพระอรหัตตผลในวันที่เกิด ถ้าไม่บรรลุในวันที่เกิดก็บรรลุภายใน ๑๐๐ กัป @พวกที่ ๒ เมื่อไม่สามารถบรรลุพระอรหัตตผลในวันที่เกิดก็บรรลุไม่เกินภายใน ๒๐๐ กัป พวกที่ ๓ บรรลุ @พระอรหัตตผลไม่เกินภายใน ๔๐๐ กัป (องฺ.ติก.อ. ๒/๘๘/๒๔๓) @ อุปหัจจปรินิพพายีอนาคามีบุคคล หมายถึงพระอนาคามีผู้เกิดในสุทธาวาสภพใดภพหนึ่งแล้วจวนถึง @ปรินิพพาน คืออายุพ้นกึ่งแล้วจวนถึงสิ้นอายุจึงปรินิพพาน (องฺ.ติก.อ. ๒/๘๘/๒๔๓) @ อสังขารปรินิพพายีอนาคามีบุคคล หมายถึงพระอนาคามีผู้ปรินิพพานโดยไม่ต้องใช้ความเพียรมาก @(องฺ.ติก.อ. ๒/๘๘/๒๔๓) @ สสังขารปรินิพพายีอนาคามีบุคคล หมายถึงพระอนาคามีผู้เกิดในสุทธาวาสภพใดภพหนึ่งแล้ว @ปรินิพพานโดยต้องใช้ความเพียรมาก (องฺ.ติก.อ. ๒/๘๘/๒๔๓) @ อุทธังโสโตอกนิฏฐอนาคามีบุคคล หมายถึงพระอนาคามีผู้มีกระแสในเบื้องบนไปสู่อกนิฏฐภพ คือเกิดใน @สุทธาวาสภพใดภพหนึ่งแล้วก็จะเกิดเลื่อนต่อไปจนถึงอกนิฏฐภพแล้วจึงปรินิพพานในภพนั้น @(องฺ.ติก.อ. ๒/๘๘/๒๔๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๒๓๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๒. ทิฏฐิกถา ๑๕-๑๖. ภววิภวทิฏฐินิทเทส

บุคคล ๕ จำพวกไหนสำเร็จในโลกนี้ คือ ๑. สัตตักขัตตุปรมโสดาบัน ๒. โกลังโกลโสดาบัน ๓. เอกพีชีโสดาบัน ๔. พระสกทาคามี ๕. พระอรหันต์ในปัจจุบัน บุคคล ๕ จำพวกนี้สำเร็จในโลกนี้ บุคคล ๕ จำพวกไหนละโลกนี้แล้วจึงสำเร็จ คือ ๑. อันตราปรินิพพายีอนาคามีบุคคล ๒. อุปหัจจปรินิพพายีอนาคามีบุคคล ๓. อสังขารปรินิพพายีอนาคามีบุคคล ๔. สสังขารปรินิพพายีอนาคามีบุคคล ๕. อุทธังโสโตอกนิฏฐคามีอนาคามีบุคคล บุคคล ๕ จำพวกนี้ละโลกนี้แล้วจึงสำเร็จ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งเป็นผู้มีความเลื่อมใสไม่คลอนแคลน ในเรา บุคคลเหล่านั้นทั้งหมดเป็นพระโสดาบัน พระโสดาบันเหล่านั้น ๕ จำพวกนี้ สำเร็จในโลกนี้ ๕ จำพวกนี้ละโลกนี้แล้วจึงสำเร็จ
ภววิภวทิฏฐินิทเทสที่ ๑๕-๑๖ จบ
ทิฏฐิกถา จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๒๓๒}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๑ หน้าที่ ๑๘๘-๒๓๒. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=31&A=5483&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=31&siri=61              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5], [6], [7], [8], [9], [10], [11], [12], [13], [14], [15], [16], [17].              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=31&A=3332&Z=4069&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=294              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=31&item=294&items=68              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=31&item=294&items=68              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu31

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]