ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๒. ทิฏฐิกถา ๑๕-๑๖. ภววิภวทิฏฐินิทเทส

นรชนใดเป็นคนมักโกรธ ผูกโกรธ มีความลบหลู่อันชั่วร้าย มีทิฏฐิวิบัติ เจ้าเล่ห์ พึงรู้จักนรชนนั้นว่า เป็นคนเลว นรชนใดไม่เป็นคนมักโกรธ ไม่ผูกโกรธ ไม่ลบหลู่คุณท่าน ถึงความเป็นผู้บริสุทธิ์ มีทิฏฐิสมบัติ มีปัญญา พึงรู้จักนรชนนั้นว่า เป็นผู้ประเสริฐ ดังนี้ ทิฏฐิวิบัติ ๓ ประการ ทิฏฐิสมบัติ ๓ ประการ ทิฏฐิวิบัติ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ทิฏฐิวิบัติว่า “นั่นของเรา” ๒. ทิฏฐิวิบัติว่า “เราเป็นนั่น” ๓. ทิฏฐิวิบัติว่า “นั่นเป็นอัตตาของเรา” ทิฏฐิวิบัติ ๓ ประการนี้ ทิฏฐิสมบัติ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ทิฏฐิสมบัติว่า “นั่นไม่ใช่ของเรา” ๒. ทิฏฐิสมบัติว่า “เราไม่เป็นนั่น” ๓. ทิฏฐิสมบัติว่า “นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา” ทิฏฐิสมบัติ ๓ ประการนี้ การถือว่า “นั่นของเรา” เป็นทิฏฐิอะไร เป็นทิฏฐิเท่าไร ทิฏฐิเหล่านั้นตามถือ ส่วนสุดอันไหน การถือว่า “เราเป็นนั่น” เป็นทิฏฐิอะไร เป็นทิฏฐิเท่าไร ทิฏฐิเหล่านั้นตามถือ ส่วนสุดอันไหน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๒๒๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๒. ทิฏฐิกถา ๑๕-๑๖. ภววิภวทิฏฐินิทเทส

การถือว่า “นั่นเป็นอัตตาของเรา” เป็นทิฏฐิอะไร เป็นทิฏฐิเท่าไร ทิฏฐิเหล่านั้น ตามถือส่วนสุดอันไหน การถือว่า “นั่นของเรา” เป็นปุพพันตานุทิฏฐิ เป็นทิฏฐิ ๑๘ ทิฏฐิเหล่านั้นตามถือ ขันธ์ส่วนอดีต การถือว่า “เราเป็นนั่น” เป็นอปรันตานุทิฏฐิ เป็นทิฏฐิ ๔๔ ทิฏฐิเหล่านั้น ตามถือขันธ์ส่วนอนาคต การถือว่า “นั่นเป็นอัตตาของเรา” เป็นอัตตานุทิฏฐิมีวัตถุ ๒๐ เป็นสักกาย- ทิฏฐิมีวัตถุ ๒๐ ทิฏฐิ ๖๒ มีสักกายทิฏฐิเป็นประธาน ทิฏฐิเหล่านั้นตามถือขันธ์ ส่วนอดีตและส่วนอนาคต [๑๕๑] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งเป็นผู้มีความเชื่อในเรา บุคคลเหล่านั้นทั้งหมดเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิเหล่านั้น ๕ จำพวกสำเร็จในโลกนี้ ๕ จำพวกละโลกนี้แล้วจึงสำเร็จ บุคคล ๕ จำพวกไหนสำเร็จในโลกนี้ คือ ๑. สัตตักขัตตุปรมโสดาบัน๑- ๒. โกลังโกลโสดาบัน๒- ๓. เอกพีชีโสดาบัน๓- ๔. พระสกทาคามี๔- ๕. พระอรหันต์ในปัจจุบัน บุคคล ๕ จำพวกนี้สำเร็จในโลกนี้ @เชิงอรรถ : @ สัตตักขัตตุปรมโสดาบัน หมายถึงพระโสดาบันผู้ละสังโยชน์เบื้องต่ำ ๓ ประการได้แล้ว เป็นผู้ไม่ตกไปใน @อบาย ๔ มีความแน่นอนที่จะตรัสรู้มรรค ๓ เบื้องสูง (องฺ.ติก.อ. ๒/๘๘/๒๔๒) เมื่อจะเกิดในภพใหม่เป็นเทวดา @หรือมนุษย์ก็เกิดได้ไม่เกิน ๗ ครั้ง (อภิ.ปุ.(แปล) ๓๖/๓๑/๑๕๔, อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๑/๕๓) @ โกลังโกลโสดาบัน หมายถึงพระโสดาบันผู้เมื่อจะเกิดในภพใหม่เป็นเทวดาหรือมนุษย์ก็เกิดได้ ๒ หรือ @๓ ภพ และถ้าเกิดเป็นมนุษย์ก็ไม่เกิดในตระกูลต่ำ คือเกิดในตระกูลที่มีโภคสมบัติมากเท่านั้น @(อภิ.ปุ.(แปล) ๓๖/๓๒/๑๕๔, อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๑/๕๓) @ เอกพีชีโสดาบัน หมายถึงผู้มีพืชคืออัตภาพเดียว คือเกิดครั้งเดียวก็จะบรรลุพระอรหันต์ @(องฺ.ติก.อ. ๒/๘๘/๒๔๒, องฺ.ติก.ฏีกา ๒/๘๘/๒๓๗) @ พระสกทาคามี หมายถึงผู้กลับมาสู่กามภพอีกครั้งเดียวด้วยสามารถปฏิสนธิ (ขุ.ป.อ. ๒/๑๕๑/๗๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๒๓๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๒. ทิฏฐิกถา ๑๕-๑๖. ภววิภวทิฏฐินิทเทส

บุคคล ๕ จำพวกไหนละโลกนี้แล้วจึงสำเร็จ คือ ๑. อันตราปรินิพพายีอนาคามีบุคคล๑- ๒. อุปหัจจปรินิพพายีอนาคามีบุคคล๒- ๓. อสังขารปรินิพพายีอนาคามีบุคคล๓- ๔. สสังขารปรินิพพายีอนาคามีบุคคล๔- ๕. อุทธังโสโตอกนิฏฐคามีอนาคามีบุคคล๕- บุคคล ๕ จำพวกนี้ละโลกนี้แล้วจึงสำเร็จ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งเป็นผู้มีความเชื่อในเรา บุคคลเหล่านั้น ทั้งหมดเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิเหล่านั้น ๕ จำพวกนี้ สำเร็จในโลกนี้ ๕ จำพวกนี้ละโลกนี้แล้วจึงสำเร็จ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง เป็นผู้มีความเลื่อมใสไม่คลอนแคลน ในเรา บุคคลเหล่านั้นทั้งหมดเป็นพระโสดาบัน พระโสดาบันเหล่านั้น ๕ จำพวก สำเร็จในโลกนี้ ๕ จำพวกละโลกนี้แล้วจึงสำเร็จ @เชิงอรรถ : @ อันตราปรินิพพายีอนาคามีบุคคล หมายถึงพระอนาคามีผู้ปรินิพพานในระหว่าง คือเกิดในสุทธาวาส @ภพใดภพหนึ่งแล้ว อายุยังไม่ถึงกึ่งก็ปรินิพพาน มี ๓ จำพวก คือ พวกที่ ๑ เกิดในชั้นสุทธาวาสอวิหาซึ่ง @มีอายุ ๑,๐๐๐ กัป แต่ก็บรรลุพระอรหัตตผลในวันที่เกิด ถ้าไม่บรรลุในวันที่เกิดก็บรรลุภายใน ๑๐๐ กัป @พวกที่ ๒ เมื่อไม่สามารถบรรลุพระอรหัตตผลในวันที่เกิดก็บรรลุไม่เกินภายใน ๒๐๐ กัป พวกที่ ๓ บรรลุ @พระอรหัตตผลไม่เกินภายใน ๔๐๐ กัป (องฺ.ติก.อ. ๒/๘๘/๒๔๓) @ อุปหัจจปรินิพพายีอนาคามีบุคคล หมายถึงพระอนาคามีผู้เกิดในสุทธาวาสภพใดภพหนึ่งแล้วจวนถึง @ปรินิพพาน คืออายุพ้นกึ่งแล้วจวนถึงสิ้นอายุจึงปรินิพพาน (องฺ.ติก.อ. ๒/๘๘/๒๔๓) @ อสังขารปรินิพพายีอนาคามีบุคคล หมายถึงพระอนาคามีผู้ปรินิพพานโดยไม่ต้องใช้ความเพียรมาก @(องฺ.ติก.อ. ๒/๘๘/๒๔๓) @ สสังขารปรินิพพายีอนาคามีบุคคล หมายถึงพระอนาคามีผู้เกิดในสุทธาวาสภพใดภพหนึ่งแล้ว @ปรินิพพานโดยต้องใช้ความเพียรมาก (องฺ.ติก.อ. ๒/๘๘/๒๔๓) @ อุทธังโสโตอกนิฏฐอนาคามีบุคคล หมายถึงพระอนาคามีผู้มีกระแสในเบื้องบนไปสู่อกนิฏฐภพ คือเกิดใน @สุทธาวาสภพใดภพหนึ่งแล้วก็จะเกิดเลื่อนต่อไปจนถึงอกนิฏฐภพแล้วจึงปรินิพพานในภพนั้น @(องฺ.ติก.อ. ๒/๘๘/๒๔๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๒๓๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๒. ทิฏฐิกถา ๑๕-๑๖. ภววิภวทิฏฐินิทเทส

บุคคล ๕ จำพวกไหนสำเร็จในโลกนี้ คือ ๑. สัตตักขัตตุปรมโสดาบัน ๒. โกลังโกลโสดาบัน ๓. เอกพีชีโสดาบัน ๔. พระสกทาคามี ๕. พระอรหันต์ในปัจจุบัน บุคคล ๕ จำพวกนี้สำเร็จในโลกนี้ บุคคล ๕ จำพวกไหนละโลกนี้แล้วจึงสำเร็จ คือ ๑. อันตราปรินิพพายีอนาคามีบุคคล ๒. อุปหัจจปรินิพพายีอนาคามีบุคคล ๓. อสังขารปรินิพพายีอนาคามีบุคคล ๔. สสังขารปรินิพพายีอนาคามีบุคคล ๕. อุทธังโสโตอกนิฏฐคามีอนาคามีบุคคล บุคคล ๕ จำพวกนี้ละโลกนี้แล้วจึงสำเร็จ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งเป็นผู้มีความเลื่อมใสไม่คลอนแคลน ในเรา บุคคลเหล่านั้นทั้งหมดเป็นพระโสดาบัน พระโสดาบันเหล่านั้น ๕ จำพวกนี้ สำเร็จในโลกนี้ ๕ จำพวกนี้ละโลกนี้แล้วจึงสำเร็จ
ภววิภวทิฏฐินิทเทสที่ ๑๕-๑๖ จบ
ทิฏฐิกถา จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๒๓๒}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๑ หน้าที่ ๒๒๙-๒๓๒. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=31&A=6692&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=31&siri=61              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=31&A=3332&Z=4069&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=294              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=31&item=294&items=68              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=31&item=294&items=68              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu31

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]