ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ธรรมสังคณีปกรณ์

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์]

สุตตันติกทุกนิกเขปะ

อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ ไม่รักษาจักขุนทรีย์ ไม่ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ฟังเสียงด้วยหู ฯลฯ ดมกลิ่นด้วยจมูก ฯลฯ ลิ้มรสด้วยลิ้น ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะ ด้วยกาย ฯลฯ รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว รวบถือ แยกถือ ไม่ปฏิบัติเพื่อ สำรวมมนินทรีย์ ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุให้บาปอกุศลธรรมคืออภิชฌา และโทมนัสครอบงำได้ ไม่รักษามนินทรีย์ ไม่ถึงความสำรวมในมนินทรีย์ ความไม่ คุ้มครอง กิริยาที่ไม่คุ้มครอง ความไม่รักษา ความไม่สำรวม นี้เรียกว่าความเป็น ผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย๑- [๑๓๕๓] ความเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณในการบริโภค เป็นไฉน ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ไม่พิจารณาโดยแยบคาย บริโภคอาหารเพื่อเล่น เพื่อความมัวเมา เพื่อประเทืองผิว เพื่อความอ้วนพี ความเป็นผู้ไม่สันโดษ ความ เป็นผู้ไม่รู้จักประมาณ ความไม่พิจารณาในการบริโภคนั้น นี้เรียกว่าความเป็นผู้ ไม่รู้จักประมาณในการบริโภค๒-
๒๘. อินทริเยสุคุตตทวารตาทุกะ
[๑๓๕๔] ความเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย เป็นไฉน ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยตาแล้วไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ย่อม ปฏิบัติเพื่อสำรวมในจักขุนทรีย์ ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุให้บาปอกุศลธรรม คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ ย่อมรักษาจักขุนทรีย์ ย่อมถึงความสำรวมใน จักขุนทรีย์ ฟังเสียงด้วยหู ฯลฯ ดมกลิ่นด้วยจมูก ฯลฯ ลิ้มรสด้วยลิ้น ฯลฯ ถูกต้อง โผฏฐัพพะด้วยกาย ฯลฯ รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ย่อม ปฏิบัติเพื่อสำรวมในมนินทรีย์ ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุให้บาปอกุศลธรรม คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ ย่อมรักษามนินทรีย์ ย่อมถึงความสำรวมใน มนินทรีย์ ความคุ้มครอง กิริยาที่คุ้มครอง ความรักษา ความสำรวม นี้เรียกว่า ความเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย๓- @เชิงอรรถ : @ อภิ.วิ. ๓๕/๕๑๗/๒๙๘, ๙๐๕/๔๔๐, อภิ.สงฺ.อ. ๔๕๖-๔๕๗ @ อภิ.วิ. ๓๕/๕๑๘/๒๙๙ @ อภิ.วิ. ๓๕/๕๑๗/๒๙๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๓๓๘}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์]

สุตตันติกทุกนิกเขปะ

[๑๓๕๕] ความเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภค เป็นไฉน ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายว่า เราบริโภคอาหารไม่ใช่ เพื่อเล่น ไม่ใช่เพื่อความมัวเมา ไม่ใช่เพื่อประเทืองผิว ไม่ใช่เพื่อให้อ้วนพี แต่เพื่อ กายนี้ดำรงอยู่ได้ เพื่อให้ชีวิตินทรีย์เป็นไป เพื่อบำบัดความหิว เพื่ออนุเคราะห์ พรหมจรรย์ โดยอุบายนี้ เราจักกำจัดเวทนาเก่าเสียได้ และจักไม่ให้เวทนาใหม่เกิด ขึ้น ความดำรงอยู่แห่งชีวิต ความไม่มีโทษและการอยู่โดยผาสุกจักมีแก่เราดังนี้ แล้ว จึงบริโภคอาหาร ความสันโดษ ความรู้จักประมาณ การพิจารณาในโภชนาหารนั้น นี้เรียกว่าความเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภค๑-
๒๙. มุฏฐสัจจทุกะ
[๑๓๕๖] ความเป็นผู้มีสติหลงลืม เป็นไฉน ความระลึกไม่ได้ ความไม่ตามระลึก ความไม่หวนระลึก ความระลึกไม่ได้ อาการที่ระลึกไม่ได้ ความทรงจำไม่ได้ ความเลื่อนลอย ความหลงลืม นี้เรียกว่า ความเป็นผู้มีสติหลงลืม๒- [๑๓๕๗] ความเป็นผู้ไม่มีสัมปชัญญะ เป็นไฉน ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ นี้เรียกว่าความ เป็นผู้ไม่มีสัมปชัญญะ
๓๐. สติสัมปชัญญทุกะ
[๑๓๕๘] สติ เป็นไฉน สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก สติ กิริยาที่ระลึก ความทรงจำ ความไม่ เลื่อนลอย ความไม่หลงลืม สติ สตินทรีย์ สติพละ สัมมาสติ นี้เรียกว่าสติ๓- [๑๓๕๙] สัมปชัญญะ เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ นี้เรียกว่าสัมปชัญญะ๔- @เชิงอรรถ : @ อภิ.วิ. ๓๕/๕๑๘/๒๙๙, อภิ.สงฺ.อ. ๔๕๙-๔๖๐ @ อภิ.วิ. ๓๕/๙๐๖/๔๔๑ @ อภิ.วิ. ๓๕/๕๒๔/๓๐๑ @ อภิ.วิ. ๓๕/๕๒๕/๓๐๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๓๓๙}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์]

สุตตันติกทุกนิกเขปะ

๓๑. ปฏิสังขานพลทุกะ
[๑๓๖๐] กำลังคือการพิจารณา เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ นี้เรียกว่ากำลังคือการพิจารณา [๑๓๖๑] กำลังคือภาวนา เป็นไฉน การเสพ การเจริญ การทำให้มาก ซึ่งกุศลธรรม นี้เรียกว่ากำลังคือภาวนา แม้โพชฌงค์ ๗ ก็เรียกว่ากำลังคือภาวนา
๓๒. สมถวิปัสสนาทุกะ
[๑๓๖๒] สมถะ เป็นไฉน ความตั้งอยู่แห่งจิต ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้เรียกว่าสมถะ [๑๓๖๓] วิปัสสนา เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ นี้เรียกว่าวิปัสสนา
๓๓. สมถนิมิตตทุกะ
[๑๓๖๔] นิมิตแห่งสมถะ เป็นไฉน ความตั้งอยู่แห่งจิต ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้เรียกว่านิมิตของสมถะ [๑๓๖๕] นิมิตแห่งความเพียร เป็นไฉน การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ นี้เรียกว่านิมิตแห่ง ความเพียร
๓๔. ปัคคาหทุกะ
[๑๓๖๖] ความเพียร เป็นไฉน การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ นี้เรียกว่าความเพียร [๑๓๖๗] ความไม่ฟุ้งซ่าน เป็นไฉน ความตั้งอยู่แห่งจิต ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้เรียกว่าความไม่ฟุ้งซ่าน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๓๔๐}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์]

สุตตันติกทุกนิกเขปะ

๓๕. สีลวิปัตติทุกะ
[๑๓๖๘] ความวิบัติแห่งศีล เป็นไฉน การล่วงละเมิดทางกาย การล่วงละเมิดทางวาจา การล่วงละเมิดทางกายและ ทางวาจา นี้เรียกว่าความวิบัติแห่งศีล ความเป็นผู้ทุศีลแม้ทั้งหมดก็ชื่อว่าความวิบัติ แห่งศีล๑- [๑๓๖๙] ความวิบัติแห่งทิฏฐิ เป็นไฉน ความเห็นว่า ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้วไม่มีผล การเซ่นสรวงไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีทำชั่วก็ไม่มี ไม่มีโลกนี้ ไม่มีโลกหน้า มารดาไม่มีคุณ บิดา ไม่มีคุณ สัตว์ที่เกิดผุดขึ้นไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติปฏิบัติชอบทำให้แจ้งโลกนี้ และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งก็ไม่มีในโลก ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ฯลฯ ความยึดถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่าความวิบัติ แห่งทิฏฐิ มิจฉาทิฏฐิทั้งหมดก็ชื่อว่าความวิบัติแห่งทิฏฐิ๑-
๓๖. สีลสัมปทาทุกะ
[๑๓๗๐] ความสมบูรณ์แห่งศีล เป็นไฉน ความไม่ล่วงละเมิดทางกาย ความไม่ล่วงละเมิดทางวาจา ความไม่ล่วงละเมิด ทางกายและทางวาจา นี้เรียกว่าความสมบูรณ์แห่งศีล ศีลสังวรแม้ทั้งหมดก็เรียกว่า ความสมบูรณ์แห่งศีล [๑๓๗๑] ความสมบูรณ์แห่งทิฏฐิ เป็นไฉน ความเห็นว่า ทานที่ให้แล้วมีผล ยัญที่บูชาแล้วมีผล การเซ่นสรวงมีผล ผล วิบากแห่งกรรมที่ทำดีทำชั่วมี โลกนี้มี โลกหน้ามี มารดามีคุณ บิดามีคุณ สัตว์ที่ เกิดผุดขึ้นก็มี สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติปฏิบัติชอบทำให้แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วย ปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งมีอยู่ในโลก ดังนี้ ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ความสมบูรณ์แห่งทิฏฐิ สัมมาทิฏฐิแม้ทั้งหมดก็เรียกว่าความสมบูรณ์แห่งทิฏฐิ @เชิงอรรถ : @ อภิ.วิ. ๓๕/๙๐๗/๔๔๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๓๔๑}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์]

สุตตันติกทุกนิกเขปะ

๓๗. สีลวิสุทธิทุกะ
[๑๓๗๒] ความหมดจดแห่งศีล เป็นไฉน ความไม่ล่วงละเมิดทางกาย ความไม่ล่วงละเมิดทางวาจา ความไม่ล่วงละเมิด ทางกายและทางวาจา นี้เรียกว่าความหมดจดแห่งศีล ศีลสังวรแม้ทั้งหมดก็เรียกว่า ความหมดจดแห่งศีล [๑๓๗๓] ความหมดจดแห่งทิฏฐิ เป็นไฉน ญาณเป็นเครื่องรู้ว่าสัตว์มีกรรมเป็นของตน ญาณที่สมควรแก่การหยั่งรู้อริยสัจ ญาณของท่านผู้พรั่งพร้อมด้วยมรรค ญาณของท่านผู้พรั่งพร้อมด้วยผล
๓๘. ทิฏฐิวิสุทธิโขปนทุกะ
[๑๓๗๔] ที่ชื่อว่า ความหมดจดแห่งทิฏฐิ ได้แก่ ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ [๑๓๗๕] ที่ชื่อว่า ความเพียรของบุคคลผู้มีความเห็นหมดจด ได้แก่ การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ
๓๙. สังเวชนียัฏฐานทุกะ
[๑๓๗๖] ที่ชื่อว่า ความสลดใจ ได้แก่ ญาณที่เห็นชาติโดยความเป็นภัย ญาณ ที่เห็นชราโดยความเป็นภัย ญาณที่เห็นพยาธิโดยความเป็นภัย ญาณที่เห็นมรณะ โดยความเป็นภัย ชื่อว่าฐานะเป็นที่ตั้งแห่งความสลดใจ ได้แก่ ชาติ ชรา พยาธิ และ มรณะ [๑๓๗๗] ที่ชื่อว่า ความเพียรโดยแยบคายของบุคคลผู้สลดใจ ได้แก่ ภิกษุ ในธรรมวินัยนี้ ยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้ เพื่อทำบาปอกุศลธรรมอันยังไม่เกิดไม่ให้เกิด เพื่อละบาปอกุศลธรรมอันเกิดแล้ว เพื่อทำกุศลธรรมอันยังไม่เกิดให้เกิด เพื่อความตั้งมั่น ไม่เลอะเลือน ภิยโยภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่งกุศลธรรมอันเกิดแล้ว๑- @เชิงอรรถ : @ อภิ.วิ. ๓๕/๓๙๐/๒๔๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๓๔๒}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์]

สุตตันติกทุกนิกเขปะ

๔๐. อสันตุฏฐิตากุสลธัมมทุกะ
[๑๓๗๘] ที่ชื่อว่า ความไม่สันโดษในกุศลธรรม ได้แก่ ความพอใจยิ่งๆ ขึ้นไป ของบุคคลผู้ไม่สันโดษในการเจริญกุศลธรรม [๑๓๗๙] ที่ชื่อว่า ความเป็นผู้ไม่ท้อถอยในความเพียร ได้แก่ ความเป็นผู้ กระทำโดยเคารพ ความเป็นผู้กระทำติดต่อ ความเป็นผู้กระทำไม่หยุด ความเป็น ผู้ประพฤติไม่ย่อหย่อน ความเป็นผู้ไม่ทิ้งฉันทะ ความเป็นผู้ไม่ทอดธุระ ความเสพ ความเจริญ การกระทำให้มาก เพื่อความเจริญแห่งกุศลธรรม
๔๑. วิชชาทุกะ
[๑๓๘๐] ที่ชื่อว่า วิชชา ได้แก่ วิชชา ๓ คือ ๑. วิชชา คือ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ๒. วิชชา คือ จุตูปปาตญาณ ๓. วิชชา คือ อาสวักขยญาณ [๑๓๘๑] ที่ชื่อว่า วิมุตติ ได้แก่ วิมุตติ ๒ คือ อธิมุตติแห่งจิต๑- (สมาบัติ ๘) และนิพพาน
๔๒. ขเยญาณทุกะ
[๑๓๘๒] ที่ชื่อว่า ความรู้ในอริยมรรค ได้แก่ ความรู้ของท่านผู้พรั่งพร้อมด้วย มรรคจิต [๑๓๘๓] ที่ชื่อว่า ความรู้ในอริยผล ได้แก่ ความรู้ของท่านผู้พรั่งพร้อมด้วย ผลจิต
สุตตันติกทุกนิกเขปะ จบ
นิกเขปกัณฑ์ จบ
@เชิงอรรถ : @ อภิ.สงฺ.อ. ๔๖๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๓๔๓}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๔ หน้าที่ ๓๓๘-๓๔๓. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=34&A=9726&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=34&siri=65              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=34&A=7290&Z=7582&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=34&i=836              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=34&item=836&items=42              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=34&item=836&items=42              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu34

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]