ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] วิภังคปกรณ์

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๑. มัคควิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์

ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น มรรคมีองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ก็เกิดขึ้น [๔๙๒] บรรดามรรคมีองค์ ๘ เหล่านั้น สัมมาทิฏฐิ เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ๑- (๑) สัมมาสังกัปปะ เป็นไฉน ความตรึก ความตรึกโดยอาการต่างๆ ความดำริ ความที่จิตแนบแน่นใน อารมณ์ ความที่จิตแนบสนิทในอารมณ์ ความยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ สัมมาสังกัปปะ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ๒- (๒) สัมมาวาจา เป็นไฉน ความงด ความเว้น ความเว้นขาด เจตนาเป็นเหตุเว้นจากวจีทุจริต ๔ การไม่ ทำ การเลิกทำ การไม่ล่วงละเมิด การไม่ล้ำเขต การกำจัดต้นเหตุ(แห่งวจีทุจริต ๔) สัมมาวาจา อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สัมมาวาจา๓- (๓) สัมมากัมมันตะ เป็นไฉน ความงด ความเว้น ความเว้นขาด เจตนาเป็นเหตุเว้นจากกายทุจริต ๓ การไม่ ทำ การเลิกทำ การไม่ล่วงละเมิด การไม่ล้ำเขต การกำจัดต้นเหตุ(แห่งกายทุจริต ๓) สัมมากัมมันตะ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สัมมากัมมันตะ๔- (๔) สัมมาอาชีวะ เป็นไฉน ความงด ความเว้น ความเว้นขาด เจตนาเป็นเหตุเว้นจากมิจฉาอาชีวะ การไม่ ทำ การเลิกทำ การไม่ล่วงละมิด การไม่ล้ำเขต การกำจัดต้นเหตุ(แห่งมิจฉาอาชีวะ) สัมมาอาชีวะ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สัมมาอาชีวะ๕- (๕) @เชิงอรรถ : @ อภิ.สงฺ. ๓๔/๒๙๗/๘๘ @ อภิ.สงฺ. ๓๔/๒๙๘/๘๘ @ อภิ.สงฺ. ๓๔/๒๙๙/๘๘ @ อภิ.สงฺ. ๓๔/๓๐๐/๘๙ @ อภิ.สงฺ. ๓๔/๓๐๑/๘๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๓๗๔}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๑. มัคควิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์

สัมมาวายามะ เป็นไฉน การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ อัน เป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สัมมาวายามะ๑- (๖) สัมมาสติ เป็นไฉน สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สัมมาสติ๒- (๗) สัมมาสมาธิ เป็นไฉน ความตั้งอยู่แห่งจิต ฯลฯ สัมมาสมาธิ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ๓- (๘) นี้เรียกว่า มรรคมีองค์ ๘ สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยมรรคมีองค์ ๘

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๕ หน้าที่ ๓๗๔-๓๗๕. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=35&A=10579&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=35&siri=42              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=35&A=7559&Z=7609&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35&i=580              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=35&item=580&items=9              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=35&item=580&items=9              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu35

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]