ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] วิภังคปกรณ์

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖. ญาณวิภังค์]

๔. จตุกกนิทเทส

[๘๐๐] ปฏิสัมภิทา ๔ เป็นไฉน ปฏิสัมภิทา ๔ คือ ๑. อัตถปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในอรรถ) ๒. ธัมมปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในธรรม) ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในนิรุตติ) ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ) ความรู้ในอรรถชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา ความรู้ในธรรมชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา ความรู้ในญาณทั้งหลาย ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา เหล่านี้ชื่อว่าปฏิสัมภิทา (๘) [๘๐๑] ปฏิปทา ๔ เป็นไฉน ปฏิปทา ๔ คือ ๑. ปัญญาที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา (ปฏิบัติลำบากทั้งรู้ได้ช้า) ๒. ปัญญาที่เป็นทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา (ปฏิบัติลำบากแต่รู้ได้เร็ว) ๓. ปัญญาที่เป็นสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา (ปฏิบัติสะดวกแต่รู้ได้ช้า) ๔. ปัญญาที่เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา (ปฏิบัติสะดวกทั้งรู้ได้เร็ว) บรรดาปฏิปทา ๔ เหล่านั้น ปัญญาที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา- ทิฏฐิเกิด ขึ้นแก่โยคาวจรบุคคลผู้ทำสมาธิให้เกิดขึ้นโดยยากโดยลำบากทั้งรู้ฐานะ นั้นช้า นี้เรียกว่า ปัญญาที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ปัญญาที่เป็นทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา- ทิฏฐิ เกิดขึ้นแก่โยคาวจรบุคคลผู้ทำสมาธิให้เกิดขึ้นโดยยากโดยลำบาก แต่รู้ฐานะ นั้นได้เร็ว นี้เรียกว่า ปัญญาที่เป็นทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๑๓}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖. ญาณวิภังค์]

๔. จตุกกนิทเทส

ปัญญาที่เป็นสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา- ทิฏฐิ เกิดขึ้นแก่โยคาวจรบุคคลผู้ทำสมาธิให้เกิดขึ้นโดยไม่ยาก โดยไม่ลำบาก แต่ รู้ฐานะนั้นช้า นี้เรียกว่า ปัญญาที่เป็นสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา ปัญญาที่เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา- ทิฏฐิ เกิดขึ้นแก่โยคาวจรบุคคลผู้ทำสมาธิให้เกิดขึ้นโดยไม่ยาก โดยไม่ลำบาก ทั้ง รู้ฐานะนั้นเร็ว นี้เรียกว่า ปัญญาที่เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา เหล่านี้ชื่อว่าปฏิปทา ๔ (๙) [๘๐๒] อารัมมณปัญญา ๔ เป็นไฉน อารัมมณปัญญา ๔ คือ ๑. ปัญญาที่เป็นปริตตะและมีปริตตะเป็นอารมณ์ ๒. ปัญญาที่เป็นปริตตะแต่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ ๓. ปัญญาที่เป็นอัปปมาณะแต่มีปริตตะเป็นอารมณ์ ๔. ปัญญาที่เป็นอัปปมาณะและมีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ บรรดาอารัมมณปัญญา ๔ นั้น ปัญญาที่เป็นปริตตะและมีปริตตะเป็นอารมณ์ เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา- ทิฏฐิ เกิดขึ้นแก่โยคาวจรบุคคลผู้ได้สมาธิที่ยังไม่ชำนาญคล่องแคล่ว แผ่อารมณ์ไป ได้เล็กน้อย นี้เรียกว่า ปัญญาที่เป็นปริตตะและมีปริตตะเป็นอารมณ์ ปัญญาที่เป็นปริตตะแต่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา- ทิฏฐิ เกิดขึ้นแก่โยคาวจรบุคคลผู้ได้สมาธิที่ยังไม่ชำนาญคล่องแคล่ว แผ่อารมณ์ไป ได้กว้างขวางจนหาประมาณมิได้ นี้เรียกว่า ปัญญาที่เป็นปริตตะแต่มีอัปปมาณะ เป็นอารมณ์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๑๔}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖. ญาณวิภังค์]

๔. จตุกกนิทเทส

ปัญญาที่เป็นอัปปมาณะแต่มีปริตตะเป็นอารมณ์ เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา- ทิฏฐิ เกิดขึ้นแก่โยคาวจรบุคคลผู้ได้สมาธิที่ชำนาญคล่องแคล่ว แผ่อารมณ์ไปได้ เล็กน้อย นี้เรียกว่า ปัญญาที่เป็นอัปปมาณะแต่มีปริตตะเป็นอารมณ์ ปัญญาที่เป็นอัปปมาณะและมีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา- ทิฏฐิ เกิดขึ้นแก่โยคาวจรบุคคลผู้ได้สมาธิที่ชำนาญคล่องแคล่ว แผ่อารมณ์ไปได้ กว้างขวางจนหาประมาณมิได้ นี้เรียกว่า ปัญญาที่เป็นอัปปมาณะและมีอัปปมาณะ เป็นอารมณ์ เหล่านี้เรียกว่า อารัมมณปัญญา ๔ (๑๐) มัคคสมังคิญาณ ได้แก่ นี้ความรู้ในชรามรณะ นี้ความรู้ในชรามรณสมุทัย นี้ความรู้ในชรามรณนิโรธ นี้ความรู้ในชรามรณนิโรธคามินีปฏิปทา ความรู้ในชรามรณะ เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา- ทิฏฐิ ปรารภชรามรณะเกิดขึ้น นี้เรียกว่า ความรู้ในชรามรณะ ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา- ทิฏฐิ ปรารภชรามรณสมุทัยเกิดขึ้น นี้เรียกว่า ความรู้ในชรามรณสมุทัย ฯลฯ ปรารภ ชรามรณนิโรธเกิดขึ้น นี้เรียกว่า ความรู้ในชรามรณนิโรธ ฯลฯ ปรารภชรามรณ- นิโรธคามินีปฏิปทาเกิดขึ้น นี้เรียกว่า ความรู้ในชรามรณนิโรธคามินีปฏิปทา (๑๑) [๘๐๓] มัคคสมังคิญาณ ได้แก่ ความรู้ในชาติ ฯลฯ ความรู้ในภพ ฯลฯ ความรู้ในอุปาทาน ฯลฯ ความรู้ในตัณหา ฯลฯ ความรู้ในเวทนา ฯลฯ ความรู้ ในผัสสะ ฯลฯ ความรู้ในสฬายตนะ ฯลฯ ความรู้ในนาม ฯลฯ ความรู้ในวิญญาณ ฯลฯ ความรู้ในสังขาร ฯลฯ ความรู้ในสังขารสมุทัย ความรู้ในสังขารนิโรธ และ ความรู้ในสังขารนิโรธคามินีปฏิปทา (๑๒-๒๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๑๕}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖. ญาณวิภังค์]

๕. ปัญจกนิทเทส

บรรดาความรู้เหล่านั้น ความรู้ในสังขาร เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา- ทิฏฐิ ปรารภสังขารทั้งหลายเกิดขึ้น นี้เรียกว่า ความรู้ในสังขาร ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา- ทิฏฐิ ปรารภสังขารสมุทัย ฯลฯ ปรารภสังขารนิโรธ ฯลฯ ปรารภสังขารนิโรธ- คามินีปฏิปทาเกิดขึ้น นี้เรียกว่า ความรู้ในสังขารนิโรธคามินีปฏิปทา (๒๒-๒๔) ญาณวัตถุหมวดละ ๔ มีด้วยประการฉะนี้
จตุกกนิทเทส จบ
๕. ปัญจกนิทเทส
[๘๐๔] บรรดาญาณวัตถุหมวดละ ๕ นั้น สัมมาสมาธิมีองค์ ๕ เป็นไฉน ปัญญาที่แผ่ปีติไป ปัญญาที่แผ่สุขไป ปัญญาที่แผ่จิตไป ปัญญาที่แผ่แสง สว่างไป และปัจจเวกขณนิมิต๑- (ปัจจเวกขณญาณ) ปัญญาในฌาน ๒ ชื่อว่า ปัญญาที่แผ่ปีติไป ปัญญาในฌาน ๓ ชื่อว่า ปัญญา ที่แผ่สุขไป ญาณในการกำหนดรู้จิตของผู้อื่นชื่อว่า ปัญญาที่แผ่จิตไป ทิพยจักษุ ชื่อว่า ปัญญาที่แผ่แสงสว่างไป ปัจจเวกขณญาณของโยคาวจรบุคคลผู้ออกจากสมาธิ นั้นๆ ชื่อว่า ปัจจเวกขณนิมิต นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิมีองค์ ๕ (๑) สัมมาสมาธิมีญาณ ๕ เป็นไฉน ญาณเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า สมาธินี้มีสุขในปัจจุบัน และมีสุขเป็นวิบากในอนาคต ญาณเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า สมาธินี้ไกลจากกิเลส หาอามิสมิได้ ญาณเกิดขึ้นเฉพาะ ตนว่า สมาธินี้อันบุรุษผู้มีปัญญาทรามเสพไม่ได้ ญาณเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า สมาธิ @เชิงอรรถ : @ ญาณที่เกิดแก่ผู้บำเพ็ญวิปัสสนาโดยลำดับตั้งแต่ต้นจนถึงจุดหมาย คือ มรรค ผล นิพพาน @(อภิ.วิ.อ. ๘๐๔/๔๔๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๑๖}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖. ญาณวิภังค์]

๗. สัตตกนิทเทส

นี้สงบ ประณีต ได้ความสงบระงับ ได้บรรลุแล้วโดยความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น และ ไม่ได้บรรลุโดยการข่มนิวรณ์ ห้ามกิเลสด้วยจิตที่เป็นสสังขาริก๑- ญาณเกิดขึ้นเฉพาะ ตนว่า ก็เรานั้นแลมีสติเข้าสมาธินี้ มีสติออกจากสมาธินี้ นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิมี ญาณ ๕ (๒) ญาณวัตถุหมวดละ ๕ มีด้วยประการฉะนี้
ปัญจกนิทเทส จบ
๖. ฉักกนิทเทส
[๘๐๕] บรรดาญาณวัตถุหมวดละ ๖ นั้น ปัญญาในอภิญญา ๖ เป็นไฉน ปัญญาในอภิญญา ๖ คือ ๑. อิทธิวิธญาณ (ความรู้ที่ทำให้แสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้) ๒. โสตธาตุวิสุทธิญาณ (ความรู้ที่ทำให้มีหูทิพย์) ๓. ปรจิตตญาณ (ความรู้ที่ทำให้รู้ใจผู้อื่น) ๔. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ (ความรู้ที่ทำให้ระลึกชาติได้) ๕. จุตูปปาตญาณ (ความรู้การจุติและเกิด) ๖. อาสวักขยญาณ (ความรู้ที่ทำให้อาสวะสิ้นไป) เหล่านี้ชื่อว่าปัญญาในอภิญญา ๖ ๒- ญาณวัตถุหมวดละ ๖ มีด้วยประการฉะนี้ (๑)
๗. สัตตกนิทเทส
[๘๐๖] ในญาณวัตถุหมวดละ ๗ นั้น ญาณวัตถุ ๗๗ เป็นไฉน ความรู้ว่า เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี เมื่อชาติไม่มี ก็รู้ว่าชรามรณะ ไม่มี @เชิงอรรถ : @ จิตที่มีสิ่งกระตุ้นเตือน (อภิ.สงฺ.อ. ๑๔๖/๒๐๖) @ อภิญญา ๖ นั้น ห้าข้อแรกเป็นโลกิยะ ข้อสุดท้ายเป็นโลกุตตระ (อภิ.วิ.อ. ๘๐๕/๔๕๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๑๗}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๕ หน้าที่ ๕๑๓-๕๑๗. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=35&A=14497&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=35&siri=63              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=35&A=10829&Z=11352&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35&i=801              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=35&item=801&items=34              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=35&item=801&items=34              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu35

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]