ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] วิภังคปกรณ์

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖. ญาณวิภังค์]

๑๐. ทสกนิทเทส

เพราะก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนะได้โดยประการทั้งปวง โยคาวจรบุคคลจึง บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน โดยบริกรรมว่าอะไรๆ ก็ไม่มี ดังนี้อยู่ นี้ชื่อว่าวิโมกข์ ข้อที่ ๖ เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะได้โดยประการทั้งปวง โยคาวจรบุคคลจึง บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ นี้ชื่อว่าวิโมกข์ข้อที่ ๗ เพราะก้าวล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะได้โดยประการทั้งปวง โยคาวจร- บุคคลจึงบรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ นี้ชื่อว่าวิโมกข์ข้อที่ ๘ คำว่า สมาธิ ได้แก่ สมาธิ ๓ คือ ๑. สวิตักกสวิจารสมาธิ (สมาธิที่มีทั้งวิตกและวิจาร) ๒. อวิตักกวิจารปัตตสมาธิ (สมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร) ๓. อวิตักกอวิจารสมาธิ (สมาธิที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจาร) คำว่า สมาบัติ ได้แก่ อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ คือ ๑. ปฐมฌานสมาบัติ ๒. ทุติยฌานสมาบัติ ๓. ตติยฌานสมาบัติ ๔. จตุตถฌานสมาบัติ ๕. อากาสานัญจายตนสมาบัติ ๖. วิญญาณัญจายตนสมาบัติ ๗. อากิญจัญญายตนสมาบัติ ๘. เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ๙. สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ๑- บทว่า ความเศร้าหมอง ได้แก่ สภาวธรรมที่เป็นฝ่ายเสื่อม บทว่า ความผ่องแผ้ว ได้แก่ สภาวธรรมที่เป็นฝ่ายคุณวิเศษ บทว่า ความออก ได้แก่ แม้ความผ่องแผ้ว ก็ชื่อว่าความออก แม้ความ ออกจากสมาธินั้นๆ ก็ชื่อว่าความออก @เชิงอรรถ : @ สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ หมายถึงสมาบัติที่ดับสัญญาและเวทนามี ๒ คือ อสัญญสมาบัติ และนิโรธ- @สมาบัติ ที่เป็นอสัญญสมาบัติมีแก่ปุถุชน ที่เป็นนิโรธสมาบัติ มีเฉพาะแต่พระอนาคามีและพระอรหันต์ @ผู้ชำนาญในสมาบัติ ๘ ข้างต้นแล้วเท่านั้นจึงจะเข้าได้ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๓๕/๒๘๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๓๑}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖. ญาณวิภังค์]

๑๐. ทสกนิทเทส

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา- ทิฏฐิในความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว ความออกจากฌาน นี้ชื่อว่าพระตถาคต ทรงทราบความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว แห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ และความออกจากฌานเป็นต้นนั้นตามความเป็นจริง (๗)
๘. ปุพเพนิวาสนานุสสติญาณ
(ปรีชาหยั่งรู้ทำให้ระลึกภพที่เคยอยู่ในหนหลังได้)
[๘๒๙] พระตถาคตทรงทราบการระลึกชาติในหนหลังตามความเป็นจริง เป็นไฉน พระตถาคตในโลกนี้ทรงระลึกชาติในหนหลังได้หลายๆ ชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง ๓ ชาติบ้าง ๔ ชาติบ้าง ๕ ชาติบ้าง ๑๐ ชาติบ้าง ๒๐ ชาติบ้าง ๓๐ ชาติบ้าง ๔๐ ชาติบ้าง ๕๐ ชาติบ้าง ๑๐๐ ชาติบ้าง ๑,๐๐๐ ชาติบ้าง ๑๐๐,๐๐๐ ชาติบ้าง หลายสังวัฏฏกัปบ้าง หลายวิวัฏฏกัปบ้าง หลายสังวัฏฏวิวัฏฏกัปบ้างว่า เราอยู่ในภพโน้น เป็นผู้มีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้ มีวรรณะอย่างนี้ มีอาหารอย่างนี้ เสวยสุขและทุกข์อย่างนี้ มีกำหนดอายุอย่างนี้ เรานั้นจุติจากชาตินั้นแล้วจึงไปเกิด ในภพโน้น เราอยู่ในภพนั้น เป็นผู้มีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้ มีวรรณะอย่างนี้ มี อาหารอย่างนี้ เสวยสุขและทุกข์อย่างนี้ มีกำหนดอายุอย่างนี้ เรานั้นจุติจากชาติ นั้นแล้วจึงมาเกิดในภพนี้ พระตถาคตทรงระลึกชาติในหนหลังได้หลายๆ ชาติพร้อม ทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้ ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ ในการระลึกชาตินั้น นี้ชื่อว่าพระตถาคตทรงทราบการระลึกชาติหนหลังตามความ เป็นจริง (๘)
๙. จุตูปปาตญาณ
(ปรีชาหยั่งรู้จุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลายอันเป็นไปตามธรรม)
[๘๓๐] พระตถาคตทรงทราบความจุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลายตาม ความเป็นจริง เป็นไฉน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๓๒}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖. ญาณวิภังค์]

๑๐. ทสกนิทเทส

พระตถาคตในโลกนี้ทรงมีทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของสามัญมนุษย์ ทรง เห็นสัตว์ผู้กำลังจุติ อุบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณเลว ไปสุคติ ไปทุคติ ย่อมทรงทราบเหล่าสัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์ผู้เจริญเหล่านี้ประกอบด้วยกาย- ทุจริต ประกอบด้วยวจีทุจริต ประกอบด้วยมโนทุจริต กล่าวใส่ร้ายพระอริยะ เป็น มิจฉาทิฏฐิ สมาทานมิจฉาทิฏฐิกรรม สัตว์เหล่านั้นหลังจากตายแล้วก็เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก หรือสัตว์ผู้เจริญเหล่านี้ประกอบด้วยกายสุจริต ประกอบด้วย วจีสุจริต ประกอบด้วยมโนสุจริต ไม่กล่าวใส่ร้ายพระอริยะ เป็นสัมมาทิฏฐิ สมาทาน สัมมาทิฏฐิกรรม สัตว์เหล่านั้นหลังจากตายแล้วจึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ พระ ตถาคตทรงมีทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงสามัญมนุษย์ ทรงเห็นเหล่าสัตว์ผู้กำลังจุติ อุบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณเลว ไปสุคติ ไปทุคติ ทรงทราบเหล่า สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิในการจุติและอุบัติแห่งสัตว์ทั้งหลายนั้น นี้ชื่อว่าพระตถาคตทรงทราบการ จุติและอุบัติแห่งสัตว์ทั้งหลายตามความเป็นจริง (๙)
๑๐. อาสวักขยญาณ
(ปรีชาหยั่งรู้ความสิ้นไปแห่งอาสวะ)
[๘๓๑] พระตถาคตทรงทราบความสิ้นอาสวะตามความเป็นจริง เป็นไฉน พระตถาคตในโลกนี้ทรงทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยพระองค์เอง เข้าถึงอยู่ในทิฏฐิธรรม ด้วยอาการอย่างนี้ ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิในความสิ้นอาสวะนั้น นี้ชื่อว่าพระตถาคตทรงทราบความสิ้นอาสวะตาม ความเป็นจริง (๑๐)
ญาณวิภังค์ จบบริบูรณ์
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๓๓}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๕ หน้าที่ ๕๓๑-๕๓๓. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=35&A=15023&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=35&siri=64              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=35&A=11353&Z=11721&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35&i=835              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=35&item=835&items=14              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=35&item=835&items=14              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu35

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]