ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] วิภังคปกรณ์

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

๒. ทุกนิทเทส

[๘๙๗] สัสสตทิฏฐิ เป็นไฉน ความเห็นว่า อัตตาและโลกเที่ยง ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ฯลฯ ความ ยึดถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า สัสสตทิฏฐิ อุจเฉททิฏฐิ เป็นไฉน ความเห็นว่า อัตตาและโลกขาดสูญ ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ฯลฯ ความยึดถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า อุจเฉททิฏฐิ (๗) [๘๙๘] อันตวาทิฏฐิ เป็นไฉน ความเห็นว่า อัตตาและโลกมีที่สุด ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ฯลฯ ความ ยึดถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า อันตวาทิฏฐิ อนันตวาทิฏฐิ เป็นไฉน ความเห็นว่า อัตตาและโลกไม่มีที่สุด ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ฯลฯ ความยึดถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า อนันตวาทิฏฐิ (๘) [๘๙๙] ปุพพันตานุทิฏฐิ เป็นไฉน ทิฏฐิ ธรรมชาติที่นับว่าทิฏฐิ ฯลฯ ความยึดถือโดยวิปลาส ปรารภส่วน อดีตเกิดขึ้น นี้เรียกว่า ปุพพันตานุทิฏฐิ อปรันตานุทิฏฐิ เป็นไฉน ทิฏฐิ ธรรมชาติที่นับว่าทิฏฐิ ฯลฯ ความยึดถือโดยวิปลาส ปรารภส่วน อนาคตเกิดขึ้น นี้เรียกว่า อปรันตานุทิฏฐิ (๙) [๙๐๐] อหิริกะ เป็นไฉน ความไม่ละอายต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่ควรละอาย ความไม่ละอาย ต่อการประกอบบาปอกุศลธรรมทั้งหลาย นี้เรียกว่า อหิริกะ อโนตตัปปะ เป็นไฉน ความไม่เกรงกลัวต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่ควรเกรงกลัว ความไม่ เกรงกลัวต่อการประกอบบาปอกุศลธรรมทั้งหลาย นี้เรียกว่า อโนตตัปปะ (๑๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๖๓}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

๒. ทุกนิทเทส

[๙๐๑] โทวจัสสตา เป็นไฉน ความเป็นผู้ว่ายาก กิริยาที่เป็นผู้ว่ายาก ภาวะที่เป็นผู้ว่ายาก ความยึดถือ ข้างขัดขืน ความพอใจทางโต้แย้ง ความไม่เอื้อเฟื้อ กิริยาที่ไม่เอื้อเฟื้อ ความไม่เคารพ ความไม่เชื่อฟังในเมื่อถูกว่ากล่าวโดยชอบธรรม นี้เรียกว่า โทวจัสสตา ปาปมิตตตา เป็นไฉน บุคคลเหล่าใดไม่มีศรัทธา ไม่มีศีล มีการศึกษาน้อย มีความตระหนี่ มีปัญญาทราม การเสพ การเสพเป็นนิตย์ การเสพด้วยดี การคบ การคบด้วยดี ความภักดี ความจงรักภักดีต่อบุคคลเหล่านั้น ความเป็นผู้ร่วมพวกกับบุคคลเหล่า นั้น นี้เรียกว่า ปาปมิตตตา (๑๑) [๙๐๒] อนัชชวะ เป็นไฉน ความไม่ซื่อตรง ภาวะที่ไม่ซื่อตรง ความคด ความงอ ความโกง นี้เรียกว่า อนัชชวะ อมัททวะ เป็นไฉน ความไม่อ่อนโยน ภาวะที่ไม่อ่อน ความกระด้าง ความหยาบคาย ภาวะที่ กระด้าง ความแข็งกระด้าง ความมีจิตแข็งกระด้าง ความไม่อ่อนโยน นี้เรียกว่า อมัททวะ (๑๒) [๙๐๓] อขันติ เป็นไฉน ความไม่อดทน ภาวะที่ไม่อดทน ความไม่อดกลั้น ความดุร้าย ความ เกรี้ยวกราด ความที่จิตไม่เบิกบาน นี้เรียกว่า อขันติ อโสรัจจะ เป็นไฉน ความล่วงละเมิดทางกาย ความล่วงละเมิดทางวาจา ความล่วงละเมิดทาง กายและทางวาจา นี้เรียกว่า ความไม่เสงี่ยม ความเป็นผู้ทุศีลแม้ทั้งหมดเรียกว่า อโสรัจจะ (๑๓) [๙๐๔] อสาขัลยะ เป็นไฉน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๖๔}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

๒. ทุกนิทเทส

วาจาใดเป็นปม หยาบคาย เผ็ดร้อนต่อผู้อื่น กระทบกระทั่งผู้อื่น ใกล้ต่อ ความโกรธ ไม่เป็นไปเพื่อสมาธิ บุคคลเป็นผู้พูดวาจาเช่นนั้น ความเป็นผู้มีวาจาไม่ อ่อนหวาน ความเป็นผู้มีวาจาไม่ละมุนละมัย ความเป็นผู้มีวาจาหยาบ ในลักษณะ ดังกล่าวนั้น นี้เรียกว่า อสาขัลยะ อัปปฏิสันถาร เป็นไฉน ปฏิสันถาร ๒ คือ อามิสปฏิสันถาร และธัมมปฏิสันถาร บุคคลบางคนใน โลกนี้เป็นผู้ไม่ทำการปฏิสันถารด้วยอามิสปฏิสันถาร หรือด้วยธัมมปฏิสันถาร นี้เรียกว่า อัปปฏิสันถาร (๑๔) [๙๐๕] ความเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้เห็นรูปด้วยจักษุแล้วรวบถือ แยกถือ ซึ่งเมื่อไม่สำรวม แล้วก็จะเป็นเหตุให้บาปอกุศลธรรมคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ ไม่ปฏิบัติเพื่อ สำรวมในจักขุนทรีย์ ไม่รักษาจักขุนทรีย์ ไม่ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ฟังเสียง ด้วยหู ฯลฯ สูดกลิ่นด้วยจมูก ฯลฯ ลิ้มรสด้วยลิ้น ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ฯลฯ รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้วรวบถือ แยกถือ ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุให้ บาปอกุศลธรรมคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ ไม่ปฏิบัติเพื่อสำรวมในมนินทรีย์ นั้น ไม่รักษามนินทรีย์ ไม่ถึงความสำรวมในมนินทรีย์ ความไม่คุ้มครอง กิริยาที่ ไม่คุ้มครอง ความไม่รักษา ความไม่สำรวมในอินทรีย์ ๖ เหล่านี้ นี้เรียกว่า ความ เป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ความเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณในการบริโภค เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่พิจารณาโดยแยบคายย่อมบริโภคอาหารเพื่อเล่น เพื่อ ความมัวเมา เพื่อให้ผิวพรรณสวยงาม เพื่อความอ้วนพี ความไม่สันโดษ ความไม่ รู้จักประมาณ ความไม่พิจารณาในโภชนะนั้น นี้เรียกว่า ความเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณ ในการบริโภค (๑๕) [๙๐๖] มุฏฐัสสัจจะ เป็นไฉน ความระลึกไม่ได้ ความหวนระลึกไม่ได้ ความระลึกย้อนหลังไม่ได้ ความระลึก ไม่ได้ ภาวะที่ระลึกไม่ได้ ภาวะที่ทรงจำไม่ได้ ความเลื่อนลอย ความหลงลืมสติ นี้เรียกว่า มุฏฐัสสัจจะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๖๕}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

๓. ติกนิทเทส

อสัมปชัญญะ เป็นไฉน ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ นี้เรียกว่า อสัมปชัญญะ (๑๖) [๙๐๗] สีลวิบัติ เป็นไฉน ความล่วงละเมิดทางกาย ความล่วงละเมิดทางวาจา ความล่วงละเมิดทาง กายและทางวาจา นี้เรียกว่า สีลวิบัติ ความเป็นผู้ทุศีลแม้ทั้งหมดชื่อว่าสีลวิบัติ ทิฏฐิวิบัติ เป็นไฉน ความเห็นว่า ทานที่บุคคลให้แล้วไม่มีผล การบูชาไม่มีผล ฯลฯ สมณ- พราหมณ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบทำให้แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งด้วย ตนเองแล้วสอนให้ผู้อื่นรู้ ไม่มีในโลก ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ความยึดถือ โดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ทิฏฐิวิบัติ มิจฉาทิฏฐิแม้ทั้งหมดเรียกว่า ทิฏฐิวิบัติ (๑๗) [๙๐๘] อัชฌัตตสัญโญชนะ เป็นไฉน สังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ชื่อว่าอัชฌัตตสัญโญชนะ๑- (พหิทธสัญโญชนะ เป็นไฉน) สังโยชน์เบื้องสูง ๕ ชื่อว่าพหิทธสัญโญชนะ๒- (๑๘)
ทุกนิทเทส จบ
๓. ติกนิทเทส
[๙๐๙] บรรดามาติกาเหล่านั้น อกุศลมูล ๓ เป็นไฉน อกุศลมูล ๓ คือ โลภะ โทสะ และโมหะ @เชิงอรรถ : @ คือสังโยชน์ในกามภพ (อภิ.วิ.อ. ๙๐๘/๕๓๕) @ คือสังโยชน์ในรูปภพและอรูปภพ (อภิ.วิ.อ. ๙๐๘/๕๓๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๖๖}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๕ หน้าที่ ๕๖๓-๕๖๖. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=35&A=15920&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=35&siri=67              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=35&A=12174&Z=12334&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35&i=908              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=35&item=908&items=18              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=35&item=908&items=18              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu35

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]