ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] วิภังคปกรณ์

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

๒. ทุกนิทเทส

วาจาใดเป็นปม หยาบคาย เผ็ดร้อนต่อผู้อื่น กระทบกระทั่งผู้อื่น ใกล้ต่อ ความโกรธ ไม่เป็นไปเพื่อสมาธิ บุคคลเป็นผู้พูดวาจาเช่นนั้น ความเป็นผู้มีวาจาไม่ อ่อนหวาน ความเป็นผู้มีวาจาไม่ละมุนละมัย ความเป็นผู้มีวาจาหยาบ ในลักษณะ ดังกล่าวนั้น นี้เรียกว่า อสาขัลยะ อัปปฏิสันถาร เป็นไฉน ปฏิสันถาร ๒ คือ อามิสปฏิสันถาร และธัมมปฏิสันถาร บุคคลบางคนใน โลกนี้เป็นผู้ไม่ทำการปฏิสันถารด้วยอามิสปฏิสันถาร หรือด้วยธัมมปฏิสันถาร นี้เรียกว่า อัปปฏิสันถาร (๑๔) [๙๐๕] ความเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้เห็นรูปด้วยจักษุแล้วรวบถือ แยกถือ ซึ่งเมื่อไม่สำรวม แล้วก็จะเป็นเหตุให้บาปอกุศลธรรมคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ ไม่ปฏิบัติเพื่อ สำรวมในจักขุนทรีย์ ไม่รักษาจักขุนทรีย์ ไม่ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ฟังเสียง ด้วยหู ฯลฯ สูดกลิ่นด้วยจมูก ฯลฯ ลิ้มรสด้วยลิ้น ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ฯลฯ รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้วรวบถือ แยกถือ ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุให้ บาปอกุศลธรรมคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ ไม่ปฏิบัติเพื่อสำรวมในมนินทรีย์ นั้น ไม่รักษามนินทรีย์ ไม่ถึงความสำรวมในมนินทรีย์ ความไม่คุ้มครอง กิริยาที่ ไม่คุ้มครอง ความไม่รักษา ความไม่สำรวมในอินทรีย์ ๖ เหล่านี้ นี้เรียกว่า ความ เป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ความเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณในการบริโภค เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่พิจารณาโดยแยบคายย่อมบริโภคอาหารเพื่อเล่น เพื่อ ความมัวเมา เพื่อให้ผิวพรรณสวยงาม เพื่อความอ้วนพี ความไม่สันโดษ ความไม่ รู้จักประมาณ ความไม่พิจารณาในโภชนะนั้น นี้เรียกว่า ความเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณ ในการบริโภค (๑๕) [๙๐๖] มุฏฐัสสัจจะ เป็นไฉน ความระลึกไม่ได้ ความหวนระลึกไม่ได้ ความระลึกย้อนหลังไม่ได้ ความระลึก ไม่ได้ ภาวะที่ระลึกไม่ได้ ภาวะที่ทรงจำไม่ได้ ความเลื่อนลอย ความหลงลืมสติ นี้เรียกว่า มุฏฐัสสัจจะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๖๕}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

๓. ติกนิทเทส

อสัมปชัญญะ เป็นไฉน ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ นี้เรียกว่า อสัมปชัญญะ (๑๖) [๙๐๗] สีลวิบัติ เป็นไฉน ความล่วงละเมิดทางกาย ความล่วงละเมิดทางวาจา ความล่วงละเมิดทาง กายและทางวาจา นี้เรียกว่า สีลวิบัติ ความเป็นผู้ทุศีลแม้ทั้งหมดชื่อว่าสีลวิบัติ ทิฏฐิวิบัติ เป็นไฉน ความเห็นว่า ทานที่บุคคลให้แล้วไม่มีผล การบูชาไม่มีผล ฯลฯ สมณ- พราหมณ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบทำให้แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งด้วย ตนเองแล้วสอนให้ผู้อื่นรู้ ไม่มีในโลก ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ความยึดถือ โดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ทิฏฐิวิบัติ มิจฉาทิฏฐิแม้ทั้งหมดเรียกว่า ทิฏฐิวิบัติ (๑๗) [๙๐๘] อัชฌัตตสัญโญชนะ เป็นไฉน สังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ชื่อว่าอัชฌัตตสัญโญชนะ๑- (พหิทธสัญโญชนะ เป็นไฉน) สังโยชน์เบื้องสูง ๕ ชื่อว่าพหิทธสัญโญชนะ๒- (๑๘)
ทุกนิทเทส จบ
๓. ติกนิทเทส
[๙๐๙] บรรดามาติกาเหล่านั้น อกุศลมูล ๓ เป็นไฉน อกุศลมูล ๓ คือ โลภะ โทสะ และโมหะ @เชิงอรรถ : @ คือสังโยชน์ในกามภพ (อภิ.วิ.อ. ๙๐๘/๕๓๕) @ คือสังโยชน์ในรูปภพและอรูปภพ (อภิ.วิ.อ. ๙๐๘/๕๓๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๖๖}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๕ หน้าที่ ๕๖๕-๕๖๖. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=35&A=15976&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=35&siri=67              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=35&A=12174&Z=12334&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35&i=908              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=35&item=908&items=18              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=35&item=908&items=18              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu35

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]