ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] วิภังคปกรณ์

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

๓. ติกนิทเทส

ความประพฤติย่อหย่อน ความทอดทิ้งฉันทะ ความทอดทิ้งธุระ ความไม่เสพ ความไม่ทำให้เจริญ ความไม่ทำให้มาก ความไม่ตั้งใจมั่น ความไม่หมั่นประกอบ ความประมาทในการเจริญสภาวธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศล ความประมาท กิริยาที่ ประมาท ภาวะที่ประมาท มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ปมาทะ (๒๗) [๙๒๙] อสันตุฏฐิตา เป็นไฉน ความอยากได้ยิ่งๆ ขึ้นไปของบุคคลผู้ไม่สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารตามมีตามได้ หรือด้วยกามคุณ ๕ ความอยาก ความ ปรารถนา ความไม่สันโดษ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความกำหนัดนักแห่ง จิต มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า อสันตุฏฐิตา อสัมปชัญญตา เป็นไฉน ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ นี้เรียกว่า อสัมปชัญญตา มหิจฉตา เป็นไฉน ความอยากได้ยิ่งๆ ขึ้นไปของบุคคลผู้ไม่สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารตามมีตามได้ หรือด้วยกามคุณ ๕ ความอยาก ความ ปรารถนา ความมักมาก ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความกำหนัดนักแห่งจิต มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า มหิจฉตา (๒๘) [๙๓๐] อหิริกะ เป็นไฉน ความไม่ละอายต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่ควรละอาย ความไม่ละอาย ต่อการประกอบบาปอกุศลธรรมทั้งหลาย นี้เรียกว่า อหิริกะ อโนตตัปปะ เป็นไฉน ความไม่เกรงกลัวการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่ควรเกรงกลัว ความไม่เกรงกลัว ต่อการประกอบบาปอกุศลธรรมทั้งหลาย นี้เรียกว่า อโนตตัปปะ ปมาทะ เป็นไฉน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๘๒}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

๓. ติกนิทเทส

ความปล่อยจิต การเพิ่มพูนความปล่อยจิตไปในกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต หรือในกามคุณ ๕ การทำโดยไม่เคารพ การทำโดยไม่ติดต่อ การทำโดยไม่มั่นคง ความประพฤติย่อหย่อน ความทอดทิ้งฉันทะ ความทอดทิ้งธุระ ความไม่เสพ ความไม่ทำให้เจริญ ความไม่ทำให้มาก ความไม่ตั้งใจมั่น ความไม่หมั่นประกอบ ความประมาท ในการเจริญสภาวธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศล ความประมาท กิริยา ที่ประมาท ภาวะที่ประมาท มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ปมาทะ (๒๙) [๙๓๑] อนาทริยะ เป็นไฉน ความไม่เอื้อเฟื้อ กิริยาที่ไม่เอื้อเฟื้อ ความไม่เคารพ ความไม่เชื่อฟัง ความ ไม่เชื่อถือ กิริยาที่ไม่เชื่อถือ ภาวะที่ไม่เชื่อถือ ความไม่มีศีล ความไม่ยำเกรง นี้เรียกว่า อนาทริยะ โทวจัสสตา เป็นไฉน ความที่เป็นผู้ว่ายาก กิริยาที่เป็นผู้ว่ายาก ภาวะที่เป็นผู้ว่ายาก ความถือรั้น ความพอใจในการโต้แย้ง ความไม่เอื้อเฟื้อ ภาวะที่ไม่เอื้อเฟื้อ ความไม่เคารพ ความไม่เชื่อฟังในเมื่อถูกว่ากล่าวโดยชอบธรรม นี้เรียกว่า โทวจัสสตา ปาปมิตตตา เป็นไฉน บุคคลเหล่าใดไม่มีศรัทธา ไม่มีศีล เป็นผู้มีสุตะน้อย มีความตระหนี่ มี ปัญญาทราม การเสพ การเสพเป็นนิตย์ การเสพด้วยดี การเสพเฉพาะ การคบ การคบด้วยดี ความภักดี ความจงรักภักดี ความเป็นผู้โน้มไปตามบุคคลเหล่านั้น นี้เรียกว่า ปาปมิตตตา (๓๐) [๙๓๒] อัสสัทธิยะ เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ไม่เชื่อพระพุทธเจ้า พระธรรม หรือ พระสงฆ์ ความไม่เชื่อ กิริยาที่ไม่เชื่อ กิริยาที่ไม่ปักใจเชื่อ ความไม่เลื่อมใสยิ่ง มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า อัสสัทธิยะ อวทัญญุตา เป็นไฉน ความตระหนี่มี ๕ อย่างคือ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๘๓}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

๓. ติกนิทเทส

๑. อาวาสมัจฉริยะ (ตระหนี่ที่อยู่) ๒. กุลมัจฉริยะ (ตระหนี่ตระกูล) ๓. ลาภมัจฉริยะ (ตระหนี่ลาภ) ๔. วัณณมัจฉริยะ (ตระหนี่วรรณะ) ๕. ธัมมมัจฉริยะ (ตระหนี่ธรรม) ความตระหนี่ กิริยาที่ตระหนี่ ภาวะที่ตระหนี่ ความหวงแหน ความถี่เหนียว ความปกปิด ภาวะที่จิตหวงแหน มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า อวทัญญุตา โกสัชชะ เป็นไฉน ความปล่อยจิต การเพิ่มพูนความปล่อยจิตไปในกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต หรือในกามคุณ ๕ การไม่ทำโดยเคารพ การไม่ทำโดยติดต่อ การทำโดยไม่มั่นคง ความประพฤติย่อหย่อน ความทอดทิ้งฉันทะ ความทอดทิ้งธุระ ความไม่เสพ ความ ไม่ทำให้เจริญ ความไม่ทำให้มาก ความไม่ตั้งใจมั่น ความไม่หมั่นประกอบ ความ ประมาทในการเจริญสภาวธรรมที่เป็นกุศล นี้เรียกว่า โกสัชชะ (๓๑) [๙๓๓] อุทธัจจะ เป็นไฉน ความฟุ้งซ่าน ความไม่สงบแห่งจิต ความซัดส่าย ความพล่านไปแห่งจิต นี้เรียกว่า อุทธัจจะ อสังวร เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้เห็นรูปด้วยตาแล้วรวบถือ แยกถือ ไม่ปฏิบัติเพื่อสำรวมใน จักขุนทรีย์ ซึ่งเมื่อไม่ปฏิบัติแล้วก็จะเป็นเหตุให้บาปอกุศลธรรมคืออภิชฌาและโทมนัส ครอบงำได้ ไม่รักษาจักขุนทรีย์ ไม่ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ฟังเสียด้วยหู ฯลฯ สูดกลิ่นด้วยจมูก ฯลฯ ลิ้มรสด้วยลิ้น ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ฯลฯ รู้ ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้วรวบถือ แยกถือ ไม่ปฏิบัติเพื่อสำรวมในมนินทรีย์ ซึ่งเมื่อไม่ สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุให้บาปอกุศลธรรมคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ ไม่รักษา มนินทรีย์ ไม่ถึงความสำรวมในมนินทรีย์ นี้เรียกว่า อสังวร ทุสสีลยะ เป็นไฉน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๘๔}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

๓. ติกนิทเทส

ความล่วงละเมิดทางกาย ความล่วงละเมิดทางวาจา ความล่วงละเมิดทาง กายและทางวาจา นี้เรียกว่า ทุสสีลยะ (๓๒) [๙๓๔] อริยานัง อทัสสนกัมยตา เป็นไฉน บรรดาบุคคลเหล่านั้น พระอริยะ เป็นไฉน พระพุทธเจ้าและสาวกของพระพุทธเจ้าเรียกว่า พระอริยะ ความไม่ต้องการจะ พบ ความไม่ต้องการจะเห็น ความไม่ต้องการจะเข้าใกล้ ความไม่ต้องการจะสมาคม กับพระอริยะเหล่านี้ นี้เรียกว่า อริยานัง อทัสสนกัมยตา สัทธัมมัง อโสตุกัมยตา เป็นไฉน บรรดาบทเหล่านั้น สัทธรรม เป็นไฉน สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เรียกว่า สัทธรรม ความไม่ต้องการจะฟัง ความไม่ต้องการจะสดับ ความไม่ต้องการจะเรียน ความไม่ต้องการจะทรงจำสัทธรรมนี้ นี้เรียกว่า สัทธัมมัง อโสตุกัมยตา อุปารัมภจิตตตา เป็นไฉน บรรดาบทเหล่านั้น อุปารัมภจิตตตา เป็นไฉน ความคิดแข่งดี ความคิดแข่งดีเนืองๆ กิริยาที่คิดแข่งดี กิริยาที่คิดแข่งดี เนืองๆ ภาวะที่คิดแข่งดีเนืองๆ ความดูถูก ความดูหมิ่น ความดูแคลน ความ เป็นผู้คอยแสวงหาโทษ นี้เรียกว่า อุปารัมภจิตตตา (๓๓) [๙๓๕] มุฏฐัสสัจจะ เป็นไฉน ความระลึกไม่ได้ ความหวนระลึกไม่ได้ ความย้อนระลึกไม่ได้ ความระลึกไม่ได้ ภาวะที่ระลึกไม่ได้ ความทรงจำไม่ได้ ความเลื่อนลอย ความหลงลืม นี้เรียกว่า มุฏฐัสสัจจะ อสัมปชัญญะ เป็นไฉน ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ นี้เรียกว่า อสัมปชัญญะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๘๕}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

๔. จตุกกนิทเทส

เจตโสวิกเขปะ เป็นไฉน ความฟุ้งซ่านแห่งจิต ความไม่สงบแห่งจิต ความซัดส่ายแห่งจิต ความพล่าน ไปแห่งจิต นี้เรียกว่า เจตโสวิกเขปะ (๓๔) [๙๓๖] อโยนิโสมนสิการ เป็นไฉน ความไม่ใส่ใจโดยแยบคายในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง ความไม่ใส่ใจโดยแยบคายใน สิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข ความไม่ใส่ใจโดยแยบคายในสิ่งที่ไม่ใช่ตัวตนว่าเป็นตัวตน ความไม่ใส่ใจโดยแยบคายในสิ่งที่ไม่งามว่างาม หรือความนึก ความนึกเนืองๆ ความคำนึง ความพิจารณา ความใคร่ครวญแห่งจิตโดยผิดจากความจริง นี้เรียกว่า อโยนิโสมนสิการ กุมมัคคเสวนา เป็นไฉน บรรดาสภาวธรรมเหล่านั้น กุมมัคคะ เป็นไฉน มิจฉาทิฏฐิ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวาจา มิจฉากัมมันตะ มิจฉาอาชีวะ มิจฉาวายามะ มิจฉาสติ มิจฉาสมาธิ นี้เรียกว่า กุมมัคคะ การเสพ การเสพเป็นนิตย์ การเสพด้วยดี การคบ การคบด้วยดี ความภักดี ความจงรักภักดี ความเป็นผู้โน้มน้าวไปตามทางผิด นี้เรียกว่า กุมมัคคเสวนา เจตโสลีนัตตะ เป็นไฉน ความที่จิตไม่คล่องแคล่ว ไม่ควรแก่การงาน ความท้อแท้ ความท้อถอย ความย่อหย่อน กิริยาที่ย่อหย่อน ภาวะที่ย่อหย่อน ความซึมเซา กิริยาที่ซึมเซา ภาวะที่จิตซึมเซา นี้เรียกว่า เจตโสลีนัตตะ (๓๕)
ติกนิทเทส จบ

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๕ หน้าที่ ๕๘๒-๕๘๖. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=35&A=16469&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=35&siri=68              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=35&A=12335&Z=12792&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35&i=926              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=35&item=926&items=35              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=35&item=926&items=35              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu35

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]