ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] วิภังคปกรณ์

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

๔. จตุกกนิทเทส

วิปริเยสะ ๔ เป็นไฉน การแสวงหาผิดด้วยอำนาจความเข้าใจ ความคิด และความเห็นว่าเที่ยงใน สิ่งที่ไม่เที่ยง ว่าเป็นสุขในสิ่งที่เป็นทุกข์ ว่าเป็นตัวตนในสิ่งที่ไม่เป็นตัวตน และว่า งามในสิ่งที่ไม่งาม นี้ชื่อว่าวิปริเยสะ ๔ (๘) อนริยโวหาร ๔ เป็นไฉน อนริยโวหาร ๔ คือ ๑. เรื่องที่ไม่เห็นพูดว่าเห็น ๒. เรื่องที่ไม่ได้ยินพูดว่าได้ยิน ๓. เรื่องที่ไม่รู้พูดว่ารู้ ๔. เรื่องที่ไม่รู้แจ้งพูดว่ารู้แจ้ง เหล่านี้เรียกว่า อนริยโวหาร ๔ (๙) อนริยโวหาร ๔ อีกนัยหนึ่ง เป็นไฉน อนริยโวหาร ๔ อีกนัยหนึ่ง คือ ๑. เรื่องที่เห็นพูดว่าไม่เห็น ๒. เรื่องที่ได้ยินพูดว่าไม่ได้ยิน ๓. เรื่องที่รู้พูดว่าไม่รู้ ๔. เรื่องที่รู้แจ้งพูดว่าไม่รู้แจ้ง เหล่านี้เรียกว่า อนริยโวหาร ๔ (๑๐) ทุจริต ๔ เป็นไฉน ทุจริต ๔ คือ ๑. ปาณาติบาต (ฆ่าสัตว์) ๒. อทินนาทาน (ลักทรัพย์) ๓. กาเมสุมิจฉาจาร (ประพฤติผิดในกาม) ๔. มุสาวาท (พูดเท็จ) เหล่านี้เรียกว่า ทุจริต ๔ (๑๑) ทุจริต ๔ อีกนัยหนึ่ง เป็นไฉน ทุจริต ๔ อีกนัยหนึ่ง คือ ๑. มุสาวาท (พูดเท็จ) ๒. ปิสุณวาจา (พูดส่อเสียด) ๓. ผรุสวาจา (พูดคำหยาบ) ๔. สัมผัปปลาปะ (พูดเพ้อเจ้อ) เหล่านี้เรียกว่า ทุจริต ๔ (๑๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๙๐}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

๔. จตุกกนิทเทส

ภัย ๔ เป็นไฉน ภัย ๔ คือ ๑. ชาติภัย (ภัยที่เกิดเพราะอาศัยชาติ) ๒. ชราภัย (ภัยที่เกิดเพราะอาศัยชรา) ๓. พยาธิภัย (ภัยที่เกิดเพราะอาศัยพยาธิ) ๔. มรณภัย (ภัยที่เกิดเพราะอาศัยความตาย) เหล่านี้เรียกว่า ภัย ๔ (๑๓) ภัย ๔ อีกนัยหนึ่ง เป็นไฉน ภัย ๔ คือ ๑. ราชภัย (ภัยเกิดแต่พระราชา) ๒. โจรภัย (ภัยเกิดแต่โจร) ๓. อัคคิภัย (ภัยเกิดแต่ไฟ) ๔. อุทกภัย (ภัยเกิดแต่น้ำท่วม) เหล่านี้เรียกว่า ภัย ๔ (๑๔) ภัย ๔ อีกนัยหนึ่ง เป็นไฉน ภัย ๔ คือ ๑. อูมิภัย (ภัยเกิดแต่คลื่น) ๒. กุมภีลภัย (ภัยเกิดแต่จระเข้) ๓. อาวัฏฏภัย (ภัยเกิดแต่น้ำวน) ๔. สุสุกาภัย (ภัยเกิดแต่ปลาร้าย) เหล่านี้เรียกว่า ภัย ๔ (๑๕) ภัย ๔ อีกนัยหนึ่ง เป็นไฉน ภัย ๔ คือ ๑. อัตตานุวาทภัย (ภัยเกิดจากการติเตียนตนเอง) ๒. ปรานุวาทภัย (ภัยเกิดจากการถูกผู้อื่นติเตียน) ๓. ทัณฑภัย (ภัยเกิดจากการถูกลงอาชญา) ๔. ทุคคติภัย (ภัยเกิดจากทุคติ) เหล่านี้เรียกว่า ภัย ๔ (๑๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๙๑}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

๕. ปัญจกนิทเทส

ทิฏฐิ ๔ เป็นไฉน ความเห็นเกิดขึ้นโดยจริงแท้มั่นคงว่า สุขทุกข์ตนทำขึ้นเอง และสุขทุกข์คนอื่น ทำให้ ความเห็นเกิดขึ้นโดยจริงแท้มั่นคงว่า สุขทุกข์เป็นสิ่งที่ตนทำขึ้นเองและผู้อื่นทำให้ สุขทุกข์ไม่ใช่ตนเองและผู้อื่นทำให้ แต่เกิดขึ้นเองโดยเฉพาะ เหล่านี้ชื่อว่าทิฏฐิ ๔ (๑๗)
จตุกกนิทเทส จบ

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๕ หน้าที่ ๕๙๐-๕๙๒. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=35&A=16699&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=35&siri=69              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=35&A=12793&Z=12910&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35&i=961              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=35&item=961&items=15              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=35&item=961&items=15              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu35

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]