ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] วิภังคปกรณ์

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๗. สติปัฏฐานวิภังค์]

๑. สุตตันตภาชนีย์

๗. สติปัฏฐานวิภังค์
๑. สุตตันตภาชนีย์
[๓๕๕] สติปัฏฐาน๑- ๔ ได้แก่ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. พิจารณาเห็นกายในกายภายในตนอยู่ พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกตนอยู่ พิจารณาเห็นกายในกายภายในตนและภายนอกตนอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัส ในโลกได้ ๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายในตนอยู่ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายนอกตนอยู่ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายในตนและภายนอกตนอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัส ในโลกได้ ๓. พิจารณาเห็นจิตในจิตภายในตนอยู่ พิจารณเห็นจิตในจิตภายนอกตนอยู่ พิจารณาเห็นจิตในจิตภายในตนและภายนอกตนอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัส ในโลกได้ ๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในตนอยู่ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกตนอยู่ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในตนและภายนอกตนอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัส ในโลกได้ @เชิงอรรถ : @ ที.ม. ๑๐/๓๗๓/๒๔๘, ม.มู. ๑๒/๑๐๕-๑๓๘/๗๗-๙๗ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๓๐๖}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๗. สติปัฏฐานวิภังค์]

๑. สุตตันตภาชนีย์ ๑. กายานุปัสสนานิทเทส

๑. กายานุปัสสนานิทเทส
เห็นกายในกายภายในตน
[๓๕๖] ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายภายในตนอยู่ เป็นอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นกายภายในตน เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นไป เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงมา มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มไปด้วยสิ่งไม่สะอาดต่างๆ ว่า ในกายนี้ มีผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดนิมิตนั้นด้วยดี ครั้นเสพ เจริญ ทำให้ มาก กำหนดนิมิตนั้นด้วยดีแล้วจึงส่งจิตไปในกายภายนอกตน
เห็นกายในกายภายนอกตน
ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายภายนอกตนอยู่ เป็นอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นกายภายนอกตน เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นไป เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงมา มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มไปด้วยสิ่งที่ไม่สะอาดต่างๆ ว่า ในกายของเขามี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดนิมิตนั้นด้วยดี ครั้นเสพ เจริญ ทำให้ มาก กำหนดนิมิตนั้นด้วยดีแล้วจึงส่งจิตไปในกายภายในตนและภายนอกตน
เห็นกายในกายภายในตนและภายนอกตน
ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายภายในตนและภายนอกตนอยู่ เป็นอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นกายภายในตนและภายนอกตน เบื้องบน แต่พื้นเท้าขึ้นไป เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงมา มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มไปด้วยสิ่งที่ไม่ สะอาดต่างๆ ว่า ในกายนี้ มีผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อใน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๓๐๗}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๗. สติปัฏฐานวิภังค์]

๑. สุตตันตภาชนีย์ ๑. กายานุปัสสนานิทเทส

กระดูก ไต หัวใจ ตับ พังพืด ม้าม ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายภายในตนและภายนอก ตนอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ [๓๕๗] ในคำว่า พิจารณาเห็น นั้น การพิจารณาเห็น เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ นี้เรียกว่า การพิจารณาเห็น ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว เข้าไปถึงแล้วด้วยดี เข้ามาถึงแล้ว เข้ามาถึงแล้วด้วยดี เข้าถึงแล้ว เข้าถึงแล้วด้วยดี ประกอบแล้วด้วยการพิจารณาเห็นนี้ เพราะฉะนั้นจึง เรียกว่า พิจารณาเห็น [๓๕๘] คำว่า อยู่ อธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ดำเนินไปอยู่ รักษาอยู่ เป็น ไปอยู่ ให้เป็นไปอยู่ เที่ยวไปอยู่ พักอยู่ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า อยู่ [๓๕๙] ในคำว่า มีความเพียร นั้น ความเพียร เป็นไฉน การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ นี้เรียกว่า ความเพียร ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว เข้าไปถึงแล้วด้วยดี เข้ามาถึงแล้ว เข้ามาถึงแล้วด้วยดี เข้าถึงแล้ว เข้าถึงแล้วด้วยดี ประกอบแล้วด้วยความเพียรนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า มีความเพียร [๓๖๐] ในคำว่า มีสัมปชัญญะ นั้น สัมปชัญญะ เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ นี้เรียกว่า สัมปชัญญะ ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว เข้าไปถึงแล้วด้วยดี เข้ามาถึงแล้ว เข้ามาถึงแล้ว ด้วยดี เข้าถึงแล้ว เข้าถึงแล้วด้วยดี ประกอบแล้วด้วยสัมปชัญญะนี้ เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า มีสัมปชัญญะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๓๐๘}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๗. สติปัฏฐานวิภังค์]

๑. สุตตันตภาชนีย์ ๑. กายานุปัสสนานิทเทส

[๓๖๑] ในคำว่า มีสติ นั้น สติ เป็นไฉน สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ นี้เรียกว่า สติ ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว เข้าไปถึงแล้วด้วยดี เข้ามาถึงแล้ว เข้ามาถึงแล้ว ด้วยดี เข้าถึงแล้ว เข้าถึงแล้วด้วยดี ประกอบแล้วด้วยสตินี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า มีสติ [๓๖๒] ในคำว่า พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ นั้น โลก เป็นไฉน กายนั้นนั่นแหละชื่อว่าโลก๑- อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ ก็ชื่อว่าโลก นี้เรียกว่า โลก อภิชฌา เป็นไฉน ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิต นี้เรียกว่า อภิชฌา โทมนัส เป็นไฉน ความไม่สำราญทางใจ ความทุกข์ทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญเป็น ทุกข์ อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญเป็นทุกข์ อันเกิดแต่ เจโตสัมผัส นี้เรียกว่า โทมนัส อภิชฌาและโทมนัสนี้ ดังที่กล่าวมานี้ ถูกกำจัด ถูกกำจัดราบคาบ สงบ ระงับ สงบเงียบ ดับไป ดับไปอย่างราบคาบ ถูกทำให้พินาศไป ถูกทำให้พินาศย่อยยับไป ถูกทำให้เหือดแห้งไป ถูกทำให้เหือดแห้งไปด้วยดี ถูกทำให้สิ้นไปในโลกนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
กายานุปัสสนานิทเทส จบ
@เชิงอรรถ : @ คำว่า โลก ในสติปัฏฐานนี้หมายถึง กาย เวทนา จิต ธรรม และอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ ดูข้อต่อไปนี้ @คือข้อ ๓๖๔,๓๖๖,๓๗๓ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๓๐๙}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๗. สติปัฏฐานวิภังค์]

๑. สุตตันตภาชนีย์ ๒. เวทนานุปัสสนานิทเทส

๒. เวทนานุปัสสนานิทเทส
เห็นเวทนาในเวทนาภายในตน
[๓๖๓] ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายในตนอยู่ เป็นอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้เมื่อเสวยสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนา เมื่อ เสวยทุกขเวทนา ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนา เมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนา ก็รู้ชัด ว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนา เมื่อเสวยสุขเวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวย สุขเวทนามีอามิส หรือเมื่อเสวยสุขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนาไม่มี อามิส เมื่อเสวยทุกขเวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนามีอามิส หรือเมื่อ เสวยทุกขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนาไม่มีอามิส เมื่อเสวย อทุกขมสุขเวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนามีอามิส หรือเมื่อเสวย อทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิส ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดนิมิตนั้นด้วยดี ครั้นเสพ เจริญ ทำ ให้มาก กำหนดนิมิตนั้นด้วยดีแล้วจึงส่งจิตไปในเวทนาภายนอกตน
เห็นเวทนาในเวทนาภายนอกตน
ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายนอกตนอยู่ เป็นอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้ชัดบุคคลผู้กำลังเสวยสุขเวทนาว่า เขากำลังเสวยสุข- เวทนา รู้ชัดบุคคลผู้กำลังเสวยทุกขเวทนาว่า เขากำลังเสวยทุกขเวทนา รู้ชัดบุคคลผู้ กำลังเสวยอทุกขมสุขเวทนาว่า เขากำลังเสวยอทุกขมสุขเวทนา รู้ชัดบุคคลผู้กำลัง เสวยสุขเวทนามีอามิสว่า เขากำลังเสวยสุขเวทนามีอามิส หรือรู้ชัดบุคคลผู้กำลัง เสวยสุขเวทนาไม่มีอามิสว่า เขากำลังเสวยสุขเวทนาไม่มีอามิส รู้ชัดบุคคลผู้กำลัง เสวยทุกขเวทนามีอามิสว่า เขากำลังเสวยทุกขเวทนามีอามิส หรือรู้ชัดบุคคลผู้กำลัง เสวยทุกขเวทนาไม่มีอามิสว่า เขากำลังเสวยทุกขเวทนาไม่มีอามิส รู้ชัดบุคคลผู้ กำลังเสวยอทุกขมสุขเวทนามีอามิสว่า เขากำลังเสวยอทุกขมสุขเวทนามีอามิส หรือ รู้ชัดบุคคลผู้กำลังเสวยอทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิสว่า เขากำลังเสวยอทุกขมสุข- เวทนาไม่มีอามิส {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๓๑๐}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๗. สติปัฏฐานวิภังค์]

๑. สุตตันตภาชนีย์ ๒. เวทนานุปัสสนานิทเทส

ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดนิมิตนั้นด้วยดี ครั้นเสพ เจริญ ทำ ให้มาก กำหนดนิมิตนั้นด้วยดีแล้วจึงส่งจิตไปในเวทนาภายในตนและภายนอกตน
เห็นเวทนาในเวทนาภายในตนและภายนอกตน
ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายในตนและภายนอกตนอยู่ เป็นอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้ชัดสุขเวทนาว่า เป็นสุขเวทนา รู้ชัดทุกขเวทนาว่า เป็น ทุกขเวทนา รู้ชัดอทุกขมสุขเวทนาว่า เป็นอทุกขมสุขเวทนา รู้ชัดสุขเวทนามีอามิสว่า เป็นสุขเวทนามีอามิส หรือรู้ชัดสุขเวทนาไม่มีอามิสว่า เป็นสุขเวทนาไม่มีอามิส รู้ชัด ทุกขเวทนามีอามิสว่า เป็นทุกขเวทนามีอามิส หรือรู้ชัดทุกขเวทนาไม่มีอามิสว่า เป็นทุกขเวทนาไม่มีอามิส รู้ชัดอทุกขมสุขเวทนามีอามิสว่า เป็นอทุกขมสุขเวทนามี อามิส หรือรู้ชัดอทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิสว่า เป็นอทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิส ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายในตนและ ภายนอกตนอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสใน โลกได้ [๓๖๔] ในคำว่า พิจารณาเห็น ฯลฯ ในคำว่า อยู่ ฯลฯ ในคำว่า มีความเพียร ฯลฯ ในคำว่า มีสัมปชัญญะ ฯลฯ ในคำว่า มีสติ ฯลฯ ในคำว่า พึงกำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกได้ นั้น โลก เป็นไฉน เวทนานั้นนั่นแหละชื่อว่าโลก แม้อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ ก็ชื่อว่าโลก นี้เรียกว่า โลก อภิชฌา เป็นไฉน ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิต นี้เรียกว่า อภิชฌา โทมนัส เป็นไฉน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๓๑๑}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๗. สติปัฏฐานวิภังค์]

๑. สุตตันตภาชนีย์ ๓. จิตตานุปัสสนานิทเทส

ความไม่สำราญทางใจ ความทุกข์ทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญ เป็นทุกข์ อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญเป็นทุกข์ อันเกิดแต่ เจโตสัมผัส นี้เรียกว่า โทมนัส อภิชฌาและโทมนัสนี้ ดังที่กล่าวมานี้ ถูกกำจัด ถูกกำจัดราบคาบ สงบ ระงับ สงบเงียบ ดับไป ดับไปอย่างราบคาบ ถูกทำให้พินาศไป ถูกทำให้พินาศย่อยยับ ไป ถูกทำให้เหือดแห้งไป ถูกทำให้เหือดแห้งไปด้วยดี ถูกทำให้สิ้นไปในโลกนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
เวทนานุปัสสนานิทเทส จบ
๓. จิตตานุปัสสนานิทเทส
เห็นจิตในจิตภายในตน
[๓๖๕] ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตภายในตนอยู่ เป็นอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้ชัดจิตมีราคะว่า จิตของเรามีราคะ หรือรู้ชัดจิตปราศจาก ราคะว่า จิตของเราปราศจากราคะ รู้ชัดจิตมีโทสะว่า จิตของเรามีโทสะ หรือรู้ชัด จิตปราศจากโทสะว่า จิตของเราปราศจากโทสะ รู้ชัดจิตมีโมหะว่า จิตของเรามีโมหะ หรือรู้ชัดจิตปราศจากโมหะว่า จิตของเราปราศจากโมหะ รู้ชัดจิตหดหู่ว่า จิตของเรา หดหู่ รู้ชัดจิตฟุ้งซ่านว่า จิตของเราฟุ้งซ่าน รู้ชัดจิตเป็นมหัคคตะว่า จิตของเราเป็น มหัคคตะ หรือรู้ชัดจิตที่ไม่เป็นมหัคคตะว่า จิตของเราไม่เป็นมหัคคตะ รู้ชัดจิตที่ เป็นสอุตตระว่า จิตของเราเป็นสอุตตระ หรือรู้ชัดจิตเป็นอนุตตระว่า จิตของเราเป็น อนุตตระ รู้ชัดจิตเป็นสมาธิว่า จิตของเราเป็นสมาธิ หรือรู้ชัดจิตไม่เป็นสมาธิ ว่าจิตของเราไม่เป็นสมาธิ รู้ชัดจิตหลุดพ้นว่า จิตของเราหลุดพ้นแล้ว หรือรู้ชัดจิต ที่ยังไม่หลุดพ้นว่า จิตของเรายังไม่หลุดพ้น ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดนิมิตนั้นด้วยดี ครั้นเสพ เจริญ ทำให้ มาก กำหนดนิมิตนั้นด้วยดีแล้วจึงส่งจิตไปในจิตภายนอกตน
เห็นจิตในจิตภายนอกตน
ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตภายนอกตนอยู่ เป็นอย่างไร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๓๑๒}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๗. สติปัฏฐานวิภังค์]

๑. สุตตันตภาชนีย์ ๓. จิตตานุปัสสนานิทเทส

ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้ชัดจิตของผู้นั้นซึ่งมีราคะว่า จิตของเขามีราคะ หรือ รู้ชัดจิตของผู้นั้นซึ่งปราศจากราคะ๑- ว่า จิตของเขาปราศจากราคะ รู้ชัดจิตของผู้นั้นซึ่ง มีโทสะว่า จิตของเขามีโทสะ หรือรู้ชัดจิตของผู้นั้นซึ่งปราศจากโทสะว่า จิตของเขา ปราศจากโทสะ รู้ชัดจิตของผู้นั้นซึ่งมีโมหะว่า จิตของเขามีโมหะ หรือรู้ชัดจิตของผู้นั้น ซึ่งปราศจากโมหะว่า จิตของเขาปราศจากโมหะ รู้ชัดจิตของผู้นั้นซึ่งหดหู่ว่า จิตของ เขาหดหู่ หรือรู้ชัดจิตของผู้นั้นซึ่งฟุ้งซ่านว่า จิตของเขาฟุ้งซ่าน รู้ชัดจิตของผู้นั้นซึ่ง เป็นมหัคคตะว่า จิตของเขาเป็นมหัคคตะ หรือรู้ชัดจิตของผู้นั้นซึ่งไม่เป็นมหัคคตะว่า จิตของเขาไม่เป็นมหัคคตะ รู้ชัดจิตของผู้นั้นซึ่งเป็นสอุตตระว่า จิตของเขาเป็นสอุตตระ หรือรู้ชัดจิตของผู้นั้นซึ่งเป็นอนุตตระว่า จิตของเขาเป็นอนุตตระ รู้ชัดจิตของผู้นั้นซึ่ง เป็นสมาธิว่า จิตของเขาเป็นสมาธิ หรือรู้ชัดจิตของผู้นั้นซึ่งไม่เป็นสมาธิว่า จิตของ เขาไม่เป็นสมาธิ รู้ชัดจิตของผู้นั้นซึ่งหลุดพ้นแล้วว่า จิตของเขาหลุดพ้นแล้ว หรือ รู้ชัดจิตของผู้นั้นซึ่งยังไม่หลุดพ้นว่า จิตของเขายังไม่หลุดพ้น ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดนิมิตนั้นด้วยดี ครั้นเสพ เจริญ ทำให้ มาก กำหนดนิมิตนั้นด้วยดีแล้วจึงส่งจิตไปในจิตภายในตนและภายนอกตน
เห็นจิตในจิตภายในตนและภายนอกตน
ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตภายในตนและภายนอกตนอยู่ เป็นอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้ชัดจิตมีราคะว่า จิตมีราคะ หรือรู้ชัดจิตปราศจากราคะ ว่า จิตปราศจากราคะ รู้ชัดจิตมีโทสะว่า จิตมีโทสะ หรือรู้ชัดจิตปราศจากโทสะว่า จิตปราศจากโทสะ รู้ชัดจิตมีโมหะว่า จิตมีโมหะ หรือรู้ชัดจิต ปราศจากโมหะว่า จิต ปราศจากโมหะ รู้ชัดจิตหดหู่ว่า จิตหดหู่ หรือรู้ชัดจิตฟุ้งซ่านว่า จิตฟุ้งซ่าน รู้ชัด จิตที่เป็นมหัคคตะว่า จิตเป็นมหัคคตะ หรือรู้ชัดจิตที่ไม่เป็นมหัคคตะว่า จิตไม่เป็น มหัคคตะ รู้ชัดจิตที่เป็นสอุตตระว่า จิตเป็นสอุตตระ หรือรู้ชัดจิตที่เป็นอนุตตระว่า จิตเป็นอนุตตระ รู้ชัดจิตที่เป็นสมาธิว่า จิตเป็นสมาธิ หรือรู้ชัดจิตไม่เป็นสมาธิว่า จิตไม่เป็นสมาธิ รู้ชัดจิตที่หลุดพ้นแล้วว่า จิตหลุดพ้นแล้ว หรือรู้ชัดจิตที่ยังไม่หลุด พ้นว่า จิตยังไม่หลุดพ้น @เชิงอรรถ : @ คำว่า “จิตปราศจากราคะ” เป็นต้นในที่นี้หมายถึงโลกิยจิตที่เป็นกุศล ๑๗ วิปากจิต ๓๒ อเหตุกกิริยา- @จิต ๒ เว้นหสิตุปปาทะ (อภิ.วิ.อ. ๓๖๕/๒๘๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๓๑๓}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๗. สติปัฏฐานวิภังค์]

๑. สุตตันตภาชนีย์ ๔. ธัมมานุปัสสนานิทเทส

ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นจิตในจิตภายในตนและภายนอกตน อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ [๓๖๖] ในคำว่า พิจารณาเห็น ฯลฯ ในคำว่า อยู่ ฯลฯ ในคำว่า มีความ เพียร ฯลฯ ในคำว่า มีสัมปชัญญะ ฯลฯ ในคำว่า มีสติ ฯลฯ ในคำว่า พึง กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ นั้น โลก เป็นไฉน จิตนั้นนั่นแหละชื่อว่าโลก แม้อุปาทานขันธ์ ๕ ก็ชื่อว่าโลก นี้เรียกว่า โลก อภิชฌา เป็นไฉน ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิต นี้เรียกว่า อภิชฌา โทมนัส เป็นไฉน ความไม่สำราญทางใจ ความทุกข์ทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญเป็น ทุกข์ อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญเป็นทุกข์ อันเกิดแต่ เจโตสัมผัส นี้เรียกว่า โทมนัส อภิชฌาและโทมนัสนี้ดังที่กล่าวมานี้ ถูกกำจัด ถูกกำจัดราบคาบ สงบ ระงับ สงบเงียบ ดับไป ดับไปอย่างราบคาบ ถูกทำให้พินาศไป ถูกทำให้พินาศย่อยยับไป ถูกทำให้เหือดแห้งไป ถูกทำให้เหือดแห้งไปด้วยดี ถูกทำให้สิ้นไปในโลกนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
จิตตานุปัสสนานิทเทส จบ
๔. ธัมมานุปัสสนานิทเทส
เห็นธรรมในธรรมภายในตน
[๓๖๗] ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในตนอยู่ เป็นอย่างไร
นีวรณปัพพะ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้กามฉันทะภายในตนซึ่งมีอยู่ว่า กามฉันทะภายในตนของ เรามีอยู่ หรือรู้กามฉันทะภายในตนซึ่งไม่มีอยู่ว่า กามฉันทะภายในตนของเราไม่มีอยู่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๓๑๔}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๗. สติปัฏฐานวิภังค์]

๑. สุตตันตภาชนีย์ ๔. ธัมมานุปัสสนานิทเทส

อนึ่ง รู้เหตุเกิดแห่งกามฉันทะที่ยังไม่เกิด เหตุละกามฉันทะที่เกิดแล้ว และ เหตุที่กามฉันทะซึ่งละได้แล้วจะไม่เกิดต่อไป รู้พยาบาทภายในตนซึ่งมีอยู่ ฯลฯ รู้ ถีนมิทธะภายในตนซึ่งมีอยู่ ฯลฯ รู้อุทธัจจกุกกุจจะภายในตนซึ่งมีอยู่ ฯลฯ รู้ วิจิกิจฉาภายในตนซึ่งมีอยู่ว่า วิจิกิจฉาภายในตนของเรามีอยู่ หรือรู้วิจิกิจฉาภายใน ตนซึ่งไม่มีอยู่ว่า วิจิกิจฉาภายในตนของเราไม่มีอยู่ อนึ่ง รู้เหตุเกิดแห่งวิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิด เหตุละวิจิกิจฉาที่เกิดแล้ว และเหตุที่ วิจิกิจฉาซึ่งละได้แล้วจะไม่เกิดต่อไป
โพชฌังคปัพพะ
รู้สติสัมโพชฌงค์ภายในตนซึ่งมีอยู่ว่า สติสัมโพชฌงค์ภายในตนของเรามีอยู่ รู้ สติสัมโพชฌงค์ภายในตนซึ่งไม่มีอยู่ว่า สติสัมโพชฌงค์ภายในตนของเราไม่มีอยู่ อนึ่ง รู้เหตุเกิดแห่งสติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด และเหตุเจริญบริบูรณ์แห่ง สติสัมโพชฌงค์ที่เกิดแล้ว รู้ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ภายในตนซึ่งมีอยู่ ฯลฯ รู้วิริย- สัมโพชฌงค์ภายในตนซึ่งมีอยู่ ฯลฯ รู้ปีติสัมโพชฌงค์ภายในตนซึ่งมีอยู่ ฯลฯ รู้ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ภายในตนซึ่งมีอยู่ ฯลฯ รู้สมาธิสัมโพชฌงค์ภายในตนซึ่งมีอยู่ ฯลฯ รู้อุเปกขาสัมโพชฌงค์ภายในตนซึ่งมีอยู่ว่า อุเปกขาสัมโพชฌงค์ภายในตนของ เรามีอยู่ หรือรู้อุเปกขาสัมโพชฌงค์ภายในตนของเราซึ่งไม่มีอยู่ว่า อุเปกขา- สัมโพชฌงค์ภายในตนของเราไม่มีอยู่ อนึ่ง รู้เหตุเกิดแห่งอุเปกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด และเหตุเจริญบริบูรณ์ แห่งอุเปกขาสัมโพชฌงค์ที่เกิดแล้ว ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดนิมิตนั้นด้วยดี ครั้นเสพ เจริญ ทำให้ มาก กำหนดนิมิตนั้นด้วยดีแล้วจึงส่งจิตไปในธรรมภายนอกตน
เห็นธรรมในธรรมภายนอกตน
ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกตนอยู่ เป็นอย่างไร
นีวรณปัพพะ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้กามฉันทะของผู้นั้นซึ่งมีอยู่ว่า กามฉันทะของเขามีอยู่ หรือรู้กามฉันทะของผู้นั้นซึ่งไม่มีอยู่ว่า กามฉันทะของเขาไม่มีอยู่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๓๑๕}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๗. สติปัฏฐานวิภังค์]

๑. สุตตันตภาชนีย์ ๔. ธัมมานุปัสสนานิทเทส

อนึ่ง รู้เหตุเกิดแห่งกามฉันทะที่ยังไม่เกิด เหตุละกามฉันทะที่เกิดแล้ว และ เหตุที่กามฉันทะซึ่งละได้แล้วจะไม่เกิดต่อไป รู้พยาบาทของผู้นั้นซึ่งมีอยู่ ฯลฯ รู้ ถีนมิทธะของผู้นั้นซึ่งมีอยู่ ฯลฯ รู้อุทธัจจกุกกุจจะของผู้นั้นซึ่งมีอยู่ ฯลฯ รู้วิจิกิจฉา ของผู้นั้นซึ่งมีอยู่ว่า วิจิกิจฉาของเขามีอยู่ หรือรู้วิจิกิจฉาของเขาซึ่งไม่มีอยู่ว่า วิจิกิจฉา ของเขาไม่มีอยู่ อนึ่ง รู้เหตุเกิดแห่งวิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิด เหตุละวิจิกิจฉาที่เกิดแล้ว และเหตุที่ วิจิกิจฉาซึ่งละได้แล้วจะไม่เกิดต่อไป
โพชฌังคปัพพะ
รู้สติสัมโพชฌงค์ของผู้นั้นซึ่งมีอยู่ว่า สติสัมโพชฌงค์ของเขามีอยู่ หรือรู้ สติสัมโพชฌงค์ของผู้นั้นซึ่งไม่มีอยู่ว่า สติสัมโพชฌงค์ของเขาไม่มีอยู่ อนึ่ง รู้เหตุเกิดแห่งสติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด และเหตุเจริญบริบูรณ์แห่ง สติสัมโพชฌงค์ที่เกิดแล้ว รู้ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ของผู้นั้นซึ่งมีอยู่ ฯลฯ รู้ วิริยสัมโพชฌงค์ของผู้นั้นซึ่งมีอยู่ ฯลฯ รู้ปีติสัมโพชฌงค์ของผู้นั้นซึ่งมีอยู่ ฯลฯ รู้ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ของผู้นั้นซึ่งมีอยู่ ฯลฯ รู้สมาธิสัมโพชฌงค์ของผู้นั้นซึ่งมีอยู่ ฯลฯ รู้อุเปกขาสัมโพชฌงค์ของผู้นั้นซึ่งมีอยู่ว่า อุเปกขาสัมโพชฌงค์ของเขามีอยู่ หรือรู้ อุเปกขาสัมโพชฌงค์ของผู้นั้นซึ่งไม่มีอยู่ว่า อุเปกขาสัมโพชฌงค์ของเขาไม่มีอยู่ อนึ่ง รู้เหตุเกิดแห่งอุเปกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด และเหตุเจริญบริบูรณ์ แห่งอุเปกขาสัมโพชฌงค์ที่เกิดแล้ว ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดนิมิตนั้นด้วยดี ครั้นเสพ เจริญ ทำ ให้มาก กำหนดนิมิตนั้นด้วยดีแล้วจึงส่งจิตไปในธรรมภายในตนและภายนอกตน
เห็นธรรมในธรรมภายในตนและภายนอกตน
ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมในภายตนและภายนอกตนอยู่ เป็นอย่างไร
นีวรณปัพพะ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้กามฉันทะซึ่งมีอยู่ว่า กามฉันทะมีอยู่ หรือรู้กามฉันทะ ซึ่งไม่มีอยู่ว่า กามฉันทะไม่มีอยู่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๓๑๖}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๗. สติปัฏฐานวิภังค์]

๑. สุตตันตภาชนีย์ ๔. ธัมมานุปัสสนานิทเทส

อนึ่ง รู้เหตุเกิดแห่งกามฉันทะที่ยังไม่เกิด เหตุละกามฉันทะที่เกิดแล้ว และเหตุ ที่กามฉันทะซึ่งละได้แล้วจะไม่เกิดต่อไป รู้พยาบาทซึ่งมีอยู่ ฯลฯ รู้ถีนมิทธะซึ่งมี อยู่ ฯลฯ รู้อุทธัจจกุกกุจจะซึ่งมีอยู่ ฯลฯ รู้วิจิกิจฉาซึ่งมีอยู่ว่า วิจิกิจฉามีอยู่ หรือ รู้วิจิกิจฉาซึ่งไม่มีอยู่ว่า วิจิกิจฉาไม่มีอยู่ อนึ่ง รู้เหตุเกิดแห่งวิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิด เหตุละวิจิกิจฉาที่เกิดแล้ว และเหตุที่ วิจิกิจฉาซึ่งละได้แล้วจะไม่เกิดต่อไป
โพชฌังคปัพพะ
รู้สติสัมโพชฌงค์ซึ่งมีอยู่ว่า สติสัมโพชฌงค์มีอยู่ หรือรู้สติสัมโพชฌงค์ซึ่งไม่มี อยู่ว่า สติสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ อนึ่ง รู้เหตุเกิดแห่งสติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด และเหตุเจริญบริบูรณ์แห่ง สติสัมโพชฌงค์ที่เกิดแล้ว รู้ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ซึ่งมีอยู่ ฯลฯ รู้วิริยสัมโพชฌงค์ ซึ่งมีอยู่ ฯลฯ รู้ปีติสัมโพชฌงค์ซึ่งมีอยู่ ฯลฯ รู้ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ซึ่งมีอยู่ ฯลฯ รู้สมาธิสัมโพชฌงค์ซึ่งมีอยู่ ฯลฯ รู้อุเปกขาสัมโพชฌงค์ซึ่งมีอยู่ว่า อุเปกขา- สัมโพชฌงค์มีอยู่ หรือรู้อุเปกขาสัมโพชฌงค์ซึ่งไม่มีอยู่ว่า อุเปกขาสัมโพชฌงค์ ไม่มีอยู่ อนึ่ง รู้เหตุเกิดแห่งอุเปกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด และเหตุเจริญบริบูรณ์แห่ง อุเปกขาสัมโพชฌงค์ที่เกิดแล้ว ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในตนและภาย นอกตนอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ [๓๖๘] ในคำว่า พิจารณาเห็น นั้น การพิจารณาเห็น เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา- ทิฏฐิ นี้เรียกว่า พิจารณาเห็น ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว เข้าไปถึงแล้วด้วยดี เข้ามาถึงแล้ว เข้ามาถึงแล้วด้วยดี เข้าถึงแล้ว เข้าถึงแล้วด้วยดี ประกอบแล้วด้วยการพิจารณาเห็นนี้ เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า พิจารณาเห็น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๓๑๗}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๗. สติปัฏฐานวิภังค์]

๑. สุตตันตภาชนีย์ ๔. ธัมมานุปัสสนานิทเทส

[๓๖๙] คำว่า อยู่ อธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ดำเนินไปอยู่ รักษาอยู่ เป็นไปอยู่ ให้เป็นไปอยู่ เที่ยวไปอยู่ พักอยู่ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า อยู่ [๓๗๐] ในคำว่า มีความเพียร นั้น ความเพียร เป็นไฉน การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ นี้เรียกว่า ความเพียร ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว เข้าไปถึงแล้วด้วยดี เข้ามาถึงแล้ว เข้ามาถึงแล้วด้วยดี เข้าถึงแล้ว เข้าถึงแล้วด้วยดี ประกอบแล้วด้วยความเพียรนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า มีความเพียร [๓๗๑] ในคำว่า มีสัมปชัญญะ นั้น สัมปชัญญะ เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ นี้เรียกว่า สัมปชัญญะ ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้วด้วยสัมปชัญญะนี้ เพราะฉะนั้นจึง เรียกว่า มีสัมปชัญญะ [๓๗๒] ในคำว่า มีสติ นั้น สติ เป็นไฉน สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ นี้เรียกว่า สติ ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว เข้าไปถึงแล้วด้วยดี เข้ามาถึงแล้ว เข้ามาถึงแล้วด้วยดี เข้าถึงแล้ว เข้าถึงแล้วด้วยดี ประกอบแล้วด้วยสตินี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า มีสติ [๓๗๓] ในคำว่า พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ นั้น โลก เป็นไฉน ธรรมเหล่านั้นนั่นแหละชื่อว่าโลก แม้อุปาทานขันธ์ ๕ ก็ชื่อว่าโลก นี้เรียกว่า โลก อภิชฌา เป็นไฉน ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิต นี้เรียกว่า อภิชฌา โทมนัส เป็นไฉน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๓๑๘}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๗. สติปัฏฐานวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์

ความไม่สำราญทางใจ ความทุกข์ทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญเป็น ทุกข์ อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญเป็นทุกข์ อันเกิดแต่ เจโตสัมผัส นี้เรียกว่า โทมนัส อภิชฌาและโทมนัสนี้ ดังที่กล่าวมานี้ ถูกกำจัด ถูกกำจัดราบคาบ สงบ ระงับ สงบเงียบ ดับไป ดับไปอย่างราบคาบ ถูกทำให้พินาศไป ถูกทำให้พินาศย่อยยับไป ถูกทำให้เหือดแห้งไป ถูกทำให้เหือดแห้งไปด้วยดี ถูกทำให้สิ้นไปในโลกนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ธัมมานุปัสสนานิทเทส จบ
สุตตันตภาชนีย์ จบ

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๕ หน้าที่ ๓๐๖-๓๑๙. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=35&A=8684&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=35&siri=28              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5].              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=35&A=5874&Z=6259&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35&i=431              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=35&item=431&items=27              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=35&item=431&items=27              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu35

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]