ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวรรค ภาค ๑

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ]

๑๐๕. วัชชนียปุคคลสันทัสสนา

ภิกษุทั้งหลาย ไม่พึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงในบริษัทที่มีบัณเฑาะก์นั่งอยู่ด้วย รูปใดยกขึ้นแสดง ต้องอาบัติทุกกฏ ... ในบริษัทที่มีคนลักเพศนั่งอยู่ด้วย ... ... ในบริษัทที่มีภิกษุเข้ารีตเดียรถีย์นั่งอยู่ด้วย ... ... ในบริษัทที่มีสัตว์ดิรัจฉานอยู่ด้วย๑- ... ... ในบริษัทที่มีคนฆ่ามารดานั่งอยู่ด้วย ... ... ในบริษัทที่มีคนฆ่าบิดานั่งอยู่ด้วย ... ... ในบริษัทที่มีคนฆ่าพระอรหันต์นั่งอยู่ด้วย ... ... ในบริษัทที่มีคนประทุษร้ายภิกษุณีนั่งอยู่ด้วย ... ... ในบริษัทที่มีภิกษุผู้ทำลายสงฆ์นั่งอยู่ด้วย ... ... ในบริษัทที่มีคนทำร้ายพระศาสดาจนห้อพระโลหิตนั่งอยู่ด้วย ... ภิกษุทั้งหลาย ไม่พึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงในบริษัทที่มีอุภโตพยัญชนกนั่งอยู่ ด้วย รูปใดยกขึ้นแสดง ต้องอาบัติทุกกฏ
เรื่องปาริวาสิกปาริสุทธิ
ภิกษุทั้งหลาย ไม่พึงทำอุโบสถด้วยการให้ปาริวาสิกปาริสุทธิ๒- เว้นแต่บริษัท ยังไม่ลุกขึ้น ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ไม่พึงทำอุโบสถในวันมิใช่วันอุโบสถ เว้นแต่วันที่ สงฆ์สามัคคี
ภาณวารที่ ๓ จบ
อุโปสถขันธกะ ที่ ๒ จบ
ในขันธกะนี้ มี ๘๖ เรื่อง
@เชิงอรรถ : @ หมายถึงสัตว์ดิรัจฉานที่พระผู้มีพระภาคทรงห้ามอุปสมบท (วิ.สงฺคห.๒๔๕, กงฺขา.อ. ๑๑๖) @ ปาริวาสิกปาริสุทธิ ให้ปาริสุทธิค้าง หมายถึงภิกษุทั้งหลายนั่งประชุมกันด้วยประสงค์จะทำอุโบสถ ขณะ @นั้นเอง ได้มีภิกษุรูปหนึ่งกล่าวว่า “วันนี้ ไม่ควรทำอุโบสถ เพราะฤกษ์ไม่ดี” ดังนี้เป็นต้น ภิกษุทั้งหลาย @จึงสละเลิกปาริสุทธิแล้วลุกขึ้น มีภิกษุรูปหนึ่งกล่าวว่า “ประโยชน์ได้ล่วงเลยบุคคลผู้มัวแต่รอฤกษ์ ยามอยู่ @พวกท่านจะได้ประโยชน์อะไรจากดวงดาว” ภิกษุทั้งหลายจึงตกลงจะทำสังฆกรรมต่อไป โดยไม่ต้อง นำ @ปาริสุทธิมาใหม่ อย่างนี้ไม่สมควร เพราะปาริสุทธิที่ให้ไว้ก่อน เป็น “ปาริวาสิกปาริสุทธิ” แปลว่า @ปาริสุทธิค้าง ปาริสุทธิที่ให้แล้วแต่งดไว้ก่อน (ดู กงฺขา.อ. ๔๐๓-๔๐๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๒๘๘}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๔ หน้าที่ ๒๘๘. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=4&A=8073&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=4&siri=65              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=4&A=5249&Z=5413&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=4&i=197              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=4&item=197&items=7              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=4&item=197&items=7              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu4

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]