ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวรรค ภาค ๒

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ]

๑๘๒. เกณิยชฏิลวัตถุ

พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เกณิยะเห็นชัด ชวนให้อยากรับไปปฏิบัติ เร้าใจ ให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา ลำดับนั้น เกณิยชฎิลผู้ซึ่งพระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เห็นชัด ชวนให้อยาก รับไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ขอพระโคดมผู้เจริญพร้อมกับภิกษุสงฆ์ทรงรับ ภัตตาหารของข้าพระองค์เพื่อเจริญกุศลในวันพรุ่งนี้เถิด” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เกณิยะ ภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ มีจำนวน ๑,๒๕๐ รูป และท่านเองก็เลื่อมใสยิ่งนักในหมู่พราหมณ์” แม้ครั้งที่ ๒ เกณิยชฎิลก็กราบทูลนิมนต์ว่า “พระโคดมผู้เจริญ แม้ภิกษุ สงฆ์หมู่ใหญ่ มีจำนวน ๑,๒๕๐ รูป และข้าพระองค์ เลื่อมใสยิ่งนักในหมู่พราหมณ์ ก็จริง ถึงกระนั้น ขอพระโคดมผู้เจริญพร้อมกับภิกษุสงฆ์ทรงรับภัตตาหารของ ข้าพระองค์เพื่อเจริญกุศลในวันพรุ่งนี้เถิด” พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์โดยดุษณีภาพ ครั้งนั้น เกณิยชฎิลทราบการที่พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์แล้ว ได้ลุกจาก อาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้วกลับไป
ทรงอนุญาตน้ำอัฏฐบาน
ต่อมา พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่งกับ ภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำอัฏฐบาน คือ ๑. น้ำมะม่วง ๒. น้ำหว้า ๓. น้ำกล้วยมีเมล็ด ๔. น้ำกล้วยไม่มีเมล็ด ๕. น้ำมะซาง ๖. น้ำลูกจันทน์หรือองุ่น ๗. น้ำเหง้าบัว ๘. น้ำมะปรางหรือลิ้นจี่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๑๓๑}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ]

๑๘๒. เกณิยชฏิลวัตถุ

ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำผลไม้ทุกชนิด เว้นน้ำต้มเมล็ดข้าวเปลือก ภิกษุ ทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำใบไม้ทุกชนิด เว้นน้ำผักดอง ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต น้ำดอกไม้ทุกชนิด เว้นน้ำดอกมะซาง ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำอ้อยสด” คืนนั้น เกณิยชฎิลให้เตรียมโภชนาหารอันประณีตที่อาศรมของตนแล้วให้คนไป กราบทูลภัตกาลพระผู้มีพระภาคว่า “ถึงเวลาแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ภัตตาหาร เสร็จแล้ว” ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสกแล้ว ทรงถือบาตร และจีวร เสด็จไปที่อาศรมของเกณิยชฎิล ประทับนั่งบนอาสนะที่จัดถวายพร้อม ด้วยภิกษุสงฆ์ เกณิยชฎิลได้นำของเคี้ยวของฉันอันประณีตประเคนภิกษุสงฆ์มี พระพุทธเจ้าทรงเป็นประธานด้วยมือของตนเอง กระทั่งพระผู้มีพระภาคเสวยเสร็จ ห้ามภัตตาหารแล้ว ทรงละพระหัตถ์จากบาตรแล้ว จึงนั่งเฝ้าอยู่ ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคทรงอนุโมทนาแก่เกณิยชฎิลด้วยพระคาถานี้ว่า ยัญพิธีมีการบูชาไฟเป็นประธาน สาวิตตีฉันท์เป็นประธานของพระเวท๑- พระเจ้าแผ่นดินเป็นประธานของประชาราษฎร์ มหาสมุทรเป็นประธานของแม่น้ำ ดวงจันทร์เป็นประธานแห่งดาวนักษัตร ดวงอาทิตย์เป็นประธานแห่งสิ่งที่ร้อน ฉันใด พระสงฆ์ก็เป็นประธานของทายกผู้มุ่งบุญถวายทานอยู่ ฉันนั้น ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคครั้นทรงอนุโมทนาเกณิยชฎิลเสร็จ จึงทรงลุกจาก อาสนะแล้วเสด็จกลับ @เชิงอรรถ : @ พวกพราหมณ์เมื่อจะสวดสาธยายพระเวท ย่อมสวดสาวิตตีฉันท์ก่อน ฉันท์นี้จึงชื่อว่าเป็นบทนำ เป็นบท @เริ่มต้นแห่งพระเวท (สารตฺถ.ฏีกา ๓/๓๐๐/๔๐๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๑๓๒}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ]

๑๘๓. โรชมัลลวัตถุ

๑๘๓. โรชมัลลวัตถุ
ว่าด้วยเจ้ามัลละชื่อโรชะถวายผักกาดสดและของฉันทำด้วยแป้ง
[๓๐๑] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ อาปณนิคมตามพระอัธยาศัยแล้ว เสด็จจาริกไปทางเมืองกุสินาราพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ มีจำนวน ๑,๒๕๐ รูป พวกมัลลกษัตริย์ชาวกรุงกุสินาราได้ทราบข่าวว่า “พระผู้มีพระภาคเสด็จมา กรุงกุสินาราพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ มีจำนวน ๑,๒๕๐ รูป” ได้ทำกติกา กันว่า “ผู้ไม่ต้อนรับพระผู้มีพระภาคจะถูกปรับสินไหม มีจำนวน ๕๐๐ กหาปณะ” สมัยนั้น มัลลกษัตริย์ชื่อโรชะเป็นสหายของท่านพระอานนท์ ครั้งนั้นพระผู้มี พระภาคเสด็จจาริกไปโดยลำดับ จนถึงกรุงกุสินารา ลำดับนั้น พวกมัลลกษัตริย์ ชาวกรุงกุสินาราได้ต้อนรับพระผู้มีพระภาค ครั้งนั้น มัลลกษัตริย์ชื่อโรชะรับเสด็จ พระผู้มีพระภาคแล้วได้เข้าไปหาท่านพระอานนท์ ณ ที่พัก ทรงอภิวาทแล้วประทับยืน อยู่ ณ ที่สมควร ท่านพระอานนท์กล่าวกับมัลลกษัตริย์ชื่อโรชะผู้ประทับยืนอยู่ ณ ที่สมควรว่า “โรชะ ท่านรับเสด็จพระผู้มีพระภาคได้สมพระเกียรติจริงๆ” มัลลกษัตริย์ชื่อโรชะตรัสว่า “ข้าพเจ้าไม่ได้ต้อนรับพระพุทธ พระธรรม พระ สงฆ์ให้ใหญ่โตเลย แต่พวกญาติได้ทำกติกากันว่า ‘ผู้ไม่ต้อนรับพระผู้มีพระภาคจะ ถูกปรับสินไหม ๕๐๐ กหาปณะ’ ข้าพเจ้ารับเสด็จพระผู้มีพระภาคอย่างนี้ก็เพราะ กลัวพวกญาติจะปรับสินไหม” ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ไม่พอใจว่า “ไฉนมัลลกษัตริย์โรชะจึงตรัสอย่างนี้เล่า” ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้วได้ถวายอภิวาทพระผู้มีพระ ภาคแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ท่านพระอานนท์ผู้นั่ง ณ ที่สมควรได้กราบทูลพระผู้มี พระภาคดังนี้ว่า “มัลลกษัตริย์โรชะผู้นี้เป็นคนมีชื่อเสียง มีคนรู้จักมาก และความ เลื่อมใสในพระธรรมวินัยของคนเช่นนี้มีประโยชน์มาก พระองค์โปรดทรงกระทำให้ มัลลกษัตริย์โรชะเลื่อมใสในพระธรรมวินัยนี้ด้วยเถิดพระพุทธเจ้าข้า” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๑๓๓}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ]

๑๘๓. โรชมัลลวัตถุ

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “การที่จะกระทำให้มัลลกษัตริย์ชื่อโรชะเลื่อมใสใน พระธรรมวินัย ทำได้ไม่ยาก” ต่อมา พระผู้มีพระภาคทรงแผ่พระเมตตาจิตไปยังมัลลกษัตริย์ชื่อโรชะแล้ว เสด็จลุกจากอาสนะเข้าพระวิหาร มัลลกษัตริย์โรชะพอได้รับกระแสพระเมตตาจิต ของพระผู้มีพระภาคถูกต้องจึงเที่ยวค้นหาตามพระวิหาร ตามบริเวณทั่วทุกแห่ง ดุจโคแม่ลูกอ่อน ตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า “เวลานี้ พระผู้มีพระภาคอรหันต สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นประทับอยู่ที่ไหน เจ้าข้า ข้าพเจ้าต้องการพบพระองค์” ภิกษุทั้งหลายถวายพระพรว่า “ท่านโรชะ พระวิหารหลังนั้นเขาปิดประตูเสียแล้ว โปรดสงบเสียง ท่านจงเสด็จเข้าไปทางพระวิหารหลังนั้นแล้วค่อยๆ เสด็จดำเนินไป ที่หน้ามุข กระแอมแล้วเคาะประตูเถิด พระองค์จะทรงเปิดประตูรับท่าน” ขณะนั้น มัลลกษัตริย์โรชะทรงสงบเสียง เสด็จเข้าไปทางพระวิหารซึ่งปิดอยู่ ค่อยๆ เสด็จดำเนินไปที่หน้ามุข กระแอมแล้วเคาะประตู พระผู้มีพระภาคทรงเปิด ประตูรับ๑- มัลลกษัตริย์โรชะจึงเสด็จเข้าพระวิหาร ถวายบังคมแล้วประทับนั่งอยู่ ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสอนุปุพพิกถา คือ ทรงประกาศ ๑. ทานกถา ๒. สีลกถา ๓. สัคคกถา ๔. กามาทีนวกถา ๕. เนกขัมมานิสังสกถา แก่มัลลกษัตริย์โรชะผู้นั่ง ณ ที่สมควร เมื่อทรงทราบว่ามัลลกษัตริย์โรชะนั้นมีจิตควร อ่อน ปราศจากนิวรณ์ เบิกบาน ผ่องใส จึงทรงประกาศสามุกกังสิกธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ธรรมจักษุอันปราศจากธุลี ปราศจากมลทินได้เกิดแก่มัลล @เชิงอรรถ : @ ทรงเปิดประตูรับ ไม่ได้หมายถึงว่า พระผู้มีพระภาคทรงลุกขึ้นมาเปิดประตูด้วยพระองค์เอง @แต่ทรงเหยียดพระหัตถ์ออกพร้อมกับตรัสว่า “จงเปิด” ประตูก็เปิดเอง เป็นการเปิดด้วยพระทัย @(สารตฺถ.ฏีกา ๓/๓๐๑/๔๐๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๑๓๔}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ]

๑๘๓. โรชมัลลวัตถุ

กษัตริย์โรชะ ณ อาสนะนั้นแลว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้น ทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา” เปรียบเหมือนผ้าขาวสะอาด ปราศจากมลทิน ควรรับน้ำย้อมได้เป็นอย่างดี ครั้งนั้น มัลลกษัตริย์โรชะได้เห็นธรรมแล้ว บรรลุธรรมแล้ว รู้แจ้งธรรมแล้ว หยั่งลงสู่ธรรมแล้ว ข้ามความสงสัยแล้ว ปราศจากความแคลงใจ ถึงความเป็นผู้ แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อใครอีกในคำสอนของพระศาสดา ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค ดังนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า ขอประทานวโรกาส ภิกษุทั้งหลายโปรดรับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารของข้าพระพุทธเจ้าเพียงคนเดียว อย่ารับ ของคนอื่นเลย” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โรชะ แม้อริยบุคคลอื่นๆ ผู้ได้เห็นธรรมด้วยญาณ อันเป็นเสขะ ด้วยทัสสนะอันเป็นเสขะเหมือนอย่างท่านก็คงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ภิกษุ จงรับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารของเราเท่านั้น อย่ารับของคนอื่นเลย’ ดังนั้น ภิกษุทั้งหลายจึงรับทั้งของท่านและของคนอื่น” [๓๐๒] สมัยนั้น ชาวบ้านจัดเตรียมภัตตาหารอันประณีตไว้ที่กรุงกุสินารา เมื่อมัลลกษัตริย์โรชะไม่มีโอกาสถวายภัตตาหาร จึงได้ทรงมีพระดำริดังนี้ว่า “อย่า กระนั้นเลย เราพึงตรวจดูโรงอาหาร จัดเตรียมสิ่งที่ไม่มีในโรงอาหารไว้” แล้วตรวจดู โรงอาหาร ไม่ทรงเห็นของ ๒ อย่าง คือ ผักสดและของฉันทำด้วยแป้ง จึงเสด็จเข้าไป หาท่านพระอานนท์ตรัสว่า “เมื่อข้าพเจ้าไม่มีโอกาสจะถวายภัตตาหารในที่นี้จึงคิดว่า ‘เราควรตรวจดูโรงอาหาร จัดเตรียมสิ่งที่ไม่มีในโรงอาหารไว้’ แล้วตรวจดูโรงอาหาร ไม่เห็นของ ๒ อย่าง คือ ผักสดและของฉันทำด้วยแป้ง ถ้าข้าพเจ้าเตรียมผักสดและ ของฉันทำด้วยแป้งถวาย พระผู้มีพระภาคจะทรงรับสิ่งนั้นหรือ พระคุณเจ้า” ท่านพระอานนท์กล่าวว่า “อาตมาจะกราบทูลถามพระผู้มีพระภาค” แล้วได้ นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ ถ้าอย่างนั้น เขาจงจัดเตรียมเถิด” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๑๓๕}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ]

๑๘๔. วุฑฒปัพพชิตวัตถุ

พระอานนท์ถวายพระพรว่า “โรชะ ถ้าอย่างนั้น ท่านจงจัดเตรียมเถิด” คืนนั้นมัลลกษัตริย์โรชะให้จัดเตรียมผักสดและของฉันทำด้วยแป้งเป็นจำนวนมาก น้อมถวายพระผู้มีพระภาค กราบทูลว่า “พระพุทธเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาคโปรด ทรงรับผักสดและของฉันทำด้วยแป้งของข้าพระองค์เถิด” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โรชะ ถ้าอย่างนั้น ท่านจงถวายแก่ภิกษุทั้งหลาย” พวกภิกษุยำเกรงอยู่จึงไม่ยอมรับประเคน พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงรับประเคนฉันเถิด” ครั้งนั้น มัลลกษัตริย์โรชะทรงนำผักสดและของฉันทำด้วยแป้งเป็นจำนวนมาก ประเคนภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานด้วยพระหัตถ์ของพระองค์เอง กระทั่ง พระผู้มีพระภาคเสวยเสร็จ ทรงห้ามภัตตาหารแล้ว ทรงละพระหัตถ์จากบาตร จึง ได้นั่งเฝ้าอยู่ ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้มัลลกษัตริย์โรชะเห็นชัด ชวนให้อยากรับไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว ทรง ลุกจากอาสนะเสด็จกลับ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผักสดทุกชนิดและของฉันทำด้วย แป้งทุกชนิด”

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๕ หน้าที่ ๑๓๑-๑๓๖. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=5&A=3510&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=5&siri=24              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=5&A=2364&Z=2519&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=5&i=86              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=5&item=86&items=3              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=5&item=86&items=3              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu5

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]