ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวรรค ภาค ๒

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๕. จัมมขันธกะ]

๑๕๒. กัฏฐปาทุกาทิปฏิกเขปะ

สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายไม่ล้างเท้าขึ้นเตียงบ้าง ตั่งบ้าง จีวรและเสนาสนะจึง เปรอะเปื้อน ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สวมรองเท้าในขณะ ที่ตั้งใจว่า ประเดี๋ยวจะขึ้นเตียงหรือตั่ง” สมัยนั้น เวลากลางคืน ภิกษุทั้งหลายเดินไปโรงอุโบสถบ้าง ที่ประชุมบ้าง เหยียบตอไม้บ้าง หนามบ้างในที่มืด เท้าทั้งสองบาดเจ็บ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สวมรองเท้า ใช้คบ เพลิง ประทีป ไม้เท้าในอาราม”
๑๕๒. กัฏฐปาทุกาทิปฏิกเขปะ
ว่าด้วยทรงห้ามสวมเขียงเท้าไม้เป็นต้น
เรื่องพระฉัพพัคคีย์สวมเขียงเท้าไม้
[๒๕๐] สมัยนั้น ในเวลาเช้ามืด พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ลุกขึ้นสวมเขียงเท้าไม้ เดินจงกรมในที่กลางแจ้ง มีเสียงกึกกัก ดังอึกทึก สนทนาดิรัจฉานกถาต่างๆ คือ๑- ๑. ราชกถา เรื่องพระราชา ๒. โจรกถา เรื่องโจร ๓. มหามัตตกถา เรื่องมหาอมาตย์ ๔. เสนากถา เรื่องกองทัพ ๕. ภยกถา เรื่องภัย ๖. ยุทธกถา เรื่องการรบ ๗. อันนกถา เรื่องข้าว ๘. ปานกถา เรื่องน้ำดื่ม ๙. วัตถกถา เรื่องผ้า ๑๐. สยนกถา เรื่องที่นอน ๑๑. มาลากถา เรื่องพวงดอกไม้ ๑๒. คันธกถา เรื่องของหอม @เชิงอรรถ : @ วิ.มหา. (แปล) ๒/๕๐๘/๕๙๙-๖๐๐ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๑๙}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๕. จัมมขันธกะ]

๑๕๒. กัฏฐปาทุกาทิปฏิกเขปะ

๑๓. ญาติกถา เรื่องญาติ ๑๔. ยานกถา เรื่องยาน ๑๕. คามกถา เรื่องบ้าน ๑๖. นิคมกถา เรื่องนิคม ๑๗. นครกถา เรื่องเมือง ๑๘. ชนปทกถา เรื่องชนบท ๑๙. อิตถีกถา เรื่องสตรี ๒๐. ปุริสกถา เรื่องบุรุษ ๒๑. สูรกถา เรื่องคนกล้าหาญ ๒๒. วิสิขากถา เรื่องตรอก ๒๓. กุมภัฏฐานกถา เรื่องท่าน้ำ ๒๔. ปุพพเปตกถา เรื่องคนที่ล่วงลับไปแล้ว ๒๕. นานัตตกถา เรื่องเบ็ดเตล็ด ๒๖. โลกักขายิกะ เรื่องโลก ๒๗. สมุททักขายิกะ เรื่องทะเล ๒๘. อิติภวาภวกถา เรื่องความเจริญและความเสื่อม เหยียบแมลงตายบ้าง ทำภิกษุทั้งหลายให้คลาดจากสมาธิบ้าง บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ จึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน พวก ภิกษุฉัพพัคคีย์จึงลุกขึ้นในเวลาเช้ามืด สวมเขียงเท้าไม้ เดินจงกรมในที่กลางแจ้ง มีเสียงกึกกัก ดังอึกทึก สนทนาดิรัจฉานกถาต่างๆ คือ ๑. ราชกถา เรื่องพระราชา ๒. โจรกถา เรื่องโจร ฯลฯ ๒๘. อิติภวาภวกถา เรื่องความเจริญและความเสื่อม เหยียบแมลงตายบ้าง ทำภิกษุทั้งหลายให้คลาดจากสมาธิบ้างเล่า” แล้วจึง นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่าพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ลุก ขึ้นในเวลาเช้ามืด สวมเขียงเท้าไม้เดินจงกรมในที่กลางแจ้ง มีเสียงกึกกัก ดังอึกทึก สนทนาดิรัจฉานกถาต่างๆ คือ ๑. ราชกถา เรื่องพระราชา ๒. โจรกถา เรื่องโจร ฯลฯ ๒๘. อิติภวาภวกถา เรื่องความเจริญและความเสื่อม เหยียบแมลงตายบ้าง ทำภิกษุทั้งหลายให้คลาดจากสมาธิบ้าง จริงหรือ” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๒๐}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๕. จัมมขันธกะ]

๑๕๒. กัฏฐปาทุกาทิปฏิกเขปะ

ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาค ฯลฯ ครั้นทรงตำหนิแล้วแสดงธรรมีกถารับสั่งกับภิกษุ ทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวมเขียงเท้าไม้ รูปใดสวม ต้องอาบัติ ทุกกฏ”
เรื่องเขียงเท้าใบตาล
ครั้นพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กรุงราชคฤห์ตามพระอัธยาศัยแล้ว เสด็จ จาริกไปทางกรุงพาราณสี เสด็จจาริกไปโดยลำดับ จนถึงกรุงพาราณสีแล้ว ทราบว่า พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวันในกรุงพาราณสีนั้น สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ได้ปรึกษากันว่า “พระผู้มีพระภาคทรงห้ามเขียง เท้าไม้” จึงให้ตัดต้นตาลอ่อน แล้วใช้ใบตาลมาทำเขียงเท้าสวม ต้นตาลอ่อนที่ถูก ตัดนั้นๆ ย่อมเหี่ยวแห้ง คนทั้งหลายจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระสมณะเชื้อสายศากย บุตรจึงให้ตัดต้นตาลอ่อน ใช้ใบตาลทำเขียงเท้าสวมเล่า ต้นตาลอ่อนที่ถูกตัดนั้นๆ ย่อมเหี่ยวแห้ง พระสมณะเชื้อสายศากยบุตรเบียดเบียนสิ่งมีชีวิตซึ่งมีอินทรีย์เดียว” ภิกษุทั้งหลายได้ยินคนเหล่านั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนา จึงนำเรื่องนี้ไป กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่าพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ให้ ตัดต้นตาลอ่อน นำใบตาลมาทำเขียงเท้าสวม ต้นตาลอ่อนที่ถูกตัดนั้นๆ ย่อมเหี่ยว แห้งไป จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษเหล่านั้น จึงให้ตัดต้นตาลอ่อน ใช้ใบตาลมาทำเขียงเท้าสวมเล่า ต้นตาลอ่อน ที่ถูกตัดนั้นๆ ย่อมเหี่ยวแห้งไป ภิกษุทั้งหลาย เพราะคนทั้งหลายมีความสำคัญว่าต้นไม้มีชีวิต {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๒๑}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๕. จัมมขันธกะ]

๑๕๒. กัฏฐปาทุกาทิปฏิกเขปะ

ภิกษุทั้งหลาย การกระทำของโมฆบุรุษนั้น มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” ครั้นทรงตำหนิแล้วแสดงธรรมีกถารับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวมเขียงเท้าใบตาล รูปใดสวม ต้องอาบัติทุกกฏ”
เรื่องเขียงเท้าสานด้วยใบไผ่
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ได้ปรึกษากันว่า “พระผู้มีพระภาคทรงห้ามเขียง เท้าใบตาล” จึงให้ตัดไม้ไผ่อ่อน แล้วใช้ใบไผ่มาทำเขียงเท้าสวม ไม้ไผ่อ่อนที่ถูก ตัดนั้นๆ ย่อมเหี่ยวแห้ง คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระสมณะเชื้อสายศากย บุตรจึงให้ตัดไม้ไผ่อ่อน ใช้ใบไผ่มาทำเขียงเท้าสวมเล่า ไม้ไผ่อ่อนที่ถูกตัดนั้นๆ ย่อมเหี่ยวแห้งไป พระสมณะเชื้อสายศากยบุตรเบียดเบียนสิ่งมีชีวิตซึ่งมีอินทรีย์เดียว” ภิกษุทั้งหลายได้ยินคนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนา ฯลฯ จึงนำเรื่อง นี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวมเขียงเท้าใบไผ่ รูปใด สวม ต้องอาบัติทุกกฏ”
เรื่องเขียงเท้าสานด้วยหญ้าสามัญ
[๒๕๑] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กรุงพาราณสีตามพระ อัธยาศัยแล้ว เสด็จจาริกไปเมืองภัททิยะ เสด็จจาริกไปโดยลำดับ จนถึงเมือง ภัททิยะแล้ว ทราบว่า พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าชาติยาวัน ในเมือง ภัททิยะนั้น สมัยนั้น พวกภิกษุชาวเมืองภัททิยะ ขวนขวายตกแต่งเขียงเท้าหลายชนิด คือ ทำเขียงเท้าหญ้า(สามัญ)เองบ้าง ใช้ให้ทำบ้าง ทำเขียงเท้าหญ้ามุงกระต่ายเองบ้าง ใช้ให้ทำบ้าง ทำเขียงเท้าหญ้าปล้องเองบ้าง ใช้ให้ทำบ้าง ทำเขียงเท้าใบเป้งเองบ้าง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๒๒}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๕. จัมมขันธกะ]

๑๕๒. กัฏฐปาทุกาทิปฏิกเขปะ

ใช้ให้ทำบ้าง ทำเขียงเท้าหญ้าแฝกเองบ้าง ใช้ให้ทำบ้าง ทำเขียงเท้าขนสัตว์เองบ้าง ใช้ให้ทำบ้าง ทอดทิ้งอุทเทส ปริปุจฉา อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ จึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวก ภิกษุชาวเมืองภัททิยะ จึงขวนขวายตกแต่งเขียงเท้าหลายชนิด คือ ทำเขียงเท้าหญ้า (สามัญ)เองบ้าง ใช้ให้ทำบ้าง ทำเขียงเท้าหญ้ามุงกระต่ายเองบ้าง ใช้ให้ทำบ้าง ทำเขียงเท้าหญ้าปล้องเองบ้าง ใช้ให้ทำบ้าง ทำเขียงเท้าใบเป้งเองบ้าง ใช้ให้ทำบ้าง ทำเขียงเท้าหญ้าแฝกเองบ้าง ใช้ให้ทำบ้าง ทำเขียงเท้าขนสัตว์เองบ้าง ใช้ให้ทำบ้าง ทอดทิ้งอุทเทส ปริปุจฉา อธิศีล อธิจิต อธิปัญญาเล่า” ลำดับนั้น ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่าพวกภิกษุชาวเมืองภัททิยะ ขวนขวายตกแต่งเขียงเท้าหลายชนิด คือ ทำเขียงเท้าหญ้า(สามัญ)เองบ้าง ใช้ให้ ทำบ้าง ทำเขียงเท้าหญ้ามุงกระต่ายเองบ้าง ใช้ให้ทำบ้าง ทำเขียงเท้าหญ้าปล้อง เองบ้าง ใช้ให้ทำบ้าง ทำเขียงเท้าใบเป้งเองบ้าง ใช้ให้ทำบ้าง ทำเขียงเท้าหญ้า แฝกเองบ้าง ใช้ให้ทำบ้าง ทำเขียงเท้าขนสัตว์เองบ้าง ใช้ให้ทำบ้าง ทอดทิ้งอุทเทส ปริปุจฉา อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษ เหล่านั้นจึงขวนขวายตกแต่งเขียงเท้าหลายชนิด คือ ทำเขียงเท้าหญ้า(สามัญ)เอง บ้าง ใช้ให้ทำบ้าง ทำเขียงเท้าหญ้ามุงกระต่ายเองบ้าง ใช้ให้ทำบ้าง ทำเขียงเท้า หญ้าปล้องเองบ้าง ใช้ให้ทำบ้าง ทำเขียงเท้าใบเป้งเองบ้าง ใช้ให้ทำบ้าง ทำเขียง เท้าหญ้าแฝกเองบ้าง ใช้ให้ทำบ้าง ทำเขียงเท้าขนสัตว์เองบ้าง ใช้ให้ทำบ้าง ทอด ทิ้งอุทเทส ปริปุจฉา อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่าง นี้มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” ครั้นทรงตำหนิแล้วทรงแสดงธรรมีกถา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๒๓}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๕. จัมมขันธกะ]

๑๕๒. กัฏฐปาทุกาทิปฏิกเขปะ

รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวมเขียงเท้าหญ้า(สามัญ) ... ไม่พึงสวมเขียงเท้าหญ้ามุงกระต่าย ... ไม่พึงสวมเขียงเท้าหญ้าปล้อง ... ไม่พึงสวม เขียงเท้าใบเป้ง ... ไม่พึงสวมเขียงเท้าหญ้าแฝก ... ไม่พึงสวมเขียงเท้าขนสัตว์ ... ไม่ พึงสวมเขียงเท้าประดับด้วยทองคำ ... ไม่พึงสวมเขียงเท้าประดับด้วยเงิน ... ไม่ พึงสวมเขียงเท้าประดับด้วยแก้วมณี ...ไม่พึงสวมเขียงเท้าประดับด้วยแก้วไพฑูรย์ ... ไม่พึงสวมเขียงเท้าประดับด้วยแก้วผลึก ... ไม่พึงสวมเขียงเท้าประดับด้วยสำริด ... ไม่พึงสวมเขียงเท้าประดับด้วยกระจก ... ไม่พึงสวมเขียงเท้าทำด้วยดีบุก ... ไม่พึง สวมเขียงเท้าทำด้วยสังกะสี ... ไม่พึงสวมเขียงเท้าทำด้วยทองแดง รูปใดสวม ต้อง อาบัติทุกกฏ อนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวมเขียงเท้าชนิดที่ต้องสวมเดิน รูปใดสวม ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเขียงเท้าที่ตรึงอยู่กับที่ ไม่ใช้สวมเดิน ๓ ชนิด คือ เขียงเท้าสำหรับใช้ในที่ที่ถ่ายอุจจาระ เขียงเท้าสำหรับใช้ในที่ที่ถ่าย ปัสสาวะ เขียงเท้าสำหรับใช้ในที่ชำระ”

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๕ หน้าที่ ๑๙-๒๔. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=5&A=484&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=5&siri=2              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=5&A=224&Z=427&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=5&i=5              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=5&item=5&items=8              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=5&item=5&items=8              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu5

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]