ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๖ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] จุลวรรค ภาค ๑

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๒. ปาริวาสิกขันธกะ]

๑. ปาริวาสิกวัตตะ

๒. ปาริวาสิกขันธกะ
๑. ปาริวาสิกวัตตะ
ว่าด้วยวัตรของภิกษุผู้อยู่ปริวาส
[๗๕] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ปริวาสยินดี การที่ปกตัตตภิกษุทั้งหลายกราบไหว้ ลุกรับ ประนมมือ ทำสามีจิกรรม นำอาสนะ มาให้ นำที่นอนมาให้ ตั้งน้ำล้างเท้า ตั้งตั่งรองเท้า ตั้งกระเบื้องเช็ดเท้า การรับ บาตรและจีวร การถูหลังให้ในคราวอาบน้ำ บรรดาภิกษุผู้มักน้อยสันโดษ ฯลฯ ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน พวกภิกษุผู้อยู่ปริวาสจึงยินดีการที่ปกตัตตภิกษุทั้งหลายกราบไหว้ ลุกรับ ประนมมือ ทำสามีจิกรรม นำอาสนะมาให้ นำที่นอนมาให้ ตั้งน้ำล้างเท้า ตั้งตั่งรองเท้า ตั้ง กระเบื้องเช็ดเท้า การรับบาตรและจีวร การถูหลังให้ในคราวอาบน้ำเล่า” แล้วนำ เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์สอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ปริวาส ยินดีการที่ปกตัตตภิกษุทั้งหลายกราบไหว้ ลุกรับ ประนมมือ ทำสามีจิกรรม นำ อาสนะมาให้ นำที่นอนมาให้ ตั้งน้ำล้างเท้า ตั้งตั่งรองเท้า ตั้งกระเบื้องเช็ดเท้า การรับบาตรและจีวร การถูหลังให้ในคราวอาบน้ำ จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิ ฯลฯ ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุทั้งหลาย ผู้อยู่ปริวาสจึงยินดีการที่ปกตัตตภิกษุทั้งหลายกราบไหว้ ลุกรับ ประนมมือ ทำ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๑๕๗}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๒. ปาริวาสิกขันธกะ]

๑. ปาริวาสิกวัตตะ

สามีจิกรรม นำอาสนะมาให้ นำที่นอนมาให้ ตั้งน้ำล้างเท้า ตั้งตั่งรองเท้า ตั้ง กระเบื้องเช็ดเท้า รับบาตรและจีวร ถูหลังให้ในคราวอาบน้ำเล่า ภิกษุทั้งหลาย การ กระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้ว ให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” ครั้นทรงตำหนิแล้ว ฯลฯ ทรงแสดงธรรมีกถาแล้ว รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่ปริวาสไม่พึงยินดีการที่ปกตัตต ภิกษุทั้งหลายกราบไหว้ ลุกรับ ประนมมือ ทำสามีจิกรรม นำอาสนะมาให้ นำ ที่นอนมาให้ ตั้งน้ำล้างเท้า ตั้งตั่งรองเท้า ตั้งกระเบื้องเช็ดเท้า การรับบาตรและจีวร การถูหลังให้ในคราวอาบน้ำ รูปใดยินดี ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตการที่ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ปริวาสด้วยกันกราบไหว้ ลุกรับ ประนมมือ ทำสามีจิกรรม นำอาสนะมาให้ นำที่นอนมาให้ ตั้งน้ำล้างเท้า ตั้งตั่งรองเท้า ตั้งกระเบื้องเช็ดเท้า การรับบาตรและจีวร การถูหลังให้ในคราวอาบน้ำ ตามลำดับพรรษา ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตกิจ ๕ อย่าง คือ อุโบสถ ปวารณา ผ้าอาบน้ำฝน การสละภัต ภัตเพื่อภิกษุผู้อยู่ปริวาสตามลำดับพรรษา ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น เราจะบัญญัติวัตรแก่ภิกษุผู้อยู่ปริวาสโดยวิธีที่ ภิกษุผู้อยู่ปริวาสทั้งหลายพึงประพฤติ
วัตร ๙๔ ข้อของภิกษุผู้อยู่ปริวาส
[๗๖] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่ปริวาสพึงประพฤติโดยชอบ การประพฤติโดย ชอบในเรื่องนั้นดังนี้ ภิกษุผู้อยู่ปริวาส ๑. ไม่พึงให้อุปสมบท ๒. ไม่พึงให้นิสัย ๓. ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก ๔. ไม่พึงรับแต่งตั้งเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๑๕๘}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๒. ปาริวาสิกขันธกะ]

๑. ปาริวาสิกวัตตะ

๕. แม้ได้รับแต่งตั้งแล้วก็ไม่พึงสั่งสอนภิกษุณี ๖. ไม่พึงต้องอาบัติที่เป็นเหตุให้สงฆ์ให้ปริวาสนั้นอีก ๗. ไม่พึงต้องอาบัติอื่นทำนองเดียวกัน ๘. ไม่พึงต้องอาบัติที่เลวทรามกว่านั้น ๙. ไม่พึงตำหนิกรรม ๑๐. ไม่พึงตำหนิภิกษุผู้ทำกรรม ๑๑. ไม่พึงงดอุโบสถแก่ปกตัตตภิกษุ ๑๒. ไม่พึงงดปวารณาแก่ปกตัตตภิกษุ ๑๓. ไม่พึงทำการไต่สวน ๑๔. ไม่พึงเริ่มอนุวาทาธิกรณ์ ๑๕. ไม่พึงขอโอกาสภิกษุอื่น ๑๖. ไม่พึงโจทภิกษุอื่น ๑๗. ไม่พึงให้ภิกษุอื่นให้การ ๑๘. ไม่พึงชักชวนกันก่อความทะเลาะ ๑๙. ไม่พึงเดินนำหน้าปกตัตตภิกษุ ๒๐. ไม่พึงนั่งข้างหน้าปกตัตตภิกษุ ๒๑. พึงพอใจอาสนะสุดท้าย ที่นอนสุดท้าย วิหารสุดท้ายของสงฆ์ที่จะ ให้ภิกษุผู้อยู่ปริวาสนั้น ๒๒. ไม่พึงมีปกตัตตภิกษุเป็นปุเรสมณะ หรือเป็นปัจฉาสมณะเข้าตระกูล ๒๓. ไม่พึงสมาทานอารัญญิกังคธุดงค์ ๒๔. ไม่พึงสมาทานปิณฑปาติกังคธุดงค์ ๒๕. ไม่พึงให้เขานำบิณฑบาตมาส่ง เพราะปัจจัยนั้นด้วยคิดว่า “คนอย่า ได้รู้จักเรา” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๑๕๙}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๒. ปาริวาสิกขันธกะ]

๑. ปาริวาสิกวัตตะ

[๗๗] ๒๖. เป็นอาคันตุกะไปก็พึงบอกให้ทราบ๑- ๒๗. มีอาคันตุกะมาก็พึงบอกให้ทราบ ๒๘. พึงบอกในวันอุโบสถ ๒๙. พึงบอกในวันปวารณา ๓๐. ถ้าอาพาธ พึงส่งทูตให้ไปบอก ๓๑. ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุไปสู่อาวาสซึ่งไม่มีภิกษุ เว้นแต่ไปกับ ปกตัตตภิกษุ เว้นแต่มีอันตราย ๓๒. ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุไปสู่สถานที่มิใช่อาวาสซึ่งไม่มีภิกษุ เว้น แต่ไปกับปกตัตตภิกษุ เว้นแต่มีอันตราย ๓๓. ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุไปสู่อาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาส ซึ่ง ไม่มีภิกษุ เว้นแต่ไปกับปกตัตตภิกษุ เว้นแต่มีอันตราย ๓๔. ไม่พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ ไปสู่อาวาสซึ่งไม่มีภิกษุ เว้นแต่ไปกับปกตัตตภิกษุ เว้นแต่มีอันตราย ๓๕. ไม่พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่สถานที่มิใช่อาวาส ที่ไม่มีภิกษุ เว้นแต่ไปกับปกตัตตภิกษุ เว้นแต่มีอันตราย ๓๖. ไม่พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือสถานที่ มิใช่อาวาสซึ่งไม่มีภิกษุ เว้นแต่ไปกับปกตัตตภิกษุ เว้นแต่มีอันตราย ๓๗. ไม่พึงออกจากอาวาส หรือสถานที่มิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาส ที่ไม่มีภิกษุ เว้นแต่ไปกับปกตัตตภิกษุ เว้นแต่มีอันตราย ๓๘. ไม่พึงออกจากอาวาส หรือสถานที่มิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่สถาน ที่มิใช่อาวาสที่ไม่มีภิกษุ เว้นแต่ไปกับปกตัตตภิกษุ เว้นแต่มี อันตราย @เชิงอรรถ : @ คือเป็นอาคันตุกะไปวัดอื่น พึงบอกภิกษุทั้งหลายในวัดนั้น (วิ.อ. ๓/๗๗/๒๖๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๑๖๐}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๒. ปาริวาสิกขันธกะ]

๑. ปาริวาสิกวัตตะ

๓๙. ไม่พึงออกจากอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ ไปสู่อาวาส หรือสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งไม่มีภิกษุ เว้นแต่ไปกับปกตัตตภิกษุ เว้นแต่มีอันตราย [๗๘] ๔๐. ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ ซึ่งมีภิกษุเป็น นานาสังวาสอยู่ด้วย เว้นแต่ไปกับปกตัตตภิกษุ เว้นแต่มีอันตราย ๔๑. ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุไปสู่สถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุซึ่งมีภิกษุ เป็นนานาสังวาสอยู่ด้วย เว้นแต่ไปกับปกตัตตภิกษุ เว้นแต่มีอันตราย ๔๒. ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุไปสู่อาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาส มีภิกษุซึ่งมีภิกษุเป็นนานาสังวาสอยู่ด้วย เว้นแต่ไปกับปกตัตตภิกษุ เว้นแต่มีอันตราย ๔๓. ไม่พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุไปสู่อาวาสมีภิกษุซึ่งมีภิกษุ เป็นนานาสังวาสอยู่ดัวย เว้นแต่ไปกับปกตัตตภิกษุ เว้นแต่มีอันตราย ๔๔. ไม่พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุไปสู่สถานที่มิใช่อาวาส มีภิกษุซึ่งมีภิกษุเป็นนานาสังวาสอยู่ด้วย เว้นแต่ไปกับปกตัตตภิกษุ เว้นแต่มีอันตราย ๔๕. ไม่พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุไปสู่อาวาสหรือสถานที่มิใช่ อาวาสมีภิกษุซึ่งมีภิกษุเป็นนานาสังวาสอยู่ด้วย เว้นแต่ไปกับ ปกตัตตภิกษุ เว้นแต่มีอันตราย [๗๙] ๔๖. ไม่พึงออกจากอาวาส หรือสถานที่มิใช่อาวาสที่มีภิกษุไปสู่อาวาสที่มี ภิกษุซึ่งมีภิกษุเป็นนานาสังวาสอยู่ด้วย เว้นแต่ไปกับปกตัตตภิกษุ เว้นแต่มีอันตราย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๑๖๑}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๒. ปาริวาสิกขันธกะ]

๑. ปาริวาสิกวัตตะ

๔๗. ไม่พึงออกจากอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสที่มีภิกษุไปสู่สถานที่มิใช่ อาวาสมีภิกษุซึ่งมีภิกษุเป็นนานาสังวาสอยู่ด้วย เว้นแต่ไปกับ ปกตัตตภิกษุ เว้นแต่มีอันตราย ๔๘. ไม่พึงออกจากอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสที่มีภิกษุไปสู่อาวาส หรือสถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุซึ่งมีภิกษุเป็นนานาสังวาสอยู่ด้วย เว้นแต่ไปกับปกตัตตภิกษุ เว้นแต่มีอันตราย [๘๐] ๔๙. พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุไปอาวาสที่มีภิกษุซึ่งมีภิกษุเป็นสมาน สังวาสอยู่ด้วย ถ้ารู้ว่า “เราสามารถไปถึงในวันนั้นแหละ” ๕๐. พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุไปสู่สถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุซึ่งมีภิกษุ เป็นสมานสังวาสอยู่ด้วย ถ้ารู้ว่า “เราสามารถไปถึงในวันนั้นแหละ” ๕๑. พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุไปสู่อาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุ ซึ่งมีภิกษุเป็นสมานสังวาสอยู่ด้วย ถ้ารู้ว่า “เราสามารถไปถึงใน วันนั้นแหละ” ๕๒. พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสที่มีภิกษุไปสู่อาวาสที่มีภิกษุซึ่งมีภิกษุ เป็นสมานสังวาสอยู่ด้วย ถ้ารู้ว่า “เราสามารถไปถึงในวันนั้นแหละ” ๕๓. พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุไปสู่สถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุ ซึ่งมีภิกษุเป็นสมานสังวาสอยู่ด้วย ถ้ารู้ว่า “เราสามารถไปถึงใน วันนั้นแหละ” ๕๔. พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุไปสู่อาวาสหรือสถานที่มิใช่ อาวาสมีภิกษุซึ่งมีภิกษุเป็นสมานสังวาสอยู่ด้วย ถ้ารู้ว่า “เราสามารถ ไปถึงในวันนั้นแหละ” ๕๕. พึงออกจากอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ ซึ่งมีภิกษุเป็นสมานสังวาสอยู่ด้วย ถ้ารู้ว่า “เราสามารถไปถึงใน วันนั้นแหละ” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๑๖๒}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๒. ปาริวาสิกขันธกะ]

๑. ปาริวาสิกวัตตะ

๕๖. พึงออกจากอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุ ไปสู่สถานที่มิใช่ อาวาสมีภิกษุซึ่งมีภิกษุเป็นสมานสังวาสอยู่ด้วย ถ้ารู้ว่า “เราสามารถ ไปถึงในวันนั้นแหละ” ๕๗. พึงออกจากอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุไปสู่อาวาสหรือสถาน ที่มิใช่อาวาสมีภิกษุซึ่งมีภิกษุเป็นสมานสังวาสอยู่ด้วย ถ้ารู้ว่า “เรา สามารถไปถึงในวันนั้นแหละ” [๘๑] ๕๘. ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่ปริวาสไม่พึงอยู่ในอาวาสที่มุงบังเดียวกัน กับปกตัตตภิกษุ ๕๙. ไม่พึงอยู่ในสถานที่มิใช่อาวาสที่มุงบังเดียวกัน ๖๐. ไม่พึงอยู่ในอาวาสหรือในสถานที่มิใช่อาวาสที่มุงบังเดียวกัน ๖๑. เห็นปกตัตตภิกษุแล้วพึงลุกจากอาสนะ ๖๒. พึงนิมนต์ปกตัตตภิกษุให้นั่ง ๖๓. ไม่พึงนั่งบนอาสนะเดียวกันกับปกตัตตภิกษุ ๖๔. เมื่อปกตัตตภิกษุนั่งบนอาสนะต่ำ ไม่พึงนั่งบนอาสนะสูง ๖๕. เมื่อปกตัตตภิกษุนั่งบนพื้นดิน ไม่พึงนั่งบนอาสนะ ๖๖. ไม่พึงเดินจงกรมในที่จงกรมเดียวกันกับปกตัตตภิกษุ ๖๗. เมื่อปกตัตตภิกษุเดินจงกรมอยู่ในที่จงกรมต่ำ ไม่พึงเดินจงกรมในที่ จงกรมสูง ๖๘. เมื่อปกตัตตภิกษุเดินจงกรมอยู่ที่พื้นดิน ไม่พึงเดินจงกรมในที่จงกรม [๘๒] ๖๙-๘๙. ไม่พึงอยู่ในอาวาสที่มุงบังเดียวกันกับภิกษุผู้อยู่ปริวาสที่มีพรรษา แก่กว่า ... กับภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม ... กับภิกษุผู้ควรแก่ มานัต ... กับภิกษุผู้ประพฤติมานัต ... กับภิกษุผู้ควรแก่อัพภานไม่พึง อยู่ในสถานที่มิใช่อาวาสที่มุงบังเดียวกันกับภิกษุผู้ควรแก่อัพภาน ... ไม่พึงอยู่ในอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสที่มุงบังเดียวกันกับภิกษุผู้ ควรแก่อัพภาน ... ไม่พึงนั่งบนอาสนะเดียวกันกับภิกษุผู้ควรแก่อัพภาน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๑๖๓}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๒. ปาริวาสิกขันธกะ]

๑. ปาริวาสิกวัตตะ

๙๐. เมื่อภิกษุผู้ควรแก่อัพภานนั่งบนอาสนะต่ำ ไม่พึงนั่งบนอาสนะสูง ๙๑. เมื่อภิกษุผู้ควรแก่อัพภานนั่งบนพื้นดิน ไม่พึงนั่งบนอาสนะ ๙๒. ไม่พึงเดินจงกรมในที่จงกรมเดียวกันกับภิกษุผู้ควรแก่อัพภาน ๙๓. เมื่อภิกษุผู้ควรแก่อัพภานเดินจงกรมอยู่ในที่จงกรมต่ำไม่พึงเดิน จงกรมในที่จงกรมสูง ๙๔. เมื่อภิกษุผู้ควรแก่อัพภานเดินจงกรมอยู่ที่พื้นดิน ไม่พึงเดินจงกรม ในที่จงกรม ภิกษุทั้งหลาย ถ้าสงฆ์มีภิกษุผู้อยู่ปริวาสเป็นรูปที่ ๔ พึงให้ปริวาสชักเข้าหา อาบัติเดิม ให้มานัต สงฆ์มีภิกษุผู้อยู่ปริวาสนั้นเป็นรูปที่ ๒๐ พึงอัพภาน กรรมนั้น ไม่จัดเป็นกรรม และไม่ควรทำ
วัตร ๙๔ ข้อของภิกษุผู้อยู่ปริวาส จบ
รัตติเฉท
ว่าด้วยเหตุให้ขาดราตรี ๓ อย่าง
[๘๓] ครั้งนั้น ท่านพระอุบาลีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว ได้ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่สมควร กราบทูลพระผู้มีพระภาค ดังนี้ ว่า “รัตติเฉท๑- ของภิกษุผู้อยู่ปริวาสมีเท่าไร พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี รัตติเฉทของภิกษุผู้อยู่ปริวาสมี ๓ อย่าง คือ (๑) สหวาสะ (การอยู่ร่วมกัน) (๒) วิปปวาสะ (การอยู่ปราศ) (๓) อนาโรจนา (การไม่บอก)๒- อุบาลี รัตติเฉทของภิกษุผู้อยู่ปริวาสมี ๓ อย่างนี้แล @เชิงอรรถ : @ รัตติเฉท แปลว่า ความขาดราตรี หมายถึงเหตุให้ขาดราตรี นับราตรีที่อยู่ปริวาสไม่ได้ พระผู้มีพระภาค @ทรงบัญญัติไว้สำหรับภิกษุผู้อยู่ปริวาสและภิกษุผู้ประพฤติมานัต (วิ.อ. ๓/๔๗๕/๕๒๘) @ สหวาสะ การอยู่ร่วมกัน หมายถึงการอยู่ในที่มุงบังเดียวกันกับปกตัตตภิกษุ @วิปปวาสะ การอยู่ปราศ หมายถึงการที่ภิกษุผู้อยู่ปริวาสนั้นอยู่รูปเดียว @อนาโรจนา การไม่บอก หมายถึงการไม่บอกแก่พวกภิกษุอาคันตุกะเป็นต้น (วิ.อ. ๓/๘๓/๒๖๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๑๖๔}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๒. ปาริวาสิกขันธกะ]

๑. ปาริวาสิกวัตตะ

ทรงอนุญาตให้เก็บปริวาส
[๘๔] สมัยนั้น ภิกษุสงฆ์มาประชุมกันเป็นจำนวนมากในกรุงสาวัตถี ภิกษุ ทั้งหลายผู้อยู่ปริวาสไม่สามารถจะทำปริวาสให้บริสุทธิ์ได้จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เก็บปริวาส”
วิธีเก็บปริวาส
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเก็บปริวาสอย่างนี้ภิกษุผู้อยู่ปริวาสนั้นพึงเข้าไปหา ภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ ว่า “ข้าพเจ้าเก็บปริวาส” ปริวาสย่อมเป็นอันเก็บแล้ว หรือกล่าวว่า “ข้าพเจ้าเก็บ วัตร” วัตรย่อมเป็นอันเก็บแล้ว
ทรงอนุญาตให้สมาทานปริวาส
[๘๕] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายเดินทางออกจากกรุงสาวัตถีไปในที่ต่างๆ ภิกษุ ทั้งหลาย ผู้อยู่ปริวาสสามารถทำปริวาสให้บริสุทธิ์ได้ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี พระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมาทานปริวาส”
วิธีสมาทานปริวาส
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสมาทานปริวาสอย่างนี้ภิกษุผู้อยู่ปริวาสพึงเข้าไปหา ภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าว อย่างนี้ว่า “ข้าพเจ้าสมาทานปริวาส” ปริวาสย่อมเป็นอันสมาทานแล้ว หรือกล่าวว่า “ข้าพเจ้าสมาทานวัตร” วัตรย่อมเป็นอันสมาทานแล้ว
ปาริวาสิกวัตตะ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๑๖๕}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๖ หน้าที่ ๑๕๗-๑๖๕. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=6&A=4035&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=6&siri=16              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=6&A=3597&Z=3791&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=6&i=320              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=6&item=320&items=14              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=6&item=320&items=14              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu6

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]