ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๘. มหาสีหนาทสูตร]

ว่าด้วยทรงบันลืออย่างองอาจดังพญาราชสีห์

ฯลฯ บรรลุปฐมฌานอยู่ บรรลุทุติยฌานอยู่ บรรลุตติยฌานอยู่ บรรลุ จตุตถฌานอยู่ นี้แลเป็นจิตสัมปทา เมื่อมีจิตเป็นสมาธิอย่างนี้ ฯลฯ ภิกษุน้อมจิตไปเพื่อญาณทัสสนะ ฯลฯ๑- รู้ชัด ว่า ... ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป นี้แลเป็นปัญญาสัมปทา กัสสปะ สีลสัมปทา จิตสัมปทา และปัญญาสัมปทาอย่างอื่นที่ยอดเยี่ยม กว่าและประณีตกว่าสีลสัมปทา จิตสัมปทา และปัญญาสัมปทานี้ไม่มีอีกแล้ว
ว่าด้วยทรงบันลืออย่างองอาจดังพญาราชสีห์
[๔๐๒] กัสสปะ มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งพูดเรื่องศีล กล่าวสรรเสริญศีล มากมาย ศีลอันยอดเยี่ยมมีเท่าไร เรายังไม่เห็นผู้จะทัดเทียมเราได้ในเรื่องนั้น จะไป หาผู้ที่ยิ่งกว่าเราจากไหนเล่า ที่แท้ เราผู้เดียวเป็นผู้ล้ำเลิศในศีลอันยอดเยี่ยม คือ อธิศีล กัสสปะ มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งพูดเรื่องตบะที่กีดกันกิเลส กล่าวสรรเสริญ ตบะที่กีดกันกิเลสมากมาย ตบะที่กีดกันกิเลสอย่างยอดเยี่ยมมีเท่าไร เรายังไม่เห็น ผู้จะทัดเทียมเราได้ในเรื่องนั้น จะไปหาผู้ที่ยิ่งกว่าเราจากไหนเล่า ที่แท้ เราผู้เดียว เป็นผู้ล้ำเลิศในตบะที่กีดกันกิเลสอันยอดเยี่ยม คืออธิเชคุจฉะ กัสสปะ มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งพูดเรื่องปัญญา กล่าวสรรเสริญปัญญาไว้ มากมาย ปัญญาอันยอดเยี่ยมมีเท่าไร เรายังไม่เห็นผู้จะทัดเทียมเราได้ในเรื่องนั้น จะไปหาผู้ที่ยิ่งกว่าเราจากไหนเล่า ที่แท้ เราผู้เดียวเป็นผู้ล้ำเลิศในปัญญาอันยอด เยี่ยม คืออธิปัญญา กัสสปะ มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งพูดเรื่องความหลุดพ้น กล่าวสรรเสริญ ความหลุดพ้นไว้มากมาย ความหลุดพ้นอันยอดเยี่ยมมีเท่าไร เรายังไม่เห็นผู้จะ ทัดเทียมเราได้ในเรื่องนั้น จะไปหาผู้ที่ยิ่งกว่าเราจากไหนเล่า ที่แท้ เราผู้เดียวเป็นผู้ ล้ำเลิศในเรื่องความหลุดพ้น คืออธิวิมุตติ @เชิงอรรถ : @ ดูความเต็มในสามัญญผลสูตร ข้อ ๑๙๔-๒๔๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๑๗๑}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๘. มหาสีหนาทสูตร]

ว่าด้วยทรงบันลืออย่างองอาจดังพญาราชสีห์

[๔๐๓] กัสสปะ เป็นไปได้ที่พวกปริพาชกอัญเดียรถีย์จะกล่าวอย่างนี้ว่า ‘พระ สมณโคดมทรงบันลือสีหนาท๑- แต่ทรงบันลือในเรือนว่างเท่านั้น ไม่ทรงบันลือใน บริษัท๒- เลย’ ท่านพึงบอกพวกเขาว่า ‘พวกท่านอย่ากล่าวอย่างนั้น พระสมณโคดม ทรงบันลือสีหนาทและทรงบันลือในบริษัทด้วย’ กัสสปะ เป็นไปได้ที่พวกปริพาชกอัญเดียรถีย์จะกล่าวอย่างนี้ว่า ‘พระสมณ- โคดมทรงบันลือสีหนาทและทรงบันลือในบริษัท แต่ไม่ทรงบันลืออย่างองอาจ’ ท่าน พึงบอกพวกเขาว่า ‘พวกท่านอย่ากล่าวอย่างนั้น พระสมณโคดมทรงบันลือสีหนาท และทรงบันลือในบริษัท พร้อมทั้งทรงบันลืออย่างองอาจด้วย’ กัสสปะ เป็นไปได้ที่พวกปริพาชกอัญเดียรถีย์จะกล่าวอย่างนี้ว่า ‘พระสมณ- โคดมทรงบันลือสีหนาทและทรงบันลือในบริษัท พร้อมทั้งทรงบันลืออย่างองอาจ แต่เทวดาและมนุษย์ไม่ได้ทูลถามปัญหา ฯลฯ และเทวดาและมนุษย์ทูลถามปัญหา แต่พระองค์ก็ทรงตอบไม่ได้ ฯลฯ และพระองค์ทรงตอบได้ แต่ก็ทำให้ผู้ถามพอใจไม่ได้ ฯลฯ และพระองค์ทรงทำให้ผู้ถามพอใจได้ แต่พวกเขาก็ไม่สนใจฟัง ฯลฯ และพวก เขาสนใจฟัง แต่ก็ไม่เลื่อมใส ฯลฯ และพวกเขาเลื่อมใสแต่ก็ไม่แสดงออก ฯลฯ และ พวกเขาแสดงออก แต่ก็ไม่ปฏิบัติตาม ฯลฯ และพวกเขาปฏิบัติตาม แต่ก็ไม่ชื่นชม ยินดี’ ท่านพึงบอกพวกเขาว่า ‘พวกท่านอย่ากล่าวอย่างนั้น พระสมณโคดมทรง บันลือสีหนาท ทรงบันลือในบริษัทและทรงบันลืออย่างองอาจ เทวดาและมนุษย์พา กันทูลถามปัญหา พระองค์ทรงตอบได้ พระองค์ทรงทำให้ผู้ถามพอใจได้ พวกเขาก็ สนใจฟัง ฟังแล้วก็เลื่อมใส เลื่อมใสแล้วก็แสดงออก แสดงออกแล้วก็ปฏิบัติตาม เมื่อปฏิบัติตามต่างก็ชื่นชมยินดี’ @เชิงอรรถ : @ ทรงบันลือสีหนาท หมายถึง คำพูดที่ตรัสด้วยท่าทีองอาจดังพญาราชสีห์ ไม่ทรงหวั่นเกรงผู้ใด เพราะทรง @มั่นพระทัยในศีล สมาธิ ปัญญาของพระองค์ (ที.สี.ฏีกา ๑/๔๐๓/๔๓๒) @ บริษัท ในที่นี้หมายถึง กลุ่มของบุคคลหลายสถานะที่มาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า เพื่อต้องการจะฟังพระธรรม- @เทศนา มี ๘ กลุ่มคือ ขัตติยบริษัท พราหมณบริษัท คหบดีบริษัท สมณบริษัท จาตุมหาราชิกาบริษัท @ตาวติงสบริษัท มารบริษัท และพรหมบริษัท (ม.มู. ๑๒/๑๕๑/๑๑๒, ที.สี.อ. ๔๐๓/๒๙๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๑๗๒}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๘. มหาสีหนาทสูตร]

ว่าด้วยการอยู่ปริวาสของเดียรถีย์

ว่าด้วยการอยู่ปริวาสของเดียรถีย์
[๔๐๔] กัสสปะ ครั้งหนึ่งเราอยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ เขตกรุงราชคฤห์ เพื่อน พรหมจารีคนหนึ่งของท่านในกรุงราชคฤห์ชื่อนิโครธปริพาชก ได้ถามปัญหาเรื่อง ตบะที่กีดกันกิเลสอย่างยอดเยี่ยม เมื่อเราตอบคำถาม เขาก็ปลื้มใจเป็นอย่างมาก” อเจลกัสสปะทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีใครเล่าที่ฟังธรรมของพระผู้มี พระภาคแล้วจะไม่ปลื้มใจ แม้ข้าพระองค์ได้ฟังธรรมของพระผู้มีพระภาคเองแล้วก็ยัง ปลื้มใจเป็นอย่างมาก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระผู้มีพระภาคชัดเจน ไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระผู้มีพระภาคชัดเจนไพเราะยิ่งนัก พระผู้มีพระภาคทรงประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่างๆ เปรียบเหมือนบุคคล หงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดโดย ตั้งใจว่า ผู้มีตาดีจักเห็นรูปได้ ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาค พร้อมทั้งพระธรรม และพระสงฆ์เป็นสรณะ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์พึงได้บรรพชา พึงได้ อุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาค” [๔๐๕] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “กัสสปะ ผู้เคยเป็นอัญเดียรถีย์ประสงค์จะ บรรพชาอุปสมบทในธรรมวินัยนี้ จะต้องอยู่ปริวาส๑- ๔ เดือน หลังจาก ๔ เดือน ล่วงไปแล้ว เมื่อภิกษุพอใจก็จะให้บรรพชาอุปสมบทเป็นภิกษุ อนึ่ง ในเรื่องนี้เรา คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลด้วย” เขากราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หากผู้เคยเป็นอัญเดียรถีย์ประสงค์จะ บรรพชาอุปสมบทในธรรมวินัยนี้ จะต้องอยู่ปริวาส ๔ เดือน หลังจาก ๔ เดือน ล่วงไปแล้ว เมื่อภิกษุพอใจก็จะให้บรรพชาอุปสมบทเป็นภิกษุ ข้าพระองค์จักขออยู่ ปริวาส ๔ ปี หลังจาก ๔ ปีล่วงไปแล้ว เมื่อภิกษุพอใจก็จะให้บรรพชาอุปสมบทเป็น ภิกษุ” @เชิงอรรถ : @ ปริวาสในพระสูตรนี้เรียกว่า ติตถิยปริวาส ได้แก่ ข้อบังคับนักบวชนอกพระพุทธศาสนาที่หันมาเลื่อมใส @พระธรรมวินัยแล้วประสงค์จะบวชเป็นภิกษุ ให้ขอปริวาสต่อสงฆ์ แล้วดำรงตนอย่างสามเณรครบ ๔ เดือน @จนสงฆ์พอใจจึงจะขออุปสมบทเป็นภิกษุได้ (ที.สี.อ. ๔๐๕/๒๙๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๑๗๓}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๘. มหาสีหนาทสูตร]

ว่าด้วยการอยู่ปริวาสของเดียรถีย์

อเจลกัสสปะได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาค เมื่อบวชแล้ว ไม่นาน จากไปอยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร มุ่งมั่นพระนิพพานอยู่ ไม่นาน นักก็ทำให้แจ้งที่สุดแห่งพรหมจรรย์๑- อันยอดเยี่ยม ที่เหล่ากุลบุตรผู้ออกจากเรือน ไปบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว๒- ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความ เป็นอย่างนี้อีกต่อไป’ จึงเป็นอันว่า ท่านพระกัสสปะได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระ อรหันต์ทั้งหลาย
มหาสีหนาทสูตรที่ ๘ จบ
@เชิงอรรถ : @ ที่สุดแห่งพรหมจรรย์ หมายถึงจุดสุดท้ายของการประพฤติธรรม ในที่นี้หมายเอา พระอรหัตตผล อันเป็น @จุดหมายสูงสุดของมรรคพรหมจรรย์ (ที.สี.อ. ๔๐๕/๓๐๐) @ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว หมายถึง กิจแห่งการปฏิบัติเพื่อทำลายอาสวกิเลสจบสิ้นสมบูรณ์แล้ว ไม่มีกิจ @ที่จะต้องทำเพื่อตนเอง แต่ยังมีหน้าที่เพื่อผู้อื่นอยู่ ผู้บรรลุถึงขั้นนี้ได้ชื่อว่า อเสขบุคคล (ที.สี.อ. ๒๔๘/๒๐๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๑๗๔}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๙ หน้าที่ ๑๗๑-๑๗๔. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=9&A=5046&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=9&siri=8              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=9&A=5295&Z=6028&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=9&i=260              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=9&item=260&items=15              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=9&item=260&items=15              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๙ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu9

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]