ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวิภังค์ ภาค ๑
คาถารวมวินีตวัตถุ
เรื่องที่ทรงวินิจฉัยแล้ว
เรื่องลิงตัวเมีย ๑ เรื่อง เรื่องพวกภิกษุวัชชีบุตร ๑ เรื่อง เรื่องปลอมเป็นคฤหัสถ์ ๑ เรื่อง เรื่องเปลือยกาย ๑ เรื่อง เรื่องปลอมเป็นเดียรถีย์ ๗ เรื่อง เรื่องเด็กหญิง ๑ เรื่อง เรื่องภิกษุณีอุบลวรรณา ๑ เรื่อง เรื่องเพศกลับ ๒ เรื่อง เรื่องมารดา ๑ เรื่อง เรื่องธิดา ๑ เรื่อง เรื่องน้องสาว ๑ เรื่อง เรื่องอดีตภรรยา ๑ เรื่อง เรื่องภิกษุหลังอ่อน ๑ เรื่อง เรื่องภิกษุองคชาตยาว ๑ เรื่อง เรื่องบาดแผล ๒ เรื่อง เรื่องรูปปั้น ๑ เรื่อง เรื่องตุ๊กตาไม้ ๑ เรื่อง เรื่องพระสุนทร ๑ เรื่อง เรื่องหญิง ๔ เรื่อง เรื่องป่าช้า ๕ เรื่อง เรื่องกระดูก ๑ เรื่อง เรื่องนางนาค ๑ เรื่อง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๕๓}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ วินีตวัตถุ

เรื่องนางยักษิณี ๑ เรื่อง เรื่องนางเปรต ๑ เรื่อง เรื่องบัณเฑาะก์ ๑ เรื่อง เรื่องภิกษุผู้มีกายประสาทพิการ ๑ เรื่อง เรื่องจับต้อง ๑ เรื่อง เรื่องพระอรหันต์ชาวเมืองภัททิยะหลับ ๑ เรื่อง เรื่องภิกษุชาวกรุงสาวัตถี ๔ เรื่อง เรื่องภิกษุชาวมัลละกรุงเวสาลี ๓ เรื่อง เรื่องภิกษุเปิดประตูจำวัด ๑ เรื่อง เรื่องภิกษุชาวเมืองภารุกัจฉะฝัน ๑ เรื่อง เรื่องอุบาสิกาชื่อสุปัพพา ๙ เรื่อง เรื่องอุบาสิกาชื่อสัทธา ๙ เรื่อง เรื่องภิกษุณี ๑ เรื่อง เรื่องสิกขมานา ๑ เรื่อง เรื่องสามเณรี ๑ เรื่อง เรื่องหญิงแพศยา ๑ เรื่อง เรื่องภิกษุบัณเฑาะก์ ๑ เรื่อง เรื่องหญิงคฤหัสถ์ ๑ เรื่อง เรื่องให้ภิกษุผลัดกัน ๑ เรื่อง เรื่องพระขรัวตา ๑ เรื่อง เรื่องลูกเนื้อ ๑ เรื่อง
วินีตวัตถุ
เรื่องลิงตัวเมีย ๑ เรื่อง
[๖๗] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเสพเมถุนธรรมกับนางลิง เกิดความกังวลใจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำ เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้อง อาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๑)
เรื่องพวกภิกษุวัชชีบุตร ๑ เรื่อง
สมัยนั้น พวกภิกษุวัชชีบุตรชาวกรุงเวสาลีหลายรูป ยังไม่บอกคืนสิกขา ไม่ เปิดเผยความท้อแท้ พากันเสพเมถุนธรรม เกิดความกังวลใจว่า พระผู้มีพระภาค ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว พวกเราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไป กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้อง อาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๒)
เรื่องปลอมเป็นคฤหัสถ์ ๑ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง ปลอมเป็นคฤหัสถ์ไปเสพเมถุนธรรมด้วยคิดว่า อย่างนี้ เราจะไม่ต้องอาบัติ แล้วเกิดความกังวลใจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๕๔}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ วินีตวัตถุ

แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรง ทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๓)
เรื่องเปลือยกาย ๑ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง เปลือยกายไปเสพเมถุนธรรมด้วยคิดว่า อย่างนี้ เราจะ ไม่ต้องอาบัติ แล้วเกิดความกังวลใจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๔)
เรื่องปลอมเป็นเดียรถีย์ ๗ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง นุ่งคากรองไปเสพเมถุนธรรม ด้วยคิดว่า อย่างนี้ เรา จะไม่ต้องอาบัติ แล้วเกิดความกังวลใจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๕) สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง นุ่งเปลือกไม้กรองไปเสพเมถุนธรรมด้วยคิดว่า อย่างนี้ เราจะไม่ต้องอาบัติ แล้วเกิดความกังวลใจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้ แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรง ทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๖) สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง นุ่งผ้าแผ่นกระดานกรอง๑- ไปเสพเมถุนธรรมด้วยคิดว่า อย่างนี้ เราจะไม่ต้องอาบัติ แล้วเกิดความกังวลใจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติ สิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระ ภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๗) @เชิงอรรถ : @ ผ้ามีสัณฐานดังเสื้อเกราะ ผลกจีรํ นาม ผลกสณฺฐานานิ ผลกานิ สิพฺเพตฺวา กตจีรํ แปลว่า ผ้า @เปลือกไม้ที่ทำขึ้นโดยเย็บแผ่นไม้ให้มีรูปร่างเหมือนเกราะโล่ (วิ.อ. ๑/๖๗/๒๙๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๕๕}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ วินีตวัตถุ

สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง นุ่งผ้าทอด้วยผมคนไปเสพเมถุนธรรมด้วยคิดว่า อย่างนี้ เราจะไม่ต้องอาบัติ แล้วเกิดความกังวลใจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้ แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรง ทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๘) สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง นุ่งผ้าทอด้วยขนจามรีไปเสพเมถุนธรรมด้วยคิดว่า อย่างนี้ เราจะไม่ต้องอาบัติ แล้วเกิดความกังวลใจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้ แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรง ทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๙) สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง นุ่งผ้าทอด้วยขนปีกนกเค้าไปเสพเมถุนธรรมด้วยคิดว่า อย่างนี้ เราจะไม่ต้องอาบัติ แล้วเกิดความกังวลใจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติ สิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระ ภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๑๐) สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง นุ่งหนังเสือไปเสพเมถุนธรรมด้วยคิดว่า อย่างนี้ เราจะ ไม่ต้องอาบัติ แล้วเกิดความกังวลใจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๑๑)
เรื่องเด็กหญิง ๑ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเที่ยวบิณฑบาต เห็นเด็กหญิงนอนบนตั่ง เกิดความ กำหนัดจึงสอดนิ้วหัวแม่มือเข้าในองค์กำเนิดเด็กหญิง เด็กหญิงนั้นตาย ท่านเกิด ความกังวลใจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิก หรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่องที่ ๑๒)
เรื่องภิกษุณีอุบลวรรณา ๑ เรื่อง
[๖๘] สมัยนั้น ชายหนุ่มคนหนึ่งมีความรักใคร่ภิกษุณีอุบลวรรณา วันหนึ่ง เมื่อภิกษุณีไปบิณฑบาตในหมู่บ้าน จึงเข้าไปซ่อนอยู่ในกุฏิ ภิกษุณีอุบลวรรณากลับ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๕๖}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ วินีตวัตถุ

จากบิณฑบาตหลังจากฉันอาหาร ล้างเท้าแล้วเข้ากุฏิ นั่งบนเตียง ทันใดนั้นเขาจึง ออกมาข่มขืนภิกษุณี ภิกษุณีไปบอกภิกษุณีทั้งหลาย ภิกษุณีทั้งหลายจึงบอกเรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนั้นไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีอุบลวรรณานั้นไม่ยินดี ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๑๓)
เรื่องเพศกลับ ๒ เรื่อง
[๖๙] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง เพศกลับกลายเป็นหญิง ภิกษุทั้งหลายจึงนำ เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ มีพระพุทธานุญาตว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถืออุปัชฌาย์เดิม ให้ถืออุปสมบทเดิม นับพรรษาเดิม และให้อยู่ร่วม กับภิกษุณีทั้งหลายได้ เราอนุญาตให้ปลงอาบัติของภิกษุทั้งหลายที่ทั่วไปกับภิกษุณี ทั้งหลายในสำนักภิกษุณี เธอไม่ต้องอาบัติของภิกษุทั้งหลายที่ไม่ทั่วไปกับภิกษุณี ทั้งหลาย” (เรื่องที่ ๑๔) สมัยนั้น ภิกษุณีรูปหนึ่ง เพศกลับกลายเป็นชาย ภิกษุทั้งหลาย จึงนำเรื่องนี้ ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ มีพระพุทธานุญาตว่า “เราอนุญาตให้ถือ อุปัชฌาย์เดิม ให้ถืออุปสมบทเดิม นับพรรษาเดิมและให้อยู่ร่วมกับภิกษุทั้งหลายได้ เราอนุญาตให้ปลงอาบัติของภิกษุณีทั้งหลายที่ทั่วไปกับภิกษุในสำนักภิกษุ เธอไม่ ต้องอาบัติของภิกษุณีทั้งหลายที่ไม่ทั่วไปกับภิกษุทั้งหลาย” (เรื่องที่ ๑๕)
เรื่องมารดา ๑ เรื่อง
[๗๐] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง เสพเมถุนธรรมกับมารดา ด้วยคิดว่า อย่างนี้ เราจะไม่ต้องอาบัติ แล้วเกิดความกังวลใจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้ แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรง ทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๑๖)
เรื่องธิดา ๑ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง เสพเมถุนธรรมกับธิดา ด้วยคิดว่า อย่างนี้ เราจะไม่ ต้องอาบัติ แล้วเกิดความกังวลใจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เรา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๕๗}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ วินีตวัตถุ

ต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุเธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๑๗)
เรื่องน้องสาว ๑ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง เสพเมถุนธรรมกับน้องสาวด้วยคิดว่า อย่างนี้ เรา จะไม่ต้องอาบัติ แล้วเกิดความกังวลใจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้ แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรง ทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๑๘)
เรื่องอดีตภรรยา ๑ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง เสพเมถุนธรรมกับอดีตภรรยา ด้วยคิดว่า อย่างนี้ เรา จะไม่ต้องอาบัติ แล้วเกิดความกังวลใจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๑๙)
เรื่องภิกษุหลังอ่อน ๑ เรื่อง
[๗๑] สมัยนั้น ภิกษุหลังอ่อนรูปหนึ่ง มีความกำหนัดมาก ใช้ปากอมองคชาต ของตน แล้วเกิดความกังวลใจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เรา ต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๒๐)
เรื่องภิกษุองคชาตยาว ๑ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีองคชาตยาว มีความกำหนัดมาก สอดองคชาตเข้า ทางทวารหนักของตนแล้วเกิดความกังวลใจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบท ไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๒๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๕๘}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ วินีตวัตถุ

เรื่องบาดแผล ๒ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งพบศพมีบาดแผลอยู่ใกล้องค์กำเนิด จึงสอดองคชาตเข้า ในองค์กำเนิดศพแล้วถอนออกทางบาดแผลด้วยคิดว่า อย่างนี้เราจะไม่ต้องอาบัติ แล้วเกิดความกังวลใจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติ ปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๒๒) สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งพบศพมีบาดแผลอยู่ใกล้องค์กำเนิด จึงสอดองคชาต เข้าในบาดแผลแล้วถอนออกทางองค์กำเนิดศพด้วยคิดว่า อย่างนี้เราจะไม่ต้องอาบัติ แล้วเกิดความความกังวลใจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้อง อาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระ องค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๒๓)
เรื่องรูปปั้น ๑ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความกำหนัด ใช้องคชาตเสียดสีเครื่องหมายเพศ รูปปั้น แล้วเกิดความกังวลใจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เรา ต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติทุกกฏ” (เรื่องที่ ๒๔)
เรื่องตุ๊กตาไม้ ๑ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความกำหนัด ใช้องคชาตเสียดสีเครื่องหมายเพศ ตุ๊กตาไม้ แล้วเกิดความกังวลใจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เรา ต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติทุกกฏ” (เรื่องที่ ๒๕)
เรื่องพระสุนทร ๑ เรื่อง
[๗๒] สมัยนั้น พระสุนทรเป็นชาวกรุงราชคฤห์ บวชด้วยศรัทธา เดินไปตาม ถนน หญิงคนหนึ่งเห็นเข้า ได้กล่าวกับท่านว่า “ท่านนิมนต์รอสักครู่ ดิฉันจะไหว้” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๕๙}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ วินีตวัตถุ

นางไหว้พลางเลิกอันตรวาสกขึ้น ใช้ปากอมองคชาต ท่านเกิดความกังวลใจว่า พระ ผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอยินดีหรือ” “ไม่ยินดี พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่ยินดีไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๒๖)
เรื่องหญิง ๔ เรื่อง
สมัยนั้น หญิงคนหนึ่งพบภิกษุแล้วกล่าวว่า “นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมกันเถิด เจ้าค่ะ” “อย่าเลยน้องหญิง เรื่องนี้ไม่สมควร” “นิมนต์เถิดเจ้าค่ะ ดิฉันจะทำเอง ท่านไม่ต้องทำ ถ้าทำอย่างนี้ ท่านไม่ต้องอาบัติ” ท่านได้ทำอย่างนั้น แล้วเกิดความ กังวลใจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอ ต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๒๗) สมัยนั้น หญิงคนหนึ่งพบภิกษุ แล้วกล่าวว่า “นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมกัน เถิดเจ้าค่ะ” “อย่าเลยน้องหญิง เรื่องนี้ไม่สมควร” “นิมนต์เถิดเจ้าค่ะ นิมนต์ท่านทำ ดิฉันไม่ต้องทำ ถ้าทำอย่างนี้ ท่านไม่ต้องอาบัติ” ท่านได้ทำอย่างนั้น แล้วเกิดความ กังวลใจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอ ต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๒๘) สมัยนั้น หญิงคนหนึ่งพบภิกษุ แล้วกล่าวว่า “นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมกัน เถิดเจ้าค่ะ” “อย่าเลยน้องหญิง เรื่องนี้ไม่สมควร” “นิมนต์เถิดเจ้าค่ะ นิมนต์ พยายามภายในแล้วหลั่งภายนอก ถ้าทำอย่างนี้ ท่านไม่ต้องอาบัติ” ท่านได้ทำอย่าง นั้น แล้วเกิดความกังวลใจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้อง อาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระ องค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๒๙) สมัยนั้น หญิงคนหนึ่ง พบภิกษุแล้วกล่าวว่า “นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมกัน เถิดเจ้าค่ะ” “อย่าเลย น้องหญิง เรื่องนี้ไม่สมควร” “นิมนต์เถิดเจ้าค่ะ นิมนต์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๖๐}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ วินีตวัตถุ

พยายามภายนอกแล้วหลั่งภายใน ถ้าทำอย่างนี้ ท่านไม่ต้องอาบัติ” ท่านได้ทำอย่าง นั้น แล้วเกิดความกังวลใจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เรา ต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๓๐)
เรื่องป่าช้า ๕ เรื่อง
[๗๓] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งไปป่าช้า มองเห็นศพที่ยังไม่ถูกสัตว์กัดกิน ได้ เสพเมถุนธรรมในศพนั้น แล้วเกิดความกังวลใจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติ สิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระ ภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๓๑) สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งไปป่าช้า มองเห็นศพยังไม่ถูกสัตว์กัดกินโดยมาก ได้ เสพเมถุนธรรมในศพนั้น แล้วเกิดความกังวลใจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติ สิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระ ภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๓๒) สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งไปป่าช้า มองเห็นศพถูกสัตว์กัดกินโดยมาก ได้เสพ เมถุนธรรมในศพนั้น แล้วเกิดความกังวลใจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบท ไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๓๓) สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งไปป่าช้า มองเห็นศพที่ศีรษะขาดจึงสอดองคชาตเข้าไป กระทบภายในปากที่อ้า แล้วเกิดความกังวลใจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติ สิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี พระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๓๔) สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งไปป่าช้า มองเห็นศพที่ศีรษะขาดจึงสอดองคชาตเข้า ภายในปากที่อ้าไม่ให้กระทบอะไรแล้วเกิดความกังวลใจว่า พระผู้มีพระภาค ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๖๑}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ วินีตวัตถุ

ทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติทุกกฏ” (เรื่องที่ ๓๕)
เรื่องกระดูก ๑ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งหลงรักสตรีคนหนึ่ง ต่อมานางเสียชีวิต ถูกนำไปทิ้งไว้ ในป่าช้า กระดูกกระจัดกระจาย วันหนึ่งภิกษุรูปนั้นไปป่าช้า เก็บกระดูกรวมเป็นร่าง จดองคชาตลงที่เครื่องหมายเพศ แล้วเกิดความกังวลใจว่า พระผู้มีพระภาคทรง บัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระ ผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้อง อาบัติทุกกฏ” (เรื่องที่ ๓๖)
เรื่องนางนาค ๑ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเสพเมถุนธรรมกับนางนาค แล้วเกิดความกังวลใจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำ เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้พระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติ ปาราชิก” (เรื่องที่ ๓๗)
เรื่องนางยักษิณี ๑ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเสพเมถุนธรรมกับนางยักษิณี แล้วเกิดความกังวลใจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำ เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติ ปาราชิก” (เรื่องที่ ๓๘)
เรื่องนางเปรต ๑ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเสพเมถุนธรรมกับนางเปรต แล้วเกิดความกังวลใจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำ เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติ ปาราชิก” (เรื่องที่ ๓๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๖๒}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ วินีตวัตถุ

เรื่องบัณเฑาะก์ ๑ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเสพเมถุนธรรมกับบัณเฑาะก์ แล้วเกิดความกังวลใจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำ เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้อง อาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๔๐)
เรื่องภิกษุผู้มีกายประสาทพิการ ๑ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุผู้มีกายประสาทพิการรูปหนึ่งคิดว่า “เราไม่รู้สึกสุขหรือทุกข์จึง ไม่ต้องอาบัติ” จึงเสพเมถุนธรรม แล้วเกิดความกังวลใจว่า พระผู้มีพระภาคทรง บัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงบอกเรื่องนี้ให้ภิกษุทั้ง หลายทราบ พวกภิกษุจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ พระองค์ ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย โมฆบุรุษนั้นจะรู้สึกหรือไม่รู้สึกก็ตาม ก็ต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๔๑)
เรื่องจับต้อง ๑ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งคิดจะเสพเมถุนธรรมกับหญิง แต่ครั้นพอจับต้อง เท่านั้นก็เกิดความเดือดร้อนใจ แล้วเกิดความกังวลใจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติ สิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี พระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้อง อาบัติทุกกฏ”๑- (เรื่องที่ ๔๒)
เรื่องพระอรหันต์ชาวเมืองภัททิยะหลับ ๑ เรื่อง
[๗๔] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งจำวัดกลางวันในป่าชาติยาวัน เขตเมืองภัททิยะ ขณะที่จำวัดหลับ อวัยวะทุกส่วนของท่านถูกลมรำเพยให้แข็งตัว หญิงคนหนึ่งพบเข้า @เชิงอรรถ : @ แก้เป็น “อาปตฺติ สงฺฆาทิเสสสฺส แปลว่า ต้องอาบัติสังฆาทิเสส” เป็นการแก้ความตามนัยบาลีเก่า @(วิ.อ. ๑/๗๓/๓๐๑, สารตฺถ.ฏีกา. ๒/๑๓๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๖๓}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ วินีตวัตถุ

จึงนั่งคร่อมองคชาต ทำการจนพอใจแล้วจากไป ภิกษุทั้งหลายเห็นองคชาตเปรอะ เปื้อนจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ ทั้งหลาย องคชาตแข็งตัวได้ด้วยเหตุ ๕ อย่าง คือ กำหนัด ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ ถูกลมรำเพยพัด ถูกบุ้งขน องคชาตจะแข็งตัวเพราะเหตุ ๕ อย่างนี้ ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่องคชาตของภิกษุนั้นจะแข็งตัวเพราะความกำหนัดนั้นเป็นไปไม่ได้ เพราะภิกษุนั้น เป็นพระอรหันต์ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๔๓)
เรื่องภิกษุชาวกรุงสาวัตถี ๔ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง จำวัดกลางวันในป่าอันธวัน เขตกรุงสาวัตถี หญิง เลี้ยงโคคนหนึ่งพบเข้าจึงนั่งคร่อมองคชาต ท่านยินดีขณะกำลังสอดเข้าไป ยินดีขณะ สอดเข้าไปแล้ว ยินดีขณะหยุดอยู่ ยินดีขณะถอนออก แล้วเกิดความกังวลใจว่า พระ ผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำ เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้อง อาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๔๔) สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งจำวัดกลางวันในป่าอันธวัน เขตกรุงสาวัตถี หญิงเลี้ยง แพะคนหนึ่ง พบเข้าจึงนั่งคร่อมองคชาต ท่านยินดีขณะกำลังสอดเข้าไป ยินดีขณะ สอดเข้าไปแล้ว ยินดีขณะหยุดอยู่ ยินดีขณะถอนออก แล้วเกิดความกังวลใจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำ เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้อง อาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๔๕) สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งจำวัดกลางวันในป่าอันธวัน เขตกรุงสาวัตถี หญิงหา ฟืนคนหนึ่ง พบเข้าจึงนั่งคร่อมองคชาต ท่านยินดีขณะกำลังสอดเข้าไป ยินดีขณะ สอดเข้าไปแล้ว ยินดีขณะหยุดอยู่ ยินดีขณะถอนออก แล้วเกิดความกังวลใจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำ เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้อง อาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๔๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๖๔}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ วินีตวัตถุ

สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งจำวัดกลางวันในป่าอันธวัน เขตกรุงสาวัตถี หญิงขน โคมัยคนหนึ่ง พบเข้าจึงนั่งคร่อมองคชาต ท่านยินดีขณะกำลังสอดเข้าไป ยินดีขณะ สอดเข้าไปแล้ว ยินดีขณะหยุดอยู่ ยินดีขณะถอนออก แล้วเกิดความกังวลใจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำ เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้อง อาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๔๗)
เรื่องภิกษุชาวมัลละกรุงเวสาลี ๓ เรื่อง
[๗๕] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งจำวัดกลางวันในป่ามหาวัน เขตกรุงเวสาลี หญิงคนหนึ่งพบเข้าจึงนั่งคร่อมองคชาต ทำการจนพอใจแล้วยืนหัวเราะอยู่ใกล้ๆ ภิกษุนั้นตื่นขึ้นมา กล่าวกะหญิงนั้นว่า “นี่เป็นการกระทำของเธอหรือ” “ใช่แล้ว นี่เป็น การกระทำของดิฉัน” ท่านเกิดความกังวลใจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบท ไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอรู้หรือ” “ไม่รู้ พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่รู้ ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๔๘) [๗๖] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งจำวัดกลางวันในป่ามหาวัน เขตกรุงเวสาลี ขณะ ที่จำวัดหลับพิงต้นไม้ หญิงคนหนึ่งพบเข้าจึงนั่งคร่อมองคชาต ท่านรีบลุกขึ้นทันที แล้วเกิดความกังวลใจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติ ปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอยินดีหรือ” “ไม่ยินดี พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่ยินดี ไม่ ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๔๙) สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งจำวัดกลางวันในป่ามหาวัน เขตกรุงเวสาลี ขณะที่จำวัด หลับพิงต้นไม้ หญิงคนหนึ่งพบเข้าจึงนั่งคร่อมองคชาต ท่านผลักนางกลิ้งไป แล้วเกิด ความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี พระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอยินดีหรือ” “ไม่ยินดี พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่ยินดี ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๕๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๖๕}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ วินีตวัตถุ

เรื่องภิกษุเปิดประตูจำวัด ๑ เรื่อง
[๗๗] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งจำวัดกลางวันในกูฏาคารศาลาป่ามหาวัน เขต กรุงเวสาลี ขณะที่เปิดประตูจำวัดหลับ อวัยวะทุกส่วนของท่านถูกลมรำเพยให้แข็งตัว ครั้งนั้นมีหญิงหลายคนถือของหอมและดอกไม้พากันไปอาราม มองไปที่วิหาร เห็น ภิกษุนั้น จึงไปนั่งคร่อมองคชาต ทำการจนพอใจแล้วกล่าวชมเชยภิกษุนั้นว่า “เป็น ผู้ชายยอดเยี่ยมจริงๆ คนนี้” จากนั้นได้ยกของหอมและดอกไม้พากันจากไป ภิกษุ ทั้งหลายเห็นองคชาต (ของภิกษุผู้หลับ) เปรอะเปื้อน จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี พระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย องคชาตแข็งตัวได้ด้วยเหตุ ๕ อย่าง คือ กำหนัด ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ ถูกลมรำเพยพัด ถูกบุ้งขน องคชาต จะแข็งตัว เพราะเหตุ ๕ อย่างนี้ ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่องคชาตของภิกษุนั้นจะแข็งตัว เพราะความกำหนัดนั้น เป็นไปไม่ได้ เพราะภิกษุนั้น เป็นพระอรหันต์ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นไม่ต้องอาบัติ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้จะหลีกเร้นพักผ่อนกลางวัน ปิดประตูแล้วจึงหลีกเร้นพักผ่อน” (เรื่องที่ ๕๑)
เรื่องภิกษุชาวเมืองภารุกัจฉะฝัน ๑ เรื่อง
[๗๘] สมัยนั้น ภิกษุชาวเมืองภารุกัจฉะรูปหนึ่ง ฝันว่าได้เสพเมถุนธรรมกับ อดีตภรรยา จึงคิดว่า เราไม่ใช่สมณะ จักสึก ขณะเดินไปเมืองภารุกัจฉะ ในระหว่าง ทางพบพระอุบาลี จึงเรียนให้ท่านทราบ พระอุบาลีชี้แจงว่า “ท่าน เพียงความฝัน ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๕๒)
เรื่องอุบาสิกาชื่อสุปัพพา ๙ เรื่อง
สมัยนั้น ในกรุงราชคฤห์ มีอุบาสิกาคนหนึ่งชื่อสุปัพพา มีความเลื่อมใสแบบ งมงาย มีความเห็นอย่างนี้ว่า หญิงผู้ถวายเมถุนธรรม ชื่อว่าได้ถวายทานอันเลิศ เมื่อนางพบภิกษุรูปหนึ่งจึงกล่าวว่า “นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมกันเถิดเจ้าค่ะ” “อย่า เลยน้องหญิง เรื่องนี้ไม่สมควร” “นิมนต์เถิดเจ้าค่ะ นิมนต์เสียดสีที่ระหว่างขาอ่อน ทำอย่างนี้ ท่านไม่ต้องอาบัติ” ท่านได้ทำอย่างนั้น แล้วเกิดความกังวลใจว่า พระ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๖๖}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ วินีตวัตถุ

ผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติ ปาราชิก แต่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่องที่ ๕๓) สมัยนั้น ในกรุงราชคฤห์ มีอุบาสิกาคนหนึ่งชื่อสุปัพพา มีความเลื่อมใสแบบ งมงาย มีความเห็นอย่างนี้ว่า หญิงผู้ถวายเมถุนธรรม ชื่อว่าได้ถวายทานอันเลิศ เมื่อ นางพบภิกษุรูปหนึ่ง จึงกล่าวว่า “นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมกันเถิดเจ้าค่ะ” “อย่าเลย น้องหญิง เรื่องนี้ไม่สมควร” “นิมนต์เถิดเจ้าค่ะ นิมนต์เสียดสีที่สะดือ ทำอย่างนี้ ท่านไม่ต้องอาบัติ” ท่านได้ทำอย่างนั้น แล้วเกิดความกังวลใจว่า พระผู้มีพระภาค ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่องที่ ๕๔) สมัยนั้น ในกรุงราชคฤห์ มีอุบาสิกาคนหนึ่งชื่อสุปัพพา มีความเลื่อมใสแบบ งมงาย มีความเห็นอย่างนี้ว่า หญิงผู้ถวายเมถุนธรรม ชื่อว่าได้ถวายทานอันเลิศ เมื่อ นางพบภิกษุรูปหนึ่ง จึงกล่าวว่า “นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมกันเถิดเจ้าค่ะ” “อย่าเลย น้องหญิง เรื่องนี้ไม่สมควร” “นิมนต์เถิดเจ้าค่ะ นิมนต์เสียดสีที่เกลียวท้อง ทำอย่างนี้ ท่านไม่ต้องอาบัติ” ท่านได้ทำอย่างนั้น แล้วเกิดความกังวลใจว่า พระผู้มีพระภาค ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่องที่ ๕๕) สมัยนั้น ในกรุงราชคฤห์ มีอุบาสิกาคนหนึ่งชื่อสุปัพพา มีความเลื่อมใสแบบ งมงาย มีความเห็นอย่างนี้ว่า หญิงผู้ถวายเมถุนธรรม ชื่อว่าได้ถวายทานอันเลิศ เมื่อ นางพบภิกษุรูปหนึ่ง จึงกล่าวว่า “นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมกันเถิดเจ้าค่ะ” “อย่าเลย น้องหญิง เรื่องนี้ไม่สมควร” “นิมนต์เถิดเจ้าค่ะ นิมนต์เสียดสีที่ซอกรักแร้ ทำอย่างนี้ ท่านไม่ต้องอาบัติ” ท่านได้ทำอย่างนั้น แล้วเกิดความกังวลใจว่า พระผู้มีพระภาค ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๖๗}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ วินีตวัตถุ

พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่องที่ ๕๖) สมัยนั้น ในกรุงราชคฤห์ มีอุบาสิกาคนหนึ่งชื่อสุปัพพา มีความเลื่อมใสแบบ งมงาย มีความเห็นอย่างนี้ว่า หญิงผู้ถวายเมถุนธรรม ชื่อว่าได้ถวายทานอันเลิศ เมื่อ นางพบภิกษุรูปหนึ่ง จึงกล่าวว่า “นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมกันเถิดเจ้าค่ะ” “อย่าเลย น้องหญิง เรื่องนี้ไม่สมควร” “นิมนต์เถิดเจ้าค่ะ นิมนต์เสียดสีที่คอ ทำอย่างนี้ ท่าน ไม่ต้องอาบัติ” ท่านได้ทำอย่างนั้น แล้วเกิดความกังวลใจว่า พระผู้มีพระภาคทรง บัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระ ผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้อง อาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่องที่ ๕๗) สมัยนั้น ในกรุงราชคฤห์ มีอุบาสิกาคนหนึ่งชื่อสุปัพพา มีความเลื่อมใสแบบ งมงาย มีความเห็นอย่างนี้ว่า หญิงผู้ถวายเมถุนธรรม ชื่อว่าได้ถวายทานอันเลิศ เมื่อ นางพบภิกษุรูปหนึ่ง จึงกล่าวว่า “นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมกันเถิดเจ้าค่ะ” “อย่าเลย น้องหญิง เรื่องนี้ไม่สมควร” “นิมนต์เถิดเจ้าค่ะ นิมนต์เสียดสีที่ช่องหู ทำอย่างนี้ ท่านไม่ต้องอาบัติ” ท่านได้ทำอย่างนั้น แล้วเกิดความกังวลใจว่า พระผู้มีพระภาค ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่องที่ ๕๘) สมัยนั้น ในกรุงราชคฤห์ มีอุบาสิกาคนหนึ่งชื่อสุปัพพา มีความเลื่อมใสแบบ งมงาย มีความเห็นอย่างนี้ว่า หญิงผู้ถวายเมถุนธรรม ชื่อว่าได้ถวายทานอันเลิศ เมื่อนางพบภิกษุรูปหนึ่ง จึงกล่าวว่า “นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมกันเถิดเจ้าค่ะ” “อย่า เลยน้องหญิง เรื่องนี้ไม่สมควร” “นิมนต์เถิดเจ้าค่ะ นิมนต์เสียดสีที่มวยผม ทำอย่างนี้ ท่านไม่ต้องอาบัติ” ท่านได้ทำอย่างนั้น แล้วเกิดความกังวลใจว่า พระผู้มีพระภาค ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่องที่ ๕๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๖๘}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ วินีตวัตถุ

สมัยนั้น ในกรุงราชคฤห์ มีอุบาสิกาคนหนึ่งชื่อสุปัพพา มีความเลื่อมใสแบบ งมงาย มีความเห็นอย่างนี้ว่า หญิงผู้ถวายเมถุนธรรม ชื่อว่าได้ถวายทานอันเลิศ เมื่อ นางพบภิกษุรูปหนึ่ง จึงกล่าวว่า “นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมกันเถิดเจ้าค่ะ” “อย่าเลย น้องหญิง เรื่องนี้ไม่สมควร” “นิมนต์เถิดเจ้าค่ะ นิมนต์เสียดสีที่ง่ามมือ ทำอย่างนี้ ท่านไม่ต้องอาบัติ” ท่านได้ทำอย่างนั้น แล้วเกิดความกังวลใจว่า พระผู้มีพระภาค ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่องที่ ๖๐) สมัยนั้น ในกรุงราชคฤห์ มีอุบาสิกาคนหนึ่งชื่อสุปัพพา มีความเลื่อมใสแบบ งมงาย มีความเห็นอย่างนี้ว่า หญิงผู้ถวายเมถุนธรรม ชื่อว่าได้ถวายทานอันเลิศ เมื่อ นางพบภิกษุรูปหนึ่ง จึงกล่าวว่า “นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมกันเถิดเจ้าค่ะ” “อย่าเลย น้องหญิง เรื่องนี้ไม่สมควร” “นิมนต์เถิดเจ้าค่ะ ดิฉันจะใช้มือพยายามปล่อยอสุจิให้ ทำอย่างนี้ ท่านไม่ต้องอาบัติ” ท่านได้ทำอย่างนั้น แล้วเกิดความกังวลใจว่า พระ ผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติ ปาราชิก แต่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่องที่ ๖๑)
เรื่องอุบาสิกาชื่อสัทธา ๙ เรื่อง
[๗๙] สมัยนั้น ในกรุงสาวัตถี มีอุบาสิกาคนหนึ่งชื่อสัทธา มีความเลื่อมใส แบบงมงาย มีความเห็นอย่างนี้ว่า หญิงผู้ถวายเมถุนธรรม ชื่อว่าได้ถวายทานอันเลิศ เมื่อนางพบภิกษุรูปหนึ่งจึงกล่าวว่า “นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมกันเถิดเจ้าค่ะ” “อย่า เลย น้องหญิง เรื่องนี้ไม่สมควร” “นิมนต์เถิดเจ้าค่ะ นิมนต์เสียดสีที่ระหว่างขาอ่อน ทำอย่างนี้ ท่านไม่ต้องอาบัติ” ท่านได้ทำอย่างนั้นแล้วเกิดความกังวลใจว่า พระ ผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่อง นี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้อง อาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่องที่ ๖๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๖๙}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ วินีตวัตถุ

สมัยนั้น ในกรุงราชคฤห์ มีอุบาสิกาคนหนึ่งชื่อสัทธา มีความเลื่อมใสแบบ งมงาย มีความเห็นอย่างนี้ว่า หญิงผู้ถวายเมถุนธรรม ชื่อว่าได้ถวายทานอันเลิศ เมื่อ นางพบภิกษุรูปหนึ่ง จึงกล่าวว่า “นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมกันเถิดเจ้าค่ะ” “อย่า เลยน้องหญิง เรื่องนี้ไม่สมควร” “นิมนต์เถิดเจ้าค่ะ นิมนต์เสียดสีที่สะดือ ทำอย่างนี้ ท่านไม่ต้องอาบัติ” ท่านได้ทำอย่างนั้นแล้วเกิดความกังวลใจว่า พระผู้มีพระภาคทรง บัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระ ผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้อง อาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่องที่ ๖๓) สมัยหนึ่ง ในกรุงราชคฤห์ มีอุบาสิกาคนหนึ่งชื่อสัทธา มีความเลื่อมใสแบบ งมงาย มีความเห็นอย่างนี้ว่า หญิงผู้ถวายเมถุนธรรม ชื่อว่าได้ถวายทานอันเลิศ เมื่อ นางพบภิกษุรูปหนึ่งจึงกล่าวว่า “นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมกันเถิดเจ้าค่ะ” “อย่าเลย น้องหญิง เรื่องนี้ไม่สมควร” “นิมนต์เถิดเจ้าค่ะ นิมนต์เสียดสีที่เกลียวท้อง ทำอย่างนี้ ท่านไม่ต้องอาบัติ” ท่านได้ทำอย่างนั้น แล้วเกิดความกังวลใจว่า พระผู้มีพระภาค ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่องที่ ๖๔) สมัยหนึ่ง ในกรุงราชคฤห์ มีอุบาสิกาคนหนึ่งชื่อสัทธา มีความเลื่อมใสแบบ งมงาย มีความเห็นอย่างนี้ว่า หญิงผู้ถวายเมถุนธรรม ชื่อว่าได้ถวายทานอันเลิศ เมื่อ นางพบภิกษุรูปหนึ่ง จึงกล่าวว่า “นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมกันเถิดเจ้าค่ะ” “อย่าเลย น้องหญิง เรื่องนี้ไม่สมควร” “นิมนต์เถิดเจ้าค่ะ นิมนต์เสียดสีที่ซอกรักแร้ ทำอย่างนี้ ท่านไม่ต้องอาบัติ” ท่านได้ทำอย่างนั้น แล้วเกิดความกังวลใจว่า พระผู้มีพระภาค ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่องที่ ๖๕) สมัยหนึ่ง ในกรุงราชคฤห์ มีอุบาสิกาคนหนึ่งชื่อสัทธา มีความเลื่อมใสแบบ งมงาย มีความเห็นอย่างนี้ว่า หญิงผู้ถวายเมถุนธรรม ชื่อว่าได้ถวายทานอันเลิศ เมื่อ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๗๐}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ วินีตวัตถุ

นางพบภิกษุรูปหนึ่ง จึงกล่าวว่า “นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมกันเถิดเจ้าค่ะ” “อย่า เลยน้องหญิง เรื่องนี้ไม่สมควร” “นิมนต์เถิดเจ้าค่ะ นิมนต์เสียดสีที่คอ ทำอย่างนี้ ท่านไม่ต้องอาบัติ” ท่านได้ทำอย่างนั้น แล้วเกิดความกังวลใจว่า พระผู้มีพระภาค ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่องที่ ๖๖) สมัยหนึ่ง ในกรุงราชคฤห์ มีอุบาสิกาคนหนึ่งชื่อสัทธา มีความเลื่อมใสแบบ งมงาย มีความเห็นอย่างนี้ว่า หญิงผู้ถวายเมถุนธรรม ชื่อว่าได้ถวายทานอันเลิศ เมื่อนางพบภิกษุรูปหนึ่ง จึงกล่าวว่า “นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมกันเถิดเจ้าค่ะ” “อย่าเลยน้องหญิง เรื่องนี้ไม่สมควร” “นิมนต์เถิดเจ้าค่ะ นิมนต์เสียดสีที่ช่องหู ทำ อย่างนี้ ท่านไม่ต้องอาบัติ” ท่านได้ทำอย่างนั้น แล้วเกิดความกังวลใจว่า พระผู้มี พระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไป กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติ ปาราชิก แต่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่องที่ ๖๗) สมัยหนึ่ง ในกรุงราชคฤห์ มีอุบาสิกาคนหนึ่งชื่อสัทธา มีความเลื่อมใสแบบ งมงาย มีความเห็นอย่างนี้ว่า หญิงผู้ถวายเมถุนธรรม ชื่อว่าได้ถวายทานอันเลิศ เมื่อนางพบภิกษุรูปหนึ่ง จึงกล่าวว่า “นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมกันเถิดเจ้าค่ะ” “อย่าเลยน้องหญิง เรื่องนี้ไม่สมควร” “นิมนต์เถิดเจ้าค่ะ นิมนต์เสียดสีที่มวยผม ทำอย่างนี้ ท่านไม่ต้องอาบัติ” ท่านได้ทำอย่างนั้น แล้วเกิดความกังวลใจว่า พระผู้มี พระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไป กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติ ปาราชิก แต่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่องที่ ๖๘) สมัยหนึ่ง ในกรุงราชคฤห์ มีอุบาสิกาคนหนึ่งชื่อสัทธา มีความเลื่อมใสแบบ งมงาย มีความเห็นอย่างนี้ว่า หญิงผู้ถวายเมถุนธรรม ชื่อว่าได้ถวายทานอันเลิศ เมื่อ นางพบภิกษุรูปหนึ่ง จึงกล่าวว่า “นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมกันเถิดเจ้าค่ะ” “อย่าเลย น้องหญิง เรื่องนี้ไม่สมควร” “นิมนต์เถิดเจ้าค่ะ นิมนต์เสียดสีที่ง่ามมือ ทำอย่างนี้ ท่านไม่ต้องอาบัติ” ท่านได้ทำอย่างนั้น แล้วเกิดความกังวลใจว่า พระผู้มีพระภาค {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๗๑}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ วินีตวัตถุ

ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่องที่ ๖๙) สมัยหนึ่ง ในกรุงราชคฤห์ มีอุบาสิกาคนหนึ่งชื่อสัทธา มีความเลื่อมใสแบบ งมงาย มีความเห็นอย่างนี้ว่า หญิงผู้ถวายเมถุนธรรม ชื่อว่าได้ถวายทานอันเลิศ เมื่อนางพบภิกษุรูปหนึ่ง จึงกล่าวว่า “นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมกันเถิดเจ้าค่ะ” “อย่า เลย น้องหญิง เรื่องนี้ไม่สมควร” “นิมนต์เถิดเจ้าค่ะ ดิฉันจะใช้มือพยายามปล่อย อสุจิให้ ทำอย่างนี้ ท่านไม่ต้องอาบัติ” ท่านได้ทำอย่างนั้น แล้วเกิดความกังวลใจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำ เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้อง อาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่องที่ ๗๐)
เรื่องภิกษุณี ๑ เรื่อง
[๘๐] สมัยนั้น ในกรุงเวสาลี เจ้าชายลิจฉวีทั้งหลายจับภิกษุให้เสพเมถุน ธรรมกับภิกษุณี เธอทั้งสองยินดี พึงให้สึกเสียทั้งคู่ ทั้งสองไม่ยินดีไม่ต้องอาบัติ (เรื่องที่ ๗๑)
เรื่องสิกขมานา ๑ เรื่อง
สมัยนั้น ในกรุงเวสาลี เจ้าชายลิจฉวีทั้งหลายจับภิกษุให้เสพเมถุนธรรมกับ สิกขมานา เธอทั้งสองยินดี พึงให้สึกเสียทั้งคู่ ทั้งสองไม่ยินดีไม่ต้องอาบัติ (เรื่องที่ ๗๒)
เรื่องสามเณรี ๑ เรื่อง
สมัยนั้น ในกรุงเวสาลี เจ้าชายลิจฉวีทั้งหลาย จับภิกษุให้เสพเมถุนธรรมกับ สามเณรี เธอทั้งสองยินดี พึงให้สึกเสียทั้งคู่ ทั้งสองไม่ยินดี ไม่ต้องอาบัติ (เรื่องที่ ๗๓)
เรื่องหญิงแพศยา ๑ เรื่อง
[๘๑] สมัยนั้น ในกรุงเวสาลี เจ้าชายลิจฉวีทั้งหลายจับภิกษุให้เสพเมถุน ธรรมกับหญิงแพศยา ภิกษุยินดี พึงให้สึกเสีย ถ้าไม่ยินดี ไม่ต้องอาบัติ (เรื่องที่ ๗๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๗๒}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ วินีตวัตถุ

เรื่องบัณเฑาะก์ ๑ เรื่อง
สมัยนั้น ในกรุงเวสาลี เจ้าชายลิจฉวีทั้งหลายจับภิกษุให้เสพเมถุนธรรมกับ บัณเฑาะก์ ภิกษุยินดี พึงให้สึกเสีย ถ้าไม่ยินดี ไม่ต้องอาบัติ (เรื่องที่ ๗๕)
เรื่องหญิงคฤหัสถ์ ๑ เรื่อง
สมัยนั้น ในกรุงเวสาลี เจ้าชายลิจฉวีทั้งหลายจับภิกษุให้เสพเมถุนธรรมกับ หญิงคฤหัสถ์ ภิกษุยินดี พึงให้สึกเสีย ถ้าไม่ยินดี ไม่ต้องอาบัติ (เรื่องที่ ๗๖)
เรื่องให้ภิกษุผลัดกัน ๑ เรื่อง
สมัยนั้น ในกรุงเวสาลี เจ้าชายลิจฉวีทั้งหลายจับภิกษุให้เสพเมถุนธรรมกับ กันและกัน เธอทั้งสองยินดี พึงให้สึกเสียทั้งคู่ ถ้าไม่ยินดี ไม่ต้องอาบัติ (เรื่องที่ ๗๗)
เรื่องพระขรัวตา ๑ เรื่อง
[๘๒] สมัยนั้น พระขรัวตารูปหนึ่งไปเยี่ยมอดีตภรรยา ถูกบังคับให้สึก ท่าน ถอยหนีจนล้มหงาย นางขึ้นคร่อมองคชาต ท่านเกิดความกังวลใจว่า พระผู้มีพระ ภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไป กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอยินดีหรือ” “ไม่ยินดี พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่ยินดีไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๗๘)
เรื่องลูกเนื้อ ๑ เรื่อง
[๘๓] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ในป่า ลูกเนื้อมาที่ถ่ายปัสสาวะของท่านแล้ว อมองคชาตพลางดื่มน้ำปัสสาวะ ท่านยินดี เกิดความกังวลใจว่า พระผู้มีพระภาค ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก (เรื่องที่ ๗๙)
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๗๓}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๕๓-๗๓. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=1&siri=13              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5], [6], [7], [8].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=1&A=5569&Z=6086                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=1&i=48              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=1&item=48&items=31              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=1&A=6863              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=1&item=48&items=31              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=1&A=6863                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu1              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-pj1/en/brahmali#pli-tv-bu-vb-pj1:9.7.31



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :