ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวิภังค์ ภาค ๑
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ ๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่รู้ ๓. ภิกษุไม่มีความประสงค์จะฆ่า ๔. ภิกษุวิกลจริต ๕. ภิกษุมีจิตฟุ้งซ่าน ๖. ภิกษุกระสับกระส่ายเพราะเวทนา ๗. ภิกษุต้นบัญญัติ
ปฐมภาณวาร ในมนุสสวิคคหปาราชิก จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๑๕๐}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ คาถารวมวินีตวัตถุ

คาถารวมวินีตวัตถุ
เรื่องที่ทรงวินิจฉัยแล้ว
เรื่องพรรณนาคุณความตาย ๑ เรื่อง เรื่องนั่ง ๑ เรื่อง เรื่องสาก ๑ เรื่อง เรื่องไม้สำหรับทำครก ๑ เรื่อง เรื่องพระขรัวตา ๓ เรื่อง เรื่องเนื้อติดคอ ๓ เรื่อง เรื่องยาพิษ ๒ เรื่อง เรื่องเตรียมพื้นที่สร้างวิหาร ๓ เรื่อง เรื่องอิฐ ๓ เรื่อง เรื่องมีด ๓ เรื่อง เรื่องไม้กลอน ๓ เรื่อง เรื่องนั่งร้าน ๓ เรื่อง เรื่องให้ลงจากหลังคา ๓ เรื่อง เรื่องกระโดดหน้าผา ๒ เรื่อง เรื่องอบตัว ๓ เรื่อง เรื่องนัตถุ์ยา ๓ เรื่อง เรื่องนวด ๓ เรื่อง เรื่องให้อาบน้ำ ๓ เรื่อง เรื่องให้ทาน้ำมัน ๓ เรื่อง เรื่องให้ลุกขึ้น ๓ เรื่อง เรื่องทำให้ล้ม ๓ เรื่อง เรื่องให้ตายด้วยข้าว ๓ เรื่อง เรื่องให้ตายด้วยน้ำฉัน ๓ เรื่อง เรื่องหญิงมีครรภ์กับชายชู้ ๑ เรื่อง เรื่องหญิงร่วมสามี ๒ เรื่อง เรื่องนาบครรภ์ให้ร้อน ๑ เรื่อง เรื่องฆ่ามารดาและบุตรทั้ง ๒ คนตาย ๑ เรื่อง เรื่องฆ่ามารดาและบุตรทั้ง ๒ คนไม่ตาย ๑ เรื่อง เรื่องให้รีด ๑ เรื่อง เรื่องหญิงหมัน ๑ เรื่อง เรื่องหญิงไม่เป็นหมัน ๑ เรื่อง เรื่องจี้ ๑ เรื่อง เรื่องทับ ๑ เรื่อง เรื่องฆ่ายักษ์ ๑ เรื่อง เรื่องส่งไปสู่ที่มีสัตว์ร้ายและยักษ์ดุ ๙ เรื่อง เรื่องสำคัญว่าใช่ ๔ เรื่อง เรื่องประหาร ๓ เรื่อง เรื่องพรรณนาสวรรค์ ๓ เรื่อง เรื่องพรรณนานรก ๓ เรื่อง เรื่องต้นไม้ที่เมืองอาฬวี ๓ เรื่อง เรื่องเผาป่า ๓ เรื่อง เรื่องไม่ให้ลำบาก ๑ เรื่อง เรื่องไม่ทำตามท่าน ๑ เรื่อง เรื่องให้ดื่มเปรียง ๑ เรื่อง เรื่องให้ดื่มยาโลณโสวีรกะ ๑ เรื่อง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๑๕๑}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ วินีตวัตถุ

วินีตวัตถุ
เรื่องพรรณนาคุณความตาย ๑ เรื่อง
[๑๘๐] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายได้พรรณนาคุณแห่ง ความตายให้ท่านฟังด้วยความสงสาร ท่านถึงแก่มรณภาพ ภิกษุเหล่านั้นเกิดความ กังวลใจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระ ภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๑)
เรื่องนั่ง ๑ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรรูปหนึ่ง นั่งทับเด็กชายที่เขาใช้ผ้าเก่า คลุมไว้บนตั่ง ทำให้เด็กนั้นตาย ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือ หนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก อนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยังไม่ได้พิจารณาแล้วไม่พึงนั่ง บนอาสนะ ภิกษุใดนั่ง ต้องอาบัติทุกกฏ” (เรื่องที่ ๒)
เรื่องสาก ๑ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งปูลาดอาสนะที่โรงอาหารในละแวกบ้าน ได้หยิบสากอัน หนึ่งในสากที่เขาพิงกันไว้ สากอันที่สองล้มฟาดศีรษะเด็กชายคนหนึ่งตาย ท่านเกิด ความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี พระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้า ไม่จงใจ พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่จงใจ ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๓)
เรื่องไม้สำหรับทำครก ๑ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งปูลาดอาสนะที่โรงอาหารในละแวกบ้าน เหยียบขอนไม้ ที่เขานำมาทำครกกลิ้งไปทับเด็กชายคนหนึ่งถึงตาย แล้วเกิดความกังวลใจว่า เรา ต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๑๕๒}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ วินีตวัตถุ

พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้าไม่จงใจ พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่จงใจ ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๔)
เรื่องพระขรัวตา ๓ เรื่อง
สมัยนั้น บิดาและบุตรบวชในสำนักภิกษุ วันหนึ่งเมื่อเขาบอกเวลาอาหาร ภิกษุผู้เป็นบุตรได้กล่าวกับภิกษุผู้เป็นบิดาว่า “นิมนต์ไปเถิด พระสงฆ์กำลังคอยท่าน อยู่” แล้วจับหลังผลักไปจนภิกษุผู้เป็นบิดาล้มลงถึงแก่มรณภาพ ท่านเกิดความ กังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค ให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้าไม่มี ความประสงค์จะฆ่า พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่มีความประสงค์จะฆ่า ไม่ต้อง อาบัติ” (เรื่องที่ ๕) สมัยนั้น บิดาและบุตรบวชในสำนักภิกษุ วันหนึ่งเมื่อเขาบอกเวลาอาหาร ภิกษุผู้เป็นบุตรได้กล่าวกับภิกษุผู้เป็นบิดาว่า “นิมนต์ไปเถิด พระสงฆ์กำลังคอยท่าน อยู่” มีความประสงค์จะฆ่าจึงจับหลังผลักไป ภิกษุผู้เป็นบิดาล้มลง ถึงแก่มรณภาพ ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้า พระพุทธเจ้ามีความประสงค์จะฆ่า พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๖) สมัยนั้น บิดาและบุตรบวชในสำนักภิกษุ วันหนึ่งเมื่อเขาบอกเวลาอาหาร ภิกษุผู้เป็นบุตรได้กล่าวกับภิกษุผู้เป็นบิดาว่า “นิมนต์ไปเถิด พระสงฆ์กำลังคอยท่าน อยู่” มีความประสงค์จะฆ่าจึงจับหลังผลักไป ภิกษุผู้เป็นบิดาล้มลงแต่ไม่ถึงมรณภาพ ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้ามีความประสงค์จะฆ่า พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติ ปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๑๕๓}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ วินีตวัตถุ

เรื่องเนื้อติดคอ ๓ เรื่อง
[๑๘๑] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งกำลังฉันอาหาร เนื้อติดคอ เพื่อนอีกรูปหนึ่ง ได้ทุบที่คอของภิกษุรูปนั้น เนื้อได้หลุดออกมาพร้อมกับโลหิต ท่านถึงแก่มรณภาพ ภิกษุรูปที่ทุบเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไป กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้าไม่มีความประสงค์จะฆ่า พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่มีความ ประสงค์จะฆ่า ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๘) สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งกำลังฉันอาหาร เนื้อติดคอ ภิกษุอีกรูปหนึ่งมีความ ประสงค์จะฆ่าจึงได้ทุบที่คอ เนื้อหลุดออกมาพร้อมกับโลหิต ท่านถึงแก่มรณภาพ ภิกษุรูปที่ทุบเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไป กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้ามีความประสงค์จะฆ่า พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอต้องอาบัติ ปาราชิก” (เรื่องที่ ๙) สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งกำลังฉันอาหาร เนื้อติดคอ ภิกษุอีกรูปหนึ่งมีความ ประสงค์จะฆ่าจึงได้ทุบที่คอ เนื้อหลุดออกมาพร้อมกับโลหิต แต่ท่านไม่ถึงแก่มรณภาพ ภิกษุรูปที่ทุบเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไป กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้ามีความประสงค์จะฆ่า พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติ ปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๑๐)
เรื่องยาพิษ ๒ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรรูปหนึ่งได้อาหารบิณฑบาตที่เจือยา พิษมาแล้วนำกลับไปถวายแก่ภิกษุทั้งหลายให้ฉันก่อน ภิกษุเหล่านั้นถึงแก่มรณภาพ ภิกษุเจ้าของบิณฑบาตเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำ เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิด อย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้าไม่ทราบ พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่ทราบไม่ต้อง อาบัติ” (เรื่องที่ ๑๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๑๕๔}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ วินีตวัตถุ

สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งต้องการทดลองจึงให้ยาพิษแก่ภิกษุอีกรูปหนึ่งฉัน ท่าน ถึงแก่มรณภาพ ภิกษุผู้ทดลองยาพิษเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือ หนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้ามีความประสงค์จะทดลอง พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๑๒)
เรื่องเตรียมพื้นที่สร้างวิหาร ๓ เรื่อง
[๑๘๒] สมัยนั้น พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวี กำลังเตรียมพื้นที่สร้างวิหาร ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ข้างล่างยกศิลาส่งขึ้นไป ศิลาที่ภิกษุรูปที่อยู่ข้างบนรับไว้ไม่ดี พลัด ตกลงทับศีรษะภิกษุรูปที่อยู่ข้างล่างจนถึงแก่มรณภาพ ภิกษุรูปที่อยู่ข้างบนเกิดความ กังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค ให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้าไม่จงใจ พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุเธอไม่จงใจ ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๑๓) สมัยนั้น พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวีกำลังเตรียมพื้นที่สร้างวิหาร ภิกษุรูปหนึ่ง อยู่ข้างล่างยกศิลาส่งขึ้นไป ภิกษุรูปที่อยู่ข้างบนมีความประสงค์จะฆ่าจึงปล่อยศิลาลง บนศีรษะภิกษุรูปที่อยู่ข้างล่างจนถึงแก่มรณภาพ ภิกษุรูปที่ปล่อยศิลาลงมาเกิดความ กังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค ให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้ามีความ ประสงค์จะฆ่า พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๑๔) สมัยนั้น พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวีช่วยกันทำการก่อสร้างวิหาร ภิกษุรูปหนึ่ง อยู่ข้างล่างยกศิลาส่งขึ้นไป ภิกษุรูปที่อยู่ข้างบนมีความประสงค์จะฆ่าภิกษุรูปที่อยู่ ข้างล่าง จึงปล่อยศิลาลงบนศีรษะ แต่ท่านไม่ถึงมรณภาพ ภิกษุรูปที่อยู่ข้างบนเกิด ความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี พระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะฆ่า พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้อง อาบัติถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๑๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๑๕๕}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ วินีตวัตถุ

เรื่องอิฐ ๓ เรื่อง
สมัยนั้น พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวีช่วยกันทำการก่อฝาวิหาร ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ ข้างล่างส่งอิฐขึ้นไป อิฐที่ภิกษุรูปที่อยู่ข้างบนรับไว้ไม่ดี พลัดตกลงทับศีรษะภิกษุรูปที่ อยู่ข้างล่างถึงแก่มรณภาพ ภิกษุรูปที่อยู่ข้างบนเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติ ปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้าไม่จงใจ พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่จงใจ ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๑๖) สมัยนั้น พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวีช่วยกันทำการก่อฝาวิหาร ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ ข้างล่างส่งอิฐขึ้นไป ภิกษุรูปที่อยู่ข้างบนมีความประสงค์จะฆ่า จึงปล่อยอิฐลงบน ศีรษะภิกษุรูปที่อยู่ข้างล่าง ถึงแก่มรณภาพ ภิกษุรูปที่ปล่อยอิฐลงมาเกิดความกังวล ใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้ามีความ ประสงค์จะฆ่า พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๑๗) สมัยนั้น พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวี ช่วยกันทำการก่อสร้างฝาวิหาร ภิกษุรูป หนึ่งอยู่ข้างล่างส่งอิฐขึ้นไป ภิกษุรูปที่อยู่ข้างบนมีความประสงค์จะฆ่า จึงปล่อยอิฐลง บนศีรษะของภิกษุรูปที่อยู่ข้างล่าง แต่ภิกษุรูปที่อยู่ข้างล่างไม่ถึงแก่มรณภาพ ภิกษุ รูปที่ปล่อยอิฐลงมาเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่อง นี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิด อย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้ามีความประสงค์จะฆ่า พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่ ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๑๘)
เรื่องมีด ๓ เรื่อง
[๑๘๓] สมัยนั้น พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวีช่วยกันทำการก่อสร้าง ภิกษุรูป หนึ่งอยู่ข้างล่างส่งมีดขึ้นไป มีดที่ภิกษุรูปที่อยู่ข้างบนรับไว้ไม่ดี พลัดตกลงบนศีรษะ ภิกษุรูปที่อยู่ข้างล่างถึงแก่มรณภาพ ภิกษุรูปที่ทำอยู่ข้างบนเกิดความกังวลใจว่า เรา ต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๑๕๖}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ วินีตวัตถุ

พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้าไม่จงใจ พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่จงใจ ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๑๙) สมัยนั้น พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวีช่วยกันทำการก่อสร้าง ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ข้าง ล่างส่งมีดขึ้นไป ภิกษุรูปที่อยู่ข้างบนมีความประสงค์จะฆ่าจึงปล่อยมีดลงบนศีรษะ ภิกษุรูปที่อยู่ข้างล่างถึงแก่มรณภาพ ภิกษุรูปที่ปล่อยมีดตกลงมาเกิดความกังวลใจ ว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรง ทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้ามีความประสงค์ จะฆ่า พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๒๐) สมัยนั้น พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวีช่วยกันทำการก่อสร้าง ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ ข้างล่างส่งมีดขึ้นไป ภิกษุรูปที่อยู่ข้างบนมีความประสงค์จะฆ่า จึงปล่อยมีดลงบน ศีรษะของภิกษุรูปที่อยู่ข้างล่าง แต่ภิกษุรูปที่อยู่ข้างล่างไม่ถึงแก่มรณภาพ ภิกษุรูปที่ ปล่อยมีดตกลงมาเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่อง นี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิด อย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้ามีความประสงค์จะฆ่า พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่ ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๒๑)
เรื่องไม้กลอน ๓ เรื่อง
สมัยนั้น พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวีช่วยกันทำการก่อสร้าง ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ข้าง ล่าง ยกไม้กลอนหลังคาส่งขึ้นไป ไม้กลอนหลังคาที่ภิกษุรูปที่อยู่ข้างบนรับไว้ไม่ดี พลัดตกลงบนศีรษะภิกษุรูปที่อยู่ข้างล่างถึงแก่มรณภาพ ภิกษุรูปที่ทำไม้กลอนพลัด ตกลงมาเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบ ทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้า พระพุทธเจ้าไม่จงใจ พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่จงใจ ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๒๒) สมัยนั้น พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวีช่วยกันทำการก่อสร้าง ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ข้าง ล่าง ยกไม้กลอนหลังคาส่งขึ้นไป ภิกษุรูปที่อยู่ข้างบนมีความประสงค์จะฆ่าจึงปล่อย ไม้กลอนหลังคาลงบนศีรษะภิกษุรูปที่อยู่ข้างล่างถึงแก่มรณภาพ ภิกษุรูปที่ปล่อยไม้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๑๕๗}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ วินีตวัตถุ

กลอนหลังคาลงมาเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่อง นี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิด อย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้ามีความประสงค์จะฆ่า พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอต้อง อาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๒๓) สมัยนั้น พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวีช่วยกันทำการก่อสร้าง ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ ข้างล่าง ยกไม้กลอนหลังคาส่งขึ้นไป ภิกษุรูปที่อยู่ข้างบนมีความประสงค์จะฆ่า จึง ปล่อยไม้กลอนหลังคาลงบนศีรษะภิกษุรูปที่อยู่ข้างล่างแต่ไม่ถึงมรณภาพ ภิกษุรูปที่ ปล่อยไม้กลอนหลังคาลงมาเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึง นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอ คิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้ามีความประสงค์จะฆ่า พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่ ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๒๔)
เรื่องนั่งร้าน ๓ เรื่อง
สมัยนั้น พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวีช่วยกันผูกนั่งร้านทำการก่อสร้าง ภิกษุรูป หนึ่งบอกอีกรูปหนึ่งว่า “ท่านจงยืนผูกที่ตรงนี้” ภิกษุนั้นจึงยืนผูกที่นั้น ได้พลัดตกลง มาถึงแก่มรณภาพ ภิกษุรูปที่บอกเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือ หนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้าไม่มีความประสงค์จะฆ่า พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่มีความประสงค์จะฆ่า ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๒๕) สมัยนั้น พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวีช่วยกันผูกนั่งร้านทำการก่อสร้าง ภิกษุรูป หนึ่งมีความประสงค์จะฆ่าบอกอีกรูปหนึ่งว่า “ท่านจงยืนผูกที่ตรงนี้” ภิกษุรูปนั้นจึง ยืนผูกที่ตรงนั้น ได้พลัดตกลงมาถึงแก่มรณภาพ ภิกษุรูปที่บอกเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้ามีความประสงค์จะฆ่า พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๒๖) สมัยนั้น พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวีช่วยกันผูกนั่งร้านทำการก่อสร้าง ภิกษุรูป หนึ่งมีความประสงค์จะฆ่าบอกอีกรูปหนึ่งว่า “ท่านจงยืนผูกที่ตรงนี้” ภิกษุรูปนั้นจึง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๑๕๘}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ วินีตวัตถุ

ยืนผูกที่ตรงนั้น ได้พลัดตกลงมา แต่ไม่ถึงแก่มรณภาพ ภิกษุรูปที่บอกเกิดความ กังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค ให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้ามีความ ประสงค์จะฆ่า พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติ ถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๒๗)
เรื่องให้ลงจากหลังคา ๓ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมุงหลังคาวิหารเสร็จแล้วจะลง อีกรูปหนึ่งบอกท่านว่า “นิมนต์ท่านลงมาทางนี้” ภิกษุนั้นจึงลงทางนั้น ได้พลัดตกลงมาถึงแก่มรณภาพ ภิกษุรูปที่บอกเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไป กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้าไม่มีความประสงค์จะฆ่า พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่มีความ ประสงค์จะฆ่า ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๒๘) สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมุงหลังคาวิหารเสร็จแล้วจะลง อีกรูปหนึ่งมีความ ประสงค์จะฆ่าบอกเธอว่า “นิมนต์ท่านลงมาทางนี้” ภิกษุรูปนั้นจึงลงทางนั้นได้พลัด ตกลงมาถึงแก่มรณภาพ ภิกษุรูปที่บอกเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิก หรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้ามีความประสงค์จะฆ่า พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๒๙) สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมุงหลังคาวิหารเสร็จแล้วจะลง อีกรูปหนึ่งมีความ ประสงค์จะฆ่าบอกเธอว่า “นิมนต์ท่านลงมาทางนี้” ภิกษุรูปนั้นจึงลงทางนั้น ได้ พลัดตกลงมาแต่ไม่ถึงแก่มรณภาพ ภิกษุรูปที่บอกเกิดความกังวลใจว่า เราต้อง อาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้ามีความประสงค์จะฆ่า พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๓๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๑๕๙}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ วินีตวัตถุ

เรื่องกระโดดหน้าผา ๒ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเกิดความเบื่อหน่ายจึงขึ้นภูเขาคิชฌกูฏแล้วกระโดดลง ทางหน้าผาทับช่างสานคนหนึ่งตาย แล้วเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิก หรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้าไม่มีความประสงค์จะฆ่า พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก อนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงทำให้ตนเองตก ภิกษุใดทำให้ตก ต้องอาบัติทุกกฏ” (เรื่องที่ ๓๑) สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ขึ้นภูเขาคิชฌกูฏ กลิ้งศิลาเล่น ศิลาตกทับคน เลี้ยงโคคนหนึ่งตาย พวกท่านเกิดความกังวลใจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกหรือ หนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ ทั้งหลาย พวกเธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก อนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงกลิ้งศิลา เล่น ภิกษุใดกลิ้ง ต้องอาบัติทุกกฏ” (เรื่องที่ ๓๒)
เรื่องอบตัว ๓ เรื่อง
[๑๘๔] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายจึงให้ท่านอบตัวจนถึง แก่มรณภาพ พวกท่านเกิดความกังวลใจว่า พวกเราต้องอาบัติปราชิกหรือหนอ จึง นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “พวกเธอคิด อย่างไร” “พวกข้าพระพุทธเจ้าไม่มีความประสงค์จะฆ่า พระพุทธเจ้าข้า” “พวกเธอ ไม่มีความประสงค์จะฆ่า ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๓๓) สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายมีความประสงค์จะฆ่าจึงให้เธอ อบตัวจนถึงแก่มรณภาพ พวกท่านเกิดความกังวลใจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิก หรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร” “พวกข้าพระพุทธเจ้ามีความประสงค์จะฆ่า พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๓๔) สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายมีความประสงค์จะฆ่าจึงให้เธอ อบตัว แต่ท่านไม่ถึงแก่มรณภาพ ภิกษุเหล่านั้นเกิดความกังวลใจว่า พวกเราต้อง อาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๑๖๐}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ วินีตวัตถุ

พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร” “พวกข้าพระพุทธเจ้ามี ความประสงค์จะฆ่า พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๓๕)
เรื่องนัตถุ์ยา ๓ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งปวดศีรษะ ภิกษุทั้งหลายจึงให้ท่านนัตถุ์ยา ท่านถึง แก่มรณภาพ ภิกษุเหล่านั้นเกิดความกังวลใจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกหรือ หนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร” “พวกข้าพระพุทธเจ้าไม่มีความประสงค์จะฆ่า พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่มีความประสงค์จะฆ่า ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๓๖) สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งปวดศีรษะ ภิกษุทั้งหลายมีความประสงค์จะฆ่าจึงให้ ท่านนัตถุ์ยาจนถึงแก่มรณภาพ ภิกษุเหล่านั้นเกิดความกังวลใจว่า พวกเราต้องอาบัติ ปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร” “พวกข้าพระพุทธเจ้ามีความ ประสงค์จะฆ่า พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๓๗) สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งปวดศีรษะ ภิกษุทั้งหลายมีความประสงค์จะฆ่าจึงให้ ท่านนัตถุ์ยา แต่ท่านไม่ถึงแก่มรณภาพ ภิกษุเหล่านั้นเกิดความกังวลใจว่า พวกเรา ต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร” “พวกข้าพระพุทธเจ้ามี ความประสงค์จะฆ่า พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๓๘)
เรื่องนวด ๓ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายจึงช่วยกันนวดเฟ้นท่าน ท่านถึง แก่มรณภาพ ภิกษุเหล่านั้นเกิดกังวลใจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๑๖๑}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ วินีตวัตถุ

นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร” “พวกข้าพระพุทธเจ้าไม่มีความประสงค์จะฆ่า พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่มีความประสงค์จะฆ่า ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๓๙) สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายมีความประสงค์จะฆ่าจึงช่วยกัน นวดเฟ้นท่านจนถึงแก่มรณภาพ ภิกษุเหล่านั้นเกิดความกังวลใจว่า พวกเราต้อง อาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระ องค์ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร” “พวกข้าพระพุทธเจ้ามีความ ประสงค์จะฆ่า พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๔๐) สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายมีความประสงค์จะฆ่า จึงช่วย กันนวดเฟ้นท่าน แต่ท่านไม่ถึงแก่มรณภาพ ภิกษุเหล่านั้นเกิดความกังวลใจว่า พวก เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร” “พวกข้าพระพุทธเจ้ามี ความประสงค์จะฆ่า พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย” (เรื่อง ๔๑)
เรื่องให้อาบน้ำ ๓ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายจึงช่วยกันอาบน้ำให้ท่าน ท่านถึง แก่มรณภาพ ภิกษุเหล่านั้นเกิดความกังวลใจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ ทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร” “พวกข้าพระพุทธเจ้าไม่มีความประสงค์จะฆ่า พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่มีความประสงค์จะฆ่า ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๔๒) สมัยนั้น ภิกษุหนึ่งรูปอาพาธ ภิกษุทั้งหลายมีความประสงค์จะฆ่า จึงช่วยกัน อาบน้ำให้ท่าน ท่านถึงแก่มรณภาพ ภิกษุเหล่านั้นเกิดความกังวลใจว่า พวกเราต้อง อาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลแก่พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๑๖๒}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ วินีตวัตถุ

พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร” “พวกข้าพระพุทธเจ้ามี ความประสงค์จะฆ่า พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๔๓) สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายมีความประสงค์จะฆ่า จึงช่วยกัน อาบน้ำให้ท่าน แต่ท่านไม่ถึงแก่มรณภาพ ภิกษุเหล่านั้นเกิดความกังวลใจว่า พวก เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร” “พวกข้าพระพุทธเจ้ามี ความประสงค์จะฆ่า พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๔๔)
เรื่องให้ทาน้ำมัน ๓ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายช่วยกันเอาน้ำมันมาทาให้ท่าน ท่านถึงแก่มรณภาพ ภิกษุเหล่านั้นเกิดความกังวลใจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิก หรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร” “พวกข้าพระพุทธเจ้าไม่มีความประสงค์จะฆ่า พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่มีความประสงค์จะฆ่า ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๔๕) สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายมีความประสงค์จะฆ่าจึงช่วยกัน เอาน้ำมันมาทาให้ท่าน ท่านถึงแก่มรณภาพ ภิกษุเหล่านั้นเกิดความกังวลใจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร” “พวกข้าพระพุทธเจ้ามี ความประสงค์จะฆ่า พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๔๖) สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายมีความประสงค์จะฆ่าจึงช่วยกัน เอาน้ำมันมาทาให้ท่าน แต่ท่านไม่ถึงแก่มรณภาพ ภิกษุเหล่านั้นเกิดความกังวลใจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๑๖๓}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ วินีตวัตถุ

ทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้า ทั้งหลายมีความประสงค์จะฆ่า พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่ต้อง อาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๔๗)
เรื่องให้ลุกขึ้น ๓ เรื่อง
[๑๘๕] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายจึงช่วยกันพยุงให้ท่าน ลุกขึ้น ท่านถึงแก่มรณภาพ ภิกษุเหล่านั้นเกิดความกังวลใจว่า พวกเราต้องอาบัติ ปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร” “พวกข้าพระพุทธเจ้าไม่มีความ ประสงค์จะฆ่า พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่มีความประสงค์จะฆ่า ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๔๘) สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายมีความประสงค์จะฆ่าจึงช่วยกัน พยุงให้ท่านลุกขึ้น ท่านถึงแก่มรณภาพ ภิกษุเหล่านั้นเกิดความกังวลใจว่า พวกเรา ต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร” “พวกข้าพระพุทธเจ้ามี ความประสงค์จะฆ่า พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๔๙) สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายมีความประสงค์จะฆ่าจึงช่วยกัน พยุงให้ท่านลุกขึ้น แต่ท่านไม่ถึงแก่มรณภาพ ภิกษุเหล่านั้นเกิดความกังวลใจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรง ทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร” “พวกข้า พระพุทธเจ้ามีความประสงค์จะฆ่า พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่ต้อง อาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๕๐)
เรื่องทำให้ล้ม ๓ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายจึงช่วยกันทำให้ท่านล้มลง ท่าน ถึงแก่มรณภาพ ภิกษุเหล่านั้นเกิดความกังวลใจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกหรือ หนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๑๖๔}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ วินีตวัตถุ

“ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร” “พวกข้าพระพุทธเจ้าไม่มีความประสงค์จะฆ่า พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่มีความประสงค์จะฆ่า ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๕๑) สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายมีความประสงค์จะฆ่า จึงช่วยกัน ทำให้ท่านล้มลง ท่านถึงแก่มรณภาพ ภิกษุเหล่านั้นเกิดความกังวลใจว่า พวกเรา ต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร” “พวกข้าพระพุทธเจ้ามี ความประสงค์จะฆ่า พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๕๒) สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายมีความประสงค์จะฆ่า จึงช่วยกัน ทำให้ท่านล้มลง แต่ท่านไม่ถึงแก่มรณภาพ ภิกษุเหล่านั้นเกิดความกังวลใจว่า พวก เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร” “พวกข้าพระพุทธเจ้ามี ความประสงค์จะฆ่า พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๕๓)
เรื่องให้ตายด้วยข้าว ๓ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายจึงช่วยกันให้ท่านฉันข้าว ท่านถึง แก่มรณภาพ ภิกษุเหล่านั้นเกิดความกังวลใจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ ทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร” “พวกข้าพระพุทธเจ้าไม่มีความประสงค์จะฆ่า พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่มีความประสงค์จะฆ่า ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๕๔) สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายมีความประสงค์จะฆ่าจึงช่วยกัน ให้ท่านฉันข้าว ท่านถึงแก่มรณภาพ ภิกษุเหล่านั้นเกิดความกังวลใจว่า พวกเรา ต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๑๖๕}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ วินีตวัตถุ

พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร” “พวกข้าพระพุทธเจ้ามี ความประสงค์จะฆ่า พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๕๕) สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายมีความประสงค์จะฆ่า จึงช่วยกัน ให้ท่านฉันข้าว แต่ท่านไม่ถึงแก่มรณภาพ ภิกษุเหล่านั้นเกิดความกังวลใจว่า พวก เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร” “พวกข้าพระพุทธเจ้ามี ความประสงค์จะฆ่า พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๕๖)
เรื่องให้ตายด้วยน้ำฉัน ๓ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายให้ท่านดื่มน้ำ ท่านถึงแก่ มรณภาพ ภิกษุเหล่านั้นเกิดความกังวลใจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึง นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร” “พวกข้าพระพุทธเจ้าไม่มีความประสงค์จะฆ่า พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่มีความประสงค์จะฆ่า ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๕๗) สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายมีความประสงค์จะฆ่า จึงให้ท่าน ดื่มน้ำ ท่านถึงแก่มรณภาพ ภิกษุเหล่านั้นเกิดความกังวลใจว่า พวกเราต้องอาบัติ ปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร” “พวกข้าพระพุทธเจ้ามีความ ประสงค์จะฆ่า พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๕๘) สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายมีความประสงค์จะฆ่า จึงให้ท่าน ดื่มน้ำ แต่ท่านไม่ถึงแก่มรณภาพ ภิกษุเหล่านั้นเกิดความกังวลใจว่า พวกเราต้อง อาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระ องค์ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร” “พวกข้าพระพุทธเจ้ามีความ ประสงค์จะฆ่า พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ ต้องอาบัติถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๕๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๑๖๖}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ วินีตวัตถุ

เรื่องหญิงมีครรภ์กับชายชู้ ๑ เรื่อง
[๑๘๖] สมัยนั้น หญิงคนหนึ่งเป็นแม่ม่ายผัวร้าง ได้มีครรภ์กับชายชู้ นาง บอกภิกษุที่นางอุปถัมภ์ว่า “พระคุณเจ้าโปรดหายาทำแท้งให้ด้วยเถิด” ท่านรับคำแล้ว ได้ให้ยาทำแท้งแก่หญิงนั้น ทารกถึงแก่ความตาย ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้อง อาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระ องค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๖๐)
เรื่องหญิงร่วมสามี ๒ เรื่อง
สมัยนั้น ชายคนหนึ่งมีภรรยา ๒ คน คนหนึ่งเป็นหมัน อีกคนหนึ่งไม่เป็นหมัน หญิงหมันบอกภิกษุที่นางอุปถัมภ์ว่า “ถ้านางคนนั้นคลอดบุตร จักได้ครอบครอง ทรัพย์สมบัติทั้งหมด พระคุณเจ้าโปรดหายาทำแท้งให้ด้วยเถิด” ท่านรับคำแล้ว ได้ ให้ยาทำแท้งแก่หญิงที่ไม่เป็นหมัน ทารกถึงแก่ความตาย แต่มารดาไม่ตาย ท่านเกิด ความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี พระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๖๑) สมัยนั้น ชายคนหนึ่งมีภรรยา ๒ คน คนหนึ่งเป็นหมัน อีกคนหนึ่งไม่เป็นหมัน หญิงหมันบอกภิกษุที่นางอุปถัมภ์ว่า “ถ้านางคนนั้นคลอดบุตรจักได้ครอบครอง ทรัพย์สมบัติทั้งหมด พระคุณเจ้าโปรดหายาทำแท้งให้ด้วยเถิด” ภิกษุนั้นรับคำแล้ว ได้ให้ยาทำแท้งแก่หญิงที่ไม่เป็นหมัน มารดาถึงแก่ความตายแต่ทารกไม่ตาย ภิกษุ นั้นเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระ ผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้อง อาบัติถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๖๒)
เรื่องฆ่ามารดาและบุตรทั้ง ๒ คนตาย ๑ เรื่อง
สมัยนั้น ชายคนหนึ่งมีภรรยา ๒ คน คนหนึ่งเป็นหมัน อีกคนหนึ่งไม่เป็นหมัน หญิงหมันบอกภิกษุที่นางอุปถัมภ์ว่า “ถ้านางคนนั้นคลอดบุตรจักได้ครอบครอง ทรัพย์สมบัติทั้งหมด พระคุณเจ้าโปรดหายาทำแท้งให้ด้วยเถิด” ภิกษุนั้นรับคำแล้ว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๑๖๗}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ วินีตวัตถุ

ได้ให้ยาทำแท้งแก่หญิงที่ไม่เป็นหมัน มารดาและบุตรถึงแก่ความตายทั้ง ๒ คน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๖๓)
เรื่องฆ่ามารดาและบุตรทั้ง ๒ คนไม่ตาย ๑ เรื่อง
สมัยนั้น ชายคนหนึ่งมีภรรยา ๒ คน คนหนึ่งเป็นหมัน อีกคนหนึ่งไม่เป็นหมัน หญิงหมันบอกภิกษุที่นางอุปถัมภ์ว่า “ถ้านางคนนั้นคลอดบุตรจักได้ครอบครอง ทรัพย์สมบัติทั้งหมด พระคุณเจ้าโปรดหายาทำแท้งให้ด้วยเถิด” ภิกษุนั้นรับคำแล้ว ได้ให้ยาทำแท้งแก่หญิงที่ไม่เป็นหมัน แต่มารดาและบุตรไม่ตาย ท่านเกิดความ กังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค ให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติ ถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๖๔)
เรื่องให้รีด ๑ เรื่อง
[๑๘๗] สมัยนั้น หญิงมีครรภ์คนหนึ่งบอกภิกษุที่นางอุปถัมภ์ว่า “พระคุณ เจ้าโปรดหายาทำแท้งให้ด้วยเถิด” ภิกษุนั้นตอบว่า “น้องหญิง เธอจงรีด” นางรีด ครรภ์ทำให้แท้งบุตร ภิกษุนั้นเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอ ต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๖๕)
เรื่องนาบครรภ์ให้ร้อน ๑ เรื่อง
สมัยนั้น หญิงมีครรภ์บอกภิกษุที่นางอุปถัมภ์ว่า “พระคุณเจ้าโปรดหายาทำ แท้งให้ด้วยเถิด” ภิกษุนั้นตอบว่า “น้องหญิง เธอจงนาบครรภ์ให้ร้อน” นางนาบ ครรภ์ให้ร้อนจนแท้งบุตร ภิกษุนั้นเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือ หนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๖๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๑๖๘}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ วินีตวัตถุ

เรื่องหญิงหมัน ๑ เรื่อง
สมัยนั้น หญิงหมันคนหนึ่งบอกภิกษุที่นางอุปถัมภ์ว่า “พระคุณเจ้าโปรดหา ยาที่ทำให้ดิฉันมีลูกได้ด้วยเถิด” ภิกษุนั้นรับคำแล้วได้ให้ยาแก่หญิงหมันนั้น นางถึง แก่ความตาย ภิกษุนั้นเกิดกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติ ปาราชิก แต่ต้องอาบัติทุกกฏ” (เรื่องที่ ๖๗)
เรื่องหญิงไม่เป็นหมัน ๑ เรื่อง
สมัยนั้น หญิงไม่เป็นหมันคนหนึ่งบอกภิกษุที่นางอุปถัมภ์ว่า “พระคุณเจ้า โปรดหายาที่ทำให้ดิฉันหยุดมีลูกด้วยเถิด” ภิกษุนั้นรับคำแล้วได้ให้ยาแก่หญิงลูกดก นั้น นางถึงแก่ความตาย ภิกษุนั้นเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือ หนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติทุกกฏ” (เรื่องที่ ๖๘)
เรื่องจี้ ๑ เรื่อง
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ใช้นิ้วมือจี้ภิกษุรูปหนึ่งในกลุ่มพวกภิกษุ สัตตรสวัคคีย์ให้หัวเราะ เธอเหนื่อยหายใจไม่ทันถึงแก่มรณภาพ ภิกษุเหล่านั้นเกิด ความกังวลใจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระ ผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่ต้องอาบัติ ปาราชิก” (เรื่องที่ ๖๙)
เรื่องทับ ๑ เรื่อง
สมัยนั้น พวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์ช่วยกันทับภิกษุรูปหนึ่งในกลุ่มพวกภิกษุ ฉัพพัคคีย์จนถึงแก่มรณภาพ ด้วยตั้งใจว่าจักลงโทษ พวกเธอเกิดความกังวลใจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรง ทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์”๑- (เรื่องที่ ๗๐) @เชิงอรรถ : @ ยสฺมา ปน เต กมฺมาธิปฺปายา น มรณาธิปฺปายา, ตสฺมา ปาราชิกํ น วุตฺตํ เพราะภิกษุเหล่านั้นมีความ @ประสงค์จะทำกรรม ไม่มีความประสงค์จะฆ่า จึงไม่ต้องอาบัติปาราชิก (วิ.อ. ๑/๑๘๗/๕๑๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๑๖๙}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ วินีตวัตถุ

เรื่องฆ่ายักษ์ ๑ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุหมอผีรูปหนึ่ง ฆ่ายักษ์ตาย ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้อง อาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระ องค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๗๑)
เรื่องส่งไปสู่ที่มีสัตว์ร้ายและยักษ์ดุ ๙ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งส่งภิกษุอีกรูปหนึ่งไปยังวิหารมียักษ์ดุ พวกยักษ์ฆ่าภิกษุ นั้นมรณภาพ ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่มีความ ประสงค์จะฆ่า ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๗๒) สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะฆ่า ส่งภิกษุอีกรูปหนึ่งไปยังวิหาร มียักษ์ดุ พวกยักษ์ฆ่าภิกษุนั้นมรณภาพ ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติ ปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัส ว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๗๓) สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะฆ่า ส่งภิกษุอีกรูปหนึ่งไปยังวิหารที่มี ยักษ์ดุ พวกยักษ์ไม่ฆ่าเธอ ภิกษุนั้นเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือ หนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๗๔) สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งส่งภิกษุอีกรูปหนึ่งไปสู่ที่กันดารมีสัตว์ร้าย เหล่าสัตว์ ร้ายฆ่าท่านมรณภาพ ภิกษุนั้นเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ มีความประสงค์จะฆ่า ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๗๕) สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะฆ่า ส่งภิกษุอีกรูปหนึ่งไปสู่ที่กันดารมี สัตว์ร้าย เหล่าสัตว์ร้ายฆ่าภิกษุนั้นมรณภาพ ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติ ปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๗๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๑๗๐}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ วินีตวัตถุ

สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะฆ่า ส่งภิกษุอีกรูปหนึ่งไปยังที่กันดารมีสัตว์ร้าย เหล่าสัตว์ร้ายไม่ฆ่าภิกษุนั้น ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำ เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้อง ปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๗๗) สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งส่งภิกษุอีกรูปหนึ่งไปสู่ที่กันดารมีโจร พวกโจรฆ่าท่าน มรณภาพ ภิกษุนั้นเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่มีความ ประสงค์จะฆ่า ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๗๘) สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะฆ่า ส่งภิกษุอีกรูปหนึ่งไปสู่ที่กันดาร มีโจร พวกโจรฆ่าภิกษุนั้นมรณภาพ ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิก หรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๗๙) สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะฆ่า ส่งภิกษุอีกรูปหนึ่งไปสู่ที่กันดารมี โจร พวกโจรไม่ฆ่าภิกษุนั้น ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๘๐)
เรื่องสำคัญว่าใช่ ๔ เรื่อง
[๑๘๘] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะฆ่าภิกษุที่จองเวรกัน สำคัญ ภิกษุนั้นว่าเป็นภิกษุนั้น จึงฆ่าภิกษุนั้น ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติ ปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๘๑) สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะฆ่าภิกษุที่จองเวรกัน สำคัญภิกษุนั้น ว่าเป็นภิกษุนั้นแต่ฆ่าภิกษุอื่น ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือ หนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๘๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๑๗๑}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ วินีตวัตถุ

สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะฆ่าภิกษุที่จองเวรกัน สำคัญภิกษุที่ จองเวรกันว่าเป็นภิกษุอื่น แต่ฆ่าภิกษุผู้จองเวรนั้น ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้อง อาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระ องค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๘๓) สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะฆ่าภิกษุที่จองเวรกัน สำคัญภิกษุที่ จองเวรกันว่าเป็นภิกษุอื่นและได้ฆ่าภิกษุอื่น ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติ ปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๘๔)
เรื่องประหาร ๓ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งถูกผีเข้า ภิกษุอีกรูปหนึ่งทุบตีท่านจนถึงแก่มรณภาพ ภิกษุรูปที่ทุบตีนั้นเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่มีความ ประสงค์จะฆ่า ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๘๕) สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งถูกผีเข้า ภิกษุอีกรูปหนึ่งมีความประสงค์จะฆ่าจึงทุบตี ท่านจนถึงแก่มรณภาพ ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอ ต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๘๖) สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งถูกผีเข้า ภิกษุอีกรูปหนึ่งมีความประสงค์จะฆ่าจึงทุบตี ท่าน ภิกษุนั้นไม่ถึงแก่มรณภาพ ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิก หรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๘๗)
เรื่องพรรณนาสวรรค์ ๓ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งพรรณนาเรื่องสวรรค์ให้บุคคลผู้ทำความดีฟัง เขาน้อม ใจเชื่อแล้วถึงแก่ความตาย ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๑๗๒}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ วินีตวัตถุ

จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ มีความประสงค์จะฆ่า ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๘๘) สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะฆ่าจึงพรรณนาเรื่องสวรรค์ให้บุคคลผู้ ทำความดีฟัง เขาน้อมใจเชื่อแล้วถึงแก่ความตาย ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้อง อาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระ องค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๘๙) สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะฆ่า จึงพรรณนาเรื่องสวรรค์ให้ บุคคลผู้ทำความดีฟัง เขาน้อมใจเชื่อแต่ไม่ตาย ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้อง อาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระ องค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๙๐)
เรื่องพรรณนานรก ๓ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งพรรณนาเรื่องนรกให้ผู้ควรเกิดในนรกฟัง เขาตกใจถึง แก่ความตาย ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่มีความประสงค์ จะฆ่า ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๙๑) สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะฆ่าจึงพรรณนาเรื่องนรกให้ผู้ควรเกิด ในนรกฟัง เขาตกใจถึงแก่ความตาย ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิก หรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๙๒) สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะฆ่าจึงพรรณนาเรื่องนรกให้ผู้ควรเกิด ในนรกฟัง เขาตกใจแต่ไม่ถึงตาย ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอ ไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๙๓)
เรื่องต้นไม้ที่เมืองอาฬวี ๓ เรื่อง
[๑๘๙] สมัยนั้น พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวีจะทำการก่อสร้างจึงช่วยกันตัดตันไม้ ภิกษุรูปหนึ่งบอกภิกษุอีกรูปหนึ่งว่า “ท่านจงยืนตัดที่ตรงนี้” ภิกษุรูปนั้น จึงยืนตัดที่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๑๗๓}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ วินีตวัตถุ

ตรงนั้น ต้นไม้ล้มทับถึงแก่มรณภาพ ภิกษุรูปที่บอกเกิดความกังวลใจว่า เราต้อง อาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระ องค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่มีความประสงค์จะฆ่า ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๙๔) สมัยนั้น พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวีจะทำการก่อสร้าง จึงช่วยกันตัดต้นไม้ ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะฆ่าจึงบอกภิกษุอีกรูปหนึ่งว่า “ท่านจงยืนตัดที่ตรงนี้” ต้นไม้ล้มทับเธอผู้ยืนตัดอยู่ที่นั้นถึงแก่มรณภาพ ภิกษุรูปที่บอกเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๙๕) สมัยนั้น พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวีจะทำการก่อสร้าง จึงช่วยกันตัดต้นไม้ ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะฆ่าจึงบอกภิกษุอีกรูปหนึ่งว่า “ท่านจงยืนตัดที่ตรงนี้” ต้นไม้ล้มทับเธอผู้ยืนตัดอยู่ที่นั้นแต่ไม่ถึงมรณภาพ ภิกษุรูปที่บอกเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๙๖)
เรื่องเผาป่า ๓ เรื่อง
[๑๙๐] สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เผาป่า พวกชาวบ้านถูกไฟคลอกตาย ภิกษุเหล่านั้นเกิดความกังวลใจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอ ไม่มีความประสงค์จะฆ่า ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๙๗) สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์มีความประสงค์จะฆ่า จึงเผาป่า พวกชาวบ้าน ถูกไฟคลอกตาย ภิกษุเหล่านั้นเกิดความกังวลใจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกหรือ หนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ ทั้งหลาย พวกเธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๙๘) สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์มีความประสงค์จะฆ่า จึงเผาป่า พวกชาวบ้าน ถูกไฟคลอก แต่ไม่ตาย ภิกษุเหล่านั้นเกิดความกังวลใจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิก หรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๙๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๑๗๔}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ วินีตวัตถุ

เรื่องไม่ให้ลำบาก ๑ เรื่อง
[๑๙๑] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งไปที่ตะแลงแกง๑- บอกนายเพชฌฆาตว่า “ท่านอย่าทรมานนักโทษคนนี้เลย จงประหารชีวิตด้วยการฟันครั้งเดียว” เพชฌฆาต รับคำแล้วประหารชีวิตด้วยการฟันครั้งเดียว ภิกษุนั้นเกิดความกังวลใจว่า เราต้อง อาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๑๐๐)
เรื่องไม่ทำตามท่าน ๑ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรุปหนึ่งไปที่ตะแลงแกงบอกนายเพชฌฆาตว่า “ท่านอย่า ทรมานนักโทษคนนี้เลย จงประหารชีวิตด้วยการฟันครั้งเดียว” เพชฌฆาตกล่าวว่า “ข้าพเจ้าจะไม่ทำตามคำของท่าน” แล้วประหารชีวิตนักโทษนั้น ภิกษุนั้นเกิดความ กังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค ให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติทุกกฏ” (เรื่องที่ ๑๐๑)
เรื่องให้ดื่มเปรียง ๑ เรื่อง
[๑๙๒] สมัยนั้น บุรุษมือเท้าด้วนคนหนึ่ง พวกหมู่ญาติช่วยกันดูแลอยู่ใน เรือน ภิกษุรูปหนึ่งได้กล่าวกับพวกญาติของบุรุษนั้นว่า “ท่านทั้งหลาย พวกท่าน อยากให้บุรุษคนนี้ตายไหม” “พวกเราอยากให้เขาตาย เจ้าข้า” “ถ้าเช่นนั้น จงให้เขาดื่มเปรียง” หมู่ญาตินั้นจึงให้บุรุษนั้นดื่มเปรียงจนบุรุษนั้นถึงแก่ความตาย ภิกษุรูปที่บอกวิธีฆ่าเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึง นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้อง อาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๑๐๒) @เชิงอรรถ : @ คำว่า “ตะแลงแกง” หมายถึงสถานที่สำหรับฆ่านักโทษ ภาษาโบราณหมายถึงทางสี่แพร่ง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๑๗๕}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ วินีตวัตถุ

เรื่องให้ดื่มยาโลณโสวีรกะ ๑ เรื่อง
สมัยนั้น บุรุษมือเท้าด้วนคนหนึ่ง พวกหมู่ญาติช่วยกันดูแลอยู่ในเรือน ภิกษุณีรูปหนึ่งได้กล่าวกับหมู่ญาติของบุรุษนั้นว่า “ท่านทั้งหลาย พวกท่านอยากให้ บุรุษคนนี้ตายไหม” “พวกเราอยากให้เขาตาย เจ้าข้า” “ถ้าเช่นนั้น จงให้เขาดื่มยาโลณโสวีรกะ”๑- หมู่ญาติจึงให้บุรุษนั้นดื่มยาโลณโสวีรกะจนบุรุษนั้นถึงแก่ความตาย ภิกษุณีนั้นเกิดความกังวลใจ จึงเล่าเรื่องนั้นให้ภิกษุณีทั้งหลายทราบ พวก ภิกษุณีแจ้งเรื่องนั้นให้ภิกษุทั้งหลายทราบ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีนั้นต้องอาบัติ ปาราชิก” (เรื่องที่ ๑๐๓)
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ จบ
@เชิงอรรถ : @ โลณโสวีรกํ นาม สพฺพรสาภิสงฺขตํ เอกํ เภสชฺชํ ฯเปฯ ยาโลณโสวีรกะ ได้แก่ ยาที่ปรุงด้วยส่วน @ประกอบนานาชนิด เช่น มะขามป้อมสด สมอพิเภก ธัญญชาติทุกชนิด ถั่วเขียว ข้าวสุก ผลกล้วย หน่อหวาย @การเกต อินทผลัม หน่อไม้ ปลา เนื้อ น้ำผึ้ง น้ำอ้อย เกลือ โดยใส่เครื่องยาเหล่านี้ในหม้อ ปิดฝามิดชิด เก็บ @ดองไว้ ๑, ๒ หรือ ๓ ปี เมื่อยานี้สุกได้ที่แล้วจะมีรสและสีเหมือนผลหว้า เป็นยาแก้โรคลม โรคไอ โรคเรื้อน @โรคผอมเหลือง โรคริดสีดวงเป็นต้น รับประทานหลังอาหาร สำหรับผู้ที่ไม่เป็นไข้ ต้องผสมน้ำก่อนรับ @ประทาน (วิ.อ. ๑/๑๙๒/๕๑๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๑๗๖}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๑๕๐-๑๗๖. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=1&siri=25              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5], [6], [7], [8], [9], [10].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=1&A=7852&Z=8519                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=1&i=203              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=1&item=203&items=24              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=1&A=11910              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=1&item=203&items=24              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=1&A=11910                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu1              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-pj3/en/brahmali#pli-tv-bu-vb-pj3:4.11.0



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :