ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวิภังค์ ภาค ๑

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

๔. อัตตกามปาริจริยสิกขาบท นิทานวัตถุ

๔. อัตตกามปาริจริยสิกขาบท
ว่าด้วยการให้บำเรอความใคร่ของตน
เรื่องพระอุทายี
[๒๙๐] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระอุทายีเป็นพระที่ใกล้ชิด ตระกูลในกรุงสาวัตถี ไปมาหาสู่ตระกูลเป็นอันมาก สมัยนั้น มีหญิงม่ายผัวตายคนหนึ่ง รูปงาม น่าดู น่าชม ครั้นเวลาเช้า ท่านพระอุทายีครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร เดินไปถึงเรือนหญิงม่ายนั้นครั้นถึงแล้วจึงนั่งบนอาสนะที่เขาจัดไว้ ครั้นแล้วหญิงม่าย จึงเข้าไปหาถึงที่ท่านพระอุทายีนั่ง กราบแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ครั้นแล้วท่าน พระอุทายีชี้แจงให้หญิงม่ายเห็นชัด ชวนให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญ แกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา ครั้งนั้น หญิงม่ายได้กล่าว ปวารณา๑- ท่านพระอุทายีว่า “พระคุณเจ้า โปรดบอกเถิด ท่านต้องการสิ่งใดที่ดิฉัน สามารถจัดถวายได้ คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร” “ปัจจัยเหล่านั้นหาได้ไม่ยาก เธอจงถวายสิ่งที่หาได้ยากแก่อาตมาเถิด” “อะไรหรือ เจ้าค่ะ” “เมถุนธรรม” “ท่านต้องการหรือเจ้าค่ะ” “อาตมาต้องการ” หญิงม่ายจึงกล่าวว่า “นิมนต์ท่านมาเถิดเจ้าค่ะ” แล้วเดินเข้าห้องเปลื้องผ้า นุ่งแล้วนอนหงายบนเตียง ขณะนั้น ท่านพระอุทายีเดินตามนางเข้าไปถึงเตียงกล่าวว่า “ใครจักลูบคลำ หญิงถ่อยมีกลิ่นเหม็นคนนี้ได้” ถ่มน้ำลายแล้วจากไป @เชิงอรรถ : @ คำว่า “ปวารณา” ในที่นี้ หมายถึงยอมให้พระอุทายีขอหรือเรียกร้องเอาสิ่งที่ต้องการได้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๓๒๘}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

๔. อัตตกามปาริจริยสิกขาบท นิทานวัตถุ

หญิงม่ายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “พระสมณะเชื้อสายศากยบุตรเหล่านี้ ไม่มียางอาย ทุศีล ชอบพูดเท็จ แต่ก็ปฏิญญาว่า ประพฤติธรรม ประพฤติสงบ ประพฤติพรหมจรรย์ พูดจริง มีศีล มีกัลยาณธรรม พวกเธอไม่มีความเป็นสมณะ ไม่มีความเป็นพราหมณ์ ความเป็นสมณะ ความเป็นพราหมณ์ของพวกเธอเสื่อมสิ้น ไปแล้ว พวกเธอจะเป็นสมณะ เป็นพราหมณ์ได้อย่างไร พวกเธอปราศจากความเป็น สมณะ ปราศจากความเป็นพราหมณ์ ไฉนพระสมณอุทายีขอเมถุนธรรมกะเราแล้ว กลับถ่มน้ำลายกล่าวว่า ‘ใครจักลูบคลำหญิงถ่อยมีกลิ่นเหม็นคนนี้ได้’ แล้วจากไปเล่า เรามีอะไรชั่วนักหรือ มีอะไรที่มีกลิ่นเหม็นนักหรือ เราเลวกว่าหญิงคนอื่นอย่างไร” แม้หญิงพวกอื่นก็พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “พระสมณะเชื้อสาย ศากยบุตรเหล่านี้ ไม่มียางอาย ทุศีล ชอบกล่าวเท็จ ฯลฯ หญิงม่ายนี้มีอะไรชั่วนักหรือ มีอะไรที่มีกลิ่นเหม็นนักหรือ นางเลวกว่าหญิงอื่นอย่างไร” ภิกษุทั้งหลายได้ยินหญิงเหล่านั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้ มักน้อยสันโดษมีความละอาย มีความระมัดระวัง ใฝ่การศึกษา จึงพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนท่านพระอุทายีจึงพูดสรรเสริญการบำเรอความใคร่ของตนต่อหน้า มาตุคามเล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิท่านพระอุทายีโดยประการต่างๆ แล้วจึงนำ เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามท่านพระอุทายีว่า “อุทายี ทราบว่า เธอกล่าวสรรเสริญการบำเรอความ ใคร่ของตนต่อหน้ามาตุคาม จริงหรือ” ท่านทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มี พระภาคพุทธเจ้า ทรงตำหนิว่า “โมฆบุรุษ การกระทำของเธอ ไม่สมควร ไม่คล้อย ตาม ไม่เหมาะสม ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ โมฆบุรุษ ไฉนเธอจึงได้ กล่าวสรรเสริญการให้บำเรอความใคร่ของตนต่อหน้ามาตุคามเล่า โมฆบุรุษ เรา แสดงธรรมโดยประการต่างๆ เพื่อคลายกำหนัด มิใช่เพื่อความกำหนัด ฯลฯ เรา บอกการระงับความกลัดกลุ้มเพราะกามไว้โดยประการต่างๆ มิใช่หรือ โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุ ทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๓๒๙}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

๔. อัตตกามปาริจริยสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

พระบัญญัติ
[๒๙๑] ก็ ภิกษุใดถูกราคะครอบงำแล้ว มีจิตแปรปรวน กล่าวสรรเสริญ การบำเรอความใคร่ของตนต่อหน้ามาตุคาม ด้วยคำที่พาดพิงเมถุนว่า “น้องหญิง หญิงใดบำเรอผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ผู้มีศีลมีกัลยาณธรรมเช่นเราด้วยธรรมนั่น การบำเรอนี้ของหญิง นั้นเป็นการบำเรอชั้นยอด” เป็นสังฆาทิเสส
เรื่องพระอุทายี จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๒๙๒] คำว่า ก็... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็...ใด คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ที่ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้ ที่ชื่อว่า ถูกราคะครอบงำแล้ว คือ มีความยินดี เพ่งเล็ง มีจิตรักใคร่ คำว่า แปรปรวน ความว่า จิตกำหนัดแล้วชื่อว่าแปรปรวนบ้าง จิตโกรธแล้ว ชื่อว่าแปรปรวนบ้าง จิตหลงแล้วชื่อว่าแปรปรวนบ้าง แต่จิตกำหนัดแล้ว พระผู้มีพระ ภาคทรงประสงค์ว่า แปรปรวน ในความหมายนี้ ที่ชื่อว่า มาตุคาม ได้แก่ หญิงมนุษย์ ไม่ใช่นางยักษ์ ไม่ใช่นางเปรต ไม่ใช่สัตว์ ดิรัจฉานตัวเมีย แต่เป็นหญิงที่รู้เดียงสา สามารถรับรู้ถ้อยคำสุภาษิต ทุพภาษิต คำ หยาบและคำสุภาพ คำว่า ต่อหน้ามาตุคาม คือ ที่ใกล้มาตุคาม ไม่ไกลจากมาตุคาม คำว่า ความใคร่ของตน ได้แก่ ความใคร่ของตน เหตุของตน ความประสงค์ ของตน การบำเรอของตน คำว่า นี้...ชั้นยอด คือ นี้เป็นยอด นี้ประเสริฐที่สุด นี้เป็นชั้นแนวหน้า นี้สูงสุด นี้เป็นสิ่งเลิศ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๓๓๐}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

๔. อัตตกามปาริจริยสิกขาบท บทภาชนีย์

คำว่า หญิงใด ได้แก่ หญิงวรรณะกษัตริย์ หรือวรรณะพราหมณ์ หญิงวรรณะ แพศย์ หรือหญิงวรรณะศูทร คำว่า เช่นเรา คือ เป็นกษัตริย์ หรือพราหมณ์ แพศย์ หรือศูทร คำว่า มีศีล คือ ผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต เว้นขาดจากอทินนาทาน เว้น ขาดจากมุสาวาท คำว่า ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ คือ ผู้เว้นขาดจากเมถุนธรรม ที่ชื่อว่า มีกัลยาณธรรม คือ ผู้ชื่อว่ามีธรรมงามเพราะศีลนั้นและพรหมจรรย์นั้น คำว่า ด้วยธรรมนั่น คือ ด้วยเมถุนธรรม คำว่า บำเรอ คือ อภิรมย์ คำว่า ด้วยคำที่พาดพิงเมถุน คือ ด้วยถ้อยคำที่เกี่ยวด้วยเมถุนธรรม คำว่า เป็นสังฆาทิเสส ความว่า สำหรับอาบัตินั้น สงฆ์เท่านั้นให้ปริวาส ฯลฯ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า “เป็นสังฆาทิเสส”
บทภาชนีย์
หญิง
[๒๙๓] (๑) เป็นหญิง (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงและมีความกำหนัด (๓) ภิกษุกล่าวสรรเสริญการบำเรอความใคร่ของตนต่อหน้าหญิง ต้องอาบัติสังฆาทิเสส (๑) เป็นหญิง (๒) ภิกษุไม่แน่ใจว่าเป็นหญิง ฯลฯ สำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ ฯลฯ สำคัญว่าเป็นชาย ฯลฯ สำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉานและมีความกำหนัด (๓) ภิกษุ กล่าวสรรเสริญการบำเรอความใคร่ของตนต่อหน้าหญิง ต้องอาบัติถุลลัจจัย
บัณเฑาะก์
(๑) เป็นบัณเฑาะก์ (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์และมีความกำหนัด (๓) ภิกษุกล่าวสรรเสริญการบำเรอความใคร่ของตนต่อหน้าบัณเฑาะก์ ต้องอาบัติ ถุลลัจจัย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๓๓๑}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

๔. อัตตกามปาริจริยสิกขาบท บทภาชนีย์

(๑) เป็นบัณเฑาะก์ (๒) ภิกษุไม่แน่ใจว่าเป็นบัณเฑาะก์ ฯลฯ สำคัญว่าเป็น ชาย ฯลฯ สำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉาน ฯลฯ สำคัญว่าเป็นหญิงและมีความกำหนัด (๓) ภิกษุกล่าวสรรเสริญการบำเรอความใคร่ของตนต่อหน้าบัณเฑาะก์ ต้องอาบัติ ทุกกฏ
ชาย
(๑) เป็นชาย (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นชาย ฯลฯ ไม่แน่ใจว่าเป็นชาย ฯลฯ สำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉาน ฯลฯ สำคัญว่าเป็นหญิง ฯลฯ สำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ และมีความกำหนัด (๓) ภิกษุกล่าวสรรเสริญการบำเรอความใคร่ของตนต่อหน้าชาย ต้องอาบัติทุกกฏ
สัตว์ดิรัจฉาน
(๑) เป็นสัตว์ดิรัจฉาน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉาน ฯลฯ ไม่แน่ใจว่า เป็นสัตว์ดิรัจฉาน ฯลฯ สำคัญว่าเป็นหญิง ฯลฯ สำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ ฯลฯ สำคัญว่าเป็นชายและมีความกำหนัด (๓) ภิกษุกล่าวสรรเสริญการบำเรอความใคร่ ของตนต่อหน้าสัตว์ดิรัจฉาน ต้องอาบัติทุกกฏ
หญิง ๒ คน
(๑) เป็นหญิง ๒ คน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงทั้ง ๒ คนและมีความกำหนัด (๓) ภิกษุกล่าวสรรเสริญการบำเรอความใคร่ของตนต่อหน้าหญิงทั้ง ๒ คน ต้อง อาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว (๑) เป็นหญิง ๒ คน (๒) ภิกษุไม่แน่ใจว่าเป็นหญิงทั้ง ๒ คน ฯลฯ สำคัญว่า เป็นบัณเฑาะก์ ฯลฯ สำคัญว่าเป็นชาย ฯลฯ สำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉานและมีความ กำหนัด (๓) ภิกษุกล่าวสรรเสริญการบำเรอความใคร่ของตนต่อหน้าหญิงทั้ง ๒ คน ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๒ ตัว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๓๓๒}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

๔. อัตตกามปาริจริยสิกขาบท บทภาชนีย์

บัณเฑาะก์ ๒ คน
(๑) เป็นบัณเฑาะก์ ๒ คน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ทั้ง ๒ คนและมี ความกำหนัด (๓) ภิกษุกล่าวสรรเสริญการบำเรอความใคร่ของตนต่อหน้าบัณเฑาะก์ ทั้ง ๒ คน ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๒ ตัว (๑) เป็นบัณเฑาะก์ ๒ คน (๒) ภิกษุไม่แน่ใจว่าเป็นบัณเฑาะก์ทั้ง ๒ คน ฯลฯ สำคัญว่าเป็นชาย ฯลฯ สำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉาน ฯลฯ สำคัญว่าเป็นหญิงและมี ความกำหนัด (๓) ภิกษุกล่าวสรรเสริญการบำเรอความใคร่ของตนต่อหน้าบัณเฑาะก์ ทั้ง ๒ คน ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว
ชาย ๒ คน และสัตว์ดิรัจฉาน ๒ ตัว
(๑) เป็นชาย ๒ คน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นชายทั้ง ๒ คน ฯลฯ (๑) สัตว์ดิรัจฉาน ๒ ตัว (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉานทั้ง ๒ ตัว ฯลฯ ไม่แน่ใจ ฯลฯ สำคัญว่า เป็นหญิง ฯลฯ สำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ ฯลฯ สำคัญว่าเป็นชายและมีความกำหนัด (๓) ภิกษุกล่าวสรรเสริญการบำเรอความใคร่ของตนต่อหน้าสัตว์ดิรัจฉานทั้ง ๒ ต้อง อาบัติทุกกฏ ๒ ตัว
หญิงและบัณเฑาะก์
(๑) เป็นหญิงและบัณเฑาะก์ (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงทั้ง ๒ คนและมี ความกำหนัด (๓) ภิกษุกล่าวสรรเสริญการบำเรอความใคร่ของตนต่อหน้าหญิงและ บัณเฑาะก์ทั้ง ๒ คน ต้องอาบัติทุกกฏกับสังฆาทิเสส (๑) เป็นหญิงและบัณเฑาะก์ (๒) ภิกษุไม่แน่ใจว่าเป็นหญิงและบัณเฑาะก์ทั้ง ๒ คน ฯลฯ ต้องอาบัติทุกกฏกับถุลลัจจัย ฯลฯ สำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ ฯลฯ ต้อง อาบัติถุลลัจจัย ๒ ตัว ฯลฯ สำคัญว่าเป็นชาย ฯลฯ สำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉานและ มีความกำหนัด (๓) ภิกษุกล่าวสรรเสริญการบำเรอความใคร่ของตนต่อหน้าหญิง และบัณเฑาะก์ทั้ง ๒ คน ต้องอาบัติทุกกฏกับถุลลัจจัย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๓๓๓}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

๔. อัตตกามปาริจริยสิกขาบท บทภาชนีย์

(๑) เป็นหญิงและชาย (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงทั้ง ๒ คนและมีความ กำหนัด (๓) ภิกษุกล่าวสรรเสริญการบำเรอความใคร่ของตนต่อหน้าหญิงและชาย ทั้ง ๒ คน ต้องอาบัติทุกกฏกับสังฆาทิเสส (๑) เป็นหญิงและชาย (๒) ภิกษุไม่แน่ใจว่าเป็นหญิงและชายทั้ง ๒ คน ฯลฯ สำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ ฯลฯ สำคัญว่าเป็นชาย ฯลฯ สำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉาน และมีความกำหนัด (๓) ภิกษุกล่าวสรรเสริญการบำเรอความใคร่ของตนต่อหน้า หญิงและชายทั้ง ๒ คน ต้องอาบัติทุกกฏกับถุลลัจจัย
หญิงและสัตว์ดิรัจฉาน
(๑) เป็นหญิงและสัตว์ดิรัจฉาน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงทั้ง ๒ และมี ความกำหนัด (๓) ภิกษุกล่าวสรรเสริญการบำเรอความใคร่ของตนต่อหน้าหญิงและ สัตว์ดิรัจฉานทั้ง ๒ ต้องอาบัติทุกกฏและสังฆาทิเสส (๑) เป็นหญิงและสัตว์ดิรัจฉาน (๒) ภิกษุไม่แน่ใจว่าเป็นหญิงและสัตว์ดิรัจฉานทั้ง ๒ ฯลฯ สำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ ฯลฯ สำคัญว่าเป็นชาย ฯลฯ สำคัญว่าเป็นสัตว์ ดิรัจฉาน และมีความกำหนัด (๓) ภิกษุกล่าวสรรเสริญการบำเรอความใคร่ของตน ต่อหน้าหญิงและสัตว์ดิรัจฉานทั้ง ๒ ต้องอาบัติทุกกฏกับถุลลัจจัย
บัณเฑาะก์และชาย
(๑) เป็นบัณเฑาะก์และชาย (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ทั้ง ๒ คนและ มีความกำหนัด (๓) ภิกษุกล่าวสรรเสริญการบำเรอความใคร่ของตนต่อหน้า บัณเฑาะก์และชายทั้ง ๒ คน ต้องอาบัติทุกกฏกับถุลลัจจัย (๑) เป็นบัณเฑาะก์และชาย (๒) ภิกษุไม่แน่ใจว่าเป็นบัณเฑาะก์และชายทั้ง ๒ คน ฯลฯ สำคัญว่าเป็นชาย ฯลฯ สำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉาน ฯลฯ สำคัญว่าเป็น หญิงและมีความกำหนัด (๓) ภิกษุกล่าวสรรเสริญการบำเรอความใคร่ของตนต่อ หน้าบัณเฑาะก์และชายทั้ง ๒ คน ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๓๓๔}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

๔. อัตตกามปาริจริยสิกขาบท คาถารวมวินีตวัตถุ

บัณเฑาะก์และสัตว์ดิรัจฉาน
(๑) เป็นบัณเฑาะก์และสัตว์ดิรัจฉาน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ทั้ง ๒ และมีความกำหนัด (๓) ภิกษุกล่าวสรรเสริญการบำเรอความใคร่ของตนต่อหน้า บัณเฑาะก์และสัตว์ดิรัจฉานทั้ง ๒ ต้องอาบัติทุกกฏกับถุลลัจจัย (๑) เป็นบัณเฑาะก์และสัตว์ดิรัจฉาน (๒) ภิกษุไม่แน่ใจว่าเป็นบัณเฑาะก์และ สัตว์ดิรัจฉานทั้ง ๒ ฯลฯ สำคัญว่าเป็นชาย ฯลฯ สำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉาน ฯลฯ สำคัญว่าเป็นหญิงและมีความกำหนัด (๓) ภิกษุกล่าวสรรเสริญการบำเรอความใคร่ ของตนต่อหน้าบัณเฑาะก์และสัตว์ดิรัจฉานทั้ง ๒ ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว (๑) เป็นชายและสัตว์ดิรัจฉาน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นชายทั้ง ๒ ฯลฯ ภิกษุ ไม่แน่ใจว่าเป็นชายและสัตว์ดิรัจฉาน ฯลฯ สำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉาน ฯลฯ สำคัญ ว่าเป็นหญิง ฯลฯ สำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์และมีความกำหนัด (๓) ภิกษุกล่าว สรรเสริญการบำเรอความใคร่ของตนต่อหน้าชายและสัตว์ดิรัจฉานทั้ง ๒ ต้องอาบัติ ทุกกฏ ๒ ตัว
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๒๙๔] ๑. ภิกษุผู้กล่าวว่า “จงบำรุงด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ บริขารคือยารักษาโรค” ๒. ภิกษุวิกลจริต ๓. ภิกษุต้นบัญญัติ
คาถารวมวินีตวัตถุ
เรื่องที่ทรงวินิฉัยแล้ว
เรื่องหญิงหมันต้องการมีบุตร ๑ เรื่อง เรื่องหญิงผู้มีบุตรถี่ไม่ต้องการมีบุตร ๑ เรื่อง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๓๓๕}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

๔. อัตตกามปาริจริยสิกขาบท วินีตวัตถุ

เรื่องหญิงต้องการเป็นที่รักของสามี ๑ เรื่อง เรื่องหญิงต้องการมีโชค ๑ เรื่อง เรื่องหญิงต้องการถวายทานอันเลิศ ๑ เรื่อง เรื่องหญิงต้องการอุปัฏฐากด้วยสิ่งที่เลิศ ๑ เรื่อง เรื่องหญิงต้องการไปสุคติ ๑ เรื่อง
วินีตวัตถุ
เรื่องหญิงหมันต้องการมีบุตร ๑ เรื่อง
[๒๙๕] สมัยนั้น หญิงหมันคนหนึ่งถามภิกษุที่นางอุปถัมภ์ว่า “พระคุณเจ้า ทำอย่างไรดิฉันจึงจะมีบุตร” ภิกษุตอบว่า “น้องหญิง ถ้าเช่นนั้นเธอจงถวายทาน อันเลิศ” “พระคุณเจ้า อะไรที่ชื่อว่าทานอันเลิศ” “เมถุนธรรม” ท่านเกิดความกังวล ใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค ให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่องที่ ๑)
เรื่องหญิงผู้มีบุตรถี่ไม่ต้องการมีบุตร ๑ เรื่อง
สมัยนั้น หญิงคนหนึ่งมีบุตรถี่จึงถามภิกษุที่นางอุปถัมภ์ว่า “พระคุณเจ้า ทำ อย่างไรดิฉันจึงจะไม่มีบุตร” “น้องหญิง ถ้าอย่างนั้นเธอจงถวายทานอันเลิศ” “พระ คุณเจ้า อะไรชื่อว่าทานอันเลิศ” “เมถุนธรรม” ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้อง อาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่องที่ ๒)
เรื่องหญิงต้องการเป็นที่รักของสามี ๑ เรื่อง
สมัยนั้น หญิงคนหนึ่งถามภิกษุที่นางอุปถัมภ์ว่า “พระคุณเจ้า ทำอย่างไร ดิฉันจึงจะเป็นที่รักของสามี” “น้องหญิง ถ้าอย่างนั้นเธอจงถวายทานอันเลิศ” “พระ คุณเจ้า อะไรชื่อว่าทานอันเลิศ” “เมถุนธรรม” ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้อง อาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่องที่ ๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๓๓๖}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

๔. อัตตกามปาริจริยสิกขาบท วินีตวัตถุ

เรื่องหญิงต้องการมีโชค ๑ เรื่อง
สมัยนั้น หญิงคนหนึ่งถามภิกษุที่นางอุปถัมภ์ว่า “พระคุณเจ้า ทำอย่างไร ดิฉันจึงจะมีโชค” “น้องหญิง ถ้าอย่างนั้นเธอจงถวายทานอันเลิศ” “พระคุณเจ้า อะไรชื่อว่าทานอันเลิศ” “เมถุนธรรม” ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติ สังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่องที่ ๔)
เรื่องหญิงต้องการถวายทานอันเลิศ ๑ เรื่อง
สมัยนั้น หญิงคนหนึ่งถามภิกษุที่นางอุปถัมภ์ว่า “พระคุณเจ้า ดิฉันจะถวาย อะไรดีแก่พระคุณเจ้า” “น้องหญิง ถ้าอย่างนั้นเธอจงถวายทานอันเลิศ” “พระคุณเจ้า อะไรชื่อว่าทานอันเลิศ” “เมถุนธรรม” ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติ สังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่องที่ ๕)
เรื่องหญิงต้องการอุปัฏฐากด้วยสิ่งที่เลิศ ๑ เรื่อง
สมัยนั้น หญิงคนหนึ่งถามภิกษุที่นางอุปถัมภ์ว่า “พระคุณเจ้า ดิฉันจะ อุปัฏฐากพระคุณเจ้าด้วยอะไรดี” “น้องหญิง ด้วยทานอันเลิศ” “พระคุณเจ้า อะไร ชื่อว่าทานอันเลิศ” “เมถุนธรรม” ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติ สังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่องที่ ๖)
เรื่องหญิงต้องการไปสุคติ ๑ เรื่อง
สมัยนั้น หญิงคนหนึ่งถามภิกษุที่นางอุปถัมภ์ว่า “พระคุณเจ้า ดิฉันจะไปสุคติ ได้อย่างไร” “น้องหญิง ถ้าอย่างนั้น เธอจงถวายทานอันเลิศ” “พระคุณเจ้า อะไรชื่อ ว่าทานอันเลิศ” “เมถุนธรรม” ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสส หรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่องที่ ๗)
อัตตกามปาริจริยสิกขาบทที่ ๔ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๓๓๗}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๓๒๘-๓๓๗. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=1&siri=41              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=1&A=14204&Z=14567                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=1&i=414              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=1&item=414&items=7              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=910              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=1&item=414&items=7              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=910                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu1              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-ss4/en/brahmali



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :