ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ทีฆนิกาย มหาวรรค

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๒. มหานิทานสูตร]

ปฏิจจสมุปบาท

๒. มหานิทานสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่เป็นต้นเหตุใหญ่
ปฏิจจสมุปบาท๑-
[๙๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมของชาวกุรุชื่อกัมมาสธัมมะ แคว้นกุรุ ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ปฏิจจสมุปบาทนี้เป็นธรรมที่ลึกซึ้ง๒- สุดจะ คาดคะเนได้ แต่ถึงกระนั้น ก็ยังปรากฏแก่ข้าพระองค์เหมือนกับว่าเป็นธรรมง่ายๆ พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อย่าพูดอย่างนั้น อานนท์ อย่าพูดอย่างนั้น อานนท์ ปฏิจจสมุปบาทนี้เป็นธรรมที่ลึกซึ้ง สุดจะคาดคะเนได้ ก็เพราะไม่รู้ไม่เข้าใจปฏิจจ- สมุปบาทนี้ หมู่สัตว์จึงยุ่งเหมือนขอดด้ายของช่างหูก เป็นปมนุงนังเหมือนกระจุกด้าย เหมือนหญ้ามุงกระต่ายและหญ้าปล้อง ไม่ข้ามพ้นอบาย๓- ทุคติ วินิบาตและสงสาร [๙๖] อานนท์ เมื่อถูกถามว่า ‘เพราะสิ่งนี้เป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมีหรือ’ ควรตอบว่า ‘มี’ ถ้าถามว่า ‘เพราะอะไรเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี’ ควรตอบว่า ‘เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี’ เมื่อถูกถามว่า ‘เพราะสิ่งนี้เป็นปัจจัย ชาติจึงมีหรือ’ ควรตอบว่า ‘มี’ ถ้าถามว่า ‘เพราะอะไรเป็นปัจจัย ชาติจึงมี’ ควรตอบว่า ‘เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี’ เมื่อถูกถามว่า ‘เพราะสิ่งนี้เป็นปัจจัย ภพจึงมีหรือ’ ควรตอบว่า ‘มี’ ถ้าถามว่า ‘เพราะอะไรเป็นปัจจัย ภพจึงมี’ ควรตอบว่า ‘เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี’ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ สํ.นิ. (แปล) ๑๖/๖๐/๑๑๓ @ ลึกซึ้ง หมายถึงลึกซึ้งโดยอาการ ๔ คือ (๑) อรรถ (ผล) (๒) ธรรม (เหตุ) (๓) เทศนา (วิธีการแสดง) @(๔) ปฏิเวธ (การบรรลุ) (ที.ม.อ. ๙๕/๙๐) @ อบาย หมายถึงภาวะหรือที่อันปราศจากความเจริญ ๔ คือ (๑) นรก (๒) กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน (๓) แดน @เปรต (๔) อสุรกาย (ที.ม.อ. ๙๕/๙๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๕๗}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๒. มหานิทานสูตร]

ปฏิจจสมุปบาท

เมื่อถูกถามว่า ‘เพราะสิ่งนี้เป็นปัจจัย อุปาทานจึงมีหรือ’ ควรตอบว่า ‘มี’ ถ้าถามว่า ‘เพราะอะไรเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี’ ควรตอบว่า ‘เพราะตัณหาเป็น ปัจจัย อุปาทานจึงมี’ เมื่อถูกถามว่า ‘เพราะสิ่งนี้เป็นปัจจัย ตัณหาจึงมีหรือ’ ควรตอบว่า ‘มี’ ถ้าถามว่า ‘เพราะอะไรเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี’ ควรตอบว่า ‘เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี’ เมื่อถูกถามว่า ‘เพราะสิ่งนี้เป็นปัจจัย เวทนาจึงมีหรือ’ ควรตอบว่า ‘มี’ ถ้าถามว่า ‘เพราะอะไรเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี’ ควรตอบว่า ‘เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี’ เมื่อถูกถามว่า ‘เพราะสิ่งนี้เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมีหรือ’ ควรตอบว่า ‘มี’ ถ้าถามว่า ‘เพราะอะไรเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี’ ควรตอบว่า ‘เพราะนามรูปเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี’ เมื่อถูกถามว่า ‘เพราะสิ่งนี้เป็นปัจจัย นามรูปจึงมีหรือ’ ควรตอบว่า ‘มี’ ถ้า ถามว่า ‘เพราะอะไรเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี’ ควรตอบว่า ‘เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี’ เมื่อถูกถามว่า ‘เพราะสิ่งนี้เป็นปัจจัย วิญญาณจึงมีหรือ’ ควรตอบว่า ‘มี’ ถ้า ถามว่า ‘เพราะอะไรเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี‘ควรตอบว่า ‘เพราะนามรูปเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี’ [๙๗] ด้วยเหตุดังนี้แล เพราะนามรูปเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี เพราะนามรูปเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๕๘}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๒. มหานิทานสูตร]

ปฏิจจสมุปบาท

เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงมี ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้มีได้ ด้วยประการฉะนี้ [๙๘] อานนท์ ข้อที่เรากล่าวไว้เช่นนี้ว่า ‘เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี’ เธอพึงทราบเหตุผลที่ชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี ดังต่อไปนี้ ก็ถ้าชาติ คือ ชาติ เพื่อความเป็นเทพของพวกเทพ เพื่อความเป็นคนธรรพ์ของพวกคนธรรพ์ เพื่อความ เป็นยักษ์ของพวกยักษ์ เพื่อความเป็นภูตของพวกภูต เพื่อความเป็นมนุษย์ของพวก มนุษย์ เพื่อความเป็นสัตว์สี่เท้าของพวกสัตว์สี่เท้า เพื่อความเป็นสัตว์ปีกของพวก สัตว์ปีก เพื่อความเป็นสัตว์เลื้อยคลานของพวกสัตว์เลื้อยคลาน ไม่ได้มีแก่ใครๆ ในภพไหนๆ ทั่วทุกแห่ง ก็ถ้าชาติไม่ได้มีเพื่อความเป็นอย่างนั้นของสรรพสัตว์พวกนั้นๆ เมื่อชาติไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะชาติดับไป ชรามรณะจะปรากฏได้หรือ” ท่านพระอานนท์ทูลตอบว่า “ปรากฏไม่ได้เลย พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า “อานนท์ เพราะเหตุนั้น เหตุ ต้นเหตุ เหตุเกิด และปัจจัยแห่งชราและมรณะ ก็คือชาตินั่นเอง [๙๙] อานนท์ ข้อที่เรากล่าวไว้เช่นนี้ว่า ‘เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี’ เธอพึงทราบเหตุผลที่ภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี ดังต่อไปนี้ ก็ถ้าภพ คือ กามภพ รูปภพ หรืออรูปภพ ไม่ได้มีแก่ใครๆ ในภพไหนๆ ทั่วทุกแห่ง เมื่อภพไม่มีโดยประการ ทั้งปวง เพราะภพดับไป ชาติจะปรากฏได้หรือ” ท่านพระอานนท์ทูลตอบว่า “ปรากฏไม่ได้เลย พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า “อานนท์ เพราะเหตุนั้น เหตุ ต้นเหตุ เหตุเกิด และปัจจัยแห่งชาติ ก็คือภพนั่นเอง [๑๐๐] อานนท์ ข้อที่เรากล่าวไว้เช่นนี้ว่า ‘เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี’ เธอพึงทราบเหตุผลที่อุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี ดังต่อไปนี้ ก็ถ้าอุปาทาน คือ กามุปาทาน (ความยึดมั่นในกาม) ทิฏฐุปาทาน(ความยึดมั่นในทิฏฐิ) สีลัพพตุปาทาน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๕๙}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๒. มหานิทานสูตร]

ปฏิจจสมุปบาท

(ความยึดมั่นในศีลพรต) หรืออัตตวาทุปาทาน(ความยึดมั่นในวาทะว่ามีอัตตา) ไม่ได้ มีแก่ใครๆ ในภพไหนๆ ทั่วทุกแห่ง เมื่ออุปาทานไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะ อุปาทานดับไป ภพจะปรากฏได้หรือ” ท่านพระอานนท์ทูลตอบว่า “ปรากฏไม่ได้เลย พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า “อานนท์ เพราะเหตุนั้น เหตุ ต้นเหตุ เหตุเกิด และปัจจัยแห่งภพ ก็คืออุปาทานนั่นเอง [๑๐๑] อานนท์ ข้อที่เรากล่าวไว้เช่นนี้ว่า ‘เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทาน จึงมี’ เธอพึงทราบเหตุผลที่ตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี ดังต่อไปนี้ ก็ถ้าตัณหา คือ รูปตัณหา(อยากได้รูป) สัททตัณหา(อยากได้เสียง) คันธตัณหา(อยากได้กลิ่น) รสตัณหา(อยากได้รส) โผฏฐัพพตัณหา(อยากได้โผฏฐัพพะ) และธัมมตัณหา (อยากได้ ธรรมารมณ์) ไม่ได้มีแก่ใครๆ ในภพไหนๆ ทั่วทุกแห่ง เมื่อตัณหาไม่มีโดยประการ ทั้งปวง เพราะตัณหาดับไป อุปาทานจะปรากฏได้หรือ” ท่านพระอานนท์ทูลตอบว่า “ปรากฏไม่ได้เลย พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า “อานนท์ เพราะเหตุนั้น เหตุ ต้นเหตุ เหตุเกิด และปัจจัยแห่งอุปาทาน ก็คือตัณหานั่นเอง [๑๐๒] อานนท์ ข้อที่เรากล่าวไว้เช่นนี้ว่า ‘เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี’ เธอพึงทราบเหตุผลที่เวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี ดังต่อไปนี้ ก็ถ้าเวทนา คือ เวทนาที่เกิดจากจักขุสัมผัส เวทนาที่เกิดจากโสตสัมผัส เวทนาที่เกิดจากฆานสัมผัส เวทนาที่เกิดจากชิวหาสัมผัส เวทนาที่เกิดจากกายสัมผัส และเวทนาที่เกิดจาก มโนสัมผัส ไม่ได้มีแก่ใครๆ ในภพไหนๆ ทั่วทุกแห่ง เมื่อเวทนาไม่มีโดยประการ ทั้งปวง เพราะเวทนาดับไป ตัณหาจะปรากฏได้หรือ” ท่านพระอานนท์ทูลตอบว่า “ปรากฏไม่ได้เลย พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า “อานนท์ เพราะเหตุนั้น เหตุ ต้นเหตุ เหตุเกิด และปัจจัยแห่งตัณหา ก็คือเวทนานั่นเอง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๖๐}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๒. มหานิทานสูตร]

ปฏิจจสมุปบาท

[๑๐๓] อานนท์ ด้วยเหตุดังนี้แล เพราะอาศัยเวทนา ตัณหาจึงมี เพราะอาศัยตัณหา ปริเยสนา (การแสวงหา) จึงมี เพราะอาศัยปริเยสนา ลาภะ (การได้) จึงมี เพราะอาศัยลาภะ วินิจฉยะ (การกำหนด) จึงมี เพราะอาศัยวินิจฉยะ ฉันทราคะ (ความกำหนัดด้วยอำนาจ ความพอใจ) จึงมี เพราะอาศัยฉันทราคะ อัชโฌสานะ (ความหมกมุ่นฝังใจ) จึงมี เพราะอาศัยอัชโฌสานะ ปริคคหะ (การยึดถือครอบครอง) จึงมี เพราะอาศัยปริคคหะ มัจฉริยะ (ความตระหนี่) จึงมี เพราะอาศัยมัจฉริยะ อารักขะ (ความหวงกั้น) จึงมี เพราะอารักขะเป็นเหตุ บาปอกุศลธรรมเป็นอเนก ย่อมเกิด ขึ้นจากการถือท่อนไม้ การถือศัสตรา การทะเลาะ การแก่งแย่ง การวิวาท การพูดขึ้นเสียงว่า ‘มึง มึง’ การพูด ส่อเสียด และการพูดเท็จ [๑๐๔] อานนท์ ข้อที่เรากล่าวไว้เช่นนี้ว่า ‘เพราะอารักขะเป็นเหตุ บาปอกุศล- ธรรมเป็นอเนก ย่อมเกิดขึ้นจากการถือท่อนไม้ การถือศัสตรา การทะเลาะ การแก่งแย่ง การวิวาท การพูดขึ้นเสียงว่า ‘มึง มึง’ การพูดส่อเสียด และการ พูดเท็จ’ เธอพึงทราบเหตุผลที่อารักขะเป็นเหตุ บาปอกุศลธรรมเป็นอเนก ย่อมเกิด ขึ้นจากการถือท่อนไม้ การถือศัสตรา การทะเลาะ การแก่งแย่ง การวิวาท การพูด ขึ้นเสียงว่า ‘มึง มึง’ การพูดส่อเสียด และการพูดเท็จ ดังต่อไปนี้ ก็ถ้าอารักขะ ไม่ได้มีแก่ใครๆ ในภพไหนๆ ทั่วทุกแห่ง เมื่ออารักขะไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะอารักขะดับไป บาปอกุศลธรรมเป็นอเนก จะเกิดขึ้นจากการถือท่อนไม้ การถือ ศัสตรา การทะเลาะ การแก่งแย่ง การวิวาท การพูดขึ้นเสียงว่า ‘มึง มึง’ การพูด ส่อเสียด และการพูดเท็จได้หรือ” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๖๑}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๒. มหานิทานสูตร]

ปฏิจจสมุปบาท

ท่านพระอานนท์ทูลตอบว่า “เกิดขึ้นไม่ได้เลย พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า “อานนท์ เพราะเหตุนั้น เหตุ ต้นเหตุ และปัจจัย แห่งบาปอกุศลธรรมเป็นอเนกที่เกิดขึ้นจากการถือท่อนไม้ การถือศัสตรา การทะเลาะ การแก่งแย่ง การวิวาท การพูดขึ้นเสียงว่า ‘มึง มึง’ การพูดส่อเสียด และการ พูดเท็จ ก็คืออารักขะนั่นเอง [๑๐๕] อานนท์ ข้อที่เรากล่าวไว้เช่นนี้ว่า ‘เพราะอาศัยมัจฉริยะ อารักขะจึงมี’ เธอพึงทราบเหตุผลที่อาศัยมัจฉริยะ อารักขะจึงมี ดังต่อไปนี้ ก็ถ้ามัจฉริยะไม่ได้ มีแก่ใครๆ ในภพไหนๆ ทั่วทุกแห่ง เมื่อมัจฉริยะไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะ มัจฉริยะดับไป อารักขะจะปรากฏได้หรือ” ท่านพระอานนท์ทูลตอบว่า “ปรากฏไม่ได้เลย พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า “อานนท์ เพราะเหตุนั้น เหตุ ต้นเหตุ เหตุเกิด และปัจจัยแห่งอารักขะ ก็คือมัจฉริยะนั่นเอง [๑๐๖] อานนท์ ข้อที่เรากล่าวไว้เช่นนี้ว่า ‘เพราะอาศัยปริคคหะ มัจฉริยะ จึงมี’ เธอพึงทราบเหตุผลที่อาศัยปริคคหะ มัจฉริยะจึงมี ดังต่อไปนี้ ก็ถ้าปริคคหะ ไม่ได้มีแก่ใครๆ ในภพไหนๆ ทั่วทุกแห่ง เมื่อปริคคหะไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะปริคคหะดับไป มัจฉริยะจะปรากฏได้หรือ” ท่านพระอานนท์ทูลตอบว่า “ปรากฏไม่ได้เลย พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า “อานนท์ เพราะเหตุนั้น เหตุ ต้นเหตุ เหตุเกิด และปัจจัยแห่งมัจฉริยะ ก็คือปริคคหะนั่นเอง [๑๐๗] อานนท์ ข้อที่เรากล่าวไว้เช่นนี้ว่า ‘เพราะอาศัยอัชโฌสานะ ปริคคหะ จึงมี’ เธอพึงทราบเหตุผลที่อาศัยอัชโฌสานะ ปริคคหะจึงมี ดังต่อไปนี้ ก็ถ้าอัชโฌสานะ ไม่ได้มีแก่ใครๆ ในภพไหนๆ ทั่วทุกแห่ง เมื่ออัชโฌสานะไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะอัชโฌสานะดับไป ปริคคหะจะปรากฏได้หรือ” ท่านพระอานนท์ทูลตอบว่า “ปรากฏไม่ได้เลย พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า “อานนท์ เพราะเหตุนั้น เหตุ ต้นเหตุ เหตุเกิด และปัจจัยแห่งปริคคหะ ก็คืออัชโฌสานะนั่นเอง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๖๒}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๒. มหานิทานสูตร]

ปฏิจจสมุปบาท

[๑๐๘] อานนท์ ข้อที่เรากล่าวไว้เช่นนี้ว่า ‘เพราะอาศัยฉันทราคะ อัชโฌสานะ จึงมี’ เธอพึงทราบเหตุผลที่อาศัยฉันทราคะ อัชโฌสานะจึงมี ดังต่อไปนี้ ก็ถ้า ฉันทราคะไม่ได้มีแก่ใครๆ ในภพไหนๆ ทั่วทุกแห่ง เมื่อฉันทราคะไม่มีโดยประการ ทั้งปวง เพราะฉันทราคะดับไป อัชโฌสานะจะปรากฏได้หรือ” ท่านพระอานนท์ทูลตอบว่า “ปรากฏไม่ได้เลย พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า “อานนท์ เพราะเหตุนั้น เหตุ ต้นเหตุ เหตุเกิด และปัจจัยแห่งอัชโฌสานะ ก็คือฉันทราคะนั่นเอง [๑๐๙] อานนท์ ข้อที่เรากล่าวเช่นนี้ว่า ‘เพราะอาศัยวินิจฉยะ ฉันทราคะจึงมี’ เธอพึงทราบเหตุผลที่อาศัยวินิจฉยะ ฉันทราคะจึงมี ดังต่อไปนี้ ก็ถ้าวินิจฉยะไม่ได้ มีแก่ใครๆ ในภพไหนๆ ทั่วทุกแห่ง เมื่อวินิจฉยะไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะ วินิจฉยะดับไป ฉันทราคะจะปรากฏได้หรือ'' ท่านพระอานนท์ทูลตอบว่า “ปรากฏไม่ได้เลย พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า “อานนท์ เพราะเหตุนั้น เหตุ ต้นเหตุ เหตุเกิด และปัจจัยแห่งฉันทราคะ ก็คือวินิจฉยะนั่นเอง [๑๑๐] อานนท์ ข้อที่เรากล่าวเช่นนี้ว่า ‘เพราะอาศัยลาภะ วินิจฉยะจึงมี’ เธอพึงทราบเหตุผลที่อาศัยลาภะ วินิจฉยะจึงมี ดังต่อไปนี้ ก็ถ้าลาภะไม่ได้มีแก่ ใครๆ ในภพไหนๆ ทั่วทุกแห่ง เมื่อลาภะไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะลาภะ หมดไป วินิจฉยะจะปรากฏได้หรือ” ท่านพระอานนท์ทูลตอบว่า “ปรากฏไม่ได้เลย พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า “อานนท์ เพราะเหตุนั้น เหตุ ต้นเหตุ เหตุเกิด และปัจจัยแห่งวินิจฉยะ ก็คือลาภะนั่นเอง [๑๑๑] อานนท์ ข้อที่เรากล่าวเช่นนี้ว่า ‘เพราะอาศัยปริเยสนา ลาภะจึงมี’ เธอพึงทราบเหตุผลที่อาศัยปริเยสนา ลาภะจึงมี ดังต่อไปนี้ ก็ถ้าปริเยสนาไม่ได้ มีแก่ใครๆ ในภพไหนๆ ทั่วทุกแห่ง เมื่อปริเยสนาไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะ ปริเยสนาดับไป ลาภะจะปรากฏได้หรือ” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๖๓}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๒. มหานิทานสูตร]

ปฏิจจสมุปบาท

ท่านพระอานนท์ทูลตอบว่า “ปรากฏไม่ได้เลย พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า “อานนท์ เพราะเหตุนั้น เหตุ ต้นเหตุ เหตุเกิด และปัจจัยแห่งลาภะ ก็คือปริเยสนานั่นเอง [๑๑๒] อานนท์ ข้อที่เรากล่าวเช่นนี้ว่า ‘เพราะอาศัยตัณหา ปริเยสนา จึงมี’ เธอพึงทราบเหตุผลที่อาศัยตัณหา ปริเยสนาจึงมี ดังต่อไปนี้ ก็ถ้าตัณหา คือ กามตัณหา๑- ภวตัณหา๒- และวิภวตัณหา๓- ไม่ได้มีแก่ใครๆ ในภพไหนๆ ทั่วทุกแห่ง เมื่อตัณหาไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะตัณหาดับไป ปริเยสนาจะปรากฏได้หรือ” ท่านพระอานนท์ทูลตอบว่า “ปรากฏไม่ได้เลย พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า “อานนท์ เพราะเหตุนั้น เหตุ ต้นเหตุ เหตุเกิด และปัจจัยแห่งปริเยสนา ก็คือตัณหานั่นเอง อานนท์ ธรรม ๒ อย่างนี้ ทั้ง ๒ ส่วน๔- รวมลงเป็นอย่างเดียวกับเวทนา ด้วยประการฉะนี้ [๑๑๓] อานนท์ ข้อที่เรากล่าวเช่นนี้ว่า ‘เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี’ เธอพึงทราบเหตุผลที่ผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี ดังต่อไปนี้ ก็ถ้าผัสสะ คือ จักขุ- สัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส และมโนสัมผัสไม่ได้มีแก่ ใครๆ ในภพไหนๆ ทั่วทุกแห่ง เมื่อผัสสะไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะผัสสะดับไป เวทนาจะปรากฏได้หรือ” ท่านพระอานนท์ทูลตอบว่า “ปรากฏไม่ได้เลย พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า “อานนท์ เพราะเหตุนั้น เหตุ ต้นเหตุ เหตุเกิด และปัจจัยแห่งเวทนา ก็คือผัสสะนั่นเอง @เชิงอรรถ : @ กามตัณหา (ความทะยานอยากในกาม) ในที่นี้หมายถึงราคะที่เนื่องด้วยกามคุณ ๕ (ที.ปา.อ. ๓๐๕/๑๘๒) @ ภวตัณหา (ความทะยานอยากในภพ) ในที่นี้หมายถึงราคะในรูปภพและอรูปภพ, ราคะที่ประกอบด้วย @สัสสตทิฏฐิ (ที.ปา.อ. ๓๐๕/๑๘๒) @ วิภวตัณหา (ความทะยานอยากในวิภพ) ในที่นี้หมายถึงราคะที่ประกอบด้วยอุจเฉททิฏฐิ (ที.ปา.อ. ๓๐๕/๑๘๒) @ ธรรม ๒ อย่างนี้ ทั้ง ๒ ส่วน ในที่นี้หมายถึงตัณหา ๒ ประการ ได้แก่ (๑) วัฏฏมูลตัณหา ตัณหาที่เป็นมูล @ในวัฏฏะ หมายถึงตัณหาที่เป็นปัจจัยของอุปาทาน (๒) สมุทาจารตัณหา ตัณหาที่ฟุ้งขึ้น หมายถึงตัณหา @ที่ท่านกล่าวว่า เพราะอาศัยตัณหา ปริเยสนาจึงมี เป็นต้น (ที.ม.อ. ๑๑๒/๙๘, ที.ม.ฏีกา ๑๑๒/๑๒๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๖๔}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๒. มหานิทานสูตร]

ปฏิจจสมุปบาท

[๑๑๔] อานนท์ ข้อที่เรากล่าวเช่นนี้ว่า ‘เพราะนามรูปเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี’ เธอพึงทราบเหตุผลที่นามรูปเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี ดังต่อไปนี้ การบัญญัตินามกาย๑- ต้องพร้อมด้วยอาการ๒- เพศ๓- นิมิต๔- อุทเทส๕- เมื่ออาการ เพศ นิมิต และอุทเทส นั้นๆ ไม่มี การสัมผัสแต่ชื่อในรูปกายจะปรากฏได้หรือ” ท่านพระอานนท์ทูลตอบว่า “ปรากฏไม่ได้เลย พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “การบัญญัติรูปกายต้องพร้อมด้วยอาการ เพศ นิมิต และอุทเทส เมื่ออาการ เพศ นิมิต และอุทเทสนั้นๆ ไม่มี การสัมผัสโดยการ กระทบในนามกายจะปรากฏได้หรือ” ท่านพระอานนท์ทูลตอบว่า “ปรากฏไม่ได้เลย พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “การบัญญัตินามกายและรูปกายต้องพร้อมด้วย อาการ เพศ นิมิต และอุทเทส เมื่ออาการ เพศ นิมิต และอุทเทสนั้นๆ ไม่มี การสัมผัสแต่ชื่อจะปรากฏได้หรือ” ท่านพระอานนท์ทูลตอบว่า “ปรากฏไม่ได้เลย พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “การบัญญัตินามรูปต้องพร้อมด้วยอาการ เพศ นิมิต และอุทเทส เมื่ออาการ เพศ นิมิต และอุทเทสนั้นๆ ไม่มี ผัสสะจะปรากฏ ได้หรือ” ท่านพระอานนท์ทูลตอบว่า “ปรากฏไม่ได้เลย พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า “อานนท์ เพราะเหตุนั้น เหตุ ต้นเหตุ เหตุเกิด และปัจจัยแห่งผัสสะ ก็คือนามรูปนั่นเอง [๑๑๕] อานนท์ ข้อที่เรากล่าวเช่นนี้ว่า ‘เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี’ เธอพึงทราบเหตุผลที่วิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี ดังต่อไปนี้ ก็ถ้าวิญญาณ จักไม่หยั่งลงในท้องมารดา นามรูปจะก่อตัวขึ้นในท้องมารดาได้หรือ” @เชิงอรรถ : @ นามกาย หมายถึงนามขันธ์ ๔ คือ (๑) เวทนาขันธ์ (๒) สัญญาขันธ์ (๓) สังขารขันธ์ (๔) วิญญาณขันธ์ @(ที.ม.อ. ๑๑๔/๙๙) @ อาการ หมายถึงอากัปกิริยาของนามขันธ์แต่ละอย่างที่สำแดงออกมา (ที.ม.ฏีกา. ๑๑๔/๑๒๓) @ เพศ หมายถึงลักษณะที่บ่งบอกหรือใช้เป็นเครื่องอนุมานถึงนามขันธ์แต่ละอย่าง (ที.ม.ฏีกา ๑๑๔/๑๒๓) @ นิมิต หมายถึงเครื่องหมายแสดงถึงลักษณะเฉพาะของนามขันธ์แต่ละอย่าง (ที.ม.ฏีกา. ๑๑๔/๑๒๓) @ อุทเทส หมายถึงคำอธิบายเกี่ยวกับนามขันธ์แต่ละอย่าง เช่น เป็นสิ่งที่ไม่ใช่รูป เป็นสิ่งที่รับรู้ได้ @(ที.ม.ฏีกา. ๑๑๔/๑๒๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๖๕}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๒. มหานิทานสูตร]

ปฏิจจสมุปบาท

ท่านพระอานนท์ทูลตอบว่า “ไม่ได้เลย พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ก็ถ้าวิญญาณหยั่งลงในท้องมารดาแล้วล่วงเลยไป นามรูปจักบังเกิดขึ้นเพื่อความเป็นอย่างนี้ได้หรือ” ท่านพระอานนท์ทูลตอบว่า “ไม่ได้เลย พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ก็ถ้าวิญญาณเด็กชายหรือเด็กหญิงผู้เยาว์วัยจัก ขาดความสืบต่อ นามรูปจักเจริญงอกงามไพบูลย์ได้หรือ” ท่านพระอานนท์ทูลตอบว่า “ไม่ได้เลย พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า “อานนท์ เพราะเหตุนั้น เหตุ ต้นเหตุ เหตุเกิด และปัจจัยแห่งนามรูป ก็คือวิญญาณนั่นเอง [๑๑๖] อานนท์ ข้อที่เรากล่าวเช่นนี้ว่า ‘เพราะนามรูปเป็นปัจจัย วิญญาณ จึงมี’ เธอพึงทราบเหตุผลที่นามรูปเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี ดังต่อไปนี้ ก็ถ้า วิญญาณจักไม่ได้อาศัยนามรูป ชาติ ชรา มรณะ และความเกิดขึ้นแห่งทุกขสมุทัย จะปรากฏได้หรือ” ท่านพระอานนท์ทูลตอบว่า “ปรากฏไม่ได้เลย พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า “อานนท์ เพราะเหตุนั้น เหตุ ต้นเหตุ เหตุเกิด และปัจจัยแห่งวิญญาณ ก็คือนามรูปนั่นเอง ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล วิญญาณและนามรูปจึงเกิด แก่ ตาย จุติหรืออุบัติ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ จึงมีคำที่เป็นเพียงชื่อ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ จึงมีคำที่ใช้ตาม ความหมาย ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ จึงมีคำบัญญัติ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ จึงมีแต่สื่อ ความเข้าใจ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ วัฏฏะจึงเป็นไป ความเป็นอย่างนี้ย่อมปรากฏ โดยการบัญญัติ๑- คือ นามรูปย่อมเป็นไปพร้อมกับวิญญาณ เพราะต่างก็เป็นปัจจัย ของกันและกัน @เชิงอรรถ : @ ความเป็นอย่างนี้ย่อมปรากฏโดยการบัญญัติ หมายถึงขันธ์ ๕ เป็นเพียงชื่อที่บัญญัติขึ้น (ที.ม.อ. ๑๑๖/๑๐๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๖๖}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๒. มหานิทานสูตร]

บัญญัติอัตตา

บัญญัติอัตตา
[๑๑๗] อานนท์ บุคคลเมื่อจะบัญญัติอัตตา ย่อมบัญญัติด้วยความเห็น กี่อย่าง บุคคล ๑. เมื่อจะบัญญัติอัตตาที่มีขนาดจำกัด มีรูป ย่อมบัญญัติว่า ‘อัตตา ของเรามีขนาดจำกัด มีรูป’ ๒. เมื่อจะบัญญัติอัตตามีขนาดไม่จำกัด มีรูป ย่อมบัญญัติว่า ‘อัตตา ของเรามีขนาดไม่จำกัด มีรูป’ ๓. เมื่อจะบัญญัติอัตตาที่มีขนาดจำกัด ไม่มีรูป ย่อมบัญญัติว่า ‘อัตตา ของเรามีขนาดจำกัด ไม่มีรูป’ ๔. เมื่อจะบัญญัติอัตตาที่มีขนาดไม่จำกัด ไม่มีรูป ย่อมบัญญัติว่า ‘อัตตาของเรามีขนาดไม่จำกัด ไม่มีรูป’ [๑๑๘] ในความเห็น ๔ อย่างนั้น บุคคลเมื่อจะบัญญัติอัตตามีขนาดจำกัด มีรูป ย่อมบัญญัติว่ามีอยู่เฉพาะในชาตินี้ หรือบัญญัติว่าเป็นสภาพมีอยู่ตลอดกาล หรือมีความเห็นว่า ‘เราจักทำอัตตาที่มีสภาพไม่เที่ยง ที่มีอยู่ ให้สำเร็จเป็นสภาพ เที่ยง’ อานนท์ การลงความเห็นว่า อัตตาที่มีอยู่ มีขนาดจำกัด มีรูป ย่อมติดตาม มาด้วยอาการอย่างนี้ ฉะนั้น จึงควรกล่าวไว้ บุคคลเมื่อจะบัญญัติอัตตามีขนาดไม่จำกัด มีรูป ย่อมบัญญัติว่ามีอยู่เฉพาะ ในชาตินี้ หรือบัญญัติว่าเป็นสภาพมีอยู่ตลอดกาล หรือมีความเห็นว่า ‘เราจักทำ อัตตาที่มีสภาพไม่เที่ยง ที่มีอยู่ ให้สำเร็จเป็นสภาพเที่ยง’ อานนท์ การลงความเห็น ว่าอัตตาที่มีอยู่ มีขนาดไม่จำกัด มีรูป ย่อมติดตามมาด้วยอาการอย่างนี้ ฉะนั้น จึงควรกล่าวไว้ บุคคลเมื่อจะบัญญัติอัตตามีขนาดจำกัด ไม่มีรูป ย่อมบัญญัติว่ามีอยู่เฉพาะ ในชาตินี้ หรือบัญญัติว่าเป็นสภาพมีอยู่ตลอดกาล หรือมีความเห็นว่า ‘เราจักทำ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๖๗}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๒. มหานิทานสูตร]

ไม่บัญญัตอัตตา

อัตตาที่มีสภาพไม่เที่ยง ที่มีอยู่ ให้สำเร็จเป็นสภาพเที่ยง’ อานนท์ การลงความเห็น ว่าอัตตาที่มีอยู่ มีขนาดจำกัด ไม่มีรูป ย่อมติดตามมาด้วยอาการอย่างนี้ ฉะนั้น จึงควรกล่าวไว้ บุคคลเมื่อจะบัญญัติอัตตามีขนาดไม่จำกัด ไม่มีรูป ย่อมบัญญัติว่ามีอยู่เฉพาะ ในชาตินี้ หรือบัญญัติว่าเป็นสภาพมีอยู่ตลอดกาล หรือมีความเห็นว่า ‘เราจักทำ อัตตาที่มีสภาพไม่เที่ยง ที่มีอยู่ ให้สำเร็จเป็นสภาพเที่ยง’ อานนท์ การลงความ เห็นว่าอัตตา ที่มีอยู่ มีขนาดไม่จำกัด ไม่มีรูป ย่อมติดตามมาด้วยอาการอย่างนี้ ฉะนั้น จึงควรกล่าวไว้ อานนท์ บุคคลเมื่อบัญญัติอัตตา ย่อมบัญญัติด้วยความเห็น ๔ อย่างนี้แล”
ไม่บัญญัติอัตตา
[๑๑๙] “อานนท์ บุคคลเมื่อไม่บัญญัติอัตตา ย่อมไม่บัญญัติด้วยความเห็น กี่อย่าง บุคคล ๑. เมื่อไม่บัญญัติอัตตาที่มีขนาดจำกัด มีรูป ย่อมไม่บัญญัติว่า ‘อัตตาของเรามีขนาดจำกัด มีรูป’ ๒. เมื่อไม่บัญญัติอัตตามีขนาดไม่จำกัด มีรูป ย่อมไม่บัญญัติว่า ‘อัตตาของเรามีขนาดไม่จำกัด มีรูป’ ๓. เมื่อไม่บัญญัติอัตตาที่มีขนาดจำกัด ไม่มีรูป ย่อมไม่บัญญัติว่า ‘อัตตาของเรามีขนาดจำกัด ไม่มีรูป’ ๔. เมื่อไม่บัญญัติอัตตาที่มีขนาดไม่จำกัด ไม่มีรูป ย่อมไม่บัญญัติว่า ‘อัตตาของเรา มีขนาดไม่จำกัด ไม่มีรูป’ [๑๒๐] ในความเห็น ๔ อย่างนั้น บุคคลเมื่อไม่บัญญัติอัตตามีขนาดจำกัด มีรูป ย่อมไม่บัญญัติว่ามีอยู่เฉพาะในชาตินี้ หรือไม่บัญญัติว่าเป็นสภาพมีอยู่ตลอดกาล หรือไม่มีความเห็นว่า ‘เราจักทำอัตตาที่มีสภาพไม่เที่ยง ที่มีอยู่ ให้สำเร็จเป็น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๖๘}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๒. มหานิทานสูตร]

ความเห็นว่าเป็นอัตตา

สภาพเที่ยง’ การลงความเห็นว่าอัตตาที่มีอยู่มีขนาดจำกัด มีรูป ย่อมไม่ติดตามมา ด้วยอาการอย่างนี้ ฉะนั้น จึงควรกล่าวไว้ บุคคลเมื่อไม่บัญญัติอัตตามีขนาดไม่จำกัด มีรูป ย่อมไม่บัญญัติว่ามีอยู่เฉพาะ ในชาตินี้ หรือไม่บัญญัติว่าเป็นสภาพที่มีอยู่ตลอดกาล หรือไม่มีความเห็นว่า ‘เราจัก ทำอัตตาที่มีสภาพไม่เที่ยง ที่มีอยู่ ให้สำเร็จเป็นสภาพเที่ยง’ การลงความเห็นว่า อัตตาที่มีอยู่ มีขนาดไม่จำกัด มีรูป ย่อมไม่ติดตามมาด้วยอาการอย่างนี้ ฉะนั้น จึงควรกล่าวไว้ บุคคลเมื่อไม่บัญญัติอัตตามีขนาดจำกัด ไม่มีรูป ย่อมไม่บัญญัติว่ามีอยู่เฉพาะ ในชาตินี้ หรือไม่บัญญัติว่าเป็นสภาพที่มีอยู่ตลอดกาล หรือไม่มีความเห็นว่า ‘เราจัก ทำอัตตาที่มีสภาพไม่เที่ยง ที่มีอยู่ ให้สำเร็จเป็นสภาพเที่ยง’ การลงความเห็นว่า อัตตาที่มีอยู่มีขนาดจำกัดไม่มีรูป ย่อมไม่ติดตามมาด้วยอาการอย่างนี้ ฉะนั้น จึงควร กล่าวไว้ บุคคลเมื่อไม่บัญญัติอัตตามีขนาดไม่จำกัด ไม่มีรูป ย่อมไม่บัญญัติว่ามีอยู่เฉพาะ ในชาตินี้ หรือไม่บัญญัติว่าเป็นสภาพมีอยู่ตลอดกาล หรือไม่มีความเห็นว่า ‘เราจัก ทำอัตตาที่มีสภาพไม่เที่ยง ที่มีอยู่ ให้สำเร็จเป็นสภาพเที่ยง’ การลงความเห็นว่า อัตตาที่มีอยู่ มีขนาดไม่จำกัด ไม่มีรูป ย่อมไม่ติดตามมาด้วยอาการอย่างนี้ ฉะนั้น จึงควรกล่าวไว้ อานนท์ บุคคลเมื่อไม่บัญญัติอัตตา ย่อมไม่บัญญัติด้วยความเห็น ๔ อย่างนี้แล”
ความเห็นว่าเป็นอัตตา
[๑๒๑] “อานนท์ บุคคลเมื่อเห็นว่ามีอัตตา ย่อมเห็นด้วยความเห็น กี่อย่าง บุคคลเมื่อเห็นเวทนาว่าเป็นอัตตา ย่อมเห็นว่า ‘เวทนาเป็นอัตตาของเรา’ หรือเห็นว่า ‘เวทนาไม่ใช่อัตตาของเรา (เพราะ) อัตตาของเราไม่เสวยอารมณ์’ หรือ เห็นว่า ‘เวทนาไม่ใช่อัตตาของเรา อัตตาของเราจะไม่เสวยอารมณ์ก็มิใช่ อัตตาของเรา ยังเสวยอารมณ์อยู่ เพราะอัตตาของเรามีเวทนาเป็นคุณสมบัติ’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๖๙}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๒. มหานิทานสูตร]

ความเห็นว่าเป็นอัตตา

[๑๒๒] อานนท์ ในความเห็น ๓ อย่างนั้น ผู้ที่กล่าวอย่างนี้ว่า ‘เวทนาเป็น อัตตาของเรา’ เขาจะถูกซักถามว่า ‘ผู้มีอายุ เวทนามี ๓ อย่าง คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา และอทุกขมสุขเวทนา บรรดาเวทนา ๓ อย่างนี้ เธอเห็นเวทนาอย่าง ไหนว่าเป็นอัตตา’ ในคราวที่อัตตาเสวยสุขเวทนา ก็ย่อมไม่เสวยทุกขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนา คงเสวยแต่สุขเวทนาเท่านั้น ในคราวที่อัตตาเสวยทุกขเวทนา ก็ย่อมไม่เสวยสุข- เวทนาและอทุกขมสุขเวทนา คงเสวยแต่ทุกขเวทนาเท่านั้น ในคราวที่อัตตาเสวย อทุกขมสุขเวทนา ก็ย่อมไม่เสวยสุขเวทนาและทุกขเวทนา คงเสวยแต่อทุกขมสุข- เวทนาเท่านั้น [๑๒๓] อานนท์ แม้สุขเวทนาก็ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยเหตุปัจจัยเกิด มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา แม้ทุกขเวทนาก็ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยเหตุ ปัจจัยเกิด มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความคลายไป เป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา แม้อทุกขมสุขเวทนาก็ไม่เที่ยง ถูกปัจจัย ปรุงแต่ง อาศัยเหตุปัจจัยเกิด มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็น ธรรมดา มีความคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา เมื่อบุคคลเสวยสุขเวทนา ย่อมมีความเห็นว่า ‘นี้เป็นอัตตาของเรา’ เมื่อ สุขเวทนานั้นดับ จึงมีความเห็นว่า ‘อัตตาของเราดับไปแล้ว’ เมื่อบุคคลเสวยทุกข- เวทนา ย่อมมีความเห็นว่า ‘นี้เป็นอัตตาของเรา’ เมื่อทุกขเวทนานั้นดับ จึงมีความ เห็นว่า ‘อัตตาของเราดับไปแล้ว’ เมื่อบุคคลเสวยอทุกขมสุขเวทนา ย่อมมีความ เห็นว่า ‘นี้เป็นอัตตาของเรา’ เมื่ออทุกขมสุขเวทนานั้นดับ จึงมีความเห็นว่า ‘อัตตา ของเราดับไปแล้ว’ ผู้ที่กล่าวอย่างนี้ว่า ‘เวทนาเป็นอัตตาของเรา’ เมื่อเห็นเวทนาว่าเป็นอัตตา ย่อมเห็นอัตตา ไม่เที่ยง สุขบ้าง ทุกข์บ้าง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา และมีความ เสื่อมไปเป็นธรรมดา ในปัจจุบัน เพราะเหตุนั้นแล อานนท์ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ จึงยังไม่ควรที่จะเห็นว่า ‘เวทนาเป็นอัตตาของเรา’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๗๐}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๒. มหานิทานสูตร]

ความเห็นว่าเป็นอัตตา

[๑๒๔] อานนท์ ในความเห็น ๓ อย่างนั้น ผู้ที่กล่าวอย่างนี้ว่า ‘เวทนาไม่ใช่ อัตตาของเรา (เพราะ) อัตตาของเราไม่เสวยอารมณ์’ เขาจะถูกซักถามว่า ‘ในรูปขันธ์ ซึ่งไม่มีการเสวยอารมณ์ จะมีความรู้สึกว่า ‘เป็นเรา’ เกิดขึ้นได้หรือไม่” ท่านพระอานนท์ทูลตอบว่า “เกิดขึ้นไม่ได้เลย พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า “เพราะเหตุนั้นแล อานนท์ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ จึงยังไม่ควรที่จะเห็นว่า เวทนาไม่ใช่อัตตาของเรา เพราะอัตตาของเราไม่เสวยอารมณ์ [๑๒๕] อานนท์ ในความเห็น ๓ อย่างนั้น ผู้ที่กล่าวอย่างนี้ว่า ‘เวทนาไม่ใช่ อัตตาของเรา อัตตาของเราจะไม่เสวยอารมณ์ก็มิใช่ อัตตาของเรายังเสวย อารมณ์อยู่ เพราะอัตตาของเรามีเวทนาเป็นคุณสมบัติ’ เขาจะถูกซักถามว่า ‘ผู้มี อายุ ก็เพราะเวทนาจะต้องดับไปทั้งหมดทั้งสิ้นไม่มีเหลือ เมื่อไม่มีเวทนา เพราะ เวทนาดับไป โดยประการทั้งปวงยังจะมีความรู้สึกว่า ‘เป็นเรา’ ได้หรือไม่ ท่านพระอานนท์ทูลตอบว่า “ไม่ได้เลย พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า “เพราะเหตุนั้นแล อานนท์ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ จึงยังไม่ควรที่จะเห็นว่า ‘เวทนาไม่ใช่อัตตาของเรา อัตตาของเราจะไม่เสวยอารมณ์ ก็มิใช่ อัตตาของเรายังเสวยอารมณ์อยู่ เพราะอัตตาของเรามีเวทนาเป็นคุณสมบัติ’ [๑๒๖] อานนท์ ภิกษุใดไม่เห็นเวทนาว่าเป็นอัตตา ไม่เห็นการเสวยอารมณ์ ว่าเป็นอัตตา และไม่เห็นว่า ‘อัตตาของเรายังต้องเสวยอารมณ์ เพราะว่าอัตตาของ เรามีเวทนาเป็นคุณสมบัติ’ ภิกษุนั้นเมื่อเห็นอย่างนี้ย่อมไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก และเมื่อไม่ถือมั่นย่อมไม่สะทกสะท้าน เมื่อไม่สะทกสะท้านย่อมดับได้เฉพาะตน๑- ย่อมรู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจ อื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’ ผู้ใดกล่าวกับภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วดังกล่าวนั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่านมีทิฏฐิว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกหรือ’ การกล่าวของผู้นั้นไม่สมควร ผู้ใดกล่าว @เชิงอรรถ : @ ย่อมดับได้เฉพาะตน หมายถึงดับกิเลสได้ด้วยตนเอง (ที.ม.อ. ๑๒๖/๑๐๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๗๑}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๒. มหานิทานสูตร]

วิญญาณฐิติ ๗ ประการ

กับภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วดังกล่าวนั้น อย่างนี้ว่า ‘ท่านมีทิฏฐิว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีกหรือ’ การกล่าวของผู้นั้นก็ไม่สมควร ผู้ใดกล่าวกับภิกษุผู้มีจิต หลุดพ้นแล้วดังกล่าวนั้น อย่างนี้ว่า ‘ท่านมีทิฏฐิว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคต เกิดอีกและไม่เกิดอีกหรือ’ การกล่าวของผู้นั้นก็ไม่สมควร ผู้ใดกล่าวกับภิกษุผู้มีจิต หลุดพ้นแล้วดังกล่าวนั้น อย่างนี้ว่า ‘ท่านมีทิฏฐิว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่า เกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่หรือ’ การกล่าวของผู้นั้นก็ไม่สมควร ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะชื่อ คำที่เป็นเพียงชื่อ ความหมาย คำที่ใช้ตาม ความหมาย บัญญัติ คำบัญญัติ ความเข้าใจ สื่อความเข้าใจ วัฏฏะยังเป็นไปอยู่ ตลอดกาลเพียงใด วัฏฏะย่อมหมุนไปตลอดกาลเพียงนั้น ภิกษุชื่อว่าหลุดพ้นแล้วเพราะรู้ยิ่งวัฏฏะนั้น ผู้ใดกล่าวกับภิกษุผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะรู้ยิ่งวัฏฏะนั้นว่า ‘ท่านมีทิฏฐิว่า ‘พระอรหันต์ย่อมไม่รู้ไม่เห็น’ การกล่าวของ ผู้นั้นก็ไม่สมควร’
วิญญาณฐิติ ๗ ประการ
(ภูมิเป็นที่ตั้งแห่งวิญญาณ)
[๑๒๗] อานนท์ วิญญาณฐิติ๑- ๗ ประการ และอายตนะ ๒ ประการนี้ วิญญาณฐิติ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. มีสัตว์ทั้งหลายผู้มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน คือ มนุษย์ เทพบางพวก๒- และวินิปาติกะบางพวก๓- นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๑ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ที.ปา. ๑๑/๓๓๒/๒๒๒-๒๒๓, ๓๕๗/๒๕๘-๒๕๙, องฺ.นวก. (แปล) ๒๓/๒๔/๔๘๑-๔๘๒ @ เทพบางพวก หมายถึงพวกเทพในสวรรค์ชั้นกามาวจร ๖ คือ (๑) ชั้นจาตุมหาราช (๒) ชั้นดาวดึงส์ @(๓) ชั้นยามา (๔) ชั้นดุสิต (๕) ชั้นนิมมานรดี (๖) ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี (ที.ม.อ. ๑๒๗/๑๐๙) @ วินิปาติกะบางพวก ในที่นี้หมายถึงยักษิณีและเวมานิกเปรตที่พ้นจากอบายภูมิ ๔ (ที.ม.อ. ๑๒๗/๑๐๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๗๒}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๒. มหานิทานสูตร]

วิญญาณฐิติ ๗ ประการ

๒. มีสัตว์ทั้งหลายผู้มีกายต่างกัน แต่มีสัญญาอย่างเดียวกัน คือ พวกเทพชั้นพรหมกายิกา๑- เกิดในปฐมฌานและเหล่าสัตว์ผู้เกิดใน อบาย ๔ นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๒ ๓. มีสัตว์ทั้งหลายผู้มีกายอย่างเดียวกัน แต่มีสัญญาต่างกัน คือ พวกเทพชั้นอาภัสสระ นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๓ ๔. มีสัตว์ทั้งหลายผู้มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน คือ พวกเทพชั้นสุภกิณหะ (เทพที่เต็มไปด้วยความงดงาม) นี้เป็น วิญญาณฐิติที่ ๔ ๕. มีสัตว์ทั้งหลายผู้บรรลุอากาสานัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘อากาศหาที่สุดมิได้’ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนด นานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๕ ๖. มีสัตว์ทั้งหลายผู้ล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุด มิได้’ นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๖ ๗. มีสัตว์ทั้งหลายผู้ล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ นี้เป็น วิญญาณฐิติที่ ๗ อายตนะ ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. อสัญญีสัตตายตนะ (อายตนะของสัตว์ผู้ไม่มีสัญญา) นี้เป็นอายตนะ ที่ ๑ ๒. เนวสัญญานาสัญญายตนะ (อายตนะของสัตว์ผู้มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มี สัญญาก็มิใช่) นี้เป็นอายตนะที่ ๒ @เชิงอรรถ : @ พวกเทพชั้นพรหมกายิกา หมายถึงพรหมชั้นปฐมฌาน ๓ ชั้น คือ (๑) พรหมปาริสัชชา (พวกบริษัทบริวาร @มหาพรหม) (๒) พรหมปุโรหิตา (พวกปุโรหิตมหาพรหม) (๓) มหาพรหมา (พวกท้าวมหาพรหม) @(ที.ม.อ. ๑๒๗/๑๐๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๗๓}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๒. มหานิทานสูตร]

วิญญาณฐิติ ๗ ประการ

[๑๒๘] อานนท์ ในวิญญาณฐิติ ๗ ประการนั้น วิญญาณฐิติที่ ๑ ว่า สัตว์ ทั้งหลายผู้มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน คือ มนุษย์บางพวก เทพบางพวกและ วินิปาติกะบางพวก ผู้ที่รู้วิญญาณฐิตินั้น รู้ความเกิด รู้ความดับ รู้คุณ รู้โทษของ วิญญาณฐิตินั้น และรู้อุบายสลัดออกจากวิญญาณฐิตินั้น เขาควรจะเพลิดเพลินใน วิญญาณฐิตินั้นอยู่อีกหรือ” ท่านพระอานนท์ทูลตอบว่า “ไม่ควร พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “อานนท์ วิญญาณฐิติที่ ๗ ว่า สัตว์ทั้งหลายผู้ล่วง วิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌานโดยประการ ทั้งปวงโดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร” ผู้ที่รู้วิญญาณฐิตินั้น รู้ความเกิด รู้ความดับ รู้คุณ รู้โทษของวิญญาณฐิตินั้น และรู้อุบายสลัดออกจากวิญญาณฐิตินั้น เขาควรจะเพลิดเพลิน ในวิญญาณฐิตินั้นอยู่อีกหรือ” ท่านพระอานนท์ทูลตอบว่า “ไม่ควร พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “อานนท์ ในอายตนะ ๒ ประการนั้น อายตนะที่ ๑ คือ อสัญญีสัตตายตนะ ผู้ที่รู้อสัญญีสัตตายตนะนั้น รู้ความเกิด รู้ความดับ รู้คุณ รู้โทษของอสัญญีสัตตายตนะนั้น และรู้อุบายสลัดออกจากอสัญญีสัตตายตนะนั้น เขาควรจะเพลิดเพลินในอสัญญีสัตตายตนะนั้นอยู่อีกหรือ” ท่านพระอานนท์ทูลตอบว่า “ไม่ควร พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “อานนท์ อายตนะที่ ๒ คือ เนวสัญญานาสัญญา- ยตนะ ผู้ที่รู้เนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น รู้ความเกิด รู้ความดับ รู้คุณ รู้โทษของ เนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น และรู้อุบายสลัดออกจากเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น เขาควรจะเพลิดเพลินในเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้นอยู่อีกหรือ” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๗๔}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๒. มหานิทานสูตร]

วิโมกข์ ๘ ประการ

ท่านพระอานนท์ทูลตอบว่า “ไม่ควร พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า “อานนท์ ภิกษุผู้รู้ถึงความเกิด ความดับ คุณ โทษ ของวิญญาณฐิติ ๗ และอายตนะ ๒ และอุบายสลัดออกจากวิญญาณฐิติ ๗ และ อายตนะ ๒ นี้ตามความเป็นจริง ย่อมหลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่น๑- ภิกษุนี้เราเรียกว่า ผู้เป็นปัญญาวิมุต๒-
วิโมกข์ ๘ ประการ
[๑๒๙] อานนท์ วิโมกข์๓- ๘ ประการนี้ วิโมกข์ ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. บุคคลผู้มีรูป เห็นรูปทั้งหลาย๔- นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ ๑ ๒. บุคคลผู้มีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอก๕- นี้เป็น วิโมกข์ประการที่ ๒ ๓. บุคคลผู้น้อมใจไปว่า ‘งาม‘๖- นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ ๓ ๔. บุคคลบรรลุอากาสานัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘อากาศ หาที่สุดมิได้’ อยู่ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนด นานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ ๔ @เชิงอรรถ : @ หลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่น หมายถึงไม่ถือมั่นในอุปาทาน ๔ คือ (๑) กามุปาทาน (ความถือมั่นในกาม) @(๒) ทิฏฐุปาทาน (ความถือมั่นในทิฏฐิ) (๓) สีลัพพตุปาทาน (ความถือมั่นในศีลพรต) (๔) อัตตวาทุปาทาน @(ความถือมั่นในวาทะว่ามีอัตตา) (ที.ม.อ. ๑๒๘/๑๑๒) @ ผู้เป็นปัญญาวิมุต หมายถึงหลุดพ้นด้วยกำลังปัญญา โดยไม่ได้บรรลุสมาธิชั้นสูงคือวิโมกข์ ๘ @(ที.ม.ฏีกา ๑๒๘/๑๔๔) @ ดูเทียบ ที.ปา. ๑๑/๓๓๙/๒๓๑, ๓๕๘/๒๗๑-๒๗๒, ม.ม. ๑๓/๒๔๘/๒๒๓, @องฺ.อฏฺฐก. (แปล) ๒๓/๖๖/๓๖๘-๓๖๙ @ มีรูป หมายถึงได้รูปฌานโดยเจริญกสิณที่กำหนดวัตถุในกายของตน เช่น สีผม เห็นรูปทั้งหลาย หมายถึง @เห็นรูปฌาน ๔ (ที.ม.อ. ๑๒๙/๑๑๒-๑๑๓) @ เห็นรูปทั้งหลายภายนอก หมายถึงเห็นรูปทั้งหลายมีนีลกสิณเป็นต้นด้วยญาณจักขุ @(ที.ม.อ. ๑๒๙/๑๑๒-๑๑๓) @ ผู้น้อมใจไปว่างาม หมายถึงผู้เจริญวัณณกสิณ กำหนดสีที่งาม (ที.ม.อ. ๑๒๙/๑๑๒-๑๑๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๗๕}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๒. มหานิทานสูตร]

วิโมกข์ ๘ ประการ

๕. บุคคลล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ วิญญาณัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ อยู่ นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ ๕ ๖. บุคคลล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ อากิญจัญญายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่ นี้เป็นวิโมกข์ ประการที่ ๖ ๗. บุคคลล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ เนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ ๗ ๘. บุคคลล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ สัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ ๘ อานนท์ วิโมกข์ ๘ ประการนี้แล [๑๓๐] อานนท์ ภิกษุผู้เข้าวิโมกข์ ๘ ประการนี้ โดยอนุโลมบ้าง โดยปฏิโลมบ้าง ทั้งโดยอนุโลมและปฏิโลมบ้าง เข้าหรือออกได้ตามโอกาสที่ต้องการ ตามชนิด สมาบัติที่ต้องการ และตามระยะเวลาที่ต้องการ ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ภิกษุนี้ เราเรียกว่า ผู้เป็นอุภโตภาควิมุต๑- อานนท์ อุภโตภาควิมุตติอย่างอื่นที่ดีกว่าหรือประณีต กว่าอุภโตภาควิมุตตินี้ ไม่มี” เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ ท่านพระอานนท์มีใจยินดีชื่นชมพระภาษิต ของพระผู้มีพระภาคแล้วแล
มหานิทานสูตรที่ ๒ จบ
@เชิงอรรถ : @ ผู้เป็นอุภโตภาควิมุต คือ ผู้หลุดพ้นทั้ง ๒ ส่วน หมายถึงพระอรหันต์ผู้บำเพ็ญสมถะมามากจนได้สมาบัติ ๘ @แล้วจึงใช้สมถะนั้นเป็นฐานบำเพ็ญวิปัสสนาต่อไป ชื่อว่าหลุดพ้น ๒ ส่วน คือ (๑) หลุดพ้นจากรูปกายด้วย @อรูปสมาบัติ (วิกขัมภนะ) (๒) หลุดพ้นจากนามกายด้วยอริยมรรค (สมุจเฉทะ) (ที.ม.อ. ๑๓๐/๑๑๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๗๖}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๐ หน้าที่ ๕๗-๗๖. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=10&siri=2              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5], [6], [7].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=10&A=1455&Z=1887                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=57              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=10&item=57&items=10              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=5&A=2001              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=10&item=57&items=10              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=5&A=2001                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๐ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu10              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/10i057-e2.php# https://accesstoinsight.org/tipitaka/dn/dn.15.0.than.html https://suttacentral.net/dn15/en/sujato https://suttacentral.net/dn15/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :