ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค]

๘. มหาหัตถิปโทปมสูตร

๘. มหาหัตถิปโทปมสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยรอยเท้าช้าง สูตรใหญ่
เปรียบเทียบอริยสัจกับรอยเท้าช้าง
[๓๐๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ- บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรได้เรียกภิกษุทั้ง หลายมากล่าวว่า “ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้ว ท่านพระสารี- บุตรได้กล่าวเรื่องนี้ว่า “ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย รอยเท้าของสัตว์ทั้งหลายผู้เที่ยวไปบนแผ่นดิน รอยเท้า เหล่านั้นทั้งหมดรวมลงในรอยเท้าช้าง รอยเท้าช้างชาวโลกกล่าวว่า ‘เป็นยอดของ รอยเท้าเหล่านั้น เพราะรอยเท้าช้างเป็นรอยเท้าขนาดใหญ่’ แม้ฉันใด กุศลธรรม ทั้งหมดก็ฉันนั้นเหมือนกัน นับเข้าในอริยสัจ ๔ อริยสัจ ๔ อะไรบ้าง คือ ๑. ทุกขอริยสัจ ๒. ทุกขสมุทยอริยสัจ ๓. ทุกขนิโรธอริยสัจ ๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ [๓๐๑] ทุกขอริยสัจ เป็นอย่างไร คือ ชาติเป็นทุกข์ ชราเป็นทุกข์ มรณะเป็นทุกข์ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสเป็นทุกข์ การไม่ได้สิ่งที่ต้องการเป็นทุกข์ โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ ประการ เป็นทุกข์ อุปาทานขันธ์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. รูปูปาทานขันธ์ ๒. เวทนูปาทานขันธ์ ๓. สัญญูปาทานขันธ์ ๔. สังขารูปาทานขันธ์ ๕. วิญญาณูปาทานขันธ์ รูปูปาทานขันธ์ อะไรบ้าง คือ มหาภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๓๒๙}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค]

๘. มหาหัตถิปโทปมสูตร

มหาภูตรูป ๔ อะไรบ้าง คือ ๑. ปฐวีธาตุ ๒. อาโปธาตุ ๓. เตโชธาตุ ๔. วาโยธาตุ
ปฐวีธาตุ
[๓๐๒] ปฐวีธาตุ เป็นอย่างไร คือ ปฐวีธาตุภายในก็มี ปฐวีธาตุภายนอกก็มี ปฐวีธาตุภายใน เป็นอย่างไร คือ อุปาทินนกรูป๑- ภายในที่เป็นของเฉพาะตน เป็นของแข้นแข็ง เป็นของหยาบ ได้แก่ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า หรืออุปาทินนกรูป ภายในอื่นใด ที่เป็นของเฉพาะตน เป็นของแข้นแข็ง เป็นของหยาบ นี้เรียกว่า ‘ปฐวีธาตุภายใน’ ปฐวีธาตุภายใน และปฐวีธาตุภายนอกนี้ ก็เป็นปฐวีธาตุนั่นเอง บัณฑิตควร เห็นปฐวีธาตุนั้นตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ บัณฑิตครั้นเห็นปฐวีธาตุนั้นตามความเป็น จริงด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายในปฐวีธาตุ และทำจิตให้คลาย กำหนัดจากปฐวีธาตุ เวลาที่ปฐวีธาตุภายนอกกำเริบย่อมจะมีได้ ในเวลานั้น ปฐวีธาตุภายนอก จะอันตรธานไป ปฐวีธาตุภายนอกซึ่งใหญ่ถึงเพียงนั้นยังปรากฏเป็นของไม่เที่ยง มีความ สิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความแปรผันไปเป็นธรรมดา @เชิงอรรถ : @ อุปาทินนกรูป หมายถึงรูปมีกรรมเป็น สมุฏฐาน คำนี้เป็นชื่อของรูปที่ดำรงอยู่ภายในสรีระ ที่ยึดถือ @จับต้อง ลูบคลำได้ เช่น ผม ขน ฯลฯ อาหารใหม่ อาหารเก่า คำนี้กำหนดจำแนกหมายเอาปฐวีธาตุภายใน @แต่สำหรับอาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ก็มีนัยเช่นเดียวกัน พึงทราบความพิสดารในคัมภีร์วิสุทธิมรรค @(ม.มู.อ. ๒/๓๐๒/๑๓๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๓๓๐}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค]

๘. มหาหัตถิปโทปมสูตร

ไฉนกายซึ่งตั้งอยู่ชั่วเวลาเล็กน้อยนี้ที่ถูกตัณหาเข้าไปยึดถือว่า ‘เรา’ ว่า ‘ของเรา’ ว่า ‘เรามีอยู่’ จักไม่ปรากฏเป็นของไม่เที่ยง มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไป เป็นธรรมดา และมีความแปรผันไปเป็นธรรมดาเล่า เมื่อเป็นเช่นนี้ ภิกษุนั้นก็ไม่มี ความยึดถือในปฐวีธาตุภายในนี้ หากชนเหล่าอื่นจะด่า บริภาษ เกรี้ยวกราด เบียดเบียนภิกษุนั้น ภิกษุนั้น รู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘ทุกขเวทนาอันเกิดจากโสตสัมผัสนี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา แต่ทุกขเวทนา นั้นอาศัยเหตุจึงเกิดขึ้นได้ ไม่อาศัยเหตุก็จะเกิดขึ้นไม่ได้ ทุกขเวทนานี้อาศัยอะไร จึงเกิดขึ้นได้ ทุกขเวทนาอาศัยผัสสะจึงเกิดขึ้นได้’ ภิกษุนั้นย่อมเห็นว่า ‘ผัสสะ ไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง’ จิตของภิกษุนั้นย่อมดิ่งไป ย่อมผ่องใส ดำรงมั่นและน้อมไปในอารมณ์คือธาตุนั่นแล หากชนเหล่าอื่นจะพยายามทำร้ายภิกษุนั้นด้วยอาการที่ไม่น่าปรารถนา ไม่ น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ คือ ด้วยการทำร้ายด้วยฝ่ามือบ้าง การทำร้ายด้วยก้อนดินบ้าง การทำร้ายด้วยท่อนไม้บ้าง การทำร้ายด้วยศัสตราบ้าง ภิกษุนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘กาย นี้เป็นที่รองรับการทำร้ายด้วยฝ่ามือบ้าง การทำร้ายด้วยก้อนดินบ้าง การทำร้าย ด้วยท่อนไม้บ้าง การทำร้ายด้วยศัสตราบ้าง’ อนึ่ง พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ใน พระโอวาทที่อุปมาด้วยเลื่อย๑- ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย หากพวกโจรผู้ประพฤติต่ำทราม จะพึงใช้เลื่อยที่มีที่จับ ๒ ข้าง เลื่อยอวัยวะน้อยใหญ่ ผู้มีใจคิดร้ายแม้ในพวกโจรนั้น ก็ไม่ชื่อว่าทำตามคำสั่งสอนของเรา เพราะเหตุที่อดกลั้นไม่ได้นั้น’ อนึ่ง ความเพียร ที่เราเริ่มทำแล้วจักไม่ย่อหย่อน สติที่เราตั้งไว้แล้วจักไม่หลงลืม กายที่เราทำให้สงบ แล้วจักไม่กระวนกระวาย จิตที่เราทำให้ตั้งมั่นแล้วจักมีอารมณ์แน่วแน่ คราวนี้ต่อให้ มีการทำร้ายด้วยฝ่ามือ การทำร้ายด้วยก้อนดิน การทำร้ายด้วยท่อนไม้ หรือการ ทำร้ายด้วยศัสตราที่กายนี้ก็ตาม เราก็จะทำตามคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลายนี้ ให้จงได้ @เชิงอรรถ : @ ดูข้อ ๒๓๒ (กกจูปมสูตร) หน้า ๒๔๔ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๓๓๑}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค]

๘. มหาหัตถิปโทปมสูตร

เมื่อภิกษุนั้นระลึกถึงพระพุทธเจ้า ระลึกถึงพระธรรม และระลึกถึงพระสงฆ์อยู่ อย่างนี้ ถ้าอุเบกขาอันอาศัยกุศลธรรมยังดำรงอยู่ไม่ได้ ภิกษุนั้นย่อมสลดหดหู่ใจ เพราะเหตุนั้นว่า ‘ไม่เป็นลาภของเราหนอ ลาภไม่มีแก่เราหนอ เราได้ไม่ดีแล้วหนอ การได้ด้วยดีไม่มีแก่เราหนอ ที่เราระลึกถึงพระพุทธเจ้า ระลึกถึงพระธรรม และระลึก ถึงพระสงฆ์อยู่อย่างนี้ อุเบกขาอันอาศัยกุศลธรรมยังดำรงอยู่ไม่ได้’ หญิงสะใภ้เห็น พ่อผัวแล้วย่อมสลดหดหู่ใจ แม้ฉันใด ภิกษุนั้นก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อระลึกถึง พระพุทธเจ้า ระลึกถึงพระธรรม และระลึกถึงพระสงฆ์อยู่อย่างนี้ ถ้าอุเบกขาอัน อาศัยกุศลธรรมยังดำรงอยู่ไม่ได้ ย่อมสลดหดหู่ใจเพราะเหตุนั้นว่า ‘ไม่เป็นลาภ ของเราหนอ ลาภไม่มีแก่เราหนอ เราได้ไม่ดีแล้วหนอ การได้ด้วยดีไม่มีแก่เราหนอ ที่เราระลึกถึงพระพุทธเจ้า ระลึกถึงพระธรรม และระลึกถึงพระสงฆ์อยู่อย่างนี้ อุเบกขาอันอาศัยกุศลธรรมยังดำรงอยู่ไม่ได้’ ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อภิกษุนั้นระลึกถึงพระพุทธเจ้า ระลึกถึงพระธรรม และระลึกถึงพระสงฆ์อยู่อย่างนี้ ถ้าอุเบกขาอันอาศัยกุศลธรรมดำรงอยู่ได้ด้วยดี ภิกษุนั้นย่อมพอใจเพราะเหตุนั้น ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ภิกษุได้ชื่อว่าทำตามคำสั่งสอน ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นอย่างมากแล้ว
อาโปธาตุ
[๓๐๓] อาโปธาตุ เป็นอย่างไร คือ อาโปธาตุภายในก็มี อาโปธาตุภายนอกก็มี อาโปธาตุภายใน เป็นอย่างไร คือ อุปาทินนกรูปภายในที่เป็นของเฉพาะตน เป็นของเอิบอาบ มีความ เอิบอาบ ได้แก่ ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร หรืออุปาทินนกรูปภายในอื่นใด ที่เป็นของเฉพาะตน เป็นของเอิบอาบ มีความเอิบอาบ นี้เรียกว่า อาโปธาตุภายใน อาโปธาตุภายในและอาโปธาตุภายนอกนี้ ก็เป็นอาโปธาตุนั่นเอง บัณฑิตพึงเห็น อาโปธาตุนั้นตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๓๓๒}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค]

๘. มหาหัตถิปโทปมสูตร

เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ ครั้นเห็นอาโปธาตุนั้นตามความเป็นจริงด้วย ปัญญาอันชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายในอาโปธาตุ และทำจิตให้คลายกำหนัด จากอาโปธาตุ เวลาที่อาโปธาตุภายนอกกำเริบย่อมจะมีได้ อาโปธาตุภายนอกนั้นย่อมพัดพา บ้านไปบ้าง นิคมไปบ้าง เมืองไปบ้าง ชนบทไปบ้าง บางส่วนของชนบทไปบ้าง เวลาที่น้ำในมหาสมุทรลึกลงไป ๑๐๐ โยชน์บ้าง ๒๐๐ โยชน์บ้าง ๓๐๐ โยชน์บ้าง ๔๐๐ โยชน์บ้าง ๕๐๐ โยชน์บ้าง ๖๐๐ โยชน์บ้าง ๗๐๐ โยชน์บ้าง ย่อมจะมีได้ เวลาที่น้ำในมหาสมุทรขังอยู่ ๗ ชั่วลำตาลบ้าง ๖ ชั่วลำตาลบ้าง ๕ ชั่ว ลำตาลบ้าง ๔ ชั่วลำตาลบ้าง ๓ ชั่วลำตาลบ้าง ๒ ชั่วลำตาลบ้าง ๑ ชั่วลำตาลบ้าง ย่อมจะมีได้ เวลาที่น้ำในมหาสมุทรขังอยู่ ๗ ชั่วบุรุษบ้าง ๖ ชั่วบุรุษบ้าง ๕ ชั่วบุรุษบ้าง ๔ ชั่วบุรุษบ้าง ๓ ชั่วบุรุษบ้าง ๒ ชั่วบุรุษบ้าง ๑ ชั่วบุรุษบ้าง ย่อมจะมีได้ เวลาที่น้ำในมหาสมุทรขังอยู่กึ่งชั่วบุรุษบ้าง ประมาณเพียงสะเอวบ้าง ประมาณ เพียงเข่าบ้าง ประมาณเพียงข้อเท้าบ้าง ย่อมจะมีได้ เวลาที่น้ำในมหาสมุทรไม่มีพอเปียกข้อนิ้วมือ ก็ย่อมจะมีได้ อาโปธาตุภายนอกซึ่งมีมากถึงเพียงนั้น ยังปรากฏเป็นของไม่เที่ยง มีความ สิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความแปรผันไปเป็นธรรมดา ไฉนกายซึ่งตั้งอยู่ชั่วเวลาเล็กน้อยที่ถูกตัณหาเข้าไปยึดถือว่า ‘เรา’ ว่า ‘ของเรา’ ว่า ‘เรามีอยู่’ จักไม่ปรากฏเป็นของไม่เที่ยง มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไป เป็นธรรมดา และมีความแปรผันไปเป็นธรรมดาเล่า เมื่อเป็นเช่นนี้ ภิกษุนั้นก็ไม่ มีความยึดถือในอาโปธาตุภายนอกนี้ ฯลฯ เมื่อภิกษุนั้นระลึกถึงพระพุทธเจ้า ระลึก ถึงพระธรรม และระลึกถึงพระสงฆ์อยู่อย่างนี้ อุเบกขาอันอาศัยกุศลธรรมดำรงอยู่ ได้ด้วยดี ภิกษุนั้นย่อมพอใจเพราะเหตุนั้น ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ภิกษุได้ชื่อว่าทำ ตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเป็นอย่างมากแล้ว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๓๓๓}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค]

๘. มหาหัตถิปโทปมสูตร

เตโชธาตุ
[๓๐๔] เตโชธาตุ เป็นอย่างไร คือ เตโชธาตุภายในก็มี เตโชธาตุภายนอกก็มี เตโชธาตุที่เป็นภายใน เป็นอย่างไร คือ อุปาทินนกรูปภายใน ที่เป็นของเฉพาะตน เป็นของเร่าร้อน มีความ เร่าร้อน ได้แก่ธรรมชาติที่เป็นเครื่องทำร่างกายให้อบอุ่น ธรรมชาติที่เป็นเครื่องทำ ร่างกายให้ทรุดโทรม ธรรมชาติที่เป็นเครื่องทำร่างกายให้เร่าร้อน ธรรมชาติที่เป็น เครื่องย่อยสิ่งที่กินแล้ว ดื่มแล้ว เคี้ยวแล้ว และลิ้มรสแล้ว หรืออุปาทินนกรูป ภายในอื่นใด ที่เป็นของเฉพาะตน เป็นของเร่าร้อน มีความเร่าร้อน นี้เรียกว่า เตโชธาตุภายใน เตโชธาตุภายใน และเตโชธาตุภายนอกนี้ ก็เป็นเตโชธาตุนั่นเอง บัณฑิตพึง เห็นเตโชธาตุนั้นตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ บัณฑิตครั้นเห็นเตโชธาตุนั้นตามความเป็น จริงด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายในเตโชธาตุ และทำจิตให้คลาย กำหนัดจากเตโชธาตุ เวลาที่เตโชธาตุภายนอกกำเริบย่อมจะมีได้ เตโชธาตุภายนอกนั้นย่อมไหม้ บ้านบ้าง นิคมบ้าง นครบ้าง ชนบทบ้าง บางส่วนของชนบทบ้าง เตโชธาตุ ภายนอกนั้น(ลาม)มาถึงหญ้าสด หนทาง ภูเขา น้ำ หรือภูมิภาคที่น่ารื่นรมย์แล้ว เมื่อไม่มีเชื้อ ย่อมดับไปเอง เวลาที่ชนทั้งหลายแสวงหาไฟด้วยขนไก่บ้าง ด้วยการ ขูดหนังบ้าง ย่อมจะมีได้ เตโชธาตุภายนอกซึ่งใหญ่ถึงเพียงนั้นยังปรากฏเป็นของไม่เที่ยง มีความสิ้นไป เป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความแปรผันไปเป็นธรรมดา ไฉนกายซึ่งตั้งอยู่ชั่วเวลาเล็กน้อยที่ถูกตัณหาเข้าไปยึดถือว่า ‘เรา’ ว่า ‘ของเรา’ ว่า ‘เรามีอยู่’ จักไม่ปรากฏ เป็นของไม่เที่ยง มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไป {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๓๓๔}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค]

๘. มหาหัตถิปโทปมสูตร

เป็นธรรมดา มีความแปรผันไปเป็นธรรมดาเล่า เมื่อเป็นเช่นนี้ ภิกษุนั้นก็ไม่มีความ ยึดถือในเตโชธาตุภายนอกนี้ ฯลฯ เมื่อภิกษุนั้นระลึกถึงพระพุทธเจ้า ระลึกถึงพระ ธรรม และระลึกถึงพระสงฆ์อยู่อย่างนี้ ถ้าอุเบกขาอันอาศัยกุศลธรรมดำรงอยู่ได้ ด้วยดี ภิกษุนั้นย่อมพอใจเพราะเหตุนั้น ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ภิกษุได้ชื่อว่าทำตาม คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเป็นอย่างมากแล้ว
วาโยธาตุ
[๓๐๕] วาโยธาตุ เป็นอย่างไร คือ วาโยธาตุภายในก็มี วาโยธาตุภายนอกก็มี วาโยธาตุภายใน เป็นอย่างไร คือ อุปาทินนกรูปภายใน ที่เป็นของเฉพาะตน เป็นของพัดไปมา มีความ พัดไปมา ได้แก่ ลมที่พัดขึ้นเบื้องบน ลมที่พัดลงเบื้องต่ำ ลมในท้อง ลมในลำไส้ ลมที่แล่นไปตามอวัยวะน้อยใหญ่ ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก หรืออุปาทินนกรูป ภายในอื่นใด ที่เป็นของเฉพาะตน เป็นของพัดไปมา มีความพัดไปมา นี้เรียกว่า วาโยธาตุภายใน วาโยธาตุภายในและวาโยธาตุภายนอกนี้ ก็เป็นวาโยธาตุนั่นเอง บัณฑิตพึง เห็นวาโยธาตุนั้นตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ บัณฑิตครั้นเห็นวาโยธาตุนั้นตามความเป็นจริง ด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายในวาโยธาตุ และทำจิตให้คลายกำหนัด จากวาโยธาตุ เวลาที่วาโยธาตุภายนอกกำเริบย่อมจะมีได้ วาโยธาตุภายนอกนั้นย่อมพัดพา บ้านไปบ้าง นิคมไปบ้าง นครไปบ้าง ชนบทไปบ้าง บางส่วนของชนบทไปบ้าง เวลาที่ชนทั้งหลายแสวงหาลมด้วยพัดใบตาลบ้าง ด้วยพัดสำหรับพัดไฟบ้าง ในเดือนสุดท้ายแห่งฤดูร้อน แม้ในที่ชายคา หญ้าทั้งหลายก็ไม่ไหว ย่อมจะมีได้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๓๓๕}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค]

๘. มหาหัตถิปโทปมสูตร

วาโยธาตุภายนอกซึ่งใหญ่ถึงเพียงนั้นยังปรากฏเป็นของไม่เที่ยง มีความสิ้นไป เป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความแปรผันไปเป็นธรรมดา ไฉนกาย ซึ่งตั้งอยู่ชั่วเวลาเล็กน้อยนี้ที่ถูกตัณหาเข้าไปยึดถือว่า ‘เรา’ ว่า ‘ของเรา’ ว่า ‘เรา มีอยู่’ จักไม่ปรากฏเป็นของไม่เที่ยง มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไป เป็นธรรมดา มีความแปรผันไปเป็นธรรมดาเล่า เมื่อเป็นเช่นนี้ ภิกษุนั้นก็ไม่มีความ ยึดถือในวาโยธาตุภายนอกนี้ หากชนเหล่าอื่นจะด่า บริภาษ เกี้ยวกราด เบียดเบียนภิกษุนั้น ภิกษุนั้น รู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘ทุกขเวทนาอันเกิดจากโสตสัมผัสนี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา แต่ทุกขเวทนา นั้นอาศัยเหตุจึงเกิดขึ้นได้ ไม่อาศัยเหตุก็จะเกิดขึ้นไม่ได้ ทุกขเวทนานี้อาศัยอะไรจึง เกิดขึ้นได้ ทุกขเวทนานี้อาศัยผัสสะจึงเกิดขึ้นได้’ ภิกษุนั้นย่อมเห็นว่า ‘ผัสสะเป็น ของไม่เที่ยง เวทนาเป็นของไม่เที่ยง สัญญาเป็นของไม่เที่ยง สังขารทั้งหลายเป็น ของไม่เที่ยง วิญญาณเป็นของไม่เที่ยง’ จิตของภิกษุนั้นย่อมดิ่งไป ย่อมผ่องใส ดำรงมั่นและน้อมไปในอารมณ์คือธาตุนั่นแล
ผู้ทำตามพระโอวาท
หากชนเหล่าอื่นจะพยายามทำร้ายภิกษุนั้นด้วยอาการที่ไม่น่าปรารถนา ไม่ น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ คือ การทำร้ายด้วยฝ่ามือบ้าง การทำร้ายด้วยก้อนดินบ้าง การทำร้ายด้วยท่อนไม้บ้าง การทำร้ายด้วยศัสตราบ้าง ภิกษุนั้นย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘กายนี้มีสภาพเป็นที่รองรับการทำร้ายด้วยฝ่ามือบ้าง การทำร้ายด้วยก้อนดินบ้าง การทำร้ายด้วยท่อนไม้บ้าง การทำร้ายด้วยศัสตราบ้าง’ อนึ่ง พระผู้มีพระภาคได้ ตรัสไว้ในพระโอวาทที่อุปมาด้วยเลื่อย๑- ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย หากพวกโจรผู้ประพฤติ ต่ำทราม จะพึงใช้เลื่อยที่มีที่จับ ๒ ข้างเลื่อยอวัยวะน้อยใหญ่ ผู้มีใจคิดร้ายแม้ใน @เชิงอรรถ : @ ดูข้อ ๒๓๒ (กกจูปมสูตร) หน้า ๒๔๔ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๓๓๖}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค]

๘. มหาหัตถิปโทปมสูตร

พวกโจรนั้น ก็ไม่ชื่อว่าทำตามคำสั่งสอนของเรา เพราะเหตุที่อดกลั้นไม่ได้นั้น’ อนึ่ง ความเพียรที่เราปรารภแล้วจักไม่ย่อหย่อน สติที่เราตั้งไว้แล้วจักไม่หลงลืม กายที่ เราทำให้สงบแล้วจักไม่กระวนกระวาย จิตที่เราทำให้ตั้งมั่นแล้วจักมีอารมณ์แน่วแน่ คราวนี้ ต่อให้มีการทำร้ายด้วยฝ่ามือ การทำร้ายด้วยก้อนดิน การทำร้ายด้วย ท่อนไม้ หรือการทำร้ายด้วยศัสตราที่กายนี้ก็ตาม เราก็จะทำตามคำสั่งสอนของ พระพุทธเจ้าทั้งหลายนี้ให้จงได้ เมื่อภิกษุนั้นระลึกถึงพระพุทธเจ้า ระลึกถึงพระธรรม และระลึกถึงพระสงฆ์ อยู่อย่างนี้ ถ้าอุเบกขาอันอาศัยกุศลธรรมยังดำรงอยู่ไม่ได้ ภิกษุนั้นย่อมสลดหดหู่ใจ เพราะเหตุนั้นว่า ‘ไม่เป็นลาภของเราหนอ ลาภไม่มีแก่เราหนอ เราได้ไม่ดีแล้วหนอ การได้ด้วยดีไม่มีแก่เราหนอ ที่เราระลึกถึงพระพุทธเจ้า ระลึกถึงพระธรรม และ ระลึกถึงพระสงฆ์อยู่อย่างนี้ อุเบกขาอันอาศัยกุศลธรรมยังดำรงอยู่ไม่ได้’ หญิงสะใภ้ เห็นพ่อผัวแล้วย่อมสลดหดหู่ใจ แม้ฉันใด ภิกษุนั้นก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อระลึก ถึงพระพุทธเจ้า ระลึกถึงพระธรรม และระลึกถึงพระสงฆ์อยู่อย่างนี้ ถ้าอุเบกขา อันอาศัยกุศลธรรมยังดำรงอยู่ไม่ได้ ย่อมสลดหดหู่ใจเพราะเหตุนั้นว่า ‘ไม่เป็นลาภ ของเราหนอ ลาภไม่มีแก่เราหนอ เราได้ไม่ดีแล้วหนอ การได้ด้วยดีไม่มีแก่เราหนอ ที่เราระลึกถึงพระพุทธเจ้า ระลึกถึงพระธรรม และระลึกถึงพระสงฆ์อยู่อย่างนี้ อุเบกขาอันอาศัยกุศลธรรมยังดำรงอยู่ไม่ได้’ ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อภิกษุนั้นระลึกถึงพระพุทธเจ้า ระลึกถึงพระธรรม และระลึกถึงพระสงฆ์อยู่อย่างนี้ อุเบกขาอันอาศัยกุศลธรรมยังดำรงอยู่ได้ด้วยดี ภิกษุนั้นย่อมพอใจเพราะเหตุนั้น ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ภิกษุได้ชื่อว่าทำตามคำสั่ง สอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นอย่างมากแล้ว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๓๓๗}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค]

๘. มหาหัตถิปโทปมสูตร

ปฏิจจสมุปปันนธรรม
[๓๐๖] ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อากาศอาศัยไม้ เถาวัลย์ หญ้า และดินเหนียว มาประกอบเข้ากันจึงนับว่า ‘เรือน’ แม้ฉันใด อากาศอาศัยกระดูก เอ็น เนื้อ และหนังมาประกอบเข้าด้วยกันจึงนับว่า ‘รูป’ ฉันนั้น หากจักษุที่เป็นอายตนะภายในไม่แตกทำลาย รูปที่เป็นอายตนะภายนอกไม่มา สู่คลองจักษุ ทั้งความใส่ใจอันเกิดจากจักษุและรูปนั้นก็ไม่มี วิญญาณส่วนที่เกิด จากจักษุและรูปนั้นก็ไม่ปรากฏ หากจักษุที่เป็นอายตนะภายในไม่แตกทำลาย รูปที่เป็นอายตนะภายนอกมาสู่ คลองจักษุ แต่ความใส่ใจอันเกิดจากจักษุและรูปนั้นไม่มี วิญญาณส่วนที่เกิดจาก จักษุและรูปนั้นก็ไม่ปรากฏ แต่เมื่อใด จักษุที่เป็นอายตนะภายในไม่แตกทำลาย รูปที่เป็นอายตนะภายนอก มาสู่คลองจักษุ ทั้งความใส่ใจอันเกิดจากจักษุและรูปก็มี เมื่อนั้น วิญญาณส่วนที่ เกิดจากจักษุและรูปนั้น ย่อมปรากฏด้วยอาการอย่างนี้ รูปแห่งสภาพอย่างนั้นจัดเข้าในรูปูปาทานขันธ์(อุปาทานขันธ์คือรูป) เวทนา แห่งสภาพอย่างนั้นจัดเข้าในเวทนูปาทานขันธ์(อุปาทานขันธ์คือเวทนา) สัญญาแห่ง สภาพอย่างนั้นจัดเข้าในสัญญูปาทานขันธ์(อุปาทานขันธ์คือสัญญา) สังขารแห่ง สภาพอย่างนั้นจัดเข้าในสังขารูปาทานขันธ์(อุปาทานขันธ์คือสังขาร) วิญญาณแห่ง สภาพอย่างนั้นจัดเข้าในวิญญาณูปาทานขันธ์(อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ) ภิกษุนั้น ย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘การรวบรวม การประชุม และหมวดหมู่แห่งอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้มีได้ด้วยประการอย่างนี้’ อนึ่ง พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ไว้ว่า ‘ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นปฏิจจสมุปบาท’ อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ ชื่อว่าปฏิจจสมุปปันนธรรม ความพอใจ ความอาลัย ความยินดี ความหมกมุ่นฝังใจในอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ ชื่อว่าทุกขสมุทัย การกำจัด ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ การละความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจใน อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ ชื่อว่าทุกขนิโรธ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ภิกษุได้ชื่อว่า ทำตามคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นอย่างมากแล้ว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๓๓๘}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค]

๘. มหาหัตถิปโทปมสูตร

หากโสตะที่เป็นอายตนะภายในไม่แตกทำลาย ... หากฆานะที่เป็นอายตนะภายในไม่แตกทำลาย ... หากชิวหาที่เป็นอายตนะภายในไม่แตกทำลาย ... หากกายที่เป็นอายตนะภายในไม่แตกทำลาย ... หากมโนที่เป็นอายตนะภายในไม่แตกทำลาย ธรรมารมณ์ที่เป็นอายตนะ ภายนอกไม่มาสู่คลองมโน ทั้งความใส่ใจอันเกิดจากมโนและธรรมารมณ์นั้นก็ไม่มี วิญญาณส่วนที่เกิดจากมโนและธรรมารมณ์นั้นก็ไม่ปรากฏ หากมโนที่เป็นอายตนะภายในไม่แตกทำลาย ธรรมารมณ์ที่เป็นอายตนะภาย นอกมาสู่คลองมโน แต่ความใส่ใจอันเกิดจากมโนและธรรมารมณ์นั้นไม่มี วิญญาณ ส่วนที่เกิดจากมโนและธรรมารมณ์นั้นก็ไม่ปรากฏ แต่เมื่อใด มโนที่เป็นอายตนะภายในไม่แตกทำลายธรรมารมณ์ที่เป็นอายตนะ ภายนอกมาสู่คลองมโน ทั้งความใส่ใจอันเกิดจากมโนและธรรมารมณ์นั้นก็มี เมื่อนั้น วิญญาณส่วนที่เกิดจากมโนและธรรมารมณ์นั้น ย่อมปรากฏด้วยอาการอย่างนี้ รูปแห่งสภาพอย่างนั้นจัดเข้าในรูปูปาทานขันธ์ เวทนาแห่งสภาพอย่างนั้นจัด เข้าในเวทนูปาทานขันธ์ สัญญาแห่งสภาพอย่างนั้นจัดเข้าในสัญญูปาทานขันธ์ สังขารทั้งหลายแห่งสภาพอย่างนั้นจัดเข้าในสังขารูปาทานขันธ์ วิญญาณแห่งสภาพ อย่างนั้นจัดเข้าในวิญญาณูปาทานขันธ์ ภิกษุนั้นย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘การรวบรวม การประชุม และหมวดหมู่แห่งอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้มีได้ด้วยประการอย่างนี้’ อนึ่ง พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ไว้ว่า ‘ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นปฏิจจสมุปบาท’ อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ ชื่อว่าปฏิจจสมุปปันนธรรม ความพอใจ ความอาลัย ความยินดี หมกมุ่นฝังใจในอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ ชื่อว่าทุกขสมุทัย การกำจัดความ กำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ การละความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในอุปาทาน- ขันธ์ ๕ ประการนี้ ชื่อว่าทุกขนิโรธ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ภิกษุได้ชื่อว่าทำตาม คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นอย่างมากแล้ว” ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมภาษิต ของท่านพระสารีบุตร ดังนี้แล
มหาหัตถิปโทปมสูตรที่ ๘ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๓๓๙}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๒ หน้าที่ ๓๒๙-๓๓๙. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=12&siri=28              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=6042&Z=6308                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=340              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=12&item=340&items=7              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=8&A=3212              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=12&item=340&items=7              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=8&A=3212                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu12              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/12i340-e1.php# https://accesstoinsight.org/tipitaka/mn/mn.028.than.html https://suttacentral.net/mn28/en/sujato https://suttacentral.net/mn28/en/horner https://suttacentral.net/mn28/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :