ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]

๕. มาคัณฑิยสูตร

๕. มาคัณฑิยสูตร
ว่าด้วยปริพาชกชื่อมาคัณฑิยะ
[๒๐๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับบนเครื่องปูลาดซึ่งทำด้วยหญ้า ในโรงบูชาไฟ ของพราหมณ์ภารทวาชโคตร นิคมของชาวกุรุชื่อกัมมาสธัมมะ แคว้นกุรุ ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังนิคมชื่อ กัมมาสธัมมะ ทรงเที่ยวบิณฑบาตในกัมมาสธัมมนิคมแล้ว เสด็จกลับจากบิณฑบาต ภายหลังเสวยพระกระยาหารเสร็จแล้ว เสด็จเข้าไปยังราวป่าแห่งหนึ่งเพื่อประทับพักผ่อน กลางวัน ได้ประทับนั่งพักผ่อนกลางวัน ณ โคนไม้แห่งหนึ่ง ลำดับนั้น ปริพาชกชื่อ มาคัณฑิยะเดินเที่ยวเล่นอยู่ เข้าไปยังโรงบูชาไฟของพราหมณ์ภารทวาชโคตร ได้เห็น เครื่องปูลาดทำด้วยหญ้าในโรงบูชาไฟของพราหมณ์ภารทวาชโคตร จึงถามว่า “สหาย เครื่องปูลาดที่ทำด้วยหญ้าซึ่งปูลาดไว้ในโรงบูชาไฟของท่านภารทวาชะนี้ เป็นของใคร ดูเหมือนจะเป็นที่นอนของสมณะกระมัง” ภารทวาชโคตรพราหมณ์ตอบว่า “ใช่ ท่านมาคัณฑิยะ พระสมณโคดมผู้ เป็นศากยบุตรออกผนวชจากศากยะตระกูล ท่านพระโคดมนั้นมีกิตติศัพท์อันงาม ขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’ ที่นอนนี้ปูลาดไว้สำหรับท่านพระโคดมนั้น” “ท่านภารทวาชะ พวกเราผู้ที่ได้เห็นที่นอนของท่านพระโคดมผู้ทำลายความ เจริญนั้น นับว่าได้เห็นสิ่งที่ไม่เป็นมงคล” “ท่านมาคัณฑิยะ ท่านจงรักษาวาจานี้ไว้ ท่านมาคัณฑิยะ ท่านจงรักษา วาจานี้ไว้ ความจริง กษัตริย์ผู้เป็นบัณฑิตก็ดี พราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิตก็ดี คหบดีผู้ เป็นบัณฑิตก็ดี สมณะผู้เป็นบัณฑิตก็ดี มีจำนวนมาก พากันเลื่อมใสท่านพระสมณ- โคดมพระองค์นั้นเป็นอย่างยิ่ง เพราะท่านพระสมณโคดมทรงแนะนำแต่ธรรมที่ทำให้ คนฉลาด รอบรู้ และเป็นอริยะ” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๒๔๕}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]

๕. มาคัณฑิยสูตร

“ท่านภารทวาชะ ถ้าเราเผชิญหน้ากับท่านพระโคดมนั้น เราก็กล้าพูดต่อหน้า ท่านพระโคดมว่า ‘พระสมณโคดมเป็นผู้ทำลายความเจริญ’ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะคำพูดอย่างนี้อยู่ในสูตรของเรา” “ท่านมาคัณฑิยะ ถ้าการกล่าวคำนั้น ไม่เป็นการหนักใจแก่ท่านมาคัณฑิยะละก็ ข้าพเจ้าจักกราบทูลพระสมณโคดมพระองค์นั้นให้ทรงทราบ” “ท่านภารทวาชะ อย่ากังวลเลย เราได้พูดไว้แล้ว เชิญท่านพูดกับพระสมณ- โคดมนั้นเถิด” [๒๐๘] พระผู้มีพระภาคทรงสดับคำสนทนานี้ของพราหมณ์ภารทวาชโคตร กับมาคัณฑิยปริพาชกด้วยทิพพโสตอันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ ครั้นเวลาเย็น พระผู้มี พระภาค ทรงออกจากที่หลีกเร้น๑- เสด็จเข้าไปยังโรงบูชาไฟของพราหมณ์ภารทวาชโคตร ประทับนั่งบนเครื่องปูลาดซึ่งทำด้วยหญ้าที่ปูลาดไว้แล้ว ลำดับนั้น พราหมณ์ภาร- ทวาชโคตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว จึงนั่งอยู่ ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคตรัสกับพราหมณ์ ภารทวาชโคตรนั้นว่า “ภารทวาชะ ท่านกับมาคัณฑิยปริพาชกปรารภถึงเครื่องปูลาด ซึ่งทำด้วยหญ้านี้ ได้เจรจาโต้ตอบกันอย่างไรบ้าง” เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภารทวาชโคตรพราหมณ์ถึงกับตะลึง ขนลุก ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าพระองค์ปรารถนาที่จะกราบทูลเรื่องนี้แก่ ท่านพระโคดมอยู่แล้ว แต่ท่านพระโคดมได้ตรัสถามก่อนที่ข้าพระองค์จะได้กราบทูล” เมื่อพระผู้มีพระภาคกับพราหมณ์ภารทวาชโคตรสนทนากันค้างอยู่นั้น มาคัณฑิยปริพาชกผู้กำลังเดินเที่ยวเล่นอยู่ ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคที่โรงบูชาไฟ ของพราหมณ์ภารทวาชโคตร ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึก ถึงกันแล้วจึงนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับมาคัณฑิยปริพาชกว่า @เชิงอรรถ : @ ที่หลีกเร้น ในที่นี้หมายถึงผลสมาบัติ (ม.ม.อ. ๒/๒๐๘/๑๕๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๒๔๖}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]

๕. มาคัณฑิยสูตร

ตรัสถามมาคัณฑิยปริพาชกเรื่องการสำรวมอินทรีย์
[๒๐๙] “มาคัณฑิยะ ตามีรูปเป็นที่ยินดี ยินดีแล้วในรูป อันรูปให้บันเทิงแล้ว ตานั้นตถาคตฝึกดีแล้ว คุ้มครองดีแล้ว รักษาดีแล้ว สำรวมดีแล้ว อนึ่ง ตถาคต ย่อมแสดงธรรมเพื่อสำรวมตานั้น มาคัณฑิยะ คำที่ท่านกล่าวว่า ‘พระสมณโคดมเป็นผู้ทำลายความเจริญ‘’ นั้น ท่านคงจะหมายถึงความข้อนี้กระมัง” มาคัณฑิยปริพาชกกราบทูลว่า “ท่านพระโคดม คำที่ข้าพระองค์กล่าวว่า ‘พระสมณโคดมเป็นผู้ทำลายความเจริญ’ นี้ ข้าพระองค์หมายถึงความข้อนั้นแล ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะคำที่พูดอย่างนี้อยู่ในสูตรของข้าพระองค์” “มาคัณฑิยะ หูมีเสียงเป็นที่ยินดี ฯลฯ จมูกมีกลิ่นเป็นที่ยินดี ฯลฯ ลิ้นมีรส เป็นที่ยินดี ฯลฯ กายมีการสัมผัสเป็นที่ยินดี ฯลฯ ใจมีธรรมารมณ์เป็นที่ยินดี ยินดีแล้วในธรรมารมณ์ อันธรรมารมณ์ให้บันเทิงแล้ว ใจนั้นตถาคตฝึกดีแล้ว คุ้มครองดีแล้ว รักษาดีแล้ว สำรวมดีแล้ว อนึ่ง ตถาคตย่อมแสดงธรรมเพื่อ สำรวมใจนั้น มาคัณฑิยะ คำที่ท่านกล่าวว่า ‘พระสมณโคดมเป็นผู้ทำลายความเจริญ’ นั้น ท่านคงจะหมายถึงความข้อนี้กระมัง” “ท่านพระโคดม คำที่ข้าพระองค์กล่าวว่า ‘พระสมณโคดมเป็นผู้ทำลาย ความเจริญ’ นี้ ข้าพระองค์หมายถึงความข้อนั้นแล ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะคำ ที่พูดอย่างนี้อยู่ในสูตรของข้าพระองค์” [๒๑๐] “มาคัณฑิยะ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คนบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เคยได้รับการบำเรอด้วยรูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด สมัยต่อมา เขารู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเป็นเครื่องสลัดออกไปได้ตามความเป็นจริง ละตัณหาในรูปได้ บรรเทา ความเร่าร้อนที่เกิดเพราะรูปได้ เป็นผู้ปราศจากความกระหาย มีจิตสงบในภายในอยู่ มาคัณฑิยะ ท่านมีอะไรที่จะกล่าวกับท่านผู้นี้เล่า” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๒๔๗}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]

๕. มาคัณฑิยสูตร

“ท่านพระโคดม ข้าพระองค์ไม่มีอะไรที่จะกล่าว” “มาคัณฑิยะ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คนบางคนในโลกนี้เป็นผู้เคยได้รับ การบำเรอด้วยเสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู ฯลฯ ด้วยกลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ฯลฯ ด้วยรสที่พึง รู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ ด้วยโผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด สมัยต่อมา เขารู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเป็นเครื่องสลัดโผฏฐัพพะให้ออกไปได้ตามความเป็นจริง ละตัณหา ในโผฏฐัพพะได้ บรรเทาความเร่าร้อนที่เกิดเพราะโผฏฐัพพะได้ เป็นผู้ปราศจากความ กระหาย มีจิตสงบในภายในอยู่ มาคัณฑิยะ ท่านมีอะไรที่จะกล่าวกับท่านผู้นี้เล่า” “ท่านพระโคดม ข้าพระองค์ไม่มีอะไรที่จะกล่าว” [๒๑๑] “มาคัณฑิยะ เมื่อก่อนเราเป็นคฤหัสถ์ครองเรือน เป็นผู้เอิ่บอิ่ม พรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ ประการ บำเรอตนอยู่ด้วยรูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ที่น่า ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด ฯลฯ ด้วยเสียง ที่พึงรู้แจ้งทางหู ฯลฯ ด้วยกลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ฯลฯ ด้วยรสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ เมื่อก่อนเราเป็นคฤหัสถ์ครองเรือน เป็นผู้เอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ ประการ บำเรอตนอยู่ด้วยโผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด ปราสาทของเรานั้นมีอยู่ถึง ๓ หลัง คือ ๑. ปราสาทหลังหนึ่งเป็นที่อยู่ในฤดูฝน ๒. ปราสาทหลังหนึ่งเป็นที่อยู่ในฤดูหนาว ๓. ปราสาทหลังหนึ่งเป็นที่อยู่ในฤดูร้อน เรานั้นไม่มีบุรุษเจือปน มีแต่สตรีคอยบำเรอขับกล่อมดนตรี อยู่ในปราสาทเป็นที่ อยู่ในฤดูฝนตลอด ๔ เดือน ไม่ได้ลงจากปราสาทเลย สมัยต่อมา เรานั้นรู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเป็นเครื่องสลัด กามทั้งหลายให้ออกไปได้ตามความเป็นจริง ละตัณหาในกามได้ บรรเทาความ เร่าร้อนที่เกิดเพราะกามได้ เป็นผู้ปราศจากความกระหาย มีจิตสงบในภายในอยู่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๒๔๘}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]

๕. มาคัณฑิยสูตร

เราเห็นหมู่สัตว์เหล่าอื่นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ถูกกามตัณหาเกาะกินอยู่ ถูกความเร่าร้อนที่เกิดเพราะกามแผดเผาอยู่ เสพกามอยู่ เราก็ไม่กระหยิ่มต่อสัตว์ เหล่านั้น ทั้งไม่ยินดีในกามนั้นด้วย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเราเมื่อยินดีด้วยความยินดีที่เว้นจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย๑- อัน เข้าถึงความสุขที่เป็นทิพย์ จึงไม่กระหยิ่มต่อความสุขขั้นต่ำ๒- และไม่ยินดีในความสุข ขั้นต่ำนั้น
เปรียบเทียบกามของมนุษย์กับกามทิพย์
[๒๑๒] มาคัณฑิยะ เปรียบเหมือนคหบดีหรือบุตรคหบดี เป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก เอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ ประการ บำเรอตนอยู่ ด้วยรูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด ฯลฯ ด้วยเสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู ฯลฯ ด้วยกลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ฯลฯ ด้วยรสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ คหบดีหรือบุตรคหบดี เป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์ มาก มีโภคะมาก เอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ ประการ บำเรอตนอยู่ ด้วยโผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด เขาประพฤติกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต หลังจากตาย แล้วจะพึงไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ จะพึงไปเกิดในหมู่เทพชั้นดาวดึงส์ เทพบุตรนั้น มีหมู่นางอัปสรแวดล้อมอยู่ในสวนนันทวัน เอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วยกามคุณที่เป็นทิพย์ บำเรอตนอยู่ในดาวดึงส์เทวโลกนั้น เทพบุตรนั้นได้เห็นคหบดีหรือบุตรของคหบดีผู้ อิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ ประการ บำเรอตนอยู่ @เชิงอรรถ : @ ความยินดีที่เว้นจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย หมายถึงความยินดีในผลสมาบัติ อันเกิดจากจตุตถฌาน @(ม.ม.อ. ๒/๒๑๑/๑๕๙) @ ความสุขขั้นต่ำ หมายถึงความสุขที่เกิดจากกามคุณ ๕ ประการอันเป็นของมนุษย์ (คือ รูป เสียง กลิ่น รส @โผฏฐัพพะ) (ม.ม.อ. ๒/๒๑๒/๑๖๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๒๔๙}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]

๕. มาคัณฑิยสูตร

มาคัณฑิยะ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร เทพบุตรนั้นมีหมู่นางอัปสร แวดล้อม อยู่ในสวนนันทวัน เอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ ประการ บำเรอ ตนอยู่ จะพึงกระหยิ่มต่อคหบดีหรือบุตรของคหบดีโน้น หรือต่อกามคุณ ๕ ประการ ของมนุษย์ หรือจะเวียนกลับมาหากามของมนุษย์ไหม” “ไม่ ท่านพระโคดม ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะกามที่เป็นทิพย์เป็นสิ่งที่น่าใคร่ ยิ่งกว่าและประณีตยิ่งกว่ากามของมนุษย์” “มาคัณฑิยะ เราก็อย่างนั้นเหมือนกัน เมื่อยังครองเรือนอยู่ในกาลก่อน เอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ ประการ บำเรอตนอยู่ ด้วยรูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด ฯลฯ ด้วยเสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู ฯลฯ ด้วยกลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ฯลฯ ด้วยรสที่พึง รู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ เมื่อยังครองเรือนอยู่ในกาลก่อน เอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วย กามคุณ ๕ ประการ บำเรอตนอยู่ ด้วยโผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด สมัยต่อมา เรารู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเป็นเครื่องสลัด กามทั้งหลายให้ออกไปได้ตามความเป็นจริง ละตัณหาในกามได้ บรรเทาความ เร่าร้อนที่เกิดเพราะกามได้ เป็นผู้ปราศจากความกระหาย มีจิตสงบในภายในอยู่ เรานั้นเห็นหมู่สัตว์เหล่าอื่นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัดในกาม ถูกกามตัณหา เกาะกินอยู่ ถูกความเร่าร้อนที่เกิดเพราะกามแผดเผาอยู่ เสพกามอยู่ เราจึงไม่ กระหยิ่มต่อสัตว์เหล่านั้น ทั้งไม่ยินดีในกามนั้นด้วย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเราเมื่อยินดีด้วยความยินดีที่เว้นจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย อันเข้าถึงความสุขที่เป็นทิพย์ จึงไม่กระหยิ่มต่อความสุขขั้นต่ำ และไม่ยินดีในความ สุขขั้นต่ำนั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๒๕๐}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]

๕. มาคัณฑิยสูตร

เปรียบผู้บริโภคกามเหมือนคนเป็นโรคเรื้อน
[๒๑๓] มาคัณฑิยะ เปรียบเหมือนบุรุษผู้เป็นโรคเรื้อน มีตัวเป็นแผล มีตัว พุพอง มีเชื้อโรคคอยบ่อนทำลาย ใช้เล็บเกาปากแผล ใช้ถ่านไฟรมกายให้ร้อน มิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิตของเขาเชิญแพทย์ผู้ชำนาญการผ่าตัดมารักษา แพทย์ผู้นั้น พึงประกอบยารักษาให้ เขาอาศัยยาแล้วจึงหายจากโรคเรื้อน หายจากโรคร้าย มีความสบายขึ้น ลุกเดินได้เอง ไปไหนมาไหนได้เองตามความพอใจ บุรุษนั้นเห็น บุรุษผู้เป็นโรคเรื้อนคนอื่น มีตัวเป็นแผล มีตัวพุพอง มีเชื้อโรคคอยบ่อนทำลาย ใช้เล็บเกาปากแผล ใช้ถ่านไฟรมกายให้ร้อน มาคัณฑิยะ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุรุษนั้นจะพึงกระหยิ่มต่อบุรุษ ผู้เป็นโรคเรื้อนคนโน้น ต่อหลุมถ่านเพลิง หรือต่อการกล้ำกลืนฝืนใช้ยา ใช่หรือไม่” “ไม่ใช่ ท่านพระโคดม ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเมื่อยังมีโรค กิจที่เกี่ยวกับ การใช้ยาก็ต้องมี เมื่อหายโรค กิจที่เกี่ยวกับยาก็หมดไป” “มาคัณฑิยะ เราก็อย่างนั้นเหมือนกัน เมื่อยังครองเรือนอยู่ในกาลก่อน เอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ ประการ บำเรอตนด้วยรูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ที่น่า ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด ฯลฯ ด้วยเสียง ที่พึงรู้แจ้งทางหู ฯลฯ ด้วยกลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ฯลฯ ด้วยรสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ เมื่อยังครองเรือนอยู่ในกาลก่อน เอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ ประการ บำเรอตนอยู่ด้วยโผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด สมัยต่อมา เรารู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเป็นเครื่องสลัด กามทั้งหลายให้ออกไปได้ตามความเป็นจริง ละตัณหาในกามได้ บรรเทาความ เร่าร้อนที่เกิดเพราะกามได้ เป็นผู้ปราศจากความกระหาย มีจิตสงบในภายในอยู่ เรานั้นเห็นหมู่สัตว์เหล่าอื่นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัดในกาม ถูกกามตัณหา เกาะกินอยู่ ถูกความเร่าร้อนที่เกิดเพราะกามแผดเผาอยู่ เสพกามอยู่ เราจึงไม่ กระหยิ่มต่อสัตว์เหล่านั้น ทั้งไม่ยินดีในกามนั้นด้วย ข้อนั้นเพราะเหตุไร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๒๕๑}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]

๕. มาคัณฑิยสูตร

เพราะเราเมื่อยินดีด้วยความยินดีที่เว้นจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย อันเข้าถึงความสุขที่เป็นทิพย์ จึงไม่กระหยิ่มต่อความสุขขั้นต่ำ และไม่ยินดีใน ความสุขขั้นต่ำนั้น [๒๑๔] มาคัณฑิยะ เปรียบเหมือนบุรุษผู้เป็นโรคเรื้อน มีตัวเป็นแผล มีตัว พุพอง มีเชื้อโรคคอยบ่อนทำลาย ใช้เล็บเกาปากแผล ใช้ถ่านไฟรมกายให้ร้อน มิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิตของเขาเชิญแพทย์ผู้ชำนาญการผ่าตัดมารักษา แพทย์ผู้นั้น พึงประกอบยารักษาให้ เขาอาศัยยาแล้วจึงหายจากโรคเรื้อน หายจากโรคร้าย มีความสบายขึ้น ลุกเดินได้เอง ไปไหนมาไหนได้เองตามความพอใจ ทีนั้น คนที่ แข็งแรง ๒ คนช่วยกันจับเขาที่แขนคนละข้าง ฉุดเขาให้เข้าไปที่หลุมถ่านเพลิง มาคัณฑิยะ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุรุษนั้นต้องดิ้นรนไปมาข้างนี้ และข้างโน้น ใช่ไหม” “ใช่ ท่านพระโคดม ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะไฟมีสัมผัสเป็นทุกข์ มีความ ร้อนมาก และมีความเร่าร้อนมาก” “มาคัณฑิยะ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ไฟนั้นมีสัมผัสเป็นทุกข์ มีความร้อนมาก และมีความเร่าร้อนมาก เฉพาะในบัดนี้เท่านั้นหรือ หรือว่าแม้ เมื่อก่อน ไฟนั้นก็มีสัมผัสเป็นทุกข์ มีความร้อนมาก มีความเร่าร้อนมาก เหมือนกัน” “ท่านพระโคดม ไฟนั้นมีสัมผัสเป็นทุกข์ มีความร้อนมาก และมีความเร่าร้อน มากทั้งในบัดนี้ และแม้เมื่อก่อนไฟนั้นก็มีสัมผัสเป็นทุกข์ มีความร้อนมาก มีความ เร่าร้อนมากเหมือนกัน แต่บุรุษผู้เป็นโรคเรื้อน มีตัวเป็นแผล มีตัวพุพอง ถูกเชื้อโรค คอยบ่อนทำลายอยู่ ใช้เล็บเกาปากแผล ถูกโรคเรื้อนเบียดเบียนร่างกาย กลับเข้าใจ ไฟซึ่งมีสัมผัสเป็นทุกข์ว่าเป็นความสุข” “มาคัณฑิยะ กามทั้งหลายก็อย่างนั้นเหมือนกัน แม้ในอดีตก็มีสัมผัสเป็นทุกข์ มีความร้อนมาก และมีความเร่าร้อนมาก ในอนาคต กามทั้งหลายก็มีสัมผัส เป็นทุกข์ มีความร้อนมาก และมีความเร่าร้อนมาก แม้ในปัจจุบัน กามทั้งหลายก็มี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๒๕๒}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]

๕. มาคัณฑิยสูตร

สัมผัสเป็นทุกข์ มีความร้อนมาก และมีความเร่าร้อนมาก สัตว์เหล่านี้เป็นผู้ยัง ไม่ปราศจากความกำหนัดในกาม ถูกกามตัณหาเกาะกินอยู่ ถูกความเร่าร้อนที่เกิด เพราะกามแผดเผาอยู่ มีอินทรีย์๑- ถูกกามกำจัดแล้ว กลับเข้าใจกามซึ่งมีสัมผัสเป็น ทุกข์ว่าเป็นความสุขไป [๒๑๕] มาคัณฑิยะ บุรุษผู้เป็นโรคเรื้อน มีตัวเป็นแผล มีตัวพุพอง มีเชื้อโรค คอยบ่อนทำลายอยู่ ใช้เล็บเกาปากแผล ใช้ถ่านไฟรมกายให้ร้อน บุรุษผู้เป็น โรคเรื้อน มีตัวเป็นแผล มีตัวพุพอง มีเชื้อโรคคอยบ่อนทำลายอยู่ ใช้เล็บเกา ปากแผล ใช้ถ่านไฟรมกายให้ร้อนด้วยประการใดๆ ปากแผลเหล่านั้นของบุรุษผู้ เป็นโรคเรื้อนนั้นก็เป็นของไม่สะอาดมากขึ้น มีกลิ่นเหม็นมากขึ้น และเน่ามากขึ้น ด้วยประการนั้นๆ แต่เขาจะมีเพียงความยินดี และความพอใจอยู่บ้าง ก็เพราะการ เกาปากแผลเท่านั้น แม้ฉันใด สัตว์ทั้งหลายก็ฉันนั้นเหมือนกัน ผู้ยังไม่ปราศจาก ความกำหนัดในกาม ถูกกามตัณหาเกาะกินอยู่ ถูกความเร่าร้อนที่เกิดเพราะกาม แผดเผาอยู่ เสพกามอยู่ สัตว์ทั้งหลายผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัดในกาม ถูกกามตัณหาเกาะกินอยู่ ถูกความเร่าร้อนที่เกิดเพราะกามแผดเผาอยู่ เสพกามอยู่ ด้วยประการใดๆ กามตัณหาย่อมเจริญแก่สัตว์เหล่านั้น และสัตว์เหล่านั้นก็ถูก ความเร่าร้อนที่เกิดเพราะกามแผดเผาอยู่ด้วยประการนั้นๆ และเขาเหล่านั้นจะมี ความยินดี และความพอใจอยู่บ้างก็เพราะอาศัยกามคุณ ๕ ประการนั่นเอง มาคัณฑิยะ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ท่านได้เห็นหรือได้ฟังมาบ้าง ไหมว่า ‘พระราชาหรือมหาอำมาตย์ของพระราชา ผู้เอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วย กามคุณ ๕ ประการ บำเรอตนอยู่ ยังละกามตัณหาไม่ได้ ยังบรรเทาความ เร่าร้อนที่เกิดเพราะกามไม่ได้ แต่เป็นผู้ปราศจากความกระหาย มีจิตสงบในภายใน อยู่แล้ว กำลังอยู่ หรือว่าจักอยู่” “ไม่ ท่านพระโคดม” @เชิงอรรถ : @ อินทรีย์ ในที่นี้หมายถึงปัญญินทรีย์ (ม.ม.อ. ๒/๒๑๔/๑๖๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๒๕๓}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]

๕. มาคัณฑิยสูตร

“ดีละ มาคัณฑิยะ ข้อนี้แม้เราก็ไม่ได้เห็นมา ไม่ได้ฟังมาว่า ‘พระราชาหรือ มหาอำมาตย์ของพระราชา ผู้เอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ ประการ บำเรอ ตนอยู่ ยังละกามตัณหาไม่ได้ ยังบรรเทาความเร่าร้อนที่เกิดเพราะกามไม่ได้ แต่เป็น ผู้ปราศจากความกระหาย มีจิตสงบในภายในอยู่แล้ว กำลังอยู่ หรือว่าจักอยู่’ มาคัณฑิยะ ที่แท้สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งที่เป็นผู้ปราศจาก ความกระหาย มีจิตสงบในภายในอยู่แล้ว กำลังอยู่ หรือว่าจักอยู่ เพราะสมณะ หรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดล้วนรู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบาย เป็นเครื่องสลัดกามทั้งหลายให้ออกไปได้ตามความเป็นจริง ละกามตัณหาได้ บรรเทา ความเร่าร้อนที่เกิดเพราะกามได้ จึงเป็นผู้ปราศจากความกระหาย มีจิตสงบในภายใน อยู่แล้ว กำลังอยู่ หรือว่าจักอยู่” ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเปล่งอุทานนี้ ในเวลานั้นว่า “ความไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง บรรดาทางทั้งหลายอันให้ถึงอมตธรรม ทางมีองค์ ๘ เป็นทางอันเกษม” [๒๑๖] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว มาคัณฑิยปริพาชกได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ท่านพระ โคดมตรัสไว้ดีแล้วว่า ‘ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง’ ข้าพระองค์ก็ได้ฟังมาจากปริพาชกทั้งหลายในกาลก่อน ผู้เป็นอาจารย์และเป็น ปาจารย์ผู้กล่าวว่า ‘ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง’ ความข้อนั้นจึงสมกัน” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๒๕๔}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]

๕. มาคัณฑิยสูตร

“มาคัณฑิยะ ข้อที่เธอได้ฟังมาจากปริพาชกทั้งหลาย ในกาลก่อน ผู้เป็น อาจารย์และเป็นปาจารย์ผู้กล่าวว่า ‘ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง’ ความไม่มีโรคนั้น เป็นอย่างไร นิพพานนั้น เป็นอย่างไร” เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ได้ทราบว่า มาคัณฑิยปริพาชกเอาฝ่ามือ ลูบตัวเองแล้วกล่าวว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ความไม่มีโรคนั้นคืออันนี้ นิพพานนั้น คืออันนี้ บัดนี้ ข้าพระองค์เป็นผู้ไม่มีโรค มีความสุข โรคอะไรๆ มิได้เบียดเบียน ข้าพระองค์”
เปรียบผู้บริโภคกามเหมือนคนตาบอด
[๒๑๗] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “มาคัณฑิยะ เปรียบเหมือนคนตาบอด มาแต่กำเนิด เขาไม่ได้เห็นรูปสีดำ รูปสีขาว รูปสีเขียว รูปสีเหลือง รูปสีแดง รูปสีแสด ไม่ได้เห็นที่อันเสมอและไม่เสมอ ไม่ได้เห็นดวงดาว ไม่ได้เห็นดวงจันทร์และดวง อาทิตย์ เขาได้ฟังจากคนมีตาดีผู้กล่าวว่า ‘ท่านผู้เจริญ ผ้าขาวผ่องงดงามยิ่งนัก ไม่สกปรก สะอาดสะอ้าน’ เขาจึงเที่ยวแสวงหาผ้าขาว บุรุษผู้หนึ่งเอาผ้าเนื้อหยาบเปื้อนน้ำมันมาลวงคนตาบอด มาแต่กำเนิดนั้นว่า ‘พ่อคุณ ผ้าผืนนี้ เป็นผ้าขาวผ่องงดงามยิ่งนัก ไม่สกปรก สะอาด สะอ้าน เป็นของท่าน’ เขารับเอาผ้านั้นมาห่ม พูดออกมาด้วยความดีใจว่า ‘พ่อคุณ ผ้าขาวผ่องงดงาม ยิ่งนัก ไม่สกปรก สะอาดสะอ้านจริงๆ’ มาคัณฑิยะ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คนตาบอดมาแต่กำเนิดนั้น รู้อยู่ เห็นอยู่ จึงรับเอาผ้าเนื้อหยาบเปื้อนน้ำมันนั้นมาห่ม พลางพูดออกมาด้วยความดีใจ ว่า ‘พ่อคุณ ผ้าขาวผ่องงดงามยิ่งนัก ไม่สกปรก สะอาดสะอ้าน’ หรือว่าเปล่งวาจา แสดงความดีใจอย่างนั้นเพราะเชื่อคนมีตาดี” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๒๕๕}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]

๕. มาคัณฑิยสูตร

มาคัณฑิยปริพาชกทูลตอบว่า “ท่านพระโคดม คนตาบอดมาแต่กำเนิดนั้น ไม่รู้ ไม่เห็นรับเอาผ้าเนื้อหยาบที่เปื้อนน้ำมันมาห่มพลางพูดออกมาด้วยความดีใจว่า ‘พ่อคุณ ผ้าขาวผ่องงดงามยิ่งนัก ไม่สกปรก สะอาดสะอ้าน’ เปล่งวาจาแสดงความ ดีใจอย่างนั้นเพราะเชื่อคนมีตาดี” “มาคัณฑิยะ อัญเดียรถีย์ปริพาชกทั้งหลายก็อย่างนั้นเหมือนกัน เป็นคน ตาบอด ไม่มีจักษุ ไม่รู้ความไม่มีโรค ไม่เห็นนิพพาน เมื่อเป็นเช่นนั้น ยังกล่าว คาถานี้ได้ว่า ‘ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง’ พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ ได้ตรัสพระคาถาไว้ว่า ‘ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง บรรดาทางทั้งหลายอันให้ถึงอมตธรรม ทางมีองค์ ๘ เป็นทางอันเกษม’ [๒๑๘] บัดนี้ คาถานั้นเป็นคาถาของปุถุชนไปโดยลำดับ มาคัณฑิยะ กายนี้ เป็นดุจโรค เป็นดุจหัวฝี เป็นดุจลูกศร เป็นสิ่งคับแค้น เป็นสิ่งเบียดเบียน ท่านนั้น กล่าวกายนี้ซึ่งเป็นดุจโรค เป็นดุจหัวฝี เป็นดุจลูกศร เป็นสิ่งคับแค้น เป็นสิ่ง เบียดเบียนว่า ‘ท่านพระโคดม ความไม่มีโรคนั้นคืออันนี้ นิพพานนั้นคืออันนี้ ท่านไม่ มีอริยจักขุ๑- ที่เป็นเครื่องรู้ความไม่มีโรค ที่เป็นเครื่องเห็นนิพพานได้” “ข้าพระองค์เลื่อมใสท่านพระโคดมอย่างนี้ ท่านพระโคดมทรงสามารถแสดงธรรม แก่ข้าพระองค์ โดยวิธีที่ข้าพระองค์จะรู้ความไม่มีโรคและเห็นพระนิพพานได้” @เชิงอรรถ : @ อริยจักขุ ในที่นี้หมายถึงวิปัสสนาญาณและมรรคญาณอันบริสุทธิ์ (ม.ม.อ. ๒/๒๑๘/๑๖๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๒๕๖}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]

๕. มาคัณฑิยสูตร

เปรียบการแสดงธรรมกับการรักษาคนตาบอด
[๒๑๙] “มาคัณฑิยะ เปรียบเหมือนคนตาบอดมาแต่กำเนิด เขาไม่ได้เห็นรูป สีดำ รูปสีขาว รูปสีเขียว รูปสีเหลือง รูปสีแดง รูปสีแสด ไม่ได้เห็นที่อันเสมอและ ไม่เสมอ ไม่ได้เห็นดวงดาว ไม่ได้เห็นดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ มิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิตของเขา ได้เชิญแพทย์ผู้ชำนาญการผ่าตัดมารักษา แพทย์ผู้ชำนาญนั้น ได้ประกอบยารักษาให้ เขาอาศัยยานั้นแต่ก็เห็นไม่ได้ ทำตาให้ใสไม่ได้ ท่านเข้าใจความ ข้อนั้นว่าอย่างไร แพทย์ผู้นั้นต้องมีส่วนแห่งความลำบาก ความคับแค้นมิใช่หรือ” “ใช่ ท่านพระโคดม” “มาคัณฑิยะ เราก็อย่างนั้นเหมือนกัน หากจะพึงแสดงธรรมแก่ท่านว่า ‘ความไม่มีโรคนั้นคืออันนี้ นิพพานนั้นคืออันนี้’ ท่านนั้นยังไม่รู้ความไม่มีโรค ยังไม่ เห็นนิพพาน มีแต่ทำให้เราเหน็ดเหนื่อยเปล่า ลำบากเปล่า” “ข้าพระองค์เลื่อมใสท่านพระโคดมอย่างนี้ ท่านพระโคดมทรงสามารถแสดงธรรม แก่ข้าพระองค์ โดยวิธีที่ข้าพระองค์จะรู้ความไม่มีโรค และเห็นพระนิพพานได้” [๒๒๐] “มาคัณฑิยะ เปรียบเหมือนคนตาบอดมาแต่กำเนิด เขาไม่ได้เห็นรูป สีดำ รูปสีขาว รูปสีเขียว รูปสีเหลือง รูปสีแดง รูปสีแสด ไม่ได้เห็นที่อันเสมอและ ไม่เสมอ ไม่ได้เห็นดวงดาว ไม่ได้เห็นดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ แต่เขาได้ฟังจากคน ตาดีผู้กล่าวว่า ‘พ่อคุณ ผ้าขาวผ่องงดงามยิ่งนัก ไม่สกปรก สะอาดสะอ้าน’ คนตาบอดมาแต่กำเนิดนั้นเที่ยวแสวงหาผ้าขาว ชายคนหนึ่งเอาผ้าเนื้อหยาบ เปื้อนน้ำมันมาลวงเขาว่า ‘พ่อคุณ ผ้าผืนนี้ขาวผ่องงดงามยิ่งนัก ไม่สกปรก สะอาด สะอ้าน เป็นของท่าน’ เขารับผ้านั้นมาห่ม มิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิตของเขาเชิญแพทย์ผู้ชำนาญ การผ่าตัดมารักษา แพทย์ผู้ชำนาญนั้นทำยาถอนให้ ทำยาถ่าย ยาหยอด ยาป้าย และยานัตถุ์ให้ เขาอาศัยยานั้นจึงเห็นได้ ทำตาให้ใสได้ พร้อมกับมีตาดีขึ้น เขาย่อม {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๒๕๗}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]

๕. มาคัณฑิยสูตร

ละความพอใจและความยินดีในผ้าเนื้อหยาบเปื้อนน้ำมันผืนโน้น เขาจะพึงเบียดเบียน บุรุษที่ลวงตนนั้น โดยความเป็นศัตรูเป็นข้าศึก และจะพึงสำคัญว่าควรปลงชีวิตบุรุษ ที่ลวงตนนั้นด้วยความแค้นว่า ‘เราถูกบุรุษผู้นี้ล่อลวงให้หลงผิดด้วยผ้าเนื้อหยาบ เปื้อนน้ำมันว่า ‘พ่อคุณ ผ้าผืนนี้ขาวผ่องงดงามยิ่งนัก ไม่สกปรก สะอาดสะอ้าน เป็นของท่าน’ แม้ฉันใด มาคัณฑิยะ เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน หากจะพึงแสดงธรรมแก่ท่านว่า ‘ความ ไม่มีโรคนั้นคืออันนี้ นิพพานนั้นคือนี้’ ท่านนั้นจะพึงรู้ความไม่มีโรค จะพึงเห็น นิพพานได้ ท่านก็จะละความพอใจและความยินดีในอุปาทานขันธ์ ๕ ประการ พร้อมกับเกิดดวงตาคือปัญญาขึ้น อนึ่ง ท่านจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ เราถูกจิตนี้ล่อลวงให้หลงผิดมานานแล้ว เราเมื่อยึดมั่นก็ยึดมั่นเฉพาะรูป เฉพาะ เวทนา เฉพาะสัญญา เฉพาะสังขาร และเฉพาะวิญญาณเท่านั้น เพราะอุปาทาน เป็นปัจจัย ภพจึงมีแก่เรา เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสจึงมี ความเกิดแห่งกองทุกข์ ทั้งสิ้นนี้ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้” “ข้าพระองค์เลื่อมใสท่านพระโคดมอย่างนี้ ท่านพระโคดมทรงสามารถแสดง ธรรมแก่ข้าพระองค์ โดยวิธีที่ข้าพระองค์จะไม่เป็นคนตาบอดลุกขึ้นจากอาสนะนี้ได้” [๒๒๑] “มาคัณฑิยะ ถ้าเช่นนั้น ท่านจงคบสัตบุรุษ เพราะเมื่อใดท่านคบ สัตบุรุษ เมื่อนั้นท่านจะได้ฟังธรรมของสัตบุรุษ เมื่อใดท่านได้ฟังธรรมของสัตบุรุษ เมื่อนั้นท่านก็จักปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม เมื่อใดท่านปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม เมื่อนั้นท่านก็จักรู้เอง เห็นเองว่า ‘โรค ฝี ลูกศร คืออันนี้ โรค ฝี ลูกศร จะดับ ไปได้โดยไม่เหลือในที่นี้ เพราะอุปาทานของเรานั้นดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส จึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๒๕๘}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]

๕. มาคัณฑิยสูตร

มาคัณฑิยะได้บรรพชาอุปสมบท
[๒๒๒] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว มาคัณฑิยปริพาชกได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่ท่าน พระโคดม พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ท่านพระโคดมทรงประกาศ ธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่างๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของ ที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดีจักเห็น รูปได้’ ข้าพระองค์นี้ขอถึงท่านพระโคดมพร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ข้าพระองค์พึงได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของท่านพระโคดมเถิด” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มาคัณฑิยะ ผู้เคยเป็นอัญเดียรถีย์ประสงค์จะ บรรพชาอุปสมบทในธรรมวินัยนี้ จะต้องอยู่ปริวาส ๔ เดือน หลังจาก ๔ เดือน ล่วงไปแล้ว เมื่อภิกษุทั้งหลายเต็มใจจึงจะให้บรรพชาอุปสมบทเป็นภิกษุได้ แต่เรา ทราบความแตกต่างของบุคคลในเรื่องนี้” มาคัณฑิยปริพาชก ได้กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าผู้เคยเป็น อัญเดียรถีย์ ประสงค์จะบรรพชาอุปสมบทในพระธรรมวินัยนี้ จะต้องอยู่ปริวาส ๔ เดือน หลังจาก ๔ เดือนล่วงไปแล้ว เมื่อภิกษุทั้งหลายเต็มใจจึงจะให้บรรพชา อุปสมบทเป็นภิกษุได้ ข้าพระองค์จักขออยู่ปริวาส ๔ ปี หลังจาก ๔ ปีล่วงไปแล้ว เมื่อภิกษุทั้งหลายเต็มใจก็จงให้บรรพชาอุปสมบทเป็นภิกษุเถิด” มาคัณฑิยปริพาชกได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาคแล้ว ท่านพระมาคัณฑิยะอุปสมบทแล้วไม่นาน หลีกออกไปอยู่ผู้เดียว เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ไม่นานนักก็ทำให้แจ้งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็น ที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ ต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน รู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบ พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป” ท่านพระมาคัณฑิยะได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย ดังนี้แล
มาคัณฑิยสูตรที่ ๕ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๒๕๙}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๓ หน้าที่ ๒๔๕-๒๕๙. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=13&siri=25              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5], [6].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=13&A=4769&Z=5061                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=276              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=13&item=276&items=17              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=9&A=3905              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=13&item=276&items=17              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=9&A=3905                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu13              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/13i276-e1.php# https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/13i276-e2.php# https://accesstoinsight.org/tipitaka/mn/mn.075x.than.html https://suttacentral.net/mn75/en/sujato https://suttacentral.net/mn75/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :