ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
๔. โฆฏมุขสูตร
ว่าด้วยพราหมณ์ชื่อโฆฏมุขะ
[๔๑๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง ท่านพระอุเทนอยู่ ณ เขมิยอัมพวัน เขตกรุงพาราณสี สมัยนั้น พราหมณ์ชื่อโฆฏมุขะได้ไปกรุงพาราณสี ด้วยกรณียกิจบางอย่าง ครั้งนั้นแล โฆฏมุข- พราหมณ์ เดินเที่ยวเล่นอยู่ ได้เข้าไปยังเขมิยอัมพวัน สมัยนั้น ท่านพระอุเทนเดิน จงกรมอยู่ในที่กลางแจ้ง โฆฏมุขพราหมณ์เข้าไปหาท่านพระอุเทนถึงที่อยู่ ได้สนทนา ปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว เดินจงกรมตามท่านพระอุเทน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๕๑๕}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค]

๔. โฆฏมุขสูตร

ผู้กำลังเดินจงกรมอยู่ ได้กล่าวอย่างนี้ว่า “สมณะผู้เจริญ การบวชที่ถูกต้องไม่มี ในการบวชนี้ข้าพเจ้ามีความเห็นอย่างนี้ เพราะในการบวชนี้บัณฑิตทั้งหลายเช่นท่านก็ยัง ไม่เห็นธรรม” เมื่อโฆฏมุขพราหมณ์กล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระอุเทนจึงลงจากที่จงกรม เข้าไปยังวิหารแล้วนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ แม้โฆฏมุขพราหมณ์ก็ลงจากที่จงกรม เข้าไปยังวิหารแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร ท่านพระอุเทนได้กล่าวกับโฆฏมุขพราหมณ์ ว่า “พราหมณ์ อาสนะมีอยู่ ถ้าท่านปรารถนาก็เชิญนั่งเถิด” โฆฏมุขพราหมณ์กล่าวว่า “ข้าพเจ้ารอการเชื้อเชิญของท่านอุเทนอยู่จึงยัง ไม่นั่ง เพราะคนเช่นข้าพเจ้าไม่มีใครเชื้อเชิญก่อนแล้ว จะพึงสำคัญการนั่งบนอาสนะ ที่ควรนั่งก็ดูกระไรอยู่” ลำดับนั้นแล โฆฏมุขพราหมณ์เลือกนั่งแล้ว ณ ที่สมควรที่ใดที่หนึ่งซึ่งต่ำกว่า แล้วได้กล่าวกับท่านพระอุเทนว่า “สมณะผู้เจริญ การบวชที่ถูกต้องไม่มี ในการบวชนี้ ข้าพเจ้ามีความเห็นอย่างนี้ เพราะในการบวชนี้บัณฑิตทั้งหลายเช่นท่านก็ยังไม่เห็นธรรม” ท่านพระอุเทนกล่าวว่า “พราหมณ์ ถ้าท่านจะพึงยอมรับคำที่ควรยอมรับ และพึงคัดค้านคำที่ควรคัดค้านของเรา อนึ่ง ท่านยังไม่เข้าใจเนื้อความแห่งภาษิตใด ก็ควรซักถามเราในภาษิตนั้นให้ยิ่งขึ้นไปว่า ‘ท่านอุเทน ภาษิตนี้เป็นอย่างไร เนื้อความแห่งภาษิตนี้เป็นอย่างไร’ เพราะทำอย่างนี้ เราทั้งสองจะพึงมีการสนทนา ปราศรัยกันในเรื่องนี้ได้” โฆฏมุขพราหมณ์กล่าวว่า “ข้าพเจ้าจักยอมรับคำที่ควรยอมรับ และจักคัดค้าน คำที่ควรคัดค้านของท่านอุเทน อนึ่ง ข้าพเจ้าไม่รู้เนื้อความแห่งภาษิตใดของท่าน อุเทน ข้าพเจ้าจักซักถามท่านอุเทนในภาษิตนั้นให้ยิ่งขึ้นไปว่า ‘ท่านอุเทน ภาษิตนี้ เป็นอย่างไร เนื้อความแห่งภาษิตนี้เป็นอย่างไร’ เพราะทำอย่างนี้ เราทั้งสองจง สนทนาปราศรัยกันในเรื่องนี้เถิด” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๕๑๖}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค]

๔. โฆฏมุขสูตร

บุคคล ๔ ประเภท
[๔๑๓] ท่านพระอุเทนกล่าวว่า “พราหมณ์ บุคคล ๔ ประเภทนี้ มีปรากฏ อยู่ในโลก บุคคล ๔ ประเภท ไหนบ้าง คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ๑. เป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน ๒. เป็นผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ๓. เป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน และเป็นผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ๔. เป็นผู้ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน และเป็นผู้ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้ เดือดร้อน บุคคลผู้ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เป็นผู้ไม่หิว ดับร้อน เย็นใจ มีตนอันประเสริฐเสวยสุขอยู่ในปัจจุบัน พราหมณ์ บรรดาบุคคล ๔ ประเภทนี้ ท่านชอบใจบุคคลจำพวกไหนเล่า” โฆฏมุขพราหมณ์กล่าวว่า “ท่านอุเทน ข้าพเจ้าไม่ชอบใจบุคคลผู้ทำตนให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน ข้าพเจ้าไม่ชอบใจบุคคลผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้ เดือดร้อน ข้าพเจ้าไม่ชอบใจบุคคลผู้ทำตนให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำตนให้ เดือดร้อน และเป็นผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ข้าพเจ้าชอบใจบุคคลผู้ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการทำตนให้ เดือดร้อน และเป็นผู้ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้ เดือดร้อน (เพราะ)บุคคลผู้ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อนนั้น เป็นผู้ ไม่หิว ดับร้อน เย็นใจ มีตนอันประเสริฐ เสวยสุขอยู่ในปัจจุบัน” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๕๑๗}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค]

๔. โฆฏมุขสูตร

“พราหมณ์ เพราะเหตุไรเล่า ท่านจึงไม่ชอบใจบุคคล ๓ ประเภทนี้” “ท่านอุเทน บุคคลผู้ทำตนให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน ชื่อว่าทำตนซึ่งรักสุขเกลียดทุกข์ให้เดือดร้อน ให้ร้อนรุ่ม เพราะเหตุนี้ ข้าพเจ้าจึง ไม่ชอบใจบุคคลนี้ ฝ่ายบุคคลผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ชื่อว่าทำผู้อื่นซึ่งรักสุขเกลียดทุกข์ให้เดือดร้อน ให้ร้อนรุ่ม เพราะเหตุนี้ ข้าพเจ้าจึง ไม่ชอบใจบุคคลนี้ ส่วนบุคคลผู้ทำตนให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน และเป็น ผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ชื่อว่าทำตนเองและ ผู้อื่นซึ่งรักสุขเกลียดทุกข์ให้เดือดร้อน ให้ร้อนรุ่ม เพราะเหตุนี้ ข้าพเจ้าจึงไม่ชอบใจบุคคลนี้ แต่บุคคลใด ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน และเป็นผู้ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน บุคคลนั้น ชื่อว่าไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เป็นผู้ไม่หิว ดับร้อน เย็นใจ มีตนอันประเสริฐเสวยสุขอยู่ในปัจจุบัน ชื่อว่าไม่ทำตนและผู้อื่นซึ่งรักสุข เกลียดทุกข์ให้เดือดร้อน ให้ร้อนรุ่ม เพราะเหตุนี้ ข้าพเจ้าจึงชอบใจบุคคลนี้”
บริษัท ๒ จำพวก
[๔๑๔] ท่านพระอุเทนกล่าวว่า “พราหมณ์ บริษัทมี ๒ จำพวก บริษัท ๒ จำพวก ไหนบ้าง คือ บริษัทบางพวกในโลกนี้ ๑. มีความกำหนัดยินดีเมื่อมีต่างหูแก้วมณี จึงแสวงหาบุตร ภรรยา ทาสหญิง ทาสชาย นา สวน ทองและเงิน ๒. ไม่มีความกำหนัดยินดีเมื่อมีต่างหูแก้วมณี ก็ละทิ้งบุตร ภรรยา ทาสหญิง ทาสชาย นา สวน ทองและเงิน แล้วออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิต {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๕๑๘}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค]

๔. โฆฏมุขสูตร

บุคคลใดไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน และ เป็นผู้ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน บุคคลนั้น ชื่อว่าไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เป็นผู้ไม่หิว ดับร้อน เย็นใจ มีตนอันประเสริฐเสวยสุขอยู่ในปัจจุบัน พราหมณ์ ท่านเห็นบุคคลเช่นไรในบริษัทไหนมาก คือในบริษัทผู้กำหนัดยินดี ในแก้วมณีและกุณฑล แสวงหาบุตร ภรรยา ทาสหญิง ทาสชาย นา สวน ทอง และเงิน และในบริษัทผู้ไม่กำหนัดยินดีในต่างหูแก้วมณี ละทิ้งบุตร ภรรยา ทาสหญิง ทาสชาย นา สวน ทอง และเงิน แล้วออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต” โฆฏมุขพราหมณ์กล่าวว่า “ท่านอุเทน บุคคลใดไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่หมั่น ประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน และเป็นผู้ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบ ในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน บุคคลนั้นชื่อว่าไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน นั้น เป็นผู้ไม่หิว ดับร้อน เย็นใจ มีตนอันประเสริฐ เสวยสุขอยู่ในปัจจุบัน ข้าพเจ้าเห็นบุคคลนี้มีมากในบริษัทผู้ไม่กำหนัดยินดีในเมื่อมีต่างหูแก้วมณี ละทิ้งบุตร ภรรยา ทาสหญิง ทาสชาย นา สวน ทอง และเงิน แล้วออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิต” “พราหมณ์ ในบัดนี้นั่นเอง เราย่อมรู้คำที่ท่านกล่าวแล้วอย่างนี้ว่า ‘สมณะ ผู้เจริญ การบวชที่ถูกต้องไม่มี ในการบวชนี้ข้าพเจ้ามีความเห็นอย่างนี้ เพราะในการ บวชนี้บัณฑิตทั้งหลายเช่นท่านก็ยังไม่เห็นธรรม” “ท่านอุเทน วาจาที่ท่านกล่าวแก่ข้าพเจ้านั้น เป็นวาจามีเหตุสนับสนุนโดยแท้ การบวชที่ถูกต้องมีจริง ในเรื่องนี้ ข้าพเจ้ามีความเห็นอย่างนี้ และขอท่านอุเทน โปรดจำข้าพเจ้าไว้อย่างนี้ อนึ่งบุคคล ๔ จำพวกนี้ ท่านอุเทนกล่าวโดยย่อ ไม่จำแนก โดยพิสดาร ขอโอกาสเถิดท่าน ขอท่านอุเทนช่วยอนุเคราะห์จำแนกบุคคล ๔ จำพวกนี้ ให้ข้าพเจ้าฟังโดยพิสดารด้วยเถิด” “พราหมณ์ ถ้าเช่นนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว” โฆฏมุขพราหมณ์รับคำแล้ว ท่านพระอุเทนได้กล่าวว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๕๑๙}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค]

๔. โฆฏมุขสูตร

ติตถิยวัตร
[๔๑๕] “บุคคลเป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นอเจลก(ประพฤติเปลือยกาย) ไม่มีมารยาท เลียมือ เขาเชิญให้ไปรับอาหารก็ไม่ไป เขาเชิญให้หยุดรับอาหารก็ไม่หยุด ไม่รับอาหารที่เขา แบ่งไว้ ไม่รับอาหารที่เขาทำเจาะจง ไม่ยินดีอาหารที่เขาเชิญ ไม่รับอาหารจาก ปากหม้อ ไม่รับอาหารจากปากภาชนะ ไม่รับอาหารคร่อมธรณีประตู ไม่รับอาหาร คร่อมท่อนไม้ ไม่รับอาหารคร่อมสาก ไม่รับอาหารของคน ๒ คนที่กำลังบริโภค ไม่รับอาหารของหญิงมีครรภ์ ไม่รับอาหารของหญิงผู้กำลังให้บุตรดื่มนม ไม่รับ อาหารของหญิงที่คลอเคลียชาย ไม่รับอาหารที่นัดแนะกันทำไว้ ไม่รับอาหารในที่ เลี้ยงสุนัข ไม่รับอาหารในที่มีแมลงวันไต่ตอมเป็นกลุ่มๆ ไม่กินปลา ไม่กินเนื้อ ไม่ดื่มสุรา ไม่ดื่มเมรัย ไม่ดื่มยาดอง รับอาหารในเรือนหลังเดียว ยังชีพด้วยข้าว คำเดียว รับอาหารในเรือน ๒ หลัง ยังชีพด้วยข้าว ๒ คำ ฯลฯ รับอาหารในเรือน ๗ หลัง ยังชีพด้วยข้าว ๗ คำ ยังชีพด้วยอาหารในถาดน้อย ๑ ใบ ยังชีพด้วย อาหารในถาดน้อย ๒ ใบ ยังชีพด้วยอาหารในถาดน้อย ๓ ใบ ฯลฯ ยังชีพด้วย อาหารในถาดน้อย ๗ ใบ กินอาหารที่เก็บไว้ค้างคืน ๑ วัน กินอาหารที่เก็บไว้ ค้างคืน ๒ วัน ฯลฯ กินอาหารที่เก็บไว้ค้างคืน ๗ วัน ถือการบริโภคอาหาร ๑๕ วันต่อ ๑ มื้ออยู่ ด้วยประการอย่างนี้ เขาเป็นผู้กินผักดองเป็นอาหาร กินข้าวฟ่างเป็นอาหาร กินลูกเดือยเป็นอาหาร กินกากข้าวเป็นอาหาร กินสาหร่ายเป็นอาหาร กินรำเป็นอาหาร กินข้าวตังเป็น อาหาร กินกำยานเป็นอาหาร กินหญ้าเป็นอาหาร กินมูลโคเป็นอาหาร กินเหง้า และผลไม้ป่าเป็นอาหาร บริโภคผลไม้หล่นยังชีพ เขานุ่งห่มผ้าป่าน นุ่งห่มผ้าแกมกัน นุ่งห่มผ้าห่อศพ นุ่งห่มผ้าบังสุกุล นุ่งห่มผ้าเปลือกไม้ นุ่งห่มหนังเสือ นุ่งห่มหนัง เสือมีเล็บ นุ่งห่มผ้าคากรอง นุ่งห่มผ้าเปลือกปอกรอง นุ่งห่มผ้าผลไม้กรอง นุ่งห่ม {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๕๒๐}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค]

๔. โฆฏมุขสูตร

ผ้ากัมพลผมมนุษย์ นุ่งห่มผ้ากัมพลขนสัตว์ นุ่งห่มผ้าขนปีกนกเค้า ถอนผมและ หนวด คือถือการถอนผมและหนวดยืนอย่างเดียวไม่ยอมนั่ง เดินกระโหย่ง คือถือ การเดินกระโหย่ง นอนบนหนาม คือ ถือการนอนบนหนาม อาบน้ำวันละ ๓ ครั้ง คือถือการลงอาบน้ำ ถือการย่างและอบกายหลายรูปแบบอยู่ ด้วยประการอย่างนี้ พราหมณ์ บุคคลนี้เรียกว่า เป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำ ตนให้เดือดร้อน [๔๑๖] บุคคลเป็นผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้ เดือดร้อน เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ฆ่าแพะ ฆ่าสุกร ฆ่านก ฆ่าเนื้อ(เลี้ยงชีพ) เป็นคน โหดเหี้ยม เป็นคนฆ่าปลา เป็นโจร เป็นคนฆ่าโจร เป็นคนฆ่าโค เป็นคนคุมเรือนจำ หรือบางพวกเป็นผู้ทำการทารุณ พราหมณ์ บุคคลนี้เรียกว่า เป็นผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำ ผู้อื่นให้เดือดร้อน [๔๑๗] บุคคลเป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน และเป็นผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นพระราชามหากษัตริย์ผู้ได้รับมูรธาภิเษก๑- แล้ว ก็ดี เป็นพราหมณมหาศาลก็ดี พระราชานั้นโปรดให้สร้างโรงบูชายัญหลังใหม่ ทางด้าน ทิศตะวันออกแห่งพระนคร ปลงพระเกศาและพระมัสสุ ทรงนุ่งห่มหนังเสือมีเล็บ ทรงทาพระวรกายด้วยเนยใสและน้ำมัน ทรงเกาพระปฤษฎางค์ด้วยเขามฤค เข้าไป ยังโรงบูชายัญใหม่พร้อมด้วยพระมเหสีและพราหมณ์ปุโรหิต บรรทมบนพื้นหญ้า @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๙ (กันทรกสูตร) หน้า ๙ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๕๒๑}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค]

๔. โฆฏมุขสูตร

เขียวขจี มิได้ลาดด้วยเครื่องปูลาด ดำรงพระชนม์อยู่ด้วยน้ำนมเต้าที่ ๑ แห่งโค แม่ลูกอ่อนที่มีอยู่ตัวเดียว พระมเหสีดำรงพระชนม์อยู่ด้วยน้ำนมเต้าที่ ๒ พราหมณ์ ปุโรหิตดำรงชีวิตอยู่ด้วยน้ำนมเต้าที่ ๓ บูชาไฟด้วยน้ำนมเต้าที่ ๔ ลูกโคมีชีวิตอยู่ ด้วยน้ำนมที่เหลือ พระราชารับสั่งอย่างนี้ว่า ‘จงฆ่าโคตัวผู้ประมาณเท่านี้บูชายัญ จงฆ่าลูกโคตัวผู้ประมาณเท่านี้บูชายัญ จงฆ่าลูกโคตัวเมียประมาณเท่านี้บูชายัญ จงฆ่า แพะประมาณเท่านี้บูชายัญ จงฆ่าแกะประมาณเท่านี้บูชายัญ จงฆ่าม้าประมาณเท่านี้ บูชายัญ จงตัดต้นไม้ประมาณเท่านี้เพื่อทำเสาบูชายัญ จงเกี่ยวหญ้าประมาณเท่านี้ เพื่อลาดพื้น’ เหล่าชนผู้เป็นทาสก็ดี เป็นคนรับใช้ก็ดี เป็นคนงานก็ดี ของพระราชานั้น ถูกอาชญาคุกคาม ถูกภัยคุกคาม มีน้ำตานองหน้า ร้องไห้ไปทำงานไป พราหมณ์ บุคคลนี้เรียกว่า เป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการ ทำตนให้เดือดร้อน และเป็นผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้ เดือดร้อน
พระพุทธคุณ
[๔๑๘] บุคคลเป็นผู้ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการทำตน ให้เดือดร้อน และเป็นผู้ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการทำผู้อื่น ให้เดือดร้อน เขาไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เป็นผู้ไม่หิว ดับร้อน เย็นใจ มีตนอันประเสริฐเสวยสุขอยู่ในปัจจุบัน เป็นอย่างไร คือ พระตถาคตอุบัติขึ้นมาในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง โดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควร ฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค พระองค์ทรงรู้แจ้งโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก และหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ด้วยพระองค์เองแล้ว ทรงประกาศ ให้ผู้อื่นรู้ตาม ทรงแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมี ความงามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๕๒๒}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค]

๔. โฆฏมุขสูตร

บริบูรณ์ครบถ้วน คหบดี บุตรคหบดี หรืออนุชน(คนผู้เกิดภายหลัง) ในตระกูลใด ตระกูลหนึ่ง ได้สดับธรรมนั้น แล้วเกิดศรัทธาในตถาคต เมื่อมีศรัทธาย่อมตระหนัก ว่า ‘การอยู่ครองเรือนเป็นเรื่องอึดอัด เป็นทางมาแห่งธุลี การบวชเป็นทางปลอดโปร่ง การที่ผู้ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วนดุจสังข์ขัด ไม่ใช่ทำได้ง่าย ทางที่ดี เราควรโกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิต’ ต่อมา เขาละทิ้งกองโภคสมบัติน้อยใหญ่ และเครือญาติน้อยใหญ่ โกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
สิกขาและสาชีพของภิกษุ
เขาเมื่อบวชแล้วอย่างนี้ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสิกขาและสาชีพ๑- ของภิกษุทั้งหลาย คือ ๑. ละ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑาวุธและศัสตราวุธ มีความ ละอาย มีความเอ็นดู มุ่งหวังประโยชน์เกื้อกูลต่อสรรพสัตว์อยู่ ๒. ละ เว้นขาดจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ รับเอาแต่ของ ที่เขาให้ มุ่งหวังแต่ของที่เขาให้ ไม่เป็นขโมย เป็นคนสะอาดอยู่ ๓. ละพฤติกรรมอันเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์ ประพฤติพรหมจรรย์๒- เว้นห่างไกลจากเมถุนธรรม๓- อันเป็นกิจของชาวบ้าน ๔. ละ เว้นขาดจากการพูดเท็จ คือ พูดแต่คำสัตย์ ดำรงความสัตย์ มีถ้อยคำเป็นหลักเชื่อถือได้ ไม่หลอกลวงชาวโลก ๕. ละ เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด คือ ฟังความจากฝ่ายนี้แล้วไม่ไปบอก ฝ่ายโน้นเพื่อทำลายฝ่ายนี้ หรือฟังความฝ่ายโน้นแล้วไม่มาบอกฝ่ายนี้ เพื่อทำลายฝ่ายโน้น สมานคนที่แตกกัน ส่งเสริมคนที่ปรองดองกัน ชื่นชมยินดี เพลิดเพลินต่อผู้ที่สามัคคีกัน พูดแต่ถ้อยคำที่สร้างสรรค์ ความสามัคคี ๖. ละ เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ คือ พูดแต่คำไม่มีโทษ ไพเราะ น่ารัก จับใจ เป็นคำของชาวเมือง คนส่วนมากรักใคร่พอใจ @เชิงอรรถ : @๑-๓ ดูเชิงอรรถที่ ๒-๔ ข้อ ๑๑ (กันทรกสูตร) หน้า ๑๒ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๕๒๓}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค]

๔. โฆฏมุขสูตร

๗. ละ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ คือ พูดถูกเวลา พูดคำจริง พูดอิง ประโยชน์ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดคำที่มีหลักฐาน มีที่อ้างอิง มีที่กำหนด ประกอบด้วยประโยชน์ เหมาะแก่เวลา ๘. เว้นขาดจากการพรากพืชคาม๑- และภูตคาม๒- ๙. ฉันมื้อเดียว ไม่ฉันตอนกลางคืน เว้นขาดจากการฉันในเวลาวิกาล ๑๐. เว้นขาดจากการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี และดูการละเล่นที่ เป็นข้าศึกแก่กุศล ๑๑. เว้นขาดจากการทัดทรง ประดับ ตกแต่งร่างกายด้วยพวงดอกไม้ของ หอม และเครื่องประทินผิวอันเป็นลักษณะแห่งการแต่งตัว ๑๒. เว้นขาดจากที่นอนสูงใหญ่ ๑๓. เว้นขาดจากการรับทองและเงิน ๑๔. เว้นขาดจากการรับธัญญาหารดิบ ๑๕. เว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ ๑๖. เว้นขาดจากการรับสตรีและกุมารี ๑๗. เว้นขาดจากการรับทาสหญิงและทาสชาย ๑๘. เว้นขาดจากการรับแพะและแกะ ๑๙. เว้นขาดจากการรับไก่และสุกร ๒๐. เว้นขาดจากการรับช้าง โค ม้า และลา ๒๑. เว้นขาดจากการรับเรือกสวน ไร่ นา และที่ดิน ๒๒. เว้นขาดจากการทำหน้าที่เป็นตัวแทนและผู้สื่อสาร ๒๓. เว้นขาดจากการซื้อขาย ๒๔. เว้นขาดจากการโกงด้วยตาชั่ง ด้วยของปลอม และด้วยเครื่องตวงวัด ๒๕. เว้นขาดจากการรับสินบน การล่อลวง และการตลบตะแลง ๒๖. เว้นขาดจากการตัด(อวัยวะ) การฆ่า การจองจำ การตีชิงวิ่งราว การปล้น และการขู่กรรโชก @เชิงอรรถ : @๑-๒ ดูเชิงอรรถที่ ๑-๒ ข้อ ๑๑ (กันทรกสูตร) หน้า ๑๓ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๕๒๔}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค]

๔. โฆฏมุขสูตร

ภิกษุนั้นเป็นผู้สันโดษ๑- ด้วยจีวรพอคุ้มร่างกายและบิณฑบาตพออิ่มท้อง จะไป ณ ที่ใดๆ ก็ไปได้ทันที นกบินไป ณ ที่ใดๆ ก็มีแต่ปีกเป็นภาระ แม้ฉันใด ภิกษุ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้สันโดษด้วยจีวรพอคุ้มร่างกายและบิณฑบาตพออิ่มท้อง จะไป ณ ที่ใดๆ ก็ไปได้ทันที ภิกษุนั้นประกอบด้วยอริยสีลขันธ์ ย่อมเสวยสุขอัน ปราศจากโทษในภายใน
การสำรวมอินทรีย์
[๔๑๙] ภิกษุนั้นเห็นรูปทางตาแล้ว ไม่รวบถือ ไม่แยกถือ๒- ย่อมปฏิบัติเพื่อ สำรวมจักขุนทรีย์ ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้ว ก็จะเป็นเหตุให้ถูกบาปอกุศลธรรมคือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จึงรักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ฟังเสียงทางหู ฯลฯ ดมกลิ่นทางจมูก ฯลฯ ลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ฯลฯ รู้ธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุให้ถูกบาปอกุศลธรรมคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จึงรักษามนินทรีย์ ถึงความสำรวมในมนินทรีย์ ภิกษุผู้ประกอบด้วยความสำรวม อินทรีย์อันเป็นอริยะนี้ ย่อมเสวยสุขอันไม่ระคนกับกิเลสในภายใน ภิกษุนั้นทำความรู้สึกตัวในการก้าวไป การถอยกลับ การแลดู การเหลียวดู การคู้เข้า การเหยียดออก การครองสังฆาฏิ บาตรและจีวร การฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม การถ่ายอุจจาระปัสสาวะ การเดิน การยืน การนั่ง การนอน การตื่น การพูด การนิ่ง @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๒๔๑ (มหาสกุลุทายิสูตร) หน้า ๒๘๕ ในเล่มนี้ @ ดูเชิงอรรถที่ ๑-๒ ข้อ ๑๒ (กันทรกสูตร) หน้า ๑๕ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๕๒๕}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค]

๔. โฆฏมุขสูตร

การละนิวรณ์
ภิกษุนั้น ประกอบด้วยอริยสีลขันธ์ อริยอินทรียสังวร และอริยสติสัมปชัญญะนี้ แล้วพักอยู่ ณ เสนาสนะเงียบสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง เธอกลับจากบิณฑบาต ภายหลังฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า เธอละอภิชฌา(ความเพ่งเล็งอยากได้ สิ่งของของผู้อื่น) ในโลก มีใจปราศจากอภิชฌาอยู่ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอภิชฌา ละความมุ่งร้ายคือพยาบาท(ความปองร้ายเขา) มีจิตไม่พยาบาท มุ่งประโยชน์ เกื้อกูล สรรพสัตว์อยู่ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความมุ่งร้ายคือพยาบาท ละถีนมิทธะ (ความ หดหู่และเซื่องซึม) ปราศจากถีนมิทธะ กำหนดแสงสว่าง มีสติสัมปชัญญะอยู่ ชำระ จิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะ ละอุทธัจจกุกกุจจะ(ความฟุ้งซ่านและความรำคาญใจ) เป็นผู้ ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบอยู่ภายใน ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุกกุจจะ ละวิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย) ข้ามวิจิกิจฉาได้แล้ว ไม่มีวิจิกิจฉาในกุศลธรรมอยู่ ชำระจิตให้ บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉา
ฌาน ๔
ภิกษุนั้นละนิวรณ์ ๕ ประการนี้ ที่เป็นเครื่องเศร้าหมองแห่งจิต เป็นเครื่อง ทอนกำลังปัญญาแล้ว สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ที่มีวิตก วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสในภายใน มีภาวะ ที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ เพราะปีติจางคลายไป มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข’ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อน บรรลุจตุตถฌาน ที่ไม่มีทุกข์ และไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๕๒๖}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค]

๔. โฆฏมุขสูตร

วิชชา ๓
[๔๒๐] เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน๑- ปราศจาก ความเศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้น น้อมจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง ๓ ชาติบ้าง ๔ ชาติบ้าง ๕ ชาติบ้าง ๑๐ ชาติบ้าง ๒๐ ชาติบ้าง ๓๐ ชาติบ้าง ๔๐ ชาติบ้าง ๕๐ ชาติบ้าง ๑๐๐ ชาติบ้าง ๑,๐๐๐ ชาติบ้าง ๑๐๐,๐๐๐ ชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัป๒- เป็นอันมากบ้างว่า ‘ในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้นๆ จุติจากภพนั้น ก็ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็มีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้นๆ จุติจากภพนั้นจึงมาเกิดในภพนี้’ เธอระลึกชาติ ก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้ เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความ เศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้นน้อมจิต ไปเพื่อจุตูปปาตญาณ เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและ ไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็น ไปตามกรรมว่า ‘หมู่สัตว์ที่ประกอบกายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต กล่าวร้าย พระอริยะ มีความเห็นผิด ชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นผิด พวกเขาหลัง จากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก แต่หมู่สัตว์ที่ประกอบกายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต ไม่กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็นชอบ ชักชวนผู้อื่น ให้ทำกรรมตามความเห็นชอบ พวกเขาหลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ @เชิงอรรถ : @๑-๒ ดูเชิงอรรถที่ ๑-๒ ข้อ ๑๔ (กันทรกสูตร) หน้า ๑๗ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๕๒๗}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค]

๔. โฆฏมุขสูตร

เธอเห็นหมู่สัตว์กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดดีและ เกิดไม่ดีด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม อย่างนี้แล เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความ เศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้นน้อมจิต ไปเพื่ออาสวักขยญาณ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธ- คามินีปฏิปทา’ เมื่อเธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้นจากกามาสวะ ภวาสวะ และอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้วก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว๑- ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว๒- ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ อีกต่อไป๓-’ พราหมณ์ บุคคลนี้เรียกว่า เป็นผู้ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบ ในการทำตนให้เดือดร้อน และเป็นผู้ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการ ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เขาไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน จึงเป็นผู้ ไม่หิว ดับร้อน เย็นใจ มีตนอันประเสริฐเสวยสุขอยู่ในปัจจุบัน”
การสร้างศาลาสงฆ์
[๔๒๑] เมื่อท่านพระอุเทนกล่าวอย่างนี้แล้ว โฆฏมุขพราหมณ์ได้กล่าวกับ ท่านพระอุเทนว่า “ท่านอุเทน ภาษิตของท่านชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ท่านอุเทน ภาษิตของท่าน ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ท่านอุเทนประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่างๆ เปรียบเหมือน บุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีป @เชิงอรรถ : @๑-๒ ดูเชิงอรรถที่ ๑-๒ ข้อ ๒ (กันทรกสูตร) หน้า ๓ ในเล่มนี้ @ ดูเชิงอรรถที่ ๕ ข้อ ๑๖ (กันทรกสูตร) หน้า ๑๘ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๕๒๘}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค]

๔. โฆฏมุขสูตร

ในที่มืด ด้วยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดีจักเห็นรูปได้’ ข้าพเจ้านี้ขอถึงท่านอุเทนพร้อมทั้ง พระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอท่านอุเทนโปรดจงจำข้าพเจ้าว่าเป็นอุบาสกผู้ถึง สรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต” ท่านพระอุเทน กล่าวว่า “พราหมณ์ ท่านอย่าถึงอาตมภาพเป็นสรณะเลย เชิญท่านถึงพระผู้มีพระภาคที่อาตมภาพถึงเป็นสรณะเถิด” “ข้าแต่ท่านอุเทน บัดนี้ พระโคดมอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ประทับอยู่ที่ไหน” “พราหมณ์ บัดนี้ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพานเสียแล้ว” “ท่านอุเทน ถ้าข้าพเจ้าได้ฟังว่า ‘ท่านพระโคดมพระองค์นั้นประทับอยู่ที่ไหน ในหนทางแม้ ๑๐ โยชน์’ ข้าพเจ้าก็จักไปเฝ้าท่านพระโคดมอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น แม้สิ้นทาง ๑๐ โยชน์ ถ้าข้าพเจ้าได้ฟังว่า ‘ท่านพระโคดมพระองค์นั้น ประทับอยู่ที่ไหน ในหนทางแม้ ๒๐ โยชน์ ... ๓๐ โยชน์ ... ๔๐ โยชน์ ... ๕๐ โยชน์ ... ๑๐๐ โยชน์’ ข้าพเจ้าก็จะไปเฝ้าท่านพระโคดมอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น แม้สิ้นทาง ๑๐๐ โยชน์ แต่เพราะท่านพระโคดมพระองค์นั้น เสด็จปรินิพพานเสียแล้ว ข้าพเจ้าขอถึง ท่านพระโคดมพระองค์นั้นแม้เสด็จปรินิพพานแล้ว พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์ เป็นสรณะ ขอท่านอุเทน โปรดจงจำข้าพเจ้าว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้ เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต อนึ่ง พระเจ้าอังคะโปรดพระราชทานเบี้ยเลี้ยงประจำแก่ข้าพเจ้า ทุกวัน ข้าพเจ้าขอถวายส่วนหนึ่งจากเบี้ยเลี้ยงประจำนั้นแก่ท่านอุเทน” “พราหมณ์ พระเจ้าอังคะโปรดพระราชทานอะไรเป็นเบี้ยเลี้ยงประจำแก่ท่านทุกวัน” “ท่านอุเทน พระเจ้าอังคะโปรดพระราชทานทรัพย์ ๕๐๐ กหาปณะเป็นเบี้ยเลี้ยง ประจำแก่ข้าพเจ้าทุกวัน” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๕๒๙}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค]

๕. จังกีสูตร

“พราหมณ์ การรับทองและเงินไม่สมควรแก่อาตมภาพทั้งหลาย” “ท่านอุเทน ถ้าทองและเงินนั้นไม่สมควร ข้าพเจ้าจะให้สร้างวิหารถวายท่าน อุเทน” ท่านพระอุเทน กล่าวว่า “พราหมณ์ ถ้าท่านปรารถนาจะให้สร้างวิหารถวาย อาตมภาพ ก็ขอให้สร้างโรงฉันถวายแก่สงฆ์ในเมืองปาตลีบุตรเถิด” โฆฏมุขพราหมณ์ กล่าวว่า “ด้วยบุญที่ท่านอุเทนชักชวนข้าพเจ้าในสังฆทานนี้ ข้าพเจ้าชื่นชมยินดีเหลือประมาณ ท่านอุเทน ข้าพเจ้าจะสร้างโรงฉันถวายแก่สงฆ์ในเมือง ปาตลีบุตร ด้วยเบี้ยเลี้ยงประจำส่วนนี้ และเบี้ยเลี้ยงประจำส่วนอื่น” ครั้งนั้นแล โฆฏมุขพราหมณ์ให้จัดสร้างโรงฉันถวายแก่สงฆ์ในเมืองปาตลีบุตร ด้วยเบี้ยเลี้ยงประจำส่วนนี้ และเบี้ยเลี้ยงประจำส่วนอื่นๆ โรงฉันนั้นปัจจุบันเรียกว่า ‘โฆฏมุขี’ ดังนี้แล
โฆฏมุขสูตรที่ ๔ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๓ หน้าที่ ๕๑๕-๕๓๐. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=13&siri=44              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=13&A=9915&Z=10193                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=630              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=13&item=630&items=16              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=9&A=7467              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=13&item=630&items=16              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=9&A=7467                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu13              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/13i630-e1.php# https://suttacentral.net/mn94/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :